วิธีสร้างบุญบารมี

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย leesansuk, 1 สิงหาคม 2010.

  1. leesansuk

    leesansuk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +332
    วิธีสร้างบุญบารมี

    บุญ คือ เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุขความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ และ กุศลธรรม <O:p</O:p
    บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วิธีสร้างบุญบารมีในพุทธศาสนา มีอยู่ ๓ ขั้นตอน<O:p</O:p
    ๑. การให้ทานได้บุญน้อยที่สุด แต่ควรปฏิบัติสม่ำเสมอเพื่อให้ตัวเรามีกินมีใช้ตลอดทุกภพ ดังนั้นควรมั่นทำทาน<O:p</O:p
    ๒. การถือศีล ได้บุญมากกว่าการให้ทาน แต่น้อยกว่าการเจริญภาวนา<O:p</O:p
    ๓. การเจริญภาวนา ได้บุญบารมีมากที่สุด และเป็นการลงทุนน้อยที่สุด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๑. การให้ทาน ย่อมมีผลได้บุญบารมีมาก ซึ่งต้องถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบ ๓ประการ<O:p</O:p
    ๑.)วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์คือจะต้องเป็นสิ่งของที่ตนแสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ไม่ใช่ทุจริต ลักทรัพย์ยักยอก ปล้น ฯลฯ เช่น การฆ่าสัตว์นำเลือดเนื้อเขา ไปทำอาหารถวายพระอย่างนี้เป็นการสร้างบาป เพราะทำด้วยจิตเศร้าหมอง แต่หากซื้อเนื้อที่ผู้อื่นฆ่า โดยตนไม่มีส่วนร่วมรู้เห็นถือเป็นวัตถุทานบริสุทธิ์ อีกตัวอย่าง ในสมัย ร.๕มีนางโลมเรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณี อัตราครั้งละ ๒๕ สตางค์โดยแกชักไว้ ๕สตางค์ เก็บสะสมจนได้ประมาณ ๒,๐๐๐แล้วนำมาจัดสร้างวัดด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแกก็ปลื้มปิติไปนมัสการถาม หลวงพ่อโตว่าแกจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่าได้แค่ ๑สลึงแกก็เสียใจ เหตุเพราะวัตถุทานนั้นไม่บริสุทธิ์ เพราะเบียดเบียนจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจให้ฉะนั้นบรรดาพ่อค้าที่ซื้อของมาถูก แล้วมาขายแพงๆ จนเกินส่วนที่ควรได้ผลกำไรได้มาเพราะโลภจัดย่อมไม่บริสุทธิ์<O:p</O:p
    ๒.) เจตนาการให้ทานต้องบริสุทธิ์ จุดมุ่งหมายของการให้ทาน คือขจัดความโลภ ตระหนี่ถี่เหนี่ยวเพื่อสงเคราะห์ให้ผู้อื่นได้รับสุข ด้วยเมตตาธรรมของตน เป็นก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหาร๔ซึ่งเป็นเจตนาในการทำทานที่บริสุทธิ์ ซึ่งแบ่งเป็น๓ ระยะ<O:p</O:p
    ๒.๑ระยะก่อนทำทานต้องมีจิตโสมนัส ร่าเริง เบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ให้ผู้อื่นได้รับความสุขเพราะทรัพย์สินของตน<O:p</O:p
    ๒.๒ระยะลงมือทำ ก็ต้องทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดี เบิกบาน<O:p</O:p
    ๒.๓ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้วหวนคิดถึงที่ตนได้ทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตโสมนัส เบิกบาน ยินดีในทานนั้นๆ<O:p</O:p
    แต่เจตนาที่บริสุทธิ์นี้จะยิ่งบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้นไปอีกหากผู้ให้ทาน ได้ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญว่า บรรดาทรัพย์สินทั้งปวงแท้จริงเป็นเพียงสมบัติกลางเมื่อตายไปก็เอาไปไม่ได้วัตถุทานจะมากหรือน้อยเป็นของเลว หรือไม่ประณีตไม่สำคัญเมื่อเราทำไปตามกำลังทรัพย์ที่มีอยู่ ย่อมใช้ได้แต่อย่าทำแล้วมาเบียดเบียนตัวเอง เช่นมีน้อยฝืนทำมากๆ จนเกินกำลัง ทำให้หลังทำตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องลำบากยากแคลนไม่มีกินไม่มีใช้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง ดังนั้นเจตนานั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ ถึงแม้วัตถุทานมาก<O:p</O:p
    ก็ย่อมได้บุญน้อยตัวอย่างที่ ๑.ทำเพราะอยากได้หน้าไม่มีเจตนาสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่า ทำทานด้วยความโลภ ตัวอย่างที่ ๒.ทำทานด้วยการฝืนใจ เสียไม่ได้ทำด้วยความเสียดาย มีพวกพ้องมาเรี่ยไรตนเอง ไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้าง แต่ต้องจำใจทำไปเพราะความเกรงใจพวกพ้องเกรงเสียหน้า เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หรือไม่ได้บุญเลย ตัวอย่างที่ ๓. ทำด้วยความโลภ ทำเพราะอยากได้นี่ได้โน่น ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะมาขจัดความตระหนี่ เช่น ทำทาน ๑๐๐บาท แต่ขอให้ร่ำรวยนับล้าน สิ่งเหล่านี้เป็นสมบัติสวรรค์หากชาติก่อนไม่เคยทำบุญใส่บาตร ฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็ขอมาเบิกในชาตินี้จะมีที่ไหนให้เบิกทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลยสิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากขึ้นและหนาขึ้น คือ ความโลภ สำหรับผลของทานนั้น หากน้อย หรือมีกำลังไม่มากนักย่อมน้อมนำให้ได้เกิดในมนุษยชาติ หากมีกำลังแรงมาก อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในทางโลก ๖ ชั้น เมื่อเสวยสมบัติเทวโลกจนสิ้นบุญแล้วด้วยเศษบุญที่ยังคงเหลืออยู่บ้าง ประกอบกับไม่มีอกุศลธรรมอื่นก็อาจน้อมนำให้บังเกิด เป็นมนุษย์อีกครั้งหนึ่งแล้วย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลร่ำรวยมั่งคั่งสมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือเป็นผู้ที่ทำมาหากินขึ้น และร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปแต่จะมั่งคั่งร่ำรวยในวัยใด ย่อมสุดแต่ผลทานชาติก่อนๆ <O:p</O:p
    - ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนลงมือทำทานมีจิตโสมนัส ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมเกิดในตระกูลที่ร่ำรวยชีวิตวัยต้นอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ แล้วหากเจตนาไม่บริสุทธิ์ทั้ง ๓ ระยะผลทานนั้นย่อมไม่สม่ำเสมอกัน ขณะกำลังทำทานเกิดจิตเศร้าหมอง เสียดาย หวงแหนจะให้ทานก็เกิดหมดศรัทธา แต่ยังฝืนทำทานไป มีผลให้วัยกลางคน สมบัติอาจหายนะไป เช่น โดนปล้น โดนหลอก ฯลฯ แต่หากบริสุทธิ์ทั้ง๓ระยะ ก็จะร่ำรวยตั้งแต่วัยเกิด กลางคน ชรา<O:p</O:p
    - ร่ำรวยในวัยกลางคนสืบเนื่องเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่๒ เช่นก่อนทำไม่มีจิตศรัทธา เช่น ทำตามพวกพ้องอย่างเสียไม่ได้ แต่ เมื่อทำแล้วก็เกิดความสุขในขณะทำ วัยเด็กยากจนวัยกลางคนทำธุรกิจประสบผลสำเร็จ ส่วนระยะที่๓ หากไม่บริสุทธิ์ ผลทานอาจหมดกำลังทำให้ล้มเหลววัยชรา<O:p</O:p
    - ร่ำรวยบั้นปลายสืบเนื่องมีเจตนาไม่งามไม่บริสุทธิ์ตั้งแต่ระแรกถึงระยะสองแต่งามบริสุทธิ์ระยะที่๓ เช่น บังเอิญทำไปตามพวกพ้องแบบเสียไม่ได้ แต่เมื่อหวนคิดถึงทานนั้นก็มีจิตโสมนัส ดังนั้น เกิดในตระกูลยากจนต้องสร้างตัวเอง ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด จนถึงบั้นปลายถึงร่ำรวย <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๓.) เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์ หมายถึง ผู้ที่รับทานต้องเป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ เช่น จะปลูกพืช ดินก็ดี น้ำก็ดี แต่พื้นดินไม่ดีซึ่งพืชที่ปลูกอาจไม่งอก เพราะพื้นดินแห้งแล้งดังนั้นการทำทานตัวบุคคลที่รับทานเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเราทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยขึ้นอยู่ กับ คนที่รับทานเรานั้นเป็น ผู้มีศีลธรรมสูงมากน้อยแค่ไหนปัญหาว่าทำอย่างไรจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ย่อมขึ้นกับวาสนาของผู้ทำทาน หากเรามีสร้างบารมีในอดีตชาติก็จะได้พบกับท่านที่มีเนื้อนาบุญที่ประเสริฐทำทานครั้งใดก็โชคดีได้พบกับท่านผู้ปฎิบัติดีเสียทุกครั้ง (ตามความเห็นของข้าพเจ้า ไม่ควรเลือกทำทานกับผู้มีศีลเยอะๆเพียงประเภทเดียว อย่างนี้ประเภทอื่นๆก็ไม่มีคนไปทำ อย่างไรก็ตามหากได้มีโอกาสไม่ว่าเจอะเจอ บุคคลประเภทใดก็ตาม หรือกับสัตว์เดรัจฉาน ถ้าเรามีกำลังทรัพย์พอช่วยเหลือได้ ก็ตั้งใจมั่นสร้างบุญบารมี ทำทานกันเถอะ)
    ***ทางพุทธมหายาน การได้ถวายทานกับคนระดับล่าง, สัตว์เดรัจฉาน หรือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ถือว่า เป็นการทำบุญถวายกับพระพุทธองค์ เพราะว่าในอนาคตท่านเหล่านี้ก้อจะได้สำเร็จเป็นพระโพธิสัตว์ และเป็นพระพุทธองค์เช่นกัน อีกทั้งถือเป็นโพธิสัตว์จริยาวัตร คือได้ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของพระพุทธองค์ คือบำเพ็ญทานบารมี ***
    "<O:p</O:pตักบาตรพระล้านครั้งไม่เท่ายื่นอาหารให้พ่อแม่ เพียงครั้งเดียว"<O:p</O:p
    ๓.๑ ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้มากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรมเลย<O:p</O:p
    ๓.๒ ทำทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรมวินัยมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๕ เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๓ ทำทานแก่ผู้มีศีล๕ มากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานผู้มีศีล ๘ เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๔ ทำทานแก่ผู้มีศีล๘ มากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานผู้มีศีล๑๐ เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๕ ทำทานแก่ผู้มีศีล๑๐ มากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานผู้มีศีล ๒๒๗ เพียงครั้งเดียว <O:p</O:p
    พระที่บวชเข้ามา มีคุณธรรมต่างกัน เนื้อนาบุญก็ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามา มีศีลปาติโมกข์สังวร ๒๒๗ข้อนั้น สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่า พระ แต่เป็น พระสมมุติเท่านั้น ( สมมุติสงฆ์ ) พระที่แท้จริงคือ บุคคลที่บรรลุธรรม ตั้งแต่ต้นพระโสดาบันไม่ว่าท่านจะบวช หรือเป็นฆราวาสก็ตาม พระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกัน หลายระดับ จากน้อยไปหามาก คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า และสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๓.๖ การถวายทานแด่องค์พระสมมติสงฆ์ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแก่พระโสดาบัน เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๗ การถวายทานแด่พระโสดาบัน มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแด่ พระสกิทาคามี เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๘ การถวายทานแด่พระสกิทาคามี มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแด่ พระอนาคามี เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๙ การถวายทานแด่พระอนาคามี มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแด่ พระอรหันต์ เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๑๐ การถวายทานแด่พระอรหันต์ มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๑๑ การถวายทานแด่พระปัจเจกพุทธเจ้ามากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ถวายทานแด่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๑๒ การถวายทานแด่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การถวายสังฆทาน ที่มีองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะเพียงครั้งเดียว<O:p</O:p
    ๓.๑๓ ที่มีองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ถวายวิหารทาน คือ การสร้างหรือ ร่วมสร้าง สิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ ที่จะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับกิจในพุทธศาสนาก็ได้ เช่น บ่อน้ำในโรงเรียน โรงพยาบาล ศาลาป้ายบอกทาง เมรุเผาศพ โบสถ์ ศาลา วิหาร ศาลาท่าน้ำ ฯลฯ<O:p</O:p
    ๓.๑๔ การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า การให้ธรรมทาน แม้จะให้แค่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การสอนธรรมะให้ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ ให้ได้รู้หรือเข้าใจใน มรรค ผล นิพพาน มากยิ่งขึ้น ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐินั้น ได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมถึง พิมพ์แจกหนังสือธรรม<O:p</O:p
    ๓.๑๕ การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า อภัยทาน แม้จะให้แค่เพียงครั้งเดียว การให้อภัยทานคือไม่ผูก โกรธ อาฆาต จองเวร หรือไม่พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น แม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน อภัยทานเป็นเมตตาพรหม ที่ผู้บำเพ็ญฌาน และวิปัสสนา ย่อมละเสียได้ซึ่ง พยาบาท <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๒. การรักษาศีล ศีล แปลว่า ปกติ คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวัง รักษา ตามเพศ และฐานะ ศีลนั้น มีหลายระดับ ศีล ๕, ศีล๘, ศีล๑๐, ศีล๒๒๗ ในบรรดาศีลชนิดเดียวกันยังแยกออกเป็น ระดับธรรมดา กลาง และสูงอีกด้วย มนุษย์เป็นผู้มีใจอันประเสริฐ คุณธรรมที่ต้องทรงไว้ให้ได้ตลอด คือ ศีล๕ หากผู้ใดไม่มีศีล๕ ไม่เรียกว่า มนุษย์ เรียกว่า คน แปลว่า ยุ่งอย่างไรก็ดี ผู้ที่ให้อภัยทาน มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า ถือศีล๕ เพียงครั้งเดียว และยิ่งถือศีลได้สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้บุญมากยิ่งขึ้นเท่านั้น ผลของการ รักษาศีลนั้นมีมาก จะยังประโยชน์สุขให้แก่ผู้รักษาศีลนั้นๆ ทั้งในชาตินี้ และชาติหน้า เมื่อได้ละอัตภาพนี้แล้ว ย่อมส่งผลให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แล้วแต่ความละเอียดประณีตของศีลที่รักษาและบำเพ็ญมาเป็นมนุษย์ ถึงพร้อมด้วยสมบัติ ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุข และ พลัง<O:p</O:p
    อานิสงส์ของการรักษาศีล๕คือ ๑.ไม่ฆ่าสัตว์ สุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว ไม่มีศัตรูหรืออุบัติเหตุต่างๆมาเบียดเบียน ๒.ไม่ลักทรัพย์ ทำให้เกิดมาในตระกูลร่ำรวย ทำมาหาเลี้ยงชีพในภายหน้า มั่งมีทรัพย์ ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะ ๓.ไม่ล่วงประเวณี จะได้พบรักแท้ที่จริงจัง และจริงใจ ได้บุตรก็จะว่านอนสอนง่าย บุตรจะนำชื่อเสียง เกียรติยศมาสู่วงศ์ตระกูล ๔.ไม่กล่าวมุสา ทำให้เสียงดี พูดจามีน้ำมีนวล มีเหตุมีผล เจรจาสิ่งใดก็มีผู้เชื่อฟัง และเชื่อถือ ๕.ไม่ดื่มของมึนเมาเสพติด จะมี ปัญญาดี ความคิดแจ่มใส สติดี ไม่เป็นวิกลจริต
    <O:p</O:p
    การรักษาศีลนั้น แม้จะมีอานิสงส์เพียงไร ก็ยังเป็นเพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลางๆ เพราะเป็นเพียงระเบียบ หรือกติกา ที่จะรักษากาย วาจาเท่านั้น ทางจิตใจ ศีล ยังไม่สามารควบคุมได้ จึงได้บุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนานั้นรักษาจิตใจ ซักฟอกจิตให้เบาบางจนหมดกิเลส<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๓. การภาวนา เป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา การเจริญภาวนานั้นมี 2 อย่าง คือ <O:p</O:p
    ๓.๑ สมถภาวนา การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาณ คือการทำจิตให้ตั้งมั่น อยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปยังอารมณ์อื่น วิธีภาวนามีหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติเป็นแบบอย่างไว้ ๔๐ ประการ เรียกว่า กรรมฐาน ๔๐ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัย และวาสนาบารมี ที่ได้สร้างสมอบรมมาแต่ในอดีตชาติ ซึ่งก็ต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ด้วย หากศีลไม่มั่นคง ย่อมเจริญฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นรากฐาน เป็นกำลังให้เกิดสมาธิขึ้น การถือศีล ๒๒๗ ข้อ มาเป็นเวลา ๑๐๐ ปี ก็ยังได้บุญกุศลน้อยกว่า การทำสมาธิเพียงให้จิตสงบ นานเพียงชั่วไก่กระพือปีก จิตสงบ คือ จิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ เรียกว่า ขณิกสมาธิ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ หัดยืนแล้วก็ล้มลง เป็นจิตที่ยังไม่ตั้งมั่น การทำสมาธิ มีหลายขั้นตอน ระยะก่อนเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือ ขณิกสมาธื และอุปจารสมาธิ การทำสมาธิเป็นการสร้างบุญกุศลยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ต้องเสียเงินทอง ไม่ต้องเหนื่อยยาก เพียงแต่เพียงระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตมิให้แส่ส่ายไป สู่อารมณ์อื่นๆ ให้ตั้งมั่นอยู่อารมณ์เดียวเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๓. ๒ วิปัสสนาภาวนา เมื่อจิตตั้งมั่นในสมาธิดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่างๆ วิปัสสนาเป็นจิตที่คิดใคร่ครวญ หาเหตุ และผลในสภาวธรรมทั้งหลาย ทุกสิ่งเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเข้าใจจนจิตเข้าสู่กระแสธรรม ตัดกิเลสได้ ปัญญาที่เห็นสภาพความเป็นจริงไม่ใช่แต่เพียงปัญหาที่นึกคิด และคาดหมายเอาเท่านั้น ย่อมมีตาวิเศษ เรียก ญาณทัสสนะ เมื่อจิตอบรมสมาธิ จนมีกำลังดีแล้ว สมาธิอบรมปัญญา คือ สมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมือวิปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตย่อมเบา และใสสะอาด สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งขึ้นๆไปอีก เรียกปัญญาอบรมสมาธิ ดังนั้นปัญญาเป็นเหตุผลของกันและกัน จะขาดกำลังสมาธิมาสนับสนุนไม่ได้เลย ต้องทำควบคู่กันไป <O:p</O:p
    อันสังขารนั้นล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ ตัว ตน คน สัตว์ ไม่มีตัวตน เป็นเพียง แค่ดิน น้ำ ลม ไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุ ตามปัจจัยเท่านั้น เพราะเมื่อตายผุผัง ก็จะสลายไปยังธาตุเดิมทั้ง๔ เมื่อจิตเห็นความเป็นจริง ก็จะคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ ความยึดมั่นถือมั่น สุขทั้งหลาย ความโลภ โกรธ หลง ก็จะเบาบางลงตามลำดับ ปัญญาญาณ จนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งหมด บรรลุพระอรหันตผลเมื่อเปรียบการให้ทาน เช่นกับ กรวดทราย เปรียบวิปัสสนาเป็นเพชรน้ำเอก ซึ่งทานย่อมไม่มีทางจะเทียบศีล ศีลก็ไม่มีทางที่จะเทียบสมาธิ และสมาธิก็ไม่มีทางเทียบกับวิปัสสนาแต่ตราบใดที่เราท่านทั้งหลาย ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทุกๆทาง เพื่อความไม่ประมาท โดยทำทั้งทาน ศีล และภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ หากทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว ไม่ทำบุญเลย เกิดชาติหน้า เหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียว ไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งพระนิพพานไปไม่ได้เหมือนกันการเจริญสมถะ และวิปัสสนาอย่างง่ายๆ ประจำวันไม่ว่าจะอยู่อริยบถใด ยืน เดิน นั่ง นอน คิด และใคร่ครวญถึงความเป็นจริง ๔ ประการ ดังนี้ ทำแล้ว พระพุทธองค์ ตรัสว่า จิตของผู้นั้น ไม่ห่างจากวิปัสสนา และเป็นผู้ไม่ห่างจาก มรรคผลนิพพาน คือ<O:p</O:p
    - จิตใคร่ครวญระลึกถึงความตาย เตือนสติให้ตื่น รีบพากเพียรชำระจิตให้บริสุทธิ์ ประกอบแต่คุณความดี<O:p</O:p
    - จิตใคร่ครวญร่างกาย คน สัตว์ อันเป็นนิยมรักใคร่เสน่หา ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งตัณหาราคะ กามกิเลส ตายแล้วความงามก็ไม่หลงเหลืออยู่ ต้อง เน่าเหม็น แตก สลายไป<O:p</O:p
    - จิตใคร่ครวญพิจารณาร่างกาย เป็นสิ่งปฏิกูลทั่วร่าง เพียงแค่ผิวหนังห่อหุ้มไว้ หากไม่ห่อหุ้ม ก็ดูไม่ได้ หมดเสน่หา พากันรังเกียจก้อนขี้สิ่งสกปรกที่มีในร่างกายเต็มไปหมด แม้แต่เจ้าของก็ด้วย ดังนั้นเมื่อรู้แล้วก็เบื่อหน่ายร่างกายทั้งของตนและ ผู้อื่น ทำให้ง่ายต่อการนิพพิทาญาณแท้จริง หลงสิ่งที่ไม่น่าหลงใหล <O:p</O:p
    - จิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน เมื่อคนสัตว์สิ่งของ แตกสลาย ตายเน่าผุผัง ก็ทำให้กลับสู่ความเป็นดิน น้ำ ลม ไฟตามเดิม <O:p</O:p
    ************ ดังนั้น พวกเราควรเร่งขวนขวายสร้างบุญบารมี ที่เป็นอริยทรัพย์อันประเสริฐ ซึ่งจะติดตามตัวไปได้ในทุกๆชาติ *****************<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2011
  2. kanid

    kanid เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    342
    ค่าพลัง:
    +2,596
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    [​IMG]

    ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ
     
  4. vihok_airport

    vihok_airport เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +106
    อนุโมทนาค่ะ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ขอให้ประสบแต่สิ่งที่ดีงามค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...