ร่วมสร้างพระศิลปะอีสาน "พระเจ้าแสนหลวง" หน้าตัก ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ ถวายวัดเก่าหนองบัว

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย มายศ, 11 มกราคม 2014.

  1. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    สมโภชและถวาย "พระเจ้าใหญ่แสนหลวง" พร้อมกฐิน

    สมโภช:
    เริ่มราว ๑๖ น.
    ศุกร์ที่ ๓๑ ต.ค. ๒๕๕๗

    ถวายพร้อมกฐิน:
    เริ่มราว ๘ น.
    เสาร์ที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗

    ณ วัดเก่าหนองบัว ต.บ้านไทย
    อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    น้อมอนุโมทนาทุกดวงจิตที่ร่วมสร้าง ร่วมอนุโมทนา พระเจ้าใหญ่แสนหลวง
    พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร


    ค้ำชูพระพุทธศาสนา
    งามสง่าศิลปะอีสาน
    พระเจ้าแสนหลวงสร้างตำนาน
    หมู่เฮาเล่าขานนับพันปี


    พระเจ้าใหญ่แสนหลวง (หลวงปู่ดำรงเรียกชื่อพระแบบมีคำว่า "ใหญ่" จะได้พ้องกับพระใหญ่เมืองอุบล) จะถูกเคลื่อนย้ายจากพนัสนิคมสู่วัดเก่าหนองบัว อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี้ ในวันพุธที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ก่อนเข้าพรรษา ๓ วัน จากนั้นจะใช้เวลาปิดทองประมาณ ๑ สัปดาห์ หลวงปู่ดำรง พรหฺมสโร จะอธิษฐานจิต (หรือใช้ภาษาชาวบ้านว่าบวชพระ) ตลอดพรรษา แล้วจะสมโภชในค่ำวันศุกร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ และจะถวายพระเจ้าใหญ่แสนหลวงพร้อม ๆ กับการทอดกฐินในวันที่ ๑ พ.ย. ๒๕๕๗

    อย่างไรก็ตาม ท่านที่ร่วมบุญแล้วทางใดทางหนึ่ง สามารถอธิษฐานตั้งโปรแกรมล่วงหน้าได้เลย อธิษฐานประมาณว่าถวายเมื่อใด ก็ให้เสมือนว่าเราอยู่ในที่นั้นตอนนั้นด้วย แรงอธิษฐานนี้เองที่จะทำให้เทวดาประจำตัว เจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายคุณ ของพวกเรา "กลายเป็นแขกรับเชิญ" เพราะสังคมเทวดาก็ไม่ต่างจากสังคมมนุษย์ ใครมีศักดิ์ใหญ่ ได้รับเชิญ ก็จะได้อยู่ใกล้แหล่งพลังงานบุญ ใครมีศักดิ์เล็ก หรือ ไม่ได้รับเชิญ ก็อยู่ไกลออกไป คำอธิษฐานบางส่วนก็จะคล้าย ๆ กับที่อธิษฐานในวันหล่อพระ จะต่างตรงที่เป็นวันที่บุญสำเร็จสมบูรณ์ เพราะพระภิกษุุสงฆ์ได้รับพระที่พวกเราร่วมสร้างแล้วนั่นเอง

    ทุกท่านที่ร่วมบุญ ร่วมอนุโมทนา ถือว่าได้ร่วมติดกระแสกัลยาณมิตรไว้ตามกำลัง ติดขัดอะไร เราจะได้มีกัลยาณมิตรคอยช่วยเหลือทั้งทางโลกและทางธรรม


    [​IMG]


    กรรมการจัดสร้างได้เปลี่ยนขนาดหน้าตักเป็น ๒.๙๙ เมตร โดยสร้างเป็นเนื้อทองเหลือง

    ถวายเป็นสังฆทาน ณ วัดเก่าหนองบัว ต.บ้านไทย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

    โอนปัจจัยร่วมบุญได้ที่บัญชี ธ.กรุงไทย (ออมทรัพย์) สาขาเซนทรัลพลาซ่า อุบลราชธานี
    ชื่อ นางกนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง และนางกมลทิพย์ สงวนรัมย์
    เลขที่บัญชี 982 045 7157 ปิดบัญชีวันอาทิตย์ที่ ๒๖ ต.ค. ๕๗ แล้ว

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ๑๖.๐๐ น. วันศุกร์ที่ ๓๑ ต.ค. ๕๗ / ร่วมทอดกฐินถวายพระเจ้าใหญ่แสนหลวงราว ๘.๐๐ น. วันเสาร์ที่ ๑ พ.ย. ๕๗ ณ วัดเก่าหนองบัว ต.บ้านไทย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

    ขอผลบุญใหญ่จงมีแก่ทุกท่านที่ร่วมสร้างพระเจ้าแสนหลวง

    หลวงพ่อทองจันทร์ พุทฺธญาโณ ที่พักสงฆ์หุบเขาผาจันทร์ แนะนำแนวทางการสร้างพระเจ้าแสนหลวงว่า ให้เน้นการบอกบุญต่อแบบโบราณ การแจกซองให้เฉพาะบุคคลเหมือนกับเป็นการก่อหนี้ทวงหนี้ เงินเหลือจากการสร้างพระเจ้าแสนหลวง ก็ให้ไปทำศาลาพุทธชยันตีต่อให้แล้วเสร็จ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ตุลาคม 2014
  2. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    วัตถุประสงค์
    (คณะกรรมการสร้างพระเจ้าแสนหลวง ได้เปลี่ยนจากเนื้อทองแดงเป็นทองเหลือง ด้วยเกรงว่าพระจะเสร็จไม่ทันกำหนดคือ มิ.ย. ๕๗)

    ๑. เพื่อเป็นอามิสบูชา สืบทอดอายุพระศาสนา ด้วยการสร้างพระประธานองค์ใหญ่ สำหรับประดิษฐานในศาลาพุทธชยันตี โดยมหาชนผู้มีเจตนาบริสุทธิ์ เนื้อทองเหลืองเจือชนวน หน้าตัก ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ และเป็นการชำระหนี้สงฆ์

    ๒. เพื่อเป็นปฏิบัติบูชา ด้วยการขจัดความตระหนี่ในตัวเอง โดยการสละทรัพย์สร้างพระถวายเป็นสังฆทาน ด้วยการขอขมาผู้อื่น ช่วยลดความถือตัว ด้วยการให้อภัยผู้อื่น ช่วยเจริญเมตตา ลดความไม่ชอบใจ โทสะ และพยาบาท ด้วยการอนุโมทนาบุญผู้อื่น และให้ผู้อื่นอนุโมทนาบุญของตัวเอง ช่วยเจริญมุทิตา สร้างจิตแจ่มใส

    ๓. เพื่ออัญเชิญเทพพรหมผู้เคยอุบัติบนมนุษยภูมิทั้งที่เป็นมิตร เป็นกลาง และเป็นศัตรูกัน ตลอดจนหมู่สัตว์ในสามแดนโลกธาตุทั้งในและนอกมงคลจักรวาลที่มีกระแสรับรู้ได้ มาร่วมสร้างพระ อันเป็นชนวนบุญสร้างโอกาสให้ทุกรูปทุกนามมาขอขมากัน อโหสิกรรมให้กัน และอนุโมทนาบุญซึ่งกันและกัน

    ๔. เพื่อการร่วมสร้างบุญบารมีเป็นหมู่คณะ เพื่อความเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกันในทุกภพทุกชาติ อันเป็นเหตุแห่งความสามัคคีในกาลต่อ ๆ ไป ผ่านเขตนาบุญแห่งบวรพุทธศาสนา

    ๕. เพื่อรวมบุญถวายเป็นพระราชกุศลหรืออุทิศ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ แด่บุรพกษัตริย์ พระราชินี พระสนม เจ้าจอม เจ้านายและไพร่ฟ้าประชาชนในแผ่นดินสยาม แด่อดีตพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี พระชายา เจ้าและประชาชนในแผ่นดินล้านช้างตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แด่อดีตเจ้าครองนคร พระชายา เจ้าและประชาชนในแผ่นดินล้านนา แด่บุรพกษัตริย์ จักรพรรดิ จักรพรรดินี ประธานาธิบดี เจ้าแคว้น เจ้านคร และประชาชนทั้งปวง ในแผ่นดินมอญ พม่า กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ จีน อินเดีย ศรีลังกา เปอร์เซีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส อังกฤษ ฮอลแลนด์ สเปน เยอรมัน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และในทุกประเทศเขตขัณฑ์ทั่วชมพูทวีป ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    ๖. เพื่อสร้างเหตุแห่งความสัมพันธ์อันดีเมื่อมีการติดต่อกับต่างประเทศในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    ๗. เพื่อนำปัจจัยที่เหลือจากการสร้างพระเจ้าแสนหลวงไปทำศาลาพุทธชยันตี วัดเก่าหนองบัว ให้แล้วเสร็จ

    ๘. เพื่อเป็นปัจจัยแก่พระนิพพาน และภพชาติที่ร่มเย็นเป็นสุขก่อนถึงพระนิพพาน

    + + + + + + + + + + +

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  3. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  4. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    แม่งานบอกบุญผ่านสื่อออนไลน์
    นายสยาม สงวนรัมย์ (อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง)
    user name: mayos

    ผู้ดูแลบัญชีเงินฝาก
    นางกนกกาญจน์ วิโรจน์อุไรเรือง (แพทย์ประจำโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี)
    นางกมลทิพย์ สงวนรัมย์ (พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี)

    ขอบเขตงานและการคาดการณ์รายจ่ายสำหรับการสร้างพระเจ้าแสนหลวง
    หน้าตัก ๑ วา ๑ คืบ ๑ ศอก เท่ากับ ๒๓๙ ซม. หรือ ๙๔ นิ้ว

    ๑. งานปั้นพระ ๕ แสนบาท (๑๑ ม.ค. ถึง ๑๐ มี.ค. ๒๕๕๗)
    ๑.๑ เฟ้นหาช่างปั้นพระที่มีคุณภาพ โดยดูจากผลงานที่เคยทำ ไม่เน้นราคาที่ถูกที่สุด (๑ เดือน)
    ๑.๒ ดำเนินการปั้นพระ (๑ เดือน)

    ๒. งานหล่อพระและแต่งองค์พระ ๑ ล้าน ๓ แสนบาท (๑๑ มี.ค. ๒๕๕๗ ถึง ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๗)
    ๒.๑ หล่อพระเนื้อทองแดงเป็นหลัก มีชนวนต่าง ๆ เจือในสัดส่วนน้อย (๒๐ วัน)
    ๒.๒ แต่งพระ (๒ เดือน)

    ๓. สร้างฐานพระ ๑ แสนบาท (๑๑ มี.ค. ๒๕๕๗ ถึง ๓๑ พ.ค. ๒๕๕๗)
    ๓.๑ สร้างฐานรากเพื่อรองรับพระที่ศาลาพุทธชยันตี (๒๐ วัน)
    ๓.๒ สร้างฐานพระโดยทีมงานช่างปั้นพระ ด้วยปูนปั้น (๑ เดือน)
    ๓.๓ ปิดแผ่นทองจังโก้รอบฐานพระ (๑ เดือน)

    ๔. งานขนส่ง ๒ หมื่นบาท (๑ มิ.ย.-๗ มิ.ย. ๒๕๕๗)
    ๓.๑ ขนส่งพระจากโรงหล่อถึงวัดเก่าหนองบัว (๓ วัน)
    ๓.๒ การยกองค์พระประดิษฐานบนฐานพระ (๔ วัน)

    ๕. งานบริหารจัดการการสร้างพระ ๘ หมื่นบาท
    ๕.๑ ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ แผ่นทองสำหรับจาร (๓ หมื่นบาท)
    ๕.๒ ค่าใช้จ่ายในการดูผลงานของช่างที่จะมาปั้นพระ (๑ หมื่นบาท)
    ๕.๓ ค่าใช้จ่ายในการตรวจงานปั้นพระ (๓ หมื่นบาท)
    ๕.๔ ค่าใช้จ่ายในการตรวจงานแต่งพระ (๑ หมื่นบาท)

    รวมเป็นรายจ่าย ๒ ล้านบาท


    หมายเหตุ

    ๑. การสร้างพระเนื้อทองเหลืองใช้สูตรประมาณการณ์ "นิ้วละหมื่น" ดังนั้น พระหน้าตัก ๙๔ นิ้ว ก็จะใช้เงินประมาณ ๙ แสน ๔ หมื่นบาท

    ๒. การหล่อพระเนื้อทองแดงจะสิ้นค่าหล่อเป็น ๒ เท่าของเนื้อทองเหลือง เนื่องจากทองแดงแพงกว่าและต้องใช้ความร้อนในการหลอมมากกว่าทำให้หล่อยากกว่า ในที่นี้ประมาณการณ์จากค่าหล่อทองเหลือง ๖ แสน ๕ หมื่นบาท

    ๓. เมื่อพิจารณาถึงความปราณีต ความยากในการหล่อทองแดง สนนราคารวมจึงราว ๒ เท่าของพระทองเหลืองหน้าตักเดียวกัน

    ๔. จะมีการนำเสนอหน้าสมุดบัญชีธนาคาร รายรับ รายจ่าย ประมาณสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง (อาจมีการเคลื่อนของเวลาบ้าง เนื่องจากผู้ดำเนินการมีงานประจำอยู่ ขออภัยล่วงหน้าด้วย)

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  5. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    สำหรับผู้ต้องการส่งแผ่นทองแดง ทองแดงสายไฟ หรือโลหะชนวน (ให้ช่างหล่อคัดอีกครั้ง) มาร่วมหล่อพระ กรุณาจ่าหน้าซองถึง

    อ.สยาม สงวนรัมย์
    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
    เลขที่ ๑ ซอยฉลองกรุง ๑
    เขตลาดกระบัง กทม. ๑๐๕๒๐

    น้อมถวายผลบุญไพศาลจากการสร้างพระเจ้าแสนหลวงเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และน้อมอุทิศผลบุญไพศาลจากการสร้างพระเจ้าแสนหลวงแด่ เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (เจ้าคุณทหาร วร บุนนาค) ท่านเลี่ยม หลวงพรตพิทยพยัต พระพรหมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เจ้าแม่ศรีแพรทอง ตลอดจนทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวเนื่องกับท่านที่เอ่ยพระนาม/นามมา และที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    +++++++++++

    ทำไมต้องหน้าตัก ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ

    ๑๑๑ คือเลขของพระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งสูงสุด เพราะที่พึ่งอื่นทำให้เราพ้นทุกข์ไม่ได้ แต่ที่พึ่งนี้ทำให้เราพ้นทุกข์ได้

    เลข ๑ แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน

    เลข ๑ คือเลขแห่งความเป็นหนึ่ง

    เราสร้างพระศิลปะอีสาน-ลาว หรือพระศิลปะล้านช้าง อันเป็นพระโบราณ ที่แทบจะไม่มีที่ใดสร้างให้กราบไหว้ในปัจจุบัน เราจึงใช้มาตราวัดโบราณ ในอุรังคนิทาน กล่าวถึงประวัติพระธาตุพนม พระมหากัสสปเถรเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายได้ทูลพญาทั้ง ๕ ซึ่งมีพญาสุวรรณภิงคารเป็นประธานว่าให้ใช้ดินดิบเผาไฟหรืออิฐสำหรับก่ออุโมงค์เพื่อประดิษฐานพระอุรังคธาตุตามพุทธบัญชาเป็นบาลีว่า "กัปปะณะคิริสุมิง อุรังคะธาตุ" ที่ดอยกำพร้าเข็ญใจ คือที่พระธาตุพนมในปัจจุบัน ครั้งนั้นคนทั้งหลายได้เอาฝ่ามือพระมหากัสสปเป็นแบบกว้างยาวของอิฐ

    ครั้งนี้เราใช้ วา ศอก และคืบของพระอธิการดำรง พรหฺมสโร เจ้าอาวาสวัดเก่าหนองบัว เป็นแบบความยาวได้
    ๑ วา เท่ากับ ๑๗๓ เซนติเมตร
    ๑ ศอก เท่ากับ ๔๔.๕ เซนติเมตร
    ๑ คืบ เท่ากับ ๒๑.๕ เซนติเมตร

    ดังนั้น ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ จึงเทียบเท่าความยาว ๒๓๙ เซนติเมตร หรือ ๙๔ นิ้ว

    +++++++++++

    หน้าตักพระเจ้าแสนหลวงเหมาะกับขนาดของศาลาพุทธชยันตีหรือไม่?

    รูปแรก คือการวางพระลงบนห้องโถงของศาลาที่ดูแล้วเหมาะสม วัดอัตราส่วนหน้าตักพระต่อความกว้างโถงศาลา ด้วยการลาดเส้นเพอร์สเพกทีฟตามหลักการเขียนแบบ ได้ ๓๖ ต่อ ๑๐๐

    จากนั้น หาอัตราส่วนหน้าตักพระ ๑ วา ๑ ศอก ๑ คืบ หรือ ๒๓๙ เซนติเมตร ต่อความกว้างโถงศาลาจริงคือ ๖๓๔ เซนติเมตร ได้ ๓๘ ต่อ ๑๐๐

    จะเห็นว่าอัตราส่วนทั้งสองต่างกันเพียงเล็กน้อย จึงสอดคล้องเหมาะสมกับรูปที่วางแบบไว้

    รูปล่าง พระอธิการดำรง พรหฺมสโร อายุ ๘๔ ปี ขณะเลือกพระแสนวัดหงส์เป็นแบบพระประธานประจำศาลาพุทธชยันตี เสาไม้พันชาติ เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๖ จากแบบพระ ๑๖ แบบ

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  6. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    พระพุทธรูป ๑๖ องค์ที่หลวงปู่ดำรงเลือก เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง กึ่งล้านช้างกึ่งเชียงแสน (พระอรุณ) และสุโขทัย

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  7. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    การทำทานคือการเสี่ยงโชคจริงหรือ?

    การเสี่ยงโชคหมายถึงลงทุนน้อย แต่ผลตอบแทนสูง โดยแลกกับความเสี่ยงที่สูงเช่นกัน แล้วเป็นไปได้ไหมที่เราจะเสี่ยงโชคแต่มีความเสี่ยงต่ำ คำตอบคือเป็นไปได้ ด้วยการทำทานในเขตบุญพุทธศาสนา เขตบุญพระพุทธศาสนาหมายถึงเขตบุญพิเศษที่มีเฉพาะยามมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ เพราะฉะนั้นการทำทานกับคนมีศีลแปดไม่นับว่าทำบุญในเขตบุญพุทธศาสนา เพราะศีลแปดไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ก็มีได้ แต่ถ้าทำบุญกับพระอริยบุคคลที่ถือศีลแปด อย่างนี้ย่อมเป็นเขตบุญพิเศษมีผลมาก เพราะความเป็นอริยบุคคลบังเกิดได้เมื่อมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ ยิ่งทำกับพระอริยบุคคลที่ถือศีลอุโบสถ ก็ยิ่งได้ผลบุญมาก เพราะศีลอุโบสถก็เกิดจากการบัญญัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เลยได้โชคสองชั้นทบทวี คงไม่ต้องกล่าวถึงผลอันไพศาลที่เกิดจากการถวายทานพระอริยสงฆ์ผู้มีศีล ๒๒๗ ข้อ ถวายทานพระพุทธเจ้า หรือถวายสังฆทาน

    ด้วยเวลาไม่มีต้นไม่มีปลาย แต่อายุพระศาสนามี เช่น ๕ พันปี ทำให้โอกาสพบพระพุทธศาสนามีน้อยมาก น้อยมาก ๆ คือเอา ๕ พันปีตั้ง หารกับจำนวนปีที่นับไม่ถ้วน นี่คือโอกาส แต่คนเรามักจะคิดว่าโอกาสมีมาก เพราะนั่งรถทีหนึ่งก็อาจเห็นวัดตั้งหลายวัดแล้ว นั่นเป็นเพราะเราสั่งสมกุศลมาดีมาก ๆ จึงได้เจอง่าย ๆ ก็เลยประมาท มีโอกาสเจอแต่ทำบุญในเขตพระศาสนาน้อย ความจริง ๕ พันปีนี่ไม่นานเลย แค่ ๑๐๐ วันทิพย์ของชาวเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ที่มีอายุยืนยาว ๕๐๐ ปีทิพย์ หรือเทียบกับปีโลกมนุษย์ก็ ๙ ล้านปี เทวดาบางองค์อาจเผลอเสวยสุขไป ๑๐๐ วัน พอโผล่ออกมาจากวิมาน เพื่อนเทวดาเปรยว่าไปไหนมา เขาหมดโปรทำทานไปเมื่อวานนี้ เทวดาองค์นั้นหงอยเลยนะ เพราะโปรโมชั่นทำทานก็หมายถึงการทำบุญในเขตพระศาสนานั่นเอง กว่าจะมีอีก พู้น..รอพระศรีอริยเมตไตรยมาตรัสรู้ ซึ่งก็อีกนานโข

    สังเกตว่าที่บางบุญมีผลมาก เพราะโอกาสที่จะเจอบุญนั้นยาก เหมือนเพชรน้ำดีที่มีราคาแพงกว่าก้อนหินมีดาษดื่น บอกตามตรงแค่ใครสักคนมาอ่านสิ่งที่ผมเขียน ผมก็ถือว่าผูกพันกันมาก่อนแล้ว เพราะมีสิ่งให้ทำนับไม่ถ้วนบนโลกใบนี้ แต่ทำไมมาอ่านสิ่งที่ผมเขียนที่นี่ เวลานี้ โอกาสน้อยแสนน้อย แต่ก็เกิดโอกาสนั้นขึ้นมา ถ้าเชื่อหลวงปู่ดู่ ไม่มีความบังเอิญบนโลกใบนี้ นั่นไง เราผูกพันกันมาก่อน ความผูกพันก็กลายเป็นแรงที่มองไม่เห็นดึงดูดให้เรามาสื่อสารกัน ทำนองเดียวกับโลกดูดดวงจันทร์ ดวงจันทร์ดูดโลก ต่างฝ่ายต่างดูดกันจนกว่าจะหมดเหตุปัจจัยมาดูดกัน

    ผมท้าทายให้ทุกคนที่อ่านมาร่วมสร้างพระเจ้าแสนหลวงกัน ลองนึกดู ที่คนสร้างบุญบารมีชอบบอกกัน คนที่สร้างพระอย่างหลวงพ่อโสธรสุดยอดไหม แค่สร้างพระเปล่า ๆ ก็บุญหนักส่งไป ๕ กัปแล้ว นี่ยังทำให้คนไปสร้างแตกกิ่งแตกแขนงออกไปอีกกี่ล้านองค์ในรูปลักษณ์ของหลวงพ่อโสธร สร้างแล้วมีคนกราบไหว้รูปลักษณ์หลวงพ่ออันเป็นการรำลึกถึงพระพุทธเจ้าวันหนึ่งกี่คน คนหนึ่งไหว้กี่ครั้ง บางคนไม่ได้ไหว้อย่างเดียว มีดอกไม้ธูปเทียนข้าวปลาอาหารขนมหวานไข่ต้มมาบูชาอีก กว่ารูปลักษณ์หลวงพ่อโสธรจะสลายไป จะเกิดบุญบารมีไหลเข้าสู่กระแสคนสร้างขนาดไหน ในทางคณิตศาสตร์ก็ต้องหาปริพันธ์จำกัดเขตของอานิสงส์บุญเทียบกับเวลา จากวันที่คิดสร้างหลวงพ่อโสธรจนวันสุดท้ายที่รูปลักษณ์ของท่านสลายไป เพื่อรวมบุญที่เกิดขึ้นทั้งหมด แล้วบุญจะมากมายก่ายกองขนาดไหน

    โอเค พระเจ้าแสนหลวงอาจไม่ได้ขนาดหลวงพ่อโสธรในเรื่องจำนวนรูปลักษณ์ที่ถูกสร้างตามมา หรือจำนวนคนกราบไหว้ระลึกถึง แต่รูปลักษณ์แบบนี้ วัสดุแบบนี้ คิดว่าอยู่ต่อจนครบอายุพระศาสนาอีกราว ๒,๕๐๐ ปีได้สบาย ๆ ถ้าไม่ถูกอนารยชนมาทำลาย ด้วยเหตุที่มีเจตนาให้มาขอขมากัน ให้อภัยกัน อโหสิกรรมกัน เพื่อกลายเป็นกัลยาณมิตรกัน ภพชาติแห่งอนาคตจะสุขสบายขนาดไหนก็ลองคิดดู เพราะศัตรูน้อยลง กัลยาณมิตรมากขึ้น ถามหน่อย เส้นทางสู่พระนิพพานต้องการใครชี้นำ ก็กัลยาณมิตรไง พอชีวิตผูกอยู่กับกัลยาณมิตร คนพาลก็หายไปโดยปริยาย คนดี ๆ ก็จะพาเราดีขึ้น ๆ จนถึงฝั่งพระนิพพานในที่สุด

    นี่คือการปฏิรูปงานบุญ ไม่เน้นปริมาณ แต่เน้นคุณภาพงานบุญ แนวคิดการสร้างพระเจ้าแสนหลวงเป็นแนวคิดที่ซับซ้อน แฝงไว้ด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์สยามและล้านช้าง เพื่อเป็นแนวทางการสร้างบุญแบบทบทวี เพื่อทำอนาคตที่ดีด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์และแน่วแน่ในปัจจุบัน ไม่ว่าบาทสองบาท สิบบาทซาวบาท สามารถร่วมบุญได้หมด ถ้าตัดสินใจทำบุญเร็วยังได้บุญพิเศษเรื่องปฏิภาณไหวพริบอีก แต่ต้องอธิษฐานเอาเองนะ ทำอะไรในอนาคตจะได้ทันคน ไม่เสียเปรียบใคร เพราะฉะนั้นงานบุญสร้างพระเจ้าแสนหลวงไม่ใช่งานบุญแบบเสี่ยงโชค แต่เป็นงานบุญที่ให้โชคซ้อนโชค

    ตามหน้าบุญกันนะครับ

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  8. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    ศาลาพุทธชยันตี เสาไม้พันชาติ ๘ ห้อง ๓๖ เสา กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๓๙ เมตร โถงด้านในกว้าง ๖.๓๔ เมตร ปีกห้องโถงกว้างด้านละ ๔.๖๖ เมตร สร้างเรียบง่ายด้วยโครงสร้างเหล็ก ไม่มีฝ้า ไม่ผนัง ตัวเสาปล่อยให้คดงอตามธรรมชาติ แฝงคติธรรมตามแต่จะคิด เป็นศาลาเฉลิมพระเกียรติในหลวงสำหรับใช้ปฏิบัติธรรม โดยรอบเป็นที่เรียบโล่งเหมาะต่อการเดินจงกรม

    ในการสร้างศาลาพุทธชยันตี หลวงปู่ดำรงเก็บไม้พันชาติตั้งแต่ปีสามสิบเศษ ๆ ไม้พันชาติเป็นมงคลอีสานที่มีเนื้อแข็ง เหมาะแก่การทำงานโครงสร้าง ไม้มงคลอีสานที่เรารู้จักกันดีอีกชนิดหนึ่งคือไม้พะยูง เสาบางต้นในศาลาพุทธชยันตีมีขนาดใหญ่กว่าคนโอบ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: พระเจ้าแสนหลวง-วัดเก่าหนองบัว อุบลราชธานี
    คลิกที่นี่: ศุกร์เสาร์ที่ ๑๔-๑๕ มี.ค. ๕๗ เตียวขึ้นดอย.104/สรงน้ำพระพุทธบาทสี่รอย แม่ริม เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 มีนาคม 2014
  9. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    [​IMG]

    ประวัติ “พระแสน” ต้นแบบ “พระเจ้าแสนหลวง”

    โดย สยาม สงวนรัมย์

    พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๓๕๑-๒๔๐๘) พระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๓๔๗-๒๔๑๑) นอกจากจะทรงรอบรู้การทหาร การต่อเรือ ตลอดจนความรู้ในศิลปวิทยาการแห่งโลกตะวันตกแล้ว ยังทรงมีพระราชนิยมในศิลปะเมืองลาว พระองค์โปรดการเป่าแคน และมีพระราชศรัทธาในเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (พ.ศ.๒๑๗๓-๒๒๖๓) พระองค์ทรงสืบเสาะหาพระพุทธรูปที่เจ้าราชครูหลวงได้เคยสร้าง หนึ่งในนั้นคือ “พระแสน” แห่งเมืองเชียงแตง ซึ่งตั้งทางตอนใต้ของเมืองจำปาศักดิ์ จึงได้ทรงปรึกษากับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้พระองค์ทรงโปรดให้มีท้องตราเพื่ออาราธนาพระแสนมากรุงเทพฯ และได้ประดิษฐานอยู่ ณ พระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม ด้วยเป็นวัดสำหรับการบำเพ็ญพระกุศลของกรมพระศรีสุริเยนทรามาตย์ (พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๗๙) พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.๒๓๑๐-๒๓๖๗) ในช่วงปลายพระชนมวาร พระองค์ทรงเป็นพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เนื่องจากวัดหงส์รัตนารามอยู่ไม่ไกลจากที่ประทับในบริเวณวังเดิมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และมีพระอุโบสถใหญ่สมพระราชฐานะ ด้วยเคยเป็นวัดบำเพ็ญพระราชกุศลและสรงน้ำมนต์ก่อนทรงออกศึกของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (พ.ศ.๒๒๗๗-๒๓๒๕) มาก่อน

    เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กเป็นพระผู้มีบารมีมาก เป็นศิษย์ของพระครูลึมบองและพระครูยอดแก้ว ชาวเวียงจันทน์ยกย่องว่ามีปฏิภาณและแตกฉานในพระไตรปิฎก จนได้รับฉายาว่าราชาจั่วเมื่อครั้งอุปสมบทในอุโบสถนํ้าซึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (ครองราชย์ พ.ศ.๒๑๘๑-๒๒๓๘) แห่งกรุงเวียงจันทน์ทรงจัดพิธีให้ ในกาลนั้นมีพระสงฆ์นั่งหัตถบาสมากถึง ๕๐๐ รูป

    ต่อมาพระเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราชสวรรคต กรุงเวียงจันทน์ชิงอำนาจราชสมบัติกัน พระยาเมืองจันยึดเวียงจันทน์ได้ และกล่อมเจ้านางสุมังคลาพระราชธิดาองค์เล็กของพระเจ้าสุริยะวงศาธรรมิกราชให้เป็นมเหสี ขณะนั้นเจ้านางสุมัคลาทรงตั้งครรภ์และไม่ยินยอม เจ้านางจึงไปพึ่งบารมีเจ้าราชครูหลวงแห่งวัดโพนสะเม็ก บางคนก็เรียกท่านว่า “ญาคูขี้หอม” ตอนนั้นท่านมีตำแหน่งเทียบเท่าสมเด็จพระสังฆราชในสมัยนี้ จึงมีคนเคารพนับถือมาก พระโอรสในครรภ์ต่อมาคือ “เจ้าหน่อกษัตริย์” ต้นตระกูลราชวงศ์จำปาศักดิ์ นอกจากนี้ยังมี “เจ้าศรีวิชัย” ที่ได้หลบหนีมาพึ่งเจ้าราชครูหลวงพร้อมบุตร ๒ คน คือ เจ้าแก้วมงคล ซึ่งได้บวชเรียนเป็นพระภิกษุ เรียนพระอรรถธรรมกัมมัฎฐานจนแตกฉานแล้วสึกออกมา จนคนเรียกว่า “อาจารย์แก้ว” หรือ “แก้วบูโฮม” และเจ้าจันทร์สุริยวงศ์ พระยาเมืองจันไม่สมหวังจึงยกลูกชายอีกคนหนึ่งของเจ้านางสุมังคลาขึ้นเป็นเจ้าชีวิตพระนาม “เจ้าองค์หล่อ” แต่ครองราชย์ได้เพียง ๔ ปี ก็ถูกเจ้านันทะราชชิงราชบัลลังก์

    ขณะที่เจ้านางสุมังคลาได้พึ่งบารมีเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เจ้าราชครูเห็นว่าอนาคตของเชื้อพระวงศ์เวียงจันทน์กำลังวิกฤต ด้วยวัดโพนสะเม็กอยู่ไม่ห่างจากกรุงเวียงจันทน์ เจ้าราชครูหลวงขออนุญาตไปบูรณะพระธาตุพนมซึ่งกำลังชำรุดทรุดโทรม ท่านจึงได้พาครัวและช่างชาวเวียงจันทน์ ๓,๐๐๐ คน เดินทางไปพระธาตุพนม ใช้เวลาบูรณะปฏิสังขรณ์ ๓ ปี ครั้งนั้นเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้บูรณะตั้งแต่ขั้นที่ ๒ ขึ้นไปจนสุดยอดพระธาตุ ลือกันว่า เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้ไปขุดเอาโลหะชนิดหนึ่งคล้ายตะกั่วหรือเงิน โลหะนี้ไทยล้านช้างเรียกเหล็กเปียก ไทยใต้เรียกเหล็กไหล เพื่อนำมาหล่อแล้วโบกสวมลงในปูนที่ยอดพระธาตุ เหล็กเปียกถูกขุดที่ภูเหล็กใกล้บ้านดอนข้าวหลาม ตำบลนํ้ากํ่า อำเภอธาตุพนม ห่างไปทางทิศใต้ของพระธาตุพนมราว ๘ กิโลเมตร และปรากฏร่องรอยการขุดเป็นหลุมอยู่ ภูเหล็กเป็นเนินศิลาแลงสูงจากทุ่งนาไม่มากนัก

    หลังบูรณะพระธาตุพนม เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้หล่อพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง ๑.๘๐ เมตร เป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหอแก้วจนถึงปัจจุบัน และยังได้ได้นำเอาทองแดง เศษปูน และวัสดุที่เหลือจากการปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมมาหล่อพระได้หลายองค์ เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้ไปสักการะ บางส่วนก็บรรจุไว้ที่พระธาตุพนม จนถึง พ.ศ.๒๔๙๗ เจ้าคุณพระเทพรัตนโมลีฯ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ได้ดำเนินการบูรณะพระวิหารหอแก้วเพื่อปูกระเบื้อง เมื่อขุดพื้นวิหารตรงหน้าพระประธานพบพระจำนวนมาก ได้แก่ พระบุทองคำ ๒๕๐ องค์ รวมทั้งพระเงินและพระเล็กๆ เป็นจำนวนมาก แต่นำขึ้นมาเพียงพระทองคำหนักราว ๔ กิโลกรัมครึ่งองค์หนึ่ง พระนาคองค์หนึ่ง พระบุทองคำ ๓ องค์ พระหินดำองค์หนึ่ง และพระทองสัมฤทธิ์องค์หนึ่ง

    นอกจากนี้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้แบ่งครัวจำนวนหนึ่งอยู่ดูแลพระธาตุพนม ที่เหลือรวมทั้งมเหสีและโอรสเจ้าเวียงจันทน์เดิมไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลจะโรยจังวา และสร้างเจดีย์พนมสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งภายหลังเป็นเมืองพนมเปญ พร้อมกับหล่อส่วนพระเศียรและพระพาหาขวาของพระแสนขึ้น ยังไม่แล้วเสร็จเต็มองค์ พระเจ้ากรุงกัมพูชาเก็บส่วยแพงถึงครัวละ ๘ บาท จึงเทครัวมาสู่เกาะหาดทรายหรือหาดท่านพระครู ต่อมาแม่ญิงเภาและแม่ญิงแพงผู้ครองเมืองกาลจำบากนาคบุรีศรี ได้ทราบข่าวว่าเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กพำนักอยู่ไม่ห่างจากเมือง และทราบว่าท่านเป็นพระเถระที่มีคนเคารพสักการะมาก เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงพร้อมด้วยท้าวพญาแสนขอให้ท่านพำนักอยู่ที่เมืองเพื่อทำนุบำรุงพระศาสนา เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กจึงย้ายครัวไปอยู่เมืองจำบากนาคบุรีศรี ด้วยความปราดเปรื่องของเจ้าราชครูหลวง แม่ญิงแพง อำมาตย์มนตรี และไพร่ฟ้าหน้าใสได้พร้อมใจถวายอาณาจักรทั้งปวงให้เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กปกครองในปี พ.ศ.๒๒๕๖ อย่างไรก็ตามเจ้าราชครูหลวงไม่สามารถชำระความตามกฎหมายได้เพราะผิดพระวินัย จึงยกเจ้าหน่อกษัตริย์ ซึ่งเป็นอนุชาของพระเจ้าองค์หล่อ หรือ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ ๒ ที่อพยพหลบหนีเมื่อคราวมาบูรณะพระธาตุพนม ผู้สืบเชื้อกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์โดยแท้จริง เป็นประมุขฝ่ายอาณาจักร และได้ถวายพระนามว่า “เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร” และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “นครจำปาศักดิ์” ไม่ขึ้นตรงต่อกรุงเวียงจันทน์ เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรก็ตั้งเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กเป็นสังฆราชาปกครองสงฆ์ที่นครจำปาศักดิ์ ตราบจน พ.ศ.๒๒๖๓ เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กก็มรณภาพด้วยโรคชราขณะมีอายุได้ ๙๐ ปี

    คาดว่าพระแสนจะหล่อเสร็จเป็นพระปฏิมาที่เมืองจำบากนาคบุรีศรี พระแสนมีหน้าตัก ๒ ศอกเศษ แต่ใช้ทองหล่อหนักกว่า ๑๖๐ ชั่ง คิดเป็นนํ้าหนักกว่าแสนเฟื้อง จึงเป็นที่มาของชื่อพระแสน เมืองเชียงแตงซึ่งเป็นเมืองที่อัญเชิญพระแสนมากรุงเทพมี “พระไชยเชษฐ์” เป็นเจ้าเมือง พระไชยเชษฐ์ก็สืบสายมาจากเจ้าเวียงจันทน์ เมืองเชียงแตงปัจจุบันคือเมืองสตึงเตร็ง ตั้งอยู่ในภาคเหนือของกัมพูชา

    ในบรรดาพระพุทธรูปล้านช้าง พระแสนนับว่างามยิ่งองค์หนึ่ง เป็นอมตะงานศิลป์แห่งช่างลาวโบราณที่ไม่เหมือนใคร พระพุทธรูปที่ถูกอัญเชิญมาไล่ ๆ กัน ได้แก่ พระอินทร์แปลงวัดเสนาสนารามราชวรวิหารซึ่งมีหน้าตักสองศอกเศษ พระอรุณวัดอรุณวนารามซึ่งมีหน้าตักศอกเศษ พระสายน์และพระเสริมวัดปทุมวนาราม

    พระแสนมีนามเต็มว่า “พระแสนล้านช้าง” สถิต ณ พระอุโบสถวัดหงส์รัตนารามมาตลอดเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งร้อยปี มีผู้คนมากราบไหว้บนบานขอพรจากท่านด้วยความเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งของที่นิยมนำมาแก้บนได้แก่ ข้าวเหนียว ปลาร้า และไข่ต้ม

    การสร้างพระแสน ย่อมเป็นการเชื่อมบุญบารมีแห่งพระครูโพนสะเม็ก เจ้าครองเวียงจันทน์ เจ้าครองจำปาศักดิ์ เทวดาเมืองพนมเปญ เทวดาพระธาตุพนม และราชวงศ์จักรีผ่านพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ นับเป็นบุญกุศลพิเศษที่มีโอกาสได้จำลองรูปลักษณ์ของพระแสนผ่านพระเจ้าแสนหลวง วัดเก่าหนองบัว อุบลราชธานี

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  10. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

    [​IMG]

    ธาตุเจดีย์ของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก

    [​IMG]

    รูปปั้นเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กปางธุดงค์

    [​IMG]

    คำจารึกธาตุเจดีย์ฯ ที่คณะศิษย์หลวงปู่สุภา กนฺตสีโล (เขารัง ภูเก็ต) ได้สร้างถวายไว้ พ.ศ. ๒๕๔๑

    [​IMG]

    เมื่อมองเข้าไปยังพระธาตุพนมจากด้านหน้า ธาตุเจดีย์ของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กอยู่ทางขวามือ ท่านเป็นผู้นำชาวเวียงจันทน์ ๓ พันคน มาบูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ธาตุพนม ระหว่าง พ.ศ.๒๒๓๓ ถึง ๒๒๓๕ ข้าพเจ้าขอขมาในทุกสิ่งที่ได้ล่วงเกินเจ้าราชครูหลวงฯ และทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวเนื่องกับวัดพระธาตุพนม

    คำขอขมา

    คำขอขมานี้ใช้ก่อนอาราธนานั่งพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
    โดย คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) กรุงเทพมหานคร
    เป็นเหตุแห่งแนวคิดการสร้างพระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร
    รู้สึกได้ว่าการขอขมาบ่อย ๆ ทำให้จิตใจเยือกเย็นและอ่อนโยนขึ้น

    อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
    มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง สามินา ปุญญัง
    มัยหัง ทาตัพพัง สาธุ สาธุ อนุโมทามิ สัพพัง อะปะราธัง
    ขะมะถะ เม ภันเต

    ข้าฯ ขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯ ทำแล้ว
    ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯ ด้วย
    (กราบ ๑ ครั้ง)

    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ
    กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

    ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด ขอท่านจงอดโทษ
    ทั้งปวงที่ข้าพเจ้าทำด้วยทวาร (กาย วาจา ใจ) ทั้ง ๓ แก่ข้าพเจ้า
    ด้วยเถิด ข้าพเจ้าก็อดโทษนั้นให้แก่ท่านด้วย
    (กราบ ๑ ครั้ง)

    *** ถ้าทราบคำแปลแล้ว จะกล่าวแต่บาลีก็ได้

    + + + + + + + + + + +

    คาถาบาลีที่เกี่ยวกับพระธาตุพนม

    คำนมัสการพระธาตุพนม

    ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะอุตตะรายะ เหฏฐิมายะ
    อุปะริมายะ ทิสายะ กะปะณะคิริสมิง ปัพพะเต
    มะหากัสสะเปนะ ฐาปิตัง พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสานะมามิ
    สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง
    อะหัง วันทามิ สัพพะทา

    คำไหว้ยอดพระธาตุพนม

    เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง ระตะนัง ปะณีตัง
    พุทธะ อุรังคะเจติยัง อะหังวันทามิ สัพพะทา

    คำนมัสการธาตุเจดีย์เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก

    กะปะณะคิริสมิง ปัพพะเต กะตะนะวะกัมมิกัสสะ
    พุทธะอุรังคะเจติยัสสะ สะมีเป ฐะตัง มะหาเถรัสสะ
    มะหาราชะคะรุสสะ ธาตุเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา

    ข้าพเจ้าขอนมัสการธาตุเจดีย์ของพระมหาเถรเจ้า
    นามว่า "เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก" อันตั้งอยู่
    ในที่ใกล้แห่งองค์พระอุรังคเจดีย์ของพระพุทธเจ้า
    อันท่านได้สร้างเสริมต่อแล้ว ณ ดอยกปณคีรีนี้
    ในกาลทุกเมื่อ

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  11. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    โครงการสร้างพระเจ้าแสนหลวงเปิดตัวในวันถวายผ้ากฐิน วัดเก่าหนองบัว (๑๐/๑๑/๒๕๕๖) จนถึงวันที่ ๑๓ ม.ค. ๒๕๕๗ มียอดเงินรวม ฿126,285.74

    พระพากุลเถระเป็นผู้มีอาพาธน้อย ด้วยสัจวาจานี้ ขอผู้ร่วมบุญทุกท่านที่ร่วมสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงมีโรคภัยน้อย ขอบุญแห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงเป็นปัจจัยให้ผู้ร่วมบุญทุกท่านได้พบและเข้าถึงมงคล ๓๘ ประการที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เทอญ

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  12. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    [​IMG]

    ทำไมชื่อ “พระเจ้าแสนหลวง” ?

    “แสน” ในความหมายหนึ่งคือ “พระแสนวัดหงส์รัตนาราม” ซึ่งเป็นพระสำคัญที่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กได้สร้างไว้ เป็นพระที่มีศิลปะล้านช้างงดงามเป็นพิเศษ และเป็นพระที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงโปรด จนมีพระราชหัตถเลขาถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเพื่อให้มีท้องตราไปยังข้าหลวงเมืองเชียงแตงอาราธนามา ดังนั้น “แสน” โดยนัยนี้ จึงหมายถึง “การจำลองพระแสน” ด้วยรูปลักษณ์ของพระเจ้าแสนหลวงถอดแบบมาจากพระแสนวัดหงส์รัตนารามนั่นเอง

    “แสน” ในอีกความหมายหนึ่ง หมายถึง “มากยิ่ง”

    “หลวง” ในความหมายเฉพาะ หมายถึง “เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก” “หลวงพระบาง” และ “ในหลวง” ซึ่งก็คือพระสงฆ์ที่มากบารมี เมืองหลวงเดิมของลาวอันเป็นต้นกำเนิดราชวงศ์ลาวเวียงจันทน์ ลาวจำปาศักดิ์ และในหลวงของเราผู้มีบารมีหาที่สุดมิได้

    “หลวง” ในความหมายทั่วไป หมายถึง “เป็นใหญ่” ที่เป็นคุณศัพท์สำหรับขยายความคนหรือเมือง จึงหมายถึงกษัตริย์ จักรพรรดิ์ เจ้าแคว้น เจ้านคร เจ้าเมือง เจ้าจอม เจ้านาง เจ้านาย ขุนนาง ท้าวพระยา แม่ทัพ นายกอง หัวหมู่ เจ้าบ้าน

    เมื่อรวมเป็นชื่อ “พระเจ้าแสนหลวง” ย่อมเป็นนามที่มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ หมายถึง พระพุทธรูปที่เป็นเครื่องรำลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้าอันประมาณค่ามิได้ รำลึกถึงคุณแห่งพระสงฆ์ผู้ประเสริฐ เช่น เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ผู้เป็นสังฆราชาแห่งล้านช้างจำปาศักดิ์ รำลึกถึงคุณของมนุษย์ผู้ประเสริฐ เช่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งแผ่นดินสยามองค์ปัจจุบัน รำลึกถึงคุณแห่งเมืองอันประเสริฐคือหลวงพระบาง ที่เป็นต้นกำเนิดแห่งราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และล้านช้างจำปาศักดิ์ ทั้งหมดต่างเป็นมีส่วนสำคัญในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจนพระพุทธศาสนาสืบทอดยืนยาวได้จนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปองค์นี้มีเจตนาหลักเพื่อยืนยงพระศาสนา จึงอัญเชิญเจ้าหลวงทั้งหลายตลอดจนทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวเนื่องกับท่านทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทั้งที่เป็นมิตร เป็นกลาง และเป็นอริกัน มาร่วมสร้าง เพื่อเป็นโอกาสในการขอขมาซึ่งกันและกัน อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน และอธิษฐานเป็นกัลยาณมิตรซึ่งกันและกัน ส่งผลให้เกิดกำลังในการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา เหมือนดังที่เจ้าหลวงทั้งหลายในอดีตได้เคยทำสืบเนื่องกันมา

    “พระเจ้าแสนหลวง” จึงเป็นพระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร อภัยทานทำให้เกิดการหยุดการจองเวรซึ่งกันและกัน ในขณะที่กัลยาณมิตรทำให้เข้าถึงคำสอนของพระศาสดา ได้เดินตามรอยเท้าของพระอริยเจ้า จนเข้าสู่กระแสอริยมรรค ได้พบอริยผล และบรรลุพระนิพพานในที่สุด

    ในอดีต แผ่นดินสุวรรณภูมิเป็นดินแดนที่มีช่วงเวลาแห่งความร่มเย็น และช่วงเวลาแห่งศึกสงคราม เมื่อทุกคนอยู่ในสภาวะที่ไม่มีความโลภ ความโกรธ หรือความหลง มาบังตา ทุกคนย่อมไม่คิดทำสงครามกัน แต่ในความเป็นจริง มนุษย์ทุกคนตลอดจนเจ้าแคว้นเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย ต่างมีความโลภ โกรธ หลง ครอบงำอยู่ไม่มากก็น้อย ต่างมีอกุศลกรรมสะสมอยู่ในดวงจิตที่พร้อมจะส่งผลเมื่อถึงกาล ความขัดแย้งระหว่างหมู่คณะหรืออาณาจักรจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยมีเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิด หากเราเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน เหตุใดเราจึงไม่เลิกรำพึงรำพันถึงอดีตที่ขัดแย้งกัน เพราะสิ่งที่ผ่านมาแล้วย่อมกลับไปแก้ไขอะไรไม่ได้ และเหตุใดเราจึงไม่หาเหตุและปัจจัยใหม่ ๆ ในปัจจุบัน มาวางรากฐานแห่งการสร้างอนาคตที่เป็นสังคมแห่งความสงบร่มเย็นภายใต้ร่มฉัตรแห่งบวรพระพุทธศาสนา นั่นคือการร่วมสร้าง "พระเจ้าแสนหลวง" ด้วยเจตนาบริสุทธิ์

    ขอความผาสุกจงเกิดขึ้นกับทุกท่านที่ร่วมบุญนี้สืบเนื่องไปทุกภพชาติ ตราบจนได้พระนิพพานเทอญ

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  13. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    เลขพุทธศาสตร์เหนือชั้นกว่าเลขวิทยาศาสตร์หลายขุม

    + + + + + + + + + + +

    ตอนที่ ๑ เลขอาโวกาโดรที่ยิ่งใหญ่

    โดย สยาม สงวนรัมย์

    ถ้าเราเคยเรียนเคมี เราก็คงเคยได้ยินเลขอาโวกาโดร (Avogadro's number) ว่าเป็นจำนวนที่มากมาย คร่าว ๆ สารบริสุทธิ์หนึ่งโมล จะมีจำนวนอะตอมหรือจำนวนโมเลกุลราว ๖ แสนล้านล้านล้าน ตัว หรือ ๖ ตามด้วยศูนย์ ๒๓ ตัว

    น้ำ ๑๘๐ ซีซี ก็ราว ๆ ๑ กล่องน้ำผลไม้ นับว่ามีน้ำอยู่ ๑๐ โมล หรือมีโมเลกุลน้ำ ๖ ล้านล้านล้านล้าน ตัว หรือ ๖ ตามด้วยศูนย์ ๒๔ ตัว

    ถาม...ถ้าเราย้อมสีโมเลกุลน้ำในกล่องน้ำผลไม้เป็นสีส้ม แล้วเทลงมหาสมุทรซึ่งโมเลกุลน้ำไม่มีสี รอจนกระทั่งโมเลกุลน้ำในกล่องแพร่กระจายไปทั่วมหาสมุทรอย่างสม่ำเสมอ แล้วใช้กล่องน้ำผลไม้เดิม เติมน้ำในมหาสมุทรให้เต็มกล่อง ใช้ตาวิเศษตรวจสอบมองหาโมเลกุลสีส้มที่เทลงไป เราจะเจอโมเลกุลสีส้มในกล่องทุกครั้งที่เติมน้ำจากมหาสมุทรหรือไม่? ตอบคำตอบคือเจอ!!!

    ทำไมถึงเจอ โอกาสที่เจอน้อยมาก ๆ เพราะหาได้จากสูตร (ปริมาตรน้ำในกล่อง/ปริมาตรน้ำในมหาสมุทร) จะพบว่าปริมาตรน้ำในมหาสมุทรมากกว่าปริมาตรน้ำในกล่องมาก ๆ จากวิกิพีเดีย ปริมาตรน้ำในมหาสมุทร ๑.๓ พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร ทราบว่า ๑ ลูกบาศก์กิโลเมตรมี ๑ พันล้านลูกบาศก์เมตร และ ๑ ลูกบาศก์เมตรมี ๑ ล้านซีซี หรือ ปริมาตรน้ำในมหาสมุทรมี ๑.๓ พันล้าน (พันล้าน) (ล้าน) ซีซี เมื่อ พันพัน เป็นหนึ่งล้าน ก็เท่ากับ ๑.๓ ล้านล้านล้านล้าน ซีซี พอเอาปริมาตรน้ำ (๑๘๐ ซีซี) ในกล่องหารปริมาตรน้ำในมหาสมุทร ก็จะได้โอกาสที่เจอเป็น ๑.๔ ใน หนึ่งหมื่นล้านล้านล้าน หรือ ๑.๔ ต่อ ๑ ตามด้วยศูนย์ ๒๒ ตัว

    ทีนี้ เราเอาโอกาสคูณกับจำนวนโมเลกุลของน้ำในกล่องน้ำผลไม้ ก็จะเป็นจำนวนโมเลกุลสีส้มที่ตักขึ้นมานับได้แต่ละครั้ง ถ้าได้มากกว่า ๑ ก็เจอทุกครั้ง ถ้าน้อยกว่า ๑ ก็ไม่เจอทุกครั้ง ผลคือ

    (๑.๔ หาร ๑ ตามด้วยศูนย์ ๒๒ ตัว) คูณ (๖ ตามด้วยศูนย์ ๒๔ ตัว) เท่ากับ ๘๔๐ โมเลกุลสีส้ม

    โอ้โห! เลขอาโวกาโดรยิ่งใหญ่จริง ๆ เทน้ำลงในมหาสมุทรกล่องน้ำผลไม้หนึ่ง รอน้ำกระจายทั่วมหาสมุทร ตักขึ้นมาด้วยกล่องเดิม ยังเจอโมเลกุลน้ำที่เคยอยู่ในกล่องตั้ง ๘๔๐ ตัว เพราะเลขอาโวกาโดร ๖ ตามด้วยศูนย์ ๒๓ ตัวนั้นเยอะจริง ๆ

    + + + + + + + + + + +

    ถ้ามีผู้วิเศษให้พร ขอให้ท่านผู้อ่านมีธนบัตร ๑๐๐ ดอลลาร์ จำนวนเท่ากับเลขอาโวกาโดร ท่านเอาไหม?

    จากการถามคำถามคล้าย ๆ กันกับลูกศิษย์ผม ส่วนใหญ่ไม่ลังเลที่จะพยักหน้า หรือบอกว่าเอา ^__^

    ธนบัตร ๑๐๐ ดอลลาร์ ถือเป็นเงินใหญ่ของอเมริกา มูลค่าราว ๓๐๐๐ บาท มีรูป เบนจามิน แฟรงคลิน ๑ ใน ๗ บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา นักวิทยาศาสตร์และนักประดิษฐ์ผู้คิดสายล่อฟ้า นักหมากรุก นักเขียน ธนบัตรนี้กว้าง ๖๖ มิลลิเมตร ยาว ๑๕๗ มิลลิเมตร หนาราว ๐.๐๑ มิลลิเมตร หรือคิดเป็นพื้นที่ประมาณ ๑ หมื่นตารางมิลลิเมตร ปริมาตรใบละ ๑ ร้อยลูกบาศก์มิลลิเมตร ถ้ามีธนบัตรใบนี้เท่าเลขอาโวกาโดรเราคงเป็นเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกอย่างแน่นอน เพราะจะมีเงินมากถึง ๖๐ ล้านล้านล้านล้าน ดอลลาร์ แต่ถ้ามานึกถึงที่เก็บเงิน คงจะเครียดเล็กน้อย เพราะโลกมีพื้นผิวแค่ ๕๑๐ ล้านตารางกิโลเมตร และ ๑ ตารางกิโลเมตรมี ๑ ล้านตารางเมตร และ ๑ ตารางเมตรมี ๑ ล้านตารางมิลลิเมตร ดังนั้นโลกมีพื้นที่ ๕๑๐ ล้านล้านล้าน ตารางมิลลิเมตร ใช้ธนบัตร ๑๐๐ ดอลลาร์แค่ ๕ หมื่น ๑ พันล้านล้าน ฉบับ ก็ปูเต็มโลกแล้ว ถ้าเอาธนบัตรมาทั้งหมด ๖ แสนล้านล้านล้าน ฉบับ จะเอาที่ไหนเก็บเงิน จะเอาที่ไหนอยู่ จะเอาที่ไหนทำโน่นทำนี่ อ่านถึงตรงนี้คงจะเครียดมากขึ้น เพราะโอกาสจะได้พรพิเศษนี้คงไม่ได้ง่าย ๆ ถ้าอยากได้จริงก็น่าจะต่อรองกับผู้วิเศษแล้วกัน ว่าขอเป็นเช็คเงินสดได้ไหม ฮ่า ฮ่า ฮ่า

    + + + + + + + + + + +

    ขอบุญกุศลแห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงถึงแก่ท่าน Amedeo Carlo Avogadro นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ผู้ศึกษาทฤษฎีโมเลกุล ตลอดจนทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวข้องกับท่านเทอญ

    ขอบุญกุศลแห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงถึงแก่ท่าน Benjamin Franklin นักปกครองและวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ผู้สร้างความเจริญให้ส่วนรวม ตลอดจนทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวข้องกับท่านเทอญ

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    รูปทั้งสองท่าน พร้อมประวัติโดยสังเขป จากเวบไซต์ Wikipedia

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  14. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    ทำทานเองได้โภคสมบัติ ชักชวนคนอื่นทำทานได้บริวารสมบัติ

    ในพระไตรปิฎกมีเรื่องราวของพิฬาลปทกะเศรษฐี หรือ เศรษฐีเท้าแมว ที่เกี่ยวข้องกับผลของการชักชวนคนอื่นทำทาน และผลอันไพศาลของการทำทานในเขตนาบุญพระพุทธศาสนาแม้เพียงน้อย ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน ชาวเมืองสาวัตถีได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน เมื่อทรงทำอนุโมทนาพระพุทธเจ้าได้ตรัสอนุโมทนาให้บัณฑิตคนหนึ่งได้ยินว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานด้วยตนด้วย ชักชวนคนอื่นด้วย เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติในที่ที่ตนเกิด บัณฑิตคนนั้นเกิดความปราโมทย์ และปรารถนาที่จะทำกรรมเพื่อเป็นไปด้วยสมบัติทั้งสอง จึงนิมนต์พระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดรับภิกษากับบัณฑิตและผู้ร่วมบุญกับบัณฑิตในวันพรุ่งนี้

    จากนั้นบัณฑิตก็ป่าวประกาศบอกบุญให้ผู้คนทั้งหลายได้ทราบงานบุญ เพื่อให้คนทั้งหลายนำวัตถุทานมาปรุงอาหารร่วมกัน ในที่เดียวกันเพื่อถวายทานนี้พร้อมกัน เศรษฐีเท้าแมวเกิดความไม่พอใจ ด้วยเห็นว่าบัณฑิตผู้นี้ไม่นิมนต์พระตามกำลังตน ทำให้ต้องไปเอ่ยปากขอคนอื่นช่วยเศรษฐีเท้าแมวจึงเจียดวัตถุทานให้บัณฑิตอย่างเสียมิได้ด้วยการใช้สามนิ้วมือหยิบข้าว ถั่ว ใส่ภาชนะ ส่วนที่เป็นเภสัช เช่น นํ้าอ้อย เนยใส ก็เทใส่เพียงไม่กี่หยด บัณฑิตก็รับและแยกส่วนของเศรษฐีผู้มีมือเบาดั่งเท้าแมวไว้อีกที่หนึ่ง ไม่ปะปนรวมกับของผู้ร่วมบุญอื่น ๆ ที่ทำในปริมาณมาก เศรษฐีสงสัยจึงส่งสายสืบไปดู สายรายงานว่าบัณฑิตบรรจงใส่วัตถุทานของเศรษฐีในภาชนะทีละเม็ด ทีละนิด จนครบทุกภาชนะ พร้อมอฐิษฐานว่า “ขอผลบุญใหญ่จงมีแก่เศรษฐี” แต่เศรษฐีเท้าแมวยังไม่สิ้นอาฆาตหวาดระแวง ตั้งใจว่าถ้าพรุ่งนี้บัณฑิตแฉที่ตนทำทานในปริมาณน้อยท่ามกลางบริษัททั้งหลายก็จะสังหารบัณฑิตเสีย

    เมื่อถึงกาลถวายทาน บัณฑิตกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชักชวนมหาชนถวายทานนี้ พวกมนุษย์ข้าพระองค์ชักชวนแล้วในที่นั้น ได้ให้ข้าวสารเป็นต้น มากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังของตน ขอผลอันไพศาลจงมีแก่มหาชนเหล่านั้นทั้งหมด”

    เมื่อเศรษฐีได้ยินก็สำนึกผิด และคิดต่อว่าหากไม่ขอขมาลาโทษกับบัณฑิตผู้นี้ โทษภัยก็จะเกิดกับตัว จึงหมอบแทบเท้าบัณฑิตเพื่อขอขมาลาโทษ บัณฑิตก็ถามว่าเกิดอะไรขึ้น พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามเช่นกัน เศรษฐีจึงเล่าเรื่องทั้งหมด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าบุญมีประมาณน้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อนํ้ายังเต็มด้วยหยดนํ้าที่ตกลงมาทีละหยดได้ฉันใด ชนผู้มีปัญญา สั่งสมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น” ในกาลจบเทศนา เศรษฐีเท้าแมวก็บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว

    + + + + + + + + + + +

    ขอเชิญทุกท่านร่วมบอกบุญสร้างพระเจ้าแสนหลวงต่อ ๆ ไป ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ด้วยยุคนี้เป็นยุคแห่งสังคมด้อยคุณภาพ เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ที่มีคุณภาพหายาก การบอกบุญแล้วอธิษฐานมีบริวารที่ดีย่อมมีส่วนช่วยงานในอนาคตได้ ความสำเร็จและความเจริญรุ่งเรืองจะตามมาไม่ยาก และขอให้นำผลประโยชน์ที่ได้จากความสำเร็จนั้น ทำบุญในเขตพระศาสนาต่อ เพื่อมีส่วนในการค้ำชูพระศาสนา และการสร้างเหตุปัจจัยที่ดีที่ส่งผลอย่างสืบเนื่องของบุญกุศล

    + + + + + + + + + + +

    ค่าของคนดูที่ผลของงาน

    รูปล่างเป็นงานบุญที่ผมได้ชักชวน คณะผู้สอน คณะผู้ช่วยสอน นักศึกษาในรายวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมชั้นปีที่ ๑ กว่า ๑,๐๐๐ คน ตลอดจนบุคคลภายนอก มาร่วมในงาน "สรงน้ำพระราหุล ส่งเสริมบุญการศึกษา" ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง งานนี้สรงน้ำทั้งพระราหุลเถรเจ้าเป็นเลิศด้านใฝ่รู้ใคร่เรียน ทั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) ผู้สืบทอดพระกรรมฐานตามแบบพระราหุลเถรเจ้า หรือที่เรียกว่าพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ และทรงเป็นพระอาจารย์กรรมฐานในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ด้วย

    [​IMG]

    น.ส.สรวีย์ นภาธร นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กำลังสรงน้ำสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) พระอาจารย์กรรมฐานพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ หลังจากการสรงน้ำพระราหุลเถรเจ้า พระอรหันต์ผู้เป็นเลิศทางใฝ่รู้ใคร่เรียน งาน "สรงน้ำพระราหุล ส่งเสริมบุญการศึกษา" จัดในสัปดาห์แรกของการเรียนในภาคเรียนที่ ๑ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ ๑ เพื่อเตรียมเสบียงบุญให้พร้อมก่อนการเรียนอย่างจริงจัง

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  15. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    เลขพุทธศาสตร์เหนือชั้นกว่าเลขวิทยาศาสตร์หลายขุม

    + + + + + + + + + + +

    ตอนที่ ๒ อสงไขยยิ่งใหญ่กว่าเลขอาโวกาโดร

    โดย สยาม สงวนรัมย์

    ………อสงไขยคืออะไรใครรู้บ้าง.....................รู้กระจ่างสร้างจิตคิดเลื่อมใส
    เนื้อนาบุญคุณพระรัตนตรัย...........................รู้เหตุใดจึงประสบพบยากเอย

    กลอนขึ้นต้นมีเจตนาให้ทุกท่านทราบว่า ทำไมพระพุทธเจ้าทรงย้ำนักว่าพระสงฆ์หรือเนื้อนาบุญแห่งพระพุทธศาสนาเจอยาก ยากขนาดไหน ในอัญญตรสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบโอกาสการเกิดเป็นมนุษย์ไว้แค่ฝุ่นปลายเล็บ กับโอกาสที่ไม่ได้เกิดเป็นมนุษย์ไว้เท่ากับแผ่นดินทั้งหมด แล้วจะบวชได้ก็ต้องนับโอกาสแห่งการเกิดเป็นมนุษย์ (ซึ่งน้อยมาก) คูณกับโอกาสที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติ (ซึ่งน้อยมาก ๆ ๆ ๆ ๆ) คูณกับโอกาสที่ธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศแล้วรุ่งเรืองอยู่ในโลกที่ใดที่หนึ่งจนทำให้มนุษย์คนหนึ่งบวช (ซึ่งน้อยมาก ๆ ๆ) แค่นี้ก็เห็นชัดแล้วว่าโอกาสพบพระสงฆ์ยากเย็นแสนเข็ญเพียงใด นี่ไง โอกาสที่จะได้พระงาม ๆ มีเอกลักษณ์ องค์ใหญ่ ๆ ถวายเป็นสังฆทานก็ยิ่งยาก ยิ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีเจตนาให้มหาชนจำนวนมาก ๆ ร่วมสร้าง ก็ยิ่งมีโอกาสน้อย เพราะเกิดเป็นมนุษย์หนึ่งคนก็ยากแล้ว เกิดเป็นมนุษย์หลาย ๆ คนมาทำบุญแบบนี้ร่วมกันยิ่งยากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว จึงนับว่าเป็นบุญพิเศษจริง ๆ

    ในยุคแห่งคนไทยเลื่อมใสศาสตร์ตะวันตก ทั้ง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ พระมหากษัตริย์ผู้รอบรู้และมองเห็นการณ์ไกล ด้วยพระองค์เข้าถึงเทคโนโลยีชั้นสูงของโลกยุคนั้นคือการต่อเรือ และมีเครือข่ายทางการค้าโยงใยทั้งโลกตะวันตกและตะวันออก ได้ทรงเตือนแล้วว่า "การศึกสงครามข้างญวน ข้างพม่า ก็เห็นจะไม่มีแล้ว จะมีอยู่แต่ข้างพวกฝรั่ง ให้ระวังให้ดี อย่าให้เสียทีแก่เขาได้ การงานสิ่งใดของเขาที่คิดไว้ ควรจะเรียนเอาไว้ ก็เอาอย่างเขา แต่อย่าให้นับถือเลื่อมใสไปทีเดียว” ทำให้เวลาอธิบายอะไรก็ต้องอิงวิชาการตะวันตกไว้นิด จะได้ฟังดูมีภูมิ ส่วนตัวเห็นว่าสิ่งที่ควรนับถือเลื่อมใสก็คือพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของเรานั่นเอง พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา ป.ธ.๖) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ปราชญ์แห่งแดนอีสาน ได้เขียนเตือนสติไว้ในหนังสือ “อุรังคนิทาน ตำนานพระธาตุพนม (พิสดาร)” เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์เป็นพระพนมเจติยานุรักษ์ว่า “ชาวยุโรปที่เราถือเป็นครูสมัยนี้ บางอย่างเขาก็รู้ดีกว่า เราควรเอาเป็นครูได้จริง ๆ แต่จะดีไปทั้งหมดนั้นเห็นจะยาก”

    เลขอาโวกาโดรที่ยิ่งใหญ่ ถูกคำนวณครั้งแรกโดย โจฮานน์ โจเซฟ ลอซ์คมิดต์ (Johann Josef Loschmidt) นักฟิสิกส์ชาวออสเตรีย ในปี พ.ศ. ๒๔๐๘ หรือเมื่อราว ๑๕๐ ที่แล้ว ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ตอนนั้นไม่ได้ตั้งชื่อนี้ ผู้เสนอชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่อาโวกาโดรในฐานะผู้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับโมเลกุลคือ ชอง บาพ์ติสต์ แปแรง (Jean Baptiste Perrin) เจ้าของรางวัลโนเบลปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เจ้าพ่อแห่งรังสีคาโทดและการเคลื่อนที่บราวเนียน ในปี พ.ศ. ๒๔๔๘

    เลขอสงไขยเป็นเลขโบราณ อย่างน้อยโลกตะวันออกก็รู้จักเลขอสงไขยมากว่า ๒๕๕๗ ปี นิยามตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานคือ ๑ ตามด้วยศูนย์ ๑๔๐ ตัว (หรือ ๑๐ ยกกำลัง ๑๔๐) แต่ถ้าว่าตามไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา พระยาธรรมปรีชา (แก้ว) ราชบัณฑิตในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ หนึ่งในศิษย์มีชื่อแห่งวัดหงส์รัตนาราม ที่ซึ่งประดิษฐานพระแสนในปัจจุบัน ได้เขียนบรรยายสังขยาไว้โดยพิสดารว่า

    “และกำหนดนับอสงไขยนั้น มีพระบาลีว่า ทสทสกํ สตํ โหติ ทสสตํ สหสฺสํ โหติ ฯลฯ มหากถานํ สตสหสฺสสตํ อสงฺเขยฺยนฺติ อธิบายว่า ๑๐ สิบทีเป็น ๑๐๐ สิบร้อยเป็นพัน สิบพันเป็นหมื่น สิบหมื่น เป็นแสน ร้อยแสนเป็นโกฏิ แล้วนับโกฏิให้ได้โกฏิที จึงเป็น ปโกฏิหนึ่ง นับปโกฏิให้ได้โกฏิทีจึงเป็นโกฏิปโกฏิหนึ่ง นับโกฏิปโกฏิ ให้ได้โกฏิที จึงเป็นนหุตหนึ่ง โกฏินหุตจึงเป็นทินนหุตหนึ่ง โกฏิทินนหุตจึงเป็นปุนนหุตหนึ่ง โกฏิปุนนหุตจึงเป็นพินทุหนึ่ง โกฏิพินทุจึงเป็นขัจจะหนึ่ง โกฏิขัจจะจึงเป็นนิขัจจะหนึ่ง โกฏินิขัจจะจึงเป็นสังขะหนึ่ง โกฏิสังขะจึงเป็นอักโขภินีหนึ่ง โกฏิอักโขภินีจึงเป็นอัพพุทะหนึ่ง โกฏิอัพพุทะจึงเป็นนิรัพพุทะหนึ่ง โกฏินิรัพพุทะจึงเป็นอหหะหนึ่ง โกฏิอหหะจึงเป็นอพพะหนึ่ง โกฏิอพพะจึงเป็นอฏฏะหนึ่ง โกฏิอฏฏะจึงเป็นโสคันธิกะหนึ่ง โกฏิโสคันธิกะจึงเป็นอุปละหนึ่ง โกฏิอุปละจึงเป็นกุมุทะหนึ่ง โกฏิกุมุทะจึงเป็นปุณฑรีกะหนึ่ง โกฏิปุณฑรีกะจึงเป็นปทุมะหนึ่ง โกฏิปทุมะจึงเป็นกถานะหนึ่ง โกฏิกถานะจึงเป็นมหากถานะหนึ่ง โกฏิมหากถานะจึงเป็นอสงไขยหนึ่ง...”

    ถ้าเป็นสมัยนี้ นิยมนับไปทีละล้าน เช่น นับหนึ่งถึงล้านไปล้านครั้ง เราเรียกว่าล้านล้าน คือการเติมศูนย์หลังเลข ๑ ไปทีละ ๖ ตัว ล้านล้านจึงมีศูนย์หลังเลข ๑ ทั้งหมด ๑๒ ตัว นับล้านล้านไปล้านครั้งจึงเป็นล้านล้านล้าน คือ ๑ เติมศูนย์ไป ๑๘ ตัว เป็นต้น

    ต่างจากการนับสมัยนี้ สังขยาหรือการนับแบบโบราณจะนับซ้ำไปทีละโกฏิครั้ง คือการเติมศูนย์หลังเลข ๑ ไปทีละ ๗ ตัว เพราะโกฏิหนึ่งคือสิบล้าน (หรือร้อยแสน) และนับเติมศูนย์ไปทั้งหมด ๒๓ ครั้ง ทำให้ ๑ อสงไขย เท่ากับ ๑ ตามด้วยศูนย์จำนวน ๗ บวก ๑๖๑ ตัว (๗ คือศูนย์ที่เกิดจากโกฏิแรก และ ๑๖๑ คือศูนย์ที่เกิดจากการนับโกฏิซ้ำ ๒๓ รอบ) หรือ ๑๖๘ ตัว !!! ทิ้งห่างเลขอาโวกาโดรที่มีศูนย์ตาม ๖ เพียง ๒๓ ตัว อย่างไม่ติดฝุ่น

    ที่เราได้ทราบกันว่า พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันทรงบำเพ็ญบารมีมา ๔ อสงไขย กำไรแสน มหากัป จริง ๆ แล้วก็คือ (๔ ตามด้วยศูนย์ ๑๖๘ ตัว + ๑ แสน) มหากัป

    แล้ว “มหากัป” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “กัป” หรือ “กัลป์” นี่นานขนาดไหน? กำหนดเป็นตัวเลขกี่ปีมนุษย์? หลายคนคงทราบแล้วว่าเป็นช่วงเวลาที่โลกถูกทำลายและสร้างใหม่ หลายคนทราบยิ่งกว่านั้นว่านานจนลืมไปเลย อยากทราบว่านานแค่ไหนต้องอ่านตอนต่อไป จะได้รู้สักทีว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีพระมหากรุณาธิคุณขนาดไหนที่นำหนึ่งดวงจิตเกิดซ้ำไปซ้ำมานานขนาดไหนเพื่อฟันฝ่าสังสารวัฏอันโหดร้ายจนดวงจิตนั้นถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยมีจุดมุ่งหมายเป็นพระโพธิญาณสำหรับการสั่งสอนหมู่สัตว์ให้ข้ามล่วงทุกข์ และจะได้รู้สักทีว่า ๕ พันปีที่พระศาสนาดำรงอยู่นี่นิดเดียว ไม่ใช่สิ ตี๊ดดดดดด เดียว จะได้เข้าใจว่าเสียทีว่าโอกาสน้อยนิดที่ได้พบสิ่งดีล้ำทำไมเป็นหนึ่งในเหตุแห่งการสร้างบุญน้อยแต่ได้ผลมาก และจะได้เข้าถึงเสียทีว่าศาสตร์ที่สุดยอดจริง ๆ ไม่ได้มาจากโลกตะวันตกหรือโลกตะวันออก แต่มาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    + + + + + + + + + + +

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส

    พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สํฆํ สรณํ คจฺฉามิ

    ข้าพเจ้าขอสมาทานศีล ๕ อันประกอบด้วยองค์ ๕

    พุทฺโธ อปฺปมาโณ ธมฺโม อปฺปมาโณ สํโฆ อปฺปมาโน

    คุณพระพุทธเจ้าประมาณมิได้ คุณพระธรรมเจ้าประมาณมิได้ คุณพระสังฆเจ้าประมาณมิได้

    ด้วยสัจวาจานี้ ขอบุญกุศลแห่งการสร้างพระเจ้าแสนหลวงจงเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จงถึงแก่ พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), โจฮานน์ โจเซฟ ลอซ์คมิดต์, ชอง-บาพ์ติสต์ แปแรง, พระยาธรรมปรีชา (แก้ว) ตลอดจนทุกรูปทุกนามที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์และท่านทั้งหลายที่ได้เอ่ยมาเทอญ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    รูปที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ จากเวบไซต์ Wikipedia รูปที่ ๒ รูปหล่อพระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา) ที่วัดพระธาตุพนม รูปที่ ๓ และ ๔ พร้อมประวัติโดยสังเขป จากเวบไซต์ Wikipedia

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  16. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    [​IMG]

    อุบลราชธานี...จุดเปลี่ยนแห่งล้านช้าง

    ...จุดเปลี่ยนแห่งล้านช้าง........เป็นจุดสร้างพระแสนหลวง
    ชักชวนท่านทั้งปวง...............สร้างพระใหญ่ให้กราบกราน
    ...สงครามโลภโกรธหลง.........คนย่อมหลงการล้างผลาญ
    สร้างพระอภัยทาน................ให้เราท่านได้สร้างบุญ
    ...เชิญท้าวพระยาแสน...........ทั้งเทพแถนผู้มากคุณ
    พ่อเมืองแลพ่อขุน.................โปรดเสด็จเฮ็ดบุญกัน
    ...กัลยาณมิตร....................มาสนิทมิเหหัน
    ดุจแผ่นทองร้อยพัน...............หลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว

    "เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลประเทศราช" ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของสยามและล้านช้าง เพราะความไม่เข้าใจกันของพระเจ้าสิริบุญสาร (หรือเจ้าองค์บุญ) กับเจ้าพระตาและเจ้าพระวอ (หรือพระตาดวงสาและพระยาวรราชภักดี) อดีตขุนศึกคู่พระทัย ทำให้เกิดการสู้รบกัน เจ้าพระตาและเจ้าพระวออพยพจากบ้านหินโงม เวียงจันทร์ มาสร้างบ้านแปงเมืองจำปานครกาบแก้วบัวบาน หรือหนองบัวลำภูในปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๒ รบกัน ๓ ปี พระเจ้าสิริบุญสารชนะโดยได้รับการสนับสนุนจากทัพเมืองเชียงใหม่ที่เป็นเมืองขึ้นพม่า แต่ก็ต้องสูญเสียญาติสนิทและแม่ทัพนายกอง เช่น เจ้าอุปฮาด พระยาเมืองจันทน์ พระยาเมืองแสน ตลอดจนกำลังทหารจำนวนมาก เจ้าพระตาถึงแก่อสัญกรรมที่หนองบัวลำภู ในขณะที่เจ้าพระวอเทครัวมาทางตะวันออกเฉียงใต้ขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวง หรือที่รู้จักกันดีในพระนามเจ้าไชยะกุมมาร (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๒๘๐-๒๓๒๑, เป็นเจ้าเมืองประเทศราช พ.ศ.๒๓๒๑-๒๓๓๔ หลังอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์) เจ้าครองจำปาศักดิ์ ต่อมาเกิดความไม่เข้าใจกันอีก ทำให้เจ้าพระวอแยกตัวออกมาอยู่ที่ดอนมดแดง เขตจังหวัดอุบลราชธานีปัจจุบัน และมีใบบอกผ่านเมืองโคราชขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าสิริบุญสารทรงทราบเรื่องว่าเจ้าพระวอแยกตัวมา จึงส่งพระยาสุโพมาตีดอนมดแดง เจ้าพระวอถึงแก่อสัญกรรม ท้าวคำผงผู้เป็นบุตรของเจ้าหนีรอดได้ จึงมีใบบอกไปยังกรุงธนบุรีว่าพระเจ้าสิริบุญสารได้มาล่วงขอบขัณฑสีมา สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท) ตีหัวเมืองล้านช้างทั้งหมด จนในที่สุดล้านช้างเป็นประเทศราชของสยาม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งท้าวคำผงเป็นเจ้าประทุมสุรราชภักดี ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ ได้ช่วยปราบกบฏอ้ายเชียงแก้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าทรงเสกให้เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลประเทศราช ในปี พ.ศ. ๒๓๓๕

    รูปบน พระพักตร์ของพระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง อุบลราชธานี รูปล่าง ผู้เฒ่ากับบัวชมพูในตลาดริมมูลเมืองอุบลฯ

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  17. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    ส. ๑๘ ม.ค. ๒๕๕๗
    เฟ้นหาช่างปั้น เดินทางกว่า ๙๐๐ กิโลเมตร: กรุงเทพ-ลพบุรี-ชัยภูมิ-กาฬสินธุ์-อุบลฯ

    + + + + + + + + + + +

    ออกเดินทางจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบังราว ๗.๓๐ น. ๙ โมงครึ่งก็ถึงลพบุรี รับประทานอาหารเข้าแล้ว ประมาณ ๑๐ โมง นำแผ่นทองขอบารมีพระครูโสภณธรรมรัตน์ (ถม สงวนวงศ์ ฉายาธมฺมทีโป, ๒๔๕๕-๒๕๕๒) หรือหลวงปู่ถม อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ลพบุรี ท่านมรณภาพเมื่ออายุ ๙๖ ปี สังขารของท่านไม่เน่าเปื่อย และได้ขอบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวเนื่องกับวัดเชิงท่า ตลอดจนพระร่วงผู้เคยครองเมืองลพบุรี หลวงปู่ถมเป็นศิษย์พระครูโวทานสมณคุต (รุ่ง เสงี่ยมงาม, ๒๔๐๖-๒๔๗๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงท่า และเป็นหนึ่งในศิษย์ก้นกุฏิศิษย์สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ท่านเป็นพระเก่งแบบเสือซ่อนเล็บ ทักหรือเตือนอะไรมักเป็นจริงปานนั้น สมกับอยู่เมืองละโว้ที่พระร่วงเคยครอง คำสอนหนึ่งของท่านคือ "เธอจำเอาไว้นะอย่าอยากเอาชนะคน โบราณเขาว่า เเพ้เป็นพระ เมตตาต่อกันดีกว่า"

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    จากนั้นร่วมกับชมรมคนรักหลวงปู่ทวด นำโดยหมอฟอร์ด หรือ นพ.ดนัย โอวัฒนาพานิช ถวายเงินพระครูสุธรรมโฆษิต (ปิยชัย ปภาโส) เจ้าอาวาสวัดเชิงท่า ที่ศาลาโวทานสมณคุต เพื่อร่วมชำระหนี้งานสร้างศาลาฌาปนกิจศพวัดเชิงท่า เป็นเงิน ๑ ล้านบาท

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    นายนันทภพ และนายชนาธิป นักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ก็ร่วมถวายเงินในครั้งนี้ด้วย

    [​IMG]

    ศาลาพระอภิธรรม (หลังกลาง) อันสวยงาม ใช้งบประมาณในการสร้างราว ๖ ล้านบาท เมรุรวมทั้งเตาเผาไร้ควัน ชมรมคนรักหลวงปู่ทวดก็มีส่วนร่วมสร้าง อนุโมทนาด้วยครับ ทำบุญครบวงวรจริง ๆ ครับ

    [​IMG]

    วัดเชิงท่า ลพบุรี เป็นวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำลพบุรี และวังของพระนารายณ์ มีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่น่าสนใจมากมาย ทั้งในสมัยลพบุรี อยุธยา และรัตนโกสินทร์ เช่น พระชัยพุทธมหานาถ หลวงพ่อนาค (ทำพิธีต่อเศียรและพญานาคโดยหลวงปู่ถม) สมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘

    [​IMG]

    [​IMG]

    โบสถ์และพระประธานสมัยอยุธยา คาดว่าน่าจะสร้างก่อนสมัยพระนารายณ์มหาราช

    [​IMG]

    [​IMG]

    ศาลาโวทานสมณคุตและหอระฆังสมัยรัตนโกสินทร์ พระศรีอาริย์ที่หลวงปู่ถมหล่อโดยมีชนวนจากวัดสุทัศน์จำนวนมาก

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พิพิธภัณฑ์หอโสภณศิลป์ ศาลพระแม่เจ้าจามเทวี ภายในวัดเชิงท่า ลพบุรี

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  18. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    ราว ๑๑ โมงครึ่ง ก็นำแผ่นทองไปขอบารมีศาลเจ้าพ่อพระกาฬ เพื่อสร้างพระเจ้าแสนหลวง เมืองอุบล พระแห่งอภัยทานและกัลยาณมิตร

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  19. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    จากนั้นวิ่งไปทาง อ.พัฒนานิคม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี สู่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ประมาณบ่าย ๒ เห็นกังหันลมขนาดใหญ่ ๒.๕ เมกะวัตต์ ของ Goldwind สูง ๙๐ เมตร ๓ ตัว ก็เลยถ่ายรูปไว้ เฉพาะใบพัดใบหนึ่งหนักร่วม ๑๑ ตัน เส้นผ่านศูนย์กลางของกังหันยาวพอ ๆ กับลู่วิ่ง ๑๐๐ เมตร ใหญ่จริง ๆ ตอนหมุนได้ยินเสียงใบพัดกรีดผ่านอากาศดังฮึม ๆ แต่ก็ไม่ดังมากเท่าไหร่

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014
  20. มายศ

    มายศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2011
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +579
    กินข้าวร้านอาหารตามสั่งราคาย่อมเยาที่ร้านดุ๊กดิ๊ก ร้านเล็ก ๆ แนว ๆ ที่เจ้าของร้านเป็นสาวเสียงดัง อารมณ์ดี หน้าสนามกีฬาจังหวัดชัยภูมิ เมืองแห่งเจ้าพ่อพญาแล หรือพระยาภักดีชุมพล ที่เคยร่วมกับย่าโมรบกับทัพของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์ และได้ถูกสมเด็จเจ้าอนุวงศ์สำเร็จโทษในภายหลังที่หนองปลาเฒ่า บริเวณศาลของท่านในปัจจุบัน เรื่องราวโดยละเอียดจะนำเสนอให้ทราบต่อ ๆ ไป จากนั้นตัดผ่านเลี่ยงเมืองขอนแก่น มุ่งหน้าไปเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ ก่อนถึงเขื่อนลำปาว ๙ กิโลเมตร จะมีแยกซ้ายเข้าหมู่บ้านนาแก เลี้ยวเข้าไป ตรงตลอดราว ๕-๖ กิโลเมตร ก็จะถึงโรงปั้นของอาจารย์เล็ก (ซ้าย จบประติมากรรมศิลปากร รุ่น ๔๗) และ อาจารย์คำจันทร์ (ขวา จบวิทยาลัยช่างศิลป์) ราว ๒ ทุ่มเศษ เป็นที่แรกที่มาดูผลงานของช่าง ตามคำแนะนำของหลวงพ่อทองจันทร์ พุทฺธญาโณ ที่พักสงฆ์หุบเขาผาจันทร์ ศิษย์ก้นกุฏิหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง ออกจากโรงปั้นก็ราว ๓ ทุ่ม วิ่งจาก อ.ยางตลาด ไป อ.โพนทอง เข้า อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ผ่านยโสธร ถึงอุบลราชธานีราวเที่ยงคืนครึ่ง รวมระยะทางราว ๙๒๐ กิโลเมตร

    [​IMG]

    องค์พระที่ขึ้นรูปด้วยดินน้ำมัน คือ หลวงพ่อแสนสุข (แหม! ช่างรับกับชื่อพระเจ้าแสนหลวงจริง ๆ) เป็นต้นแบบขนาดหน้าตักราว ๑๔ นิ้ว ก่อนขยายเป็นองค์พระใหญ่ขนาดหน้าตัก ๓ เมตร พระเทพปัญญาเมธี (ปราชญ์ อกฺกโชโต, ป.ธ. ๗) เจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเจ้าของงานนี้ ก็ลองดูผลงานกันครับ

    การปั้นพระใหญ่จะเริ่มจากการวาดต้นแบบ (Drawing)

    [​IMG]

    การหาอ้างอิง (Reference) เพื่อกำหนดสุนทรียภาพที่ต้องการ คือ อารมณ์ ความรู้สึก ในที่นี้เป็นพระเชียงแสนหน้าตักราว ๔ นิ้ว

    [​IMG]

    การทำต้นแบบ ก็คือสิ่งที่เราเห็นตอนนี้ สุดท้ายจะเป็นการขยายแบบ ถ้าต้องการเห็นตอนหน้าตัก ๓ เมตร ก็ต้องรอนิดนึง (ไม่กี่เดือนน่าจะปั้นเสร็จ ส่วนตัวถ้างานดีจริง ผมรอได้เสมอ เพราะเราเน้นการทำสิ่งที่ปราณีตที่สุดถวายเป็นสมบัติของพระศาสนา) องค์พระที่ดูอวบนิดนึง เป็นการเผื่อทำให้ผอม เพราะงานประติมากรรม การทำให้ผอมด้วยการเกลาหรือเหลาให้บางลง จะดูเป็นธรรมชาติกว่าการแปะดินเติมให้หนาขึ้น

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    + + + + + + + + + + +

    Facebook: ร่วมสมโภช “พระเจ้าใหญ่แสนหลวง” ที่จุดนัดพบแห่งกัลยาณมิตร เมืองอุบล เร็ว ๆ นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 มิถุนายน 2014

แชร์หน้านี้

Loading...