เรื่องเด่น วิธีฝึกทิพย์จักษุญาณ โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 7 มิถุนายน 2022.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    23232323.JPG

    วิธีฝึกทิพย์จักษุญาณ
    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

    ความจริงวิชาทิพยจักษุญาณนี้เป็นของไม่ยากอะไรเลย
    เป็นหลักสูตรที่เบาที่สุดในพระพุทธศาสนา พระเรียน
    นักธรรมตรีเรียนยาก และเสียเวลามากกว่า หรือนักเรียน
    ป.1 ยากกว่ามากที่ทำกันไม่ได้ก็เห็นจะเป็นเพราะไม่สนใจ
    หรือสนใจเหมือนกัน แต่ไม่เอาจริง บางรายเอาจริงเหมือนกัน
    แต่ไม่ทันถึงจริงก็เลิก บางรายเอาจริง ถึงจริงแล้ว มีอารมณ์
    เป็นทิพย์แล้ว แต่เหลิงเกินไปเลยไม่ได้ผล
    วิธีฝึกทิพยจักษุญาณในพระพุทธศาสนามีหลายแบบ
    แต่ละแบบก็มีอรรถเป็นอันเดียวกัน คือต้องกำหนดภาพ
    เรื่องกำหนดภาพนี้จะเว้นมิได้เพราะเป็นเครื่องพยุงจิต
    ให้เข้าสู่ระดับสมาธิจะขอแนะนำแบบง่าย ๆ ที่คนส่วนใหญ่
    ทำได้ คณะศิษย์รุ่นเก่าสมัยอยุธยาเขาทำกันได้มาก
    และใช้เวลาไม่นาน จะแนะให้ทราบ

    1. ตัดความยุ่งอารมณ์ออกเสียในขณะที่ฝึก ควรใช้เวลา
    ไม่นานเกินไปในระยะแรกอย่างมากไม่ควรเกิน 5 นาที
    ในขณะนั้นตัดกังวลให้หมด ไม่ว่าเรื่องของความรัก
    เรื่องที่ไม่พอใจอารมณ์ทั้งหลาย ความง่วง และความสงสัย
    ระงับให้หมด คิดอย่างเดียว คือ คาถาภาวนา และลมหายใจ
    เข้าออก

    2. ก่อนภาวนา กำหนดรูปพระหรือลูกแก้วอย่างใดอย่างหนึ่ง
    รูปพระที่เห็นนั้น จะเป็นพระสงฆ์หรือพระพุทธไม่ห้าม
    กำหนดเอาตามใจชอบ ถ้าจิตหันไปสนใจอารมณ์อื่น
    ต้องรีบระงับ ก่อนหลับตาดูรูปพระหรือลูกแก้วเสียให้จำได้
    เมื่อหลับตาลงก็กำหนดจิตจำพระที่จำได้นั้นตลอดไป
    ถ้าเห็นว่าจิตจะเลอะเลือนก็ลืมตาดูใหม่ ทำอย่างนี้ตลอดไป
    จนกว่าจิตจะมีอารมณ์ชิน ไม่ว่าเวลาใด กำหนดจิต
    เห็นภาพพระนั้นแจ่มใสไม่หายไปจากจิต อยู่ได้นานพอสมควร

    3. ก่อนภาวนาหรือขณะภาวนาต้องกำหนดรู้ลมสามฐาน
    โดยสม่ำเสมอกัน คือ หายใจเข้าลมกระทบจมูกแล้วมา
    กระทบอก กระทบศูนย์เหนือสะดือนิดหน่อย ลมหายใจออกกระทบศูนย์อก และริมฝีปากบน ใครกำหนดรู้ได้สามฐาน

    อามรณ์จิตเป็นฌาน ถ้ารู้สามฐานไม่ได้ แม้ทำมาแล้วตั้ง
    หลายแสนปี ก็ชื่อว่ายังปุถุชน คนที่นอกวงการของฌาน
    ถ้ากำหนดลมได้ครบสามฐาน ท่านเรียกกัลยาณชน
    หรือสาธุชนคือคนงามหรือคนดี ได้แก่ คนที่อารมณ์
    ว่างจากนิวรณ์ในบางคราวไม่ใช่ตลอดวัน เรื่องฐานลมนี้
    ขอลดหย่อนผ่อนคลายไม่ได้ แต่ในระยะแรกจะกำหนด
    สามฐานไม่ได้เพราะจิตยังไม่ชิน ให้เริ่มจับฐานใดฐานหนึ่ง
    ตามถนัดก่อน ต่อเมื่อสมาธิสูงขึ้น มันจะกำหนดรู้ของมันเอง
    ทั้งสามฐานโดยไม่ต้องบังคับ

    4. รักษาศีลให้บริสุทธิ์ เอาศีล 5 พอแล้ว ไม่ต้องถึงอุโบสถ
    เพราะจะลำบากเกินไป

    5. มีเมตตาปรานี ทรงพรหมวิหาร 4 อยู่เป็นปกติใหม่ ๆ พรหมวิหาร 4 อดรั่วไหลไม่ได้ต้องถือเป็นเรื่องธรรมดา
    ค่อยปรับปรุง ค่อย ๆ ควบคุม ไม่ช้าจิตจะทรงพรหมวิหาร 4
    เป็นปกติ เมื่อทรงพรหมวิหาร 4 ได้แล้ว ศีลก็บริสุทธิ์เอง
    สมาธิก็ทรงฌานได้ตลอดเวลา แม้แต่ขณะคุยกับเพื่อน
    ก็สามารถเข้าฌานได้โดยฉับพลัน

    เรื่องอื่นนอกจากนี้ไม่มี ถ้าสงสัยอะไรก็อ่านหนังสือคู่มือ
    พระกรรมฐาน คาถาภาวนาให้มาแล้วค่อย ๆ ภาวนา
    ทำเอาดี ไม่ใช่ทำเอาเวลา วันแรก ๆ ไม่ต้องมาก
    เอาพอสบาย สบายนานก็นั่งนาน สบายไม่นานก็เลิกเร็ว
    กำหนดให้เห็นภาพ รู้ลมหายใจ รู้คาถาภาวนาพร้อม ๆ กันไป
    อย่าละอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอันขาด อย่าเว้นแม้แต่ 1 วัน
    วันไหนเหนื่อยมากเพลียมากร่างกายไม่ดีไม่ต้องนั่ง
    นอนหรือเดินก็ได้ตามต้องการ แต่อารมณ์คอยจับภาพ
    กำหนดลม รู้คำภาวนาตลอดเวลาที่ปฏิบัติ ถ้าเห็นว่า
    อารมณ์จะทนรับไม่ไหวก็เลิก ปล่อยให้คิดไปตามสบาย
    เมื่อเห็นว่า เมื่อกำหนดจับภาพนั้นมีอาการคล้ายภาพ
    ปรากฏแก่ใจอย่างผ่องใส ก็ลองใช้จิตให้เป็นประโยชน์
    คือกำหนดรู้ ทิพยจักษุญาณ ไม่ใช่ตาทิพย์ คำว่าญาณ
    แปลว่า รู้ ทิพยจักษุญาณ ก็คือรู้ทางใจ คล้ายตาทิพย์
    มันเป็นอารมณ์รู้เกิดที่ใจไม่ใช่ที่ลูกตานักปฏิบัติมักจะ
    เข้าใจพลาดตรงนี้

    วันนี้ คุยเท่านี้ เพราะอาการป่วยยังไม่ปกติ เท่านี้ถ้าทำได้
    ก็เหลือกินเหลือใช้แล้ว ข้อควรระวังก็คือ เมื่อเวลาภาวนา
    ถ้ามีภาพอื่นมาแทรกนอกจากภาพที่กำหนดแล้ว อย่าสนใจ
    สนใจแต่ภาพที่กำหนดเดิมเท่านั้น เมื่อเราไม่สนใจภาพนั้น
    จะคงอยู่หรือหายไปก็ช่าง เราต้องการภาพที่กำหนดรู้เท่านั้น
    คัดลอกมาจาก


    หนังสือจดหมายจากหลวงพ่อ โดย ม.ร.ว.เสริม ศุขสวัสดิ์
    ขอบคุณที่มา : ศูนย์พุทธศรัทธา สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    www.BuddhaSattha.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...