วัตถุภายนอก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 21 สิงหาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ทั้งวัตถุภายนอก และ ทั้งรูปกาย

    ที่ปรากฏให้
    ห็น ว่า สูง-ต่ำ ดำ-ขาว ต่าง ๆ นั้น.



    ก็ปรากฏ "ชั่วขณะ"
    .....ที่กระทบกับจักขุปสาท เท่านั้น.!



    ถ้าไม่มีตา หรือ ถ้าไม่เห็น

    ก็จะไม่ นึกถึง รูปร่าง-สัณฐาน สูง-ต่ำ ดำ-ขาว ฯลฯ

    ซึ่ง "ยึดถือ" ว่า

    เป็น "ร่างกายของเรา"


    .


    ฉะนั้น

    "รูป" ร่างกายของตนเอง

    และ วัตถุภายนอกทั้งหมด.

    ตามความเป็นจริง นั้น
    ...ไม่ใช่ของบุคคลใดเลย.!
    เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ชั่วขณะ ที่จัหขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็น

    แล้วดับไปอย่างรวดเร็ว เท่านั้นเอง.


    .


    เสียง ที่เกิดขึ้น-กระทบหู


    ก็เช่นเดียวกัน.


    เป็นเพียง "ชั่วขณะ" ที่เสียงกระทบโสตปสาท

    และ โสตวิญญาณเกิดขึ้น ได้ยินเสียงนั้น

    แล้วดับไปอย่างรวดเร็ว.


    จึง ไม่ใช่ของบุคคลใดเลย ทั้งสิ้น.!


    .


    การระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรม

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง.

    เป็นปัจจัยให้เกิด "การละคลายความยึดถือ"

    ในสภาพธรรมทั้งหลายทั้งปวง

    ว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน.


    .


    เพียงชั่วขณะ
    ...ที่เห็น วาระหนึ่ง

    ได้ยิน วาระหนึ่ง ได้กลิ่น วาระหนึ่ง ลิ้มรส วาระหนึ่ง

    รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย วาระหนึ่ง

    และ คิดนึกทางใจ วาระหนึ่ง
    ......นั้น.!

    เป็น สภาพธรรมที่มีจริง

    ซึ่งเป็น สติปัฏฐาน ให้ ปัญญา ศึกษา พิจารณา

    จนกระทั่ง รู้ ลักษณะ ของสภาพธรรมทั้งหลาย

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง ว่า

    สภาพธรรมทั้งหลาย

    ไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน ใด ๆ เลย.!


    .


    ลองพิจารณา

    ทรัพย์สมบัติ
    ....ที่เข้าใจว่า มีมาก นั้น.


    ถ้าไม่เห็น
    ...ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นเลย.!

    ก็เป็นเพียงแต่

    "ความคิด" เท่านั้น ว่า มีทรัพย์สมบัติต่าง ๆ มาก.


    แต่เมื่อไม่เห็น

    หรือ
    ........ไม่ได้กระทบสัมผัส ทรัพย์สมบัติเหล่านั้นเลย.!

    จะมีประโยชน์อะไร
    ...จากทรัพย์สมบัติเหล่านั้น หรือไม่.?


    .


    ฉะนั้น

    เมื่อ รู้ ลักษณะของ "ปรมัตถธรรม"

    ซึ่ง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน ตามความเป็นจริง.

    ก็จะเข้าใจ ว่า ทุกคนเสมอกัน.!


    คือ


    จักขุวิญญาณ เกิดขึ้น ขณะใด ก็เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา

    แล้วก็ดับไปทันที.!


    จักขุวิญญาณ และสิ่งที่ปรากฏให้เห็น

    จึงไม่ใช่สมบัติ ของบุคคลใด ทั้งสิ้น.!


    .


    ฉะนั้น

    จึงไม่ควรที่จะยึดถือสิ่งใด ว่าเป็นเรา หรือ เป็นของเรา

    เพราะ ทุกบุคคล เสมอกัน


    โดยสภาพที่เป็น "ปรมัตถธรรม"


    .

    แต่

    "กิเลส"

    ที่ยึดถือสภาพธรรมทั้งหลาย

    ว่า เป็นเรา หรือ เป็นของเรา นั้น.

    ย่อม มาก-น้อย ต่างกัน.!


    .


    ท่านที่เคยยินดี ในทรัพย์สมบัติมาก-น้อย ของท่าน

    เริ่มรู้สึกหรือยัง.?
    .......ว่า ท่านไม่มีสมบัติใด ๆ เลย.!



    เพราะ จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา

    และ ดับไปอย่างรวดเร็ว.!


    ถ้า จักขุวิญญาณ ไม่เกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา

    ทรัพย์สมบัติของท่าน อยู่ที่ไหน.?



    เมื่อ ทรัพย์สมบัติ

    เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็น

    เพียงชั่วขณะ.!

    แล้วจะยึดถือ ว่า เป็นทรัพย์สมบัติ "ของท่าน"

    ได้อย่างไร.?


    ในเมื่อ สิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา นั้น

    ไม่สามารถเข้ามาสู่ตัวของท่านได้เลย.!

    เพียงแต่ปรากฏให้เห็นได้ เมื่อมีการกระทบจักขุปสาท หรือ จักขุทวาร

    เท่านั้น.!


    .


    เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ

    ก็เช่นเดียวกัน.

    คือ

    มีเพียง "ชั่วขณะ" ที่กระทบกับปสาท ทางทวารใดทวารหนึ่ง

    แล้วดับไปอย่างรวดเร็ว.


    .


    จึงไม่ควรที่จะยึดถือ สภาพธรรมทั้งหลาย ว่า

    เป็นเรา หรือ เป็นของเรา.!
    ถึงแม้ทุกท่าน อยากจะมีทรัพย์สมบัติมาก ๆ

    ให้เท่า ๆ กัน
    ....
    ให้เหมือน ๆ กัน.


    .


    แต่ ตามความเป็นจริง นั้น.

    "ผล" ที่ปรากฏในปัจจุบัน
    ...เกิดจาก "เหตุ" ในอดีต.!


    .


    ฉะนั้น

    จึงไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร.!


    .


    "วิบาก"

    คือ ผลของกรรม ในขณะที่เพียงเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น

    ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส.


    ซึ่งไม่มีผู้ใด พยากรณ์ได้ ว่า

    ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส และ รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

    แต่ละ "วาระ" นั้น

    เกิดจาก ผลของกรรมอะไร.!


    .


    ข้อความ ใน อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

    ทุติยปัณณาสก์ อปัณณกวรรคที่ ๓

    อจินติตสูตร ข้อ ๗๗.


    .


    พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า


    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

    อจิตไตย ๔ ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด.



    เมื่อบุคคลใดคิด

    พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน.


    อจินไตย ๔ ประการ เป็นไฉน.


    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย


    พุทธวิสัย ของพระพุทธเจ้าทั้งปวง ๑

    ฌานวิสัย ของผู้ได้ฌาน ๑

    วิบากแห่งกรรม ๑

    ความคิดเรื่องโลก ๑


    ดูกร ภิกษุทั้งหลาย

    อจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด.

    เมื่อบุคคลใดคิด

    พึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน.


    .


    ขณะที่กำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา

    เป็น วิบากจิต ทางตา.


    สติ สามารถ ระลึก รู้ ลักษณะของสภาพธรรม

    คือ นามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้.

    และ รูปธรรม คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา

    เท่านั้น.


    จะ รู้ เกินไป จนกระทั่ง ว่า

    ที่กำลังเห็น
    .........เดี๋ยวนี้.!

    เป็นผลของกรรมอะไร
    ...ในชาติไหน

    ย่อมไม่สามารถที่จะรู้ได้.!


    .


    แต่.........ขณะใดที่กำลังเห็น

    "สติปัฏฐาน"

    สามารถ ระลึก ได้

    และ

    "ปัญญา"

    สามารถ รู้ชัด ได้


    ว่า

    ขณะที่เห็น.

    ซึ่งเป็น วิบากจิต

    ไม่ใช่ขณะที่พอใจ หรือ ไม่พอใจ

    ซึ่งเป็น อกุศลจิต

    ที่เกิดต่อจากขณะที่เห็น.

    ตามหลักพระธรรมแสดงไว้ว่า จิตต่างกันหลายประเภท มหัคคตจิต คือจิตที่

    เข้าถึงความเป็นใหญ่ สามารถข่มนิวรณ์ได้ ย่อมมีกำลังมากกว่าจิตระดับ

    กามาวจร ผู้ที่อบรมจิตจนกระทำอภิญญาจิตเกิดขึ้น จึงสามารถระลึกชาติ

    ในหนหลังเป็นอันมากได้ ญาณนี้เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ซึ่งแต่ละ

    ท่านก็ระลึกชาติหนหลังได้ไม่เท่ากันตามกำลังของปัญญา

    ตามหลักพระธรรมแสดงวิถีจิตเกิดขึ้นตามลำดับมีอยู่ว่า วิถีจิตทางปัญจทวาร และ วิถี

    จิตทางมโนทวารวาระแรก มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร วิถีจิตทางมโน

    ทวารวาระที่ ๓ หรือ วาระที่ ๔ จึงจะรู้สิ่งที่เห็นว่าเป็นดอกไม้ชื่ออะไร สรุปคือจิตเกิดดับ

    มากกว่า ๑๗ ขณะแน่นอน แต่ปัญญาระดับเราไม่สามารถรู้ความรวดเร็วและความ

    ละเอียดของจิตได้เหมือนผู้แสดงวิถีจิต​
     
  2. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    ไม่มีตาเห็นรูป ก็ไม่ได้หมายความว่าจะ ละรูปได้ หากแต่ ตาจิตยังคงเห็นยังคงปรุงแต่งตะหากเล่า ต้องแก้ที่ตาจิตให้เห็นรูป นามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง เกาะก็เป็นทุกข์ สุดท้ายดีเลวอย่างไรก็ สลายหมด ไม่มีอะไรเหลือ
     
  3. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ผัสสะที่เลย ปรมัตถ์ จนล่วงมาถึง บัญญัติ นั้น ใช่ว่าจะเกิดจาก อายตนะภายนอก อย่างเดียวก็หาไม่ แม้จะ ปิดทวารทั้ง 5 แล้ว สัญญา ก็ทำให้ ปั่นป่วนได้มิใช่น้อย ประตูที่ 6 นี้แหละ สำคัญเหมือนกัน อย่าวางใจเชียวท่านเอ๊ย.....................ที่เห็นนั่งหลับตา นั่นน่ะ มันขย่มจนคอแทบหัก ....ยังอมยิ้มอยู่ได้.
     

แชร์หน้านี้

Loading...