วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไรกับชาวพุธ ฉบับ ธาราญา !!

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย Dharaya, 23 กรกฎาคม 2021.

  1. Dharaya

    Dharaya ศรัทธาอันประณีต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    146
    ค่าพลัง:
    +51
    e333851a22ddaca65e99f3d3b6e0ca3b.md.jpg

    ประวัติวันเข้าพรรษา

    “เข้าพรรษา” แปลว่า “พักฝน” หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน โดยแบ่งเป็น

    • การเข้าพรรษาแรก หรือ “ปุริมพรรษา” หรือวันเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากนั้นพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน จะมีสิทธิในการรับกฐินในช่วงเวลาหนึ่งเดือน
    • การเข้าพรรษาหลัง หรือ “ปัจฉิมพรรษา” หรือวันเข้าพรรษาหลัง เริ่มตั้งแต่ วันแรมค่ำ 1 เดือน 9 และไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 พระสงฆ์ที่จำพรรษาในวันออกพรรษาหลังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับกฐิน
    อย่างไรก็ตามหากมีกิจธุระ คือเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืน เรียกว่า “สัตตาหะ” หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

    สำหรับข้อยกเว้นให้ภิกษุจำพรรษาที่อื่นได้ โดยไม่ถือเป็นการขาดพรรษา เว้นแต่เกิน 7 วัน ได้แก่

    1. การไปรักษาพยาบาลภิกษุ หรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย

    2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้

    3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด

    4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขาได้

    นอกจากนี้หากระหว่าง เดินทางตรงกับวันหยุดเข้าพรรษาพอดี พระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า “วิหาร” แปลว่า ที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้ง ถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า “อาราม” ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้

    ทั้งนี้ โดยปกติเครื่องใช้สอยของพระตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฐบริขาร อันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษา

    อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของพระภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์ อย่างสูง

    นอกจากนี้ ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ “ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา” ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา ซึ่งมีมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้ มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษา พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้า–เย็น และในการนี้จะต้องมีธูป-เทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อม ใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสว

    ตามชนบทนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่ง มีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงาม โดยถือว่าเป็นงานประจำปีเลยทีเดียว

    พิธีทางศาสนาในวันประเพณีเข้าพรรษา

    ประเพณีวันเข้าพรรษานั้นไม่ใช่เป็นแค่เพียงช่วงที่พระสงฆ์ถือศีลเข้าพรรษาเพียงฝ่ายเดียว แต่พุทธศาสนิกชนก็มีกิจกรรมและพิธีทางศาสนาที่จะต้องทำในประเพณีเข้าพรรษาด้วยเช่นกัน พิธีทางศาสนาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายที่มักทำกันในช่วงวันเข้าพรรษา มีดังนี้

    1. หล่อและถวายเทียนพรรษา
    เป็นอีกหนึ่งความสำคัญของวันเข้าพรรษาเลยก็ว่าได้สำหรับวันเข้าพรรษา นั่นคือการหล่อและถวายเทียนเข้าพรรษา กลายมาเป็นประเพณีแห่เทียนพรรษาที่โด่งดังที่สุดในประเทศไทยคือที่จังหวัดอุบลราชธานี ประชาชนจะได้ชมความสวยงามวิจิตรตระการตาของขบวนแห่เทียนพรรษา ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะเปลี่ยนมาถวายหลอดไฟ แต่ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาก็ยังคงอยู่ไว้เช่นเดิม

    พิธีนี้จะทำในประเพณีเข้าพรรษา ซึ่งผ้าอาบน้ำฝนหรือผ้าวัสสิกสาฏก เป็นผ้าที่ใช้สำหรับเปลี่ยนสรงน้ำสำหรับพระสงฆ์ เหตุที่ต้องถวายผ้าอาบน้ำฝนเพราะเนื่องจากในสมัยพุทธกาล พระสงฆ์มีผ้าสบงเพียงผืนเดียว จึงจำเป็นจะต้องเปลือยกายเวลาอาบน้ำ ทำให้ดูไม่งาม นางวิสาขาจึงทำการถวายผ้าอาบน้ำฝนให้พระสงฆ์เป็นคนแรก และทำเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในวันเข้าพรรษาต่อ ๆ กันมาถึงปัจจุบัน

    • ทำบุญตักบาตร รักษาศีล
    เป็นอีกหนึ่งความสำคัญของวันเข้าพรรษาเลยก็ว่าได้ สำหรับการทำบุญตักบาตร รักษาศีล ใส่ชุดปฏิบัติธรรม ทำจิตใจให้ผ่องใส ซึ่งที่วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี มีการตักบาตรดอกไม้เป็นประจำทุกปี จึงมีพุทธศาสนิกชนไปทำบุญ ตักบาตรดอกไม้กันอย่างคับคั่ง ส่วนในกรุงเทพฯ มีวัดใหญ่ ๆ ที่วัดบวรนิเวศฯ วัดเบญจมบพิตร วัดราชบพิธฯ ใครที่อยากลองตักบาตรดอกไม้ในวันเข้าพรรษาก็ลองไปที่วัดดังกล่าวได้

    • ร่วมฟังเทศน์มหาชาติ
    ประเพณีเทศน์มหาชาติจะจัดในเทศกาลเข้าพรรษา การเทศน์มหาชาติคือ การเทศนาเวสสันดรชาดก แบ่งการพรรณาออกเป็นตอน ๆ ทั้งหมด 13 กัณฑ์ เชื่อว่าหากใครที่ฟังเทศน์มหาชาติจบทั้งหมด 13 กัณฑ์จะได้ไปสุคติภูมิหรือเกิดบนสวรรค์ และการฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์เป็นอย่างมาก

    เนื่องในวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนจะได้ไปทำบุญตักบาตร และที่สำคัญอย่าลืมงดเหล้า เข้าพรรษา ตลอดระยะเวลา 3 เดือน หากคุณลดละเลิกสิ่งอบายมุขเหล่านี้ได้ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง นอกจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างวันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันมาฆบูชา ฯลฯ แล้ว วันเข้าพรรษาก็เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...