ร่วมกันใช้หลักธรรมมาแก้ปัญหาชาติ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย thanong_th, 16 พฤษภาคม 2010.

  1. thanong_th

    thanong_th สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +19
    เหตุการณ์บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เข้าขั้นวิกฤติขึ้นทุกที เหล่าผู้รักชาติต่างออกมาแสดงพลังรักชาติ ต่างโจมตีอีกฝ่ายที่ตัวเองคิดว่าทำไม่ถูก จนเกิดเหตุมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก พระท่านเลยบอกว่า คนเราควรได้รับการศึกษา รู้จักพิจารณา เชื่ออย่างมีเหตุผล ไม่เช่นนั้นความกล้าหาญ ความรักชาติ จะกลายเป็นการทำลายชาติไปเสีย พระสงฆ์ที่อยู่ในที่ต่างๆ ไม่ว่าในป่า หรือที่ไหนล้วนมีความห่วงใยในประเทศชาติ ชาติไทยมีเทวดาที่คอยช่วยเหลือประเทศชาติมาก แต่บางสิ่งเทวดาก็ช่วยไม่ได้ จิตใจของคนเรานี้แหละที่ยากจะแก้ไข ดั้งนั้นจึงขึ้นอยู่กับพวกเราชาวไทยว่าจะช่วยกันมาแก้ไขปัญหาได้ไหม ดังนั้นผมจึงพยายามถามปัญหากับพระสงฆ์ นักปราชญ์ ตามที่ต่างๆ ไม่ว่า บำเพ็ญธรรมอยู่ในป่า หรืออยู่ในเมือง ว่ามีทางที่จะแก้ไขปัญหาของชาติได้อย่างไร จะใช้ความรุนแรงตามกฎหมายแล้วบ้านเมืองจะสงบไหม เลยได้คำตอบจากหลวงปู่ว่า
    ในการแก้ปัญหานั้นอาจจะไม่ง่ายเลยเพราะความขัดแย้งฝังในจิตใจคนไทยมานาน มีหลักธรรมมาแก้ไขมากมายเหมือนกับใบไม้ในป่า แต่ขอเพียงคนไทยทำได้เพียง 2 อย่างนี้ ปัญหาจะสงบได้อย่างยั่งยืน
    1 คนไทยร่วมกันรักษาศีล 5 แม้จะมีกฎหมายมากมายนั้น แต่ศีลเพียง 5 ข้อ คือการแก้ที่ต้นเหตุ
    2 แผ่เมตตาให้ตนเองและคนอื่นให้มากๆ โดยคนที่เราไม่ชอบ คนที่เราคิดว่าเขาคือศัตรูของเรา ทุกวันได้ยิ่งดี
    เพียงแค่นี้แม้จะทำเพียงคนเดียว แต่พลังศีล ความดีจะแผ่ไปไกลหาที่สิ้นสุดไม่ได้ ไม่ต้องพูดถึงว่า คนไทยทั้งประเทศ โดยเฉพาะฝ่ายปกครอง รัฐบาล ฝ่ายเสื้อสีต่างๆ พลังนั้นจะรักษาให้สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อยู่อย่างรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี ไม่อดยาก โจรผู้ร้ายย่อมพ่ายแพ้ในที่สุด แม้โลกจะเกิดภัยพิบัติต่างๆนาๆ ก็จะไม่เกิดที่ประเทศไทย ส่วนการแก้ปัญหาโดยใช้ความรุนแรง กฎหมายที่ไม่แน่นอน ใช้อุบายที่ไม่ดีต่อกัน ล้วนเป็นการแก้ที่ไม่ถูก เอาแน่เอานอนไม่ได้ สุดท้ายก็แบ่งคนในชาติเป็นก๊กเป็นเหล่า ล้างแค้นต่อกันไม่จบไม่สิ้น ต่อไปลูกหลานในภายหน้าเพียงเกิดมาก็ต้องเกลียดกันตามพ่อแม่มันโดยไม่รู้ว่า เพียงแค่คนรุ่นนี้หากช่วยกันในทางที่ถูกก็สามารถทำให้ทำให้ชาติสงบสุขได้ คนในชาติตอนนี้ล้วนมีความรักชาติเหมือนกัน แต่ไม่ได้พิจารณาให้ดี ต่างใช้ความโกรธ ความเกลียด เข้าใส่กัน ประเทศชาติก็เลยเต็มไปด้วยความแค้น เมื่อมีความแค้น ก็ไม่สนถึงชีวิตของกันและกัน
    ดังนั้นผมจึงขอร้อง เชิญชวนให้ท่านผู้กล้าหาญ ผู้รักชาติ ทั้งหลาย ช่วยกันปฏิบัติตามสองข้อนี้ แม้ว่าคนอื่นจะไม่สนใจ แต่ถ้าเราได้ปฏิบัติตามแล้วถือเป็นความดีที่ยิ่งใหญ่ แม้ว่าเราจะเปล่งคำว่า ทรงพระเจริญ จะเรียกร้องในความดี ความสงบสุข สุดท้ายก็คือการแบ่งฝ่ายอีก เทียบไม่กับการสร้างความดีนี้ พลังความดี ความเมตตาของแต่ละคนรวมใจกัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน มารวมกับ ความดี ความเมตตาที่พระอริยเจ้า พระโพธิสัตว์ ท่านได้แผ่ให้กับประเทศชาติทุกคน บ้านเมืองจะสงบสุขในไม่ช้า หากท่านทั้งหลายผู้รักในชาติ เป็นห่วงในบ้านเมือง จะละเลยไม่ช่วยเหลือยังไง หากบรรพบุรุษท่านรู้คงนึกเสียใจมาก เพราะนับตั้งแต่อดีตก็ยอมเสียสละชีวิตต่อสู้กับข้าศึกภายนอกประเทศ เชิดชูพระพุทธศาสนาคู่กับชาติมาช้านาน หากเราไม่ตระหนัก และช่วยเหลือชาติ ถ้าจะเรียกตนเองว่า คนไทย คงจะละอายใจ
    จึงขอร่วมใจพวกท่านทั้งหลาย บอกต่อๆกันไป ยิ่งถึงรัฐบาล ถึงอดีตนายกได้ยิ่งดี หากพวกเราชาวไทยทำได้ เสียงเปล่ง ทรงพระเจิญ จะดังยิ่งกว่าทุกครั้ง ดังจนไม่มีที่สิ้นสุด
    ร่วมลงชื่อทำความดีได้ที่ ใช้หลักธรรมแก้ปัญหาชาติ | Facebook
    หลวงปู่เคยบอกว่า คนในสมัยนี้ยังมีคนดีอยู่มาก หวังว่าคือพวกท่านทั้งหลาย
    นับตั้งแต่ วันนี้ที่ 16 ตอนนี้พวกเรา(ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน)จะปฏิบัติตามสองข้อด้วยความสัตย์
    ศีล 5
    ๑. เว้นจากทำลายชีวิต
    ๒. เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
    ๓. เว้นจากประพฤติผิดในกาม
    ๔. เว้นจากพูดเท็จ
    ๕. เว้นจากของเมา คือ สุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
    พระคาถาเมตตาหลวง
    พระคาถาเมตตาหลวงบทนี้ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านมักจะใช้ภาวนาเป็นการเจริญเมตตา ไปยังสรรพสัตว์ ไม่มีประมาณ ให้หมู่มนุษย์ และเทวดา ได้รับความร่มเย็น เป็นสุขโดยทั่วถึง
    ต่อมาหลวงปู่ขาว อนาลโย แห่งวัดถ้ำกลองเพล จังหวัดอุดรธานี ได้รับถ่ายทอดไว้ และมอบให้แก่หลวงพ่อเมตตาหลวง หรือ พระญาณสิทธาจารย์ ( สิงห์ สุนทโร)แห่งวัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม อำเภอปากช่อง, จังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้เป็นบทเจริญ เมตตา แก่สรรพสัตว์ทั่วทุกทิศานุทิศ.
    อานิสงส์ พระคาถาเมตตาหลวง
    พระถาถาเมตตาหลวงนี้ เป็นการเจริญกรรมฐาน ชนิดที่มีอานิสงส์ ทำให้จิตตั้งมั่น ได้ถึงระดับ อัปนาสมาธิ คือ เมตตา กรุณา และ มุทิตา จิตสามารถตั้งมั่นได้ในระดับฌาน ๓ ส่วน อุเบกขานั้น ทำให้จิตตั้งมั่นได้ถึงฌาน ๔
    ในกรรมฐาน ๔๐ นั้น ท่านเรียกการเจริญกรรมฐานแบบนี้ว่า "พรหมวิหาร ๔ หรือ อัปปมัญญา ๔"
    อนึ่ง! การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ พระพุทธองค์ ได้ทรงแสดงอานิสงส์ไว้ว่า
    " ดูกรภุกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้ง มั่น โดยลำดับ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ
    ๑. ย่อมหลับเป็นสุข
    ๒. ย่อมตื่นเป็นสุข
    ๓. ย่อมไม่ฝันลามก
    ๔. ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย
    ๕. ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ ทั้งหลาย
    ๖. เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา
    ๗. ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกรายได้
    ๘. จิตย่อมตั้งมั่นได้โดยเร็ว
    ๙. สีหน้าย่อมผ่องใส ( วรรณะ ย่อมผ่องใส )
    ๑๐.เป็นผู้ไม่หลงใหล ทำกาละ ( สติสัมปชัญญะสมบูรณ์)
    ๑๑.เมื่อไม่แทงตลอคุณอันยิ่ง ( เมื่อยังไม่บรรลุธรรมชั้นสูง) ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
    ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวนี้ ท่านผู้ใดมีความประสงค์ ที่จะเจริญเมตตาเจโตวิมุติ ก็จงรีบเร่งลงมือ ปฎิบัติได้ตั้งแต่บัดนี้
    คำสวดเมตตาตน
    อะหัง สขิโต โหมิ.
    นิททุกโข โหมิ.
    อะเวโร โหมิ.
    อัพยาปัชโฌ โหมิ.
    ( ขอให้ข้าๆ จงถึงความสุข ขอให้ข้าๆ พ้นทุกข์ ขอให้ข้าๆ อย่าได้มีเวรภัย ขอให้ข้าๆ อย่ามีใครรังแก เบียดเบียน ข่มเหง ขอให้ข้าๆ อย่ามีความทุกข์ กาย ทุกข์ใจ ข้าๆ จะรักษาตนให้เป็นสุข
    คำสวดแผ่เมตตา

    ๑. สัพเพ สัตตา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๒. สัพเพ ปาณา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๓. สัพเพ ภูตา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๔. สัพเพ ปุคคะลา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๕. สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันโน อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๖. สัพเพ อิตถิโย อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันต
    ๗. สัพเพ ปุริสา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๘. สัพเพ อะริยา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๙. สัพเพ อะนะริยา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๑๐. สัพเพ เทวา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๑๑. สัพเพ มะนุสสา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    ๑๒. สัพเพ วินิปาติกา อเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง *
    สัตว์มีลมปราณทั้งปวง *
    ภูตผีทั้งปวง *
    บุคคลทั้งปวง *
    สัตว์ในร่างกายเราที้งปวง *
    สัตว์เพศหญิงทั้งปวง *
    สัตว์เพศชายทั้งปวง *
    สัตว์เจริญทั้งปวง *
    สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง *
    เทวดาทั้งปวง *
    สัตว์มีใจสูงทั้งปวง *
    สัตว์นรกทั้งปวง *
    * อย่าจองเวรกัน อย่าผูกพยาบาทอาฆาตกัน อย่าเบียด เบียนกัน อย่าข่มเหงรังแกกัน อย่ามีความทุกข์กายทุกข์
    ใจ จงรักษาตนให้เป็นสุขเป้นสุขเถิด
    คำสวดแผ่กรุณา
    ๑. สัพเพ สัตตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๒. สัพเพ ปาณา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๓. สัพเพ ภูตา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๔. สัพเพ ปุคคะลา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๕. สัพเพ อึตตะภาวะปริยาปันนา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๖. สัพเพ อิตถิโย สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๗. สัพเพ ปุริสา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๘. สัพเพ อะริยา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๙. สัพเพ อะนะริยา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๑๐. สัพเพ เทวา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๑๑. สัพเพ มะนุสสา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    ๑๒. สัพเพ วินิปาติกา สัพพะทุกขา ปะมุญจันตุ
    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง *
    สัตว์มีลมปราณทั้งปวง *
    ภูตผีทั้งปวง *
    บุคคลทั้งปวง *
    สัตว์ในร่างกายเราที้งปวง *
    สัตว์เพศหญิงทั้งปวง *
    สัตว์เพศชายทั้งปวง *
    สัตว์เจริญทั้งปวง *
    สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง *
    เทวดาทั้งปวง *
    สัตว์มีใจสูงทั้งปวง *
    สัตว์นรกทั้งปวง *
    * จงพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงเถิด
    คำสวดแผ่มุทิตา
    ๑. สัพเพ สัตตา *
    ๑. สัพเพ ปาณา *
    ๓. สัพเพ ภูตา *
    ๔. สัพเพ ปุคคะลา *
    ๕ สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันนา *
    ๖. สัพพา อิตถิโย *
    ๗. สัพเพ ปุริสา *
    ๘. สัพเพ อะริยา *
    ๙. สัพเพ อะนะริยา *
    ๑๐. สัพเพ เทวา *
    ๑๑. สัพเพ มะนุสสา *
    ๑๒. สัพเพ วินิปาติกา *
    * ลัทธะสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ
    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง *
    สัตว์มีลมปราณทั้งปวง *
    ภูตผีทั้งปวง *
    บุคคลทั้งปวง *
    สัตว์ในร่างกายเราที้งปวง *
    สัตว์เพศหญิงทั้งปวง *
    สัตว์เพศชายทั้งปวง *
    สัตว์เจริญทั้งปวง *
    สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง *
    เทวดาทั้งปวง *
    สัตว์มีใจสูงทั้งปวง *
    สัตว์นรกทั้งปวง *
    * อย่าวิบัติ คลาดเคลื่อนจากสมบัติ ที่ได้แล้ว
    คำสวดแผ่อุเบกขา
    ๑. สัพเพ สัตตา *
    ๑. สัพเพ ปาณา *
    ๓. สัพเพ ภูตา *
    ๔. สัพเพ ปุคคะลา *
    ๕ สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันนา *
    ๖. สัพพา อิตถิโย *
    ๗. สัพเพ ปุริสา *
    ๘. สัพเพ อะริยา *
    ๙. สัพเพ อะนะริยา *
    ๑๐. สัพเพ เทวา *
    ๑๑. สัพเพ มะนุสสา *
    ๑๒. สัพเพ วินิปาติกา *

    * กัมมัสสะกา กัมมะทายาทา กัมมะโยนี กัมมะพันธู กัมมะปฏิสะระณา ยัง กัมมัง
    กะริสสัน ติ กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา ตัสสะ ทายาทา ภาวิสสันติ




    สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง *
    สัตว์มีลมปราณทั้งปวง *
    ภูตผีทั้งปวง *
    บุคคลทั้งปวง *
    สัตว์ในร่างกายเราที้งปวง *
    สัตว์เพศหญิงทั้งปวง *
    สัตว์เพศชายทั้งปวง *
    สัตว์เจริญทั้งปวง *
    สัตว์ไม่เจริญทั้งปวง *
    เทวดาทั้งปวง *
    สัตว์มีใจสูงทั้งปวง *
    สัตว์นรกทั้งปวง *
    * มีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
    มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    มีกรรมเป็นที่พึ่ง
    ทำกรรมสิ่งใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักได้รับผลของกรรมนั้น






     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...