ลักษณะของจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 20 สิงหาคม 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ลักษณะของจิต คือ

    ชื่อว่า "จิต"

    เพราะเป็นธรรมชาติ อันกรรมกิเลส สั่งสมวิบาก.


    .


    เรื่องของอดีตกรรม เป็นเรื่องที่รู้ยาก.!

    เพราะเป็นการกระทำที่สำเร็จไปแล้ว
    ....ในอดีต.


    แต่

    การกระทำที่สำเร็จไปแล้วในอดีตนั้นเอง

    เป็นปัจจัย

    คือ ทำให้ วิบากจิต และ วิบากเจตสิก

    เกิดขึ้น รู้อารมณ์ ในปัจจุบัน.


    ฉะนั้น

    จึงควรพิจารณา โดยละเอียด

    เพื่อให้เข้าใจ สภาพธรรมที่เป็น วิบาก

    ว่า

    สภาพธรรม ที่เป็นวิบาก นั้น.!

    ได้แก่

    นามธรรม คือ จิต และ เจตสิก ซึ่งเป็น สภาพรู้

    ซึ่งเกิดขึ้นได้

    เพราะ กรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต เป็น ปัจจัย.!


    .


    โดยทั่วไป.

    เมื่อประสบเหตุการณ์ อย่างหนึ่ง อย่างใด

    ก็มักจะกล่าวว่า เป็นกรรมของบุคคลนั้น.!



    ซึ่ง ตามความเป็นจริง

    ถ้าเป็น ความเข้าใจ ที่ถูกต้องจริง ๆ


    ควรกล่าวว่า

    เป็น "ผลของกรรม"

    ที่บุคคลนั้น ได้กระทำแล้ว ในอดีต.!


    ซึ่ง ทำให้เข้าใจชัดเจนขึ้น ว่า

    ขณะใด เป็น ผลของกรรม.!

    ขณะใด เป็น กรรม.!


    .


    เพราะถ้าหากกล่าวเพียงสั้น ๆ ว่า


    "เป็นเพราะ กรรมของบุคคลนั้น"


    ผู้ซึ่งไม่คุ้นเคยกับ เหตุ และ ผล ของสภาพธรรม

    ตามความเป็นจริง.

    อาจะเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ผิดไปจาก ความเป็นจริง

    โดยเกิดความเข้าใจผิด
    ................

    ถือเอา วิบาก นั่นเอง ว่าเป็น กรรม.!


    .


    เมื่อได้ศึกษา และ เกิดความเข้าใจ

    เรื่องของจิต.


    ซึ่ง

    เป็นสภาพธรรม (ธรรมชาติ) อันกรรมกิเลส สั่งสมวิบาก.

    จะเป็นปัจจัยให้เกิดความเข้าใจ สภาพธรรมทั้งหลาย

    ตามความเป็นจริง ยิ่งขึ้น.


    เช่น

    ความเข้าใจตามความเป็นจริง ว่า


    ถ้าปราศจาก "ทวาร"

    ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ

    ซึ่งเป็น "ทาง" ที่จิตเกิดขึ้น รู้อารมณ์ต่าง ๆ

    ก็ย่อมไม่มี วิบากจิต ในชีวิตประจำวัน

    ซึ่งเกิดขึ้น ทำหน้าที่ รู้อารมณ์

    คือ ผลของกรรม ที่กระทำแล้วในอดีต

    เช่น

    การเห็นทางตา (ทางจักขุทวาร)

    เป็น ผลของกรรม ซึ่งเป็น วิบากจิต.

    เป็นต้น.


    .


    ฉะนั้น

    เหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

    แม้ว่า ไม่ได้มีการประสบอุบัติเหตุ

    หรือ ได้ลาภยศ เป็นต้น.


    แต่

    ขณะที่กำลังได้ยิน หรือกำลังได้กลิ่น

    หรือกำลังลิ้มรส หรือกำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส

    ขณะใด ขณะหนึ่ง

    ตามปกติ ในชีวิตประจำวัน นั้นเอง

    ที่เป็นวิบาก คือ "ผลของกรรม"

    ที่ได้กระทำ สำเร็จแล้ว ในอดีต.


    .


    ฉะนั้น

    ขณะที่เป็น วิบากจิต

    จึงไม่ใช่ขณะที่เจ็บไข้ได้ป่วย

    หรือ ได้ลาภ-เสื่อมลาภ หรือ ได้ยศ-เสื่อมยศ ฯลฯ

    เพียงเท่านั้น.!


    แต่

    หมายถึง ขณะที่เป็น วิบากจิต

    ซึ่งกำลังรู้อารมณ์ ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก

    ทางลิ้น และ ทางกาย

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง

    ในชีวิตประจำวัน ด้วย.!


    .


    และถ้ามีปัจจัยให้ "สติ" เกิดขึ้น

    "สติ" สามารถระลึก ตรง ลักษณะของวิบากจิต

    ที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น ๆ

    " ปัญญา" พิจารณา

    รู้สภาพธรรม คือ วิบากจิต นั้น ๆ ตามความเป็นจริง

    ว่า เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง

    ซึ่ง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน.


    .


    เพราะฉะนั้น

    เมื่อเข้าใจจริง ๆ ว่า

    วิบากจิต ที่เกิดขึ้นรู้อารมณ์ ทางทวารใด ทวารหนึ่ง

    ใน ลักษณะ ประการต่าง ๆ

    ทั้งที่น่าพอใจ และ ไม่น่าพอใจ นั้น

    ล้วนเป็น "ผลของกรรม"

    ของตนเอง.!


    แล้วจะโกรธ หรือ โทษบุคคลอื่นไหม.?

    ว่า

    บุคคลนั้น บุคคลนี้

    เป็นผู้กระทำ ให้เป็นไป เช่นนั้น.!


    .


    ในพระไตรปิฎก.

    มีเหตุการณ์ ในชีวิต ของบุคคล ต่าง ๆ

    ที่ได้รับวิบากต่าง ๆ กัน ตามยุคสมัยนั้น.



    และ ในยุคสมัยนี้.

    ก็มีเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็น ว่า

    แต่ละบุคคล ย่อมได้รับวิบาก อันเป็น ผลของอดีตกรรม

    โดย ไม่มีใครคาดคิดล่วงหน้าได้เลย ว่า

    จะได้รับวิบาก ในลักษณะใด.!



    ยกตัวอย่าง เช่น


    ตึกทั้งหลัง พังลงมา ทับเจ้าของบ้าน จนเสียชีวิต.

    ไม่ต้องอาศัยระเบิด ไม่ต้องอาศัยบุคคลอื่นทำร้าย ฯลฯ

    เป็นต้น.


    ทั้งนี้ เป็นเพราะว่า

    อดีตกรรม ที่ได้กระทำแล้วในอดีต

    เป็นปัจจัยให้ได้รับ (วิบาก) ผลของกรรม

    ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง

    ทางลิ้นบ้าง และ ทางกายบ้าง

    ซึ่ง เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวัน นี้เอง.!


    .


    ฉะนั้น

    เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริง เรื่องการรับผลของกรรม

    ก็จะไม่โทษ ว่า เป็นการกระทำของบุคคลอื่น.!


    แต่ ควรที่ "สติ-ปัญญา"

    จะระลึก และ รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็น วิบากจิต

    ที่กำลังเกิด-ปรากฏ ในขณะนั้น ๆ

    ตามปกติ ตามความเป็นจริง


    ว่า

    สภาพธรรมทั้งหลาย

    ที่เกิด-ปรากฏ แต่ละขณะ ๆ นั้น

    มีลักษณะต่าง ๆ กัน.


    ขณะที่เป็น วิบากจิต

    ไม่ใช่ขณะที่เป็น โลภมูลจิต หรือ โทสมูลจิต หรือ โมหมูลจิต.


    ขณะที่เป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม

    ขณะนั้น ไม่ใช่เหตุ.


    หรือ ขณะใด

    ที่เป็นกุศลกรรม หรือ เป็นอกุศลกรรม.

    ขณะนั้น เป็น "เหตุปัจจุบัน"

    อันจะให้ผล เป็นวิบาก ในอนาคต.


    .
    .
    .



    (...เมื่อสภาพธรรม เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย

    แสดงให้เห็น..........

    ความเป็น "อนัตตา" ของสภาพธรรมทั้งหลาย

    ที่เกิด-ปรากฏ ในชีวิตประจำวัน.

    ดังนั้น สภาพธรรมทั้งหลาย ตามความเป็นจริง

    จึงไม่ใช่ สัตว์ บุคคล ตัวตน....................)

    วิบากจิต ของ มโนกรรม ก็เป็นเช่นเดียวกับวิบากทางกายกรรม และทางวจีกรรม

    คือถ้ามีกำลังย่อมนำปฏิสนธิ และในปวัตติกาลย่อมให้ผลทางตา ทางหู เป็นต้น

    เช่นถ้าเป็นอกุศลกรรม วิบากทางตาทำให้เห็นสิ่งที่ไม่ดี ทางหูได้ยินเสียงไม่ดี

    ฝ่ายกุศลกรรมก็มีวิบากโดยนัยตรงกันข้าม
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

    โทษของมานะ

    [๕๙๒] ดูก่อนมาณพ บุคคลบางคนในโลกนี้จะเป็น สตรีก็ตาม บุรุษ

    ก็ตาม เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่ควรกราบไหว้ ไม่

    ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ ไม่ให้ทางแก่คน

    ที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่ควรเคารพ ไม่

    นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา. เขาตายไป จะเข้าถึงอบาย

    ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้

    หากตายไป ไม่เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด

    ที่ ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนเกิดในสกุลต่ำ. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไป

    เพื่อเกิดในสกุลต่ำนี้ คือ เป็นคนกระด้าง เย่อหยิ่ง ย่อมไม่กราบไหว้คนที่

    ควรกราบไหว้ ไม่ลุกรับคนที่ควรลุกรับ ไม่ให้อาสนะแก่คนที่สมควรแก่อาสนะ

    ไม่ให้ทางแก่คนที่สมควรแก่ทาง ไม่สักการะคนที่ควรสักการะ ไม่เคารพคนที่

    ควรเคารพ ไม่นับถือคนที่ควรนับถือ ไม่บูชาคนที่ควรบูชา
    การอบรมเจริญเมตตานั้นจะเป็นไปได้เมื่อรู้ลักษณะของเมตตา คือ

    ไมตรี ความรู้สึกเป็นมิตร ความสนิทสนม ความเกื้อกูล ความนำประโยชน์สุข

    ให้ ขณะใดที่เมตตาเกิด ขณะนั้นจิตอ่อนโยนปราศจากมานะ ซึ่งเป็นสภาพ

    ธรรมที่ยกตน สำคัญตน และข่มบุคคลอื่น

    การอบรมเจริญเมตตาจริง ๆ นั้นจะขัดเกลาอกุศลธรรมหลายอย่าง

    ปกติอาจจะไม่รู้สึกตัวว่ามีมานะ อิสสา มัจฉริยะ โทสะ และอกุศลธรรมอื่น ๆ

    มากน้อยแค่ไหน เมื่ออบรมเจริญเมตตาขึ้นอกุศลธรรมเหล่านั้นก็จะละคลาย

    ลดน้อยไปด้วย ผู้ที่ใคร่จะขัดเกลามานะและเจริญเมตตาเพิ่มขึ้น ควรรู้

    ลักษณะของมานะ


    ซึ่งข้อความในอัฏฐสาลินี นิกเขปกัณฑ์ อธิบายนิทเทสมานสังโญชนฺ์

    (๑๑๒๑)มีว่า ที่ชื่อ "ความถือตัว" เนื่องด้วยกระทำมานะ คำว่า "กิริยาถือตัว

    ความถือตัว" แสดงขยายถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า "การยกตน" เกี่ยวกับ

    การเชิดชูตน การยกตนเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ย่อมยังบุคคลนั้นให้เทิดขึ้น คือ

    สถาปนาตนยกขึ้นไว้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า "ความเทิดตน" ที่ชื่อว่า "การเชิดชูตน

    ดุจธง" โดยความหมายว่า ทำตัวให้เด่นขึ้น (ทำให้เด่นหรือสำคัญขึ้น)


    ที่ชื่อว่า "การยกจิตขึ้น" ด้วยอรรถว่า ประคองจิตไว้โดยความหมายว่า

    ยกขึ้นไว้บรรดาธงหลายคัน ธงที่ยกขึ้นสูงกว่าเขา ชื่อว่า "เกตุ" หมายความ

    ว่า ธงเด่น แม้มานะเกิดขึ้นบ่อย ๆ ก็เปรียบได้กับธงเด่น โดยเทียบกับมานะ

    ต่อ ๆ มา เหตุฉะนั้นจึงชื่อว่า "เกตุ" แปลว่าดุจธงเด่น

    ธรรมชาติที่ชื่อว่า "เกตุกมฺย" ด้วยอรรถว่าปรารถนาเป็นดุจธง ภาวะ

    แห่งธรรมชาติที่ต้องการ ดุจธง ชื่อว่า เกตุกมฺยตา แปลว่า ความต้องการเป็น

    ดุจธง และความต้องการเป็นดุจธงนั้นเป็นของจิต ไม่ใช่ของตน ด้วยเหตุนั้น

    จึงตรัสว่า "ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง" จริงอยู่ จิตที่สัมปยุตต์ด้วยมานะ

    ย่อมปรารถนาเป็นดุจธงและภาวะแห่งจิตนั้น ชื่อว่าความต้องการเป็นดุจธง

    ได้แก่ "มานะ" ที่นับว่าเป็นดุจธง


    ที่กล่าวถึงลักษณะของมานะก็เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นลักษณะของอกุศล

    ธรรม ซึ่งไม่ใช่ลักษณะอาการที่อ่อนโยนสนิทสนม เป็นไมตรีกับผู้อื่น ผู้ที่

    อบรมเจริญเมตตานั้น เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด จึงจะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นกุศล

    หรืออกุศล ขณะใดมีมานะ ขณะนั้นไม่ใช่เมตตา
    เข้าใจว่า คำว่าอาการปรากฏ อยู่ที่ความเข้าใจ เพราะแต่ละประโยคมีความหมายต่างกัน

    ซึ่งปรมัตถ์และบัญญัติเนื่องกันอยู่ถ้าไม่มีปรมัตถ์บัญญัติก็มีไม่ได้ ถ้าเป็นอาการปรากฏ

    ที่เป็นตัวสภาวธรรม เป็นปรมัตถ์ แต่ถ้าอาการปรากฏ เป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นเรื่องราว

    เป็นชื่อต่างๆ เป็นบัญญัติ

    การมีสติระลึกรู้ชีวิตประจำวันจะระลึกอย่างไร จะอบรมอย่างไรให้สติเกิด?
    ทุกคนคงจะเป็นไปด้วยความอยากที่จะให้สติเกิดบ่อยๆ
    แต่ต้องรู้เหตุว่า เพราะอะไรสติจึงไม่เกิดบ่อยๆ อย่างที่หวังหรือที่ต้องการได้
    เพราะว่า
    ทุกท่านมีอวิชชาสะสมมามากมายเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์เกินกว่าแสนโกฏิกัป
    ขณะเห็นก็ไม่รู้ เพราะไม่เคยระลึก ไม่เคยฟังเรื่องการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น
    การลิ้มรส การกระทบสัมผัส การคิดนึก นามธรรมและรูปธรรมโดยละเอียด
    เพราะไม่ใช่ว่าในสังสารวัฏฏ์จะมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ทุกๆกัป
    ในบางกัปก็ไม่มี เพราะฉะนั้น
    ระหว่างกัปหนึ่งหรือหลายกัป ซึ่งไม่ได้ยินไม่ได้ฟังเรื่องของนามธรรมและรูปธรรม
    ทางตา ทางหู ทางาจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เลย
    อวิชชาจะเพิ่มมากมายสักแค่ไหน?
    เพราะฉะนั้น
    ถ้าได้ยินได้ฟังธรรมเพียงเล็กน้อย แล้วมีปัญหาว่าทำอย่างไรสติจะเกิดมากๆ
    ก็ควรระลึกถึงเหตุว่า
    เมื่ออวิชชาสะสมมามากมาย แล้วจะให้สติเกิดมากๆ เหตุสมควรแก่ผลหรือไม่?
    พอจะเร่งรัดได้หรือไม่?
    หรือควรจะเริ่มจากการค่อยๆเข้าใจลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมเพิ่มมากขึ้น
    เพราะการที่สติจะเกิดระลึกถูกตามความเป็นจริงว่า
    นามธรรมมีลักษณะอย่างนี้ รูปธรรมมีลักษณะอย่างนี้
    ไม่ใช่เพียงฟังครั้งเดียว
    เพราะในวันหนึ่ง จะได้ฟังธรรมสักกี่นาที
    แล้วที่ไม่ได้ฟังธรรม แต่เป็นเรื่องอื่นๆมากมายของอวิชชา กี่นาที
    เพราะฉะนั้น ถ้าจะให้นึกได้ ไม่ลืม
    จะให้สติจะเกิดระลึกลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม
    ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ บ่อยๆ จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
    จนกว่าสติจะเกิดขึ้นปฏิบัติกิจของสติทีละเล็กทีละน้อย นานแสนนานกว่าสติจะเกิด
    แต่อาจจะสามารถเกิดเพิ่มขึ้นได้ ถ้ามีความสนใจใคร่ในธรรม
    คือการฟังมากๆ พิจารณามากๆ
    แล้วสติก็สามารถจะมีอาหาร คือ
    ปัจจัยปรุงแต่งให้ระลึกทันทีที่ลักษณะของนามธรรมหนึ่ง หรือรูปธรรมหนึ่ง
    ทางทวารหนึ่งทวารใดก็ได้
    ต้องเป็นผู้ที่อดทน มิฉะนั้นก็จะไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม
    จะมีแต่ความต้องการที่จะทำ แทนที่ต้องการที่จะเข้าใจสภาพธรรมเพิ่มขึ้นเสียก่อน
    พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งพระธรรมวินัย เป็นพระศาสดาแทนพระองค์
    อันประกอบด้วย
    พระวินัยปิฏก
    เกี่ยวกับระเบียบข้อประพฤติปฏิบัติเพื่อพรหมจรรย์ขั้นสูงยิ่งขึ้นเป็นส่วนใหญ่
    (เป็นอธิศีลสิกขา สามารถตรวจสอบกิเลสของตนเองได้จากพระวินัย)
    พระสุตตันปิฏก
    เกี่ยวกับหลักธรรมที่ทรงเทศนาแก่บุคคลต่างๆ ณ สถานที่ต่างๆ เป็นส่วนใหญ่
    (ตรัสสอนบุคคลตามอัธยาสัยและบารมีของแต่ละบุคคลนั้น
    เช่น เรื่องเจริญสติปัฏฐาน 7วัน 7ปี 7เดือน
    ก็ทรงตรัสกับท่านผู้พร้อมที่จะบรรลุซึ่งบำเพ็ญบารมีมานาน
    มีปัญญาแก่กล้า และมีกิเลสอวิชชาเบาบางมากแล้ว ไม่เหมือนกับคนยุคสมัยนี้)
    พระอภิธรรมปิฏก
    เกี่ยวกับสภาพธรรมพร้อมทั้งเหตุและผลของธรรมทั้งปวง (ปรมัตถธรรม)
    (เป็นพระธรรมส่วนละเอียด ขยายความพระวินัยและพระสูตรอีกทีหนึ่งเพื่อความเข้าใจ
    คนยุคสมัยนี้จึงขาดการศึกษาพระอภิธรรมไม่ได้)
    ข้อความในอังคุตตรนิกาย ปฐมปัณณาสก์ อวิชชาสูตร
    ข้อความบางตอน มีว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗
    แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔
    แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓
    แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์
    แม้การสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ
    แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ
    ควรกล่าวว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
    มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย
    ควรกล่าวว่าศรัทธา
    แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธา

    ควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม
    แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร
    มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร
    ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่าการคบสัปบุรุษ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้
    การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์
    การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์

    ศรัทธาที่บริบูรณ์ ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์

    การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์
    สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์
    การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์
    สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์
    สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์
    โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
    วิชชาและวิมุตตินี้ มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้

    --------------
    แต่ละบุคคลที่เกิดมา ล้วนมีความตายเป็นที่สุดด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครหลีกพ้นได้

    ขึ้นอยู่กับว่าจะตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคคลรอบข้าง ไม่ว่า

    จะเป็นบิดามารดา หรือ ญาติพี่น้องเป็นต้น ย่อมสามารถเป็นที่พึ่ง สามารถช่วยเหลือ

    ทำกิจต่าง ๆให้แก่เราได้ แต่พอถึงเวลาตายมาถึง บุคคลเหล่านี้ ไม่สามารถที่จะช่วย

    ต้านทานไว้ได้เลย ดังนั้น ในเมื่อทุกคนต้องตายอย่างแน่นอน จึงควรพิจารณาอยู่

    เสมอว่า ก่อนที่วันนั้นจะมาถึง เราควรทำอะไร? เรื่องตาย ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะเป็น

    เพียงจิตขณะเดียว ที่เกิดขึ้นทำให้เคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ในชาตินี้ ไม่สามารถ

    กลับมาเป็นบุคคลนี้ได้อีก ขณะนี้จิตที่ว่านั้น(จุติจิต)ยังไม่เกิด แต่จะเกิดขึ้นเมื่อใด

    ไม่มีใครทราบได้ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่นี้ จึงเป็นขณะที่สำคัญ ดังนั้น การฟังพระธรรม

    ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา สะสมกุศลในชีวิตประจำวัน ตามกำลัง ย่อมเป็นสิ่ง

    ที่สมควร
    พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสรู้และทรงแสดงนั้น มีความละเอียดลึกซึ้ง

    ยากที่จะตรัสรู้ตามได้ เป็นธรรมอันบัณฑิตเท่านั้นที่จะรู้ได้ ธรรมจึงไม่ง่าย เพราะกว่าที่

    พระผู้มีพระภาคเจ้าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ต้องใช้เวลาอันยาวนาน

    ในการบำเพ็ญพระบารมี(สี่อสงไขยแสนกัปป์) และตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา ใน

    การประกาศพระศาสนาของพระองค์นั้น ก็เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลกให้หลุดพ้นจากทุกข์

    หมดจดจากกิเลสโดยประการทั้งปวง จากการแสดงพระธรรมของพระองค์ในแต่ละ

    ครั้ง ๆ นั้น มีผู้ที่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคลขั้นต่าง ๆ เป็น

    จำนวนมากมาย และพระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้นกว่าจะได้บรรลุ ท่านก็ได้สะสมการ

    สดับตรับฟังพระธรรม สะสมปัญญามาเป็นเวลาอันยาวนานด้วยกันทั้งนั้น

    สำหรับผู้ที่มีโอกาสได้ฟังได้ศึกษาพระธรรมในยุคนี้ ก็ไม่ควรที่จะท้อแท้ ยิ่งยาก

    ยิ่งจะต้องศึกษา เพราะปัญญาไม่สามารถจะเจริญขึ้นได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ๆ

    จึงค่อย ๆ ฟังค่อย ๆ ศึกษาไปตามลำดับ ไม่ใจร้อน วันนี้ พรุ่งนี้ หรือ ชาตินี้ ยังไม่พอ

    ต้องสะสมความเข้าใจต่อไปอีกเป็นเวลาอันยาวนาน (จิรกาลภาวนา)
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [music]http://www.bhuddajak.com/diawkhim/01.wma[/music]
     

แชร์หน้านี้

Loading...