ร่มเงาพระพุทธศาสนาที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 เมษายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2e0b897e0b8b5e0b988e0b8a7.jpg

    พระบรมธาตุศรีจอมทองเป็นพระธาตุสำคัญองค์หนึ่งในแผ่นดินล้านนาที่แต่ละปีมีประชาชนนิยมเดินทางมากราบไหว้นมัสการเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เกิดปีชวดจะต้องมาสักการะบูชาพระบรมธาตุศรีจอมทองแห่งนี้ให้ได้เพื่อเป็นสิริมงคลตามประเพณีไหว้พระธาตุปีเกิดของชาวล้านนา

    e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2e0b897e0b8b5e0b988e0b8a7.png

    นอกเหนือจากความสำคัญในฐานะแหล่งโบราณสถานที่เป็นศูนย์รวมใจของชาวอำเภอจอมทองแล้ว ความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์และศิลปกรรมก็มีความสำคัญอย่างไม่มีที่ใดเปรียบ ตามตำนานพระบรมธาตุศรีจอมทองกล่าวไว้ว่า สมัยพระเมืองแก้ว เจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 11 แห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งครองราชย์ พ.ศ.2038 – 2068 ทรงโปรดให้พระมหาเถระฟ้าหลั่งมาสร้างวัดขึ้นที่จอมทองเพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุในปี พ.ศ.2060 โดยได้สร้างวิหารจตุรมุขและสร้างปราสาทที่บรรจุพระบรมธาตุตามแบบอุโบสถวัดมหาโพธารามเจ็ดยอด ซึ่งถือว่างานศิลปสถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุดแห่งหนึ่งในยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนาต่อมาในสมัยของพระเจ้ากาวิละ เป็นต้นมาเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ล้วนเลื่อมใสศรัทธาและได้บูรณะอุปถัมภ์องค์พระธาตุศรีจอมทองเรื่อยมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี พ.ศ.2360 สมัยของพระเจ้ามหาโสตหัตถีช้างเผือก พระองค์โปรดให้ก่อบูรณะพระวิหารและอาคารต่างๆ ในวัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นอันมาก กระทั่งในปี พ.ศ.2465 เจ้าแก้วนวรัฐกับพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในรัชกาลที่ 5 ทรงได้บูรณะซ่อมแซมวิหารที่พระเจ้าช้างเผือกสร้างขึ้นอีกครั้งหนึ่งวัดพระธาตุศรีจอมทองจึงได้ชื่อว่าเป็นวัดที่เจ้าเมืองสร้างขึ้นและเจ้าเมืองดูแลมาเกือบทุกยุคทุกสมัยจนถึงปัจจุบัน

    b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2e0b897e0b8b5e0b988e0b8a7-1.png

    วัดพระธาตุศรีจอมทองได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดพระธาตุจอมทองวรวิหาร” ตั้งอยู่บนเนินสูงซึ่งคนเมืองล้านนาเรียกว่า “ดอยจอมทอง” สูงประมาณ 10 เมตรตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ประมาณ 60 กิโลเมตร วัดนี้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ “พระบรมสารีริกธาตุเจ้าจอมทอง” ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุที่พุทธศาสนิกชนจากทุกสารทิศเดินทางมากราบไหว้บูชาซึ่งตามตำนานว่าเป็น พระทักษิณโมลีธาตุ คือพระธาตุจอมพระเศียรเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าองค์พระบรมธาตุฯ เป็นพระธาตุขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวหรือเมล็ดข้าวโพด สัญฐานกลมเกลี้ยง สีดอกพิกุลแห้งซึ่งนับว่าเป็นสีที่แปลกประหลาดเพราะเมื่อดูขณะหนึ่งเป็นสีหนึ่ง แต่เมื่อดูในอีกขณะหนึ่งก็จะเปลี่ยนสีไป

    b89ee0b8a3e0b8b0e0b89ee0b8b8e0b897e0b898e0b8a8e0b8b2e0b8aae0b899e0b8b2e0b897e0b8b5e0b988e0b8a7-2.png

    แม้แต่ผู้ที่ได้เห็นมาด้วยกันก็เห็นไม่เหมือนกัน บางคนก็เห็นเป็นสีขาว บางคนก็เห็นเป็นสีเหลือง พระบรมธาตุดังกล่าวประดิษฐานอยู่ในคูหาปราสาทภายในพระวิหารปราสาทที่ประดิษฐานพระบรมธาตุนี้สร้างโดยพระรัตนราช (พระเมืองแก้ว) มีอายุประมาณ 450 ปี รูปทรงอาคารก่อด้วยอิฐถือปูนสลักลวดลายแบบล้านนาอย่างงดงาม ปิดทองทั้งองค์ลักษณะสัณฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคล้ายพระเจดีย์ฐานกว้าง 4 เมตรสูงจากพื้นดินถึงยอด 8 เมตร ภายในปราสาทเป็นคูหามีประตูปิดเปิดได้ ตอนกลางของคูหามีแท่นสำหรับตั้งพระโกศพระบรมธาตุ ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 (เหนือ) ตรงกับวันเพ็ญวิสาขบูชา มีงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุ มีการละเล่นรื่นเริงเป็นที่สนุกสนานของชาวบ้านในวิหารของวัดพระธาตุศรีจอมทองยังมีพิพิธภัณฑ์ของเก่าที่จัดแสดงเรื่องราวในอดีตของคนเชียงใหม่ไว้ มีการนำเตียงนอนของเจ้าหลวงเชียงใหม่พร้อมด้วยเครื่องใช้ต่างๆมาจัดแสดง นอกจากนั้นยังนำเครื่องมือในการสู้รบเช่น ดาบ หอก มาจัดแสดงไว้ด้วยและยังมีพระเครื่องรุ่นเก่าหายากหากได้เดินทางมานมัสการพระบรมธาตุศรีจอมทอง นอกจากจะได้ซึมซับพลังศรัทธาของพุทธศาสนาแล้วยังได้ศึกษาความสวยงามของศิลปกรรมล้านนาที่มีอยู่อย่างมากมายในบริเวณวัดพร้อมกับชมพิพิธภัณฑ์ของเก่าล้านนาซึ่งไม่มีวัดใดจะเสมอเหมือน.

    บทความโดย : จักรพงษ์ คำบุญเรือง

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/973442
     

แชร์หน้านี้

Loading...