วิปลาส

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 9 กรกฎาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    วิปลาส
    ( วิปัลลาส ) ความคลาดเคลื่อน , ความตรงกันข้าม , ความผันแปร หมายถึง ความ

    คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงด้วยอาการ ๓ ที่เกิดกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้น คือ

    สัญญาวิปลาส ๑ จิตตวิปลาส ๑ ทิฏฐิวิปปลาส ๑ วิปลาส ๓ นี้เป็นไปในอาการ ๔

    คือ ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม ๑

    ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑

    ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑

    ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑

    จึงกลายเป็นวิปลาส ๑๒ อย่าง คือ
    ๑. สัญญาวิปลาส จำผิดว่ารูปเป็นของงาม พระอนาคามีจึงละได้

    ๒. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระอรหันต์จึงละได้

    ๓. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าจิตเที่ยง พระอรหันต์จึงละได้

    ๔. สัญญาวิปลาส จำผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันจึงละได้

    ๕. จิตตวิปลาส คิดผิดว่ารูปเป็นของงาม พระอนาคามีจึงละได้

    ๖. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระอรหันต์จึงละได้

    ๗. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าจิตเที่ยง พระอรหันต์จึงละได้

    ๘. จิตตวิปลาส คิดผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันละได้

    ๙. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่ารูปเป็นสุข พระโสดาบันละได้

    ๑๐. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าเวทนาเป็นสุข พระโสดาบันละได้

    ๑๑. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าจิตเที่ยง พระโสดาบันละได้

    ๑๒. ทิฏฐิวิปลาส เห็นผิดว่าธรรมเป็นตัวตน พระโสดาบันละได้
    [​IMG] พระโสดาบันและพระสกทาคามีละวิปลาสได้ ๖ ประเภท คือสัญญาวิปลาส

    ในธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑ จิตตวิปลาสในธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน ๑

    และทิฎฐิวิปลาสในอาการทั้ง ๔
    [​IMG] พระอนาคามีละวิปลาสได้อีก ๒ คือ สัญญาวิปลาสในรูปที่ไม่งามว่างาม ๑

    และจิตตวิปลาสในรูปที่ไม่งามว่างาม ๑

    [​IMG] พระอรหันต์ละวิปลาสที่เหลือทั้งหมดอีก ๔ คือ สัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาส

    ในเวทนาที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๒ สัญญาวิปลาสและจิตตวิปลาสในจิตที่ไม่เที่ยงว่า

    เที่ยง ๒

    อกุศลจิตทุกดวงเป็นจิตตวิปลาสอย่างหนึ่งในอาการ ๔ สัญญาเจตสิกที่เกิดกับ

    อกุศลจิตทุกดวง เป็นสัญญาวิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๔ ทิฏฐิเจตสิกที่เกิด

    กับโลภมูลจิตทิฎฐิคตสัมปยุตต์ ๔ ดวง เป็นทิฏฐิวิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งในอาการ ๔

    พระผู้มีพระภาคทรงแสดงสติปัฏฐาน ๔ เพื่อละวิปลาสทั้ง ๔ แต่ไม่ควรเจาะจงละ

    วิปลาสอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะว่าทุกท่านที่ไม่ใช่พระอริยบุคคลย่อมมี

    วิปลาสครบทั้ง ๔ ขณะที่สติปัฎฐานเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดย

    ความเป็นอนัตตา เพราะความเข้าใจจากการฟังพระธรรมที่ถูกต้อง จึงเป็นสังขารขันธ์

    ปรุงแต่งให้สติ ฯ เกิดขึ้น ขณะนั้นย่อมเป็นสติปัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งในสติปัฏ-

    ฐาน ๔ และความเข้าใจสภาพธรรมที่ค่อยๆ เกิดขึ้น ก็ย่อมค่อยๆ ละคลายวิปลาสนั้นๆ

    จนกว่าจะละได้เด็ดขาดเมื่อมรรคจิตเกิดขึ้น

    เรื่องของทุกข์จริงๆ ประการเดียวในวันหนึ่งๆ ซึ่งไม่มีใครหนีพ้นเลย ไม่ว่าคนที่ยังมี

    กิเลสอยู่ หรือว่าคนที่ดับกิเลสหมดแล้ว ทุกข์จริงๆในสังสารวัฏ ได้แก่ ทุกขเวทนา

    เจตสิก ที่เกิดกับกายวิญญาณที่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย เพราะฉะนั้น ถ้าพิจารณาดู
    ว่า วันหนึ่งๆ ไม่ใช่ทุกข์จริงทางกาย ที่จะเจ็บปวดทรมาน แต่ว่าเป็นทุกข์อื่นๆ ทั้งหมด
    ซึ่งไม่น่าที่จะเกิด และน่าที่จะบรรเทา แก้ไขได้ ตราบใดที่กายยังไม่เป็นทุกข์

    เพราะฉะนั้น เห็นได้ทีเดียวว่า ถ้าวันนี้ใครเกิดเป็นทุกข์ ให้พิจารณาว่าขณะนั้นเป็น

    ทุกขเวทนากายวิญญาณหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ ก็หมายความว่าในขณะนั้นเป็นทุกข์ใจ เป็น

    ทุกข์เพราะความกังวล ความเป็นห่วงในเรื่องของลาภ ของยศ ในเรื่องของสรรเสริญ ใน

    เรื่องของนินทา ของสุข ของทุกข์ ในเรื่องกิเลสต่างๆ เพราะเหตุว่าทางที่ได้รับผลของ

    กรรม มี ๕ ทาง ทางตา ๑ ทางหู ๑ ทางจมูก ๑ ทางลิ้น ๑ ทางกาย ๑ ที่เป็นวิบากจิต ที่

    รับผลของกรรม โดยการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

    ถ้าทางตา จะเห็นสิ่งที่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ แล้วไม่หวั่นไหว ช่วยทุกข์ทางใจได้

    ประการหนึ่งแล้ว คือ ไม่จำเป็นจะต้องมีทุกข์นั้นเกิดเลย ทางหูก็เช่นเดียวกัน เวลาได้
    ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ ถ้าใจไม่หวั่นไหว แล้วก็รู้ว่าสภาพได้ยินก็เกิดขึ้นตามเหตุตาม
    ปัจจัย ชั่วขณะเดียวในสังสารวัฏ แล้วการยินนั้นก็จะไม่กลับมาอีกเลยก็ผ่านไปหมดแล้ว
    ก็จะไม่ยึดถือ หรือมีความสำคัญ มีความทุกข์ความเดือดร้อนมากมาย

    เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น เวทนาเจตสิกที่เกิดร่วม

    ด้วยเป็นอุเบกขา เพราะฉะนั้น ทุกข์จริงๆ ที่ทุกคนไม่พ้นเลยก็คือ ทุกขเวทนาที่เกิดกับ

    กายวิญญาณอกุศลวิบาก แล้วลองพิจารณาดูว่า วันนี้ ทุกขเวทนาอกุศลวิบากที่เกิดกับ

    กายวิญญาณมีหรือเปล่า หรือว่ามีมากไหม หรือว่าเต็มไปด้วยทุกข์อื่นทั้งหมด ซึ่งทุกข์

    อื่นทั้งหมดแก้ได้ เพราะเหตุว่าไม่ได้ผลของกรรม แต่เกิดขึ้นเพราะอกุศลจิต ถ้า
    พิจารณาโดยแยบคาย ก็จะทำให้ทุกข์นั้นๆ เบาบางลงไป แต่สำหรับผู้ที่รับผลของกรรม

    ทางกาย ไม่มีใครสามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้เลย ไม่ว่าจะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ

    เจ้า หรือบุคคลใดๆทั้งสิ้น"
    "...ซึ่งแต่ละคนจะเห็นได้ว่า เมื่อได้ศึกษาธรรม แล้วเข้าใจธรรมว่า เป็นสิ่งที่ยากแสน

    ยาก และก็ละเอียด และก็ลึกซึ้ง และในชาติหนึ่งภพหนึ่งที่จะสะสมปัญญาที่จะรู้ลักษณะ

    ของสภาพธรรม ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปจริงๆ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ก็เห็นใจคนอื่นที่เขา

    ฟังแล้วก็บอกว่า ยาก หรือไม่รู้ว่าชาตินี้จะไปได้มากน้อยเท่าไร แต่ว่าถ้าเป็นผู้ที่หนัก

    แน่นมั่นคงจริงๆ เมื่อรู้ว่ายาก ก็จะต้องพยายามไปเรื่อยๆ โดยไม่ทิ้ง พร้อมกันนั้นก็แล้ว

    แต่เหตุปัจจัยว่า มีปัจจัยที่จะสนุกสนาน ไปเที่ยว ไปรื่นเริงกับเพื่อนฝูง นั่นก็เป็นสิ่งที่ไม่

    ต้องบังคับ แต่กระนั้นสติปัฏฐานยังระลึกได้

    ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่ เห็น ชั่วขณะเดียวจริงๆ แล้วดับ การเห็นเมื่อครู่นี้ จะไม่กลับมาอีก

    เลยในสังสารวัฏ การได้ยิน การคิดนึก สุข ทุกข์ กุศล อกุศลใดๆ ก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะ

    เหตุปัจจัย ปัญญาสามารถที่จะแทงตลอดในสภาพที่ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัว

    ตนได้ แต่ก่อนที่จะเป็นพระอริยบุคคล แต่ละคนจะต้องอบรมเจริญสติปัฏฐานตามที่

    สะสมมา ตามความเป็นจริง"
    ข้าวสาลีจะออกรวงข้าวโดยช่วงเวลาตอนปลูกไม่ได้ แต่ต้องอาศัยระยะเวลาและรดน้ำ
    บำรุงรักษา เมื่อถึงเวลาย่อมออกรวงตามกำหนด ฉันใด การดับกิเลสก็เช่นกันต้องอาศัย
    ระยะเวลาและต้องมีเหตุในอดีตคือการฟังธรรม อบรมปัญญาในสมัยพระพุทธเจ้าองค์
    ก่อนๆครับ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดก็ตาม คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    และพระสาวกจะต้องอบรมปัญญา การฟังธรรมในอดีตมาก่อนทั้งนั้น แต่แตกต่างที่ว่าใน
    ชาติสุดท้ายที่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่ต้อง
    ฟังจากใคร บรรลุด้วยตนเองแต่สาวกต้องฟังพระธรรมจึงจะได้บรรลุในชาติสุดท้าย

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

    ๗๒ - ๗๓. อรรถกถาสัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณุทเทส

    ว่าด้วย สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ

    พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สพฺพญฺญุตญาณํ อนาวรณญาณํ-

    ญาณเป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งปวง ญาณอันไม่มีอะไรติดขัด นี้ ดังต่อ

    ไปนี้

    พระพุทธะพระองค์ใด ทรงรู้ธรรมทั้งปวงมีประเภทแห่งคลอง

    อันจะพึงแนะนำ ๕ ประการ ฉะนั้น พระพุทธะพระองค์นั้น ชื่อว่า

    สัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวง, ความเป็นแห่งพระสัพพัญญู ชื่อว่า

    สัพพัญญุตา, ญาณคือพระสัพพัญญุตาญาณนั้น ควรกล่าวว่า สัพพัญญุ-

    ตาญาณ ท่านก็กล่าวเสียว่า สัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ ธรรมทั้งปวง

    ต่างโดยเป็นสังขตธรรมเป็นต้น เป็นครรลองธรรมที่จะพึงแนะนำมี

    ๕ อย่างเท่านั้น คือ สังขาร ๑, วิการ ๑, ลักขณะ ๑. นิพพาน

    และ บัญญัติ ๑.

    คำว่า สพฺพญฺญู - รู้ธรรมทั้งปวง ความว่า สัพพัญญูมี ๕

    อย่างคือ

    ๑. กมสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงตามลำดับ,

    ๒. สกิงสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงในคราวเดียวกัน,

    ๓. สตตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงติดต่อกันไป,

    ๔. สัตติสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงด้วยความสามารถ.

    ๕. ญาตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงที่รู้แล้ว.

    กมสัพพัญญุตา ย่อมมีไม่ได้ เพราะกาลเป็นที่รู้ธรรมทั้งปวงไม่

    เกิดขึ้น ตามลำดับ,

    สกิงสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีการรับอารมณ์ทั้งปวงได้

    ในคราวเดียวกัน,

    สัตตสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งจิตในอารมณ์

    ตามสมควรแก่จิต มีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น และเพราะไม่มีการประ-

    กอบในภวังคจิต,

    สัตติสัพพัญญุตา พึงมีได้ เพราะสามารถรู้ธรรมทั้งปวงโดยการ

    แสวงหา,

    ญาตสัพพัญญุตา ก็พึงมีได้ เพราะธรรมทั้งปวงรู้แจ่มแจ้งแล้ว.

    ข้อว่า ความรู้ธรรมทั้งปวงไม่มีในสัตติสัพพัญญุตาแม้นั้นย่อมไม่

    ถูกต้อง. เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

    อะไร ๆ อันพระตถาคตเจ้านั้นไม่เห็นแล้วไม่

    มีในโลกนี้ อนึ่ง อะไร ๆ ที่ไม่รู้แจ้งและไม่ควรรู้

    ก็ไม่มี, สิ่งใดที่ควรแนะนำมีอยู่ พระตถาคตเจ้า

    ได้รู้ธรรมทั้งหมดนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถา-

    คตเจ้าจึงชื่อว่า สมันตจักขุ.

    ฉะนั้น ญาตสัพพัญญุตาเท่านั้น ย่อมถูกต้อง. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้

    สัพพัญญุตญาณนั่นแล ย่อมมีได้โดยกิจ โดยอสัมโมหะ โดยการสำเร็จ

    แห่งเหตุ โดยเนื่องกับอาวัชชนะ ด้วยประการฉะนี้. อารมณ์เป็น

    เครื่องกั้นญาณนั้นไม่มี เป็นญาณที่เนื่องด้วยอาวัชชนะนั่นเอง ฉะนั้น

    ญาณนั้นจึงชื่อว่า อนาวรณะ - ไม่มีการติดขัด, อนาวรณะ นั้นนั่น

    แหละ ท่านเรียกว่า อนาวรณญาณ ด้วยประการฉะนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...