รูปนาม อธิบายด้วยจ้า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กล้วยเน่า, 10 มกราคม 2018.

  1. กล้วยเน่า

    กล้วยเน่า สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2018
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +5
    ในขันธ์ห้า จะมี รูปขันธ์หนึ่ง นามขันธ์สี่ใช่ไหม
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ช่วยบอกลักษณะความคิดจิตใจหรือพฤติกรรมของคนที่แยกแยะ แยกรูปแยกนามออกได้อย่างชัดเจนให้เราหน่อยสิ

    ขอบคุณที่อธิบาย
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ขันธ์ห้า คือตัวของเรานี่แหละ ไม่ใช่อื่นไกล

    ตัวของเราทั้งหมดเรียกว่า ขันธ์ห้า คือ

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ”

    ขันธ์ห้า

    พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

    วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๕

    คัดจากหนังสือ ธรรมเทศนา ๒๕๒๕

    คัดลอกจากจาก เวบ ธรรมเทศนาแนวปฏิบัติ ของหลวงปู่เทสก์

    www.geocities.com/luangpu_thate/data/lesson01.HTM

    จะเทศนาเรื่องธรรมะให้ฟัง เรื่องธรรมะก็ไม่ใช่เรื่องอื่นไกล เราฟังกันมามากมายแล้ว อาจจะ ลืมก็ได้ เพราะธรรมมีอยู่ใกล้ตัวของเรา ของใกล้ตัวเรามักจะลืมเสียเป็นส่วนมาก เพราะถือว่าของมีอยู่ ในตัวแล้วพิจารณาเมื่อไรก็ได้

    คำว่า ธรรมะ ในที่นี้หมายถึง ของมีอยู่เป็นอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด มันเป็นอยู่อย่างนั้น มีอยู่ อย่างนั้น เรียกว่า ธรรมะ

    คำว่า เห็นธรรมะ คือเห็นจริงตามของที่มันเป็นเองนั่นเอง มันเป็นอยู่อย่างไร ให้เข้าใจว่า มันเป็นอยู่อย่างนั้น เรียกว่าเห็นสภาพของธรรมะ

    ตรงนี้แหละเป็นของสําคัญ เห็นได้ยาก เพราะคนเรานั้นเห็นอะไร ดูอะไร ก็อยากจะดูของใหม่ เรื่อยไป ของเก่าเลยลืมเสีย มันก็เลยไม่ชัดไม่เจนขึ้นมา หากันไปเถิด หาธรรมะ หาเท่าไรก็หาไป ถ้าไม่ เห็นสภาพตามเป็นจริงแล้วก็ไม่เห็นธรรมะอยู่นั่นเอง

    ให้เข้าใจว่า ของเป็นอยู่มีอยู่ในตัวของเรา เรียกว่าธรรมะทั้งนั้น อย่างที่เราเห็นธรรมะว่า ความ เกิดก็มีอยู่ ความแก่ก็เป็นอยู่มีอยู่ ความตายก็มีอยู่ในตัวของเรา แต่ไม่อยากดูเลยไม่เห็นธรรมะ อันการที่ไม่เห็นธรรมะ คือการไม่พอใจ ไม่เลื่อมใส ไม่ยินดีกับของที่มีอยู่เป็นอยู่นั่นเอง ครั้นหากเราพอใจเลื่อมใสยินดีในธรรมะที่เป็นอยู่มีอยู่นี้แล้วพิจารณาลงไปเถิดความชัดเจนแจ่มแจ้งก็จะเกิดขึ้น ในใจของเรานี้เอง

    เหตุนั้น ท่านผู้พิจารณาธรรม ท่านจึงพิจารณาของในตัวเองอยู่ตลอดเวลา ขอให้มีศรัทธาเลื่อม ใสพอใจยินดีอย่างยิ่งในธรรมะนั้น ๆ ที่มีอยู่ในตัวของเรา ก็จะเป็นประโยชน์แก่ตัวของตนเองอย่างยิ่ง

    ที่จะอธิบายวันนี้ก็เรียกว่าธรรมะอันหนึ่ง นอกจากธรรมะหลาย ๆ อย่างแล้ว ธรรมะอันนี้ เรียกว่า ขันธ์ห้า คือตัวของเรานี่แหละ ไม่ใช่อื่นไกล ตัวของเราทั้งหมดเรียกว่า ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูป ก็มีอยู่ในตัวของเรานี้ เวทนา คือความสุข ความทุกข์ หรือความไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็มีอยู่ในตัวของเรานี้ สัญญา คือความจดจำหมายมั่นว่านั่นนี่ต่าง ๆ สังขาร คือความคิด ปรุงแต่ง วิญญาณ คือความรู้สึก

    ที่จะอธิบายในวันนี้มี ๕ อย่างเท่านี้แหละ มีอยู่ในตัวของเรานี้ทั้งหมดแล้ว น้อมลงในตัวของ เรานี่แหละ มีอยู่ในตัวของเรานี้ครบบริบูรณ์แล้วทั้ง ๕ อย่างนี้ แต่เราไม่ได้พิจารณา เหตุนั้นจึงจะ อธิบายเพื่อให้เข้าใจ

    รูป เราพิจารณาโดยอาการเป็นของโสโครกไม่สวยไม่งาม ก็มีพร้อมในตัวของเราหมดทุกสิ่ง ทุกประการ เหงื่อไคลไหลออกจากร่างกายเป็นของปฏิกูล เราก็เห็นกันว่าเป็นของปฏิกูล จึงค่อยอาบน้ำ ชำระกายอันเน่าแฟะอยู่ตลอดเวลา เรียกว่าเน่าตั้งแต่ตัวของเรายังไม่ตาย ของสกปรกมันไหลออกมา ที่ภาษาเขาเรียกกันว่าขี้ไคล คือมันค่อยยังชั่วหน่อยหนึ่ง จึงเรียกว่าขี้ไคล มันไม่ใช่ขี้แท้ ๆ มันฝังไคล ชั่วนิดหน่อยเหม็นสาบเหม็นโคลน เหล่านี้ก็มีแล้วในตัวของเรา เรามีครบหมด ขี้มูก น้ำลาย ขี้หู ขี้ตา ล้วนเป็นขี้ทั้งนั้น แต่มันหยาบหน่อยไม่อยากพูด คนเราเลยพูดว่า มูลตา มูลหูเสีย ส่วนที่ถ่ายทอดออก จากร่างกายของเราเรียกว่าขี้ทั้งนั้นแหละ อย่างของเศษของเหลือเราเรียกว่าขี้ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย ขี้กาบมะพร้าว เรียกว่าขี้ทั้งนั้น เศษอาหารที่เรารับประทานเข้าไป เศษจากมันไปหล่อเลี้ยงร่างกายแล้ว มันไหลออกมาตามที่ต่าง ๆ ทั้งตัวจึงเรียกว่าขี้ อันนี้เป็นธรรมะ ให้พิจารณาให้เห็นเป็นธรรม ของที่เป็น จริงแล้วใครจะปกปิดอย่างไรก็เป็นจริงอยู่อย่างนั้น พูดให้เห็นตามเป็นจริงจึงเป็นธรรม เรียกว่า พิจารณาให้เป็นของ ปฏิกูล

    คราวนี้พิจารณาเป็น ธาตุ เขาเรียกว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นธาตุสี่ ตัวของเราที่ เป็นก้อนนั่งอยู่นี่เรียกว่าเป็นก้อนดินก้อนหนึ่ง ไม่เรียกว่าหญิงหรือชาย ที่เรียกว่าหญิงว่าชายนั้นเป็น แต่สมมติเรียกขึ้นมาเฉย ๆ หรอก อันที่จริงมันเป็นสักแต่ว่า ก้อนธาตุ ทั้งหมด ที่ตั้งเป็นก้อนอยู่นี่ ล้วนเป็นธาตุสี่ทั้งนั้น นี่ก็เป็นธรรมอันหนึ่งเรียก ธรรมธาตุ

    หรือจะพิจารณาให้เห็นเป็น อนิจจัง ของไม่เที่ยง หรือเห็นเป็น ทุกขัง เป็นของทนอยู่ไม่ได้ หรือ เห็นเป็น อนัตตา เป็นของไม่ใช่ตนใช่ตัวของใคร เป็นของว่างเปล่า

    ของก้อนเดียวนี่แหละพูดถึงเป็น ธาตุสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม ก็อันนี้ เป็น อสุภะปฏิกูล ก็อันเดียว กันนี่แหละ มันเป็นธรรม แต่ละอย่าง ๆ พูดว่าเป็น ขันธ์ห้า เขาก็เรียกตัวของเรานี่แหละ แล้วจะไปเอา ที่ไหนอีก ธรรมะมีอยู่ในตัวของเราแล้ว มีความเชื่อมั่นของเราเท่านั้นแหละว่า โอ! เรามีธรรมแล้วนี่ มีธรรมอยู่ในตัวของเราหมดแล้วนี่ (เชื่อมั่นแล้วก็พิจารณาไปซิคราวนี้ พิจารณาเป็นธาตุสี่ก็พิจารณาลง ไป เป็นของอสุภะปฏิกูลก็พิจารณาลงไป เป็นขันธ์ก็พิจารณาลงไป)

    รูปขันธ์ เป็นก้อนทุกข์ เกิดขึ้นมาแล้วเป็นทุกข์แสนลำบาก แต่เราไม่เชื่อความทุกข์ของเรา ครั้น เจ็บไข้ได้ป่วย ถ้ามันทุกข์ก็หายามากินแล้วก็หายไป เดินไปเหนื่อยก็นั่ง นั่งเหนื่อยก็นอน อันนี้แหละ มันบังทุกข์จึงไม่เห็นทุกข์ คนเราไม่เห็นทุกข์จึงไม่เห็นธรรม เห็นทุกข์นั่นแหละจึงเห็นธรรม เปลี่ยน อิริยาบถอยู่อย่างนี้ทุกข์ก็ไม่เกิด ทุกข์ไม่เกิดก็เลยไม่เห็นธรรม แยกออกไปอธิบายได้มากมาย เหลือหลาย อธิบายวันยังค่ำก็ไม่มีจบไม่สิ้นสุดสักที ถ้าพิจารณาเห็นชัดด้วยใจของตนแล้ว จะเห็นว่า กายของเรานี้ไม่มีอะไรเลย จะเห็นเป็นสักแต่ว่ารูปอันหนึ่ง เคลื่อนไหวไปมาอยู่เท่านั้น

    เวทนาขันธ์ คือ ความสุข ความทุกข์ หรือุเบกขาความวางเฉย พิจารณาความทุกข์ก็อย่างที่พูด มาแล้วนั่นแหละ เรื่องการเจ็บการปวดต่าง ๆ หรือความหิวโหยกระหาย ความเย็น ความร้อน อ่อนแข็ง ต่าง ๆ สารพัดทุกอย่างล้วนแต่ทุกข์ทั้งนั้น คนเราต้องการแต่ความสุข อันเรื่องทุกข์แล้วไม่อยากจะพูด ถึงเลย แม้ไม่พูดถึงมันก็ทุกข์อยู่อย่างนั้นแหละ ไม่ใช่ไม่พูดเรื่องทุกข์แล้วทุกข์มันจะหายไป เมื่อเกิด อะไรวุ่นวี่วุ่นวายเดือดร้อนแล้วก็พูดว่า แหม! ทุกข์จริง ๆ แล้วก็ลืมไปเสียไม่พิจารณากันจริง ๆ จัง ๆ สุขเวทนานั้นมีน้อยที่สุด มีสุขนิด ๆ หน่อย ๆ แล้วก็กลับไปหาทุกข์อีก โดยมากมักเห็นความทุกข์ เป็นสุขไปเสีย ที่เรียกว่าหลงความทุกข์เป็นสุข

    แต่ อุเบกขาเวทนา นี่ซิ จะไปหาที่ไหน ในคนเราหาไม่ค่อยพบ น้อยนักน้อยหนาที่จะเป็น อุเบกขาเวทนา มีอุเบกขาประเดี๋ยวเดียวแล้วก็หายไปไม่อยู่ได้นาน ที่เห็นชัดเจนก็ในผู้ที่เข้าสมาธิ สมาบัติ จิตลงมารวมเป็นกลางเฉย ๆ นั่นแหละถึงจะเป็น อุเบกขาเวทนา ถ้าทำสมาธิไม่ได้แล้วมันไม่ เป็นอุเบกขาสักที คิดส่งส่ายโน้นนี่อะไรต่าง ๆ หลายเรื่อง ทั้งอดีตและอนาคต ครั้นถ้าผู้คิดส่งส่าย หลายเรื่องหลายอย่างไม่รวมเป็นสมาธิภาวนาแล้ว จะไม่ได้พบ อุเบกขาเวทนา เลย นี่เป็นอีกขันธ์หนึ่ง เรียกว่า เวทนาขันธ์

    สัญญาขันธ์ คือจดจำสิ่งสารพัดวัตถุทั้งปวงหมด รวมทั้งที่จดจำเรื่องราวในอดีตอนาคตเข้ามา ไว้ในใจของตน แล้วก็รักษาเลี้ยงไว้ให้งอกงามอยู่เรื่อย ๆ นี่เรียกว่า สัญญาขันธ์

    สังขารขันธ์ คือคิดปรุงแต่งอย่างนั้นอย่างนี้ สารพัดทุกอย่าง ให้มันเกิดมีขึ้นตลอดวันยังค่ำคืนรุ่งหาที่สุดไม่ได้ เรียกว่า สังขารขันธ์

    วิญญาณขันธ์ วิญญาณตัวนี้เป็นวิญญาณในขันธ์ห้า วิญญาณมีสองอย่าง คือ วิญญาณใน ขันธ์ห้า และ ปฏิสนธิวิญญาณ ปฏิสนธิวิญญาณ คือ วิญญาณตัวมาเกิดเป็นคนทีแรก ส่วนวิญญาณใน ขันธ์ห้า หมายถึง ความรู้ที่เกิดขึ้นเบื้องต้นของผัสสะแล้วก็หายไป เช่น ตาเห็นรูป ตัว ผู้รู้ นั้นเรียกว่า วิญญาณ ต่อจากนั้นตัว สัญญา ก็เข้ามาแทน มาจำได้ว่าเป็นรูปนั่นรูปนี่แล้ว สัญญา ก็ดับไป สังขาร ก็เข้ามาปรุงแต่งคิดนึกต่อไป อันความรู้ว่าเป็นรูปทีแรกนั่นเรียกว่า วิญญาณขันธ์ ในขันธ์ห้า

    วิญญาณขันธ์ในขันธ์ห้า ก็ดี ปฏิสนธิวิญญาณ ก็ดี เป็นตัวเดียวกันนั่นแหละไม่ใช่ตัวอื่นไกล มันเป็นตัวใจตัวเดียวนั่นแหละ แต่มันทำหน้าที่ต่างกัน ถ้าทำหน้าที่เป็นผู้รับรู้ของผัสสะในอายตนะ ทั้งหก เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ปฏิสนธิวิญญาณ คือ วิญญาณตัวนำให้มาเกิด ถ้าไม่มีวิญญาณตัวนี้ก็ไม่มาเกิด มันรวมเอา อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม รวมอยู่หมดในตัววิญญาณนั้น ความจริงแล้ว อวิชชาก็ตัวใจนั้นแหละ ตัณหาก็ตัวใจนั่นแหละ อุปาทานก็ตัวใจนั่นแหละ กรรมก็ตัวใจนั้นแหละ คำว่า มันมารวมอยู่ที่เดียวเป็นแต่คำพูดเฉย ๆ แท้ที่จริงแล้วมันไม่ได้เรียกมารวมกัน ธรรมทั้งสี่อย่างนี้มัน หากทำหน้าที่ของสัตว์ผู้จะเกิดต่างหาก ผู้จะมาเกิดต้องมีธรรมสี่อย่างนี้สมบูรณ์จึงจะเกิดได้

    ทำไมจึงเรียกว่า ขันธ์ ขันธ์ แปลว่ากอง หมวดหมู่ เป็นกองไว้ อย่างขันที่เราเรียกของภายนอก ขันใส่ข้าว ขันใส่น้ำ ขันใส่ดอกไม้ ฯลฯ มันเป็นขันอันหนึ่ง เขาใส่เอาไว้ไม่ให้มันกระจัดกระจายไป เรียกว่าขัน อันนี้ก็เหมือนกัน ไม่ให้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กระจัดกระจายไป จัดไว้เป็น หมวดเป็นหมู่แต่ละอย่างไม่ให้มันปนกัน

    สมมติบัญญัติอธิบายไปหลายเรื่องหลายอย่าง ล้วนอธิบายถึงเรื่องของ ใจ ตัวเดียวนี่แหละ เรียกว่า ขันธ์ เรียกว่า ธาตุ อายตนะ อะไรต่าง ๆ หลายอย่าง แต่ก็หมายถึงตัวเดียวคือใจนั่นแหละ พอเรียกอันนั้นอันนี้สารพัดต่าง ๆ ไปก็ฟังเพลินไปเลย เลยลืมตัวเดิมคือ ใจ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ในโลกนี้ล้วนแล้วแต่ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นผู้เห็นธรรม ใจเป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวงหมด ถ้าไม่มีใจสิ่งทั้งปวง ในโลกก็ไม่มี สิ่งทั้งปวงหมดเกิดจากใจอันเดียว อย่างสร้างบ้านสร้างเรือนใหญ่ ๆ โต ๆ นี่ถ้าใจไม่มี แล้วใครจะไปสั่งสร้าง ตนตัวของเรานี้ถ้าใจไม่มีมันจะอยู่ได้อย่างไร ก็ต้องดับสูญไปละซิ ใจเป็นใหญ่ มันอยู่ได้ก็เพราะใจ

    นี่แหละขอให้พิจารณาอย่างนี้ ไม่ต้องไปพิจารณาอื่นไกล ธรรมทั้งหลายนั้นมีอยู่ในตัวของเรา หมด ขอให้เชื่อแน่วแน่ในใจในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า โอ! ธรรมนี้มีอยู่ในตัวของเรานี้เอง จะขึ้นเหนือล่องใต้ จะไปไหนใกล้หรือไกล ธรรมมีอยู่ในตัวเราหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว เราหอบ ธรรมไปแต่เราไม่ดูธรรมของเราน่ะซี มันจึงไม่เห็นธรรม

    ครั้นมาดูตรงนี้แล้วเห็นธรรมชัดเจนขึ้นมาว่า อ๋อ! ธรรมอยู่ที่นี่หรอกก็หมดเรื่อง ทีนี้ไม่ต้องวิ่ง หาหรอก ธรรมมีอยู่ในตัวของเราแล้ว จึงว่าขอให้ตั้งศรัทธาเชื่อมั่นเต็มที่แล้วพิจารณาธรรมะ ก็จะไม่มี ที่สิ้นที่สุด ธรรมะมีอยู่ในตัวของเรา อันนี้เป็นธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงสอนทุก ๆ คัมภีร์ ทรงแสดงออกไปจากธรรมะอันนี้อันเดียวเท่านั้น

    (นั่งสมาธิ)

    (ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน)

    ได้อธิบายมามากแล้ว เรื่องกายของเรานี้มันประกอบด้วยธาตุสี่ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม (และอยู่ได้ ด้วยธาตุสี่ จึงจะประกอบกิจการหรือคุณงามความดีได้ทุกประการ) ถ้าไม่มีธาตุสี่อันเป็นโครงร่างนี้ แล้ว สิ่งประกอบเป็นต้นว่า ขันธ์ห้า อายตนะหก เป็นต้น ที่จะขับให้เคลื่อนไหวในการที่จะทำกิจนั้น ๆ ก็ไม่รู้ว่าจะนำไปติดไว้ตรงไหน และธาตุสี่อันนี้ก็หาประโยชน์ไม่ได้

    เมื่อเราได้ของดีมีค่ามหันต์ และเป็นของอัศจรรย์อย่างนี้ จึงควรพิจารณาด้วยจิตให้เป็นธรรม คือให้พิจารณาให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยสมาธิจริง ๆ ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์อันเดียวที่ ตนมีอยู่นั้นแล้ว จะพิจารณาอย่างไรมันก็ไม่ชัดเลย เหมือนกับคนขับรถไม่รู้เรื่องของรถ เวลารถติดขัด หรือรถเสียก็ไม่รู้จะทำประการใด ถ้าคนรู้จักเรื่องรถดี มันติดขัดตรงไหนหรือเสียตรงไหนก็จะเข้าไป แก้ตรงนั้นทันที รถก็จะวิ่งไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสะดวก กายอันนี้ซึ่งมีจิตเป็นใหญ่เป็นผู้ขับขี่ให้เคลื่อนไหวไปมาได้ ซึ่งประกอบด้วย ขันธ์ อายตนะ เป็นต้น เป็นเครื่องยนต์ เมื่อติดขัด ดินฟ้าอากาศแปรปรวนก็ดี หรือด้วยคลื่นมรสุม คือ กิเลส มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น ต้องรู้จักจุดเสีย ของมัน ติดขัดเพราะของภายนอกก็ต้องแก้ด้วยของภายนอก เช่น อากาศวิปริตทำให้ร่างกายไม่สบาย ก็แก้ด้วยยาหาหมอ เป็นต้น ติดขัดเพราะของภายใน ก็แก้ด้วยยาธรรมโอสถใช้อุบายแยบคายของ ตนเอง จะหาหมออย่างยาภายนอกไม่มีแล้วเวลานี้ เพราะพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นหมอธรรมโอสถ ปรินิพพานแล้ว

    ฉะนั้นกิเลสของใคร ใครก็ต้องรู้ว่ามันเกิดขึ้นที่ใจของตนเอง ทำใจของตนเองให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส เราเห็นโทษของกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว เรายอมสละปล่อยวางให้หนีจากจิตของเรา จิตของเราก็ จะปลอดโปร่งสบายไปเลย เพราะจิตของคนเราเป็นของผ่องใสมาแต่เดิม ถ้าจิตไม่ผ่องใสมาแต่เดิม แล้ว ใครจะชำระจิตอย่างไรก็ผ่องใสสะอาดไม่ได้ ส่วนกิเลสเป็นของจรมาใหม่ต่างหาก เราจึงสามารถ ชำระออกไปได้

    เปรียบดังคนเราอยู่คนเดียวเฉย ๆ ไม่มีอะไร พอมีคนมาด่าว่า ความโกรธวิ่งเข้าปกปิดจิตใจ ให้มืดมิด ไม่รู้จักชั่วดีอะไรแล้ว ฉะนั้น จึงชำระกิเลสอันมาปกปิดจิตใจนั้น ให้หนีออกไปจากจิตเสีย จิตใจของเราก็ผ่องใสสะอาดปกติอย่างเดิม.

    bar-1s.jpg
     
  3. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    สันทิฏฐิโก พึงรู้เห็ได้เฉพาะตน
    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ อันวิญญญูชนพึงแยกแยะได้ด้วยตนเอง
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พระเครื่องวัตถุมงคลหลวงพ่อเล็กวัดท่าขนุนและสายวัดท่าซุง
    เมื่อสักครู่นี้ ·
    ถาม : ถ้าจิตยอมรับในกฎไตรลักษณ์ จิตจะปล่อยวางในขันธ์ห้าเองใช่ไหมคะ ?
    ตอบ : ถ้ายอมรับในกฎไตรลักษณ์จะปล่อยวางในทุกเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะขันธ์ ๕

    ถาม : ตอนที่ปฏิบัติวันนี้ โยมพิจารณาในกฎของไตรลักษณ์ ว่าที่ทุกข์เพราะจิตไม่ยอมรับในกฎไตรลักษณ์จริง ๆ แล้วก็เกิดความรู้สึกเบา สว่าง สบาย เป็นเพราะเหตุใดคะ โยมทำผิดหรือไม่คะ ?
    ตอบ : ขอให้ทำผิดแบบนี้บ่อย ๆ..!

    ถาม : ถ้าจิตยอมรับในกฎของไตรลักษณ์จริง จะพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไหมคะ ?
    ตอบ : ยอมรับอย่างแท้จริง ปล่อยวางได้ทุกอย่างก็ไปได้ แต่ถ้ายอมรับแล้วปล่อยวางไม่หมดก็ไปไม่ได้

    การยอมรับกฎของไตรลักษณ์นั้นมีตามลำดับชั้น ยอมรับแบบปุถุชน ยอมรับแบบผู้ทรงฌาน ยอมรับแบบพระอริยเจ้า เพราะฉะนั้น...ไม่ใช่ยอมรับเฉย ๆ แล้วจะไปได้ ต้องยอมรับแบบปล่อยวางได้ทั้งหมดด้วย

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๖๐
    ภาพและที่มา : เว็บวัดท่าขนุน

    26219111_2213546515337395_3336556218186316150_n.jpg
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ย่อๆสั้นๆ เริ่มจากเจริญสติในชีวิตประจำวันให้ต่อเนื่อง
    ๑.จะเริ่มรู้ทันความคิด ทุกอารมย์ เช่น ดูหนังแล้วเศร้าไปตามตัวละคร
    ความหมายคือ ปรุงร่วมไปแล้วช่างมัน พอรู้ทันก็พยายามมาดูอย่างเดียว
    ให้ดูว่าเฉยๆไปไหม และ ไม่ว่าความคิดในอดีต ความคิดไปถึงอนาคต
    ช่วงนี้ทันบ้างไม่ทันบ้างเรื่องธรรมดา ทันเมื่อไรก็ค่อยดับ
    พลาดไปแล้วก็ช่างมัน เริ่มใหม่...
    ๒.ดับความคิดไปเรื่อยๆ ต่อไปมันจะเร็วขึ้น จากเมื่อก่อนปรุงแล้วค่อยทัน
    ต่อไปจะเริ่มทันก่อนจะปรุง แล้วก็จะเริ่มค่อยๆ ทันก่อนที่มันจะผุดขึ้นมา
    ๓.ช่วงก่อนที่จะทันความคิดผุดขึ้นมาจากจิต อาจจะเห็นความคิดได้เยอะหน่อย
    บางครั้งหายใจครั้งเดียว ขึ้นมาเป็นสิบเรื่อง บางครั้งนาทีเดียวเป็นร้อยเรื่อง
    มาจากอดีตทั้งนั้น เรื่องที่เคยลืมก็ขึ้นมา ให้ระลึกไว้ว่า เริ่มจะดีแล้ว เรื่องธรรมดา
    ๔.เจริญสติไปเรื่อยๆ สติจะเร็วพอ ถ้ามันเห็นความคิด ในขณะที่กำลังขึ้นมาจากจิตได้
    จิตจะดีดความคิดออกจากตัวจิตทันที....กิริยาทางกาย เราอาจจะรู้สึกตัวเบาๆ
    ตาเหมือนกับว่ามองเห็นได้ไกลขึ้น ตัวเบาเวลาเดินคล้ายไม่มีน้ำหนัก(แค่เวลาไม่นาน)
    ตรงนี้ถือว่าดี แล้วเราจะพบได้ ความคิดที่เกิดจากจิต เอกลักษณ์มันคือ
    สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามใจเรา เช่น เราบอกให้ก้อนหินสีแดงก็ได้ สีขาวก็ได้
    ทั้งๆที่ความจริงมันมีสีอยู่แล้ว หรือคิดให้ดีก็ได้ ไม่ดีก็ได้
    ๕.จะเริ่มรู้สึกว่า ตรงกลางลิ้นปี่ มันเหมือนขยับได้ เวลาเกิดความคิด ตรงนี้คือ กิริยาจิตกระเพื่อม
    และช่วงนี้ให้จำไว้ว่า ถ้าเกิดความคิดที่เปลี่ยนแปลงตามใจเราได้
    ให้ดับมันทุกๆกรณี ห้ามให้มันเกิดแม้แต่นิดเดียว
    ดับด้วยวิธีกำหนดดับ หรือเปลี่ยนไปเรื่องอื่นๆ หรือระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก
    หรือเปลี่ยนไปนับก้าวเดิน ได้หมดแล้วแต่สถานะการณ์



    ก็ยังต้องเจริญสติต่อไป..เพราะยังแยกรูปแยกนามไม่ได้
    ที่นี้ ก็มาเจริญสติต่อให้ต่อเนื่องอีก.....
    เราจะเริ่มสังเกตุเห็นความคิดตัวหนึ่งขึ้นมา
    ซึ่งมันจะแตกต่างๆกับ ความคิดข้างบน
    คือ อยู่ดีๆมันก็ผุดขึ้นมาเอาดื้อๆ
    หรือ มันชอบมาเป็นประโยคๆ
    ที่สำคัญคือ เรากลับพบว่า มันไปเปลี่ยนแปลงไปตามความคิดของเรา
    หรือทางปฏิบัติ เราเรียกว่า ความคิดที่ผุดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
    ซึ่งจะเป็นเรื่องในอดีตทั้งนั้น เราเรียกว่า ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรมนั้นเอง(คือไม่มีรูปนั่นหละ)
    หลักสังเกตุอีกอย่างจำให้ดี ถ้าเราเอาสติไปมอง
    มันจะดับและเปลี่ยนไปเรื่องอื่นทันที นี่คือ รูปแบบของมัน.....


    เราก็เจริญสติไปเรื่อยๆอีกนั่นหละ
    ก็สังเกตุไปเรื่อยๆ อย่าพึ่งไปดับมัน
    ถ้าเราสังเกตุได้ทัน ก่อนที่มันจะมารวมกับจิตเราเมื่อไร
    เด่วตัวขันธ์ ๕ นามธรรม(ซึ่งไม่มีรูป)
    มันจะแยกเป็นเกลียวได้ของมันเอง ละเอียดมากน้อยแล้วแต่คน
    แต่เอาให้เห็นแค่มันกำลังจะรวมกับจิตได้ก็พอ
    ก็จะสามารถมาเดินปัญญาได้แล้ว และจะไม่เป็นวิปัสสนึก

    (สังเกตุนะ ตัวแรกใช้คำว่า สังเกตุทันตอนที่มันจะขึ้นมาจากจิต
    ตัวนี้ ใช้คำว่า สังเกตุทันก่อนที่มันจะมารวมกับจิต เพราะอะไรฝากไว้พิจารณานะครับ
    ตรงนี้ให้ได้ยิน ได้ฟังมา อ่านตำรามโนเอา หรือจบเปรียญอะไรมา
    หรือมีประสบการณ์ทางธรรมมากี่ปี หรือแม้กระทั่งสามารถใช้งาน
    ทางจิตแบบภายในได้ก็ตาม ประกันได้ว่าทั้งชาตินี้ก็ไม่เข้าใจ
    เพราะจะเห็นและเข้าใจจากการปฏิบัติเท่านั้น)


    การตรวจสอบ เราจะเห็นออกเป็น ๓ ส่วนชัดเจน
    ๑.จิตและกิริยาจิตกระเพื่อม
    ๒.ความคิดที่เกิดจากจิต และลักษณะตอนที่มันรวมกับจิต
    ๓.ความคิดที่เกิดจากขันธ์ ๕ นามธรรม และกิริยาต่างๆของมัน

    จะเห็นได้ชัดเจนในสามส่วนนี้ บางครั้งเราจะแปลกใจ
    ว่า ในเวลาใช้ชีวิตปกติ ทำไมตรงกลางลิ้นปี่เรา เวลาเกิดความคิด เกิดอารมย์ต่างๆ
    เราจะสัมผัสได้ชัดเจนว่า มันเหมือนมีลมหมุนๆ ไปหมุนๆมา
    ตรงนี้ คือ กิริยาที่บอกว่า จิตพอแยกรูปแยกนามได้
    สามารถมาเดินปัญญาต่อได้แล้ว แต่กิริยาแบบนี้
    มักไม่เกิดในผู้สูงอายุ หรือ มีอายุมากๆใกล้จะ ๖๐ ปีนะครับ
    แต่ต้องเป็นคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ เช่น พรุ้งนี้จะโดนยึดบ้าน
    แต่สามารถนอนหลับคร๊อกๆได้สบาย........

    เอาด่านแรกให้ได้ก่อนครับ ให้เวลากับตรงนี้หน่อย
    เรื่องอื่นๆอะไรก็ตาม อย่าพึ่งไปสนใจใดๆทั้งสิ้น
    เพราะตรงนี้มันสำคัญต่อความ
    เข้าใจทางด้านนามธรรมต่างๆของเราด้วย ไม่ว่าสัมผัส การรับรู้
    กิริยาระหว่างทางในการปฏิบัติ ซึ่งมันจะส่งผลต่อความสำเร็จและการเข้าถึง
    ผลสำเร็จของเราในเรื่องกรรมฐานกองต่างๆ ตลอดจนความเข้าใจทางธรรม
    มันจะได้ไม่เผลอนอกแนว หรือยึดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
    ในทางปฏิบัติและทางธรรมครับ....

    เริ่มต้นที่มันดูยากๆ แล้วจะสบายๆในภายหลัง
    การปฏิบัติถ้าเริ่มต้นเหมือนง่ายๆ
    นั่นคือ เรากำลังเสร็จมันแระ พวกกิเลสแอบซ่อนทั้งหลาย...
    ประมาณนี้หละครับ....

    ตรงนี้ไม่มี จะฝึกกรรมฐานอะไร หรืออ่านตำราอะไร
    ไปอีก สิบยี่สิบปี ก็ไม่สำเร็จ และไม่พ้นเป็นแค่ความรู้ทางสมมติ
    เสียเวลาเฉยๆ เผลอๆมีตัวอย่างมาเยอะแยะ หลงสภาวะ หลงตัวเอง
    คิดว่าตัวบรรลุโน้นนี่นั้น แต่ตัวจิตกับคุณภาพต่ำมีมากมายครับ....

    ปล.ขอให้แยกรูปแยกนามได้ภายในระยะเวลาไม่นานครับ


     
  6. กล้วยเน่า

    กล้วยเน่า สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2018
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +5
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    กายเรานี่คือรูป. ความรู้สึกสุขทุกข์เฉยๆคือเวทนา ความจำอดีตคือสัญญา. ความคิดคือสังขาร การรับรู้คือวิญญาน. ตัวเรามีแค่นี้แหล่ะลองพิจารณาดู. ส่วนการแยกรูปนาม.สมมุติว่าท่านรู้สึกแข็งๆ. แข็งเป็นรูป รู้แข็งเป็นนาม จิตคือตัวรู้แข็ง. แค่นี้ก็แยกรูปนามแล้ว. หรือง่ายๆคือมีสิ่งที่ถูกรู้กับสิ่งที่รู้. สิ่งที่ถูกรู้คือรูป. สิ่งที่รู้คือนาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2018
  8. กล้วยเน่า

    กล้วยเน่า สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2018
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +5
    ไม่เข้าใจคำว่ากิริยาจิตกระเพื่อมค่ะ???
     
  9. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    กระเพื่อมคือมันมีการเคลื่อนไหว แกว่งไปแกว่งมา เนื่องจากมี
    อะไรก็ตามเข้ามารวมกับมัน
    จนกระทั่งสามารถรู้สึกได้และสัมผัสได้จากภายนอก
    ไม่ว่าตัวเราหรือคนอื่นๆก็สัมผัสได้ครับ...

    ถ้าพอแยกรูปแยกนามได้ อาการพวกนี้เป็นเรื่องปกติครับ
    ยิ่งตอนออกกำลังกาย ปกติเราจะรู้สึกว่า หัวใจมันเต้นแรง
    ถ้าเอามีจับจะรู้สึกได้ชัด จิตกระเพื่อมก็คล้ายกัน
    เพียงแต่มันมาเต้นอยู่ตรงกลางลิ้นปี่นั่นหละครับ
    และถ้าเราทำบุญ เราก็จะรู้สึกเย็นตรงนี้ด้วยครับ

    ทำไมต้องตรงลิ้นปี่ เพราะฐานของจิตมันอยู่ตรงนั้น
    ที่กายครับ...ต้องเข้าใจนะ จิตมันเคลื่อนไปบริเวนไหนก็ได้
    แต่ฐานในที่นี้ เราวัดตรง ถ้ามันแยกกับกายได้อย่างเด็ดขาดชั่ว
    คราวแล้ว จิตมันอยู่นิ่งๆตรงไหนนั่นเอง...
    ตรงนี้ อาจต้องใช้สมาธิระดับสูงหน่อยครับ
    ถึงจะพอเข้าใจได้ ...

    เด่วถ้าเจริญสติจนแยกรูปแยกนามได้จากการปฏิบัติ
    จะเข้าใจที่เล่าให้ฟังก่อนหน้าทั้งหมดได้เอง
    ด้วยตัวเราเองนี่หละครับ
     
  10. ณฉัตร

    ณฉัตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2015
    โพสต์:
    635
    ค่าพลัง:
    +792
    มีความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า ที่คิดว่า "ตัวเรา" นั้น คืออะไร ซึ่งก็คือ ธาตุ ทั้งนั้น

    ที่นี้ ธาตุ นั้น ซึ่งเราเข้าใจแบบวิทยาศาสตร์ไปก่อน เข้าใจธาตุ ที่มองเห็นได้ก่อนหรือที่ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเชื่อมการรับรู้ นั้นเป็นธาตุ ที่มีรูปธรรม หรือวัตถุ มวลสารต่างๆ

    ธาตุที่มองไม่เห็นอันนี้ยากกว่า สัมผัสได้โดยจิตสัมผัสเท่านั้น ไม่อาจใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าได้ การเห็นคนยิ้ม คนร้องให้ พวกนี้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า รับรู้ หมด

    ธาตุที่สัมผัสไม่ได้โดยประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่เป็น นามธรรม นั้นสัมผัสหรือรับรู้ได้ด้วย ใจ

    จะถือว่า เห็นได้ ก็ต่อเมื่อ มีสติสัมปชัญญะ ถ้าใจลงไปวิ่งตามนามธรรมใดๆ โดยขาดสติ ถือว่า มองไม่เห็น

    ส่วนประเภทของนามธรรมจะเป็นอย่างไร ก็ต้องมีกำลังของสติในระดับหนึ่ง จึงพอจะเข้าใจได้ตามหลักพุทธศาสนา (หมายถึง เรื่อง ธาตุ ธรรม และขันธ์ ๕)

    ลักษณะของบุคคลที่แยกรูป แยกนามได้ จะต้องอยู่ในโหมดได้วิปัสสนากรรมฐานขั้นต้น คือ นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งความแยกขาดจากกันของนามธรรมและรูปธรรม ที่ละอารมณ์โดยสภาพความเป็นอนัตตา (อธิบาย เอาง่ายๆ ว่า พอเห็นว่า ตัวเรานี้เป็นส่วนประกอบของแต่ละอย่าง ก็หาตัวเราไม่เจอ นอกจากธาตุที่ประกอบกัน จิตก็ตะหนักได้ว่า มีแต่ธาตุที่ประกอบกันเข้าเท่านั้น ที่จะคิดว่าเราคิดก็ไม่ได้แล้ว เพราะตัวคิดก็ทำงานอยู่ ก็ทำงานของมันเอง ที่จะคิดว่าเราทำ ก็ทำไม่ได้ เพราะตัวเจตนาก็ทำงานของมัน ที่จะคิดว่าเราปรุงแต่ง ก็ไม่ไช่เพราะส่วนปรุงแต่งก็ทำงาน ส่วนที่จะตามว่าเป็นเรา เรานั้นแหละตัวรู้ พอไปดูมัน มันก็ซ้อนกันไปเฉย คือเหมือนตัวรู้กลายเป็นตัวถูกรู้ และตัวรู้ก็ไม่ใช่ตัวถูกรู้อีก คือ มันเกิดดับตลอด เหมือนวิ่งไล่จับเงา)

    เริ่มต้นคือ พิจารณาสิ่งต่างๆ โดยเน้นที่ ดูใจ เป็นหลัก เมื่อกำลังของสมาธิถึงระดับ จิตก็จะเห็นนามรูป ได้ชัดเจนและจิตจะมีความตะหนักรู้ของมันเองว่า รูปนามมันแยกส่วนกันนะ ซึ่งสภาวะที่จิตรู้ ขึ้นกับกำลังของสมาธิด้วย

    พอจิตทราบว่า มันแยกกัน จิตจะวางตนเป็นกลางไปเอง การที่จะเคลื่อนไหวที่นามรูปเกิดขึ้นหรือแปรปรวนไปต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพปัญญาที่สั่งสมมา โดยความยึดมั่นว่า ตัวเราทำเองทุกอย่าง มันจะไม่รุ้สึกอย่างนั้น เป็นการทำไปด้วยเหตุผล สภาพอย่างนี้ ถ้ากำลังสมาธิลดลงต่ำกว่าปฐมฌาณ การแยกรูปนามจะไม่ชัดเจนเลย

    (บอกเล่าเฉพาะการขึ้นต้นด้วยสายสมถะนะครับ ส่วนสายปัญญา ผมไม่ได้ฝึกนะครับ ต้องอ่านจากคนอื่น)

    ตราบใดที่บุคคลแยกรูปแยกนามได้ ตราบนั้นจะใช้ชีวิตไปตามสติปัญญาไปเลยครับ และการปรุงแต่งจะถูกหยุดลง คือ ไม่มีการไปปรุงแต่งต่อมากมายตามแรงกิเลส แต่จะปรุงแต่งไปทางกุศลมากกว่า แต่ถ้าหลุดจากสภาวะวิปัสสนาข้อนี้ ใจจะผสมลงไปกับการปรุงของรูปกับนามไปเรื่อยๆ
     
  11. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ทำไมรู้สึกอะไรๆมันดูยากจัง เอาความรู้สึกของสมาธิมาบรรยายให้มันยุ่งดูยากกันไปใหญ่ ก็แค่รับรู้อะไรๆ นั้นแหล่ะจิต(นาม)เป็นตัวรู้ สิ่งที่ถูกรู้ก็คือรูป มันก็แค่นี้
     
  12. แนน จันทบุรี

    แนน จันทบุรี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2018
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +82
    ...ยกตัวอย่างง่ายๆ เรามีรูปคือกาย เราเลยหิว อาการหิวเป็นนามธรรม กาย คือรูปธรรม เมื่ออยากกินอาหารรสชาติเป็นอย่างนั้นอย่างนี้บอกคนที่เค้าไม่เคยทานก็ไม่เข้าใจ เป็นนามธรรม ซึ่งเมื่อพาตัวใจเข้าไปรับทานก็เป็นรูปธรรมขึ้นมาอย่างนี้ ยกตัวอย่างเช่นนี้ ฉะนี้...
     

แชร์หน้านี้

Loading...