วิถี แห่ง การปฏิบัติ วิถี แห่ง พระอาจารย์ "มั่น" วิถี แห่ง บรรลุธรรม

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 16 ธันวาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    [​IMG]ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต รู้ว่า พระมหาปิ่น ปัญญาพโล กำลังคิดอะไรอยู่ เช่นนี้ภาษาพระเขาบอกว่า

    ท่านมี "เจโตปริยญาณ"

    หยิบหนังสือ "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์" ของ พระธรรมปิฎก (ป. อ.ปยุตโต) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 เมื่อปี พ.ศ.2546 ไปยังหน้า 40 สดมภ์ 2

    อธิบายไว้ดังนี้

    เจโตปริยญาณ ปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ รู้ใจผู้อื่นอ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้าหมองหรือผ่องใส เป็นต้น (ข้อ 5 ในวิชชา 8, ข้อ 3 ในอภิญญา 6)

    พลิกไปหน้า 228 วิชชา 8 คือ (1) วิปัสสนาญาณ ญาณในวิปัสสนา (2) นโนมยิทธิ ฤทธิ์ ทางใจ (3) อิทธิวธี แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ (4) ทิพพโสต หูทิพย์ (5) เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ (6) บุพเพนิวาสานุสติ (7) ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (8) อาสวักขยญาณ

    เมื่อพลิกไปหน้า 322 ตรงอภิญญาก็อธิบายเจโตปริยญาณว่า ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้ ขณะที่ บุพเพนิวาสนุสติ คือ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้ และอาสวักขยญาณ คือ ญาณทำให้อาสวะสิ้นไป

    ประเด็นอันเป็น คำถาม ก็คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้ เจโตปริยญาณ ขึ้นมาได้อย่างไรและเมื่อใด

    ในหนังสือ "รำลึกวันวาน" ของ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ มีหมายเหตุน่าสนใจ

    เป็น "หมายเหตุ" ที่หน้า 31 บอกว่า

    "เรื่องสถานที่บรรลุธรรมของท่านพระอาจารย์มั่นนี้ หลวงตาทองคำเล่าว่า ท่านพระอาจารย์มั่นไม่เคยระบุตรงๆ ว่าเป็นสถานที่ใด แต่ท่านจะกล่าวถึงการปฏิบัติโดยเทียบเคียงกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาไว้ ศิษย์ต้องจับและเทียบเคียงกับเรื่องการออกธุดงค์และจำพรรษาของท่านพระอาจารย์เอง ทั้งหมดนี้เป็นความเข้าใจของหลวงตาทองคำ"

    ขณะเดียวกัน ในอีกบรรทัดหนึ่งของ "หมายเหตุ" ก็บอกด้วยว่า

    "อนึ่ง หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เล่าไว้ในหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่นถึงเรื่องเดียวกันนี้ไว้กว้างๆ ว่า ท่านพระอาจารย์มั่น บรรลุธรรมที่ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายกและที่จังหวัดเชียงใหม่ ตามลำดับ"

    "หมายเหตุ" นี้ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดที่ปรากฏในหนังสือ "ประวัติ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับสมบูรณ์" ของ พระญาณวิริยาจารย์ (พระอาจารย์วิริยังค์)

    คำถามก็คือ แล้วจริงๆ แล้ว พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต บรรลุธรรมที่ไหน อย่างไร

    หากลำดับวรรณกรรมอันเกี่ยวกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ในลักษณะเงาสะท้อนของศิษย์ใกล้ชิดมาเป็นลำดับ

    งานเขียนของ พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส) ให้รายละเอียดสมาธินิมิตที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ค่อนข้างมาก

    แต่ไม่มีเรื่องราวที่ถ้ำสาริกา นครนายก และถ้ำสิงห์โต ลพบุรี

    งานเขียนของ พระญาณวิริยาจารย์ ให้รายละเอียดการปฏิบัติที่ถ้ำสาริกา นครนายก และถ้ำสิงห์โต ลพบุรี ค่อนข้างมาก

    แต่ไม่มีเรื่องราวที่เชียงใหม่เหมือนกับสำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

    น่าสนใจก็ตรงที่ทั้งงานของ พระญาณวิริยาจารย์ และงานของ พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ เน้นไปที่ถ้ำสาริกา นครนายก กับ ถ้ำสิงห์โต ลพบุรี อย่างมากเป็นพิเศษ

    แต่ไม่มีเรื่องราวที่เชียงใหม่เหมือนกับสำนวน พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

    อย่างไรก็ตาม หากศึกษางานของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ท่านอาจจะเน้นที่ถ้ำสาริกานครนายก อย่างมากเป็นพิเศษ

    แต่กลับขาดรายละเอียดที่ถ้ำสิงห์โต ลพบุรี

    ตรงกันข้าม สถานการณ์ของการเดินทางไปเชียงใหม่ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ปรากฏผ่านสำนวนเรียบเรียงของ พระมหาบัว ญาณสัมปันโน กลับมีมากกว่าสำนวนการเขียนของศิษย์ท่านอื่นๆ

    การนำเอารายละเอียดที่เชียงใหม่มาเพิ่มจึงทำให้เรื่องราวของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มีความสมบูรณ์ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

    เป็นความสมบูรณ์ครบถ้วนในวิถีทางการปฏิบัติ วิถีแห่งสมณธรรม

    เป็นความสมบูรณ์ครบถ้วนตั้งแต่เมื่อ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เดินทางโดยรถไฟจากหัวลำโพงไปยังเชียงใหม่

    น่าสนใจตรงที่เป็นการเดินทางตามคำขอของ เจ้าคุณพระอุบาลีฯ (สิริจันโทเถร จันทร์)
     

แชร์หน้านี้

Loading...