วิวัฒนาการชุด"แอร์โฮสเตสไทย" จากอดีตสู่ปัจจุบัน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย PyDE, 6 ธันวาคม 2005.

  1. PyDE

    PyDE เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2005
    โพสต์:
    812
    ค่าพลัง:
    +1,318
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ชุดแอร์โฮสเตสและสจ๊วตของการบินไทย เมื่อปีพ.ศ. 2513</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า "แอร์โฮสเตส"หรือ "พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน"คือหนึ่งในอาชีพในฝันของสาวๆหลายคน อาชีพนี้ถูกเรียกกันติดปากกันว่า" นางฟ้า" เนื่องจากลักษณะการทำงานจะต้องคอยต้อนรับและดูแลผู้โดยสารอยู่บนเครื่องบิน ทำให้ถูกเปรียบเปรยกับนางฟ้าที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า และค่าตอบแทนที่สูงลิ่วคงจะพอทำให้หลายๆคนอยากยึดอาชีพนี้

    นอกจากภาพลักษณ์ที่สวยหรู พื้นฐานภาษาอังกฤษและภาษาอื่นๆดีเยี่ยมแถมยังมีโอกาสเดินทางไปยังที่ต่างๆตามมุมโลกแล้ว ยังมี "เครื่องแบบ"หรือชุดยูนิฟอร์มที่เป็นความภูมิใจของผู้ที่มีโอกาสสวมใส่ชุดแอร์โอสเตสเป็นอย่างยิ่ง


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ชุด(ใหม่ล่าสุด)แอร์โฮสเตสการบินไทยที่เน้นสีสันสดใส ดูสบายตา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>และถ้าหากเป็นสายการบินที่ได้ชื่อว่าเป็นสายการบินแห่งชาติหรือสายการบินชั้นนำแล้ว ชุดของลูกเรือเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นหน้าตาขององค์กร ซึ่งการออกแบบชุด นอกจากจะต้องเอื้อประโยชน์การใช้งานบนเครื่องบินที่ต้องคอยอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารแล้ว ทุกรายละเอียดมิเว้นแม้แต่สีที่ใช้ยังเป็นตัวบ่งบอกถึงองค์กรด้วย

    การบินไทย ถือได้ว่าเป็นสายการบินแห่งชาติของประเทศไทย มีสโลแกนติดปากว่า"รักคุณเท่าฟ้า" เริ่มเปิดบริการรับ-ส่งผู้โดยสารมาตั้งแต่ปี 2503 เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 45 ปีมาแล้ว แน่นอนว่าชุดพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายครั้งหลายครา นับรวมแล้ว 7 ครั้งและครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 8 ที่การบินไทยจะได้ฤกษ์เปลี่ยนแปลงชุดพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอีกครั้ง

    นิคม ระวียัน ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารและพัฒนางานบริการบนเครื่องบิน เท้าความให้ฟังว่า ชุดพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของการบินไทยนั้น เริ่มมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เลยทีเดียว

    "ครั้งแรกนั้นเริ่มปี พ.ศ.2503 ออกแบบโดย ม.จ.ไกรสิงห์ วุฒิชัย ซึ่งถือเป็นดีไซน์เนอร์ระดับแถวหน้าของเมืองไทยในยุคนั้น ออกแบบโดยใช้สูทสั้นสีม่วงอัญชัน และเสื้อตัวในสีม่วงอ่อน เสื้ออยู่ข้างนอกสีเข้มกว่า กระโปรงสีม่วงอ่อน พร้อมด้วยหมวกสีเดียวกับชุด โลโก้ที่ติดหมวกเป็นรูปนางรำในละครไทย เราใช้เครื่องแบบนั้นอยู่จนถึงปี พ.ศ.2510 แล้วจึงเปลี่ยนโดยให้ ม.จ.ไกรสิงห์ออกแบบอีก 3 ครั้ง"นิคมกล่าว

    ต่อมาในปีพ.ศ. 2521-2524 จึงได้เปลี่ยนผู้ออกแบบเป็นห้องเสื้อพรศรี และเปลี่ยนโลโก้จากรูปนางรำเป็นจำปีแบบในปัจจุบัน นอกจากนี้ในช่วงปีนี้เองยังเริ่มใช้สโลแกนรักคุณเท่าฟ้าเพื่อให้สอดคล้องกับสโลแกน ชุดจึงใช้ลวดลายที่เป็นก้อนเมฆสีชมพูฟ้า ส่วนเสื้อตัวนอกยังคงสีม่วงเหมือนเดิม


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ชุดแอร์โฮสเตสของการบินไทย เมื่อปีพ.ศ.2524</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>หลังจากนั้นจึงให้ ปิแอร์ บาลแมง(Pierre Balmain)เป็นผู้ออกแบบ โดยมุ่งหวังให้มีความเป็นสากลขึ้น ส่วนครั้งที่ 7 ซึ่งใช้ตั้งแต่ปีพ.ศ 2532 จนถึงปัจจุบันนั้น สุชาติ มิ่งพันธ์เป็นผู้ออกแบบ ใช้สีม่วงเป็นหลักเช่นเดิมแต่ใช้ฝีมือการทอลายของดอกกล้วยไม้ของจิม ทอมป์สัน และมีสัญลักษณ์การบินไทยที่ปีกและตัวกระดุมที่เสื้อด้านนอก

    การเปลี่ยนชุดพนักงานต้อนรับครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 8 ซึ่งกำหนดว่าจะต้องให้ดีไซน์เนอร์คนไทยเป็นผู้ออกแบบ และก็ได้พิจิตรา บุณยรัตพันธุ์ มาช่วยดูแลให้ ซึ่งการออกแบบครั้งนี้ได้แนวคิดมาจากการแต่งกายในราชสำนักและเครื่องประดับของตัวละครไทยโบราณที่มีความงดงาม โดยประยุกต์ให้เข้ากับความโก้และความคลาสสิกของการบินไทย วัสดุที่ใช้จะผลิตในประเทศไทยทั้งหมด มีเสื้อตัวในเป็นผ้าไหมที่มีคุณสมบัติไม่ยับง่ายและซับเหงื่อ มีความพลิ้วไหวของเนื้อผ้า แต่เพิ่มลูกเล่นโดยใส่ลายกราฟฟิคลงไป สวมใส่กับรองเท้าสีม่วงเข้ม ส่วนผู้ชายจากที่เข้มๆแบบทหารก็จะให้มีความเป็นพลเรือนมากขึ้น เครื่องแบบจะเป็นสีเทาดำ


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ชุดแอร์โอสเตสบางกอกแอร์เวย์สเน้นแนวคัลเลอร์ฟูล สีสันสดใส จากรูปกุ้งหอยปูปลา </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"ตอนแรกจะเป็นเหมือนชุดทั่วไป เป็นยูนิฟอร์มหลักที่ใช้บินในประเทศ จะเป็นเสื้อใส่กับกระโปรง หรือใส่กับกางเกง แล้วมีเสื้อแจ็คเก็ต ให้มันเก๋ไก๋ ให้มีสีสัน อย่างเช่นถ้าจะไปทางใต้ก็จะมีสายอาดเอวเป็นผ้าบาติก แต่ถ้าจะไปทางอีสานก็จะเป็นผ้ามัดหมี่ ดูมีความหลากหลาย เป็นอะไรที่ไม่น่าเบื่อ ส่วนลายเสื้อตัวในจะเป็นสัญลักษณ์ ตัวโมทีฟ ซึ่งทางอินเตอร์แบรนด์จะใช้ตัวนี้เป็นรูปลักษณ์ของบัตรโดยสาร จะเห็นว่ารอยหยักโค้งจะมาจากหางของตัวลายดอกจำปีหรือจะเป็นลายกนก แต่ถ้าเป็นของผู้ชายจะเป็นเสื้อเชิ้ต เนคไท เหมือนกันหมด แต่จะมี 3 แผนก 3 สี ของสจ๊วตจะเป็นเสื้อเชิ้ตสีขาว จะมีปักโลโก้ที่กระเป๋า เป็นอะไรที่ดูแล้วรู้สึกสนุกสนานแต่ถ้าเป็นการบินระหว่างประเทศก็จะทำให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น"พิจิตรากล่าว

    นิคม หวังว่าอย่างน้อยที่สุดในการเปลี่ยนชุดพนักงานต้อนรับในครั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความสดใสมากขึ้น ใครเห็นก็สดชื่นและดูเป็นสากลขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องสื่อถึงความเป็นไทยไปพร้อมๆกับความทันสมัยที่นับวันจะวิ่งเร็วยิ่งกว่าเข็มนาฬิกา ซึ่งนิคมคาดว่าจะสามารถเปิดตัวชุดใหม่ได้ในราวๆต้นปีพ.ศ.2550

    ด้านสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ที่ประกาศตัวว่าเป็นบูติก แอร์ไลน์ ทำการบินโดยเน้นการพาผู้โดยสารไปยังเมืองท่องเที่ยวเสียเป็นส่วนมาก ดังนั้นชุดพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจึงมีสีสันสดใสและลวดลายที่ใช้ยังสื่อถึงความสนุกสนาน เพื่อการพักผ่อนอย่างแท้จริง ดังเช่นที่หม่อมหลวง นันทิกา วรวรรณ รองผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สายการบินบางกอกแอร์เวย์สได้ให้ความเห็นว่า


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>แอร์โฮสเตสสาวสวยของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>"สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เป็นสายการบินที่พานักท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวยังที่ต่างๆ เราแบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือประเภทวัฒนธรรมและธรรมชาติ อย่างเช่นทะเล เพราะฉะนั้นสีที่ใช้จึงสดใสและลวดลายที่บ่งบอกถึงแหล่งท่องเที่ยว เช่นลวดลายกุ้งหอยปูปลาจะแสดงให้เห็นว่าสายการบินของเราไม่ได้เป็นแบบการบินเพื่อธุรกิจ แต่จะเน้นในเรื่องของการท่องเที่ยวและการพักผ่อน ผ่อนคลาย เพราะฉะนั้นชุดพนักงานต้อนรับจึงออกมาในแนวคัลเลอร์ฟูล สีสันสดใส รูปกุ้งหอยปูปลา" ม.ล.นันทิกา อธิบาย ก่อนที่จะเล่าเพิ่มเติมว่า

    "สำหรับสีฟ้าแกมน้ำเงินถือได้ว่าเป็นสีประจำสายการบินของเรา สีอื่นๆรวมไปถึงลวดลายกุ้งหอยปูปลาถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบ ส่วนผ้าพันคอจะเป็นผ้าบาติกของภูเก็ต ชุดแอร์ก็จะมีเสื้อแขนสั้นและจะมีสูทสีฟ้าแกมน้ำเงินคลุมทับอีกที ส่วนผู้ชายจะเป็นสูทสีเทาและเสื้อตัวในก็จะเป็นเสื้อเชิ้ตสีพาสเทล(สีอ่อน) โดยจะมีหลายสีสามารถเปลี่ยนได้ ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว ชมพู ฟ้าอ่อน

    โดยหลังจากที่เราเป็นบูติกแอร์ไลน์ ทุกอย่างก็จะออกแนวเทรนดี้ ทันสมัย ชุดก็ค่อนข้างทันสมัย มีสีสันสดใส เพราะฉะนั้นสีสันสดใสที่เลือกใช้สามารถสื่อถึงองค์กรในด้านการรีแรกซ์ ผ่อนคลาย สนุกสนานและสดใส เพื่อให้ได้บรรยากาศของการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง" ม.ล.นันทิกากล่าวทิ้งท้าย

    จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าชุดแอร์โฮสเตสของบ้านเรามีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหัวใจหลักของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอย่างแอร์โฮสเตสหรือสจ๊วตก็คือ จิตใจที่รักในการบริการ คอยอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารด้วยความเต็มใจและจริงใจ เพื่อให้เกิดความรู้สึกประทับใจและกลับมาใช้บริการอีกครั้ง


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...