รูปเหมือนหลังใบโพธิ์ ครูบาอริยชาติ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย wasan112, 21 มีนาคม 2016.

  1. wasan112

    wasan112 เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,426
    ค่าพลัง:
    +162
    รูปเหมือนหลังใบโพธิ์ ครูบาอริยชาติ

    เหรียญหล่อฉีดครูบาอริยชาติ
    วัดแสงแก้วโพธิญาณ
    เชียงราย
    ออกแบบสวยมากเป็นเอกลักษณ์
    เนื้อเงิน สวยกริ๊บ ๆ
    รุ่นมาตราฐาน
    ครูบาอธิษฐานจิตไว้เป็นอย่างดี


    เปิดให้บูชา 1499 บาทหายากสร้างน้อย



    ประวัติครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต โดยสังเขป


    [​IMG]

    ชาตกาล

    ครูบาถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2524 ที่บ้านปิงน้อย อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นบุตรของ โยมพ่อสุข โยมแม่จำนง อุ่นต๊ะ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน 3 คน เป็นผู้ชายทั้งหมดคือ

    1. นายนิเวศน์ อุ่นต๊ะ
    2. นายนิรันดร์ อุ่นต๊ะ
    3. ครูบาอริยชาติ อริยจิตฺโต

    เมื่อแรกที่ครูบาจะถือกำเนิดนั้น ขณะที่โยมแม่ตั้งครรภ์อุ้มท้องได้ฝันประหลาดไปว่า ได้รับผ้าขาวผืนใหญ่สีขาวนวลตา เมื่อพิจารณาก็รู้สึกชอบใจยิ่งนัก เพราะผ้าผืนนั้นขาวสะอาดไร้รอยเปื้อนใด ๆ จากนั้นโยมแม่ก็สะดุ้งตื่น แล้วได้นำความฝันนี้ไปเล่าให้ผู้เฒ่าผู้แก่ฟัง ซึ่งล้วนมีแต่คนบอกว่าน่าจะเป็นนิมิตหมายที่ดี ทั้ง ๆ ที่ในตอนนั้นฐานะทางบ้านของโยมพ่อโยมแม่ก็ไม่สู้จะดีนัก เป็นชาวสวนเกษตรกร ปลูกผัก ปลูกไม้ เลี้ยงดูลูก ๆ ไปวัน ๆ

    และเมื่อบุตรชายคนสุดท้องของท่านได้ถือกำเนิด ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าแปลกที่เด็กชายผู้นี้เป็นเด็กที่มีผิวพรรณผุดผ่อง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าเด็กในวัยเดียวกัน ซึ่งโยมพ่อโยมแม่ได้ตั้งชื่อในวัยเด็กของครูบาว่า เด็กชายเก่ง ซึ่งครูบาก็เก่งสมชื่อ เพราะนอกจากมีความจำเป็นเลิศและเรียนเก่งแล้ว ยังมีอุปนิสัยเป็นผู้ที่ชอบความสงบไม่ชอบเบียดเบียนผู้ใด จนครั้งหนึ่งอายุได้ราว 7- 8 ปีเกือบต้องเสียชีวิตเนื่องจากจิตใจอันประกอบไปด้วยความเมตาต่อสรรพสัตว์คือ ในครั้งนั้นครูบาได้เห็นชาวบ้านไปดักปลาก็เกิดความสงสารจึงคิดจะไปปล่อยปลา เป็นเหตุให้พัดตกน้ำโชคดีที่พี่ชายมาเห็นเหตุการณ์จึงเข้าช่วยเหลือได้ทัน และอุปนิสัยอีกประการในช่วงวัยเด็กของครูบาก็คือ ครูบามักจะนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูปอยู่เสมอ บางครั้งก็นำไปวางไว้ตามกำแพง ร่มไม้ จนเพื่อนๆ ชอบล้อว่าอยากเป็น ตุ๊เจ้า หรือ ซึ่งครูบาก็ไม่เคยปฏิเสธหรือโกรธเพื่อน ๆ เลย

    เมื่อก่อนโยมพ่อโยมแม่ต้องหาเลี้ยงชีพอยู่ตลอดคือที่บ้านจะทำสวนทำไร่ ครูบาก็ช่วยท่านทุกอย่างชีวิตในวัยเด็กถือว่าลำบาก เลิกเรียนก็ต้องมาช่วยแม่ปลูกผัก รดน้ำ ใส่ปุ๋ย เก็บผัก ทำทุกอย่างบางครั้ง ตีหนึ่ง ตีสองต้องไปเก็บผักก็ช่วยท่านมาตลอด ที่บ้านทำสวนทำไร่ โยมแม่ก็เลยไม่ค่อยได้มีเวลาไปวัดท่านก็จะจัดสำรับให้ แล้วบอกให้ครูบาไปกับตาแทน ตาของครูบาชื่อ พ่ออุ้ยอิ่น จนครูบาสามารถสวดมนต์ไหว้พระได้ตั้งแต่เป็นเด็ก เท่าที่จำความได้สมัยเป็นเด็กอายุ 9-10 ขวบ ครูบาเป็นเด็กคนเดียวที่ไปวัด แล้วก็สามารถสวดมนต์ไหว้พระได้ตั้งแต่อายุ 11 ขวบ

    การศึกษาเล่าเรียน

    ซึ่งการที่ได้ไปวัดอย่างนี้เลยทำให้ครูบามีความผูกพันกับวัดและขณะอายุได้ 12 ปีนั้น ครูบามักจะตามพี่ชายซึ่งเป็นขโยม (เด็กวัด) ไปที่ วัดชัยชนะ จ. ลำพูน เสมอ ๆ จึงทำให้มีโอกาสได้พบกับ ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยชนะ ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ซึ่งครูบาจันทร์ติ๊บผู้นี้นับได้ว่าเป็นพระผู้เรืองในวิทยาคุณในยุคนั้น ท่านได้สืบทอดวิทยาคมมาจากครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดวังมุย นั่น เอง ครูบาจันทร์ติ๊บเมื่อได้มาเห็นลักษณะของครูบาก็มองว่ามีวาสนาในทางธรรม ท่านจึงได้สอนศีลธรรมจรรยาต่างๆ ให้ และด้วยความที่ครูบาอ่อนน้อมถ่อมตัวเป็นคนเรียบร้อยเป็นทุนเดิมอยู่แล้วทำ ให้ครูบาจันทร์ติ๊บมีความรักใคร่ในตัวครูบามาก

    [​IMG]

    ต่อมาจึงได้เริ่มสอนอักขระพื้นเมืองหรือที่เรียกว่า ตั๋วเมือง โดยท่านได้สอนพร้อมกับเด็กวัดอีกหลาย ๆ คน ซึ่งอักขระตัวเมืองคนอื่นที่เรียนเขาใช้เวลาเป็นเดือน แต่ครูบาสามารถอ่านออกได้ช่วงเวลาเพียงข้ามคืนเท่านั้น เรื่องนี้ถูกเล่าขานในกลุ่มผู้ที่ทราบเรื่องราว หนึ่งในนั้นคือ ครูบาตั๋น หรือตุ๊ลุงตั๋น ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอสารภีรูปที่ 4 และเป็นประธานศูนย์เผยแผ่พุทธศาสนา วัดหวลก๋าน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ตุ๊ลุงตั๋นท่านไม่เชื่อว่าครูบาจะสามารถเรียนตั๋วเมืองจนอ่านออกเขียนได้ใน เวลาแค่ข้ามคืนท่านจึงเดินทางมาพิสูจน์ข่าวนี้ด้วยตนเอง ปรากฏว่าครูบาสามารถอ่านออกเขียนได้ในภาษาล้านนาจริงๆ ตุ๊ลุงตั๋นรู้สึกมีความชื่นชมในตัวของครูบามาก จึงได้มอบเงินเป็นรางวัลจำนวน 1,000 บาท จากนั้นครูบาจันทร์ติ๊บก็ได้พร่ำสอนสั่งสอนถ่ายทอดวิชาการทั้งปวงให้กับครู บา และครูบาก็สามารถเรียนรู้วิชาทั้งปวงได้ในเวลารวดเร็ว สามารถลงอักขระ เลขยันต์ต่างๆ แทนครูบาผู้เป็นอาจารย์ได้ จนต่อมาครูบาจันทร์ติ๊บถึงกับเอ่ยปากพูดว่า “เด็กผู้นี้มีวาสนาทางธรรมสูงยิ่งนัก ต่อแต่นี้ไปเราขอตั้งชื่อเด็กชายผู้นี้ว่า อริยชาติ อันหมายถึง ผู้ที่มีภพชาติอันเป็นอริย นั่นเอง”

    ชีวิตในวัยเด็กครูบาเริ่มการศึกษาที่ โรงเรียนวัดชัยชนะ ต.ประตูป่า อ. เมือง จ. ลำพูน จนจบชั้นประถมศึกษา จึงได้มาเรียนต่อโรงเรียนมัธยมที่ โรงเรียนสารภีวิทยาคม ซึ่งช่วงที่เรียนอยู่ชั้น ป.6 นั้น ครูบามีความคิดอยากจะบวช ขอกับโยมแม่ว่าถ้าจบ ป.6 แล้วบวช โยมแม่บอกว่าเอาไว้ให้จบ ม.3 ก่อนแล้วค่อยบวช พอจบ ม.3 ก็คิดว่าจะได้บวชแล้ว แต่ก็ไม่ได้บวช โยมแม่บอกว่าเอาไว้ ม.6 ค่อยบวช เลยคิดว่ายังไงๆ ก็คงไม่ได้บวชแล้ว แต่พอครูบาเรียนถึงชั้น ม.4 รู้สึกมันวุ่นวาย อะไรๆ ก็วุ่นวาย ช่วงนั้นรู้สึกอยากจะบวชมากจริงๆ รู้ว่าต้องได้บวช ขอโยมแม่ๆ ก็ไม่ให้บวช เพราะครูบาเป็นความหวังของโยมแม่ เนื่องจากพี่ชายคนแรกพิการ เกิดมาได้เดือนหนึ่งก็เป็นไข้เลือดออกพาไปหาหมอ หมอก็ฉีดยาให้ร่างกายนั้นปกติดีแต่พิการ พี่ชายคนที่สองแต่งงานแล้วก็ไปอยู่ลำปาง ครูบาเป็นลูกคนสุดท้องอยู่กับโยมแม่ สมัยนั้นครูบาขอบวชโยมแม่ก็ไม่ให้บวช ท่านบอกว่า “คนขาดีมาอยู่กับกูไม่ได้พึ่งคงจะได้พึ่งคนขาไม่ดี เพราะคนขาดีมันไปกันหมดแล้ว” ซึ่งคนขาไม่ดีที่ว่าจะได้พึ่งนั้นมีอยู่คนเดียวคือโยมพี่ ทุกวันนี้เป็นจริงแล้วนะโยมแม่ก็ได้พึ่งเขาจริงๆ

    พอครูบาเรียนที่โรงเรียนสารภีจบแล้ว ก็ได้บวชเป็นสามเณรเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2541 ณ วัดชัยมงคล ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน ขณะที่มีอายุ 17 ปี โดยมี พระครูภัทรปัญญาธร วัดศรีสุพรรณ จ.ลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูไพศาลธรรมานุศิษย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์และ พระครูวัดเจดีย์ขาว เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ซึ่งวัดชัยมงคลนี้สมัยก่อนครูบาชุ่ม โพธิโก ท่านเป็นเจ้าอาวาส แต่ครูบาไม่ได้เจอท่านหรอก เพราะท่านมณภาพตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519
    ออกเดินธุดงค์ตั้งแต่เป็นสามเณร


    ซึ่งขณะที่ครูบาจำพรรษาอยู่ที่วัดชัยมงคลหรือวัดวังมุยนั้น ก็ได้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดว่าจะออกธุดงค์ในขณะที่ยังเป็นเณรอยู่นั่นเอง ที่จริงออกไปเองไม่ได้หรอก เพราะพรรษาไม่ถึง 5 พรรษา แต่ทางเหนือเขาไม่ถืออย่างธรรมยุติ ส่วนมากทางเหนือบวชเสร็จก็ไม่ได้อยู่กับพระอุปัชฌาย์อาจจะมาแต่มาแค่เยี่ยม ท่านหรืออะไร จะไม่เหมือนธรรมยุติที่บวชแล้วต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์ 5 พรรษา จะไปไหนไม่ได้ ส่วนทางเหนือพระอุปัชฌาย์ไม่ค่อยเข้มงวดเรื่องนี้ จะไปก็ไปได้ จะอยู่ก็อยู่ได้ แต่สำหรับครูบาที่ไปนั้นเพราะต้องการความสงบ จึง ได้ออกจากวัดวังมุยโดยไม่ได้บอกกล่าวหรือลาผู้ใด แม้แต่โยมแม่

    ครูบาได้ออกแสวงหาพระธรรม โดยได้เดินธุดงค์ไปทางเมืองแพร่ น่าน โดยได้เริ่มต้นเดินทางจากพิษณุโลกขึ้นมา ไปเมืองแพร่ เมืองน่าน แล้วก็ไปอยู่ที่น่าน ต้องเดินไป นอนตามป่าช้าบ้าง นอนข้างทางบ้าง ใหม่ ๆ ก็กลัวเหมือนกัน เพราะอะไร เพราะพอนอนลงปุ๊บ ได้ยินเสียงคนเดินแล้ว ตอนนั้นครูบาอายุ 16-17 เอง ยังเด็กอยู่เลยน่ากลัวมาก นอนไม่หลับ ต้องลุกขึ้นมาจุดเทียนแล้วนั่งอยู่ในกลด ตอนที่นั่งก็ได้ยินเสียงคนเดินซวบซาบ ๆ แล้วมาหยุดตรงหน้าเรา แล้วก้มมองเรา พอเราลืมตาดูก็ไม่เห็นอะไรสักอย่าง พอหลับตาปุ๊บเขาก็เดินกลับ

    ซึ่งพอผ่านมาเยอะก็กลัวบ้างไม่กลัวบ้างเพราะเข้มแข็งแล้ว อยู่ป่าช้าก็เห็นนั่นเห็นนี่ ช่วงที่เดินไปเพื่อจะไปไหว้พระธาตุแช่แห้ง ครูบาก็ไม่รู้เส้นทาง เขาบอกทางหมื่นเส้น เขาเขียนว่าแม่จริม ครูบาก็เดินไป จะไปพักที่นั่น เดินไปเจอพระอีกชุดหนึ่งท่านถามว่า ”จะไปไหน” ครูบาก็บอกว่า “จะไปแม่จริม” ท่านก็บอกว่า “ไปแม่จริมเหรอ แต่นี่มันจะออกลาวแล้วนะ ไปไม่ได้อีกแล้ว” ท่านก็ชวนให้ไปพักกับท่าน

    ครูบาก็ไปพักอยู่ที่ป่าช้าวัดดงน้ำใส สมัยนั้นเคยได้ยินเกี่ยวกับ พระบาทผาม่าน ครูบาก็อยากไป อยากเห็นพระบาทที่อยู่บนเขา อยู่ที่อ.เชียงกลาง ก็มีคนไปส่งไว้ที่ตีนเขา แล้วครูบาก็เดินขึ้นไปองค์เดียว ขึ้นไปถึงข้างบนพระบาทระยะทางประมาณ 7-8 กิโล เดินเท่าขึ้นไป ก็ไปอยู่บนเขาองค์เดียว ไม่มีบ้านคนเลย ไปอยู่ได้สักพักก็มีชาวบ้านขึ้นมา เพราะคนที่ส่งครูบาไว้ตีนเขา เขาบอกชาวบ้านข้างล่างไว้ว่ามีพระขึ้นไปให้ดูแลหน่อย เดินขึ้นไปนี่ใช้เวลาเกือบครึ่งวันยังไม่ถึงยอดพระบาทเลย จนเย็นวันนั้นก็มองเห็นธงที่ปักอยู่บนพระบาท แต่ไม่รู้ทางขึ้นซึ่งข้างบนนั้นมีกุฏิมุงหญ้าคาอยู่ 2-3 หลังไม่มีฝา ก็ไปนั่งสมาธิ สวดมนต์ภาวนาบนนั้น ก่อนที่จะพักก็ไปหาทางขึ้นพระบาท เดินหายังไงก็หาไม่เจอ เลยไม่ได้ขึ้น และก็พักอยู่ตรงนั้น คืนหนึ่งก็มีคนแก่คนหนึ่งที่รู้ว่าครูบาขึ้นไปอยู่ก็ขึ้นไปถวายอาหาร ครูบาเดินตั้งครึ่งวันกว่าจะไปถึงข้างบน ยังไม่ถึงยอดเลย แต่คนแก่เดินมาไม่ถึง 2 ชั่วโมงมาถวายอาหาร มาถึงปุ๊บ ครูบายังไม่ได้ออกจากที่พักเลย ได้ยินเสียงหักไม้ แล้วก็เห็นคนใส่หมวกและถือปืนมาด้วย ก็นึกว่าเขามาล่าสัตว์ มาอะไร ก็ไม่กล้าออกไป สักพักเขาเดินมาหาครูบาแล้วก็มอง ๆ เสร็จแล้วก็เดินไป ครูบาคิดว่าเขาคงมาหาเรา ก็เลยตะโกนเรียก “ลุง...ลุง...ลุง” เขาก็ไม่ตอบ คนที่ขึ้นมาถวายอาหารเขาก็บอกว่าแกหูไม่ดี ซึ่งอาหารที่เขานำมาถวายก็มีน้ำพริกกับไก่ พอฉันเสร็จก็ถามทางขึ้นพระบาท เพราะเมื่อวานเดินหาจนจดเย็นก็ไม่เจอ แล้วทางขึ้นนั้นก็อยู่หลังกุฏินั่นแหละ แต่เพราะเป็นหน้าหนาวใบไม้หล่นทับทาง ครูบาก็กวาดๆ ใบไม้แล้วขึ้นไปไหว้พระบาท

    ครูบาก็ได้ธุดงค์อยู่ที่จังหวัดน่านนานถึง 8 เดือน และใช้ชีวิตแบบพระธุดงค์ไม่มีผิด คือจะนอนอยู่ตามป่าช้าเป็นวัตร เริ่มแรกครูบาก็มีความขลาดกลัวอยู่เหมือนกัน แต่ด้วยจิตใจอันยึดมันเด็ดเดี่ยว สุดท้ายก็ได้อธิฐานต่อเทวดาฟ้าดินว่า “หากชีวิตนี้จะสิ้นลงก็ขอสิ้นในธงชัยของพระพุทธเจ้า”

    เมื่ออธิษฐานเสร็จความขลาดกลัวก็หายไปจิตใจยอมมีความสงบมั่นใจขึ้น มีอยู่หลายครั้งหลายคราวที่ถูกลองใจจากเจ้าที่เจ้าทางแต่ก็ผ่านพ้นมาได้ เมื่อยามอยู่ตามลำพังก็ยิ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัดถึงขั้นอดอาหารฉันแต่น้ำ กระทำทุกข์ เพื่อดูจิตอยู่ได้ถึง 12 วัน ก็ล้มป่วยอาพาธหนักจนชาวบ้านมาพบเข้าแล้วนำไปรักษาพยาบาลจนอาการดีขึ้น


    เมื่อปล่อยวางก็ไม่ทุกข์


    ซึ่งช่วงที่อยู่บนพระบาทนี่แหละที่คนมานิมนต์ โดยเขาบอกว่า “อาจารย์มานิตย์” วัดบ้านตึ๊ด ให้มานิมนต์ครูบาไปช่วยสร้างวัด”

    ก็เลยได้ลงมาอยู่วัดบ้านตึ๊ด มาช่วยอาจารย์มานิตย์สร้างวัด อาจารย์มานิตย์ท่านเป็นจอมขมังเวทย์สมัยนั้นท่านเก่งมาก ใครที่มาหาท่าน ท่านทำให้เป็นผีได้เลย ไม่รู้ท่านทำได้อย่างไร สมัยนั้นครูบาก็ไม่ได้ศรัทธานะ เพราะไม่เคยเจอแบบนั้น คือใครมาปุ๊บท่านทำให้เป็นผีได้เลย ท่านเอาด้ายสายสิญจน์ผูกคอแล้วเอาไม้ตี พอตื่นขึ้นมากลายเป็นผีเลย เมื่อกี้ถามชื่ออีกชื่อหนึ่ง พอผูกด้ายสายสิญจน์แล้วเอาไม้เคาะปุ๊บเปลี่ยนชื่อแล้ว ก็แปลกเหมือนกัน ท่านเก่งเรื่องไล่ผี ก็อยู่กับท่านได้ระยะหนึ่ง

    หลังจากนั้นก็ไปอยู่ที่ไร่นิทรากรกับอาจารย์ปื๊ด หลังเกษตรน่าน อาจารย์ปื๊ดท่านสอนเรื่องธรรมะ ท่านสอนให้ปล่อยวาง ชึ่งเรื่องปล่อยวางนี้ครูบาก็เข้าใจนะ แต่ไม่สามารถเข้าถึงที่ท่านสอน คือท่านสอนให้เข้าใจ ท่านสอนในแนวของ ท่านพุทธทาส ตื่นตี 4 เดินจงกรมก่อนแล้วเดินทั้งวัน เดินไปเดินมา เดินเสร็จก็มานั่ง นั่งเสร็จก็เดินต่อ ฉันเสร็จก็เดิน กิจวัตรมีแค่นี้ คือเดินจงกรมกับนั่งสมาธิ ท่านเป็นคนที่เก่งสามารถรู้จิตของเรา แล้วครูบาเป็นคนที่มีทิฐิรู้มาก ท่านก็เลยล้างทิฐิเรา ตอนแรกโยมพามาอยู่กับท่าน คือจะมาอาศัยพัก พอตอนเย็นก็มาคุยกับท่าน คุยไปคุยมาท่านด่าเลย เหมือนหลอกด่าเรา ตอนนั้นครูบายังเด็กอยู่ก็ร้องไห้กะว่าจะไม่อยู่แล้ว พอตื่นมาตอนเช้าโดนด่าอีกแล้ว ก็ร้องไห้อีก วันที่ 3 ก็โดนด่าอีก แต่ท่านจะสอนนะเวลาที่ท่านด่า คือท่านจะบอกว่า “จะโกรธทำไม มันไม่มีอะไร ถ้าเรายึดมันถือมั่น เราก็ทุกข์เอง”

    คือมันก็ไม่มีอะไรจริงๆ นะ แต่ครูบาไปยึดเองมันก็ทุกข์เอง วันที่ 3-4 คิดว่าเป็นเรื่องธรรมดาไม่มีอะไร ก็เลยไม่ร้องไห้ แล้วก็อยู่กับท่านมาได้ตลอด มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านพูดแบบนี้แหละ คือครูบานั่งสมาธิอยู่แล้วท่านพูดลอยๆ ขึ้นมาว่า “พระองค์นี้ดื้อ” ตอนนั้นโยมอยู่เต็มเลย ครูบาก็คิดว่า “โอ้โห อยู่ด้วยกันไม่ได้ล่ะ วันนี้ด่ากันต่อหน้าญาติโยมเยอะแยะเลย”

    เที่ยงคืนคืนนั้นครูบาก็เลยออกจากไร่นิทรากรแบกกรดแบกบาตรออกไป ก็ออกไปได้แค่กิโลครึ่ง ไปอยู่หน้าป่าช้าจีน ก็มานั่งคิดว่าเราหนีทำไมนี่ เพราะเราไม่ปล่อยวาง เราไม่ปลง ท่านพูดก็ไม่มีอะไร เราไปยึด เราก็เป็นทุกข์ ขี้เหล้ากินเหล้า กินเสร็จแล้วด่าเรา ด่าเราเสร็จ กลับไปก็หลับ แต่เรานอนไม่หลับ คิดหาแต่คำด่ามัน คิดไปคิดมามันหลับแล้ว แต่เรายังไม่ได้หลับเลย ไม่คิดก็ไม่มีอะไรสักอย่าง คิดก็มีอยู่ตรงนั้น พอคิดได้อย่างนี้ครูบาก็เดินกลับ ระยะทางประมาณกิโลกว่า ตอนไป ไปได้อย่างไรก็ไม่รู้ ไม่กลัวผีเลย แต่ตอนกลับมากลัวผีมาก ก็แปลกเหมือนกัน พอกลับมาอยู่กับท่าน ท่านก็ไปอยู่กรุงเทพฯ ให้ครูบาดูแลสำนัก ท่านสอนดี ทำให้เราปล่อยวาง ครูบาเพิ่งมาเข้าใจที่ท่านสอนตอนอายุได้ 26 ปี ผ่านมาอีกหลายปี เพิ่งมาเข้าใจ เข้าใจเรื่องการปล่อยวาง สมัยก่อนครูบาจะทุกข์กับเรื่องเหล่านี้ ทุกวันนี้จะไม่ค่อยทุกข์กับเรื่องพวกนี้แล้ว ถือว่าเป็นธรรมดา ถ้าเราปล่อยวางก็ทำให้เราเป็นอิสระ ไม่ต้องไปทุกข์กับสิ่งนั้นสิ่งนี้ ครูบาใช้คำนี้ คือ รู้เฉย ๆ แต่เราก็พิจารณาตลอดทุกครั้ง เราเข้าใจนะ แต่ไม่เข้าถึงตอนอายุ 26 ครูบาเริ่มเข้าถึง คำว่า เข้าถึง หมาย ถึงยังไงครูบารู้แล้ว และสามารถปล่อยวางได้ ไม่ผูกติด ไม่พันธนาการ ไม่เป็นทุกข์ คำว่ารู้เฉยๆ ก็คือ รู้แล้วก็ปล่อย เหมือนกับเราฝึกสติ มันเป็นยังไง รู้แล้วก็ปล่อย รู้แล้วก็วาง เหมือนกับแขกมาบ้านเราก็ต้อนรับอย่างดี เลี้ยงอย่างดี จัดที่พักที่นอนให้ แขกมาเขาก็มีความสุข มาแล้วสบายใจเพราะเราต้อนรับดี วันหน้าแขกก็ต้องมาอีกเหมือนเราไปพักโรงแรม โรงแรมเขาต้อนรับดี บริการดี วันหลังเราก็อยากจะไปพักอีก แต่ถ้าเราไปแล้วเขาไม่ต้อนรับ ไล่ด้วย ไล่เตะไล่ตี วันนี้ไปโดนไล่ พรุ่งนี้ไปก็โดนไล่ วันหลังก็ไม่กล้าไป

    ซึ่งจิตคนก็เหมือนกัน อารมณ์ใดๆ เข้ามาปุ๊บ เรารู้ว่ามันเข้ามา อย่างรู้ว่าตอนนี้โกรธเข้ามา ครูบาต้อนรับมัน เลี้ยงมันอย่างดี วันนี้โกรธ พรุ่งนี้โกรธ วันต่อไปนี้ก็ต้องโกรธ จริงไหม แต่วันนี้ถ้ารู้ว่าโกรธ ไม่ต้อนรับมัน โกรธทำไม โกรธไปก็เป็นทุกข์ ไม่โกรธดีกว่า เราพยายามทำแบบนั้นไม่ต้อนรับมัน วันหลังมันไม่มา อารมณ์โกรธก็ไม่มี วันนี้คิดมาก เครียด เราเครียดทำไม ถ้าเราต้อนรับมัน เรามานั่งเครียด เลี้ยงมัน โอ้โห! พอมันมาเครียดตลอดเลย เดี๋ยวก็เครียด พรุ่งนี้ก็เครียด วันต่อไปก็เครียด จริงนะ วันนี้ขี้โมโห พรุ่งนี้ก็ขี้โมโห แต่ถ้าวันนี้โมโหแล้วเราสามารถดับมันได้ ทำให้มันบรรเทาเบาบางได้ วันต่อไปมันก็บรรเทาเบาบาง มันก็หายไป นี่คือการปล่อยวางคือรู้แล้วก็เฉย รู้แล้วก็ปล่อย รู้แล้วก็วาง รู้แล้วไม่ต้องไปยึดติดกับมัน

    อย่างที่ครูบาว่า ขี้เหล้ากินเหล้าแล้วก็ด่าเรา ด่าเสร็จก็กลับไปหลับเสีย แต่เรานอนไม่หลับ คิดถึงแต่คำด่าของมัน คิดไปคิดมามันกรนแล้ว มันหลับแล้ว มันสบายแล้ว แต่เรายังไม่ได้หลับเลย พลิกไปพลิกมาร้อยรอบพันรอบ ซึ่งถ้าไม่คิดก็ไม่มีอะไร แต่ถ้าเราคิดมันก็มีอยู่แต่ตรงนั้น เอาออกก็เบา เอาเข้าก็หนัก ยิ่งออกก็ยิ่งเบา ยิ่งเข้าก็ยิ่งหนัก แบกก็เยอะก็หนักเยอะ แบกน้อยก็หนักน้อย ไม่แบกก็ไม่หนัก ยิ่งแบกก็ยิ่งหนัก ยิ่งแบกก็ยิ่งทุกข์ ไม่แบกก็ไม่ทุกข์
    เกิดความกลัวเพราะหลอกตัวเอง

    ตอนที่ครูบาธุดงค์ก็ได้เจอหลายอย่าง เจอสัมภเวสี เจอวิญญาณเร่ร่อน อย่างไปนอนป่าช้าเจอคนท้อง ก็เล่าให้คนแถวนั้นฟังเขาก็บอกว่ามีจริง เขาก็บอกให้พ่อแม่ญาติพี่น้องของคนๆนั้นไปทำบุญ มันเหมือนการฝึกจิตใจ บางครั้งก็มีทั้งของจริงบ้าง ของหลอกบ้าง ตอนที่อยู่ไร่นิทรากร ตอนนั้นครูบาไปไหนมาไม่รู้กลับดึกแล้วจะเข้ากุฏิ จะเปิดประตูก็กลัวเสียงมันดัง กลัวว่าอาจารย์ปื๊ดจะตื่น ก็เลยเดินจากหน้ากุฏิไปศาลาที่อยู่หน้าโรงครัว ซึ่งมีตั่งอยู่ตัวหนึ่ง ครูบาก็เลยนอนตรงนั้น ประมาณเที่ยงคืนกว่า จะว่าเพลียก็ไม่ใช่ จะว่าผีอำก็ไม่ใช่ เพราะนอนตะแคง ได้ยินเสียงตอนแรกก็นึกว่าเป็นอาจารย์ปื๊ด ครูบาคิดว่าเป็นเพราะเราทำเสียงดังท่านคงได้ยินเลยออกมาดู มายืนส่องๆ ดูสักพักก็เดินหายไป ลักษณะสะพานปืน ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ใส่รองเท้าเหมือนทหาร มีไฟฉายติดอยู่บนหัวด้วย ใส่แบบนั้นเลย เดินผ่านต้นสักประมาณ 4 ต้นก็หายไป อาตมานอนตะแคงมองอยู่ตกใจ ลุกขั้นเดินไปหาที่ต้นสัก 4 ต้นนั้นก็ไม่เจอ โอ้โห! ครูบาย้ายที่เลย ตอนนั้นยังเป็นเณรอยู่ด้วย รุ่งขึ้นก็กรวดน้ำแผ่เมตตาไปให้

    พออีกวันเกิดไฟไหม้ป่ามาจนถึงเขตที่ครูบาพักอยู่ มีกระต่ายป่า สัตว์ป่า หนีกันหมดเลย ครูบาก็คิดว่าคงเป็นเจ้ากรรมนายเวรที่ตามมาเอาชีวิตสัตว์พวกนี้ ตอนตายคงตายด้วยจิตที่กำลังล่าสัตว์อยู่ อีกสมัยหนึ่งเรื่องที่เจอบางครั้งเป็นสิ่งที่เราหลอกตัวเอง ต้องพิจารณาว่าเป็นจริงหรือหลอก ช่วงที่ครูบาเดินธุดงค์ไปนาน้อย เดินไปถ้ำบัวตอง พอถึงปุ๊บก็เป็นเวลาเย็นแล้ว เป็นถ้ำใหญ่แล้วก็เล็ก เล็กแล้วก็ใหญ่ มีอยู่ 3 ช่วง ลอดเข้าไป 3 ครั้ง ตอนนั้นสนใจเรื่องเหล็กไหล ไปถึงก็มีศาลาเล็กๆ อยู่หลังหนึ่ง มีพระรูปหนึ่ง พระรูปนี้เขาบอกว่าเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อดาบส แต่ท่านเป็นโรคสะเก็ดเงิน ตอนที่ไปถึงนั้นก็ค่ำแล้วจะกลับก็ไม่ทัน ก็เลยขอพักกับท่าน วันนั้นท่านเอาน้ำมันมาทาตัว แล้วก็เอามีดขูดผิว แดงทั้งตัวเลย ครูบาก็ไปนั่งคุยกับท่านๆ ก็ถามว่ามาจากไหน มีของดีอะไรบ้าง อะไรที่เป็นของดีท่านขอไปหมดเลย มีเท่าไหร่ขอหมด เสร็จแล้วท่านก็ขูดผิวอีก ขูดได้สักพักก็ลุกจากตรงนั้น ไปชงโอวันตินมาให้ครูบา มือก็ไม่ล้างนะ ชงเสร็จท่านก็เอามาให้ ครูบาถือแก้วน้ำอยู่ ท่านก็ยื่นให้ แล้วบอกว่า “เอ้า ! กินซะ”

    ครูบาก็บอกท่านว่าไม่เป็นไร กลิ่นน้ำมันนี่โชยเลย ครูบาก็ถือไว้ ท่านก็ดันมือบอกให้กินซะๆ ใจหนึ่งก็คิดว่าท่านจะเอาอะไรใส่ลงไปหรือเปล่า เราไม่กินก็บังคับให้กิน พอท่านก้มหน้าลงครูบาก็เลยแอบเททิ้งครึ่งหนึ่ง คืนนั้นครูบาก็พักที่ศาลา หลวงพ่อก็พักที่กุฏิ ท่านอยู่องค์เดียว เปิดวิทยุไว้ทั้งคืน เพราะอยู่ไกลบ้านคนด้วย พอ 1 ทุ่ม ท่านก็เดิมมาถามว่า “เณรหลับหรือยัง” “ยังไม่หลับครับหลวงพ่อ”

    2 ทุ่มมาอีก “เณรหลับยัง”
    3 ทุ่มมาอีกแล้ว “เณรหลับยัง”

    มาทีไรครูบาก็ตอบว่ายังไม่หลับๆ ทำให้นึกถึงนิทานทางเหนือเรื่องเสือสมิงตอนที่ถามว่าหลับหรือยังๆ ถ้าหลับแล้วจะมากิน โอ้โห! ตอนนั้นเณรก็คิดแบบนั้นนะ ลุกขึ้นมาเสกคาถาวัวธนู เอาก้อนหินมาทำเป็นธนูไว้ 4 ทิศเสกคาถาแล้วก็นอน ช่วงเที่ยงคืนตี 1 ลมพัดเพราะอยู่ในเขา มีเสียงดังบึ้มตุ๊บบนหลังคาเสกคาถาทุกด้านแต่ลืมด้านบน สงสัยจะมาข้างบนก็นอนไม่หลับ เหงื่อแตกพลั่กๆ ผ้าเปียกหมดเลย ผ้าหนักประมาณ 3-4 กิโล ตี 2 เอาอีกแล้ว ได้หลับตอน 6 โมงเช้า พอสัก 7 โมงหลวงพ่อมาเรียก “เณรๆ ตื่น จะออกไปข้างนอกจะไปไหม”
    ครูบาก็ออกมา เห็นมีต้นมะม่วงที่อยู่บนเขา กิ่งมันเลยออกมาอยู่ที่เราพัก แล้วศาลาที่เราพักนั้นหลังคาก็เป็นสังกะสี มะม่วงหล่นมาตกใส่หลังคาสังกะสีตอนเที่ยงคืนตี 1 แล้วอีกข้างเป็นหน้าผา หน้าถ้ำมันสะท้อน โอ้โห! นี่เราหลอกตัวเองหรือนี่ ฝึกแบบนี้แหละ จนรู้ว่าอันไหนจริงอันไหนหลอก บางครั้งก็มีจริงบ้างมีหลอกบ้าง เจอหลายอย่าง ก็เป็นการฝึกจิตใจให้เข้มแข็ง

    สมัยหนึ่งครูบาเดินขึ้นเขาแล้วหลง ทางเป็นดินแดง เป็นหลุมเป็นบ่อ มีแต่ฝุ่น แล้ววันนั้นฝนตก เดินไปแล้วทางมันขาด โชคดีที่กิ่งไผ่เกี่ยวสายบาตรเอาไว้ ไม่อย่างนั้นก็คงตกลงไป นี่บาตรช่วยไว้


    กลับบ้านเพราะโดนหลอก

    สมัยที่ครูบาอยู่ที่ไร่นิทรากรนั้น ครูบาไม่ได้ส่งข่าวถึงทางบ้านเลย ประมาณ 8 เดือนช่วงนั้นได้ข่าวว่าโยมแม่ป่วย ก็เลยกลับบ้านที่ลำพูน คือตอนนั้นครูบากำลังปลงผมอยู่ ปลงได้ครึ่งหัวล่ะ มีคนมาบอกว่าโยมแม่ป่วยหนักตอนนี้นอนอยู่โรงพยาบาลหลายวันแล้ว จะเป็นจะตายยังไม่รู้เลย ให้กลับบ้านด่วน รู้สึกปลงผมครั้งนั้นหัวมีแต่เลือด รู้สึกใจคอไม่ค่อยดีเลย จากนั้นครูบาก็เข้าไปในตัวเมืองน่าน โยมก็ให้เอารถกลับมาที่บ้าน มาถึงบ้านปุ๊บโยมแม่ไม่ได้เป็นอะไร อยู่สบายดี คือหลอกให้กลับบ้านไม่งั้นไม่กลับ ครั้งนั้นเขาก็เลยขอให้ครูบาเรียนก็เลยต้องกลับมาเรียนหนังสือ สมัยนั้นมาเรียนอยู่ที่ วัดพระธาตุหริภุญชัย อีก 2 ปี สอบได้ประโยค 1, 2 และนักธรรมโท

    ซึ่งจังหวัดน่านนี่เองครูบาได้มาเจอบุคคลสำคัญอยู่ 2 ท่านคือ แม่หลวงแก้ว และ แม่หลวงตอง ผู้ซึ่งในอดีตเคยเป็นคนใกล้ชิดกับเจ้าเมืองน่าน ซึ่งแม่หลวงทั้ง 2 คนนี้ ในอดีตเคยมาช่วย ครูบาศรีวิชัย สร้างทางขึ้นดอยสุเทพในปี พ.ศ. 2477 เมื่อแม่หลวงทั้ง 2 มาเจอครูบา ท่านก็ได้ทักขึ้นว่า “เณรเป็นผู้มีบุญนะ ท่านมีลักษณะคล้ายกับครูบาศรีวิชัย ต่อไปขอให้รักษาตัวไว้ให้ดี เพราะจะเจริญรุ่งเรืองในทางศาสนา”

    และแม่หลวงทั้ง 2 นี้เองที่ได้เรียกครูบาว่า ครูบาน้อย เป็นคนแรก จนต่อมาชาวบ้านต่างก็เรียกว่า ครูบาตามแบบอย่างของแม่หลวงทั้ง 2 พอมาอยู่ลำพูนเขาก็เรียกหลวงพ่อเณรบ้าง ครูบาน้อยบ้าง คือตอนนั้นยังเป็นเณรอยู่ อายุประมาณ 17-18 ปี
    ศึกษาวิชากับครูบาอาจารย์ต่างๆ

    [​IMG]

    เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ครูบาก็มีความเคร่งครัดของวัตรปฏิบัติ โดยพยายามศึกษาจาก ครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆ และได้ศึกษาพระธรรมวินัยจนมีความกระจ่าง ในขณะนั้นหากครูบาทราบว่ามีครูบาอาจารย์ดีอยู่ในที่ใด เป็นอันต้องไปกราบขอฝากตัวเป็นศิษย์และปฏิบัติตามรอยครูบาอาจารย์อย่างเคร่ง ครัด ซึ่งครูบาอาจารย์ที่สอนก็มี ครูบาจันทร์ติ๊บ ญาณวิลาโส ท่านสอนกาสะท้อน สมัยที่อยู่ลำพูน วัดวังมุยซึ่งตำราของวัดวังมุย สมัย ครูบาชุ่ม โพธิโก ก็คือกาสะท้อน ครูบาจันทร์ติ๊บท่านก็ทำกาสะท้อนให้ครูบาชุ่ม สมัยก่อนครูบาชุ่มท่านดังแต่ท่านไม่มีเวลามานั่งทำหรอก เหมือนครั้งที่ครูบาเดินทางไปกรุงเทพฯ ก็ต้องเอาไปด้วยเป็นพันๆ ลูกเพราะมันปั้นยาก เรียนกาสะท้อน ลงเสื้อยันต์ เรียนอักขระล้านนา เรียนจารยันต์ แม้แต่ตอนที่ท่านมรณภาพ วัตถุมงคลแจกในงานศพท่าน ครูบาก็เป็นคนทำหมดเลย

    แล้วก็มี ครูบาบุญสม สิริวิชโย ท่านเป็นลูกศิษย์ของ ครูบาชุ่ม โพธิโก แล้วก็มี ครูบาอินตา วัดห้วยไซ สมัยก่อนตอนเป็นเณรจะชอบคาถาอาคม อะไรที่เป็นคาถาอาคมครูบาจะชอบมาก ไปเรียนกับครูบาวัดห้วยไซ เรียนยันต์ตะกรุด เรียนยันต์เก้ากลุ่ม เรียนใส่ตะกรุดเข้าตา สาริกาเข้าตา สมัยหนึ่งเคยไปใส่ที่กรุงเทพฯ เป็นตะกรุดที่ใส่เข้าไปแล้วจะไม่เคืองไม่อะไร แต่ถ้าเกิน 7 วันไปจะไม่อยู่แล้ว จะเข้าไปในตาแล้วจะหายไปเอง มีทองคำดอกหนึ่ง ข้างหนึ่งเงิน ข้างหนึ่งทอง เขาเรียกสาริกาเข้าตา ใส่ให้คนเมตตา ขอความช่วยเหลือ ติดต่อเจรจาเป็นวิชาของครูบาอินตา แล้วก็ ครูบาชัยวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม ซึ่งส่วนมากจะเป็นแนวกรรมฐาน สมัยที่ครูบาอายุได้ 21 ปี ก็ได้ไปพบท่าน

    ช่วงเป็นเณรครูบาชอบคาถาอาคม แต่พอบวชเป็นพระก็เริมศึกษากรรมฐาน นำคำสอนของ อาจารย์ปื๊ด มาพิจารณาบ้าง แล้วก็ถามหาครูบาอินตา วัดวังทองบ้าง ทุกวันนี้ท่านก็ยังมีชีวิตอยู่ อายุ 100 กว่าปีล่ะมั้ง แต่ท่านยังแข็งแรงแล้วก็ หลวงพ่อทอง ซึ่งครูบายังไม่เคยได้เจอท่านอาจจะเจอกันในฌาน ท่านชอบให้ลูกศิษย์มาขอกาสะท้อนกับครูบา พอได้ไปแล้วท่านก็ไปผูกไว้ที่หัวเตียง ท่านบอกว่ากันของกันอะไรได้ ก็ได้เจอกันเพราะกาสะท้อน จนกระทั่งเจอตัวจริงตอนไปที่โรงพยาบาล

    แล้วอย่าง ครูบาเทือง นาถสีโล เหมือนกับเราได้ไปสนทนาเรียนกรรมฐานกับท่าน เวลาติดขัดอะไรครูบาก็จะไปถาม เจอองค์นั้นบ้างองค์นี้บ้าง เคยไปเรียนโหราศาสตร์แต่ไม่ได้ใช้ก็ลืมไปหมดแล้ว และยังมีอีกหลายองค์ ส่วนมากจะนับถือมากกว่า เวลาติดขัดสงสัยอะไรก็จะซักถามท่าน อย่างท่านเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร ครูบาสนิทและนับถือท่าน เวลามีการมีงานก็นิมนต์ท่านมาช่วยตลอด แล้วก็ ครูบาจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง อ. หางดง องค์นี้นิ่งมาก เหมือนพระอรหันต์เลย นิ่งสนิท ยอมรับเลยว่าสุดยอด ท่านอายุ 90 กว่าปีแล้ว จะเหมือนกับครูบาอินตา แต่เรื่องความเย็นนี้ ครูบาจันทร์แก้วจะเย็นกว่าเพราะครูบาอินตาจะออกทางฤทธิ์มากกว่า และ ครูบาดวงดี ท่านเป็นลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย เหมือนกับสืบสายมา เจอกันคืนเดียวให้ธรรมะให้ความรู้ ก็ถือว่าเป็นศิษย์ได้ อย่าง ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล และก็ ครูบาน้อย ไปอยู่กับครูบาศรีวิชัยแค่ 2 เดือน ก็เป็นลูกศิษย์ของครูบาศรีวิชัย ไปช่วยท่านสร้างทาง แล้วก็ไปเรียนกับครูบาชุ่ม เพราะตำราของครูบากับตำราที่ออกจากวัดศรีดอยมูลนี้เป็นตำราเดียวกัน ยันต์บางอย่างก็อันเดียวกันเลย

    ซึ่งครูบาชุ่มท่านเป็นพระเมตามาก ท่านจะยกพระทุกรูปเลย องค์นี้ดีนะ ปฏิบัติดี เหมือนกับส่งเสริม อย่าง หลวงพ่อชิด วัดพระธาตุจอมกิตติ ท่านบอกลูกศิษย์ว่า ครูบาชุ่มนี้เป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบารมีมาเยอะแล้ว ลูกศิษย์ก็มากันหลายคนเลย เราก็ไม่รู้ แต่ลูกศิษย์เอามาเล่าให้ฟัง กับหลวงพ่อชิดเคยเจอกันครั้งเดียวท่านอยากเห็นก็เลยมาเจอที่วัด ได้ยินแต่ชื่อนานแล้ว อยากเจอ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ก็ได้มาเจอกันที่วัดนี้ ท่านก็บบอกว่าอยากเจอมานานแล้ว


    การเข้านิโรธกรรม

    [​IMG]

    ครูบาได้ปฏิบัติตามแบบโบราณจารย์ในสายครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาในสมัย ครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดวังมุยยังมีชีวิตอยู่นั้น สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ครูบาชุ่ม จะปฏิบัติคือ การเข้านิโรธสมาบัติ ซึ่งได้กระทำตามแบบอย่างของนักบุญแห่งล้านนา ครูบาศรีวิชัย ซึ่งในเวลาต่อมาครูบาได้พบ ตำราปั๊บสา ซึ่งเป็นบันทึกการเข้านิโรธกรรมของครูบาชุ่มที่คัดลอกมาจากครูบาศรีวิชัย อันมีใจความสำคัญในบันทึกการปฏิบัติ โดยเน้น ธุดงควัตร 13 และการเข้านิโรธกรรมที่ไม่เหมือนผู้ใด คือเป็นการทำแบบลำบาก ซึ่งครูบาได้ตั้งสัจจะอธิษฐานเอาไว้ว่า ในชาตินี้จะขอกระทำนิโรธกรรมเพียง 9 ครั้งซึ่งนับถึงปัจจุบันครูบาได้กระทำนิโรธกรรมมาแล้ว 8 ครั้ง และได้กระทำโดยไม่ซ้ำที่ และไม่กำหนดว่าจะทำติดต่อกันหรือไม่ บางครั้งอาจเว้นปีหรือติดต่อกันก็ได้ แต่ครูบาจะไม่ป่าวร้องบอกผู้ใด

    ซึ่งการกระทำนิโรธกรรมตาบแบบฉบับของครูบาชุ่ม โพธิโกนี้ ท่านให้ขุดหลุมลึกศอก กว้าง 2 ศอก พอดีเข่า แล้วสร้างซุ้มฟางครอบ ให้มีความสูงแค่เลยหัว 1 ศอก โดยจะยืนไม่ได้ ไม่ฉัน ไม่ถ่ายหนักเบา ฉันแต่น้ำ โดยมีผ้าขาวปู 4 ผืนรองนั่ง แทนความหมายคือ อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค มีเสาซุ้ม 8 ต้น แทนความหมาย มรรค 8 ยอดซุ้มปักธงฉับพรรณรังษี อันมีความหมายถึงปัญญา ราชวัตรล้อมซุ้มมี 9 ชั้น แทนความหมายของ โลกุตรธรรม 9 คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 รวมเป็น 9 ซึ่งการกระทำนิโรธกรรมของครูบา บางครั้งจะเข้าอยู่ 7 วัน หรือ 9 วัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเข้าตามสถานที่ห่างไกลคน สัปปายะ โดยมี ชาวบ้านจัดเวรยามรักษาในรัศมี 100 เมตร เพื่อป้องกันคนรบกวน ซึ่งก่อนที่จะทำการเข้านิโรธกรรมนั้น จะต้องมีพระสงฆ์จำนวน 5 รูป เป็นผู้รับรองความบริสุทธิ์ ซึ่งกระทำตามแบบครูบารุ่นเก่า เช่น ครูบาชุ่ม โพธิโก อีกประการหนึ่ง ครูบาต้องการความสงบเป็นการทำด้วยจิต มิใช่การแสวงหาลาภผลใดๆ

    จนต่อมาบรรดาศิษยานุศิษย์ของครูบาจะต้องเฝ้ารอว่าเมื่อใดครูบาจะกระทำนิโรธ กรรม เพราะในความเชื่อของชาวพุทธ เราจะเชื่อกันว่าในยามใดที่มีพระสงฆ์กระทำนิโรธกรรมนั้น จะมีผลบุญอันยิ่งใหญ่ หากอธิษฐานขอสิ่งใดก็จะประสบผลทุกประการ ดังนั้นในปีใดที่ครูบาได้เข้านิโรธกรรมเวลาออกจากนิโรธกรรมจะมีประชาชนจำนวน มากเรือนหมื่อนมารอรับและทำบุญกับครูบา
    ความเชื่อในศาสนาล้านนา

    ซึ่งถ้าดูความเชื่อของคนล้านนาแล้วก็จะเห็นว่า มีความเชื่อเหมือนทิเบต เหมือนภูฏานมีความเชื่อแบบนั้น ครูบาดูแล้วล้านนาจะออกกึ่งมหายาน คือเชื่อการกลับชาติมาเกิด การระลึกชาติได้ ความเป็นผู้มีบุญ เราดูอย่างพระที่มีอายุน้อยสมัยก่อน อย่าง ครูบาชุ่ม ครบาเทือง ครูบามนตรี ท่านดังมาก ๆ เลย เพราะคนล้านนาเชื่อว่าความเป็นผู้มีบุญ เกิดมาเป็นบุญ เป็นโพธิสัตว์ลงมาเกิด ลงมาโปรดคนให้พ้นทุกข์ในวัฏสงสารอย่างเห็นครูบาทางเหนือบางครั้งอายุยังน้อย แต่มีความสารมรถ มีบุญบารมีเยอะ เพราะเขาเชื่อแบบนั้น ครูบาดูแล้วเหมือนกันเลยคำว่า ครูบา ในล้านนานี้สมัยก่อนเป็นยศ จะมี สาติ สาตุ๊ สาตุ๊เจ้า ครูบาออกยาธรรม อย่างครูบานี้สมัยก่อนมีไว้เรียกพระที่มีพรรษาเกิน 50 พรรษาขึ้นไป ถ้าเป็นภาคกลางก็จะเรียกว่า มหาเถระ ก็เลยเป็นครูบาตอนเฒ่าตอนแก่ แต่เป็นสิ่งที่คนศัทธาแล้วเรียกกัน อย่าง ครูบาน้อย (หมายถึง ครูบาที่มีอายุน้อย) บางครั้งก็ศรัทธาด้วยบุญฤทธิ์ เกิดมาเป็นผู้มีบุญ ทำอะไรก็สำเร็จ อธิฐานอะไรก็สำเร็จ ใครมาขอพรอะไรก็สำเร็จ เกิดมามีบุญเรียกว่า บุญฤทธิ์

    แล้วอีกอย่าง เป็นครูบาเพราะอิทธิฤทธิ์เวทมนต์คาถา อย่าง ครูบาจันต๊ะ ครูบาแอ ที่ เก่งเรื่องคาถาอาคม เก่งเรื่องไสยศาสตร์ ทำเทียน ทำน้ำมนต์ ก็เป็นครูบาได้เหมือนกัน มีทั้งบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์ แล้วครูบาทางล้านนาส่วนมากเท่าที่ครูบาดูนะ ถ้าอายุน้อยๆ มีบารมีเยอะ จะสามารถ สร้างตรงนั้นตรงนี้ได้ อย่างครูบาชุ่ม ท่านสร้างวัดได้มากมายเป็นร้อยๆ วัด ครูบาเทืองก็สร้างได้มาก แล้วยังมีครูบาศรีวิชัย ครูบาขาวปี ครูบาชัยวงศา เป็นต้น ลองไปดูประวัติท่านสิ


    ปัญหาและอุปสรรคคือยาชูกำลัง

    แต่สำหรับตัวครูบานี้เหมือนนักบุญ ชีวิตจะผ่านแต่อุปสรรคอย่างเดียว มีแต่ปัญหา หรือเพราะว่าสร้างบารมีตั้งแต่อายุยังน้อย เวลาสร้างบารมีตอนอายุยังน้อยนี้อุปสรรคมันเยอะ แต่ถ้าอายุเยอะแล้วคนไม่ค่อยจะอะไรเท่าไหร่ บางครั้งก็เป็นความอิจฉา ทำอะไรแล้วไม่มีปัญหา ไม่มีในโลกหรอก บางครั้งนั่งอยู่เฉยๆ เขายังบอกว่าขี้เกียจ นอนไม่ตื่นเขาก็บอกว่านอนกินบ้านกินเมือง ไม่ทำอะไรสักอย่าง ถ้าทำมันต้องมีปัญหาอยู่แล้ว มีเยอะ มีมาก แค่นั้นแหละ ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้กลัว บางคนกลัวปัญหาไว้ก่อนแล้วปัญหาแค่นี้คิดแค่นี้ แต่มาถึงแค่นี้ เรากลัวปัญหาไปก่อนล่ะ คนเป็นยอดคนได้ต้องผ่านอุปสรรค ต้องผ่าน ปัญหาเป็นธรรมดา ดูอย่าง พระนเรศวรฯ ซิ กว่าจะเป็นพระนเรศวร ท่านต้องผ่านอุปสรรคมาเยอะแยะ โดนทุกอย่าง สมัยยังเป็นเด็กอยู่กับพระแม่ก็ต้องทนทุกข์ทรมารหลายอย่าง ชีวิตไม่ค่อยสบาย สุดท้ายก็เป็นยอดคน ก็เป็น พระเจ้าตากสิน ครูบาศรีวิชัยสมัยก่อน ชีวิตมีแต่อุปสรรคและปัญหา สุดท้ายก็เป็นครูบาศรีวิชัย คนจะเป็นยอดคน จะเป็นเจ้าคนเป็นนายคน ต้องผ่านอุปสรรค ต้องผ่านปัญหาซุปเปอร์แมนนั้น อยู่ดีๆ จะเป็นไม่ได้หรอกเหมือนกับเหล็ก จะตีเหล็กกล้าได้ต้องเผาต้องทุบ ตีแล้วตีอีก จึงจะเป็นเหล็กกล้าได้

    ทำอะไรอย่าท้อถอย ท้อเทียมๆ พอแล้ว ท้อสักวันสองวัน ถ้าท้อเป็นปีนี่ท้อดอง ให้มองปัญหาเป็นเครื่องมือทดสอบ มันเหมือนวัคซีนเขาเรียกว่า อุปสรรคคือยาชูกำลัง มันเหมือนทำให้เราเก่งขึ้นทีละน้อยๆ อย่างคนไม่เคยขึ้นศาลลองไปขึ้นศาลสิ ครั้งแรกสั่น อยู่ที่ไหนก็สั่นกลัว แต่ถ้าเคยขึ้นไปแล้วสักครั้งสองครั้งก็ไม่มีปัญหาอะไร จะเห็นมันเป็นเรื่องธรรมดา แต่คนไม่เคยนี่เป็นเรื่องใหญ่มาก ตรงนี้มันเป็นเรื่องของจิตใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปกลัวก่อน


    การช่วยเหลือต้องมีขอบเขต

    เรื่องของการช่วยเหลือคนก็เหมือนกันต้องมีขอบเขต อย่าง พรหมวิหาร 4 มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา บางทีช่วยตลอด ช่วยแล้วมันเหมือนไม่ได้อะไร ช่วยแล้วไม่ดีขึ้น ช่วยแล้วเหมือนเดิม ช่วยแล้วไม่เห็นทางจะช่วยได้แล้ว ก็ต้องวางเฉย อย่างเห็นว่าเขาตกน้ำอยากจะช่วยมาก เอาไม้ยื่นให้แล้ว เอาเชือกให้เอาอะไรให้ช่วยแล้วเขาไม่เกาะ เราก็ว่ายน้ำไม่เป็น แล้วจะกระโดดลงไปช่วยเขาไหม ถ้ากระโดดลงไปก็คงตายทั้งเราและเขานั้นแหละ จริงไหม ฉะนั้นก็ต้องมีขอบเขตในการช่วย บางคนช่วยแล้วช่วยอีกก็ยังเหมือนเดิมอย่างสอนธรรมะ พระพุทธเจ้าบอกว่า บางคนสอนครั้งเดียวก็รู้ บางคนสอน 3-4 ครั้งก็ยังรู้ บางคนสอนทั้งชาติก็ไม่รู้ไม่ยอมรับฟังไม่ยอมเข้าใจ เมื่อมันช่วยไม่ได้เราก็ต้องวางเฉย


    รู้เหตุการณ์ล่วงหน้า

    สมัยก่อนส่วนมากเวลาครูบาพูดอะไรแล้วมักจะเป็นจริง ใครมาก็สามารถทักได้ ครูบารู้ว่าคนนี้เป็นยังไงๆ มันก็แปลกมากเหมือนกัน จริงๆนะ มันเป็นความรู้สึก บางครั้งไม่ต้องถาม วัน เดือน ปี เกิด ครูบาจะรู้เองเลย รู้เลยว่าตอนนี้เขาจะเป็นยังไง เตือนให้เขาระวังเรื่องรถชนก็รถชนจริงๆ ระวันขาหักก็ขาหักจริงๆ นี่เดี๋ยวจะเจ็บป่วยหนักล้มหมอนนอนเสื่อ ก็ป่วยหนักจริงๆ แล้วมันมีความแม่นด้วย ทักนั่นทักนี่ ดูนั่นดูนี่ แต่ครูบาไม่ได้รับดูดวงนะ ส่วนมากจะมีคนมาถามกัน คือมันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมา และถ้าถามว่าทำไมโยมตองมาหาพระ เพราะพระมองทางธรรม ทางโลกกับทางธรรมมันสวนทางกัน ทางโลก ต้องได้ ต้องมี ต้องเป็น ต้องได้อย่างเดียว ไม่ยอม แต่ทางธรรมนั้น ต้องไม่ได้ ต้องไม่มี ต้องไม่เป็น ต้องปล่อย ต้องวาง คือมันมองกันคนละอย่าง

    DSCF9048.JPG DSCF9049.JPG

    ชื่อบัญชี นาย วสันต์ ปิงสอน เลขที่บัญชี 5130066332 ธนาคาร กรุงไทย สาขา ลอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...