วิธีสร้างบุญบารมี

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย pucca2101, 15 ธันวาคม 2008.

  1. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    <CENTER>สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก </CENTER>




    <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    ผู้พิมพ์ขอย่นย่อเรื่องในบางส่วนของวิธีสร้างบุญบารมี จากหนังสือวิธีสร้างบุญบารมีโดยสมเด็จพระญาณสังวร มาพอสังเขปเพื่อให้เนื้อหาใจความกระชับกะทัดรัด เหมาะแก่การพิมพ์เป็นบทความสั้นพอที่เผยแผ่ทางอินเตอร์เน็ต

    บุญ ความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวว่า บุญ คือ เครื่องชำระ สันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทาง กาย วาจา ใจ กุศลธรรม


    บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงสุด

    วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนามีอยู่ ๓ ขั้นตอน คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา ที่นิยมเรียกกันว่า “ทาน ศีล ภาวนา”

    ท่านกล่าวไว้ว่า ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ​

    การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมีมากถึง ๑๐๐ ครั้งก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน ได้แก่การสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลา และสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่สาธารณะเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น ​

    การถวายวิหารทาน ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง) ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้ไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วก็ให้รู้ยิ่งๆ ขึ้นไป ให้ได้เข้าใจในมรรคผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้อื่นให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์ การแจกหนังสือธรรมะ ​

    การให้ธรรมทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่า การให้ “อภัยทาน” แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานคือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน​

    เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ “โทสะกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม” อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหารสี่ให้เกิดขึ้น เพราะการให้อภัยทานเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดว่าเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง (ทานอย่างอื่นอาจต้องเสียสละทรัพย์สินเงินทอง แต่อภัยทานนี้ไม่ต้องเสียทรัพย์สินเงินทอง เพียงเสียสละทางใจให้อภัยแม้ศัตรู) ​

    อย่างไรก็ดีการให้อภัยทานแม้จะมากเพียงไร ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับต่ำกว่า “ฝ่ายศีล” เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน แม้จะได้ถือศีลแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม ​




     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2008
  2. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    ศีล” นั้นแปลว่า “ปกติ” ศีลนั้นมีหลายระดับ คือศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ในบรรดาศีลประเภทเดียวกันยังแบ่งแยกออกเป็น ระดับธรรมดา มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) และอธิศีล (ศีลอย่างสูง ศีลอย่างอุกฤษฏ์)

    การรักษาศีลเป็นการเพียรพยายามเพื่อระงับโทษ ทางกาย วาจา อันเป็นเพียงกิเลสอย่างหยาบมิให้กำเริบขึ้น และเป็นการบำเพ็ญบุญบารมีที่สูงกว่าทาน ทั้งในการถือศีลเองยังเป็นบุญมากน้อยต่างกันตามลำดับ

    การถือศีล ๕ แม้จะมาก ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการถือศีล ๘ แม้เพียงครั้งเดียว

    การถือศีล ๘ แม้จะมาก ๑๐๐ ครั้ง ก็เป็นบุญน้อยกว่าการถือศีล ๑๐ แม้เพียงครั้งเดียว (แม้บวชเณรวันเดียว)

    การได้บวชเป็นสามเณร รักษาศีล ๑๐ แม้รักษาไม่ให้ขาดหรือด่างพร้อยนาน ๑๐๐ ปี (เปรียบเทียบ) ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าการถือศีล ๒๒๗ แม้บวชได้เพียง ๑ วัน

    ฉะนั้นการได้บวชอุปสมบทเป็นพระในพระพุทธศาสนาได้บุญบารมีมาก เพราะเป็นเนกขัมมบารมีในบารมี ๑๐ ซึ่งเป็นการออกจากกามเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติธรรมขั้นสูง คือการภาวนาเพื่อ มรรค ผล นิพพานต่อไป

    อานิสงส์แห่งศีลย่อมมีตามลำดับประเภทของศีลที่รักษา แต่ศีลนั้นแม้จะมีอานิสงส์มากเพียงไรก็ยังเป็นแต่เพียงการบำเพ็ญบุญบารมีในชั้นกลางๆ ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น เพราะเป็นแต่เพียงระเบียบหรือกติกาที่จะรักษา กาย วาจา ให้สงบเท่านั้น ไม่ให้ก่อเกิดทุกข์โทษขึ้นทาง กาย วาจาเท่านั้น

    ส่วนทางจิตใจนั้น ศีลยังไม่สามารถควบคุมหรือทำให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้นการรักษาศีลจึงยังเป็นบุญน้อยกว่าการภาวนา เพราะการภาวนานั้นเป็นการรักษาใจ รักษาจิต และซักฟอกจิตให้เบาบางหรือจนหมดกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็นเครื่องร้อยรัดให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ การภาวนาจึงเป็นการบำเพ็ญบารมีที่สูงที่สุด ประเสริฐที่สุดเป็นบุญมากที่สุด เป็นกรรมอันยิ่งใหญ่เรียกว่า “มหัคคตกรรม” อันเป็นมหัคคตกุศล


    ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.ph...roup=1&gblog=1<!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    การเจริญภาวนานั้นเป็นการสร้างบุญบารมีที่สูงที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา จัดว่าเป็นแก่นแท้และสูงสุด ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา การเจริญภาวนานั้นมี๒อย่าง คือ

    ๑. สมถภาวนา (การทำสมาธิ)
    ๒. วิปัสสนาภาวนา ( การเจริญปัญญา)

    สมถภาวนา

    ได้แก่การทำจิตให้เป็นสมาธิ หรือเป็นฌาณ ซึ่งก็คือทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านแส่ส่ายไปยังอารมณ์อื่นๆ วิธีภาวนามีมากหลายร้อยชนิด ซึ่งพระพุทธองค์ทรงบัญญัติแบบอย่างเอาไว้ ๔๐ ประการ เรียกกันว่า “กรรมฐาน ๔๐” ซึ่งผู้ใดจะใช้วิธีใดก็ได้ตามความสมัครใจ ทั้งนี้ย่อมสุดแล้วแต่อุปนิสัยและวาสนาบารมีที่ได้เคยสร้างสม อบรมมาแต่ในอดีตชาติ

    เมื่อสร้างสมอบรมมาในกรรมฐานกองใด จิตก็มักจะน้อมชอบกรรมฐานกองนั้นมากกว่ากองอื่นๆ และการเจริญภาวนาก็ก้าวหน้าเร็วและง่าย แต่ไม่ว่าจะเลือกปฏิบัติวิธีใดก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาศีลให้ครบถ้วนบริบูรณ์ตามเพศของตน หากเป็นฆารวาสก็จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นอย่างน้อย หากเป็นสามเณรจะต้องรักษาศีล ๑๐ เป็นพระรักษาศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อให้บริบูรณ์ ไม่ให้ขาดและด่างพร้อย

    หากศีลยังไม่มั่นคงย่อมเจริญในฌานให้เกิดขึ้นได้โดยยาก เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐาน (เป็นกำลัง) ให้เกิดสมาธิขึ้น อานิสงส์สมาธินั้นมีมากกว่าศีลอย่างเทียบกันไม่ได้ ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า “แม้จะได้อุปสมบทเป็นภิกษุรักษาศีล ๒๒๗ ข้อไม่เคยขาด ไม่ด่างพร้อยมาเป็นเวลา ๑๐๐ ปี ก็ยังได้กุศลน้อยกว่าผู้ที่ทำสมาธิเพียงให้จิตสงบนานเพียงชั่ว ไก่กระพือปีก ช้างกระดิกหู”

    คำว่าจิตสงบในที่นี้หมายถึงจิตที่เป็นอารมณ์เดียวเพียงชั่ววูบ ที่พระท่านเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” คือสมาธิเล็กๆ น้อยๆ สมาธิแบบเด็กๆ ที่เพิ่งหัดตั้งไข่ คือหัดยืนแล้วก็ล้มลง แล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่ ซึ่งเป็นอารมณ์ที่จิตยังไม่ตั้งมั่น สงบลงวูบเล็กน้อยแล้วก็รักษาไว้ไม่ได้ ซึ่งยังห่างไกลต่อจิตขั้นอุปจารสมาธิและฌาน แม้กระนั้นยังมีอานิสงส์มากมายถึงเพียงนี้ โดยหากผู้ใดจิตทรงอารมณ์อยู่ในขั้นขณิกสมาธิแล้วบังเอิญตายลงขณะนั้น อานิสงส์จะส่งผลให้ได้ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นที่ ๑ (จาตุมหาราชิกา) หากจิตยึดไตรสรณคมน์ (มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันสูงสุดด้วย ก็เป็นเทวดาชั้นที่ ๒ คือดาวดึงส์)

    สมาธินั้นมีหลายขั้นตอน ระยะก่อนเป็นฌาน (อัปปนาสมาธิ) ก็คือขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ ซึ่งอานิสงส์ส่งให้ไปบังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น แต่ไม่ถึงชั้นพรหมโลก สมาธิในระดับอัปปมาสมาธิหรือฌานนั้น มีรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลให้ไปบังเกิดในพรหมโลกรวม ๒๐ ชั้น แต่จะเป็นชั้นใดสุดแล้วแต่ความละเอียดประณีตของกำลังฌานที่ได้ (เว้นแต่พรหมโลกชั้นสุทธาวาส คือชั้นที่ ๑๒ ถึงชั้นที่ ๑๖ ซึ่งเป็นที่เกิดของพระอนาคามีบุคคลโดยเฉพาะ)

    ส่วนอรูปฌานที่เรียกว่า “เนวสัญญา นาสัญญายตนะ” นั้น ส่งผลให้บังเกิดในพรหมโลกชั้นสูงสุด คือชั้นที่ ๒๐ ซึ่งมีอายุยืนยาวถึง ๘๔,๐๐๐ มหากัป เรียกกันว่านิพพานพรหม คือนานเสียจนเกือบหาเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดมิได้ จนเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นนิพพาน (แต่ไม่ใช่นิพพาน)

    การทำสมาธิเป็นการบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ลงทุนน้อยที่สุด เพราะไม่ต้องเสียเงินทอง ไม่เหนื่อยยากต้องแบกหามแต่อย่างใด เพียงแต่ระวังรักษาสติ คุ้มครองจิตไม่ให้แส่ส่ายไปสู่อารมณ์อื่นๆ โดยให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม การเจริญสมถภาวนาหรือสมาธินั้น แม้ได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้นั้นก็เป็นเนื้อไม้เท่านั้น การเจริญวิปัสสนา (การเจริญปัญญา) จึงเป็นบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นแก่นไม้โดยแท้

    อารมณ์ของวิปัสสนานั้นแตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะสมาธินั้นมุ่งให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียว โดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้นไม่นึกคิดอะไรๆ แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลาย

    และสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้นมีแต่เพียงอย่างเดียว คือ “ขันธ์ ๕” ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “รูป- นาม” โดยรูปมี ๑ ส่วน นามมี ๔ ส่วน คือ เวทนา, สัญญา, สังขาร และวิญญาณ

    ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชาคือความไม่รู้เท่าสภาวธรรมจึงทำให้เกิดความยึดมั่น ด้วยอำนาจอุปาทานว่าเป็นตัวตนของตน

    การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลาย อันได้แก่ ขันธ์๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็นพระไตรลักษณ์ คือ

    - อนิจจัง (ความไม่เที่ยง สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจตั้งมั่นทรงตัวอยู่ในสภาพเดิม)

    - ทุกขัง (สภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ คือสรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจจะทนตั้งมั่นอยู่ในสภาพนั้นๆ ได้ตลอดไป ไม่อาจทรงตัวและต้องเปลี่ยนแปลงไป)

    - อนัตตา (ความไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล สิ่งของ โดยสรรพสัตว์ทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนแต่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย)

    ปัญญาที่จะเห็นสภาพดังกล่าวไม่ใช่ปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาในที่พระท่านเรียกว่า “ญาณทัศนะ”

    “สมาธิอบรมปัญญา” คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาได้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็ยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า “ปัญญาอบรมสมาธิ”

    ฉะนั้นทั้งสมาธิและปัญญาจึงเป็นเหตุและผลของกันและกัน และอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย อย่างน้อยที่สุดจะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะเริ่มแรก สมาธิจึงเปรียบเหมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหิน คมดีแล้ว ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดพังลงได้

    ฉะนั้นการเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่จะก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น

    ซึ่งพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ผู้ใดแม้จะทำสมาธิจนจิตเป็นฌานได้นาน ๑๐๐ ปี และไม่เสื่อม ก็ยังเป็นบุญน้อยกว่าผู้ที่มองเห็นความจริงว่า สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้จะเห็นเพียงชั่วขณะจิตเดียวก็ตาม”

    จะเห็นได้ว่าวิปัสสนาภาวนานั้นเป็นสุดยอดของการสร้างบุญบารมีโดยแท้จริง ไม่ต้องเหนื่อยยากไม่ต้องแบกหาม ไม่ต้องลงทุนเสียทรัพย์แต่อย่างใด เมื่อเปรียบการให้ทานเหมือนกับกรวดทราย ก็เปรียบวิปัสสนาเหมือนเพชรน้ำเอก ซึ่งทานไม่มีทางที่จะเทียบศีล ศีลไม่มีทางที่จะเทียบสมาธิ และสมาธิไม่มีทางที่จะเทียบกับวิปัสสนา

    แต่ตราบใดที่ท่านทั้งหลายยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็ต้องเก็บเล็กผสมน้อย โดยทำทุกๆ ทางเพื่อความไม่ประมาท โดยทั้งทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา สุดแต่โอกาสจะอำนวยให้ จะถือแต่ว่าวิปัสสนาลงทุนน้อยที่สุดและได้กำไรมากที่สุด ก็เลยทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว โดยไม่ยอมลงทุนให้ทานใดๆ ไว้เลย เมื่อเกิดชาติหน้าเพราะเหตุที่ยังไม่ถึงฝั่งพระนิพพาน ก็เลยมีแต่ปัญญาอย่างเดียวไม่มีจะกินจะใช้ ก็เห็นจะเจริญวิปัสสนาให้ถึงฝั่งไปไม่ได้เหมือนกัน

    เทศน์สอนโดย สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,792
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    ผมปรารถนาจะทําให้ได้หมดตามกระูทู้ที่กล่าวมาครับ หวังว่าซักวันหนึ่ง คงต้องมีวันนั้น
     
  5. nop_2550

    nop_2550 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    239
    ค่าพลัง:
    +341
    ครอบครัว พชรโพธิ์้เจริญ ขอร่วมอนุโมทนาบุญกุศลด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  6. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    สาธุค่ะ เป็นกำลังใจให้นะคะ
     
  7. yaba150

    yaba150 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    983
    ค่าพลัง:
    +637
    ซักวันผมก็จะขอยืนอยู่จุดนั้นให้ได้ครับ
     
  8. pucca2101

    pucca2101 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    5,805
    ค่าพลัง:
    +20,896
    สาธุค่ะ เป็นกำลังใจให้นะค่ะ
     
  9. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ นุ โ ม ท น า ส า ธุ...ทำให้ได้ทั้ง ทานศีลภาวนา นั้นคือสิ่งที่ถูกต้อง
     

แชร์หน้านี้

Loading...