ลักษมี มิตตัล อภิมหาเศรษฐีอันดับ 3 ของโลก

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 22 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    ผลการจัดอันดับมหาเศรษฐีของนิตยสารฟอร์บส์ ประจำปี 2548 ปรากฏว่า ลักษมี มิตตัล ชาวอินเดีย วัย 55 ปี เจ้าของอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน กระโดดจากอันดับที่ 63 ในปี 2547 ขึ้นมาติดอันดับ 3 และนิตยสารไทม์ ฉบับประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549 ได้เสนอเรื่องราวของเขาพร้อมนำภาพของเขา ขึ้นปก


    อภิมหาเศรษฐีอันดับ 1 ยังคงเป็น บิลเกตส์ เจ้าพ่อไมโครซอฟท์ ซึ่งมีทรัพย์สิน 46.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ติดอันดับ 1 ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 11 อันดับ 2 คือ เจ้าพ่อหุ้นวอร์เรน บัฟเฟตต์ มีทรัพย์สิน มูลค่าใกล้เคียงกันคือ 44 พันล้าน สำหรับ ลักษมี มิตตัล ซึ่งติดอันดับสามยังมีมูลค่าทรัพย์สินตามห่างมาที่ 25 พันล้าน


    ความสำเร็จของ ลักษมี มิตตัล เป็นเรื่องน่าสนใจ ที่คนจากโลกที่สามอย่างอินเดีย ที่เกือบไม่มีต้นทุนอะไรมากมายทั้งพื้นฐานครอบครัว การศึกษา และสถานะทางการเมืองจะออกไปแข่งขันในโลกธุรกิจจนก้าวขึ้นมาเป็นอันดับ 3 ของโลก


    ลักษมี มิตตัล มีชื่อเต็มว่า ลักษมี นารายัน มิตตัล หรือ ลักษมี นิวาส มิตตัล เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2493 ในเมืองซาดัลปูร์ ในเขตชูรูของรัฐราชาสถาน ประเทศอินเดีย ในครอบครัวที่เดิมฐานะยากจนมาก ตระกูลของเขาอยู่ในวรรณะแพศย์ เขาอาศัยในบ้านที่ปู่สร้าง โดยพ่อแม่อาศัยอยู่ในบ้านของปู่ ทั้งบ้านมีคนอยู่รวมกันถึง 20 คน เตียงนอนของเขาเป็นเตียงเชือกถัก ต่อมาครอบครัวของเขาย้ายเข้าไปอยู่ในเมืองโคลโคตา เมื่อพ่อของเขาเข้าไปร่วมหุ้นทำโรงงานเหล็กกล้า ลักษมีเรียนจบได้ปริญญาตรีทางบริหารธุรกิจ เมื่อปี พ.ศ. 2512 จากวิทยาลัยเซนต์ เซเวียร์ ในเมืองโคลโคตา เพื่อนร่วมชั้น จำได้ว่าเขาเป็นคนหัวดีและเก่งคำนวณ


    อุตสาหกรรมเหล็กกล้าในอินเดียตั้งแต่ได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2490 อยู่ในมือของสองกลุ่ม คือ รัฐวิสาหกิจของรัฐบาล และบริษัทตาต้าเหล็กและเหล็กกล้า ซึ่งเป็นของเอกชน แต่ โมหัน ลาล มิตตัล พ่อของเขาสามารถสร้างธุรกิจจนเติบโตและแข่งขันได้ในอินเดีย ได้ขยายโรงงานไปที่เมืองนากปูร์ใกล้เมืองปูเน และมีโรงงานขนาดใหญ่ใกล้เมืองมุมไบหรือชื่อเดิมบอมเบย์ ซึ่งพี่น้องของเขาสองคนคือ ปราโมด และ วิโนด รับหน้าที่บริหารอยู่ในปัจจุบัน


    เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลที่ไม่เอื้อต่อการแข่งขันเสรีเท่าที่ควร พ่อของเขาจึงหาทางออกด้วยการขยายกิจการออกไปต่างประเทศ โดยเริ่มต้นที่อินโดนีเซีย ซึ่งแม้อุตสาหกรรมเหล็กกล้าจะอยู่ในมือของรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่โดยบริษัทพีทีครากะตัวเหล็กกล้า ซึ่งเป็นของรัฐ แต่รัฐบาลอินโดนีเซียก็เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปทำธุรกิจด้านนี้ได้ ลักษมีถูกพ่อส่งไปเริ่มกิจการในต่างประเทศเป็นแห่งแรก โดยเริ่มจากโรงงานขนาดย่อม มีกำลังผลิตราว 65,000 ตันต่อปี


    ณ จุดเริ่มต้นในต่างประเทศที่อินโดนีเซีย ลักษมีสามารถสร้าง รากฐานได้อย่างเข้มแข็งและขยายกิจการจนมีกำลังผลิตถึงปีละ 7 แสนตัน นับเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่ใหญ่เป็นอันดับสองของอินโดนีเซียและเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศที่เป็นของเอกชน แต่โรงงานดังกล่าวยังไม่มีความมั่นคงในเรื่องวัตถุดิบที่จะป้อนโรงงาน ลักษมีหาทางออกโดยการเลือกวัตถุดิบใหม่ทดแทน โดยมุ่งไปทางแถบแคริบเบียน ขณะนั้นโรงงานเหล็กและเหล็กกล้าทรินิแดด และโทบาโก (Iron & Steel Co of Trinidad & Tobago: ISCOTT) กำลังต้องการผู้ไปช่วยเหลือและรัฐบาลกำลังติดต่อบริษัทจากเยอรมนีและออสเตรียเข้าไปปรับปรุงกิจการ ลักษมีประสบความสำเร็จในการเจรจาและรัฐบาลทรินิแดดและโทบาโกยอมขายโรงงานดังกล่าวให้ ณ จุดนั้นเอง ลักษมีเริ่มมั่นใจว่าเขาจะต้องสร้างเครือข่ายระดับโลกของเขาให้สำเร็จ


    ลักษมีซื้อโรงงานที่ใช้กระบวนการผลิตแบบเดียวกันทั้งในแคนาดาและเยอรมนี โรงงานที่สร้างรายได้และความสำเร็จอย่างมากให้แก่ลักษมีคือ โรงงานที่เม็กซิโก ซึ่งมีกำลังผลิตถึงปีละ 2 ล้านตัน ลักษมีไม่หยุดอยู่แค่นั้นสี่ปีต่อมาเขาไล่ซื้อกิจการโรงงานที่กำลังร่อแร่แต่มี ศักยภาพสูงเข้ามาบริหาร ตั้งแต่โรงงานที่คารากันดาในคาซัคสถาน ซึ่งเป็นโรงงานใหญ่แต่กำลังไปไม่รอด เพราะสร้างขึ้นในท้องที่ห่างไกลติดต่อกับเมืองอื่นได้ยากมาก อากาศในฤดูร้อนสูงถึง 40 องศาเซลเซียส และลดลงถึง -50 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาว เป็นที่ที่ สตาลินเนรเทศผู้คนไปทรมานที่นั่น ลักษมีใช้เวลาแรมเดือนเจรจากับ ผู้มีอำนาจในคาซัคสถานในที่สุดก็ตกลงกันได้


    ปี พ.ศ.2545 ลักษมีซื้อโรงงานโนวาฮัท ใกล้เมืองออสตราวา ในสาธารณรัฐเชก โรงงานแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ.2494 ขณะเจรจาซื้อขาย โรงงานอยู่ในสภาพทรุดโทรม ล้าสมัย ไม่มีเงินค่าบำรุงรักษา และที่สำคัญคือ ไม่รู้ว่าจะแข่งขันในโลกเสรีได้อย่างไร โรงงาน มีคนงานถึง 12,000 คน มีสภาพเหมือนไดโนเสาร์ที่กำลังจะสูญพันธุ์ ลักษมีซื้อโรงงานแห่งนี้มาในราคา 6 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับว่า ถูกมากเมื่อเทียบกับกำลังผลิตของโรงงานที่เคยผลิตได้ถึงปีละเกือบ 4 ล้านตัน ตอนที่ตกลงซื้อขายกันนั้นคนงานไม่ได้รับค่าจ้างมาแล้วหลายเดือน ลักษมีจึงเสมือนพระมาโปรดทั้งจ่ายค่าจ้างให้และปรับปรุงโรงงานให้คนงานมีงานทำต่อไป


    ในปี พ.ศ.2527 ลักษมีแยกตัวจากพ่อและพี่น้อง เพราะทัศนคติที่แตกต่างกัน ลักษมีรับกิจการในต่างประเทศมาทำต่อจนประสบความสำเร็จอย่างรุ่งโรจน์


    ราวปี พ.ศ.2541 พ่อของเขามองความสำเร็จของลักษมีแล้ว ปรามาสลูกชายโดยพูดกับนิตยสารดิอิโคโนมิสต์ว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...