วัฏฏสงสาร ในชีวิตประจำวัน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Lukhgai, 5 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. Lukhgai

    Lukhgai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    3,000
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +8,240
    วัฏฏสงสาร คือการเคลื่อนไปเป็นวงกลม

    เราได้ยินคำนี้มานานแล้วแต่อาจจะอธิบายการเกิดของสัตว์ข้ามภพข้ามชาติ แต่ในชีวิตประจำวันก็มีวัฏฏสงสารเหมือนกัน

    การเคลื่อนไปเป็นวงกลม ในที่นี้หมายถึงการเกิดและเหตุที่ทำให้เกิดนะครับ การเกิดในที่นี้หมายถึงการเกิดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น การเกิดของอารมณ์ ความอยาก และ

    การเกิดมีชีวิตขึ้นมาของสัตว์

    ผมก็ได้อ่านมาบ้างครับ น่าสนใจทีเดียวแต่ผมจำไม่ได้ว่า จากหนังสือเรื่องอะไร และท่านใดเป็นผู้แต่ง ถ้าจำได้ลางน่าจะเป็นหนังสือสอนพระบวชใหม่ครับ ผม

    ขอเล่าให้ฟังเท่าที่จำได้นะครับ ถ้าผมจำผิดเล่าผิดก็ขออภัยด้วยนะครับ แต่น่าสนใจจริงๆ

    อะไรทำให้มีวัฏฏสงสาร ท่านกล่าวว่า วัฏฏสงสารประกอบด้วย 3 ส่วน ทำให้กงล้อหมุนไปได้ ส่วนประกอบทั้ง3 เกื้อหนุนกันและกันทำให้ล้อหมุนไปอย่างไม่

    มีวันหยุดได้ ส่วนประกอบนี้ก็คือ

    <!--coloro:#3366FF--><!--/coloro-->1.ความอยาก มันก็คือความอยากนั้นล่ะครับ อยากนุ่นอยากนี้

    2.การกระทำ คือการกระทำต่างๆตามความอยาก

    3.การเกิด คือการได้ การประสบความสำเร็จตามความอยาก หรือก็คือ ผลของความอยากนั่นเอง<!--colorc-->
    <!--/colorc-->

    ที่ผมว่า วัฏฏสงสารเห็นได้ในชีวิตประจำวันนั้น ผมจะยกตัวอย่างง่ายๆเห็นชัดๆเลยนะครับ

    ผมอยากได้กล้องถ่ายรูปสักตัว ดูแล้วอย่างต่ำๆก็หมื่นขึ้นไป ความอยากเกิดขึ้นมาในใจผมแล้วครับ แต่ว่ามันยังไม่มีตังค์ง่ะ จะทำไงดีคิดแล้วแบบนี้ต้องหางานทำสัก

    หน่อยจะได้มีตังค์ ซื้อกล้อง พอไปทำงานนะ งานก็หนักเหลือเกิน อยากกลับบ้านซักบ่ายสามโมงก็กลับไม่ได้ อยากไปเดินเล่นกับเพื่อนก็ไปไม่ได้ก็เลยรู้สึกว่าเป็น

    ทุกข์ จนในที่สุดก็ทำงานได้ตังค์มาแล้ว ไปซื้อกล้องดีกว่า แล้วในที่สุดกล้องก็เกิดกับผมแล้ว ผมมีกล้องแล้ว ทีนี้ความกังวลว่า ทำไงดีนะถ้ากล้องเปียกฝนก็พัง ถ้าถือ

    ไม่ดีก็ตกพัง เอาวางไว้มันก็อาจหาย ความวิตกนี้เรียกว่าความทุกข์ครับ ทุกข์มีหลังจากการเกิดเหมือนที่ท่านสอนไว้จริงๆด้วย


    ทีนี้เมื่อกล้องเกิดกับผมแล้ว ความอยากอื่นๆอีกล่ะมันก็ตามมาเป็นดันกงล้อให้หมุนต่อไป เช่น อยากถือกล้องไปด้วย อยากโชว์เพื่อน หรือ อยากได้เลนส์มาต่อ

    เพิ่ม ผมก็ต้องทำตามความอยากนั้นเพราะถ้าไม่ทำมันก็ทุกข์เนาะ ไปทำงานใหม่หาตังค์มาซื้อเลนส์ โอที่นี้น่ะ เลนส์มันแพงกว่ากล้องเสียอีก อยากได้นี่ ก็ต้องทนทำ

    งานหนักขึ้นไปอีก จนในที่สุดก็ได้เลนส์สมใจ เลนส์เกิดกับผมแล้ว

    แล้วทีนี้ก็อยากอย่างอื่นอีกอยากไปถ่ายรูปสวย พอได้แล้ว อยากเอารูปไปลง hi5 อยากต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งเราทำตามความอยาก ความอยากก็ยิ่ง

    มีเพิ่มอีก แบบนี้แหละเรียกว่า วัฏฏสงสารครับ การเกิดขึ้นแบบไม่รู้จักจบสิ้นเสียที

    ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่าตัณหาผู้สร้างภพ เป็นดังคำท่านจริงๆ เมื่อมีภพก็ต้องมีการเกิด เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีความทุกข์ ทุกข์เพราะแก่ เจ็บ ตาย เป็นต้น แต่เหล่านี้ไม่

    ได้เกิดบ่อยเท่าความทุกข์เพราะความอยากได้สิ่งใด แล้วไม่ได้สิ่งนั้น ความอยากสร้างทุกข์ให้เรามาก

    นั้นคือถ้าเราตัดความอยากได้ ซึ่งความอยากหรือตัณหา แบ่งได้สามอย่างคือ

    <!--coloro:#CC33CC--><!--/coloro-->ภวตัณหา<!--colorc--><!--/colorc--> คือความอยากได้ อยากมี อยากเป็น

    <!--coloro:#009900--><!--/coloro-->วิภวตัณหา<!--colorc--><!--/colorc--> คือ ความไม่อยากได้ ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น (หรือ อยากที่จะไม่ได้ ไม่มี ไม่เป็นนั้นเอง)

    <!--coloro:#3333FF--><!--/coloro-->กามตัณหา<!--colorc--><!--/colorc--> คือ ความอยากในกาม

    ตัณหาความอยากเหล่านี้นี่เอง ท่านสอนว่า เป็นสาเหตุให้มีการเกิดครับ

    ดังนั้นแล้ว การทำให้เกิดน้อย จนไม่ต้องเกิดอีก คือ นิพพาน ก็ต้องตัด ความอยากคือตัณหานั่นเองครับผม

    ที่มา..ศาลาธรรม<!--sizec--><!--/sizec--><!--IBF.ATTACHMENT_849657--><!-- THE POST -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...