'วัดม้าขาว' อารามแห่งแรกของจีน

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย aprin, 6 สิงหาคม 2009.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=358 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=358>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ขณะที่ ‘บัวน้อย’ กำลังคิดไม่ตก ว่าจะพาไปที่ไหนในต่างแดน เพราะสถานที่สำคัญหลายแห่งที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ก็มีคนเขียนลงในธรรมลีลามากันเยอะแล้ว(รวมทั้ง ‘บัวน้อย’ ด้วย..ฮิฮิ) แต่ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อค่ะ ว่าในที่สุดธรรมะก็จัดสรรให้เสร็จสรรพ

    และคราวนี้เราจะไปที่แดนมังกรกันค่ะ ไปรู้จักกับวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งแม้นี้จะไม่ใหญ่โตหรือสวยงามที่สุด แต่ก็เป็นวัดที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นวัดแห่งแรกของจีน ที่มีอายุอานามร่วม 2.000 ปีแล้ว วัดนี้ชื่อว่า “ไป๋หม่าซื่อ” แปลว่า “วัดม้าขาว” ตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยาง(อดีตเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ฮั่น) มณฑลเหอหนาน สร้างขึ้นในสมัยพระจักรพรรดิมิ่งตี้ แห่งราชวงศ์ฮั่น ซึ่งครองราชย์ราว พ.ศ.601-618

    ตามตำนานบอกไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.607 คืนหนึ่งพระจักรพรรดิฮั่นมิ่งตี้ได้ทรงพระสุบินเห็นบุรุษที่มีกายดั่งทองคำ สูงราว 20 เมตร มีรัศมีสีขาวเปล่งประกายเรืองรองรอบตัว เหาะมาจากทางทิศตะวันตก วันรุ่งขึ้นจึงทรงเล่าพระสุบินนี้ให้ขุนนางผู้ใหญ่ฟัง “จงหู” ขุนนางคนหนึ่งจึงกราบทูลว่า “เป็นไปได้ที่พระองค์จะทรงพระสุบินถึงพรพุทธเจ้าที่มาจากอินเดีย”

    จากนั้น หนึ่งปีต่อมา คือในพ.ศ.608 จึงได้มีการส่งคณะทูต 18 คน ไปสืบพระพุทธศาสนาที่อินเดีย ผ่านไป 3 ปีคณะทูตก็ได้เดินทางกลับ พร้อมด้วยพระภิกษุ 2 รูป คือ พระกาศยปะมาตังคะ กับ พระธรรมรักษะ และคัมภีร์พระพุทธศาสนาส่วนหนึ่งด้วย โดยบรรทุกมาบนหลังม้าขาวตัวหนึ่ง

    พระจักรพรรดิมิ่งตี้ทรงดีพระทัยมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.612 จึงได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นที่ชานเมืองลั่วหยาง เพื่อเป็นที่เก็บพระคัมภีร์ และให้พระภิกษุทั้งสองรูปจำวัด แล้วพระราชทานนามให้ว่า “วัดม้าขาว” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ม้าขาวที่บรรทุกคัมภีร์มา

    พระภิกษุทั้งสองได้ช่วยกันแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาจีนหลายคัมภีร์ โดยพระกาศยปะมาตังคะ ได้แปลพระสูตรพุทธวจนะ 42 บท เป็นสูตรแรก วัดม้าขาวจึงกลายเป็นต้นกำเนิดและศูนย์กลางของพุทธศาสนามหายานในเมืองจีนมานับแต่นั้น

    มีพระสงฆ์นับพันรูปมาที่วัดแห่งนี้ รวมทั้ง หลวงจีนเหี้ยนจัง หรือ พระถังซำจั๋ง ซึ่งเริ่มต้นออกเดินทางจากวัดม้าขาว เพื่อจาริกแสวงบุญไปยังอินเดีย ในปี พ.ศ.1172 ในสมัยพระเจ้าถังไท้จง ท่านใช้เวลาศึกษาพระพุทธศาสนาและคัดลอกพระไตรปิฎก แล้วเดินทางกลับประเทศจีน ใน พ.ศ.1188 และมาเป็นเจ้าอาวาสวัดม้าขาว ซึ่งถือเป็นพระอารามหลวงในสมัยนั้น พระถังซำจั๋งได้แปลพระคัมภีร์ต่างๆ จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีนอยู่หลายปี จนเสร็จสมบูรณ์ได้เป็นหนังสือรวม 1,335 หมวดหมู่ รวมทั้งได้เขียนบันทึกการเดินทาง ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นหลักฐานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่งของโลก ปัจจุบันอัฐิธาตุของท่านก็บรรจุอยู่ในพระเจดีย์องค์หนึ่งที่วัดม้าขาวแห่งนี้

    วัดม้าขาวผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์มาหลายยุคหลายสมัย ภายในวัดแห่งนี้จึงเป็นที่รวมของสถาปัตยกรรม และประติมากรรม ในหลากหลายยุค อาทิ ศิลาจารึกสมัยราชวงศ์ถัง กว่า 40 หลัก รูปม้าแกะสลักจากหินทรายสมัยราชวงศ์ซ่ง ขนาดเท่าตัวจริง 2 ตัว ตั้งอยู่ด้านหน้าวัด เจดีย์ 13 ชั้น ก่อด้วยอิฐสูง 35 เมตร สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น และอารามที่เห็นอยู่ในปัจจุบันก็ก่อสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง

    ปัจจุบัน วัดมีเนื้อที่ราว 80 ไร่เศษ ประกอบด้วยอาคารต่างๆ เช่น ห้องราชาแห่ง สวรรค์ ห้องพระพุทธะผู้ยิ่งใหญ่ ห้องพระไวโรจนะ ห้องสู่ทางสวรรค์ และหอพระไตรปิฎก

    ในปี พ.ศ.2535 พุทธศาสนิกชนชาวไทยและจีนได้ร่วมกันบริจาคเงินสร้างวิหารหนึ่งหลังในรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยขึ้นทางตะวันตกของวัด

    ต่อมา พ.ศ.2548 รัฐบาลอินเดียได้สร้างสถูปสาญจีจำลองไว้ในวัด เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนทางศาสนาและวัฒนธรรมกับจีน ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2551 ที่ผ่านมา โดยสถูปสาญจีจำลองนี้ใช้เป็นที่จัดบรรยายธรรม สวดมนต์ จัดนิทรรศการ และการสัมมนาทางพุทธศาสนา

    ทุกวันนี้ วัดม้าขาวก็เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจีนที่มีผู้คนจากทั่วโลกมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย

    (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 105 สิงหาคม 2552 โดยบัวน้อย)

    Dhamma and Life - Manager Online

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...