-ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง (ไตรลักษณ์)โดย หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย trilakbooks, 29 พฤศจิกายน 2011.

  1. trilakbooks

    trilakbooks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    1,357
    ค่าพลัง:
    +414
    [​IMG]
    คู่มือมนุษย์ เรื่องที่ ๓

    ลักษณะสามัญของสิ่งทั้งปวง (ไตรลักษณ์)

    โดย หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ




    บทนี้จะกล่าวถึงข้อที่ว่า

    สิ่งทั้งหลายทั้งปวงประกอบอยู่ด้วยลักษณะ อันเรียกว่า “ไตรลักษณ์”

    หรือลักษณะ ๓ ประการ

    กล่าวคือ ความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา. ๒๖





    อนิจจัง

    แปลว่า ไม่เที่ยง ความหมายว่าสิ่งทั้งหลายมีลักษณะ

    เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอไป ไม่มีความคงที่ตายตัว





    ทุกขัง

    แปลว่า เป็นทุกข์ มีความหมายว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงมีลักษณะที่เป็นทุกข์

    มองดูแล้วน่าสังเวชใจ

    นำให้เกิดความทุกข์ใจแก่ผู้มีความ

    เห็นอย่างแจ่มแจ้งในสิ่งนั้นๆ



    อนัตตา

    แปลว่า ไม่ใช่ตัวตน หมายความว่า

    ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีความหมายแห่งความเห็นตัวเป็นตน

    ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เราถือได้ว่ามันเป็นของเรา

    ถ้าเราเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน

    ถูกต้องแล้ว

    ความรู้สึกที่ว่า

    ไม่มีตัว ไม่มีตน จะเกิดขึค้นมาเองในสิ่งทั้งปวง

    แต่ที่เราไปหลงเห็นว่า เป็นตัวเป็นตนนั้น

    ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง ๒๗





    ขอให้ทราบว่า ลักษณะสามัญ ๓ ประการนี้

    พระพุทธเจ้า ทรงสั่งสอนมากกว่าคำสั่งสอนอื่นๆ บรรดาคำสั่งสอนทั้งหลาย จ่ะนำมา

    รวบยอดอยู่ที่การเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    นี้ทั้งนั้น บางทีก็กล่าวตรงๆ

    บางทีก็พูดด้วยโวหาร อย่างอื่น

    แต่ใจความมุ่งแสดงความจริงอย่างเดียวกัน ๒๘





    เรื่องความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น เคยมีสอนกันอยู่ก่อนพระพุทธเจ้า

    แต่ไม่ได้ขยายความให้ลึกซึ้ง เหมือนของพระองค์ เรื่องความทุกข์ก็เหมือนกัน มีการสอนมาแล้ว

    แต่ไม่ลึกซึ้งถึงที่สุด ไม่ประกอบด้วยเหตุผล

    และไม่สามารถชี้วิธีดับทุกข์

    ที่สมบุณร์จริงๆ ได้ เพราะยังไม่รู้จักความทุกข์อย่างเพียงพอ

    เท่ากับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ส่วนเรื่อง

    ควาไม่ใช่ตัวใช่ตนนี้ มีสอนในพระพุทธศาสนาเท่านั้นฃ

    ข้อนี้ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าผู้ที่รู้จักว่าอะไรเป็นอะไรถึงที่สุดเท่านั้น

    จึงจะรูว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เหตุนั้น

    จึงมีสอนแต่โดยพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรได้ถึงที่จริงจริงๆ ๒๙





    คำสอนเรื่องลักษณะ ๓ ประการนี้

    มีวิธีที่จะประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เห็นแจ้งมากมายหลายวิธีด้วยกัน

    ถ้าปฏิบัติจนเห็นแจ้งแล้ว เราจะพบว่า มีข้อสังเกตข้อหนึ่ง คือ

    ต้องเป็นการเห็น จนรู้สึกว่า ไม่มีอะไรน่ายึดถือ ไม่มีอะไรที่อยากจะเอา จะมี

    จะเป็น ซึ่งสรุปสั้นว่า “ไม่มีอะไรที่น่าเอา ไม่มีอะไรที่น่าเป็น”

    เมื่อท่านมองเห็นว่า มี ความมี ความเป็น อย่างใดก็ตาม เป็นความหลอกลวง

    เป็นมายา ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น ทั้งหมดทั้งสิ้นจริงๆ

    ดังนี้แล้ว นั่นแหละ คือการเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    อย่างถูกต้อง

    ส่วนคนที่ท่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่ทั้งเช้า เย็น

    หลายร้อยหลายพันครั้งมาแล้ว อาจไม่เห็นก็ได้

    เพราะไม่ใช่วิสัยที่จะเห็นได้ด้วยการฟังหรือการท่อง ๓๐







    การคำนึงถึงเอาตามหลักเหตุผล

    นั้นไม่ใช่ “การเห็นแจ้ง” อย่างที่เรียกว่า “เห็นธรรม”

    การเห็นธรรม ไม่อาจจะเห็นได้ด้วยการคิดไปตามเหตุผล

    แต่ต้องเห็นแจ้งด้วยความรู้สึกในใจแท้จริง เข่นพิจารณา เห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    ที่ทำความเจ็บปวดให้แก่ตนซึ่งเข้าไปหลงอย่างสาสม

    อาศัยการที่ได้กระทบจริงๆ เกิดเป็นความรู้สึกแก่จิตใจขึ้นมาจริงๆ

    จนเบื่อหน่ายเกิดความสลดสังเวชขึ้นมาอย่างนี้จึงจะเรียกว่า

    เห็ฯธรรม หรือเห็นแจ้ง ๓๑



    การเห็นแจ้งทำนองนี้ อาจเลื่อนสูงขึ้นไปตามลำดับจนกว่าจะถึงเรื่องสุดท้าย

    ที่ทำให้ปล่อยวางสิ่งทั้งปวงได้ ส่วนผู้ที่ท่อง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือพิจารณาอยู่ทั้งวันทั้งคืน

    แต่ถ้าไม่เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อสิ่งทั้งปวง

    คือไม่อยากเอาอะไร ไม่อยากเป็นอะไร ไม่อยากยึดถือในอะไรแล้ว

    ก็เรียกว่ายังไม่เห็นอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงสรุปการเห็นความไม่เที่ยง

    ความเป็นทุกข์ ความไม่ใช่ตัวตน ลงไว้ที่คำว่า

    “เห็นจนเกิดความรู้สึกว่า ไม่มีอะไรน่าเอาหรือน่าเป็น” ๓๒



    ลองให้คิดดู การได้บุตร การได้ภรรยา

    นำเอาความเบากายเบากายมาให้ หรือเอาภาระหลายอย่างมาให้?

    การได้ตำแหน่ง หน้าที่ การได้มาซึ่งความสงบเย็น หรือได้มาซึ่งภาระหนักๆ

    โดยนัยนี้จะเห็นได้โดยง่ายว่า ล้วนแต่นำมาซึ่งภาระและหน้าที่

    อย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ ทั้งนี้เพราะเหตุใด ?

    เพราะเหตุว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนแต่เป็นภาระเพราะความไม่เที่ยง เป็นทุกข์

    ควาไม่ใช่ตัวตนของมันนั่นเอง เมื่อเราได้อะไรมา

    เราก็จำต้องจัดการกับสิ่งนั้นๆ ให้มันอยู่กับเรา

    ให้เป็นไปตามใจเราหรือ มีประโยชน์แก่เรา

    แต่แล้วสิ่งนั้นๆ ตามปกติมันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่เป็นของใคร

    คือ ไม่รู้ไม่ชี้ ต่อความประสงค์มุ่งหมาย

    ของบุคคลใด ม่แต่จะเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุ

    ตามวิสัยของมันเอง การพยายามของคนเรา

    จึงเป็นการต่อสู้ หรือเป็นการต้านกฎแห่งความเปล่นแปลงของสิ่งเหล่านั้น ฉะนั้น

    จึงเกิดการยากลำบาก หรือเป็นการทนทรมานในการที่จะเป็นอยู่

    หรือการทำสิ่งทั้งหลายทั้งปวงให้เป็นไปตามความประสงค์ของเรา ๓๓







    อุบายซึ่งจะจัดการกับสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็นนั้น มีอยู่

    ข้อนี้ได้แก่การพิจารณาให้ลึกซึ้งจนพบความจริงว่า

    เมื่อยังมีกิเลสตัณหา ความรู้สึกในการเอาการเป็นนั้น ย่อมมีลักษณะไปอย่างหนึ่ง

    ถ้าไม่มีกิเลสตัรหา มีแต่ปัญญา

    ซึ่งรู้จักถูกต้องด่าอะไรเป็นอะไรแล้ว ความรู้สึกในการเอา การเป็น

    หรือการได้ของบุคคคลนั้น ย่อมอยู่ในลักษณะอีกแบบหนึ่ง ๓๔





    ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น การกินอาหาร ถ้ากินด้วยตัณหา หรือความอยากในควาเอร็ดอร่อย

    การกินอาหารของผู้นั้นต้องมีอาการซึ่งต่างจากบุคคล

    ซึ่งไม่กินอาหารด้วยตัณหา แต่กินด้วยสติสัมปชัญญะ หรือปัญญา รู้ว่า อะไรเป็นอะไร

    นี้ก็เป็นคนด้วยกัน แต่คนหนึ่ง กินด้วยตัณหา อีกคนหนึ่ง กินด้วยความรู้สึกตัว

    ด้วยสติปัญญา การกิจจะต้องผิดกัน

    กิริยาอาการที่กินและความรู้สึกในขณะกินก็จะต้องผิดกัน

    และในที่สุดผลอันเกิดจากการกินจะต้องผิดกัน ๓๕





    เราต้องทำความเข้าใจในข้อที่ว่า แม้จะไม่ต้องมีตัณหา หรือความอยาก

    ในรสอร่อย คนเราก็กินอาหาร พระอรหันต์ หรือพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคล

    ที่ไม่มสีกิเลสตัณหาเลย ก็ยังทำอะไรๆ ได้เป็นอะไรๆ

    ก็ได้ยังทำงานมากกว่าพวกเราซึ่งกิเลสตัรหา

    ท่านทำด้วยอำนาจของอะไร ? เหมือนกับพวกเรา

    ที่ทำด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา อยากเป็น นั่นเป็นนี่หรือ? ๓๖





    คำตอบก็คือ ท่านทำด้วยอำนาจของปัญญา คือความรู้ ที่แจ่มแจ้งถึงที่สุดว่าอะไรเป็นอะไร

    ผิดแปลกแตกต่างจากพวกเรา ซึ่ง ทำอะไรๆ ด้วยตัณหา ผลที่เกิดขึ้นนั้นคือพวกเราเป็นทุกข์

    กันตลอดเวลา แต่ส่วนท่านไม่มีความทุกข์เลย ท่านไม่อยากได้อะไร

    ไม่อยากเอาอะไร ผลก็ไปได้แก่คนทั้งหลายเหล่าอื่น

    ด้วยความเมตตาของท่านนั่นเอง ท่านมีปัญญาเป็นเครื่อง บอกว่า นี้ควรจะทำ

    แทนที่จะอยู่เฉยๆ ฉะนั้น ท่านจึงทำการสืบอายุพระศาสนามาจนถึงพวกเราได้

    และรวมทั้งทำประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย ๓๗





    หลักของพระพุทธศาสนามีอยู่อย่างนี้ เราจะทำได้หรือไม่ได้ก็ตาม

    ปรารถนา หรือไม่ปรารถนาก็ตาม แนวของความพ้น

    ทุกข์ย่อมมีอยู่ดังนี้ วันนี้ยังไม่ปรารถนา วันหน้าก็ต้องปรารถนา

    เพราะว่เมื่อได้ละความชั่วเสร็จแล้ว ความดีก็ได้เต็มเปลี่ยมดีแล้ว

    จิตยังหม่นหมองด้วยตัณหาชั้ปนระณีตบางประการอยู่

    และก็ไม่รู้จักจะดับด้วยวิธีใด นอกจากพยายามอยู่เหนืออำนาจตัณหา คือ

    อยู่เหนือ การที่จะไปอยากได้อยากเป็นทั้งในสิ่งที่ชัวหรือที่ดีก็ตาม

    ต้องไม่มีความอยากโดยสิ้นเชิง จึงจะพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ได้( นิพพาน) ๓๘





    สรุปความว่า การรู้อะไรว่าเป็นอะไรถึงที่สุดนั้น คือรู้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่เที่ยง

    เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวของตน เมื่อรู้โดยแท้จริงแล้วก็จะเกิด

    ความรู้ชนิดที่จิตใจตจะไม่อยากได้อะไรไม่อยากเป็นอะไร

    ด้วยความยึดถือ แต่ถ้ามองเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใดๆ ที่เรียกว่า “ความมี-ความเป็น”

    บ้างก็เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยสติสัมปชัญญะ โดยอำนาจของปัญญา

    ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยอำนาจของตัณหา เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความทุกข์ ๓๙
     

แชร์หน้านี้

Loading...