เรื่องเด่น รัฐตื่นฟื้นสุขภาพพระสงฆ์ 3 แสนรูปทั่วประเทศ

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 22 สิงหาคม 2018.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    e0b899e0b89fe0b8b7e0b989e0b899e0b8aae0b8b8e0b882e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887.jpg

    พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เปิดเผยในเวที “ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติสู่พื้นที่” ที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตขอนแก่น ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ โดยเร่งรัดขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.2560 ” เป็นกรอบและแนวทางสร้างสุขภาวะให้กับพระสงฆ์ทั่วประเทศกว่า 300,000 รูป เพื่อฟื้นคืนบทบาทสถาบันทางศาสนา ให้เป็นเสาหลักในการดูแลสุขภาพสงฆ์ด้วยกันเอง และประชาชน

    ทั้งนี้ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เป็นแกนประสานนำนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดยนำ 2 โครงการสำคัญเข้ามาเป็นกลไกในการทำงาน ได้แก่ “1 วัด 1 โรงพยาบาล/รพ.สต.” ซึ่งเป็นการจับคู่การดูแลสุขภาพพระสงฆ์กับสถานบริการสุขภาพ อย่างน้อยโรงพยาบาล หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ละ 1 วัด ที่กระทรวงสาธารณสุขเริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันวิสาขบูชาที่ผ่านมา และ “โครงการขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมพลัง บวร (บ้าน วัด โรงเรียน)” ที่ดำเนินการโดยกรมการศาสนากำหนดให้วัด หรือศาสนสถาน บ้าน ชุมชน และโรงเรียน พลังประชารัฐ บูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่

    “ได้มอบให้หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เร่งนำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติฉบับแรกไปขับเคลื่อนให้เกิดรูปธรรมความสำเร็จ และขยายสู่ทั่วประเทศต่อไป”

    พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวต่อว่า สำหรับเป้าหมายการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติสู่พื้นที่ในระยะสั้น 2 เดือนนี้ หรือ ภายในเดือนกันยายน 2561 จะมีวัดต้นแบบ 1 วัด 1 รพ./รพ.สต. ที่ดำเนินการให้ได้ผลรูปธรรม 20 วัดเริ่มจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนเป้าหมายระยะ 5 เดือน ถึงธันวาคม 2561 จะเริ่มขยายไปในภาคอื่นๆ โดยจะเพิ่มวัดต้นแบบ 1 วัด 1 รพ./รพ.สต. ให้ได้อย่างน้อย 50 วัด และปี 2562 ตั้งเป้าหมายขยายผลให้ได้วัดต้นแบบทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 5,000 วัด ซึ่งต้องอาศัยคณะสงฆ์ในการมอบหมายงานผ่านกลไกปกครองสงฆ์ทุกระดับ

    b899e0b89fe0b8b7e0b989e0b899e0b8aae0b8b8e0b882e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887-1.jpg

    พระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานกรรมการฝ่ายสงฆ์ ของคณะกรรมการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระสงฆ์แห่งชาติ กล่าวว่า มหาเถรสมาคมได้เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติที่ประกาศใช้ไปเมื่อ 31 ธันวาคม 2560 ผ่านคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปกิจการคณะสงฆ์ โดยการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์จะยึดหลัก “ธรรมนำโลก” เพื่อมุ่งสู่ 3 เป้าหมายสำคัญคือ 1.พระสงฆ์ต้องดูแลสุขภาพกันเองได้ 2.ชุมชนและสังคมร่วมกันดูแลสุขภาพพระสงฆ์ และ 3. พระสงฆ์มีบทบาทในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนได้เช่นที่เคยเป็นมา

    ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ปัจจุบันสสส.ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬากรณราชวิทยาลัย (มจร.) เคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ในระดับพื้นที่แล้ว 20 จังหวัด

    นอกจากนั้น ได้ร่วมกับ พศ., มจร. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน จับคู่พัฒนาสภาพแวดล้อมของวัดตามแนวทาง 5 ส ภายใต้โครงการ วัด ประชา รัฐสร้างสุข ซึ่งมีวัดเข้าร่วมแล้วกว่า 2,900 วัด โดยจะทำคู่ไปกับการสื่อสารเพื่อให้ความรู้พระสงฆ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง และให้ญาติโยมที่มาถวายอาหารพระมีความรู้เรื่องอาหารพระสงฆ์ โดยหลังจากเวทีคิกออฟในครั้งนี้ จะสนับสนุนการกระจายชุดความรู้ให้กับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่เป้าหมายทั่วประเทศต่อไป

    นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า สุขภาวะของพระสงฆ์ถือว่ามีความสำคัญต่อสถาบันพระพุทธศาสนา พศ. จึงมีนโยบายดำเนินการในเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง และหลังจากที่ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พ.ศ.2560 ประกาศใช้แล้ว ขณะนี้ 3 หน่วยงานหลัก ได้แก่ พศ., สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และกรมการปกครอง ได้เร่งดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จัดทำบัตรประจำตัวพระสงฆ์ และทะเบียนวัดทั่วประเทศร่วมกัน เชื่อว่าจะช่วยให้พระสงฆ์ทุกรูปจะเข้าถึงสิทธิและบริการทางสุขภาพ ได้รับการดูแลเมื่ออาพาธ และมีการส่งเสริมสุขภาพอย่างทั่วถึง

    นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าการจัดทำธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากพบว่า พระสงฆ์จำนวน 300,000 รูป กว่า 170,000 รูปสุขภาพไม่ดี และ ในรอบ 10 ปี (2549-2559) พระสงฆ์ป่วยเป็นโรคมากขึ้น 10% โดย 5 โรคสำคัญ ประกอบด้วย ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไตวาย และข้อเข่า จึงต้องส่งเสริมในเรื่องสุขภาพพระสงฆ์มากขึ้น

    e0b899e0b89fe0b8b7e0b989e0b899e0b8aae0b8b8e0b882e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887.png Add Friend b899e0b89fe0b8b7e0b989e0b899e0b8aae0b8b8e0b882e0b8a0e0b8b2e0b89ee0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b887-1.png Follow ขอขอบคุณที่มา
    https://www.thebangkokinsight.com/36839
     

แชร์หน้านี้

Loading...