ว่าด้วยสังโยค วิสังโยค

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 11 มิถุนายน 2011.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    กัณฑ์ที่ ๑๔
    คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต




    <O:pว่าด้วยสังโยค วิสังโยค
    <O:pสญฺโญควิสญฺโญคํ โว ภิกฺขเว ธมฺมปริยายํ เทเสสฺสามิ ตํ สุณาถ สาธุกํ มนสิกโรถ ภาสิสฺสามีติ.

    <O:pณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงคัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต กัณฑ์ที่ ๑๔ ว่าด้วยสังโยค วิสังโยค สืบต่อไป เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ตลอดกาลนาน



    บาลี


    <O:pดำเนินความตามวาระพระบาลี อันมีในพระสูตรที่ ๘ วรรคที่ ๕ ปฐมปัณณาสก์ คัมภีร์อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาตนั้นว่า พระพุทธองค์ได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า เราจะแสดงธรรมปริยาย อันเป็นสังโยคและวิสังโยค ให้เธอทั้งหลายฟัง เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟังให้ดี เราจะแสดงให้ฟังในบัดนี้ฯ



    <O:pภิกษุทั้งหลายก็ทูลรับว่า พระเจ้าข้า จึงตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นสังโยคและวิสังโยคนั้น คืออย่างไร คือสตรีย่อมกระทำไว้ในใจ ซึ่งอินทรีย์ของสตรีในภายในคือความเยื้องกรายของสตรี อากัปกริยาของสตรี วิธีของสตรี ความพอใจของสตรี เสียงของสตรี เครื่องแต่งกายของสตรี แล้วก็เกิดความยินดี ความพอใจ สตรีที่เกิดความยินดี ความพอใจ ในความเป็นสตรีนั้น ก็กระทำไว้ในใจซึ่งอินทรีย์ของบุรุษ ความยื้องกรายของบุรุษ อากัปกิริยาของบุรุษ วิธีของบุรุษ ความพอใจของบุรุษ เสียงของบุรุษ เครื่องแต่งกายของบุรุษ สตรีผู้ยินดีอย่างนั้น ย่อมจำนงการเกี่ยวข้องในภายนอก ต้องการสุขโสมนัส อันเกิดเพราะการเกี่ยวข้อง ผู้ที่ยินดีในความเป็นสตรี ถึงซึ่งความเกี่ยวข้องในบุรุษอย่างนี้ ย่อมไม่พ้นจากความเป็นสตรีไปได้ฯ บุรุษย่อมกระทำไว้ในใจ ซึ่งอินทรีย์ของบุรุษ ความเยื้องกรายของบุรุษ อากัปกิริยาของบุรุษ วิธีของบุรุษ ความพอใจของบุรุษ เสียงของบุรุษ เครื่องแต่งกายของบุรุษ แล้วก็เกิดความยินดีพอใจ บุรุษที่เกิดความยินดี พอใจอย่างนั้น ย่อมกระทำไว้ในซึ่งอินทรีย์ของสตรี ท่าทางของสตรี กิริยาของสตรี วิธีของสตรี ความพอใจของสตรี เสียงขอสตรี เครื่องแต่งกายของสตรี แล้วก็เกิดความยินดี ความพอใจ ผู้ยินดี ผู้พอใจอย่างนั้น ย่อมจำนงความเกาะเกี่ยวในภายนอก อยากได้สุขโสมนัส อันเกิดเพราะความเกาะเกี่ยว ผู้ที่ยินดีในความเป็นบุรุษ เกี่ยวข้องในสตรีอย่างนี้ ย่อมไม่พ้นจากความเป็นบุรุษไปได้ อย่างนี้แหละเรียกว่า สังโยคฯ ก็วิสังโยคนั้น ได้แก่สิ่งใด ได้แก่ข้อความที่ตรงกันข้ามกับที่แสดงมาแล้วนี้คือสตรีไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอินทรีย์ของสตรี ท่าทางของสตรี กิริยาของสตรี วิธีของสตรี ความพอใจของสตรี เสียงของสตรี เครื่องแต่งกายของสตรี ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอินทรีย์ของบุรุษ ท่าทางของบุรุษ กิริยาของบุรุษ วิธีของบุรุษ ความพอใจของบุรุษ เสียงของบุรุษ เครื่องแต่งกายของบุรุษ ไม่ต้องการสุขโสมนัส อันเกิดเพราะความเกี่ยวข้อง ผู้ไม่ยินดีในความเป็นสตรี ไม่เกี่ยวข้องกับบุรุษอย่างนี้ ย่อมล่วงพ้นความเป็นสตรีไปได้ บุรุษที่ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอินทรีย์ของบุรุษ ท่าทางของบุรุษ กิริยาของบุรุษ วิธีของบุรุษ ความพอใจของบุรุษ เสียงของบุรุษ เครื่องแต่งกายของบุรุษ ไม่กระทำไว้ในใจซึ่งอินทรีย์ของสตรี ตลอดถึงท่าทาง กิริยา วิธี ความพอใจ เสียง เครื่องแต่งกายของสตรี ไม่มีความยินดีต่อสิ่งนั้นๆ ไม่ต้องการสุขโสมนัส อันเกิดเพราะความเกี่ยวข้อ ผู้ไม่ยินดีในความเป็นบุรุษไม่เกาะเกี่ยวกับสตรีอย่างนี้ ย่อมล่วงพ้นความเป็นบุรุษไปได้ อย่างนี้แหละเรียกว่า วิสังโยค ดังนี้ สิ้นเนื้อความในพระบาลีเพียงเท่านี้



    <O:pอรรถกถา


    <O:pในอรรถกถาว่า อินทรีย์ของสตรีนั้นได้แก่ความเป็นสตรี คำว่า ท่าทางของสตรีนั้น ได้แก่กิริยาสตรี คำว่า อากัปกิริยาของสตรีนั้น ได้แก่การนุ่งห่มเป็นของสตรี คำว่า วิธีของสตรีนั้น ได้แก่มานะแห่งสตรี คำว่า ความพอใจแห่งสตรีนั้น ได้แก่อัธยาศัยแห่งสตรี ในข้อที่ว่าด้วยบุรุษก็เหมือนนัยนี้ ข้อที่ว่าไม่ล่วงพ้นไปได้นั้น คือไม่ถึงอริยมรรคด้วยวิปัสสนา อันมีกำลังแรงกล้า ดังนี้



    ธัมมัตถาธิบาย


    <O:pในอรรถาธิบายว่า สังโยคนั้นได้แก่ความเกาะเกี่ยว วิสังโยคนั้นได้แก่ความไม่เกาะเกี่ยวฯ ความเกาะเกี่ยวนั้น ได้แก่ผู้เป็นสตรียินดีในความเป็นสตรี กิริยาสตรี อากัปสตรี มานะสตรี อัธยาศัยสตรี เสียงสตรี เครื่องแต่งกายสตรี และยินดีต่อความเป็นบุรุษ กิริยาบุรุษ อากัปบุรุษ มานะบุรุษ อัธยาศัยบุรุษ เสียงบุรุษ เครื่องแต่งกายบุรุษ เมื่อยินดีอย่างนั้น ก็ต้องการสุขโสมนัส อันเกิดเพราะความเกาะเกี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้อยู่ตราบใด ก็ไม่ล่วงพ้นความเป็นสตรีอยู่ตราบนั้น

    ส่วนบุรุษก็เหมือนกัน คือถ้ายังยินดีต่อความเป็นบุรุษ กิริยาบุรุษ มรรยาทบุรุษ มานะบุรุษ อัธยาศัยบุรุษ เสียงบุรุษ เครื่องแต่งกายบุรุษและยินดีต่อความเป็นสตรี กิริยาสตรี มรรยาทสตรี มานะสตรี อัธยาศัยสตรี เสียงสตรี เครื่องแต่งกายตนรี ยังต้องการสุขโสมนัส อันเกิดเพราะเกี่ยวข้องกับสตรีอยู่ตราบใด ก็ยังไม่พ้นความเป็นบุรุษอยู่ตราบนั้น ต่อเมื่อใดสตรีและบุรุษเป็นอย่างว่ามานี้ จึงพ้นจากความเป็นสตรีบุรุษ คือได้สำเร็จ มรรค ผล นิพพาน ไม่กลับมาเกิดเป็นสตรีบุรุษอีกต่อไป เพียงแต่ว่าสตรีคนใดเบื่อหน่ายความเป็นสตรี ไม่อยากเกิดเป็นสตรีอีกต่อไป ตั้งใจทำบุญ ให้ทาน รักษาศีลหรือฟังธรรมเทศนา อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วปรารถนาเกิดเป็นบุรุษ สตรีผู้นั้นก็จะต้องได้เกิดเป็นบุรุษสมดังปรารถนา การที่สตรีอยากเกิดเป็นบุรุษนั้น ย่อมมีอยู่ แต่การที่บุรุษอยากเกิดเป็นสตรีนั้น ไม่ปรากฏว่ามี เพราะว่าบุรุษเห็นความสุขในความเป็นบุรุษยิ่งกว่าความสุขของสตรี

    ส่วนสตรีที่ว่าอยากเกิดเป็นบุรุษ ย่อมมีอยู่นั้น มีปรากฏในคัมภีร์หลายเรื่อง ข้อที่สตรีอยากเกิดเป็นบุรุษ เพราะเบื่อหน่ายความเป็นสตรีนั้น คือสตรีทั้งหลาย่อมไม่มีอิสระเหมือนบุรุษ เป็นต้นว่า จะไปมาทางไหนให้สะดวกทุกเวลาเหมือนบุรุษก็ไม่ได้ จะมีคู่ครองซึ่งเรียกว่าสามี พร้อมกันหลายๆ คน เหมือนกับบุรุษที่มีภรรยาหลายคนก็ไม่ได้ ทั้งมีทุกข์ประจำอยู่หลายประการ เช่น ทุกข์มีระดู ทุกข์มีบุตรเป็นต้น สตรีทั้งหลายถึงจะเป็นลูกพระราชา มหากษัตริย์ หรืเศรษฐี คฤหบดี อย่างไรก็ตามก็ต้องอยู่ในอำนาจของบุรุษทั้งนั้นต้องคอยปฏิบัติเอาอกเอาใจบุรุษทั้งนั้น ถึงสตรีที่นับว่าสามีกลัวก็ตาม ก็ยังต้องปฏิบัติเอาใจสามีอยู่ทั้งนั้น สตรีต้องระวังกิริยาท่าทางอยู่ทุกเวลา ความลำบากใจของสตรีมีอยู่เป็นอันมาก

    ส่วนความลำบากใจของบุรุษ ย่อมมีอยู่เพียงการทำมาหาเลี้ยงชีพเท่านั้นนอกนั้นไม่ลำบากใจอันใด มีอิสระเต็มตัว จะไปไหนมาไหนก็ได้ทุกเวลา จะทำอะไรก็ได้ตามใจประสงค์ ทั้งทุกข์ประจำตัวก็ไม่มี ถึงตัวจะตระกูลต่ำ ได้ภรรยาตระกูลสูงก็ตาม ก็ต้องมีอำนาจเหนือภรรยาเสมอ ถึงภรรยาจะมีอำนาจบ้าง ก็เพียงบางอย่างเท่านั้น ข้อที่ทุกข์สุขของสตรีบุรุษมีอยู่ต่างกัน ดังที่ว่ามาแล้วนี้แหละ เป็นเหตุให้สตรีบางคน เบื่อหน่ายความเป็นสตรี ปรารถนาจะเกิดเป็นบุรุษ แล้วก็ได้เกิดเป็นบุรุษสมประสงค์ แต่บุรุษที่อยากเกิดเป็นสตรีนั้นไม่ปรากฏมีในคัมภีร์ เป็นแต่ว่าบุรุษคนใด ทำกาเมสุมิจฉาจาร เมื่อบุรุษคนนั้นตายแล้วก็ไปตกนรก พ้นจากนรกก็มาเกิดเป็นเปรต พ้นจากเปรตมาเกิดเป็นดิรัจฉาน พ้นจากดิรัจฉานมากเป็นมนุษย์ มีข้าศึกศัตรูมาก หรือไม่อย่างนั้นก็มาเกิดเป็นสตรี เป็นที่เกลียดชังของบุรุษทั้งหลาย เมื่อสิ้นบาปกรรมแล้วจึงจะได้กลับมาเกิดเป็นบุรุษอีก

    เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรที่บุรุษใดๆ จะทำกาเมสุมิจฉาจาร ไม่ว่าแต่บุรุษ ถึงสตรีก็เหมือนกัน สตรีที่ทำกาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้รับบาปอย่างเดียวกับบุรุษ เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรที่สตรีใดๆ จะทำกาเมสุมิจฉาจาร นอกใจสามีเป็นอันขาด ทั้งควรที่สตรีทั้งหลายจะพยายามคิดเบื่อหน่ายความเป็นสตรี คิดให้เห็นทุกข์ของสตรี แล้วทำบุญปรารถนามาเกิดเป็นบุรุษในภายหน้า เพื่อจะได้รับความสุขบุรุษดังที่แสดงมา สิ้นเนื้อความในเทศนากัณฑ์นี้เพียงเท่านี้




    <O:pเอวํ ก็มี ด้วยประการฉะนี้ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...