วิปลาส - แก้วิปลาส(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ผ่อนกรรม, 5 มิถุนายน 2013.

  1. ผ่อนกรรม

    ผ่อนกรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +400
    วิปลาส

    พระราชวรมุนี(ปยุทธ์ ปยุตโต) ให้นิยามความหมายของ "วิปลาส"

    ไว้ในหน้า ๒๗๖ หนังสือ "พจนานุกรมพุทธศาสน์" ฉบับประมวลศัพท์ว่า

    "กิริยาที่ถือโดยอาการวิปริตผิดจากความเป็นจริง,ความเห็นหรือความเข้าใจ

    คลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง" ขณะเดียวกัน ปราชญ์ทางพุทธศาสนารูป

    เดียวกันนี้ได้นิพนธ์ถึง "วิปลาส"เอาไว้ในหนังสือ "พุทธธรรม" ฉบับปรับปรุง

    และขยายข้อความ (๒๕๒๙) ว่า คือความรู้คลาดเคลื่อน ความรู้ที่ผันแปรผิด

    พลาดจากความเป็นจริง หมายถึงความรู้คลาดเคลื่อนขั้นพื้นฐานที่นำไปสู่

    ความเข้าใจผิด หลงผิด การลวงตัวเอง วางใจวางท่าทีประพฤติปฏิบัติไม่ถูก

    ต้อง ต่อโลกต่อชีวิตต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง และเป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวาง

    บังตาไม่ให้มองเห็นสัจจะภาวนา หลังจากพระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

    กับพระอาจารย์แหวน สุจิณโณพักรุกขมูลในท่ามกลางเสียงคำรามร้องของ

    เสือบนยอดเขาดอยแม่ปั๋งได้ ๒ คืนก็ออกเดินทางมุ่งไปยังอำเภอพร้าว

    พักอยู่กับพระอาจารย์สานระยะหนึ่งจึงได้ลาพระอาจารย์สานขึ้นไปบนดอย

    บ้านปู่พญาอันเป็นแดนของชนเผ่ามูเซอร์ ปรารภความเพียรอยู่ที่นั่นเป็น

    เวลา ๙ คืนโดยมิได้พูดจากับใคร เนื่องเพราะพูดไม่รู้ภาษากัน

    พระอาจารย์เทสก์เล่าว่า "เราได้ปรารภความเพียรอย่างสุดความสามารถจน

    เกิดวิปลาสขึ้นว่า พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ไม่มี มีแต่พระธรรม

    เหตุผลที่มารองรับความนึกเชื่อในระยะกาลนั้น "เพราะพระพุทธเจ้าก็คือ

    พระสิทธัตถะกุมารมารู้พระธรรมจึงได้เป็นพระพุทธเจ้า แม้ตัวพระพุทธเจ้าเอง

    ก็เป็นรูปธรรม - นามธรรม พระสงสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน ที่มาได้เป็นพระสงฆ์ทั้ง

    ที่เป็นอริยะและปุถุชนก็มาดำรงค์อยู่ในพระธรรมนี้ทั้งนั้น รูปกายของท่าน

    เหล่านั้นก็เป็นรูปธรรม - นามธรรม ความเห็นอันนี้ดิ่งแน่วแน่ลงว่าต้องเป็น

    อย่างนั้นแท้จริง" อย่างไรก็ตาม เมื่อพระอาจารย์เทสก์ย้อนกลับนำไปตรวจดู

    ตามสมมติบัญญัติ "เอ นี่มันไม่ตรงกันนี่" พระอาจารย์รำพึงด้วยความฉงน

    กังขา "ความเห็นของเราสองแง่นี้ได้โต้กันอยู่หลายวัน ไม่ตกลง ดีที่เราไม่

    ทิ้งสมมติบัญญัติ หาไม่แล้วดูเหมือนจะสนุกกันใหญ่เหมือนกัน"

    ก็พอดีพระอาจารย์สาน ให้คนมานิมนต์ลงไปรับไทยทาน "ใจหนึ่งมันก็ยังไม่

    อยากไป" พระอาจารย์เทสก์กล่าว "แต่มาคิดถึงบริขารผ้าสบงว่า เราใช้มา

    ร่วมสามปีแล้วเกรงจะใช้ได้ไม่คุ้มพรรษาไหนๆ เราไปแสวงหาบริขารให้

    บริบูรณ์แล้วจึงกลับขึ้มาใหม่" จึงรับนิมนต์พระอาจารย์สาน เมื่อลงจากดอย

    ไปยังอำเภอพร้าวก็ได้สมประสงค์ทุกอย่าง คือ บริขารผ้าสบงก็ได้

    ความเห็นวิปลาสนั้นก็ปลาศนาการไปเองด้วย!


    แก้วิปลาส

    ต่อมา, เดือนมีนาคม ๒๕๐๕ ระหว่างจำพรรษา ณ วัดเจริญสมณกิจ

    ภูเก็ต พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ได้นิพนธ์หนังสือเล่มเล็กเรื่อง

    "โมกขุบายวิธี"

    มีความตอนว่าด้วย "วิธีแก้วิปลาส" อย่างน่าพิจารณายิ่งนัก

    "อาจารย์ผู้สอนก็ดี ลูกศิษย์ผู้เจริญภาวนาก็ดี เมื่อเข้าใจวิถีจิตที่เข้าเป็นฌาน

    แล้ว จงระวังอุปกิเลส ๑๐ จะเกิดขึ้น ถ้าจิตเข้าถึงฌานแล้ว อุปกิเลสไม่อย่าง

    ใดอย่างหนึ่งจะต้องเกิดขึ้น สำหรับนิสัยของคนบางคน แต่บางคนก็ไม่มี

    เลย" พร้อมกันนี้ พระอาจารย์เทสก์ได้เสนอแนะวิธีให้อย่างละเอียด

    เมื่ออุปกิเลสเกิดขึ้นแล้ว พึงทำความรู้เท่าว่า นี่อุปกิเลสเป็นอุปสรรคแก่

    วิปัสสนาปัญญาและอุปกิเลสนี้เกิดจากฌานหาใช่อริยะมรรคไม่ ถึงแม้

    วิปัสสนาญาณ ๙ เบื้องต้นก็เช่นเดียวกัน อย่าได้น้อมจิตส่งไปตามด้วยเข้าใจ

    ว่าเป็นของจริงของแท้ พึงเข้าใจว่านั่นเป็นเพียงภาพอันเกิดจากมโนสังขาร

    คือจิตปรุงแต่งขึ้นด้วยอำนาจของสังขารเท่านั้น พึงหยิบยกเอาพระไตรลัก

    ษณญาณขึ้นมาตัดสินว่าอุปกิเลสทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพราะฌาน

    ฌานก็เป็นโลกีย อุปกิเลสก็เป็นโลกีย โลกียทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง

    สิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวรนั่นแหละเป็นทุกข์ เพราะทนต่อความเที่ยงแท้ถาวร

    ไม่ได้แล้วก็แตกสลายดับไปตามสภาพของมันเอง ซึ่งไม่มีใครจะมีอำนาจ

    ห้ามปรามไม่ให้มันเป็นเช่นนั้นได้ ซึ่งเรียกว่า อนัตตา

    เมื่อยกเอาพระไตรลักษณญาณขึ้นมาตัดสิน ถ้าจิตเกิดปัญญาน้องลงเห็น

    ตามพระไตรลักษณะแล้ว จิตก็จะถอนออกจากอุปาทานที่เข้าไปยึดอุปกิเลส

    นั้น แล้วจะเกิดปัญญาญาณเดินตามทางอริยมรรคได้เป็นอย่างดี

    เมื่อรู้เท่าแลเห็นโทษอย่างนั้น จงคอยระวังจิต อย่าให้จิตน้อมเข้าสู่ความสุข

    เอกัคคตารวมเป็นหนึ่งได้ และอย่ายึดอารมณ์ใดๆ อันเป็นความสุขภายใน

    ของใจ แล้วจงเปลี่ยนอริยาบถ ๔ ให้เสมอ อย่ารวมอินทรีย์อันเป็นเหตุจะให้

    จิตรวมแต่ให้มีการงานทำ เพื่อให้มันลืมอารมณ์ความสุขสงบเสีย

    แต่ถ้าจิตรวมลงไปจนเกิดวิปลาสขึ้นมาแล้ว จิตเข้าไปยึดถือแน่นแฟ้นจน

    สำคัญตัวว่าเป็นผู้วิเศษไปต่างๆ นานา มีทิฐิดื้อรั้นไม่ยอมฟังเสียงใครๆ

    ทั้งหมด

    เมื่อถึงขั้นนี้แล้วก็หายากที่จะแก้ตัวเองได้ ถึงแม้อาจารย์หากไม่ชำนาญรู้จัก

    ปมด้อยของศิษย์หรือเคยผ่านเช่นนั้นมาก่อนแล้วก็ยากที่จะแก้เขาได้

    ฉะนั้น จึงควรใช้วิธีสุดท้าย คือ ใช้วิธีขู่ขนาบให้กลัวหรือให้เกิดความโกรธ

    อย่างสุดขีดจนตั้งตัวไม่ติดยิ่งดี แต่ให้ระวังอย่าให้หนีได้ ถ้าหนีไปแล้วจะไม่มี

    หนทางแก้ไขได้เลย เมื่อหายจากวิปลาสแล้วจึงทำให้ความเข้าใจกันใหม่

    วิธีสุดท้ายนี้โดยมากมักใช้กับผู้ที่ติดในภาพนิมิตรได้ผลดีเลิศ

    ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิตรมีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส ฉะนั้นวิธีแก้จึงไม่

    ค่อยผิดแผกกันนัก

    นี่จึงเป็นผลึกอันผ่านการปฏิบัติโดยตนของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสีโดย

    บริบูรณ์:

    จากหนังสือ เรื่องของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...