รู้จักเมืองพี่เมืองน้อง...ของกรุงเทพฯ

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 4 สิงหาคม 2008.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>รู้จักเมืองพี่เมืองน้อง...ของกรุงเทพฯ
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9510000091696
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>4 สิงหาคม 2551 17:19 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>กรุงเทพมหานครเมืองหลวงที่มีพี่น้องต่างแดนถึง 14 เมือง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เมืองพี่เมืองน้อง หรือ (Sister Cities) เป็นคำที่ใช้เรียกเมืองที่การเจริญสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ถ่ายทอดซึ่งกันและกัน นำสิ่งดีๆที่อีกฝ่ายหนึ่งมี มาพัฒนาต่อยอดเมืองของตนเอง หรือในบางครั้ง เมืองพี่เมืองน้อง มักจะถูกตีความไปตามลักษณะเมืองที่มีความคล้ายคลึงกัน ทางด้านศิลปวัฒนธรรมประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนสภาพสิ่งแวดล้อมของเมืองที่คล้ายคลึงกัน เราก็เรียกว่าเมืองพี่เมืองน้องได้ อย่างเช่น ปายกับวังเวียง ที่มีบรรยากาศของเมืองพักกลางทางท่ามกลางขุนเขา ลำน้ำ และสายหมอกเหมือนกัน หรืออย่าง จังหวัดยโสธรกับเมืองโยชิดะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รับการเรียกว่าเป็นเมืองคู่แฝด เพราะมีประเพณีการเล่นบั้งไฟคล้ายคลึงกัน

    ในเมืองไทยมีหลายจังหวัดที่มีการเจริญความสัมพันธ์อันดีเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองต่างๆทั่วโลก หรือเป็นเมืองพี่เมืองน้องกันเองภายในประเทศ อย่าง กรุงเทพมหานคร ที่สถาปนาเมืองพี่เมืองน้องระหว่างกทม.กับจังหวัดแพร่ ภายหลังจากที่ กรุงเทพฯได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า โดยได้รับความร่วมมือจากจังหวัดแพร่ในการอนุญาตให้พลีต้นสักทองจำนวน 6 ต้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 ที่อำเภอเด่นชัย มาทำเป็นเสาชิงช้าต้นใหม่

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ทิวทัศน์เมืองฟุกูโอกะ พี่น้องตลอดกาลของกรุงเทพฯ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หรือการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัด สุพรรณบุรีกับเมือง Courtenay ประเทศแคนาดา ความเป็นเมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับเมืองนีซ ฝรั่งเศส จังหวัดเพชรบุรี กับข้อตกลงการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่ เมืองน้องระหว่างจังหวัดเพชรบุรีกับเมืองพารามัตตาออสเตรเลีย เหล่าล้วนเป็นแบบอย่างในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและประชากรทั้งสองประเทศให้แนบแน่นยิ่งขึ้น

    ในส่วนของกรุงเทพมหานครเอง ในฐานะเป็นเมืองหลวงมหานครใหญ่ ก็ได้มีการร่วมลงนามกับเมืองต่างๆเช่นกัน โดยเมื่อ วันที่ 29-31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทางกรุงเทพมหานคร ได้จัดงาน "สัปดาห์เมืองพี่เมืองน้อง" (Sister Cities Week 2008 Friendship and Affinity Forever) ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร หลังจากที่ กรุงเทพฯได้ลงนามความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่เมืองน้องกับ 14 เมือง จาก 13 ประเทศทั่วโลกมาให้ประชาชนชาวกรุงได้รับรู้ข้อมูลของเมืองพี่เมืองน้องกรุงเทพฯ

    โดยวัตถุประสงค์ของการสถาปนาความสัมพันธ์อันดี เป็นเมืองพี่เมืองน้องกับหลายเมืองในประเทศต่างๆนั้น ทางกรุงเทพฯต้องการนำมาร่วมมือพัฒนากรุงเทพฯในด้านของสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมตลอดจนด้านอื่นๆ เพื่อที่จะสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์และการดำเนินงานที่เป็นเลิศ และนำมาประยุกต์ใช้กับกรุงเทพฯอย่างเหมาะสม

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สีสันยามค่ำคืนของกรุงโซลประเทศเกาหลีใต้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับเมืองต่างๆในทวีปเอเชีย อเมริกา และยุโรป อันจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาประชาคมโลก ไปสู่ความเจริญในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรเมืองนั้นๆ โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สำหรับทุกฝ่ายที่จะได้มีโอกาสเรียนรู้ เข้าใจวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และกระชับสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย

    สำหรับเมืองพี่เมืองน้องของกรุงเทพฯนั้น ได้แก่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา สถาปนาความสัมพันธ์กันเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2505 เพื่อต้องการการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้าน วิทยาศาสตร์ กีฬา เยาวชน และอนามัย วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การลงทุน จนถึงขณะนี้เป็นเวลากว่า 46 ปี นับเป็นคู่พี่น้องที่อยู่คู่กันมานาน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ภาพยามค่ำคืนของนครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กรุงเทพฯกับกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ผูกมิตรเมื่อ 26 พฤษภาคม 2536 ครบรอบ 14 ปีในปีนี้ และยังได้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเฉาโจว หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อของเมืองแต้จิ๋ว เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 โดยทางกรุงเทพฯและกรุงปักกิ่งรวมทั้งเมืองเฉาโจว ได้ขยายความร่วมมือระหว่างสองเมืองในด้านการคมนาคม ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และการแพทย์แผนจีน

    ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพฯและกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ได้มีการลงนามพิธีสารว่าด้วยความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2540 โดยแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวและกีฬา นอกจากความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพและกรุงมอสโกแล้ว ทางกรุงเทพยังได้เจริญความสัมพันธ์ระหว่างเมืองเซนปีเตอร์สเบิร์ก เมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซียและเป็นเมืองท่าสำคัญของรัสเซียที่มีชื่อเสียง เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 เพื่อแลกเปลี่ยนด้านการศึกษา วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หนึ่งในภาพอันสวยงามของกรุงแอสตาน่า ประเทศคาซักสถาน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กรุงเทพฯกับเมืองฟุกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น เจริญความสัมพันธ์เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและวัฒนธรรม การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการเมืองระหว่าง 2 เมือง ซึ่งการเจริญความสัมพันธ์ระหว่างสองเมืองนี้จะไม่มีวันหมดอายุ ทำให้กรุงเทพมหานครกับฟูกุโอกะเป็นเมืองพี่เมืองน้องกันตลอดไป

    ขณะนี้ทางสองเมืองก็ได้ลงนามในอนุสัญญาหรือ MOU ย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนบุคลากรเพื่อการศึกษาดูงานของเจ้าหน้าที่ในสังกัดกทม. ตลอดจนการนำผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อมหรือ SMEs ไปศึกษาดูงานที่เมืองฟุกุโอกะ ในขณะเดียวกันก็มีการแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่หรือผู้ประกอบการจากเมืองฟุกุโอกะมาศึกษาดูงานที่ประเทศไทย

    ในส่วนด้านการศึกษา ล่าสุดก็ได้มีการประสานงานกับทางสำนักการศึกษาในการแลกเปลี่ยนนักเรียนชั้นมัธยมต้นในสังกัดของกทม.กับนักเรียนจาก เมืองฟุกุโอกะ เพื่อเดินทางแลกเปลี่ยนเพื่อศึกษาเรื่องราวทางศิลปะและวัฒนธรรมของกันและกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>รูปปั้นของสองนักรบแห่งรัสเซีย ด้านหน้าวิหารเซนต์บาซิล กลางกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กรุงเทพฯกับกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2549 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันผลักดันความร่วมมือโครงการต่างๆ ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การศึกษา กีฬาและการท่องเที่ยวให้เกิดเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนเยาวชนเพื่อส่งเสริมศักยภาพของเยาวชนทั้งสองประเทศให้เท่าทันกัน

    นอกจากนี้กรุงเทพฯกับกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ก็ได้เจริญความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่เมืองน้องกันเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2547 เพื่อแลกเปลี่ยนงานด้านวางผังเมือง การค้าและการลงทุน ด้านการจราจรและการขนส่ง การพัฒนาบุคลากร และสาธารณสุข

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=250 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=250>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ประตูชัยสัญลักษณ์หนึ่งแห่งเวียงจันทน์ ประเทศลาว</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กรุงเทพฯกับกรุงมะนิลา เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ ได้สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2540 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรมตลอดจนถึงงานด้านสิ่งแวดล้อมของสองเมือง

    กรุงเทพฯกับเมืองบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เจริญความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างสองเมือง เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ตำหนักไท่เหอ สถานที่จัดพิธีสำคัญๆ ของราชสำนัก หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวภายในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> กรุงเทพฯและนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ได้เจริญความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่เมืองน้องแก่กัน เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว สาธารณสุข การศึกษา และการกำจัดขยะระหว่างกัน

    กรุงเทพฯและนครบริสเบน ประเทศออสเตรเลีย เมืองหลวงของรัฐควีนแลนด์ ได้ทำการสถาปนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันเมื่อ วันที่ 7 พฤษภาคม 2540 เพื่อแลกเปลี่ยนด้านการท่องเที่ยว การศึกษา และวัฒนธรรม ตลอดจนด้านอื่นๆระหว่างกัน

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บรรยากาศยามค่ำคืนของกรุงจาร์การ์ต้าประเทศอินโดนีเซีย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นอกจากนี้ทางกรุงเทพฯยังได้เจริญความสัมพันธ์ความสัมพันธ์กับกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองพี่เมืองน้องกัน เมื่อวันที่21 มกราคม 2545 และกรุงแอสตาน่า ประเทศคาซักสถาน มีการเจริญสัมพันธไมตรีการสถาปนาความสำคัญทวิภาคีระหว่างกัน เมื่อวันที่11มิถุนายน 2547

    และในอนาคตอันใกล้นี้ ทางกรุงเทพฯยังพร้อมขยายความสัมพันธ์เพิ่มเติมอีก 2 เมือง คือ พนมเปญ ประเทศกัมพูชา และเมืองกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วย นับเป็นรูปแบบการพัฒนาเมืองที่ดี เพราะจะได้รู้เขารู้เราไม่เสียทีประเทศไหนเมืองไหนง่ายๆ.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    ก็โอเคอ่ะนะเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญพอทัดเทียมกันได้ แต่ค่าครองชีพบุษว่าประเทศไทย กับประเทศลาวน่ะน่าจะถูกกว่าประเทศที่กล่าวมานะ แต่ประเทศลาวก็ไม่ได้ดูเหมือนเป็นเมืองใหญ่อะไร เมื่อเทียบกับเมืองต่าง ๆ ที่กล่าวมา
     

แชร์หน้านี้

Loading...