วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวร ตอน เสบียงเพื่ออนาคต

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 23 ธันวาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวร ตอน เสบียงเพื่ออนาคต
    [​IMG]
    พระพุทธองค์ทรงสอนไว้อย่างหนึ่งที่เป็นคุณอย่างยิ่งแก่ ผู้ปฏิบัติคือทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบัน ๑ ไม่ให้อาลัยอดีต ๑ ไม่ให้เพ้อฝันถึงอนาคต ๑ ทั้งสามประการนี้ไม่ได้หมายถึงที่เป็น โทษ แต่หมายถึงที่เป็นคุณประโยชน์เท่านั้น

    ที่ว่าไม่ให้อาลัยถึงอดีตก็มีความหมายตรงตัว คืออะไร ที่เกิดขึ้นแล้ว ผ่านไปแล้ว แม้เป็นความสุข ความชื่นชอบยินดี ก็อย่าไปผูกใจอาลัยถึง อยากให้กลับมาดำรงอยู่ต่อไป ซึงเป็นไป่ ไม่ได้เมื่อเป็นไปไม่ได้แม้ไปอาลัยอาวรณ์ปรารถนาให้เป็น ไปให้ได้ก็ย่อมจะต้องได้รับความทุกข์เพราะความไม่สมหวัง ถ้าเป็นความทุกข์ความไม่ชื่นชอบยินดีพอใจ ก็อย่าไปผูกใจ อาวรณ์ถึง แต่จงปล่อยเสีย การนำใจไปผูกไว้กับเรื่องราวที่เป็น ทุกข์เป็นความเศร้าหมอง ย่อมทำให้ต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน
    ไม่สิ้นสุด ความทุกข์ร้อนควรจะหมดสิ้นไปพร้อมกับอดีตที่ล่วง ไปแล้ว ผู้มีปัญญาพึงปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ เมื่อคิดถึงอดีตให้หยุดเสีย ให้พยายามลืมอดีตเสีย จะได้พ้น จากทุกข์โทษของอดีต อย่างไรก็ตาม ที่ให้วางอดีตเสียนั้น ไม่ได้ หมายความว่าให้ลืมอะไร ๆ ทั้งหมดที่เกิดแล้ว ความลืมกับ ความปล่อยวางไม่เหมือนกัน พระพุทธองค์ไม่ทรงสอน ให้ลืม ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ทรงสอนให้มีสติจำที่ควรจำ คือจำสิ่งที่เป็น คุณประโยชน์ที่ไม่เป็นกิเลส แต่ทรงสอนให้ลืมสิ่ง ที่เป็นกิเลส ที่ก่อให้เกิดกิเลสโทษทุกข์ทุกอย่าง ไม่มียกเว้นว่าให้อาลัยอดีต เรื่องนี้เพราะมีความสำคัญเป็นพิเศษ อดีตเป็นทุกข์เป็นกิเลสทุก อย่างต้องลืมให้หมด ปล่อยให้หมด วางให้หมด

    อนาคตก็ไม่ให้เพ้อฝันถึง คือไม่ให้คาดคะเนว่าอนาคต จะได้ลาภได้ยศอย่างนั้นอย่างนี้เพราะการคาดคะเนล่วงหน้า เช่นนี้ทำใจฟุ้งซ่านไม่สงบสุขในปัจจุบันด้วย และในอนาคต ถ้า ไม่เป็นไปตามคาดคิดก็จะเสียใจเพราะผิดหวัง สู้อยู่อย่างไม่คาด คิดถึงอนาคตอย่างมีกิเลสจะเป็นสุขสงบกว่า อยู่กับปัจจุบันได้มาก เพียงไรก็จะมีความสุขได้มากเพียงนั้น แต่ก็ไม่ได้หมายความ ว่าการทำอะไรไม่ต้องตระเตรียมเพื่ออนาคต
    การเตรียมอนาคตที่สำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือการเตรียม อนาคตในภพชาติเบื้องหน้า ทุกคนจะมีชีวิตอยู่ในชาตินี้อย่างมาก ก็ประมาณร้อยขวบปีเท่านั้น จะทุกข์จะสุขในภพชาตินี้ก็จะ ชั่วระยะเวลาที่ไม่นานเท่าไร โดยเฉพาะผู้ผ่านพ้นวัยเด็กมา ศึกษาธรรม อยู่แล้วในขณะนี้ย่อมมีเวลาในภพชาตินี้อีก ไม่นาน เลย ได้ความมั่งมีศรีสุขลาภยศสรรเสริญในภพชาตินี้สัก เพียงไร ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้นาน แต่ภพชาติในอนาคตนั้น นานนักหนา นับปีนับชาติไม่ได้จึงควรเตรียมภพชาติในอนาคตมากกว่า ที่ท่านเรียกว่าเตรียมเสบียงเดินทางไว้สำหรับ ภพชาติข้างหน้า คือเตรียมบุญกุศลไว้ให้พร้อม ให้เพียงพอแก่ทางที่ไกลแสนไกล จนประมาณไม่ได้บุญกุศลที่จะเป็นเสบียงเดินทางนั้นต้อง ประกอบด้วยทาน ศีล ภาวนา การทำจิตทำใจให้ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์จากโลภ โกรธ หลง จำเป็นที่สุด สำคัญที่สุด และก็มี โอกาสจะทำได้มากที่สุด เพราะไม่ต้องประกอบด้วย อะไรอื่นเลย ใจมีอยู่กับตัวเราเองแล้ว กิเลสก็อยู่กับใจนั่นเอง ถอดถอนออก เสียให้เสมอ ทุกเวลานาทีทุกอริยาบถ ย่อมได้รับผลเป็นเสบียง ที่พึงปรารถนาของนักเดินทางที่สุด
    ที่มา http://palungjit.org/threads/ขอเชิญร่วมบุญสร้างกำแพงถวายวัดกุฏีทอง-รับพระผงกริ่งนาคราช.557837/
     
  2. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    เชิญชวนจัดพิมพ์หนังสือธรรมะทรงคุณค่า

    วิธีสร้างบุญบารมี โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ

    ในราคาต้นทุนโรงพิมพ์ธรรมทาน 19 บาท


    [​IMG]

    หนังสือเรื่อง วิธีสร้างบุญบารมี

    ผู้แต่ง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    จำนวน ๔๐ หน้า

    ขนาด ๑๔.๕x ๒๑ ซม.

    วัสดุ กระดาษปอนด์

    ..................................................................................



    แจกหนังสือธรรมะ พิมพ์หนังสือธรรมะ เนื่องในงานพิเศษ หรือโอกาสพิเศษต่างๆ

    ใหม่ " วิธีสร้างบุญบารมี " พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ


    สามารถสั่งจองหนังสือ หรือ ส่งรายชื่อร่วมจัดพิมพ์พร้อมจำนวนพิมพ์ได้ที่ trilak_books@yahoo.com


    (แจ้งหัว mail "สั่งพิมพ์วิธีสร้างบุญบารมี" ) (ใช้เวลาส่ง 2-3 วันถึงที่หมาย)

    ใหม่ " วิธีสร้างบุญบารมี " พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ ส่งรายชื่อร่วมจัดพิมพ์ พร้อมจำนวนพิมพ์ได้ที่ trilak_books@yahoo.com

    วิธีสร้างบุญบารมี



    โปรโมชั่น (เฉพาะเล่ม ที่พิมพ์ใหม่ นี้ ) สั่ง 100 เล่มขึ้นไป พิมพ์ชื่อ ฟรี 1 หน้า ส่งฟรีทั่วประเทศ

    .................................................................................................................................................

    สารบัญ

    คำนำ

    วิธีสร้างบุญบารมี

    การทำทาน

    องค์ประกอบข้อที่ 1 "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"

    องค์ประกอบข้อที่ 2 "เจตนาในการทำทานต้องบริสุทธิ์"

    ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น

    ร่ำรวยในวัยกลางคน

    องค์ประกอบข้อ 3 "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"



    2 การรักษาศีล

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 1

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 2

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 3

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 4

    ศีล และอานิสง ผลของการรักษาศีลข้อที่ 5



    3 การภาวนา

    สมถภาวนา (การทำสมาธิ)

    วิปัสสนาภาวนา (การเจริญปัญญา)

    มีจิตใคร่ครวญถึงมรณัสสติกรรมฐาน

    มีจิตใคร่ครวญถึงอสุภกรรมฐาน

    มีจิตใคร่ครวญถึงกายคตานุสสติกรรมฐาน

    มีจิตใคร่ครวญถึงธาตุกรรมฐาน
    [​IMG]
    .............................................................

    พระนิพนธ์ เรื่อง "วิธีสร้างบุญบารมี" เล่มนี้ ท่านเจ้าประคุณ

    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    ผู้เป็นสังฆบิดรของพระพุทธศาสนิกชนชาวไทย และเป็นที่พึ่งของพวกเราทั้งหลาย

    ได้ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเพื่อให้พวกเราทั้งหลาย ได้รู้และศึกษา

    เพื่อเข้าใจถึงวิธีสร้างบุญบารมี ในทางพระพุทธศาสนา อันได้แก่

    การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา พระองค์

    ได้อธิบายชี้แจงแสดงเหตุ และ ผล อย่างชัดเจน

    แจ่มแจ้งยิ่งนัก ทำให้พระนิพนธ์เล่มนี้ ได้รับความสนใจ จากพุทธศาสนิกชน

    เป็นอย่างมากในปัจจุบัน และมีผู้ต้องการมีไว้ศึกษาเป็นจำนวนมาก เพื่อความสุข

    และความเจริญแก่ตนเองและบุคคลรอบข้างอยู่ตลอดเวลาจวบจนปัจจุบัน

    .............................................................................................

    บุญ

    ความหมายตามพจนานุกรม พุทธศาสน์ของพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    กล่าวว่า บุญ คือเครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข,

    ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลธรรม




    บารมี คือ คุณความดี ที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง

    วิธีสร้างบุญบารมีในพระพุทธศาสนา มีอยู่ ๓ ขั้นตอน

    คือ การให้ทาน การถือศีล และการเจริญภาวนา

    ที่นิยมเรียกกันว่า "ทาน ศีล ภาวนา" ซึ่งการให้ทาน หรือการทำทานนั้น เป็นการสร้างบุญที่
    ตํ่าที่สุด ได้บุญน้อยที่สุด ไม่ว่าจะทำมากอย่างไรก็ไม่มีทางที่จะได้บุญมากไปกว่าถือศีลไปได้,

    การถือศีลนั้น แม้จะมากอย่างไร ก็ไม่มีทางที่จะได้บุญ
    มากเกินไปกว่าการเจริญภาวนาไปได้ ฉะนั้น การเจริญภาวนานั้น จึงเป็นการสร้างบารมีที่สูงที่สุด

    ได้มากที่สุด ในทุกวันนี้ เรารู้จักกันแต่การให้ทานอย่างเดียว เช่น

    การทำบุญตักบาตร ทอดกฐิน ผ้าป่า สละทรัพย์ สร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ

    ส่วนการถือศีล แม้จะได้บุญมากกว่า

    การทำทาน ก็ยังมีการทำกันเป็นส่วนน้อย เพื่อความเข้าใจอันดี จึงขอชี้แจงการสร้างบุญบารมีอย่างไร

    จึงจะเป็นการลงทุนน้อยที่สุด แต่ได้บุญบารมีมากที่สุด

    ..............................................................
    [​IMG]


    "เจตนาในการให้ทานต้องบริสุทธิ์"

    การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่น

    ความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตนอันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส"

    และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วยเมตตาธรรมของตน

    อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตาพรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร

    ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์

    แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริง จะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ

    (๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน

    ก่อนที่จะให้ทานก็มีจิตโสมนัส ร่าเริง เบิกบาน

    ยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น ให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สินของตน

    (๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน

    ระยะที่กำลังลงมือทำทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังเป็นผู้ให้ผู้อื่น

    (๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว

    ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี

    เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานนั้นๆ

    เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดี

    ในทานที่ทำนั้นก็สำคัญและเนื่องมาจากเมตตาจิตที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่น

    ให้พ้นจากความทุกข์และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตนนับว่าเป็น

    เจตนาที่บริสุทธิ์ในเบื้องต้นแต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมา

    แล้วนี้จะทำให้ยิ่งๆบริสุทธิ์มากขึ้นไปอีกหากผู้ให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยวิปัสสนาปัญญา

    กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทาน พร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา

    โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งปวงที่ชาวโลก

    นิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น

    แท้ที่จริงแล้ว ก็เป็นแต่เพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใด

    โดยเฉพาะเป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมาหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น

    และได้ผ่านการเป็นเจ้าของของผู้อื่นมาแล้วหลายชั่วคนซึ่งแต่ก่อนนั้นต่างก็ได้ล้มหายตายจากไปทั้งสิ้น

    ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ได้ยึดถือเพียงชั่วคราว

    แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่นๆ ต่อๆ ไปเช่นนี้

    แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้จึงนับว่าเป็นเพียงสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น

    ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลง

    นับว่าเป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน

    จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่านั่นเป็นของเราได้ถาวรตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว

    ก็ตั้งอยู่ในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัว

    ไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเอง

    ก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้

    เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็เฒ่าแก่และตายไปในที่สุด

    เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง

    เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว

    ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาด้วยแล้ว เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง

    ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมาก หากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย

    ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่งๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ

    เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้แต่ก็มีข้ออันควรระวังอยู่ ก็คือ การทำทานนั้น

    อย่าได้เบียดเบียนตนเอง...เช่นมีน้อยแต่ฝืนทำให้มากๆจนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้

    เมื่่อได้ทำไปแลั้วตนเองและสามีภริยารวมทั้งบุตรต้องลำบากขาดแคลน

    เพราะไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่

    บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย



    [​IMG]


    ..............................................................

    วิธีสร้างบุญบารมี

    ...............................................................................................................

    สร้างสมบุญใหญ่ ช่วยให้ชีวิตพบสุข การทำบุญในพระพุทธศาสนาแม้จะมีมากมาย

    แต่ก็รวมลงในหลักใหญ่ 3 ประการ ซึ่งจะส่งผลให้ท่านผู้ปฏิบัติได้รับความสุขตามลำดับชั้น คือ

    -ทาน การให้ผู้ใดปฏิบัติเป็นประจำ ทำให้เป็นที่รักของคนอื่นในชาตินี้เมื่อชิ้นชีวีก็จะไปเกิดในสุคติภูมิ

    กลับมาเกิดใหม่ก็จะไม่เป็นผู้ยากไร้ขัดสน

    -ศีล การรักษาความประพฤติทางกาย-วาจา ของตนให้เป็นปกตินั้น ท่านผู้ปฏิบัติเป็นประจำ

    ทำให้เป็นผู้ไม่มีเวรภัยกับใคร เมื่อถึงคราสิ้นใจก็จะไปเกิดในสวรรค์ ครั้นมาเกิดเป็นมนุษย์ในชาติใหม่

    ก็จะทำให้มีอายุยืนนาน

    -ภาวนา การฝึกอบรมจิตตนให้เป็นสมาธิจนรู้แจ้งในสิ่งทั้งหลาย ผู้ใดปฏิบัติเป็นประจำ

    ทำให้เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีสติปัญญาในการแก้ไขสรรพปัญหา เมื่อถึงคราสิ้นใจก็จะไปเกิดภพภูมิที่ดี

    ตามภูมิธรรมที่ตนปฏิบัติไว้ ทั้งเป็นปัจจัยนำผู้ปฏิบัติเข้าสู่กระแสมรรคผลนิพพานได้

    ………………………………………………………………………….
     

แชร์หน้านี้

Loading...