วาทะธรรมหลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย apichai53, 26 ธันวาคม 2009.

  1. apichai53

    apichai53 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    630
    ค่าพลัง:
    +2,261
    จริงแต่ไม่จริง
    ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานทำสมาธิภาวนาเมื่อปรากฎผลออกมาในแบบต่างๆย่อมเกิดความสงสัยขึ้นเป็นธรรมดาเช่นเห็นนิมิตในรูปแบบที่ไม่ตรงกันบ้างปรากฎในอวัยวะของตนเองบ้างส่วนมากมากราบเรียนหลวงปู่เพื่อให้ช่วยแก้ไขหรือแนะอุบายปฏิบัติต่อไปอีกมีจำนวนมากที่ถามว่าภาวนาแล้วก็เห็น นรกสรรรค์วิมาน เทวดาหรือไม่ก็เป็นองค์พระพุทธรูปปรากฎอยู่ในตัวเราสิ่งที่เห็นเหล่านี้เป็นจริงหรือหลวงปู่บอกว่า"ที่เห็นนั้นเขาเห็นจริงแต่สิ่งที่ถูกเห็นไม่จริง"
    [หมายเตือนเรื่องนิมิตที่ไปยึดหมายอันจะก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสเป็นที่สุด, หลวงปู่กล่าวดังนี้เพราะผู้ที่เห็นนั้นเขาก็เห็นจริงๆตามความรู้สึกนึกคิดหรือสังขารที่เกิดขึ้นของเขาเพียงแต่ว่าสิ่งที่เห็นตามสังขารนั้นไม่ได้เป็นจริงตามนั้น ]

    หยุดเพื่อรู้
    เมื่อเดือนมีนาคม๒๕๐๗มีพระสงฆ์หลายรูปทั้งฝ่ายปริยัติและฝ่ายปฏิบัติได้เข้ากราบหลวงปู่เพื่อรับโอวาทและรับฟังการแนะแนวทางธรรมะที่จะพากันออกเผยแผ่ธรรมทูตครั้งแรกหลวงปู่แนะวิธีอธิบายธรรมะขั้นปรมัตถ์ทั้งสอนผู้อื่นและเพื่อปฏิบัติตนเองให้เข้าถึงสัจจธรรมนั้นด้วยลงท้ายหลวงปู่ได้กล่าวปรัชญาธรรมไว้ให้คิดด้วยว่าคิดเท่าไรก็ไม่รู้ต่อเมื่อหยุดได้จึงรู้แต่ต้องอาศัยความคิดนั้นแหละจึงรู้
    [อันหมายถึงคิดนึกปรุงแต่งเท่าไรก็ไม่รู้จักนิโรธ-การดับทุกข์เมื่อหยุดคิดปรุงแต่งอันยังให้ไม่เกิดเวทนาอันเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาและทุกข์ในที่สุดนั่นแหละจึงจักรู้หรือพบนิโรธแต่ก็ต้องอาศัยการคิดพิจารณาธรรมโดยการโยนิโสมนสิการเสียก่อนจึงจักเกิดสัมมาญาณความเข้าใจด้วยตนเองในโทษของการคิดนึกปรุงแต่ง]

    อุทานธรรมต่อมา
    เมื่อแยกพันธะแห่งความเกี่ยวเนื่องจิตกับสรรพสิ่งทั้งปวงได้แล้วจิตก็จะหมดพันธะกับเรื่องโลกรูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสจะดีหรือเลวมันขึ้นอยู่กับจิตที่ออกไปปรุงแต่งทั้งนั้นแล้วจิตที่ขาดปัญญาย่อมเข้าใจผิดเมื่อเข้าใจผิดก็หลงก็หลงอยู่ภายใต้อำนาจของเครื่องร้อยรัดทั้งหลายทั้งทางกายและทางใจอันโทษทัณฑ์ทางกายอาจมีคนอื่นช่วยปลดปล่อยได้บ้างส่วนโทษทางใจมีกิเลสตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดไว้นั้นต้องรู้จักปลดปล่อยตนด้วยตนเอง
    "พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านพ้นจากโทษทั้งสองทางความทุกข์จึงครอบงำไม่ได้"

    <O:p</O:p
    พุทโธเป็นอย่างไร
    หลวงปู่รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯเมื่อ๓๑มีนาคม๒๕๒๑ในช่วงสนทนาธรรมญาติโยมสงสัยว่าพุทโธเป็นอย่างไรหลวงปู่ได้เมตตาตอบว่าเวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอกความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึดความรู้ที่เราเรียนกับตำหรับตำราหรือจากครูบาอาจารย์อย่าเอามายุ่งเลยให้ตัดอารมณ์ออกให้หมดแล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้รู้จากจิตของเรานั่นแหละจิตของเราสงบเราจะรู้เองต้องภาวนาให้มากๆเข้าเวลามันจะเป็นจะเป็นของมันเองความรู้อะไรๆให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุดให้มันรู้ออกมาจากจิตนั่นแหละมันดีคือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียวอย่าส่งจิตออกนอกให้จิตอยู่ในจิตแล้วให้จิตภาวนาเอาเองให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธพุทโธอยู่นั่นแหละแล้วพุทโธเราจะได้รู้จักว่าพุทโธนั้นเป็นอย่างไรแล้วรู้เอง...เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมาย.
    [จิตอยู่ในจิตหมายถึงจิตอยู่กับสติ]

    <O:p</O:p
    ง่ายแต่ทำได้ยาก
    คณะของคุณ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ดวงพรธารีฉัตรจากสถานีวิทยุทหารอากาศ๐๑บางซื่อนำโดยคุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="อาคม ทันนิเทศ">อาคมทันนิเทศ</st1:personName>เดินทางไปถวายผ้าป่าและกราบนมัสการครูบาอาจารย์ตามสำนักต่างๆทางอีสานได้แวะกราบมนัสการหลวงปู่หลังจากถวายผ้าป่าถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่หลวงปู่และรับวัตถุมงคลเป็นที่ระลึกจากท่านแล้วต่างคนต่างก็ออกไปตลาดบ้างพักผ่อนตามอัธยาศัยบ้าง มีอยุ่กลุ่มหนึ่งประมาณสี่ห้าคนเข้าไปกราบหลวงปู่แนะนำวิธีปฏิบัติง่ายๆเพื่อแก้ไขความทุกข์ความกลุ้มใจซึ่งมักจะเกิดขึ้นเป็นประจำว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงได้ผลเร็วที่สุดหลวงปู่บอกว่า
    "อย่าส่งจิตออกนอก."
    [อย่าส่งจิตออกนอกไปคิดนึกปรุงแต่งหรือไปเสวยอารมณ์(รูปเสียงกลิ่น.)ภายนอกหรือให้พิจารณาอยู่ในกาย(กายานุปัสสนา)
    ข้อควรระวังพิจารณาอยู่ในกายหรือภายในกายไม่ใช่หมายถึง "จิตส่งใน" ที่จิตเป็นสมาธิหรือฌานแล้วคอยส่องหรือจับสังเกตุแต่กายและจิตของตนเองว่าดีไม่ดีสบายหรือไม่สบายอย่างนี้เป็นอันตรายอย่างยิ่งในภายหลัง]

    อย่าตั้งใจไว้ผิด
    นอกจากหลวงปู่จะนำปรัชญาธรรมที่ออกจากจิตของท่านมาสอนแล้วโดยที่ท่านอ่านพระไตรปิฎกจบมาแล้วตรงไหนที่ท่านเห็นว่าสำคัญและเป็นการเตือนใจในทางปฏิบัติให้ตรงและลัดที่สุดท่านก็จะยกมากล่าวเตือนอยู่เสมอเช่นหลวงปู่ยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่า
    "ภิกษุทั้งหลายพรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อหลอกลวงคนมิใช่เพื่อให้คนมานิยมนับถือมิใช่เพื่ออานิสงค์ลาภสักการะและสรรเสริญมิใช่อานิสงค์เป็นเจ้าลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ฯที่แท้พรหมจรรย์นี้เราประพฤติเพื่อสังวระ-ความสำรวมเพื่อปหานะ-ความละเพื่อวิราคะ-ความหายกำหนัดยินดีและเพื่อนิโรธะ-ความดับทุกข์ผู้ปฏิบัติและนักบวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้นอกจากแนวทางนี้แล้วผิดทั้งหมด."

    <O:p</O:p
    อยู่ก็อยู่ให้เหนือ
    ผู้ที่เข้านมัสการหลวงปู่ทุกคนและทุกครั้งมักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าแม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ร้อยปีแล้วก็จริงแต่ดูผิวพรรณยังผ่องใสและสุขภาพอนามัยแข็งแรงดีแม้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดท่านตลอดมาก็ยากที่จะได้เห็นท่านแสดงอาการหมองคลํ้าหรืออิดโรยหรือหน้านิ่วคิ้วขมวดให้เห็นท่านมีปรกติสงบเย็นเบิกบานอยู่เสมอมีอาพาธน้อยมีอารมณ์ดีไม่ตื่นเต้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่เผลอคล้อยตามไปตามคำสรรเสริญหรือคำตำหนิติเตียนฯมีอยู่ครั้งหนึ่งท่ามกลางพระเถระฝ่ายวิปัสสนาสนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติกับหลวงปู่ถึงปรกติจิตที่อยู่เหนือความทุกข์โดยลักษณาการอย่างไรฯ หลวงปู่ว่า"การไม่กังวลการไม่ยึดถือนั่นแหละวิหารธรรมของนักปฏิบัติ."

    ทำจิตให้สงบได้ยาก
    การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้นจะให้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้บางคนได้ผลเร็วบางคนก็ช้าหรือยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มีแต่ก็ไม่ควรท้อถอยก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรทางใจย่อมเป็นบุญกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทานรักษาศีลเคยมีลูกศิษย์จำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่าอุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้วแต่จิตไม่เคยสงบเลยแส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อยมีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้หลวงปู่เคยแนะวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า
    "ถึงจิตจะไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกลใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ดูให้เห็นอนิจจังทุกขังอนัตตาอสุภสัญญาหาสาระแก่นสารไม่ได้เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้วจิตก็ จะเกิดความสลดสังเวชเกิดนิพพิทาความหน่ายคลายกำหนัดย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน."

    หลักธรรมแท้
    มีอยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติชอบพูดถึงคือชอบโจษขานกันว่านั่งภาวนาแล้วเห็นอะไรบ้างปรากฎอะไรออกมาบ้างหรือไม่ก็ว่าตนนั่งภาวนามานานแล้วไม่เคยเห็นปรากฎอะไรออกมาบ้างเลยหรือบางคนก็ว่าตนได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่าภาวนาแล้วตนจะได้เห็นสิ่งที่ต้องการเป็นต้นหลวงปู่เคยเตือนว่าการปรารถนาเช่นนั้นผิดทั้งหมดเพราะการภาวนานั้นเพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมอย่างแท้จริง "หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือจิตให้กำหนดดูจิตให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้งเมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม."

    <O:p</O:p
    ไม่ค่อยแจ่ม
    กระผมได้อ่านประวัติการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เมื่อสมัยเดินธุดงค์ว่าหลวงปู่เข้าใจเรื่องจิตได้ดีว่าจิตปรุงกิเลสหรือว่ากิเลสปรุงจิตข้อนี้หมายความว่าอย่างไร
    หลวงปู่อธิบายว่า "จิตปรุงกิเลสคิอการที่จิตบังคับให้กายวาจาใจกระทำสิ่งภายนอกให้มีให้เป็นให้เลวให้เกิดวิบากแล้วยึดติดอยู่ว่านั่นเป็นตัวนั่นเป็นตนของเราของเขา กิเลสปรุงจิตคือการที่สิ่งภายนอกเข้ามาทำให้จิตเป็นไปตามอำนาจของมันแล้วยึดว่ามีตัวมีตนอยู่สำคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป."

    ไม่ยากสำหรับผู้ที่ไม่ติดอารมณ์
    วัดบูรพารามที่หลวงปู่จำพรรษาตลอด๕๐ปีไม่มีได้ไปจำพรรษาที่ไหนเลยเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหน้าศาลากลางติดกับศาลจังหวัดสุรินทร์ด้วยเหตุนี้จึงมีเสียงรบกวนความสงบอยู่ตลอดเวลาโดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูงานช้างแฟร์หรือฤดูเทศกาลแต่ละอย่างแสงเสียงอึกทึกครึกครื้นตลอดเจ็ดวันบ้างสิบห้าวันบ้างภิกษุสามเณรผู้มีจิตใจยังอ่อนไหวอยู่ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนเป็นอย่างยิ่งเมื่อนำเรื่องนี้กราบเรียนหลวงปู่ทีไรก็ได้คำตอบทำนองเดียวกันทุกครั้งว่า "มัวสนใจอะไรกับสิ่งเหล่านี้ธรรมดาแสงย่อมสว่างธรรมดาเสียงย่อมดังหน้าที่ของมันเป็นเช่นนั้นเองเราไม่ใส่ใจฟังเสียงก็หมดเรื่องจงทำตัวเราไม่ให้เป็นปฎิปักษ์กับสิ่งแวดล้อมเพราะมันมีอยู่อย่างนี้เป็นอยู่อย่างนี้เองเพียงแต่ทำความเข้าใจกับมันให้ถ่องแท้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งเท่านั้นเอง."

    ปรกตินิสัยประจำตัวของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    <O:p</O:p
    ทางกายมีร่างกายแข็งแรงกระฉับกระเฉงว่องไวสมสัดส่วนสะอาดปราสจากกลิ่นตัวมีอาพาธน้อยท่านจะสรงนํ้าอุ่นวันละครั้งเท่านั้น ทางวาจาเสียงใหญ่แต่พูดเบาพูดน้อย พูดสั้น พูfจริง พูดตรง ปราศจากมายาทางคำพูดคือไม่พูดเลียบเคียง ไม่พูดโอ๋ ไม่พูดปลอบโยน ไม่พูดประชด ไม่พูดนินทา ไม่พูดขอร้อง ขออภัย ไม่พูดขอโทษ ไม่พูดถึงความฝัน ไม่พูดเล่านิทานชาดก หรือนิทานปรัมปรา เป็นต้นฯ ทางใจมีสัจจะตั้งใจทำสิ่งใดแล้วทำโดยสำเร็จมีเมตตากรุณาเป็นประจำสงบเสงี่ยมเยือกเย็น อดทน ไม่เคยมีอาการกระวนกระวายวู่วาม ไม่แสดงอาการอึดอัด หงุดหงิดหรือรำคาญ ไม่แสวงหาของหรือสั่งสม หรืออาลัยอาวรณ์กับของที่สูญหาย ไม่ประมาท รุ่งเรืองด้วยสติสัมปชัญญะและเบิกบานอยู่เสมอ เป็นอยู่โดยปราศจากทุกข์ ไม่หวั่นไหวไปตามเหตุการณ์ ไม่ถูกภาวะอื่นครอบงำ
    ********************************************************
    http://www.fungdham.com/book/dul.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2009
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,689
    ค่าพลัง:
    +9,239
    "ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละเป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุดให้มันรู้ออกมาจากจิตนั่นแหละมันดีคือจิตมันสงบ"
    กราบ กราบ กราบ หลวงปู่เจ้าค่ะ

    ขออนุโมทนาค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...