รวมประวัติ พระสายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 18 สิงหาคม 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    รวมประวัติพระป่า
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

    วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    [​IMG]

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย



    <DD>พระอาจารย์เสาร์ ฉายา กนฺตสีโล เกิด ณ วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ปีระกา วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองซาง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากท่านเป็นพระวิปัสสนาธุระรุ่นแรก ก่อนจะมีการบันทึกจดจำประวัติศาสตร์ของท่าน ได้โดยละเอียดถี่ถ้วน จึงทำให้ทราบเพียงชีวประวัติย่อเท่านั้น



    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ภายหลังที่หลวงปู่เสาร์ ท่านสละเพศฆราวาสแล้ว ท่านอุปสมบทอยู่ที่วัดใต้จังหวัดอุบลราชธานี ภายหลังต่อมาได้เปลี่ยนแปลงเป็นพระธรรมยุต ชื่อวัดศรีทอง มีพระครูชา โชติปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ และมี เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมาวาจารย์



    <DD>ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปทางสมาธิวิปัสสนา และพอใจแนะนำคำสั่งสอนผู้อื่น ในทางนั้นด้วย จึงเป็นผู้ใฝ่ใจในธุดงค์วัตร หนักในทางสมาธิ ชอบวิเวก และไม่ติดถื่นที่อยู่ และท่านได้รับความสงบใจ ในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก เพราะการปฏิบัติสมาธิเป็นชื่อแห่งความเพียร เป็นข้อปฏิบัติที่ดีปฏิบัติชอบ ซึ่งไม่มีข้ออื่นดียิ่งไปกว่านี้



    <DD>หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล มีความรู้ความเข้าใจขึ้นโดยลำดับแห่งองค์ภาวนา ต่อมาท่านมีความปรารภขึ้นมาว่า การที่ท่านปฏิบัติภาวนาอยู่นี้ ก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แต่ทางที่ดี ควรออกไป อยู่ป่าดง หาสถานที่สงบจากผู้คน จิตใจคงจะสงบลงกว่าเป็นแน่แท้



    <DD>ดังนั้นท่านได้ออกธุดงค์มุ่งสู่ป่าทันทีในวันรุ่งขึ้น ความปรารถนาของท่านก็เพื่อภาวนา และพิจารณาสมาธิธรรม ถ้าแม้เป็นไปจริงดังคำตั้งใจแล้ว เมื่อกลับเข้าสู่วัด ท่านจะนำความรู้ที่เกิด จากจิคใจเหล่านั้นมาเผยแพร่ ฝึกศิษย์ที่หวังซึ่งความพ้นทุกข์ต่อไป



    <DD>ภายหลังจาก หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ไปอยู่ป่าดงฝึกจิตใจเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา จำพรรษาท่ามกลางสิงสาราสัตว์ ในหุบเขาถ้ำลึก เป็นเวลาอันสมควร ท่านจึงได้ออกมาเปิดสำนักปฏิบัติธรรมใน วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในสมัยก่อนนั้น มีพระสฆ์และฆราวาสที่สนใจจริงจังไม่มากนัก ถึงกระนั้น ท่านก็มิได้ลดละพยายาม ท่านตั้งอกตั้งใจในการอบรม สั่งสอนผู้สนใจในธรรม ให้เกิดความรู้แจ้ง

    แก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อเป็นหลักยืนยันว่า การเจริญศีล สมาธิ ปัญญานี้ เป็นทางสงบ สามารถทำตนให้พ้นทุกข์ได้จริง



    <DD>ดังคำพระธรรมเทศนา โดย พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต แสดงที่วัดถ้ำกลองเพล เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๒ เรื่อง
     
  3. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    <BLINK></BLINK><DD>หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
    วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร


    </DD>

    <DD>[​IMG]

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย



    <DD>ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชิ่อจันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดีมาแต่กำเนิด ฉลาดเป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอมอ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะ มีความทรงจำดีและขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
    <DD>
    เมื่อท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนา มีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดาเต็มความสามารถ

    <DD>ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า
     
  4. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,020
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม

    วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    [​IMG]

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย


    <DD>พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม เกิดที่บ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2432 ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4ปีฉลู ท่านมีนามเดิมว่า สิงห์ บุญโท บิดาชื่อ เพีย อัครวงศ์(อ้วน) (เพีย อัครวงศ์ เป็นตำแหน่งข้าราชการหัวเมืองลาวกาว-ลาวพวน มีหน้าที่จัดการ ศึกษา และ การพระศาสนา)มารดาชื่อ หล้า บุญโท การศึกษาในสมัยที่ท่านเป็น ฆราวาส ท่านได้ศึกษาจนเป็นครูสอนวิชาสามัญได้ดีผู้หนึ่ง

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา


    <DD>พระอาจารย์สิงห์ ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ.2446 ใน สำนักพระอุปัชฌาย์"ป้อง" ณ วัดบ้านหนองขอน ต.หัวทะเล อ.อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี เมื่ออายุครบบวชก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ฯ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2452 โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)สมัย เมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระศาสนดิลก เจ้าคณะมณฑลอีสาน เป็นพระอุปัชฌาย์ นับ ว่าเป็นสิทธิวิหาริกอันดับ 2 ของสมเด็จมหาวีรวงศ์ ภายหลังอุปสมบทท่าน ได้ปฎิบัติและเจริญรอยตามโอวาทแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงประทานไว้ โดยย่อว่า รุกขมูลเสนาสนะ เป็นต้น ท่านได้มุ่งสู่ราวป่าและปฎิบัติตามเยี่ยงพระอริยเจ้า ทั้งหลายที่เคยปฎิบัติมา ด้วยความวิริยะอุตสาห์พยายาม ด้วยวิสัยพุทธบุตร พระอาจารย์ สิงห์ สามารถรอบรู้เล่ห์เหลี่ยมกลอุบายของกิเลสตัณหา ได้อย่างแยบยล ด้วยสติ ปัญญาและกุศโลบายอันยอดเยี่ยมเข้าพิชิตติตตามฆ่าเสียซึ่งอาสวกิเลสต่างๆที่เข้า มารุมเร้าจิตใจของท่านได้อย่างภาคภูมิจนสามารถรอบรู้ นำคณะพระกรรมฐาน แห่งยุคนั้นออกเที่ยวอบรมสั่งสอนประชาชนผู้โง่เขลาเบาปัญญาให้หันมานับถือ พระพุทธศาสนา ยึดมั่นในพระไตรสรณคมน์ น้อมจิตให้หันมาประพฤติปฏิบัติธรรม
    <DD>พระอาจารย์สิงห์ ได้เข้าถวายตัวเป็น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และได้ฝึก อบรมสมาธิภาวนากรรมฐานอยู่กับหลวงปู่มั่น จนมีกำลังอันแก่กล้าแล้ว และ เนื่องจากท่านเป็นศิษย์ที่ได้รับความไว้วางใจจากท่านหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็น อย่างมาก หลวงปู่มั่น จึงได้แยกย้ายไปอบรมสั่งสอนประชาชน พระอาจารย์สิงห์ ท่านเป็นพระที่สามารถให้อุบายธรรมแก่บรรดาลูกศิษย์โดยไม่ว่าผู้ใดติดขัด ปัญหาธรรมแล้ว ท่านจะแนะนำอุบายให้พิจารณาจนกระจ่างแจ่มใสเลยทีเดียว ด้วยอำนาจญานวิเศษ สามารถรู้วาระจิตของศิษย์เป็นเยี่ยมเป็นบางเวลาที่ศิษย์ กลับเข้ามาหาท่านและขออุบายธรรมและขอให้ท่านแก้ไข ฉะนั้นท่านอาจารย์สิงห์ จึงต้องรับภาระหน้าที่แทน หลวงปู่มั่น นับว่าหนักหนาพอสมควรทีเดียว พระอาจารย์ สิงห์ มักจะฝึกให้ศิษย์ทั้งหลายได้อสุภกรรมฐานจากซากศพที่ชาวบ้านเขานำเอามา ฝังบ้าง เผาบ้าง หรือไม่ก็ใส่โลงไม้อย่างง่ายๆ เก็บเอาไว้รอวันเผา บางครั้งท่านจะพา ลูกศิษย์ไปเปิดโลงศพหรือขุดขึ้นมาดูเพื่อฝึกพระลูกศิษย์ของท่าน ดังที่พระญาณ สิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) ได้กล่าวถึง พระอาจารย์สิงห์ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ ของท่านไว้และเมื่อท่านเห็นว่า คณะศิษย์องค์ใด พอฝึกสมาธิภาวนาแก่กล้าตามวาระ ความสามารถแล้วท่านจะแยกให้ไปอบรมธรรมเป็นแห่งๆโดยลำพัง ท่านได้เคยพา คณะศิษย์ของท่านไปปักกลดโดยยึดเอาสถานที่เป็นป่าช้าเก่าแก่เรียกว่า ป่าช้าบ้าน เหล่างา จังหวัดขอนแก่น ซึ่งในกาลต่อมาเป็นวัดชื่อว่า วัดป่าวิเวกธรรม อุปมาเป็น กองบัญชาการฝ่ายประพฤติปฎิบัติธรรมส่งเสริมสานุศิษย์ทั้งมวลออกเผยแพร่ธรรม ไปตามอำเภอต่างๆ จนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกาลต่อมา พระลูกศิษย์ของ พระอาจารย์สิงห์ อีกองค์หนึ่งซึ่งในกาลต่อมาท่านได้มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดท่านหนึ่ง คือ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเคยธุดงค์ในคณะหรือกองทัพธรรมที่มีพระอาจารย์สิงห์ เป็น พระหัวหน้าคณะ
    <DD>ต่อมาหลวงชาญนิคม ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความเลื่อมใสในธรรมของพระพุทธ เจ้าและเลื่อมใสในพระธุดงค์กรรมฐานมาก มีประสงค์เป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูจังหวัด นครราชสีมาให้เป็นศูนย์รวมของพระผู้ปฎิบัติดี ปฏิบัติชอบจึงได้นิมนต์ พระอาจารย์ สิงห์ ขันตยาคโม ให้ไปช่วยสร้างวัดป่าสาลวัน เพื่อเป็นวัดป่าตัวอย่างของฝ่ายวิปัสนาธุระซึ่ง พระอาจารย์สิงห์ก็รับนิมนต์ตามคำขอร้องของหลวงชาญนิคมก่อร่างสร้าง"วัดป่าสาลวัน "จนเป็นที่เรียบร้อยเดิมบริเวณวัดป่าสาลวันนั้นเป็นป่ารกและมีต้นไม้ที่เป็นมงคลอยุ่ต้น หนึ่งซึ่งมีความสำคัญในทางพระพุทธศาสนา คือ ต้นสาละ ภายหลังสร้างวัดป่าสาลวัน เสร็จสิ้นแล้ว บรรดาลูกศิษย์ที่เป็นยอดขุนพลทางธรรมทั้งหลายได้เดินทางมาอยู่จำ พรรษากับท่าน ต่อมาท่านได้พาคณะออกเดินธุดงค์ภายหลังจากออกพรรษาผ่านป่าเขา ผ่านไปในที่ต่างๆจนมาถึง อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ท่านได้พักปักกลดลง ณ บริเวณป่า ช้า รกร้างว่างเปล่า ท่านพระอาจารย์สิงห์ และบรรดาพระลูกศิษย์ต่างก็ออกไปยังหมู่บ้าน ต่างๆนำธรรมะของพระศาสดาเจ้ามาสู่ประตูบ้าน ให้ชาวบ้านที่ยังติดขัดในความประพฤติ ยึดถือในสิ่งที่ไร้ประโยชน์ต่างๆหันมารับพระไตรสรณคมน์ พระอาจารย์สิงห์ ท่านได้ ตั้งใจว่าจะพยายามสร้างวัดป่าขึ้นที่นี่เพื่อเป็นปูชนียสถานสำหรับผู้มีความสนใจในกา รประพฤติปฎิบัติปฎิบัติธรรม แต่ท่านก็ได้ถูกชาวบ้านส่วนใหญ่คัดค้านอย่างรุนแรง และ ข่มขู่ท่านว่า "ถ้าหากมีการสร้างวัดป่าขึ้นพวกเราจะฆ่าท่าน" ท่านมาพิจารณาด้วยสติ ปัญญาอันรอบคอบ ไม่เกรงกลัวต่อคำขู่ ไม่เกรงว่าจะต้องตายด้วยน้ำมือชาวบ้าน ชีวิต นี้พระอาจารย์สิงห์ ได้มอบกายถวายชีวิตไว้กับพระพุทธเจ้าแล้ว และด้วยกระแสแห่ง พรหมวิหารธรรมของท่าน ซึ่งมีพลังอำนาจได้แผ่ไปยังบุคคลที่ประสงค์ร้ายต่อท่านจึง สามารถเปลี่ยนใจ เขาเหล่านั้นให้รับฟังธรรมะที่ท่านแสดงยกเหตุผลอันสุขุมอ่อนโยน ป้อนเข้าสู่จิตใจจนระลึกถึงความผิดของตนที่คิดชั่วร้ายต่อพระสงฆ์ ผู้มีความบริสุทธิ์ ด้วยศีลธรรม และในที่สุดนอกจากยอมรับธรรมะอันวิเศษแล้ว ยังช่วยกันสร้างสำนัก สงฆ์เพื่อถวายแก่พระอาจารย์สิงห์ และคณะด้วยจนสำเร็จ
    <DD>พระอาจารย์สิงห์ ท่านได้มีโอกาสพบกับพระผู้สหาย ซึ่งต่อมาเป็นพระเถระ ผู้ใหญ่แห่งจังหวัดสุรินทร์ นั่นคือ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล หลวงปู่ดุลย์ เองสมัยนั้นท่านก็ยัง อยู่ในฝ่ายมหานิกายยังไม่ได้ญัตติเป็นธรรมยุติกนิกาย ดังนั้นพระอาจารย์สิงห์เมื่อได้ พบพระสหายคือ หลวงปู่ดุลย์ อัตโลแล้ว ท่านเกิดชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดุลย์ และได้เห็นปฏิปทาในการศึกษา ประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาอย่างจริงจังมีความ ตั้งใจจริง ท่านพระอาจารย์สิงห์ จึงได้จัดการช่วยเหลือพระสหาย คือ หลวงปู่ดุลย์ ได้ ญัติเป็นพระธรรมยุติกนิกายได้เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ.2461
    <DD>พระอาจารย์สิงห์ ท่านมีน้องชายที่สนใจทางด้านปริยัติธรรมจนสามารถ สอบได้เป็นมหา นั่นคือ พระอาจารย์มหาปิ่น ปัญญาพโล แต่ท่านพระอาจารย์สิงห์ มีความประสงค์ให้พระผู้น้องได้ประพฤติในทางปฎิบัติธรรมท่านจึงได้ปรารภเรื่องนี้กับ หลวงปู่ดุลย์ และได้เชิญหลวงปู่ดุลย์ให้ช่วยทรมานและชักนำพระมหาปิ่นให้มาสนใจ ในทางธุดงคกรรมฐานการทรมานมิได้ใช้วิธีอื่นที่เรียกว่า รุนแรง แต่เป็นการทรมานให้ เห็นความสำคัญและปฏิปทาในการปฏิบัติ ในที่สุด พระอาจารย์สิงห์และหลวงปู่ดุลย์ ท่านก็ค่อยสามารถทรมานโน้มน้าวความคิดจิตใจของท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ให้เลื่อม ใสในกิจธุดงค์ได้จนหมดสิ้น
    <DD>ต่อมา พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น และบรรดาพระอาจารย์ ฝ่ายปฏิบัติต่างๆหลายท่าน เดินธุดงค์ผ่านมาถึงจังหวัดปราจีนบุรี ท่านได้เปิดสำนัก ปฏิบัติธรรมขึ้นแห่งหนึ่ง ซึ่งบริเวณนั้นเป็นป่าช้า หรือ เรียกว่า ป่ามะม่วง การมาอยู่จำ พรรษาที่นี่ท่านได้นำธรรมะปฎิบัติสอนให้บรรดาชาวบ้านโดยทั่วไป ประพฤติ ปฎิบัติจนปรากฎว่าชื่อเสียงในการสั่งสอนและแสดงพระธรรมเทศนาของท่านลึกซึ้ง จับใจ ฟังแล้วเข้าใจง่าย คนที่ได้สดับรับฟังแล้วนำไปประพฤติปฏิบัติตามจนเกิดสติ ปัญญารอบรู้ แต่ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้สร้างความไม่พอใจแก่คนเลวบางคนเป็นยิ่งนัก ถึงขนาดจ้างมือปืนมาฆ่าท่าน แต่ก็เกิดปาฏิหารย์ขึ้นในขณะที่มือปืนเล็งปืนขึ้นหมาย ยิงท่านนั้น ต้นไม้ทุกต้นในบริเวณป่าช้าแกว่งไกวเหมือนถูกลมพัดอย่างรุนแรงขนาด ต้นไม้โตๆ ล้มระเนระนาดหมดทำให้มือปืนใจชั่วตกใจเหลือกำลังจะวิ่งหนีแต่ขาก้าว ไม่ออก ปืนที่หมายจะยิงพระอริยเจ้าผู้ปฎิบัติชอบได้ตกหล่นอยู่บนพื้นดินมือปืนจึงก้ม ลงกราบพร้อมกับกล่าวคำสารภาพผิด พระอาจารย์สิงห์ได้อบรมจิตใจของมือปืนรับ จ้างด้วยความเมตตา และปล่อยตัวไป ซึ่งต่อมาผู้มีอิทธิพลซึ่งจ้างมือปืนฆ่าพระอาจารย์ สิงห์ได้สำนึก และ ได้รับฟังธรรมะโอวาทจากพระอาจารย์สิงห์ เกิดปิติในธรรมะอย่าง ล้นพ้นเลื่อมใสศรัทธาด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จึงพร้อมใจกันฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่าน พระอาจารย์สิงห์ และ ได้ชักชวนกันสร้างสำนักสงฆ์อันถาวรถวายพระอาจารย์สิงห์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงคุณของท่านที่ได้เปิดตาเปิดใจพวกเขาให้ได้รับแสงสว่างใน ธรรมะ และได้ตั้งชื่อไว้ว่า"วัดป่ามะม่วง"หรือวัดป่าทรงคุณแห่งจังหวัดปราจีนบุรีใน ปัจจุบันนี้
    <DD>ปี พ.ศ. 2463 พระอาจารย์สิงห์ ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านมาพักจำพรรษา อยู่ที่วัดบ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ท่านได้พบ กับเด็กหนุ่มรุ่นๆคนหนึ่ง มีความเคารพนับถือพระอาจารย์สิงห์มากเป็นพิเศษเข้า มารับใช้อุปัฎฐากทุกสิ่งอย่าง เด็กรุ่นหนุ่มคนนั้นคือ หนุ่มเทสก์ เรี่ยวแรง ซึ่งก็คือ พระราชนิโรจรังสีคัมภีร์ปัญญาวิศิษฐ์(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)นี้เอง ซึ่งในขณะนั้น มีอายุ 16 ปี พระอาจารย์สิงห์ได้มองเห็นบุญญาธิการของหลวงปู่เทสก์ตั้งแต่แรก พบ เมื่อคณะธุดงค์ของท่านจะออกจากวัดบ้านนาสีดา หลวงปู่เทสก์ (ในขณะนั้น คือ หนุ่มเทสก์ เรี่ยวแรง)ได้ขอติดตามพระอาจารย์ไปด้วย พระอาจารย์สิงห์ จึง ได้ให้ไปขออนุญาตบิดามารดาเสียก่อน และก็ได้เป็นไปตามสภาพกุศลเกื้อกูลทุก ประการ ท่านได้พาคณะธุดงค์เดินตัดตรงไปทางอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้พักจำพรรษาโดยปักกลดในบริเวณป่าช้าแห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นแหล่ง ปฎิบัติสมาธิภาวนาธรรมชื่อว่า"วัดป่าอรัญญวาสี "อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ท่านได้พร่ำสอนลูกศิษย์รัก คือ หนุ่มเทสก์ เรี่ยวแรงให้รู้จักเจริญพรหมวิหารธรรม ต่อมาท่านได้มอบหมายให้พระอาจารย์ลุยเป็นอุปัชฌาย์ บรรพชาสามเณรเทสก์ ขึ้นที่วัดบ้านเค็งใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
    <DD>ในการทดแทนพระคุณวันสูงล้ำของบิดามารดา พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ได้เดินทางไปโปรดบิดามารดาขนมีจิตใจแจ่มใสเบิกบานในธรรม ท่านได้ให้บิดามารดาเจริญวิปัสสนากรรมฐานโดยการแนะนำไปทีละน้อยๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของบุตรพึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง
    <DD>พระอาจารย์สิงห์ ได้รับพระราชสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชาคณะชั้น สามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระมีนามว่า พระญาณวิศิษฎ์สมิทธิวีราจารย์ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2500 และเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2507 เวลา 10.20 น.ท่านได้ จากไปเพราะอาพาธด้วยโรคมะเร็งเรื้อรังในกระเพาะอาหาร ณ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา รวมสิริอายุ ได้ 73 พรรษา

    โอวาทธรรม


    <DD>พระอาจารย์สิงห์ และพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เรียบเรียงแบบถึงพระไตรสรณคมน์กับแบบวิธีนั่งสมาธิภาวนา ตามที่คุณหา บุญมาไชย์ ปลัดขวาอำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้เรียบเรียงไว้เมื่อ ปี พ.ศ.๒๔๗๔ ดังนี้
    คำปรารภของพระญาณวิศิษฎ์ ในการพิมพ์หนังสือพระไตรสรณคมน์และสมาธิวิธี

    <DD>หนังสือพระไตรสรณคมน์นี้ เป็นวิธีประกาศปฏิญาณตน ถึงพระไตรสรณคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะด้วย ทั้งได้ใช้เป็น วิธีไหว้พระทุกวันด้วย ตามระเบียบธรรมเนียมของพระ พุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลก็มีพระบาลีแสดงให้ปรากฎอยู่แล้ว ว่า บรรดาประชาชนทั้งหลายผู้มีศรัทะา ความเชื่อ ความเลื่อม ใส ได้ตั้งตนเป็นพุทธบริษัทมาแล้ว ล้วนแต่ได้ประกาศปฏิญาน ตนถึงพระไตรสรณาคมน์ทั้งนั้น อุทาหรณ์ข้อนี้พึงเห็นมารดา บิดาแห่งยสกุลบุตรแลสิงคาลกมาณพเป็นตัวอย่างวิธีปฏิญาณ ตนถึงสรณะนี้ ดูเหมือนขาดคราว ไม่ได้ใช้ทำกันมานาน จนพวกอุบาสกอุบาสิกากลายเป็นมิจฉาทิฎฐิถือผิดเป็นชอบคือ นับถือภูตผีปีศาจนับถือเทวดาอารักษ์หลักคุณกันไปหมด ผู้ที่ จะตั้งใจนับถือพระไตรสรณาคมน์จริงๆ ไม่ใคร่มีเลยถึงแม้มีก็ น้อยที่สุด จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าปรารภถึงพระพุทธศาสนาบ่อยๆ แลได้ช่วยแนะนำสั่งสอนให้ประชาชนพลเมืองทั้งหลายได้ประกาศ ปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณาคมน์แสดงตนเป็นพุทธมามกะก็มาก มายหลายคนแล้ว แต่ยังไม่มีหนังสือแจกจึงได้พิมพ์หนังสือ "พระ ไตรสรณาคมน์" นี้ขึ้น
    <DD>อีกประการหนึ่ง ในพระพุทธศาสนาแสดงว่าบุญกับบาปสงเคราะห์ เข้ากันไม่ได้บุคคลที่ได้ทำบาปทำอกุศาลไว้แล้วจะทำบุญแก้บาปก็ แก้ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้ที่จะละบาปบำเพ็ญบุญนั้น จะต้องทำอย่าง ไรกัน ก็ต้องตอบได้ง่ายๆ ว่า ไม่มีวิธีอย่างอื่น นอกจากวิธีแก้จิต เพราะเหตุว่าวิธีแก้จิตเป็นหัวใจแห่งพระพุทธศาสนา แลเป็นหัวใจ แห่งสมถะและวิปัสนากัมมัฎฐาน มีในพระบาลีก็แสดงให้รู้แจ้งรู้แล้ว ว่า พระพุทธเจ้าก็ดี พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าก็ดี ล้วนแต่ได้ทรงแก้จิต มาแล้วทั้งนั้นจึงสำเร็จพระโพธิญาณแลสาวกบารมีญาณพันจากทุข์ใน วัฎฎสงสารไปได้ เมื่อบุคคลมาแก้ไขซึ่งจิตของตนให้บริสุทธิ์เรียบร้อย แล้ว บาปอกุศลที่ตนทำไว้ทั้งหลายก็หลุดหายไปเอง อุทาหรณ์ข้อนี้ถึง เห็นองคุลีมาลเป็นตัวอย่าง
    <DD>วิธีแก้จิตก็คือวิธีนั่งสมาธินี้เอง แต่ก็เป็นของที่ขาดคราวมานาน จนผู้ ศึกษาพระพุทธศาสนาเข้าใจผิดไปหมดว่าหมดคราวหมดสมัย หมด เขตมรรคผลธรรมวิเศษเสียแล้ว จึงทำตนให้เป็นคนจนท้อแท้อปราชัย ไม่สามารถหาอุบายแก้ไขซึ่งจิตของตนต่อไปได้ มีข้อเหล่านี้แลเป็น เหตุทำให้ข้าพเจ้าได้รับความสังเวชมามาก จึงปรารภถึงพระพุทธศาสนา ยิ่งขึ้น คุณหา บุญมาชัย ปลัดขวา อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น อาราธนาให้ข้าพเจ้าเรียบเรียบวิธีแก้จิตคือ สมาธินีขึ้น เชื่อว่าคงเป็น ประโยชน์แก่เหล่าพุทธบริษัทผู้นับถือพระพุทธศาสนาตั้งอยู่ในพระไตร สรณาคมน์ได้ปฏิบัติสืบไป อุบาสก อุบาสิกามีศรัทธาบริจาคทรัพย์พิมพ์ ไว้ในพระพุทธศาสนา พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
    พระไตรสรณคมน์

    <DD>วิธีปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ เป็นพุทธมามกะคือ เป็นอุบาสก อุบาสิกา ในพระพุทธสาสนาตลอดชีพ
    <DD>คำปฏิญาณตนถึงสรณะ เมื่อน้อมตนเข้ามานั่งเฉพาะหน้าพระสงฆ์ทั้งปวงแล้วถวาย เครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น กราบ ๓ หน นั่งคุกเข่าประณมมือ เปล่งวาจาว่า อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ ภควา, พุทธํ ภควนตํ อภิวาเทมิ. กราบ ๓ หน สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม, ธมฺมํ นมสฺสามิ. กราบ ๓ หน สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สงฺฆํ นมามิ. กราบ ๓ หน นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (๓ จบ) ว่าองค์พระไตรสรณาคมน์ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ทติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ทติยมฺป ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. ทติยมฺป สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉาม.ิ ตติยมฺป ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. ตติยมฺป สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ปฏิญาณตนว่า เอสาหํ ภนฺต, สุจิรปรินพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุฆญฺจ. อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ. ทุติยมฺปาหํ ภนเต, สุจิรปรินพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุฆญฺจ. อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ. ตติยมฺปาหํ ภนฺเต, สุจิรปรินพฺพุตมฺปิ, ตํ ภควนฺตํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมญฺจ ภิกฺขุฆญฺจ. อุปาสกํ (อุปาสิกํ) มํ สงฺโฆ ธาเรตุ อชฺชตคฺเค ปาณุเปตํ สรณํ คตํ. แปลว่า ข้าพเจ้า ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปริพพานนานแล้ว พร้อมทั้งพระธรรม และพระอริยสงฆ์สาวก ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ที่นับถือของข้าพเจ้า ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าสิ้นชีวิตของพระสงฆ์ทั้งปวงจงทรงจำไว้ ซึ่งข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก (อุบาสิกา) ในพระพุทธศาสนาตลอดชีวิตแห่งข้าพเจ้านี้แลฯ เจริญพุทธคุณ อิติปิ โส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ, วิชชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู, อนุตตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควาติ. (กราบลง หมอบอยู่ว่า) กาเยน วาจาย ว เจตสา วา,พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ,พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนต์, กาลนตเร สํวริตุํ ว พุทฺเธ (เงยขึ้น) เจริญธรรมคุณ สวากฺขาโต ภควตา ธมโม,สนฺทิฎฺฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก,โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ. (กราบลง หมอบอยู่ว่า) กาเยน วาจาย ว เจตสา วา,พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ,พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนต์, กาลนตเร สํวริตุํ ว ธมฺเม. (เงยขึ้น) เจริญสังฆคุณ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สวกสงฺโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปริสยุคานิ อฎฺฐปุริสปุคฺคลา, เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ อาหุเนยฺโย ปาหุเนยฺโย ทกฺขิเณยฺโย อญฺชลีกรณีโย,อนุตฺตรธ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺสาติ (กราบลง หมอบอยู่ว่า) กาเยน วาจาย ว เจตสา วา,พุทฺเธ กุกมฺมํ ปกตํ มยา ยํ,พุทฺโธ ปฏิคฺคณฺหตุ อจฺจยนต์, กาลนตเร สํวริตุํ ว สงเฆ. (เงยขึ้น กราบ ๓ หน) นั่งพับเพียบ ประณมมือ ฟังคำสั่งสอนในระเบียบ วิธีรักษาและปฏิบัติพระไตร สรณคมน์ต่อไป ผู้ที่ได้ปฏิญาณตนถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วชื่อว่าเป็นพุทธบริษัท ชายเป็นอุบาสก หญิงเป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติพระ พุทธศาสนาสืบต่อไป วิธีรักษาพระไตรสรณคมน์ไม่ให้ขาดและไม่ให้เศร้าหมอง ดังนี้คือ :- ๑. เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเคารพ ๖ ประการ คือ เคารพในพระพุทธเจ้า ๑ เคารพ ในพระธรรม ๑ เคารพในพระอริยสงฆ์สาวก ๑ เคารพในความไม่ประมาท ๑ เคารพในไตรสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ๑ เคารพในปฏิสันถารการต้อนรับ ๑ ต้องเป็นผู้มีความเชื่อ ความเลื่อมใส นับถือพระรัตนาตรัยเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ของตนจริงๆ ถ้าประมาทเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ๒. เว้นจากการนับถือพระภูมิต่างๆ คือ ไม่นับถือภูตผีปีศาจ พระภูมิเจ้าที่ เทวบุตร เทวดา มนต์ คาถา วิชาต่างๆ ต่อไป ถ้านับถือเมื่อไรก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อ นั้น ๓. ไม่เข้ารีตเดียรถีย์ นิครณฐ์ คือไม่นับถือลัทธิ วิธี ศาสนาอื่น ภายนอกพระพุทธ ศาสนามาเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลีกของตนสืบต่อไป ถ้านับถือเข้ารีตเดียรถีย์เมื่อไร ก็ขาดจากคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ๔.ไม่นับถือลัทธิศาสนาพราหมณ์ คือไม่ดูไม้ดูหมอ แต่งแก้แต่งบูชา เสียเคราะห์เสีย ขวัญ เป็นต้น ถ้านับถือเมื่อไรก็เศร้าหมองในคุณพระรัตนตรัยเมื่อนั้น ๕. เป็นผู้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เช่น เชื่อว่า ทำชั่วได้ชั่ว ทำดีได้ดีเป็นต้น ตลอดจน เชื่อความตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด ไม่เชื่อมงคลตื่นข่าว ข้อนี้ต้องเป็นผู้มี สมาธิเสมอ ถ้าขาดสมาธิเมื่อไรก็ขาดศรัทธาความเชื่อมั่นนั้น ถ้าขาดศรัทธาความเชื่อเมื่อ ไรก็เศร้าหมองในคุณพระรัตนตรัยเมื่องนั้น
    วิธีปฏิบัติพระไตรสรณคมน์

    <DD>ท่านสอนให้ปฏิบัติใจของตนเอง เพราะคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ทั้งสามนี้สำเร็จด้วยใจ ล้วนเป็นคุณสมบัติของใจทั้งนั้น ท่านจึงสอนให้ ปฏิบัติใจของตนเองให้เป็นคนหมั่น คนขยัน ไหว้พระทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน
    <DD>ปฐมํ ยามํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธติ
    <DD>เวลาก่อนเข้านอน ตอนหัวค่ำให้เดินจงกรม แล้วทำพิธีไหว้พระ เจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนา ทำจิตสงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิก่อนเข้านอน
    <DD>อฑฺฒรตฺตํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธต
    <DD>เวลาเที่ยงคืน นอนตื่นข้นเป็นเวลาที่สงบสงัดดี ให้เดินจงกรม ทำพิธีไหว้พระเจริญ พรหมวิหารนั่งสมาธิภาวนา ทำจิตใจให้สงบและตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่ จึงนอน ต่อไปอีก
    <DD>ปจฺฉิมํ ยามํ จงฺกามาย นิสชฺชํ อาวรณิเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธตฯ
    <DD>เวลาปัจจุสมัย จวนใกล้รุ่ง ให้ลุกขึ้นแต่เช้า ล้างหน้า เช็ดหน้าเรียบร้อยแล้ว ทำพิธีไหว้พระเจริญพรหมวิหาร นั่งสมาธิภาวนาทำจิตให้สงบและตั้งมั่นเป็น สมาธิแน่วแน่แล้วเดินจงกรมต่อไปอีกจนแจ้ง เป็นวันใหม่ จึงประกอบการงาน ต่อไป
    สมาธิ พระญาณวิศิษฐ์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)

    <DD>
    ๑.นั่งสมาธิวิธี
    <DD>
    ให้นั่งขัดสมาธิ เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาวางทับมือซ้าย
    <DD>
    อุชุํ กายํ ปณิธาย ตั้งกายให้ตรง คือ ไม่ให้เอียงไปข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง และอย่างก้มนักเช่นอย่างหอยนาหน้าต่ำ อย่าเงยนักเช่นอย่างนก กระแต้ (นกกระต้อยตีวิด) นอนหงายถึงดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง อุชุํ จิตฺตํ ปณธาย ตั้งจิตให้ตรงคืออย่าส่งใจไปทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และอย่าส่งใจไปข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างหวา พึงกำหนดรวมเข้าไว้ในจิตฯ
    <DD>

    ๒.วิธีสำรวมจิตในสมาธิ
    <DD>
    มนสา สํวโร สาธุ สำรวมจิตให้ดี คือ ให้นึกว่าพระพุทธเจ้าอยูที่ใจ พระธรรม อยู่ที่ใจ พระอริยสงฆ์อยู่ที่ใจ นึกอยู่อย่างนี้จนใจตกลงเห็นว่า อยู่ที่ใจจริงๆ แล้ว ทอดธุระเครื่องกังวลลงได้ว่า ไม่ต้องกังวลอะไรอื่นอีก จะกำหนดเฉพาะที่ใจแห่ง เดียวเท่านนั้นจึงตั้งสติกำหนดใจนั้นไว้ นึกคำบริกรรมรวมใจเข้าฯ
    <DD>

    ๓.วิธีนึกคำบริกรรม
    <DD>
    ให้ตรวจดูจิตเสียก่อน ว่าจิตคิดอยู่ในอารมณ์อะไร ในอารมณ์อันนั้นเป็น อารมณ์ที่น่ารัก หรือน่าชัง เมื่อติดใจในอารมณ์ที่น่ารัก พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียง ไปด้วยความรักเมื่อติดในอารมณ์ที่น่าชัง พึงเข้าใจว่าจิตนี้ลำเอียงไปด้วยความ ชัง ไม่ตั้งเที่ยง พึงกำหนดส่วนทั้งสองนั้นให้เป็นคู่กันเข้าไว้ที่ตรงหน้าซ้ายขวา แล้ว ตั้งสติกำหนดใจตั้งไว้ในระหว่างกลาง ทำความรู้เท่าส่วนทั้งสอง เปรียบอย่างถนน สามแยกออกจากจิตตรงหน้าอก ระวังไม่ให้จิตแวะไปตามทางเส้นซ้าย เส้นขวา ให้เดินตรงตามเส้นกลาง แต่ระวังไม่ให้ไปข้างหน้า ให้กำหนดเฉพาะจิตอยู่กับที่นั่น ก่อน แล้วนึกคำบริกรรมที่เลือกไว้จำเพาะพอเหมาะกับใจคำใดคำหนึ่งเป็นต้นว่า "พุทโธ ธัมโม สังโฆ๐๐" ๓ จบ แล้วรวมลงเอาคำเดียวว่า "พุทโธๆๆ" เป็นอารมณ์แพ่ง จำเพาะจิต จนกว่าจิตนั้นจะวางความรักความชังได้ขาดตั้งลงเป็นกลางจริงๆ แล้วจึง กำหนดรวมทวนกระแสประชุมลงในภวังค์ ตั้งสติตามกำหนดจิตในภวังค์นั้นให้เห็น แจ่มแจ้งไม่ให้เผลอฯ
    <DD>

    ๔.วิธีสังเกตจิตเข้าสู่ภวังค์
    <DD>
    พึงสังเกตจิตใจเวลากำลังนึกคำบริกรรมอยู่นั้น ครั้งเมื่อจิตตั้งลงเป็นกลางวาง ความรัก ความชังทั้งสองนั้นได้แล้ว จิตย่อมเข้าสู่ภวังค์ (คือจิตเดิม) มีอาการต่างๆ กัน บางคนรวมผับลง บางคนรวมปึบลง บางคนรวมวับแวมเข้าไปแล้วสว่างขึ้นลืมคำ บริกรรมไป บางคนก็ไม่ลืม แต่รู้สึกว่าเบาในกายเบาในใจที่เรียกว่า กายลหุตา จิตฺตลหุตากายก็เบา จิตก็เบา กายมุทุตา จิตฺมุทุตา กายก็อ่อน จิตก็อ่อน กายปสฺสทฺธิ กายก็สงบ จิตก็สงบ กายุชุกตา จิตฺตุชุกตา กายก็ตรง จิตก็ตรง กายกมฺมญํญตา จิตฺตกมฺมญฺญตา กายก็ควรแก่การทำสมาธิ จิตก็ควรแก่การทำสมาธิ กายปาคุญฺญตา จิตูตปาคุญฺญตา กายก็คล่องแคล่ว จิตก็คล่องแคล่ว หายเหน็ดหายเหนื่อย หายเมื่อย หายหิว หายปวดหลังปวดเอว ก็รู้สึกว่าสบายในใจมาก ถึงเข้าใจว่าจิตเข้าสู่ภวังค์แล้ว ให้หยุดคำบริกรรมเสียและวางสัญญาภายนอกให้หมด ค่อยๆ ตั้งสติตามกำหนดจิตจน กว่าจิตนั้นจะหยุด และตั้งมั่นลงเป็นหนึ่งอยู่กับที่ เมื่อจิตประชุมเป็นหนึ่งก็อย่าเผลอสติ ให้พึงกำหนดอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะนั่งเหนื่อย นี้แล เรียกว่าภาวนาอย่างละเอียดฯ
    <DD>

    ๕. วิธีออกจากสมาธิ
    <DD>
    เมื่อจะออกจากที่นั่งสมาธิภาวนา ในเวลาที่รู้สึกเหนื่อยแล้วนั้น ให้พึงกำหนดจิต ไว้ให้ดีแล้วเพ่งเล็งพิจารณาเบื้องบนเบื้องปลายให้รู้แจ้งเสียก่อนว่า เบื้องต้นได้ตั้งสติ กำหนดจิตอย่างไร พิจารณาอย่างไร นึกคำบริกรรมอะไร น้ำใจจึงสงบมาตั้งอยู่อย่าง นี้ครั้นเมื่อใจสงบแล้ว ได้ตั้งสติอย่างไรกำหนดจิตอย่างไรใจจึงไม่ถอนจากสมาธิ พึงทำ ในใจไว้ว่า ออกจากที่นั่งนี้แล้ว นอนลงก็จะกำหนดอยู่อย่างนี้จนกว่าจะนอนหลับ แม้ตื่นขึ้นมาก็จะกำหนดอย่างนี้ตลอดวันและคืน ยืน เดิน นั่ง นอน เมื่อทำในใจเช่นนี้แล้ว จึงออกจากที่นั่งสมาธิ เช่นนั้นอีกก็ถึงทำพิธีอย่างที่ทำมาแล้วฯ
    <DD>

    ๖. มรรคสมังคี
    <DD>
    มรรคมีองค์อวัยวะ ๘ ประการ ประชุมลงเป็นเอกมรรค คือ ๗ เป็นอาการองค์ที่ ๘ เป็นหัวหน้า อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ก็คือจิตเป็นผู้เห็น สัมาสังกับโป ความดำริชอบก็คือจิตเป็นผู้ดำริ สัมมาวาจา กล่าววาจาชอบ ก็คือจิตเป็นผู้นึกแล้ว กล่าว สัมากัมมันโต การงานชอบ ก็คือจิตเป็นผู้คิดทำการงาน สัมมาอาชีโว เลี้ยง ชีวิตชอบก็คือจิตเป็นผู้คิดหาเลี้ยงชีวิต สัมมาวายาโม ความเพียรชอบ ก็คือจิตเป็น ผู้มีเพียรมีหมั่น สัมมาสติ ความระลึกชอบ ก็คือจิตเป็นผู้ระลึกทั้ง ๗ นี้แหละเป็นอาการ ประชุมอาการทั้ง ๗ นี้ลงเป็นองค์สัมมาสมาธิ แปลว่าตั้งจิตไว้ชอบก็คือความประกอบ การกำหนดจิตให้เข้าสู่ภวังค์ได้แล้ว ตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้เป็นเอกัคคตาอยู่ในความ เป็นหนึ่ง ไม่มีไป ไม่มีมา ไม่มีออก ไม่มีเข้า เรียกว่า มรรคสมังคี ประชุมมรรคทั้ง ๘ ลงเป็นหนึ่ง หรือเอกมรรคก็เรียก มรรคสมังคีนี้ประชุมถึง ๔ ครั้ง จึงเรียกว่า มรรค ๔ ดังแสดงมาฉะนี้ฯ
    <DD>

    ๗ นิมิตสมาธิ
    <DD>
    ในเวลาจิตเข้าสู่ภวังค์และตั้งลงเป็นองค์มรรคสมังคีแล้วนั้น ย่อมมีนิมิตต่างๆ มาปรากฎในขณะจิตอันนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงตั้งสติกำหนดใจไว้ให้ดี อย่าตกประหม่ากระดากและอย่างทำความกลัวจนเสียสติและอารมณื ทำใจ ให้ฟุ้งซ่านรั้งใจไม่อยู่ จะเสียสมาธิ นิมิตทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นของเที่ยง เพียงสักว่า เป็นเงาๆ พอให้เห็นปรากฎแล้วก็หายไปเท่านั้นเองฯ
    <DD>
    นิมิตที่ปรากฎนั้น คือ อุคคหนิมิต ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑
    <DD>
    นิมิตที่ปรากฎเห็นดวงหทัยของตนใสสว่างเหมือนกับดวงแก้ว แล้วยึดหน่วง เหนี่ยวรั้ง ให้ตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดีเรียกว่า อุคคหนิมิต ไม่เป็นของน่ากลัวฯ
    <DD>
    นิมิตที่ปรากฎเห็นคนตาย สัตว์ตาย ผู้ไม่มีสติย่อมกลัว แต่ผู้มีสติแล้ว ย่อมไม่กลัวยิ่งเป็นอุบายให้พิจารณาเห็นเป็นอสุภะแยกส่วนแบ่งส่วนของกาย นั้นออกดูได้ดีทีเดียวและน้อมเข้ามาพิจารณาภายในกายของตนให้เห็นแจ่มแจ้ง จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ ยังน้ำใจให้ตั้งมั่นเป็นมาธิมีกำลัง ยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฏิภาคนิมิตฯ
    <DD>

    ๘.วิธีเดินจงกรม
    <DD>
    พึงตั้งกำหนดหนทางสั้นยาวแล้วแต่ต้องการ ยืนที่ต้นทาง ยกมือประนม ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ แล้วตั้งความสัตย์อธิษฐานว่า ข้าพเจ้าจะตั้งใจปฏิบัติเพื่อเป็นปฏิบัติบูชาคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับทั้ง พระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก ขอให้น้ำใจของข้าพเจ้าสงบระงับตั้งมั่นเป็น สมาธิ มีปัญญาเฉลียวฉลาดรู้แจ้งแทงตลอดในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุก ประการเทอญ แล้ววางมือลง เอามือขวาจับมือฬ้ายไว้ข้างหนึ่งเจริญพรหมวิหาร ๔ ทอดตาลงเบื้องต่ำ ตั้งสติกำหนดจิตนึกคำบริกรรมเดินกลับไปกลับมาจนกว่า จิตจะสงบรวมลงเป็นองค์สมาธิ ในขณะที่จิตกำลังรวมอยู่นั้น จะหยุดยืนกำหนด จิต ให้รวมสนิทเป็นสมาธิก่อนจึงเดินต่อไปอีกก็ได้ในวิธีเดินจงกรมนี้กำหนดจิตอย่าง เดียวกันกับนั่งสมาธิ แปลกแต่ใช้อิริยาบถเดินเท่านั้นฯ
    <DD>
    เพราะฉะนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงเข้าใจเถิดว่า การทำความเพียรคือ ฝึกหัดจิตในสมาธิวิธีนี้ มีวิธีที่จะต้องฝึกหัดในอิริยาบททั้ง ๔ จึงต้องนั่งสมาธิบ้าง เดินจงกรมบ้าง ยืนกำหนดจิตบ้าง นอนสีหไสยาสน์บ้าง เพื่อให้ชำนาญคล่องแคล่ว และเปลี่ยนอิริยาบถให้สม่ำเสมอฯ
    <DD>

    ๙.วิธีแก้นิมิต
    <DD>
    มีวิธีที่จะแก้นิมิตได้เป็น ๓ อย่างคือ
    <DD>

    วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย
    <DD>
    คือ พึงตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้ให้มั่นคง ทำความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิ แม้มีนิมิตอะไรๆ มาปรากฎ หรือรู้เห็นเป็นจริงในจิตอย่างไรไม่ต้องหวั่นไหวไป ตาม คือ ไม่ต้องส่งจิตคิดไป จะเป็นความคิดผิด ที่เรียกว่า จิตวิปลาสแปลว่า ความคิดเคลื่อนคลาด แปลกประหลาดจากความจริง นิ่งอยู่ในสมาธิไม่ได้ ให้ บังเกิดเป็นสัญญา ความสำคัญผิดที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส แปลว่า หมายมั่น ไปตามนิมิตเคลื่อนคลาดจากจิตผู้เป็นจริงทั้งนั้น จนบังเกิดถือทิฎฐิมานะขึ้นที่เรียก ว่า ทิฎฐิวิปลาส แปลว่า ความเป็นเคลื่อนคลาดจากความเป็นจริง คือเห็นไปหน้า เดียว ไม่แลเหลียวดูให้รู้เท่าส่วนในส่วนนอก ชื่อว่าไม่รอบคอบ เป็นจิตลำเอียง ไม่เที่ยงตรง เมื่อรู้เช่นนี้จึงไม่ควรส่งจิตไปตาม เมื่อไม่ส่งจิตไปตามนิมิตเช่นนั้นแล้ว ก็ให้คอยระวังไม่ให้จิต เป็นตัณหาเกิดขึ้นคือไม่ให้จิตดิ้นรนยินดีอยากเห็นนิมิตนั้น แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นก็ดี หรือยินร้ายอยากให้นิมิตนั้นหายไปก็ดี หรือแม้ไม่อยากพบไม่อยาก เห็นซึ่งนิมิตที่น่ากลัวก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ เรียกว่า ตัณหา ถ้าเกิดมีในจิตแต่อย่างใดอย่าง หนึ่งแล้ว ก็ให้รีบระงับดับเสีย คือถอนความอยากและควาไม่อยากนั้นออกเสีย เมื่อ นิมิตมีมาก็อย่ายินดี เมื่อนิมิตหายไปก็อย่ายินร้าย หรือเมื่อนิมิตที่น่ากลัวมีมาก็อย่า ทำความกลัวและอย่างทำความคดโกง อยากให้หายไปก็ไม่ว่า ไม่อยากให้หายไปก็ไม่ว่า อยากเห็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเห็นก็ไม่ว่า ให้เป็นสันทิฏฐิโกคือเห็นเอง อย่ากรู้ก็ไม่ว่า ไม่อยาก รู้ก็ไม่ว่า ให้เป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ตั้งจิตไว้เป็นกลางๆ แล้วพึงทำความรู้เท่าอยู่ว่า อันนี้เป็นส่วนจิต อันนั้นเป็นส่วนนิมิต แยกส่วนแบ่งส่วนตั้งไว้เป็นคนละอัน รักษาเอาแต่จิต กำหนดให้ตั้งอยู่ เป็นฐีติะรรมเที่ยงแน่ว ทำความรู้เท่าจิตและนิมิตทั้งสองเงื่อน รักษาไม่ให้ สติเคลื่อนคลาดจากจิต ทั้งไม่ให้เผลอสติได้เป็นดี สติมาชื่อว่าเป็นผู้มีสติ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ถอนอภชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้แล้ว ก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย เมื่อ ประกอบข้อปฏิบัติอันนี้อยู่อย่างนี้ สติก็ตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่นประชุมกันเป็นสมาธิดังนี้ เรียกว่า ญาตปริญญาแปลว่า รู้เท่าอารมณ์ฯ
    <DD>

    วิธีที่ ๒ ตรวจค้นปฏิภาคนิมิต
    <DD>
    คือ เมื่อเห็นว่าจิตมีกำลังประชุมกันอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนาดีแล้ว พึงฝึกหัดปฏิภาค นิมิตให้ชำนาญ คือ เมื่อเห็นรูปนิมิตมาปรากฎในตาในจิตเห็นเป็นรูปคน เด็กเล็ก หญิงชาย หนุ่มน้อย บ่าวสาว หรือแก่เฒ่าชราประการใดประการหนึ่งก็ตาม แสดง อาการแลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิดตาเบื่อน อาการใดอาการหนึ่งก็ตามให้รีบพลิกจิตเข้า มากลับตั้งสติ ผูกปัญหาหรือทำในใจก็ได้ว่า รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง จะแก่เฒ่าชราต่อ ไปหรือไม่ เมื่อนึกในใจกระนี้แล้วถึงหยุดและวางคำที่นึกนั้นเสีย กำหนดจิตพิจารณา นิ่งเฉยอยู่จนกว่าจะตกลงและแลเห็นในใจว่าเฒ่าแก่ชราได้เป็นแท้ จึงรีบพิจารณา ให้เห็นแก่เฒ่าชราหลังขดหลังโขสั่นทดๆ ไปในขณะปัจจุบันทันใจนั้นแล้วผูกปัญหา ถามดูทีว่า "ตายเป็นไหมเล่า" หยุดนิ่งพิจารณาอยู่อีกจนกว่าจะตกลงเห็นในใจได้ว่า ตายแน่ตายแท้ไม่แปรผัน จึงรีบพิจารณาให้เห็นตายลงไปอีกเล่า ในขณะปัจจุบันทัน ใจนั้น "เมื่อตายแล้วจะเปื่อยเน่าตายทำลายไปหรือไม่" หยุดนิ่งพิจารณาเฉยอยู่อีก "จนกว่าจิตของเราจะตกลงเป็นว่าเปื่อยเน่าแตกทำลายไปหรือไม่" หยุดนิ่งพิจารณา เฉยอยู่อีก จนกว่าจิตของเราจะตกลงเห็นว่าเปื่อยเน่าแตกทำลายไปได้แท้แน่ในใจ ฉะนี้แล้ว ก็ให้รีบพิจารณาให้เห็นเปื่อยเน่าแตกทำลายจนละลายหายสูญลงไป เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ไปตามธรรมดา ธรรมธาตุธรรมฐีติ ธรรมนิยามะ แล้วพลิกเอาจิต ของเรากลับทวนเข้ามาพิจารณากายในกายของเราเอง ให้เห็นลงไปได้อย่างเดียวกัน จนกว่าจะตกลงและตัดสินใจได้ว่าร่างกายของเรานี้ ก็แก่เฒ่าชรา ทุพพลภาพแตกตาย ทำลาย เปื่อยเน่าไปเป็นเหมือนกัน แล้วรีบตั้งสติพิจารณาเห็นเป็นแก่เฒ่าชราดูทันที และ พิจารณาให้เห็นตายลงไปในขณะปัจจุบัน แยกส่วนแบ่งส่วนออกดูให้เห็นแจ้งว่า หนังเป็น อย่างไร เนื้อเป็นอย่างไรกระดูกเป็นอย่างไร ตับไตไส้พุงเครื่องในเป็นอย่างไร เป็นของงาม หรือไม่งาม ตรวจดูให้ดีพิจารณาให้ละเอียดจนกว่าจะถอนความยินดียินร้ายเสียได้ แล้ว พิจารณาให้เห็นเปื่อยเน่าผุพังลงถมแผ่นดินไป ภายหลังกลับพิจารณาให้เห็นเป็นคืนมาอีก แล้วฝึกหัดทำอยู่อย่างนี้จนกว่าจะชำนาญหรือยิ่งเป็นผู้มีสติได้พิจารณาให้เนื้อ หนัง เส้น เอ็น และเครื่องในทั้งหลาย มีตับ ไต ไส้ พุง เป็นต้น เผื่อยเน่าผุพังลงไปหมดแล้ว ยังเหลือ แต่ร่างกระดูกเปล่าจึงกำหนดเอาร่างกระดูกนั้นเป็นอารมณ์ทำไว้ในใจ ใคร่ครวญให้เห็น แจ้งอยู่เป็นติจจนกว่าจะนับได้ทุกกระดูกก็ยิ่งดีเพียงเท่านี้ก็เป็นอันแก้นิมิตได้ดี่ทีเดียวฯ
    <DD>
    คราวนี้ถึงทำพิธีพิจารณาเป็น อนุโลม ถอยขึ้นถอยลง คือตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดีแล้ว เพ่งพิจารณาให้เห็นผมอยู่บนศีรษะมีสีดำ สัญฐานยาว ก็จะหงอกขาวลงถม แผ่นดินทั้งนั้นและพิจารณาให้เห็นขนซึ่งเกิดตามชุมชนตลอดทั่วทั้งกายนอกจากฝ่ามือ ฝ่าเท้า ก็จะลงถมแผ่นดินเหมือนกัน พิจารณาเล็บที่อยู่ปลายนิ้วเท้านิ้วมือ ให้เห็นเป็น ของที่จะต้องลงถมแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น พิจารณาฟันซึ่งอยู่ในปากข้างบนข้างล่างให้ เห็นแจ้งว่าได้ใช้เคี้ยวอาหารการกินอยู่เป็นนิจ แต่ก็จะต้องลงถมแผ่นดินเหมือนกัน คราวนี้พิจารณาหนังเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมาเบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหลังหุ้ม อยู่เป็นที่สุดรอบ ยังชีวิตนี้ให้ตั้งอยู่ได้แล้วเป็นไป ถ้าถลกหนังนี้ออกหมดแล้วก็ต้องตาย ตายแล้ว ต้องถมแผ่นดิน พิจารณาเห็นความจริงฉะนี้แล้วเลิกหนังออกวางลงไว้ที่พื้น ดิน พิจารณาเส้นเอ็นให้เห็นแจ้งว่า เส้นเอ็นทั้งหลายรัดรึงกระดูกไว้ให้ติดกันอยู่ เมื่อเลิกเส้นเอ็นนี้ออกหมดแล้วกระดูกก็จะหลุดจากกันผุพังลงถมแผ่นดินทั้งสิ้น แล้วกำหนดเลิกเส้นเอ็นนี้ออกเสียกองไว้ที่พื้นดินพิจารณาร่างกระดูกให้เห็นแจ้งว่า กระดูกในร่างกายนี้มีเป็นท่อนๆ เบื้องต้นแต่กระดูกกระโหลกศีรษะลงไปเบื้องบนแต่ กระดูกพื้นเท้าขึ้นมา เห็นได้กระจายสมควร แล้วเพ่งเล็งพิจารณาดูเครื่องในทั้งหลาย ให้เห็นว่า ปอดอยู่ที่ไหน ม้ามอยู่ที่ไหน ดวงหฤทัยอยู่ที่ไหน ใหญ่น้อยเท่าไร เห็นตับไต ไส้พุง อาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน มีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร มีสีสันวรรณะเป็นไฉน เครื่องในทั้งแวงนี้ เป็นที่ประชุมแห่งชีวิตก็จริง แต่ก็จะต้องถม แผ่นดิน เมื่อพิจารณาเห็นฉะนี้แล้วจึงกำหนดให้ขาดตกลงไปกองไว้ที่พื้นดิน ยังเหลือ แต่ร่างกระดูก จึงพิจารณาดูกระดูกกระโหลกศีรษะเป็นลำดับลงมา กระดูกคอ กระดูก แขน กระดูกหัวไหล่ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกเอว กระดูกตะโพก กระดูก ต้นขากระดูกแข้ง กระดูกพื้นเท้า พิจารณาอย่างนี้เรียกว่าอนุดลมฯ
    <DD>
    คราวนี้พึงพิจารณาเป็นปฏิโลม คือพิจารณาถอยกลับขึ้นเบื้องบนตั้งแต่กระดูก พื้นเท้าขึ้นไปตลอดถึงกระดูกกระโหลกศีรษะ พิจารณาทบทวนกลับจากศีรษะ ถอยลงมาตรงหน้าอกนั้นให้มั่นคงทำในใจว่า ร่างกายทั้งหมดนี้มีจิตเป็นใหญ่ ประชุมอยู่ที่จิต จึงกำหนดรวมจิตเข้าให้สงบ แลตั้งอยู่เป็นเอกัคคตา วิธีที่ ๒ นี้ เรียกว่า ตีรปริญญา แปลว่า ใคร่ครวญอารมณ์ฯ
    <DD>
    ขอเตือนสติไว้ว่า ในระหว่างนี้กำลังพิจารณาอยู่นั้น ห้ามไม่ให้จิตเคลื่อนจาก ที่คิด ระวังไม่ให้ส่งจิตไปตามอาการ จิตจะถอนจากสมาธิ ถ้าจิตถอนจากสมาธิ เป็นใช้ไม่ได้ข้อสำคัญให้เอาจิตเป็นหลัก ไม่ให้ปล่อยจิต ให้มีสติเพ่งเล็งให้รอบจิต พิจารณาให้รอบกายรักษาใจไม่ให้ฟุ้งจึงไม่ยุ่งในการพิจารณาฯ
    <DD>

    วิธีที่ 3 เจริญวิปัสสนา คือ
    <DD>
    เมื่อผู้ปฏิบัติทั้งหลายได้ฝึกหัดจิตมาถึงขั้นนี้ มีกำลังพอพิจารณาปฏิภาค นิมิตได้ชำนาญคล่องแคล่วเป็นประจักขสิทธิ ดังที่อธิบายมาแล้ว และกำหนด จิตรวมเข้าไว้ในขณะจิตอันเดียว ณ ที่หน้าอก ตั้งสติพิจารณาดูให้รู้รอบจิต เพ่งพินิจให้สว่างแลเห็นร่างกระดูกทั่งทั้งกาย ยกคำบริกรรมวิปัสสนา วิโมกขปริวัตรขึ้นบริกรรมจำเพาะจิตว่า
    <DD>
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา สพฺเพ ธมฺมา อนิจฺจา สพฺเพ ธมฺมา ทุกฺขา
    <DD>
    ให้เห็นร่างกระดูกทั้งหมดเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน หม่ควรถือเอา ไม่เที่ยง เป็นทุกข์กำหนดให้เห็นกระดูกทั้งหลายหลุดจากกันหมด ตกลงไปกองไว้ ที่พื้นดิน คราวนี้ตั้งสติให้ดีรักษาไว้ซึ่งจิต อย่าให้เผลอ ยกคำบริกรรม วิปัสสนานั้นอีก เพ่งพิจารณาจำเพาะจิตให้เห็นเครื่องอวัยวะที่กระจัด กระจายกองไว้ที่พื้นดินนั้น ละลายกลายเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ถมแผ่นดินไปหมด กำหนดจำเพาะจิตผู้รู้ เพ่งพินิจพิจารณาให้เห็นพื้นแผ่น ดิน กว้างใหญ่เท่าพรเป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งโลก ก็ยังต้องฉิบหายด้วยน้ำ ด้วยลม ด้วยไฟยกวิปัสสนาละลายแผ่นดินนี้เสียให้เห็น เป็นสภาวธรรม เพียงสักว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น รวบรวมเอาแต่จิต คือผู้รู้ ตั้งไว้ให้เป็นเอกจิต เอกธรรม สงบนิ่งแน่วอยู่ และวางลงเป็นอุเบกขา เฉยอยู่กับที่ คราวนี้จะแลเห็นจิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นทีเดียว ก้างล่วงจากนิมิต ได้ดี มีกำลังให้แลเห็นอำนาจอานิสงส์ของจิตที่ได้ฝึกหัดสมาธิมาเพียงชั้นนี้ ก็พอมีศรัทธาเชื่อในในของตนในการที่จะกระทำความเพียรยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    <DD>
    วิธีนี้ 3 นี้ เรียกว่า ปหานปริญญา แปลว่า ละวางอารมณ์เสียได้แล้ว

    ปัจฉิมบท


    <DD>ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม นับเป็นลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ ของ หลวงปู่ภูริทตฺโต ที่สำคัญยิ่งและมีบารมีธรรมมากองค์หนึ่ง ที่ให้การอบรม พระภิกษุ สามเณร ญาติโยม โดยสืบต่อจากหลวงปู่มั่น ผู้พระอาจารย์ ถือ หลักธรรมสีบทอดมาเป็นลำดับจนถึงสมัยปัจจุบัน พระอาจารย์ได้ทำคุณ ประโยชน์แก่ปวงชนอย่างกว้างขวาง ด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้า ไม่ท้อถอย ต่ออุปสรรคใด ๆ ท่านสามารถใช้สติปัญญาแยกแยะอุบายธรรม แนะนำศิษย์ รุ่นน้องให้ได้รับการภาวนาอย่างได้ผล โน้มน้าวจิตใจของบุคคลที่เคยยึดถือ นับถือภูตผีต่าง ๆ ให้หันกลับมายึดถือพระไตรสรณคมณ์เป็นที่พึ่งที่ระลึก ธรรมะของท่านมีทั้งอ่อนน้อมละมุนละไม และเข้มแข็งกระด้างในบางเวลา พระอาจารย์สิงห์ ได้พาคณะออกธุดงค์ไปโปรดเทศนาธรรมอบรมญาติโยม ไปตามถิ่นต่าง ๆ จนเป็นที่ยอมรับและในที่สุดทุกพื้นที่โคมทองแห่งพระศาสนา สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ได้แจ่มจำรัส จนทั่วทุกหนแห่ง ด้วยความสามารถอำนาจ บุญบารมีของพระปรมาจารย์ หลวงปู่มั่น พระอาจารย์สิงห์ และ พระอาจารย์ มหาปิ่น ผู้น้องชาย ก็ได้สามารถปั้นยอดขุนพลแห่งกองทัพธรรมได้อีกเป็น จำนวนมาก นับว่าพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นลูกศิษย์ผู้เป็นคู่บารมีของ หลวงปู่มั่นภูริทตฺโต โดยแท้จริง
    <DD>ท่านสาธุชนทั้งหลายที่เดินทางผ่าน จังหวัดนครราชสีมา สามารถแวะเข้า ไปกราบระลึกถึงพระคุณท่านได้ ที่ วัดป่าสาลวัน ณ ที่นี้มีรูปเหมือนของ พระ อาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้สร้างไว้เพื่อให้สาธุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสมากราบ ไหว้บูชา และระลึกถึงพระคุณของพระอาจารย
    <DD>



    </DD>
     
  5. Boatnoy

    Boatnoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +351
    พอจะมีประวิติครูบาอาจารย์เฒ่า ในหนังสือมณีรัตน์รึเปล่า
     
  6. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    [​IMG]
    <CENTER>
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู
    </CENTER>


    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัด หนองบัวลำภู นามเดิมชื่อ ขาว โคระถา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม 2431 ที่บ้านชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

    โยมบิดาชื่อ พั่ว โยมมารดาชื่อ รอด โคระถา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 อาชีพหลักของครอบครัว คือ ทำนาและค้าขาย เมื่อท่านอายุได้ 20 ปี บิดามารดาได้จัดให้มีครอบครัว ภรรยาของท่านชื่อ นางมี และได้มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งต่อมาได้แยกทางกัน

    ท่านเป็นผู้มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจังมาก ประกอบกบความมีศรัทธาต่อหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งสอนให้คนทำจริง ในสิ่งที่ควรทำ เมื่อท่านได้บวชในพระพุทธศาสนา ท่านจึงรู้สึกซาบซึ้งในหลักธรรมมากยิ่งขึ้นโดยลำดับ
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ชีวิตสมณะของท่าน เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2462 เมื่อท่านอายุได้ 31 ปี โดยอุปสมบทที่วัดโพธิ์ศรี บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีท่านพระครูพุฒิศักดิ์เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์บุญจันทร์ เป็นพระกรราวาจาจารย์

    เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านได้จำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี เป็นเวลา 6 พรรษา เนื่องจากท่านได้บังเกิดศรัทธาในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น หลวงปู่จึงได้ญัตติเป็นพระธรรมยุติ เมื่อปี พ.ศ.2468 อายุได้ 37 ปี ณ พัทธสีมา วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา 8 ปี

    จากนั้นได้เดินธุดงค์ตาม ท่านพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไปปฏิบัติธรรมในสถานที่ต่างๆ ท่านออกเดินทางทุกปี และได้สมบุกสมบันไปแทบทุกภาคของประเทศ

    นอกจากนี้ ท่านยังได้เคยเดินธุดงค์ร่วมกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นเวลารวมกันหลายปีอีกด้วย

    ท่านได้สร้างบารมีอยู่ในป่าเขาเป็นเวลายาวนาน มีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าทั้งหลาย เช่น สิง ค่าง ช้าง เสือ เวลาท่านนึกถึงอะไร สิ่งนั้นมักจะมา ตามความรำพึงนึกคิดเสมอ เช่น นึกถึงช้าง ว่าหายหน้าไปไหนนานไม่ผ่านมาทางนี้เลย พอตกกลางคืนดึกๆ ช้างก็จะมาหาจริงๆ และ เดินตรงมายัง กุฏิที่ท่านพักอยู่ พอให้ท่านทราบว่าเขามาหาแล้ว ช้างก็จะกลับเข้าป่าไป เวลาที่ท่านนึกถึงเสือ ก็เช่นกัน นึกถึงตอนกลางวัน ตกกลางคืนเสือก็มาเพ่นพ่าน ภายในวัดบริเวณที่ท่านพักอยู่

    คุณหมออวย เกตุสิงห์ เขียนไว้ในประวัติอาพาธ ซึ่งเป็นภาคผนวกของหนังสืออนาลโยวาท ว่า เวลาท่านไม่สบายอยู่ในป่าเขา มักจะไม่ใช้หยูกยาอะไรเลย จะใช้แต่ธรรมโอสถ ซึ่งได้ผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน ท่านเคยระงับไข้ด้วยวิธีภาวนามาหลายครั้ง จนเป็นที่มั่นใจต่อการพิจารณาเวลาไม่สบาย

    ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว เล่าถึง หลวงปู่ขาว ในหนังสือ "ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" ว่าหลวงปู่ขาว ได้บรรลุธรรมชั้นสุดยอดในราวพรรษาที่ 16-17 ในสถานที่ซึ่งมีนามว่าโรงขอด แห่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เขียนเล่าไว้ว่า

    "เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จ หลวงปู่ขาว ออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขา กำลังสุกเหลืองอร่าม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า ข้าวมันงอกขึ้นมา เพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกันกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้น ถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจ ให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน ท่านคิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชา เป็นเป้าหมาย แห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา นับแต่หัวค่ำจนดึก ไม่ลดละการพิจารณาระหว่างอวิชชา กับ ใจ จวนสว่างจึงตัดสินใจกันลงได้ด้วยปัญญา อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ

    การพิจารณาข้าว ก็มายุติกันที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิต ก็มาหยุดกันที่ อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุกขึ้นมา เช่นเดียวกับ ข้าวสุก จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆอย่างประจักษ์ใจ สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจ คือ ความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วน ๆ ในกระท่อมกลางเขามีชาวป่าเป็นอุปัฏฐากดูแล

    ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิเลสวัฏฏ์ไปได้ แล้วเกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียวตอนสว่างพระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชา ขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียวกันกับพระอาทิตย์อุทัย ช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเสียจริง

    ท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามถิ่นต่าง ๆ จนในที่สุดก็มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่ วัดถ้ำกลองเพลอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อ พ.ศ.2501 จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2526

    คุณหมออวย เกตุสิงห์ ได้เล่าเกี่ยวกับปัจฉิมกาลของท่านไว้ในหนังสือ อนาลโยวาท ว่าท่านทุพพลภาพอยู่ถึง 9 ปี แต่สุขภาพจิตยังดี มีนิสัยรื่นเริง ติดตลก ในระยะสามปีสุดท้าย นัยน์ตาของท่านมืดสนิทเพราะต้อแก้วตา หรือ ต้อกระจก หูก็ตึงมาก เพราะหินปูนจับกระดูก แต่ท่านก็มิได้เดือดร้อนใจ และสามารถบอกกำหนด อายุขัยของตนเองได้ว่า จะมรณภาพอายุ 96 ปี ซึ่งก็เป็นจริงดังที่ท่านได้กล่าวไว้

    ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2527 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น ปรากฏว่า วัดถ้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่ กลับคับแคบไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีระร่างของท่านนับเป็นจำนวนแสนคน นับเป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศทีเดียว
    ธรรมโอวาท

    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาของท่าน ที่ได้เทศน์โปรดพระเณรและญาติโยม ณ บ้านย่อชะเนง (บ้านเกิดของท่าน) "คนเกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะมีความประพฤติที่ต่างกัน ผู้ที่เขาประพฤติดี รักษาศีล มีการให้ทาน มีการสดับรับฟังพระธรรม เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี

    การจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วต่าง ๆ กัน มันเป็นเพราะกรรม ถ้ามันยังทำกรรมอยู่ ก็ต้องได้รับผลกรรมทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มันต้องได้รับผลตอบแทน เหตุนี้ เราจึงควรทำกุศล รักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ แล้วทำสมาธิจะมีความสงบสงัด จิตรวมลงได้ง่าย เพราะมันเย็น มันราบรื่นดีไม่มีลุ่มไม่มีดอน

    จงพากันทำไปใน อิริยาบถทั้งสี่ นั่ง นอน ยืน เดิน อะไรก็ได้ แล้วแต่ความถนัด แล้วแต่จริต อันใดมันสะดวกสบายใจ หายใจดี ไม่ขัดข้องฝืดเคือง อันนั้นควรเอาเป็นอารมณ์ของใจ

    พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะอารมณ์ภายนอกมันชอบไปจดจ่ออยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความถูกต้องทางกาย หากทุกสิ่งทุกอย่างมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันจะไม่รวมลง นี่แหละ เรียกว่า มาร คือ ไม่มีสติ อย่าให้จิตไปจดจ่ออย่างนั้น ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้น้อมเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ จะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ให้มีความเพียร

    ผู้ที่ภาวนาจิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบสิ้น ชั่วไก่ดินน้ำ นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป การที่จิตรวมลงไปบางครั้ง มี 3 ขั้นสมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ

    หากรวมลง ขณิกสมาธิ เราบริกรรมไป พุทโธ หรืออะไรก็ตาม จิตสงบไปสบายไปสักหน่อยมันก็ถอนขึ้นมา ก็คิดไปอารมณ์เก่าของมันนี่

    ส่วนหากรวมลงไปเป็น อุปจารสมาธิ ก็นานหน่อยกว่าจะถอนขึ้นไปสู่อารมณ์อีกให้ภาวนาไปอย่าหยุดอย่าหย่อน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปนึกคาดหวังอะไร อย่าให้มีความอยาก เพราะมันเป็นตัณหา ตัวขวางกั้นไม่ให้จิตรวม ไม่ต้องไปกำกับว่า อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ การอยากให้จิตรวมลง เหล่านี้แหละเป็นนิวรณ์ตัวร้าย

    ให้ปฏิบัติความเพียรไม่หยุดหย่อน เอาเนื้อและเลือด ตลอดจนชีวิตถวายบูชาพระพุทธเจ้าพระธรรม และ พระสงฆ์ เราจะเอาชีวิตจิตใจ ถวายบูชาพระรัตนตรัย ตลอดจนวันตาย นี่ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แล้วจิตจะรวมลงอย่างไร เมื่อไร ก็จะเป็นไปเองเมื่อใจเป็นกลาง ปล่อยวาง สงบถูกส่วน"
    ปัจฉิมบท

    ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว ได้พรรณนาถึงเมตตาธรรม และ ตปธรรม ของ หลวงปู่ขาว ไว้ในหนังสือ ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มีข้อความตอนหนึ่งว่า

    "ท่านอาจารย์องค์นี้มี ความเด็ดเดี่ยวมาก การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้สบายมาก ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญ กัดเหล็กกัดเพชรจริง ๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชย อนุโมทนากับท่านอย่างถึงใจ เพราะเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านร้อยเปอร์เซนต์ว่า เป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่"

    ในบทความภาคผนวกตอนหนึ่งของหนังสือ อนาลโยวาท ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งหนึ่งว่า"วันหนึ่ง มีชายแปลกหน้าวัยฉกรรจ์ผู้หนึ่ง ปรากฏกายขึ้นที่วัด ขอเข้านมัสการท่านอาจารย์ พอได้พบก็ตรงเข้าไปกราบถึงที่เท้า แล้วเอ่ยปากขอบพระคุณที่ท่านช่วยเขาให้พ้นจากโทษมหันต์ พร้อมเล่าว่า เขาเป็นทหาร ไปรบที่ประเทศลาว เป็นเวลานาน พอกลับมาบ้าน ก็ได้รู้ว่าภรรยานอกใจ จึงโกรธแค้น เตรียมปืนจะไปยิงทิ้งทั้งคู่ แต่ยังไม่ทันได้กระทำเช่นนั้น เพราะกินเหล้าเมา แล้วหลับฝันไปว่า มีพระแก่องค์หนึ่งมาขอบิณฑบาตความอาฆาตโกรธแค้น และเทศน์ให้ฟังถึงบาปกรรมของการฆ่า จนเขายอมยกโทษ ให้อภัย ละความพยาบาท ได้ถามในฝัน ได้ความว่า พระภิกษุองค์นั้น ชื่อ ขาว มาแต่เมืองอุดรฯ พอตื่นขึ้นจึงออกเดินทางมาเสาะหาท่าน จนได้พบที่วัด เช่นนี้"

    หลวงปู่ขาว ท่านกล่าวอนุโมทนา แล้วอบรมต่อไปให้เข้าใจหลักธรรม ตลอดจนผลของการงดเว้นจากการฆ่า ทำให้ชายผู้นั้นซาบซึ้งในรสพระธรรม จนตัดสินใจที่จะอุปสมบทต่อไป

    เรื่องนี้ เป็นหลักฐานว่า ความเมตตาของท่านเปี่ยมล้น และครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวางเพียงใด

    อนุสรณ์สถานที่ถือว่าสำคัญที่สุดของ หลวงปู่ขาว ก็คือ วัดถ้ำกลองเพล อันเป็นสถานที่ท่านพำนักจำพรรษามาตั้งแต่ พ.ศ.2501 จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อ พ.ศ.2526 ท่านดูแลบริเวณวัดซึ่งมีเนื้อที่กว่าพันไร่ ให้เป็นป่าร่มรื่นบนลากสันเขา มีโขดหินขนาดใหญ่มากมาย เป็นเพิงผาธรรมชาติที่งดงาม ด้านหลังเป็นอ่างเก็บน้ำ ชื่อ อ่างอาราม ซึ่งเป็นโครงการชลประทานพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ

    จุดเด่นของ วัดถ้ำกลองเพล คือ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งสร้างเสร็จตั้งแต่ พ.ศ.2531 เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสวยงาม ควรแก่การศึกษา และเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง"ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ"
     
  7. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146

    <CENTER><TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#111111 height=137 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=539 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=796 height=137>
    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
    วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
    [​IMG]

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=194 height=137> </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่ถือกำเนิด ณ บ้านปราสาท อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2430 ตรงกับวันแรม 2 ค่ำ เดือน 11 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนี้พระยาสุรินทร์ฯ (ม่วง) ยังเป็นเจ้าเมืองอยู่ แต่ไปช่วยราชการ อยู่จังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากเจ้าเมืองอุบลฯ และกรมการเมืองชั้นผู้ใหญ่ต้องไปราชการทัพเพื่อปราบฮ่อ

    บิดาของท่านชื่อ นายแดง มารดาชื่อ นางเงิน นามสกุล "ดีมาก" แต่เหตุที่ท่านนามสกุลว่า "เกษมสินธุ์" นั้น ท่านเล่าว่า เมื่อท่านไปพำนัก ประจำอยู่ที่วัดสุดทัศนาราม จังหวัดอุบลราชธานีเป็นเวลานาน มีหลานชายคนหนึ่ง ซื่อพร้อม ไปอยู่ด้วย ท่านจึงตั้งนามสกุลให้ว่า "เกษมสินธุ์" ตั้งแต่นั้นมาท่านก็เลยใช้นามสกุลว่า "เกษมสินธุ์" ไปด้วย

    ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คนด้วยกัน คือ

    คนแรก เป็นหญิง ชื่อ กลิ้ง

    คนที่ 2 เป็นชาย ชื่อ ดุลย์ (คือ ตัวท่าน)

    คนที่ 3 เป็นชาย ชื่อ แดน

    คนที่ 4 เป็นหญิง ชื่อ รัตน์

    คนที่ 5 เป็นหญิง ชื่อ ทอง

    พี่น้องของท่านตางพากันดำรงชีวิตไปตามอัตภาพตราบเท่าวัยชรา และได้ถึงแก่กรรมไปก่อนที่จะมีอายุถึง 70 ปีทั้งหมด หลวงปู่ผู้เดียวที่ครองอัตภาพมาได้ยาวนานถึง 96 ปี

    ชีวิตของหลวงปู่เมื่อแรกรุ่นเจริญวัยนั้น ก็ถกูกำหนดให้อยู่ในเกฏเกณฑ์ของสังคมสมัยนั้นแม้ท่านจะเป็นลูกคนที่สอง แต่ก็เป็น บุตรชายคนโต ดังนั้นท่านจึงต้องมีภารกิจมากกว่าเป็นธรรมดา โดยต้องทำงานทั้งในบ้านและนอกบ้าน งานในบ้าน เช่น ตักน้ำ ตำข้าว หุงหาอาหาร และเลี้ยงดูน้องๆ ซึ่งมีหลายคน งานนอกบ้าน เช่น เช่วยแบ่งเบาภระของบิดา ในการดูแลบำรุงเรือกสวนไร่นา แล้วเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เป็นต้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใครๆ ก็ต้องรู้สึกว่าน่าเพลิดเพลินและน่าลุ่มหลงอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะอยู่ในวัยกำลังงามแล้ว ยังเป็นนักแสดงที่มีผู้นิยมชมชอบมากอีกด้วย ถึงกระนั้นหลวงปู่ก็มิได้หลงไหลในสิ่งเหล่านั้นเลย ตรงกันข้าม ท่านกลับมีอุปนิสัยโน้มเอียง ไปทางเนกขัมมะ คือ อยากออกบวชจึงพยายามขออนุญาตจากบิดามารดา และท่านผู้มีพระคุณ ที่มีเมตตาชุบเลี้ยง แต่ก็ถูกท่านเหล่านั้น คัดค้านเรื่อยมา โดยเฉพาะฝ่ายบิดามารดาไม่อยากให้บวช เนื่องจากขาดกำลังทางบ้าน ไม่มีใครช่วยเป็นกำลังสำคัญในครอบครัว ทั้งท่านก็เป็นบุตรชายคนโตด้วย

    แต่ในที่สุด บิดามารดาก็ไม่อาจขัดขวางความตั้งใจจริงของท่านได้ ต้องอนุญาตให้บวชได้ ตามความปรารถนา ที่แน่วแน่ ไม่คลอนแคลนของท่าน พร้อมกับมีเสียงสำทับจากบิด าว่าเมื่อบวชแล้วต้องไม่สึก หรืออยางน้อยต้องอยู่จนได้เป็นเจ้าอาวาส ทั้งนี้ เนื่องจากปู่ของท่านเคยบวช และได้เป็นเจ้าอาวาสมาแล้ว และคงเป็นเพราะเหตุนี้ด้วยกระมัง ท่านจึงมีอุปนิสัย รักบุญ เกรงกลัวบาป มิได้เพลิดเพลินคึกคะนองไปในวัยหนุ่มเหมือนบุคคลอื่น

    ครั้นเมื่อได้รับอนุญาตจากบิดามารดาเรียบร้อยแล้วอย่างนี้ ท่านจึงได้ละฆราวาสวิสัยอย่างเข้าสู่ความเป็นสมณะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 เมื่อท่านมีอายุได้ 22 ปี โดยมีพวกตระกูลเจ้าของเมือง ที่เคยชุบเลี้ยงท่าน เป็นผู้จัดแจงในเรื่องการบวชให้ครบถ้วนทุกอย่าง ท่านได้บรรพชา อุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดชุมพลสุทธาวาส ในเมืองสุรินทร์ โดยมี พระครูวิมลสีลพรต (ทอง) เป็น พระอุปัชฌาย์ พระครูบึก เป็น พระกรรมวาจาจารย์ พระครูฤทธิ์ เป็น พระอนุสาวนาจารย์

    เมื่อแรกบวช ก็ได้ปฏิบัติกัมมัฏฐานกับหลวงปู่แอก วัดคอโค ซึ่งอยู่ชานเมืองสุรินทร์ วิธีการเจริญกัมมัฏฐานในสมัยนั้น ก็ไม่มีวิธีอะไร มากมายนัก วิชาที่หลวงปู่แอกสอนให้สมัยนั้น คือ จุดเทียนขึ้นมา 5 เล่ม แล้วนั่งบริกรรมว่า "ขออัญเชิญปีติทั้ง 5 จงมาหาเรา" ดังนี้เท่านั้น แต่หลวงปู่ดุลย์ก็พากเพียรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ด้วยความวิริยะอุตสาหะอย่างแรงกล้า พยายามบริกรรมเรื่อยมา จนครบไตรมาส โดยไม่ลดละ แต่ก็ไม่ปรากฏเห็นผลอันใดแม้เล็กน้อย

    นอกจากนี้ยังได้ฝึกฝนทรมานร่างกายเพื่อเผาผลาญกิเลส ด้วยความเข้มงวดกวดขันการขบฉันอาหาร วันก่อนเคยฉัน 7 คำ ก็ลดเหลือ 6 คำ แล้วลดลงไปอีกตามลำดับ จนกระทั่งรางกายซูบผอมโซเซ สู้ไม่ไหว จึงหันมาฉันอาหารตามเดิม ระยะนั้นก็ไม่ปรากฏ เห็นผลอันใด แม้เล็กน้อย

    นอกจากนี้ก็ใช้เวลาที่เหลือท่องบ่นเจ็ดตำนานบ้าง สิบสองตำนานบ้าง แต่ไม่ได้ศึกษาพระวินัยเลย เรื่องวินัยที่จะนำมาประพฤติ ปฏิบัติขัดเกลากาย วาจา เพื่อเป็นรากฐานของสมาธิภาวนานั้น ท่านไม่ทราบ มิหนำซ้ำ ระหว่างที่อยู่วัดดังกล่าว พระในวัดนั้น ยังใช้ให้ท่าน สร้างเกวียนและเลี้ยงโคอีกด้วย ท่านจึงเกิดความสลดสังเวช และเบื่อหน่ายเป็นกำลัง แต่ก็อยู่มาจนกระทั่งได้ 6 พรรษา

    เมื่อทราบข่าวว่า ที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ก็เกิดความยินดีล้นพ้น รีบเข้าไปขออนุญาต ท่านพระครูวิมลศีลพรต ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์เพื่อไปศึกษา แต่ก็ถูกคัดค้านกลับมา ท่านมิได้ลดละความพยายาม ไปขออยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งพระอุปัชฌาย์เห็นว่าท่านมีความตั้งใจจริง จึงอนุญาตให้ไปได้โดยมีครูและครูดิษฐ์ไปเป็นเพื่อน

    เมื่อแรกไปถึงจังหวัดอุบลฯ นั้น เขาไม่อาจรับท่านให้พำนักอยู่ที่วัดธรรมยุตได้เพราะต่างนิกายกัน แม้จะอนุมัติให้เข้าเรียนได้ก็ตาม ดังนั้น ท่านจึงต้องไปอยู่วัดหลวงซึ่งการบิณฑบาตเป็นไปได้ยากเสียเหลือเกิน พอดีหลวงพี่มนัส ซึ่งเดินทางไปเรียนก่อน ได้แวะไปเยี่ยม ทราบความเข้า จึงพาท่านไปฝากอยู่อาศัยพร้อมทั้งศึกษาพระปริยัติธรรมไปด้วย ที่วัดสุทัศนาราม แต่เนื่องจากวัดนี้ เป็นวัดฝ่ายสงฆ์ธรรมยุต จึงไม่อาจให้ท่านอยู่ที่วัดได้ ด้วยเหตุผลที่น่าฟังว่า มิได้รังเกียจ แต่เกรงจะเกิดผลกระทบต่อความเข้าใจอันดี ระหว่างผู้บริหารการคณะสงฆ์ของนิกายทั้งสอง

    อย่างไรก็ดี ด้วยเมตตาธรรม ทางวัดสุทัศน์ ได้แสดงความเอื้อเฟื้อด้วยวิธีการอันแยบคาย โดยรับให้ท่านพำนักอยู่ในฐานะ พระอาคันตุกะ ผู้มาเยี่ยมเยือน แต่อยู่นานหน่อย ความเป็นอยู่ของท่านจึงค่อยกระเตื้องขึ้น คือเป็นไปได้สะดวกบ้าง

    ท่านพยายามมุมานะศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม อย่างเต็มสติกำลัง จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ คือ สามารถสอบไล่ ได้ประกาศนียบัตรนักธรรมชั้นตรี นวกภูมิ เป็นรุ่นแรกของจังหวัดอุบลราชธานี และยังได้เรียนบาลีไวยกรณ์ (มูลกัจจายน์) จนสามารถ แปลพระธรรมบทได้ นับว่าท่านได้บรรลุปณิธานที่ได้ตั้งไว้ ในการจากบ้านเกิดเมืองนอนไป ศึกษาต่อ ณ ต่างแดนแล้ว ที่กล่าวเช่นนี้ เพราะการคมนาคมระหว่าง สุรินทร์-อุบลฯ ในสมัยนั้นเป็นไปโดยยากจนนับได้ว่าเป็นต่างแดนจริงๆ

    ต่อมาท่านได้พยายามอย่างยิ่งที่จะญัตติจากนิกายเดิมมา เป็นธรรมยุตติกนิกาย แต่ทางคณะสงฆ์ธรรมยุต โดยเฉพาะ พระธรรมปาโมกข์ (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลในขณะนั้น ซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ พระนักบริหารผู้มีสายตาไกล และจิตใจกว้างขวาง ได้ให้ความเห็นว่า "อยากจะให้ท่านศึกษาเล่าเรียนไปก่อน ไม่ต้องญัตติ เนื่องจากทางคณะสงฆ์ธรรมยุต มีนโยบายจะให้ท่านกลับไปพัฒนา ศึกษาพระปริยัติธรรม ที่จังหวัดสุรินทร์บ้านเกิดของท่าน ให้เจริญรุ่งเรือง เพราะถ้าหากญัตติแล้ว เมื่อท่านกลับไปสุรินทร์ ท่านจะต้องอยู่โดดเดี่ยว เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีวัดฝ่ายธรรมยุตที่จังหวัดสุรินทร์เลย"

    แต่ตามความตั้งใจของท่านเองนั้น มิได้มีความประสงค์จะกลับไปสอนพระปริยัติธรรมจึงได้พยายามขอญัตติต่อไปอีก

    ในกาลต่อมา นับว่าเป็นโชคของท่านก็ว่าได้ ท่านมีโอกาสได้คุ้นเคยกับ ท่านอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านรับราชการครู ทั้งที่ยังเป็น พระสงฆ์อยู่ในขณะนั้นที่วัดสุทัศน์ จังหวัดอุบลฯ ท่านอาจารย์สิงห์ได้ชอบอัธยาศัยไมตรีของหลวงปู่ดุลย์ และเห็นปฏิปทาในการศึกษา เล่าเรียน พร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติกิจในพระศาสนาของท่าน ว่าเป็นไปด้วยความตั้งใจจริง ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้ช่วยเหลือท่าน ในการขอญัตติ จนกระทั่งประสบผลสำเร็จ

    ดังนั้น ใน พ.ศ. 2461 ขณะเมื่ออายุ 31 ปี ท่านจึงได้ญัตติจากนิกายเดิมมาเป็นพระภิกษุในธรรมยุตติกนิกาย ณ พัทธสีมาวัดสุทัศน์ฯ จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศาสนดิลกเจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ถ้าหากจะนับระยะเวลาที่ท่านไปอยู่ที่วัดสุทัศน์ในฐานะพระอาคันตุกะ จนกระทั่งได้รับเมตตาอนุญาตให้ได้ญัตติก็เป็นเวลานานถึง 4 ปี รวมเวลาที่ดำรงอยู่ในภาวะของนิกายเดิมก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี

    จากการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและพิจารณาข้อธรรมะเหล่านั้นจนแตกฉานช่ำชองพอสมควรแล้ว ก็เห็นว่า การเรียนปริยัติธรรมอย่างเดียวนั้น เป็นแต่เพียงการจำหัวข้อธรรมะได้เท่านั้น ส่วนการปฏิบัติให้ได้ผล และได้รู้รสพระธรรมอย่างซาบซึ้งนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก จึงบังเกิดความเบื่อหน่าย และท้อถอยในการเรียนพระปริยัติธรรม และมีความสนใจโน้มเอียงไปในทางปฏิบัติธรรม ทางธุดงค์กัมมัฏฐานอย่างแน่วแน่

    นับว่าเป็นบุญลาภของหลวงปู่ดุลย์อย่างประเสริฐ ที่ในพรรษานั้นเองท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระปรมาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ ฝ่ายอารัญญวาสี ได้เดินทางกลับจากธุดงค์กัมมัฏฐาน มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี ข่าวที่พระอาจารย์มั่น มาจำพรรษาที่วัดบูรพานั้น เลื่องลือไปทุกทิศทาง ทำให้ภิกษุสามเณร บรรดาศิษย์และประชาชน แตกตื่นฟื้นตัวพากันไปฟังพระธรรมเทศนา ของพระอาจารย์มั่น

    หลวงปู่ดุลย์กับอาจารย์สิงห์ 2 สหายก็ไม่เคยล้าหลังเพื่อในเรื่องเช่นนี้ พากันไปฟังธรรมเทศนา ของพระอาจารย์มั่น กันเป็นประจำ ไม่ขาดแม้สักครั้งเดียว นอกจากได้ฟังธรรมะแปลกๆ ที่สมบูรณ์ด้วยอรรถพยัญชนะ มีความหมายลึกซึ้ง และรัดกุมกว้างขวาง ยังได้มีโอกาสเฝ้าสังเกตปฏิปทาของท่านพระอาจารย์มั่น ที่งดงามน่าเลื่อมใสทุกอิริยาบถอีกด้วย ทำให้เกิดความซาบซึ้งถึงใจ คำพูดแต่ละคำ มีวินัยแปลกดี ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน จึงเพิ่มความสนใจใคร่ประพฤติปฏิบัติทางธุดงค์กัมมัฏฐานมากยิ่งขึ้นทุกทีฯ

    ครั้นออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นได้ออกธุดงค์อีก ภิกษุ 2 รูป คือ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโมกับหลวงปู่ดุลย์ จึงตัดสินใจ สละทิ้งการสอนการเรียน ออกธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่นไปทุกแห่ง จนตลอดฤดูกาลนอกพรรษานั้น

    ตามธรรมเนียมธุดงค์กัมมัฏฐานของพระอาจารย์มั่นมีอยู่ว่า เมื่อถึงกาลเข้าพรรษา ไม่ให้จำพรรษารวมกันมากเกินไป ให้แยกกันไป จำพรรษาตามสถานที่อันวิเวก ไม่ว่าจะเป็นวัด เป็นป่า เป็นถ้ำ เป็นเขา โคนไม้ ป่าช้า ลอมฟาง เรือนว่าง หรืออะไร ตามอัธยาศัย ของแต่ละบุคคล แต่ละคณะ

    เมื่ออกพรรษาแล้ว หากทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นอยู่ ณ ที่ใดพระสงฆ์ก็พากันไปจากทุกทิศทุกทางมุ่งไปยัง ณ ที่นั้น เพื่อเรียนพระกัมมัฏฐาน และเล่าแจ้งถึงผลการประพฤติปฏิบัติที่ผ่านมา เมื่อมีอันใดผิด พระอาจารย์จัดได้ช่วยแนะนำแก้ไข อันใดถูกต้องดีแล้ว ท่านจักได้แนะนำข้อกัมมัฏฐานยิ่งๆ ขึ้นไป

    ดังนั้นเมื่อจวนจะถึงกาลเข้าปุริมพรรษา คือพรรษาแรกแห่งการธุดงค์ของท่าน คณะหลวงปู่ดุลย์ จึงพากันแยก จากท่านพระอาจารย์มั่น เดินธุดงค์ผ่านไปทางอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้นถึงป่าท่าคันโท ก็สมมติ ทำเป็นสำนักวัดป่า เข้าพรรษา ด้วยกัน 5 รูป คือ

    ท่านพระอาจารย์สิงห์

    ท่านพระอาจารย์บุญ

    ท่านพระอาจารย์สีทา

    ท่านพระอาจารย์หนู

    ท่านพระอาจารย์ดุลย์ อตุโล (คือ ตัวหลวงปู่เอง)

    ทุกท่านปฏิบัติตามปรารภความเพียรอย่างอุกฤษฎ์แรงกล้า ปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของท่านปรมาจารย์อย่างสุดขีด ครั้งนั้น บริเวณแห่งนั้นเป็นสถานที่ทุรกันดาร เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ป่าที่ดุร้าย ไข้ป่าก็ชุกชุมมาก ยากที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้

    ดังนั้นยังไม่ทันถึงครึ่งพรรษาก็ปรากฏว่า อาพาธเป็นไข้ป่ากันหมด ยกเว้นท่านอาจารย์หนูองค์เดียว ต่างก็ได้ช่วยรับใช้พยาบาล กันตามมีตามเกิด หยูกยาที่จะนำมาเยียวยารักษากันก็ไม่มี ความป่วยไข้เล่าก็ไม่ยอมลดละ จนกระทั่งองค์หนึ่งถึงแก่มรณภาพลง ในกลางพรรษานั้น ต่อหน้าต่อตาเพื่อนสหธรรมิกอย่างน่าเวทนา

    สำหรับหลวงปู่ดุลย์ ครั้นได้สำเหนียกรู้ว่า มฤตยูกำลังคุกคามอย่างแรงทั้งหยูกยาที่จะนำมารักษาพยาบาลก็ไม่มี จึงตัดเตือนตนว่า "ถึงอย่างไร ตัวเราจักไม่พ้นเงื้อมมือของความตายในพรรษานี้เป็นแน่แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้นเราจักตาย ก็จงตายในสมาธิภาวนาเถิด" จึงปรารภความเพียรอย่างเอาเป็นเอาตาย ตั้งสติให้สมบูรณ์ พยายามดำรงจิตให้อยู่ในสมาธิอย่างมั่นคงทุกอริยาบถ พร้อมทั้งพิจารณา ความตาย คือ มีมรณัสสติกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ไปด้วย โดยไม่ย่อท้อพรั่นพรึงต่อมรณภัยที่กำลังคุกคามจะมาถึงตัว ในไม่ช้านี้เลย

    ณ ป่าท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์นี้เอง การปฏิบัติทางจิตที่หลวงปู่ดุลย์พากเพียรบำเพ็ญอยู่อย่างไม่ลดละ ก็ได้บังเกิดผล อย่างเต็มภาคภูมิ กล่าวคือ ขณะที่นั่งภาวนาอยู่ตั้งแต่หัวค่ำจนดึกมากนั้น จิตก็ค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบและให้บังเกิดนิมิตขึ้นมา คือ เป็นพระพุทธรูปปรากฏขึ้นที่ตัวของท่าน ประหนึ่งว่าตัวของท่านเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ท่านพยายามพิจารณารูปนิมิตต่อไปอีก แม้ขณะที่ออกจากที่บำเพ็ญสมาธิภาวนาแล้ว และขณะออกเดินไปสู่ละแวกบ้านป่า เพื่อบิณฑบาต ก็เป็นปรากฏอยู่เช่นนั้น

    วันต่อมาอีกก่อนที่รูปนิมิตจะหายไป ขณะที่เดินกลับจากบิณฑบาต ท่านได้พิจารณาดูตนเองก็ได้ปรากฏเห็นชัดว่า เป็นโครงกระดูก ทุกส่วนสัด วันนั้นจึงเกิดความรู้สึกไม่อยากฉันอาหาร จึงอาศัยความเอิบอิ่มใจของสมาธิจิต กระทำความเพียรต่อไป เช่น เดินจงกรมบ้าง นั่งสมาธิบ้างตลอดวันตลอดคืน และแล้วในขณะนั้นเอง แสงแห่งพระธรรมก็บังเกิดขึ้น ปรากฏแก่จิตของท่าน

    รู้ชัดว่าอะไรคือจิต อะไรคือกิเลส จิตปรุงกิเลสหรือกิเลสปรุงจิต และเข้าใจสภาพเดิมของจิตที่แท้จริงได้จนรู้กิเลสส่วนไหนละได้แล้ว ส่วนไหนยังละไม่ได้ ดังนี้

    1. บำเพ็ยเพียรภาวนาเป็นปกติไม่ขาดสาย ไม่เคยขาดตกบกพร่อง กลางคืนจะพักผ่อนเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น

    2. ฉันมื้อเดียวตลอดมา เว้นแต่เมื่อมีกิจนิมนต์จึงฉัน 2 มื้อ

    3. มีความเป็นอยู่ง่าย เมื่อขาดไม่ดิ้นรนแสวงหา เมื่อมีไม่สั่งสม เป็นอยู่ตามมีตามเกิดเจริญด้วยยถาลาภสันโดษ (คือสันโดษ ได้อย่างไร บริโภคอย่างนั้น)

    4. มีสัจจะ พูดอย่างไรต้องทำอย่างนั้น มีความตั้งใจจริง จะทำอะไรแล้วต้องทำจนสำเร็จ

    5. สัลลหุกวุตติ เป็นผู้มีความประพฤติเบากาย เบาใจ คือ เป็นผู้คล่องแคล่วว่องไว เดินตัวตรงและเร็ว แม้เวลาตื่นนอนพอรู้สึกตัว ท่านจะลุกขึ้นทันที เหมือนคนที่พร้อมอยู่ตลอดเวลา

    6. นิยมการทำตัวง่ายๆ สบายๆ ไม่มีพิธีรีตอง มักตำหนิผู้ที่เจ้าบทบาท มากเกินควร

    7. การปฏิสันถาร ท่านปฏิบัติเป็นเยี่ยมตลอดมา

    หลวงปู่เป็นผู้มีอุปนิสัยเยือกเย็น พูดน้อย สงบ อยู่เป็นนิตย์ มีวรรณผ่องใส ท่านรักความสงบจิตใจใฝ่ในความวิเวกมาก จะเห็นได้ว่าท่านชอบสวดมนต์บท "อรญฺเญ รุกขมูเลวา สุญฺญาคาเรวา ภิกฺขโว ... " มาก

    ธรรมโอวาท
    สำหรับหลวงปู่นั้น ท่านเล่าว่าได้ตริตรองพิจารณาตามหัวข้อกัมมัฏฐานว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สญฺญา อนตฺตา" ที่ท่านพระอาจารย์มั่นให้มา ในเวลาต่อมาก็เดิความสว่างไสวในใจชัดว่า เมื่อสังขารขันธ์ดับได้แล้ว ความเป็นตัวตนจักมีไม่ได้ เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นความปรุงแต่งขาดไป ความทุกข์จะเกิดขึ้นอย่างไร และจับใจความอริยสัจจแห่งจิตได้ว่า

    1. จิตที่ส่งออกนอก เพื่อรับสนองอารมณ์ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย

    2. ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์

    3. จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค

    4. ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ

    แล้วท่านเล่าว่า เมื่อทำความเข้าใจในอริยสัจทั้ง 4 ได้ดังนี้แล้ว ก็ได้พิจารณาทำความเข้าใจใน ปฏิจฺจสมุปบาท ได้ตลอดทั้งสาย

    คติธรรม ที่ท่านสอนอยู่เสมอ คือ

    "อย่าส่งจิตออกนอก"

    "จงหยุดคิดให้ได้"

    "คิดเท่าไหร่ ก็ไม่รู้ ต้องหยุดคิดให้ได้จึงรู้ แต่ก็ต้องอาศัยความคิด นั่นแหละจึงรู้"

    "คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี"

    ปัจฉิมบท
    สังขารธรรมหนึ่งอุบัติขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2430 ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉลียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้เจริญเติบโตและรุ่งเรืองมาโดยลำดับตามวัย ได้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องดีงามอยู่ภายใต้ผ้ากาสาวพัสตร์เป็นเวลานานถึง 64 พรรษา ท่านประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีงามของชาวพุทธตลอดเวลา เป็นเนื้อนาบุญของโลก ท่าทนเป็นพุทธสาวกอย่างแท้จริง ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่นอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

    บัดนี้สังขารขันธ์นั้นได้ดับลงแล้ว ตามสภาวธรรม เมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2526

    แม้ว่า หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ได้สละทิ้งร่างกายไปแล้ว แต่เมตตาธรรมที่ท่านได้ประสาทไว้แก่สานุศิษย์ทั้งหลาย ยังเหลืออยู่ คุณธรรมดังกล่าวยังคงประทับอยู่ในจิตใจของทุกๆ คนไม่ลืมเลือน
     
  8. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px; BORDER-LEFT-WIDTH: 0px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 0px; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-RIGHT-WIDTH: 0px" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=471 border=1><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=399>
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร/

    </TD><TD style="BORDER-RIGHT: medium none; BORDER-TOP: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-BOTTOM: medium none" width=72>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ถือกำเนิดในสกุล วรรณวงศ์ เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาของท่านคือ เจ้าไชยกุมาร (เม้า) ซึ่งเป็นหลานของพระเสนาณรงค์ เจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาชื่อ นุ้ย เป็นบุตรีของหลวงประชานุรักษ์ จะเห็นได้ว่าเชื้อสายของท่านเป็นขุนนางทั้งฝ่าย บิดาและมารดา เป็นเชื้อสายขุนนางเก่าแก่ของหมู่ชน ที่เรียกว่า ผู้ไทย ซึ่งอพยพมาจากประเทศลาว ในสมัยราชการที่สาม แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระอาจารย์ฝั้นเคยเล่าว่า บรรพบุรุษของท่าน ได้ข้ามมาแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เป็นครอบครัวใหญ่ เรียกว่า ไทยวัง หรือ ไทยเมืองวัง (ซึ่งเป็นเมืองหนึ่ง อยู่ในเขตมหาชัย ของ ประเทศลาว) บิดาของท่านพระอาจารย์ เป็นคนที่มีความเมตตาอารีใจคอกว้างขวาง เยือกเย็น เป็นที่นับหน้าถือตา จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านม่วงไข่ ต่อมาบิดาของท่านได้อพยพพร้อมกับครอบครัวอื่นๆ อีกหลายครอบครัว ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ ในที่อุดมสมบูรณ์กว่าเดิม เพราะเป็นพื้นที่ ที่มีลำห้วยอูน ผ่านทางทิศใต้ และลำห้วยปลาหาง อยู่ทางทิศเหนือ เหมาะแก่การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และ เลี้ยงไหม ตั้งชื่อว่า บ้านบะทอง โดยบิดาของท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านต่อไป

    เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยเยาว์ พระอาจารย์มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยใจคอเยือกเย็น อ่อนโยน โอบอ้อมอารี กว้างขวาง เช่นเดียวกับบิดาของท่าน ทั้งยังมีความขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค หนักเอาเบาสู้ ช่วยเหลือกิจการงานของบิดา และญาติพี่น้อง โดยไม่เห็นแก่ความลำบากยากเย็นใดๆ ทั้งสิ้น

    ด้านการศึกษา พระอาจารย์ฝั้น ได้เริ่มเรียนหนังสือที่วัดบ้านม่วงไข่ (วัดโพธิ์ชัย) สอนโดย ครูหุน ทองคำ และครูตัน วุฒิสาร ตามลำดับ พระอาจารย์ เมื่อครั้งนั้น เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเป็นอันมาก สามารถเขียนอ่านได้รวดเร็วกว่าเด็กอื่นๆ ถึงขนาดได้รับความไว้วางใจจากครู ให้สอนเด็กอื่นๆแทน ในขณะที่ครูมีกิจจำเป็น

    พระอาจารย์ฝั้น เคยคิดจะเข้ารับราชการ จึงได้ตามไปอยู่กับ นายเขียน อุปพงศ์ ผู้เป็นพี่เขย ซึ่งเป็นปลัดเมืองฝ่ายขวา ที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อไปในชั้นสูง ในช่วงนี้ ท่านได้พิจารณาเห็นความยุ่งเหยิง ไม่แน่นอนของชีวิตคฤหัสถ์ ได้เห็นการปราบปรามผู้ร้าย มีการฆ่าฟันกัน มีการประหารชีวิต ครั้งนั้น พี่เขยได้ใช้ให้เอาปิ่นโตไปส่งนักโทษอยู่เสมอ ท่านได้เห็นนักโทษหลายคน แม้เคยเป็นใหญ่เป็นโต เช่น พระยาณรงค์ฯ เจ้าเมืองขอนแก่น ต้องโทษฐานฆ่าคน นายวีระพงศ์ ปลัดซ้าย ก็ถูกจำคุก แม้แต่นายเขียน พี่เขยของท่าน เมื่อย้ายไปเป็นปลัดขวา อำเภอกุดป่อง จังหวัดเลย ก็ต้องโทษฆ่าคนตายเช่นกัน สภาพของนักโทษ ที่ท่านประสบมา มีทั้งหนักและโทษเบา นับได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ท่านรู้จักปลง และประจักษ์ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ท่านได้สติ บังเกิดความเบื่อหน่ายในทางโลก จึงเลิกคิดที่จะรับราชการ และตัดสินใจบวช เพื่อสร้างสมบุญบารมีทางพระพุทธศาสนาต่อไป
    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    ชีวิตสมณะของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๑ เมื่อท่านอายุได้ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง อำเภอพรรณานิคม และในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ถัดมา ท่านได้อุปสมบทเป็นภิกษุฝ่ายมหานิกาย ที่วัดสิทธิบังคม ตำบลบ้านไร่ อำเภอพรรณานิคม มีพระครูป้อง นนทะเสน เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์นวล และ พระอาจารย์สังข์ เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระอนุสาวนาจารย์ หลังจากออกพรรษาปีนั้น ท่านได้ไปอยู่ที่วัดโพธิ์ทอง บ้านบะทอง จึงได้ปฏิบัติธรรม อบรมกัมมัฏฐาน ตลอดจนการออกธุดงค์ อยู่รุกขมูล กับท่านอาจารย์อาญาครูธรรม

    ปีถัดมา ๒๔๖๓ ท่านได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงได้เที่ยวธุดงค์ มาพร้อมด้วยสามเณรหลายรูป และพักที่ป่าช้าข้างบ้านม่วงไข่ (ปัจจุบันเป็นวัดภูไทสามัคคี) เมื่อได้ฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่น ท่านบังเอิญเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ในสติปัญญา ควาสามารถ ของ พระอาจารย์มั่น จึงมอบตัวเป็นศิษย์ พร้อนท่านอาญาครูดี และพระครูกู่ ธมฺมทินฺโน เนื่องจากทั้งสามท่าน ยังไม่พร้อมในเครื่องบริขาร จึงไม่ได้ธุดงค์ตามพระอาจารย์มั่นไปในขณะนั้น

    เมื่อทั้งสามท่าน ได้เตรียมพร้อม เครื่องบริขารเรียบร้อยแล้ว ประจวบกับได้พบ พระอาจารย์ดูลย์ อลฺโต ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่นมาก่อน และกำลังเดินธุดงค์ ติดตามพระอาจารย์มั่นเช่นกัน พระอาจารย์ฝั้น จึงศึกษาธรรม เรียนวิธีฝึกจิตภาวนาเบื้องต้น จากพระอาจารย์ดูลย์ จากนั้นทั้งสี่ท่าน ได้ร่วมกันเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ดูลย์ เป็นผู้นำทาง จนได้พบพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน อำเภอสว่างดินแดง ท่านทั้งสี่ ได้ศึกษาธรรม กับ พระอาจารย์มั่น ที่นั่น เป็นเวลาสามวัน จากนั้นก็ได้ไปกราบพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล (ผู้ได้ร่วมเผยแพร่ธรรมกับพระอาจารย์มั่น) ที่บ้านหนองดินดำ แล้วจึงไปรับการอบรมธรรม จากพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ที่บ้านหนองหวายเป็นเวลาเจ็ดวัน จากนั้นจึงได้ไปที่บ้านตาลเนิ้ง และ ได้รับฟังธรรมจาก พระอาจารย์มั่น เสมอๆ

    เมื่ออาจารย์ฝั้นได้รับการศึกษาอบรมธรรมะ จากพระอาจารย์มั่น และได้ฝึกกัมมัฏฐานจนจิตใจมั่นคงแน่วแน่ บำเพ็ญภาวนาได้ตลอดรอดฝั่ง โดยไม่มีอุปสรรคใดๆ มารบกวนได้ ท่านจึงได้ตัดสินใจทำการญัตติ เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ที่วัดโพธิ์สมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์รถ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์มุก เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษากับพระอาจารย์มั่น ที่วัดอรัญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ร่วมกับเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป เช่น พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และพระอาจารย์กว่า สฺมโน ออกพรรษาปีนั้น ท่านได้เดินเลียบไปกับฝั่งแม่น้ำโขง เที่ยวธุดงค์ออกไปหลายแห่ง วกกลับมายังวัดอรัญวาสี แล้วธุดงค์ติดตามพระอาจารย์มั่น ที่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบัน อำเภอศรีสงคราม) ซึ่งท่านได้รับมอบหมายให้จำพรรษา และโปรดญาติโยม ที่ดอนแดงคอกช้าง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

    หลังออกพรรษา ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ร่วมกับหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรม ทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่น ไปอุบลฯด้วย ในปี ๒๔๗๐ นี้ ท่านได้จำพรรษา ที่บ้านบ่อชะเนง อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับพระอาจราย์กู่ เทศนาสั่งสอนญาติโยมที่นั่น พ.ศ. ๒๔๗๑ ท่านได้ออกไปจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร หลังออกพรรษา ท่านได้ไปเผยแพร่ธรรม ที่จังหวัดขอนแก่น ได้จำพรรษาที่จังหวัดขอนแก่น เป็นเวลา ๓ ปี ระหว่างนั้น ท่านได้อบรมสั่งสอนชาวบ้าน ให้เลิกนับถือผีเลิกกลัวผี ให้หันมานับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถือศีลห้าและพระภาวนาพุทโธ ท่านเป็นที่พึ่งและให้ความอบอุ่นแก่ชาวบ้านทั่วไป คนคลอดลูกยาก คนไอไม่หยุด คนถูกผีเข้า คนมีมิจฉาทิฏฐิหลอกลวงชาวบ้าน ท่านช่วยเหลือแก้ไขด้วยอุบายธรรมะได้หมดสิ้น ท่านเองบางครั้งก็อาพาธ เช่น ระหว่างที่จำพรรษาบนภูระงำ อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ท่านปวดตามเนื้อตามตัวเป็นอย่างมาก ท่านก็ใช้ธรรมโอสถ โดยนั่งภาวนาในอิริยาบทเดียว ตั้งแต่ทุ่มเศษ จนเก้าโมงเช้า ทำให้อาการอาพาธหายไปหมด พ้นจากการทุกข์ทรมาน และให้ท่านก้าวหน้าในทางธรรมเพิ่มขึ้นอีกด้วย

    ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๖๘ พรรษาที่ ๘ ถึง ๑๙ ท่านได้จำพรรษาที่ จังหวัดนครราชสีมา โดยตลอด แต่ในระหว่างนอกพรรษา ท่านจะท่องเที่ยวไปเผยธรรม และตัวท่านเอง ก็ได้ศึกษาและปฏิบัติด้วย เช่น ก่อนเข้าพรรษา ปี พ.ศ.๒๔๗๕ ท่านพระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์สิงห์ และ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อเยี่ยมอาการ ของ เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโน) โดยพักที่ วัดบรมนิวาส เป็นเวลา๓ เดือน เมื่อออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านได้ออกธุดงค์ไปในดงพญาเย็น ท่านได้พบเสือนอนหันหลังให้ ในระยะที่ใกล้มาก ท่านสำรวมสติเดินไปใกล้ๆมัน แล้วร้องถามว่า "เสือหรือนี่" เจ้าเสือผงกหัว หันมาตามเสียง แล้วเผ่นหายเข้าป่าไป เมื่อเดือน ๓ พ.ศ. ๒๔๗๙ พระอาจารย์ฝั้น พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน ได้ไปนมัสการพระอาจารย์มั่น ที่วัดเจดีย์หลวงจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อได้อยู่ใกล้พระอาจารย์มั่น ท่านจึงได้เร่งความเพียรทั้งกลางวันและกลางคืน เล่ากันว่า ท่านทั้งสอง ต่างสามารถมองเห็นกันทางสมาธิ ได้โดยตลอด ทั้งๆที่ กุฏิห่างกัน เป็นระยะทางเกือบ ๕๐๐ เมตร

    ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๖ พระอาจารย์ฝั้น ได้ออกเดินธุดงค์ จาก วัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ไปพักวิเวกภาวนาตามป่าเขาที่เห็นว่า สงบเงียบพอเจริญกัมมัฏฐานได้ และขณะเดียวกัน ก็สั่งสอนธรรมะช่วยเหลือชาวบ้าน ที่มีความทุกข์ยาก และ พาชาวบ้านพัฒนาหมู่บ้าน ให้มีความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ท่านธุดงค์ไปเขาพนมรุ้ง ต่อไปจังหวัดสุรินทร์ จนกระทั่งถึง จังหวัดอุบลราชธานี โดยจำพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ที่วัดบูรพา ที่จังหวัดอุบลราชธานี นี้เอง พระอาจารย์ฝั้น มีหน้าที่เข้าถวายธรรม แก่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ซึ่งกำลังอาพาธ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรคชรา) และใช้ความรู้ทางด้านสมุนไพร รักษาโรคปอดแก่ท่านอาจารย์มหาปิ่น จนกระทั่งออกพรรษาปีนั้น ทั้งสมเด็จฯ และ พระอาจารย์มหาปิ่น มีอาการดีขึ้น

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ถึง ๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้จำพรรษา ที่ วัดป่าศรัทธาราม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ซึ่งเดิมชื่อวัดป่าธาตุนาเวง เป็นป่าดงดิบ ห่างจากตัวเมือง ห้ากิโลเมตรเศษ ท่านได้นำชาวบ้าน และ นักเรียนพลตำรวจ พัฒนาวัดขึ้น จนเป็นหลักฐานมั่นคง ในพรรษ าท่านจะสั่งสอนอบรม ทั้งศิษย์ภายใน (คือพระเณรและผ้าขาว) และศิษย์ภายนอก (คืออุบาสก อุบาสิกา) อย่างเข้มแข็ง ตามแบบฉบับ ของ ท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่น ทุกวันพระ พระเณรต้องฟังเทศน์ แล้วฝึกสมาธิ และเดินจงกรมตลอดทั้งคืน อุบาสก อุบาสิกาบางคน ก็ทำตามด้วย ช่วงออกพรรษา ท่านก็มักจะจาริกไปกิจธุระ หรือ พักวิเวกตามที่ต่างๆ เช่น บริเวณเทือกเขาภูพาน เป็นต้น ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ท่านไปวิเวกที่ภูวัง และได้สร้างพระพุทธรูปบนหน้าผา ที่สวยงามมาก ออกพรรษา ปีพ.ศ. ๒๔๙๒ ได้ติดตาม พระอาจารย์มั่น ถึงวัดสุทธาราม ที่สกลนคร และเฝ้าอาการพระอาจารย์มั่น จนแก่มรณภาพ ออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๓-๙๕ ท่านได้ออกไปเผยแพร่ธรรม แถวภาคตะวันออก เช่นที่ จันทบุรี บ้านฉาง(จ.ระยอง) และฉะเชิงเทรา ในระหว่างนั้น ก็แวะเผยแพร่ธรรมไปตามที่ต่างๆด้วย เช่น ที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ และวัดป่าศรัทธาราม นครราชสีมา เป็นต้น

    ราวกลางพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้ปรารภกับศิษย์ทั้งปวงเสมอว่า ท่านได้นิมิตเห็น ถ้ำแห่งหนึ่ง ทางตะวันตก ของเถือกเขาภูพาน เป็นที่อากาศดี สงบ และ วิเวก พอออกพรรษาปีนั้น เมื่อเสร็จธุระกิจต่างๆ แล้ว ท่านได้พาศิษย์หมู่หนึ่ง เดินทางไปถึงบ้านคำข่า พักอยู่ในดงวัดร้าง ข้างหมู่บ้าน เมื่อคุ้นกับชาวบ้านแล้ว ท่านได้ถามถึงถ้ำในนิมิต ในที่สุด ชาวบ้านได้พาท่านไปพบกับถ้ำขาม บนยอดเขายอดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่น่าพอใจของท่านมาก เพราะเป็นที่วิเวกจริงๆ ทิวทัศน์สวยงาม มองเห็นถึงจังหวัดสกลนคร อากาศดี สงัด และ ภาวนาดีมาก

    ออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ท่านพระอาจารย์ ได้ลงไปพักที่วัดป่าอุดมสมพร เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศ และ เพื่อจะได้สั่งสอนอบรมชาวบ้านพรรณา อำเภอพรรณานิคม บ้าง วัดป่าอุดมสมพรนี้ เดิมเป็นป่าช้าติดกับแหล่งน้ำ ชื่อหนองแวง ที่บ้านบะทอง ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นบ้านเดิมของท่าน ท่านเคยธุดงค์มาพักชั่วคราว เพื่อบำเพ็ญกุศล ทักษิณานุประทานแด่บุพการี ครั้งเมื่อออกพรรษา ปี ๒๔๘๗ พร้อมด้วยพระอาจารย์อ่อน ญาณศิริ และ พระอาญาครูดี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา สถานที่แห่งนั้น ก็ได้มีพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษามาโดยตลอด จนกระทั่งได้เป็นวัดป่าอุดมสมพร

    ด้วยนิสัยนักพัฒนา ช่วงที่พักที่วัดป่าอุดมสมพร (๒๕๐๕) ท่านอาจารย์ได้นำญาติโยม พัฒนาเส้นทาง จากโรงเรียนบ้านม่วงไข่ ไปจนถึงบ้านหนองโคก ท่านไปประจำอยู่กับงานทำถนน ทั้งวัน อยู่หลายวัน จนอาพาธเป็นไข้สูง แพทย์จึงได้ขอร้อง ให้ท่านงดขึ้นไปจำพรรษา บนถ้ำขาม เพราะสมัยนั้น ยังต้องเดินขึ้น ดังนั้น ท่านจึงจำพรรษา ปี ๒๕๐๖ ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์

    ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๐๗ จนถึงพรรษาสุดท้ายของท่าน คือ ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านพระอาจารย์ฝั้นจำพรรษาที่ วัดป่าอุดมสมพร โดยตลอด จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายแห่งอายุขัย ท่านได้พัฒนาวัดนั้นเป็นการใหญ่ มีการขุดขยายหนองแวง ให้กว้าง และ ลึก เป็นการใหญ่ สร้างศาลาใหญ่ เป็นที่ชุมนุม สำหรับการกุศลต่างๆ สร้างกุฏิ โบสถ์น้ำ พระธาตุเจดีย์ ถังเก็บน้ำ และ ระบบท่อส่งน้ำ ถึงแม้ท่านจะจำพรรษาที่ วัดป่าอุดมสมพร แต่วัดถ้ำ และ วัดป่าภูธรพิทักษ์ ก็ยังอยู่ในความรับผิดชอบ และ อุปการะของท่าน ท่านยังคงไปๆมาๆ ด้วยความห่วงใยอยู่เสมอ เมื่อวันที ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๙ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงทอดผ้าพระกฐิน ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งท่านจำพรรษาอยู่ และได้ทรงนิมนต์ท่าน เข้าไปพักที่ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนเดียวกัน อีกชั่วระยะเวลาหนึ่ง ระหว่างที่พักใน วัดบวรฯ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ได้เสด็จไปทรงเยี่ยมเยียน และ สนทนาธรรมกับท่าน นอกจากนั้น ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ ยังได้เสด็จไปเยี่ยมเยียนท่าน ที่วัดป่าอุดมสมพร เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ อีกด้วย

    ท่านพระอาจารย์ฝั้น ได้มรณภาพ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ ด้วยอาการสงบ

    ท่านพระอาจารย์ เป็นผู้มีระเบียบวินัย สมกับที่ท่าน สืบตระกูลมาจากผู้สูงศักดิ์ นอกจากนั้น ท่านยังมีความขยันหมั่นเพียรอย่างเอกอุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบำเพ็ญภาวนา การอบรมสั่งสอนศิษย์ หรือการก่อสร้างอาคาร ถนนหนทาง ท่านถือเอาการงาน และหน้าที่ เป็นเรื่องสำคัญข้อแรก ส่วนความสะดวกสบายนั้น เป็นข้อรอง และท่านปฏิบัติเช่นนี้ โดยสม่ำเสมอมา ตั้งแต่หนุ่มจนถึงวัยชรา

    คุณประสพ วิเศษศิริ เล่าถึงกิจวัตรประจำวันตามปกติของท่านพระอาจารย์ฝั้น จากประสบการณ์ที่ได้บวชในช่วงปี ๒๕๑๒ ที่วัดป่าอุดมสมพร ไว้ในหนังสืออนุสรณ์อายุครบ ๖๐ ปีของคุณประสพเองว่า


    <TABLE cellSpacing=0 width=540 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=128>๐๓.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    ท่านจะพระอาจารย์ตื่น พระและเณร ผลัดเปลี่ยนเวรกัน ถวายน้ำบ้วนปาก และ ล้างหน้า เสร็จแล้ว ท่านก็นั่งภาวนาบนกุฏิชั้นบน ๐๔.๐๐ น. พระและเณรทั้งวัด ตื่นทำความสะอาดร่างกาย และ นั่งภาวนา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๐๕.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    จัดบาตรลงศาลา กวาดถู จัดที่นั่งฉัน ตั้งกระโถนกาน้ำฯ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๐๖.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    เตรียมบาตร ซ้อนผ้าคุลม ยืนรอท่านอาจารย์ใหญ่ ท่านจะนำบิณฑบาตทุกๆเช้า ท่านอาจารย์ไม่เคยขาดการบิณฑบาตเลย มาระยะหลังๆ ท่านอาพาธ ก็ยังพยายามบิณฑบาตในวัด พระและเณรทุกๆรูป ก็ต้องออกบิณฑบาต เป็นกฎของวัด นอกเสียจากรูปใด เร่งความเพียรตั้งสัจจะ ว่าจะไม่ฉันอาหาร จึงไม่ต้องบิณฑบาตในวันที่ไม่ฉัน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๐๗.๐๐ น. ถึง ๐๘.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    เริ่มฉัน และฉันในบาตรโดยวิธีสำรวม พระ เณร ผ้าขาว ฉันเหมือนกันหมด อาหารอย่างเดียวกัน จนตลอดแถว
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๐๙.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    ฉันอาหารเสร็จ เป็นอันว่า เสร็จเรื่องการฉันไปหนึ่งวัน เพราะกฏของวัด ฉันเพียงมื้อเดียว ท่านอาจารย์ยังคงรับแขก ญาติโยมบนศาลา จนกว่า ท่านจะเห็นสมควรขึ้นกุฏิ ส่วนพระเณรอื่นๆ นอกจากรูปไหน ที่เป็นเวร คอยรับใช้ปรนนิบัติท่าน ก็ช่วยกันเก็บกวาดอาสนะให้เรียบร้อย และนำบาตร กระโถน กาน้ำ แก้วน้ำ ไปล้าง สำหรับบาตรต้องรักษาให้ดียิ่ง ล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วไปเปิดฝา ผึ่งแดด บนระเบียงกุฏิ
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๑๐.๐๐ น. ถึง ๑๑.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    เดินจงกรม
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๑๑.๐๐ น. ถึง ๑๒.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    พักผ่อนตามอัธยาศัย
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๑๒.๐๐ น. ถึง ๑๕.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    นั่งภาวนา สาธยายหนังสือสวดมนต์ ทบทวนพระปาฏิโมกข์ หรือไม่ก็ เดินจงกรม สุดแต่อัธยาศัย แต่ข้อสำคัญที่สุด ก็คือ ห้ามคุยกันเล่น ไม่ว่าเวลาไหน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๑๕.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    ตีระฆังลงศาลา ฉันน้ำปานะ โกโก้ กาแฟ หรือน้ำอัดลม ตามแต่ศรัทธาของเขาจัดถวาย
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๑๕.๓๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    พระเณรทุกรูป ลงปัดกวาดลานวัดเสร็จแล้ว ทำความสะอาดส้วม และตักน้ำใส่ห้องส้วมให้เต็มทุกห้อง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๑๗.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    ผลัดเปลี่ยนกันไปสรงน้ำพระอาจารย์ใหญ่ ที่ไม่ได้รับเวรสรงน้ำอาจารย์ใหญ่ ก็ไปสรงน้ำตามกุฏิของตน เสร็จแล้วไปคอยอาจารย์ใหญ่ อยู่บนกุฏิของท่าน เพื่อรับการอบรมจากท่านต่อไป เมื่อท่านอบรมแล้ว ใครมีปัญหา เป็นต้นว่า ภาวนาเห็นนิมิตอะไร หรือสงสัยปัญหาธรรมอะไร ขัดข้องตรงไหน จะเรียนถามท่านได้ ท่านจะคลายปัญหาต่างๆ เหล่านั้น ได้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=128>๑๙.๐๐ น. </TD><TD vAlign=top width=404>
    ตีระฆัง ทำวัตรเย็น (สวดมนต์เย็น) โดยอาจารย์ใหญ่ ท่านจะเป็นผู้นำไหว้พระสวดมนต์ เสร็จแล้ว ท่านจะแสดงธรรมโปรด....และนำนั่งสมาธิต่อ จนถึงเวลา๒๓.๐๐ น บางครั้งก็ถึง เวลา ๒๔.๐๐ น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ถ้าเป็นวันพระ จะประชุมฟังธรรม จนสว่าง แต่ท่านจะหยุดพักเป็นระยะๆ เมื่อเหนื่อย ก็อนุญาตให้พักเปลี่ยนอิริยาบถ ยืดเส้นยืดสาย เข้าห้องน้ำ และฉันน้ำ เสร็จแล้ว ก็เดินจงกรมต่อ สำหรับอาจารย์ใหญ่ ท่านจะไม่ลงจากศาลา จนรุ่งเช้า สว่างแล้ว ก็แยกย้ายกันกลับกุฏิของตน ใครจะเดินจงกรมต่อ หรือจะทำกิจวัตรสุดแต่อัธยาศัย
    ธรรมโอวาท
    ธรรมโอวาทของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้รับการรวบรามโดย คุณหมออวย เกตุสิงห์ ได้รวบรวม ไว้ใน หนังสืออนุสรณ์งานศพพระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกเป็น พระธรรมเทศนา กัณฑ์ใหญ่ ว่าด้วย "พระอภิธรรมสังคินี มาติกา " เป็นงานประพันธ์ของพระอาจารย์ สมัยยังเป็นยังหนุ่ม และท่านได้เขียนไว้ด้วย "อักษรธรรม" เป็นลายทือของท่านเอง งดงามมาก ส่วนที่สองเป็นพระธรรมเทศนา (อาจาโรวาท) ที่ท่านแสดงให้ฟังและมีผู้จดจำหรืออัดเทปไว้ ในส่วนนี้มีทั้งหมด ๑๕ กัณฑ์ ในที่นี้ จะยกมาเฉพาะบางส่วน ในอาจาโรวาท เล่มที่ ๘ ดังนี้

    บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละทาน ก็รู้อยู่แล้ว คือการสละ หรือ การละการวาง ผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มาก ผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย มัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น นี้หละ คือความโลภ ต้องสละเสีย ให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติ วัตถุทั้งหลายเหล่านั้นหละ ไม่ใช่อื่นไกล แปลว่า ทะนุบำรุงตน เหมือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือทานบารมีอันนี้ นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องสเบียงของเรา เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้ว เราจะเดินทางไกล เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก กลัวทุกข์กลัวยาก ของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำไว้ อยากได้ มันก็ไม่ได้ ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี เหตุนี้ ให้พากันเข้าใจ

    ศีลบารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระ ถ้าพระไม่ให้แล้ว ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีล แท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิด ขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อย อย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือ ปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีล อทินนา ทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีล กาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษ มุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโทษ ไม่ใช่ศีล สุราเมรย มชฺชฯ อันนี้ก็เป็นแต่โทษ ถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีล ให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนา เหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้ พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงศ์ ของเรา เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอ ถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุ่ม ก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติ แม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ

    เหตุนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงสอนไว้ ให้ละเว้นโทษที่เราไม่พึงปรารถนา เช่น อทินนาทาน การขโมยอย่างนี้หละ เขามาขโมยของ ขโมยเล็กขโมยน้อยของเรา เราก็ไม่อยากได้ หรือโจรปล้นสะดมอย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ท่านจึงให้ละ ถ้าเราไม่ได้ขโมยของใคร ไม่ว่าในภพใดภพหนึ่ง เราก็ไม่ถูกโจรไม่ถูกขโมย ไม่มีร้ายไม่มีภัยอะไรสักอย่าง เราละเว้นแล้ว โจรทั้งหลายก็ไม่มี โจรน้ำ โจรไฟ โจรลมพายุพัด ก็ไม่มี นี่เป็นอย่างงั้น กาเม ก็เช่นเดียวกัน เกิดมามีสามีภรรยา มีบุตร รองดองกัน อันเดียวกัน เกิดคนมาละเมิดอย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ว่ายากสอนยาก หรือทะเลาะเบาะแว้งกัน เราก็ไม่อยากได้ ถ้าเราละเว้นโทษกาเมนี้แล้ว มันก็ไม่มีโทษหละ มุสาวาทา ก็พึงละเว้น มีคนมาฉ้อโกงหลอกลวงเรา เราก็ไม่อยากได้ คิดดูซี เราไปหลอกลวงฉ้อโกงเขา เขาก็ไม่อยากได้ เช่นเดียวกัน นี่หละ พระพุทธเจ้าท่านจึงได้ละเว้น มันเป็นโทษ คนไม่ปรารถนา ถ้าเรารักษาศีลนี้แล้ว เราก็สบาย ไปไหนก็สบายซี่ ไม่มีโทษ เหล่านี้แล้ว สุรา การมึน การเมา เราละกันแล้ว เราก็ไม่อยากได้ ภรรยาขี้เมา สามีขี้เมา ลูกขี้เมา พ่อแม่พี่น้องขี้เมา เราก็ไม่อยากได้ เมื่อไม่มีเมาแล้ว จะทะเลาะเบาะแว้งกันที่ไหนเล่า เกิดมากรรมให้โทษ เช่น คนเป็นใบ้บ้าเสียจริตผิดมนุษย์ เป็นลมบ้าหมู เราก็ไม่อยากได้ หูหนวกตาบอด เป็นใบ้ อย่างนี้ เราก็ไม่อยากได้ ขี้ทูดกุดถัง กระจอกงอกง่อย เป็นคนไม่มีสติปัญญา เราก็ไม่อยากได้ พระพุทธเจ้าจึงได้ละเว้นโทษเหล่านี้ เมื่อเราทั้งหลายละเว้นแล้ว เราไปไหน ก็อยู่เย็นเป็นสุขสนุกสบาย ฉะนี้เมื่อเราสมาทานศีล พระท่านจึงบอกว่า สีเลน สุคติ ยนฺติ ผู้ละเว้นแล้วมีความสุข สีเลน โภคสมฺปทา เราก็มีโภคสมบัติ ไปในภพไหนก็ดี ในปัจจุบันก็ดีเป็นคนไม่ทุกข์ เป็นคนไม่จน ด้วยอำนาจของศีลนี้ สีเลน นิพฺพุติ ยนฺติ จะไปพระนิพพาน ก็อาศัยศีลนี้เป็นต้น

    ต่อไปนี้จะให้ทำบุญโดยเข้าที่ภาวนา นั่งดูบุญดูกุศลของเรา จิตใจมันเป็นยังไง ดูให้มันรู้มันเห็นซี่ อย่าสักแต่ว่า สักแต่ทำ เอาให้มันเห็นจริงแจ้งประจักษ์ซี่ เราต้องการความสุขสบาย แล้วมันได้ตามต้องการไหม เราก็มาฟังดูว่าความสุขความสบายมันอยู่ตรงไหนเราก็นั่งให้สบาย วางกายของเราให้สบาย วางท่าทางให้สง่าผ่าเผยยิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อกายเราสบายแล้ว เราก็วางใจให้สบาย รวมตาเข้าไปหาดวงใจ หูก็รวมเข้าไป เมื่อใจสบายแล้ว นึกถึงคุณพระพุทธเจ้าอยู่ในใจ พระธรรมอยู่ในใจ พระอริยสงฆ์อยู่ในใจ เราเชื่อมั่นอย่างนั้นแล้ว จึงให้นึกคำบริกรรมภาวนา ว่า " พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ" สามหน แล้วเอาคำเดียว ให้นึกว่า "พุทฺโธ พุทฺโธ " หลับตา งับปากเสีย ตาเราก็เพ่งเล็ง ดูตำแหน่งที่ระลึกพุทโธนั่น มันระลึกตรงไหน หูเราก็ไปฟังที่ระลึก พุทโธนั่น สติเราก็จ้องดูที่ระลึก พุทโธ พุทโธ จะดูทำไมเล่า ดูเพื่อให้รู้ว่า ตัวเรานี่เป็นสุข หรือ เป็นทุกข์ มันดีหรือมันชั่ว จิตของเราอยู่ในกุศล หรือ อกุศลก็ให้รู้จัก ถ้าจิตของเราเป็นกุศล มันเป็นยังไง คือ จิตมีความสงบ มันไม่ส่งหน้า ส่งหลัง ส่งซ้าย ส่งขวา เบื้องบน เบื้องล่าง ตั้งอยู่จำเพาะท่ามกลางผู้รู้ มันมีใจเยือก ใจเย็น ใจสุข ใจสบาย จิตเบา กายมันก็เบา ไม่หนักไม่หน่วงไม่ง่วงไม่เหงา หายทุกข์ หายยาก หายความลำบาก รำคาญ สบายอกสบายใจ นั่นแหละตัวบุญตัวกุศลแท้ นี้จะได้เป็นบุญเป็นบารมีของเรา เป็นนิสัยของเรา ติดตนนำตัว ไปทุกภพทุกชาติ นี่แหละให้เข้าใจไว้ จิตของเราสงบเป็นสมาธิ คือ กุศล อกุศลเป็นยังไง คือ จิตเราไม่ดี จิตทะเยอทะยาน จิตดิ้นรนพะวักพะวง จิตทุกข์ จิตยาก จิตไม่มีความสงบ มันเลยเป็นทุกข์ เรียกว่า อกุศล ธรรมทั้งหลาย กุศลธรรม อกุศลธรรม อันนี้ว่าเป็นกรรม ในศาสนาท่านว่า กรรมทั้งหลายไม่ได้อยู่ในที่อื่น กมฺมสฺสโกมฺหิ กรรมนั้นเป็นของๆ ตน กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะได้นับผลของกรรมนั้นสืบไป เราจะรู้ได้อย่างไง กุศลกรรม พิจารณาดูซี่ กรรมทั้งหลายมันไม่ได้อยู่อื่น กายกรรม แน่ะ มันอยู่ในกายของเรานี้ มันเกิดจากกายของเรานี้ วจีกรรม มันเกิดจากวาจาของเรานี้ ไม่ได้เกิดจากอื่นไกล มโนกรรม มันเกิดจากดวงใจของเรานี้แหละ ให้รู้จักไว้ ต่อไปเราไม่ต้องสงสัยว่า กรรมมันมาจากไหน ใครเป็นผู้ทำล่ะ เดี๋ยวนี้เรารู้ เราเป็นผู้ทำเอง ไม่ใช่เทวบุตรเทวดาทำให้ เราทำเอาเอง ที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้หละ เราทำบุญบุญอันนี้ เป็นอย่างเลิศประเสริฐแท้ คือเราให้ทานร้อยหน พันหน ก็ตาม อานิสงส์ไม่เท่าเรานั่งสมาธิ นี้มีผลานิสงส์ เหมือนทำบุญอย่างที่สุดแล้ว
    ปัจฉิมบท
    เมื่อครั้งที่พระอาจารย์ฝั้น ยังเป็นสามเณรอยู่นั้น ท่านได้เอาใจใส่ศึกษาและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอันมาก ถึงขนาดคุณย่าของท่าน ได้พยากรณ์ไว้ว่า "ในภายภาคหน้า ท่านจะเข้าไปอาศัยอยู่ในป่าขมิ้นตลอดชีวิต ระหว่างนั้น จะสร้างแต่คุณความดีอันประเสริฐเลิศล้ำค่า จะเป็นผู้บริสุทธิ์ผ่องใส ประชาชนทุกชั้น ตั้งแต่สูงสุดจนต่ำสุด ทุกเชื้อชาติศาสนา ที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของท่าน จะบังเกิดความเลื่อมใสในตัวท่าน แล รสพระธรรมที่ท่านเทศนาเป็นอันมาก" คำพยากรณ์ของคุณย่าของท่าน มิได้ผิดเพี้ยนความจริงเลย เมตตาธรรม และ คุณความดีของท่าน เป็นที่ประจักษ์แก่บรรดาสานุศิษย์ และ บรรดาสาธุชนโดยทั่วไป

    ความเมตตาของท่านพระอาจารย์ แสดงออกตั้งแต่การให้ของเล็กๆน้อยๆ หรือการยอมทำตามคำขอร้องง่ายๆ ขึ้นไปจนถึงการให้ของที่สำคัญๆ และการกระทำที่ยากๆ แม้จนกระทั่งสิ่งที่ท่านเองไม่อยากกระทำ แต่ถ้าถึงขีดที่เป็นการผิดพระวินัย ท่านจะไม่ยอมเป็นอันขาด คุณหมออวย ได้เล่าไว้ใน หนังสืออนุสรณ์งานศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระ ตอนที่ ๘ กรุณามหณณโว ความว่า " ผู้เขียนเคยเห็นครั้งหนึ่ง มีพระอธิการ จาก วัดหนึ่ง ในจังหวัดอื่น มาขออนุญาตทำของอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อเอาไปให้เช่าหารายได้ปรับปรุงวัด พยายามอ้อนวอนเท่าไรๆ ท่านก็ไม่ยอม เพราะท่านขัดข้องต่อการขายสิ่งมงคลต่างๆ ทั้งสิ้น นอกจากไม่อนุญาตแล้ว ท่านยังว่ากล่าวตักเตือน ให้สังวรในพระวินัยให้เคร่งครัด ซึ่งเป็นการแสดงเมตตาอีกแบบหนึ่ง คือช่วยไว้ให้พ้นจากอบายภูมิ

    ตัวอย่างความเมตตาของท่านมีอีกมากมาย แทรกอยู่ในประวัติของท่านทุกๆ ตอนไม่สามารถจะกล่าวได้หมดสิ้น จะขอยกมาเป็นตัวอย่างสักเล็กน้อย เช่น

    ช่วงที่ท่านพำนักอยู่ในป่าริมห้วยเสนง จังหวัดสุรินทร์ ได้มีพุทธบริษัทเลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก ผู้คนพากันไปฟังพระธรรมเทศนา และรับการอบรมจากท่านอย่างเนืองแน่นมิได้ขาด เมื่อท่านได้ทราบถึงความเจ็บป่วยของชาวบ้านบางคน ท่านได้ให้ลูกศิษย์หาเครื่องยามาประกอบเป็นยาดอง โดยมีผลสมอเป็นตัวยาสำคัญ กับ เครื่องเทศ อีกบางอย่าง ปรากฏว่า ยาดองที่ท่านประกอบขึ้นคราวนั้น มีสรรพคุณอย่างมหาศาล แก้โรคได้สารพัด แม้คนที่เป็นโรคท้องมาน มาหลายปี รักษาที่ไหนก็ไม่หาย พอไปฟังพระธรรมเทศนา รับพระไตรสรณคมน์ และรับยาดองจากท่านไปกิน เพียง ๓ วัน โรคก็หาย ดังปลิดทิ้ง แม้คนที่เป็นโรคอื่นๆ ก็เช่นกัน ชาวสุรินทร์ ถึงกับขนานนามท่านว่า "เจ้าผู้มีบุญ"

    ช่วงเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ จังหวัดสกลนคร เกิดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล บางบ้านกลัวอดข้าวเพราะทำนาไม่ได้ จึงไปปรารภกับท่าน ท่านจึงได้แนะนำให้รักษาศีลให้เคร่งครัดโดยพร้อมเพรียงกัน ท่านกล่าวว่า หากยึดมั่นในพระรัตนตรัย แล้วจะไม่อดตายอย่างแน่นอน กุศลความดีทั้งหลายจะรักษาผู้ปฏิบัติชอบเสมอ บรรดาญาติโยมทั้งหลาย ต่างพากันเข้าวัดปฏิบัติ ถือศีลห้า ศีลแปดกันอย่างมั่นคง ต่อมาวันหนึ่ง พระอาจารย์ได้ให้ลูกศิษย์ปูเสื่อบนลานวัดกลางแจ้ง ท่านพร้อมกับพระภิกษุ ๒ รูป สามเณร ๒ รูป นั่งสวดคาถาท่ามกลางแสงแดดจ้า ไปได้ประมาณครึ่งชั่วโมง ท้องฟ้าที่กำลังมีแดดจ้า พลันมีเสียงฟ้าคำราม บังเกิดมีก้อนเมฆ กับมีฝนเทลงมาอย่างหนัก ท่านให้พระและเณรหลบฝนไปก่อน ส่วนตัวท่านเอง ยังคงนั่งอยู่ที่เดิมอีกนาน จึงได้ลุกไป ฝนตกหนักเกือบ ๓ ชั่วโมง เมื่อฝนหยุด แล้วท้องฟ้าก็แจ่มใสดังเดิม ปีนั้น ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ทำนาตามปกติโดยทั่วถึง

    จากถ้อยคำของผู้ที่เคยเป็นศิษย์ ท่านเป็นอาจารย์ที่เข้มงวดกวดขันมาก คอยเคี่ยวเข็ญพระเณร ตลอดจนผ้าขาว ให้ปฏิบัติภาวนาโดยเข้มแข็งเสมอ ถ้าใครเกียจคร้านหรือเหลาะแหละ ท่านก็จะว่ากล่าวตักเตือน เช่นว่าบวชแล้ว อย่าให้ชาวบ้านเปลืองข้าวเปล่าๆ หรือว่า พระกรรมฐานเป็นพระนั่ง ไม่ใช่พระนอน เป็นต้น ถ้าใครปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านก็ชมเชยและเอาใจใส่ อบรมเป็นพิเศษ เพื่อที่จะได้ก้าวหน้าไปไกลยิ่งขึ้นอีก

    ท่านพระอาจารย์ฝั้น เป็นนักปฏิบัติธรรม เป็นนักพัฒนา เป็นนักวิทยาศาสตร์ ที่มีสติปัญญาล้ำเลิศ มีความรู้กว้างขวาง และมีปฏิภานไหวพริบฉลาดเฉลียว จะเห็นได้จาก ในประวัติของท่าน ท่านมักจะได้รับมอบหมาย ให้ไปตัดสินปัญหา พิจารณาความเป็นธรรมอยู่เนืองๆ เช่น กรณีแก้มิจฉาทิฏฐิของไท้สุข กรณีแก้วิปัสนูปกิเลสของแม่ชีตัด กรณีระงับเหตุการณ์ไม่สงบที่วัดเทพนิมิตร จังหวัดฉะเชิงเทรา และการได้รับบัญชาจาก สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ให้อยู่ใกล้ชิด และคอยแนะนำ เรื่องภาวนา ที่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

    การพัฒนาทางวัตถุของท่าน มีให้ห็นมากมาย ท่านได้ก่อตั้ง และบูรณะวัด ให้มีหลักฐานมั่นคงหลายวัด เช่น วัดป่าศรัทธาธรรม วัดป่าโยธาประสิทธิ์ วัดป่าภูธรพิทักษ์ สำนักสงฆ์ถ้ำขาม และวัดป่าอุดมสมพร ส่วนถาวรวัตถุอื่นๆ ที่เป็นสาธารณประโยชน์ก็มีมากมาย เช่น ถนนสายบ้านคำข่า-บ้านไร่ ถนนสายบ้านม่วงไข่-บ้านหนองโคก สะพานข้ามห้วยทราย เขื่อนกั้นน้ำอูน ตึกพิเศษสงฆ์ ที่โรงพยาบาลสกลนคร และโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นต้น

    ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนาก็คือ ในระหว่างพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านจำพรรษาบนถ้ำขาม ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขา บนไหล่เขาช่วงใกล้จะถึงยอดเขาถ้ำขาม มีที่ค่อนข้างราบอยู่ประมาณครึ่งไร่ ซึ่งมีดินขังอยู่ระหว่างก้อนหิน ท่านให้ชาวบ้านถางหญ้า แล้วหาหน่อกล้วยมาปลูก ชาวบ้านหลายคนคัดค้านว่า ที่อย่างนั้นปลูกกล้วยไม่ขึ้น เอามาปลูกก็เสียเวลาเสียของเปล่าๆ แต่ท่านพระอาจารย์บอกว่า ไปหามาปลูกแล้วกัน ขึ้นหรือไม่ขึ้น ก็จะรู้เอง พอปลูกแล้ว ก็งอกงามเป็นป่ากล้วย และยั่งยืนมาจนทุกวันนี้ ท่านถือป่ากล้วยเป็นบทเรียนสำหรับชาวบ้าน ให้เห็นว่า การลงความเห็นว่า อ้ายโน่นทำไม่ได้ อ้ายนี้ทำไม่ได้ โดยไม่พยายามลองดูนั้น คือความโง่ และความเกียจคร้าน ซึ่งเป็นเหตุแห่งความทุกข์และยากจน ส่วนความสนใจใคร่ทดลองทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ แม้ไม่เคยทำมาก่อน เป็นความฉลาดและขยัน จะนำไปสู่ความสุขและความร่ำรวย ในปัจจุบันที่ตรงนั้น มีทั้งกล้วย มะม่วง และขนุน เป็นที่อาศัยของพระเณรและลูกศิษย์ ในบางโอกาส พวกลิงก็แห่กันมาเป็นฝูงๆ เพื่อขอแบ่งไปบ้าง

    อนุสรณ์สถาน ที่ถือว่าสำคัญที่สุด ของอาจารย์ฝั้นน่าจะเป็น วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งห่างจากตัวเมือง สกลนคร ราว ๓๔ กม.เป็นที่ที่ท่านได้จำพรรษาช่วงสุดท้ายของชีวิต เป็นเวลากว่า ๑๒ ปี ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ แล ะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพของท่านที่นี้ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๒๑ ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพ ได้มีการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร องค์พระเจดีย์สูง ๒๗.๙ เมตร ลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมยอดแหลม บรรจุพระอัฐิและพระอังคารพระอาจารย์ฝั้น ที่ส่วนยอดเจดีย์ ฐานของพระเจดีย์เป็นรูปซุ้มโดยรอบ ลดหลั่นกันลงมาเป็น ๓ ชั้น ซึ่งซุ้มชั้นล่าง หมายถึงศีล ชั้นกลางหมายถึงสมาธิ และชั้นยอดหมายถึงปัญญา ในองค์พระเจดีย์ จัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องบริขารของท่าน ตรงเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของท่าน ลานชั้นล่างรอบองค์เจดีย์ จัดเป็นลานพระธรรม มีซุ้มโดยรอบ ๕๖ ซุ้ม ถ้ามองจากภายในลาน จะมีหินจารึกคำสอนธรรมะของท่าน ติดอยู่บนหลังซุ้ม หากมองจากภายนอก จะเป็นซุ้มแสดงประวัติของท่าน ซึ่งประดับด้วยปติมากรรมดินเผา เป็นเรื่องราว ตั้งแต่ท่านถือกำเนิด มาบวชเรียน จนถึงมรณภาพ บริเวณโดยรอบ เป็นป่าอันเงียบสงบ ร่มรื่น อันเป็นบรรยากาศของการปฏิบัติภาวนาโดยเฉพาะ
    พระคุณของท่านพระอาจารย์ฝั้นไม่อาจจะบรรยายให้หมดสิ้นได้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ควรจะถือเป็นแบบอย่าง เพื่อให้ตัวเอง สังคม และประเทศชาติ เจริญรุ่งเรือง อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์โดยประการทั้งปวง ดั่งในโคลงดั้นวิวิธมาลี "อาจารศิรวาท" พระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตอนหนึ่งความว่า



    <TABLE cellSpacing=0 width=273 border=0><TBODY><TR><TD width=179>
    ใครเอยเคยกอบเกื้อ
    </TD><CENTER><TD width=86>
    เอาภาร
    </TD></TR><TR><TD width=179>
    แนะเรื่องประเทืองหทัย
    </TD><TD width=86>
    ทุกข์กั้น
    </TD></TR><TR><TD width=179>
    เสาะแสวงสิทธิศานต
    </TD><TD width=86>
    สุขทั่ว
    </TD></TR><TR><TD width=179>
    "อาจาร" ท่านเดิม "ฝั้น" ตั้ง
    </TD><TD width=86>
    ต่อนาม
    </TD></TR></CENTER></TBODY></TABLE>​
     
  9. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    หลวงปู่ แหวน สุจิณฺโณ
    [​IMG]
    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    เรียบเรียง โดย ร.ศ.ดร.ปฐม-รศ.ภัทรา นิคมานนท์
    ๑. พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

    พระคุณเจ้าหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอริยสงฆ์ที่เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง จากพุทธศาสนิกชน ทุกเพศทุกวัย ทั้งในและ ต่างประเทศ

    แม้หลวงปู่จะได้ลาขันธ์ไป ตั้งแต่คืนวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๒๘ แต่ความทรงจำในกระแส เมตตา ปฏิปทาสัมมาปฏิบัติ จริยาวัตรที่งดงาม พร้อมกับธรรมโมวาทอันล้ำค่า ของหลวงปู่ ก็ยังส่อง สว่างอยู่กลางใจของพวกเราชาวพุทธทุกผู้ทุกนาม

    เมื่อน้อมระลึกถึงหลวงปู่ทีไร ความสุข สงบ ความโสมนัส ชื่นบาน ความสมหวัง โชคดี ความเป็นสิริมงคล จะดื่มด่ำอยู่ในจิตใจ อย่างไม่รู้อิ่มรู้คลาย

    ผู้ที่โชคดี มีโอกาสกราบไหว้ องค์หลวงปู่ ได้เคยฟังการปรารภธรรม แสดงธรรม จากหลวงปู่ ต่างก็ประจัษ์ความไพเราะ นุ่มนวลละมุนละไม ประดุจเสียงทิพย์ที่ไพบูลย์ด้วยธรรมะ อันเป็นสากลสัจจะ ยังความอิ่มเอิบ เบิกบาน และเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต

    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นผู้สืบเนื้อนาบุญอันไพศาล นับเป็นพระอริยสาวก ที่ควรแก่กราบ ไหว้บูชาอย่างแท้จริง

    ท่านเจ้าคุณ พระวิบูลธรรมาภรณ์ แห่งวัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ ศิษย์ใกล้ชิดท่านหนึ่ง ได้รจนาถึงปฏิปทาของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ดังนี้ :-

    " หลวงปู่แหวนท่านมีศีลที่สมบูรณ์ คือเป็นพระสงฆ์ที่มีความปกติครบถ้วนไม่เกินหรือขาด สภาพของท่านเปรียบเสมือนป่าใหญ่ที่มีต้นไม้ใหญ่เล็กนานาชนิด ทังยืนต้น และล้มลุก มี ดอก ใบ ผล สมบูรณ์ ตามสภาพของพันธ์นั้นๆ จะมีต่างอยู่ก็คือกลิ่นของดอกไม้ ในป่า หอมตามลม แต่กลิ่นศีลของหลวงปู่หวนตามลมและทวนลม และ ไม่นิยมกาลเวลา หอมอยู่เสมอ

    หลวงปู่มีจริยาวัตร คือความประพฤติที่เรียบร้อย งดงาม เต็มพร้อมด้วยสิกขา วินัย กฎระเบียบ การปฏิบัติของท่านเรียบง่าย ถูกต้องทั้งในสมาคมสาธารณะ และในที่รโหฐาน จะเป็นที่ชุมชนใหญ่ เล็ก ท่านทำตนเป็นกลางเสมอเหมือน ความประพฤติของท่าน เสมือนต้นไม้ใหญ่ ที่มีร่มเงามาก มีกิ่งก้านสาขาแผ่กว้างให้คนเดินทางได้อาศัยร่มเงาพัก นกกาอาศัยเกาะกิ่ง มีกาฝากก็ขึ้นแซม บ้างบางครั้งบางคราว

    หลวงปู่ท่านมีปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลางพอเหมาะพองาม ไม่ชอบระคนด้วยกลุ่มชนมาก ชอบหลีกเร้นอยู่ในที่สงบ ชอบชีวิตธรรมชาติ ป่าเขาลำเนาไพร ชีวิตของท่านอยู่กับป่ามาโดยตลอด แม้ในวัยชรา หลวงปู่จะปรารภเสมอว่า ขณะนี้ป่าธรรมชาติจะหายไป แต่มีป่ามนุษย์เข้ามาแทนที่ โดยท่านให้คติว่า ต้นไม้ในป่าต่างต้นต่างเจริญเติบโต แสวงหาอาหารเลี้ยงต้น ใบ ดอก ผลของมัน เอง ไม่แก่งแย่งเบียดเบียนกัน แต่มนุษย์ก็มีทางดำเนินเลี้ยงชีวิตตรงกันข้ามกับต้นไม้ในป่า

    หลวงปู่ท่านมีเมตตาธรรมเป็นเลิศ มีสมาธิดี มีพลังจิตสูงเปี่ยมด้วยเมตตา ถ้าได้สนทนาธรรม กับท่าน สิ่งที่เป็นคำสอนอันสำคัญสำหรับชาวเราทั่วไป ก็คือ ท่านจะสอนให้หัดแผ่เมตตา ความปรารถนาดี แก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มาร จะสอนให้แผ่ให้ทั่วจักรวาล ยิ่งแผ่มากจะทำให้จิตใจ สบาย รักชีวิต ทรัพย์สินของคนอื่นเหมือนกับของตนเอง หลวงปู่ท่านสอนให้แผ่ความปรารถนาดี ความสุขแก่ชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะได้รับมากน้อยสุดแต่วาสนาบารมีของผู้นั้น

    สรูปได้ว่า หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วย ศีล จริยวัตร ปฏิปทา คุณธรรม แผ่ขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ ทั้งตามลมและทวนลม เกียรติคุณ บริสุทธิคุณ ปรากฏในชุมชน ทั่วไป

    คุณแห่งศีล และเมตตาของท่าน เป็นเสมือนมนต์ขลัง ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ มีคนจำนวน มากเดินทางไปกราบขอศีลขอพร ขอบารมีธรรม และบางรายขอทุกอย่างที่ตนมีทุกข์ เพื่อจะให้ พ้นทุกข์

    ทำให้เกิดศรัทธาสองทาง คือ คุณธรรม และวัตถุธรรม ผู้ใดต้องการธรรมะ ก็สดับตรับฟัง ศึกษาเอา ผู้ใดต้องการของขลัง รูปเหรียญวัตถุมงคลที่ระลึก ก็แสวงหาเอา ใครผู้ใดปรารถนาหรือ ศรัทธาอย่างใดก็ปฏิบัติอย่างนั้น ซึ่งก็คงสำเร็จประโยชน์ไม่มากก็น้อย
     
  10. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
    [​IMG]
    วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี มีนามเดิมว่า เทสก์ เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2445 ปีขาล ณ บ้านสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่ออุส่าห์ เรี่ยวแรง เดิมเป็นชาวอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย หนีความทุกข์ยากมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนา งิ้ว ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี มารดาชื่อ ครั่ง เป็นชาวพวน ได้อพยพหนีพวกโจรขโมยมาจากทุ่งย่างเมืองฝาง อำเภอ ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้สมรสกับนายอุส่าห์ มีบุตรธิดาด้วยกัน 10 คน ท่านเป็นคนที่ 9 และตายตั้งแต่เด็ก 2 คน เป็นหญิงหนึ่ง ชาย หนึ่ง เติบโตมาด้วยกัน 8 คน ชาย 4 คน หญิง 4 คน

    เมื่อเป็นเด็กอายุได้ 9 ขวบ ได้เรียนหนังสือภาษาไทยกับพี่ชายซึ่งบวชเป็นพระกับเด็กๆ ด้วยกันกว่า 10 คน และได้เรียนหนังสือประถม ก. กา มูลบทบรรพกิจ เรียนอยู่ปีกว่าพออ่านได้บ้าง แต่ยังไม่คล่อง แต่หนังสือสำหรับพระเณรเรียนในสมัยนั้น ซึ่งเขาเรียกว่า หนังสือธรรม (จารเฉพาะธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้า) อ่านได้คล่อง ต่อมาพี่ชายสึกจากพระไม่มีใครสอนเลยเลิกเรียนกันทั้งหมด แล้วได้ออกจากวัด ไปช่วยงานบิดามารดา จนอายุราว 13-14 ปี เกิดนิมิตความฝันว่า พระธุดงค์ไล่ตีด้วยแส้วิ่งหนีเอาตัวรอด กระทั่งวิ่งเข้าห้องนอนร้องให้ บิดามารดาช่วยท่านทั้งสองก็เฉยอยู่เหมือนกับไม่มีเรื่องอะไร พระธุดงค์หวดด้วยแส้สะดุ้งตื่นเหงื่อโชกทั้งตัว ปรากฏรอยแส้ยังเจ็บแสบอยู่ หลวงปู่นึกว่าเป็นจริง ตื่นขึ้นมาจึงรู้ว่าเป็นความฝัน ต่อนั้นมาหลวงปู่ได้มีความคิดถึงเรื่องอาชีพของมนุษย์ที่กระทำกันอยู่ตั้งต้นแต่ฝนตก ดินชุ่มฉ่ำ ลงมือทำนา และเรื่องอะไรจิปาถะ ตลอดถึงปีใหม่ ลงมือทำนาอีก อย่างนี้อยู่ตลอดชีวิต มาคิดเห็นว่าเกิดมานี้แสนทุกข์ลำบาก จริงๆ ทำงานไม่มีเวลาหยุดยั้ง ซึ่งแต่ก่อนมาหลวงปู่ไม่เคยนึกคิดอย่างนี้เลยสักที มีแต่มัวเมาด้วยการเพลิดเพลินตามประสาคนชนบท

    เมื่ออายุ 16 ปี เจ้าคุณพระญาณวิสิษฏ์ สมิทธิวีรจารย์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม) ได้เดินรุกขมูล มาถึงวัดบ้านนาสีดา ตำบลกลาง ใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่อุปัฏฐากอยู่ จึงเป็นโอกาสดีที่หลวงปู่ได้มีโอกาสปฏิบัติพระอาจารย์สิงห์ ขนฺ ตยาคโม แต่เนื่องด้วยวัดเป็นป่าทึบไข้มาลาเรียชุกชุม พระอาจารย์สิงห์เป็นไข้อยู่ไม่ได้จึงได้ออกไปจำพรรษาที่อื่นและได้ชักชวนหลวงปู่ให้ ไปจำพรรษากับท่านด้วย ออกพรรษาแล้วพระอาจารย์สิงห์ได้กลับเมืองอุบลฯ ซึ่งเป็นถิ่นเดิมของท่าน หลวงปู่ก็ได้ติดตามท่านไป โดยก่อน ไปหลวงปู่ได้เอาดอกไม้ธูปเทียนใส่ขันแล้วไปขอขมาโทษผู้เฒ่าผู้แก่ที่หลวงปู่คุ้นเคย ซึ่งท่านเหล่านั้นก็ให้ศีลให้พรให้สำเร็จตามความ ปรารถนาทุกประการ หลวงปู่เทสก์ได้ติดตามพระอาจารย์สิงห์ รอนแรมไปในป่าและบ้านเล็กบ้านน้อย บางครั้งผจญกับไข้ป่าซึ่งเมื่อเป็น ไข้ก็พักนอนตามร่มไม้ ไข้ส่างแล้วก็เดินทางต่อไปพร้อมกันนั้นก็ทำความเพียรภาวนาไปในตัว เป็นเวลาเดือนกว่าจึงถึงเมืองอุบลฯ หลวงปู่ ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีพระอาจารย์ลุยบ้างดงเค็งใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชาแล้วได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนสอบนัก ธรรมชั้นตรีได้ในปีที่มีอายุครบ 20 และวันที่ 16 พฤษภาคม 2466 จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสุทัศน์ อำเภอเมืองอุบลราชธานี โดยมีพระมหารัฐ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่ก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสุทัศน์นั้นเอง ในปีนั้น พระอาจารย์สิงห์ฯ ได้กลับมาจำพรรษาที่เมืองอุบลฯอีก ออกพรรษาแล้วพร้อมด้วยพระมหาปิ่น ปญฺญาพโล (น้องชาย ของท่านอาจารย์สิงห์) และพระอีกหลายรูปด้วยกันได้ออกเดินรุกข มูลไปในที่ต่างๆ เดินตัดลัดป่าดงมูลและดงลิงซึ่งเลื่องลือในสมัยนั้นว่าเป็นป่าช้า ดงเสือ ผ่านจังหวัดร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ตลอด ถึงจังหวัดอุดรธานี หลวงปู่ได้ผจญภัยอันตรายและความยากลำบากต่างๆ แต่ก็ได้รับรสชาติของการออกเที่ยวรุกขมูล จนกระทั่ง เดินทางถึงบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ได้พบท่านอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และท่านอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อยู่ ณ ที่นั่น ได้ เข้าฟังธรรมเทศนาจากท่านได้รับความชื่อใจสงบสบายดี ได้พักอยู่กับท่าน 2-3 คือ จากนั้นท่านอาจารย์สิงห์ ได้พากลับไปจำ พรรษาที่บ้านหนองลาด อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ในปีนั้นหลวงปู่ได้ทำความเพียรอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว มีการทำ ความเพียรภาวนาตลอดวันค่ำคืนรุ่ง พร้อมกันนั้นก็ผ่อนอาหาร ฉันน้อยที่สุดคือ ทำคำข้าวเหนียวเป็นคำๆ แต่ 60 คำ ถอยลงมา โดยลำดับถึง 3 คำ ฉันอยู่ 3 วัน แล้วก็เพิ่มขึ้นโดยลำดับถึง 5 คำ ฉันอยู่ได้ 5 วัน 10 คำ ฉันอยู่ได้ 10 วัน 15 คำ ฉันอยู่ได้ 3 เดือน กับข้าวก็มีแต่พริกกับเกลือเท่านั้น ตลอดเวลา 3 เดือน กิจวัตรเป็นต้นว่า บิณฑบาต ปัดกวาดลานวัดและหาบน้ำ ตลอดถึงอา จาริยวัตร ไม่ขาดสักวันจนกระทั่งออกพรรษาแล้วหลวงปู่มั่นได้เรียกตัวให้ไปพบเพื่อกิจของสงฆ์บางอย่าง หลังจากนั้นหลวงปู่ก็ไม่ ได้กลับไปจำพรรษากับพระอาจารย์สิงห์อีก ในปี พ.ศ. 2468 ซึ่งเป็นพรรษาที่ 3 ของหลวงปู่ หลวงปู่ได้จำพรรษาที่บ้านนาช้างน้ำ ซึ่งไม่ไกลจากท่าบ่อที่ท่านอาจารย์มั่นอยู่ หลวงปู่ได้หมั่นไปฟังเทศน์เสมอ ออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่น พร้อมด้วยคณะได้ออก เดินทางลงไปทางสกลนคร หลวงปู่มีความคิดถึงโยมแม่ จึงได้กลับไปบ้านเพื่อสงเคราะห์โยมแม่และได้แนะนำให้ท่านนุ่งขาวรักษา ศีล 8 ซึ่งในครั้งนี้โยมป้าอาว์ผู้ชาย และพี่ชายก็เกิดศรัทธา ได้พากันนุ่งขาวรักษาศีล 8 ด้วย หลังจากนั้นหลวงปู่ได้รุกขมูลต่อไป อำเภอพรรณานิคม ซึ่งท่านอาจารย์สิงห์จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั่น ต่อมาพระอาจารย์สิงห์ฯได้พาหมู่พระเณรไปตั้งสำนักสงฆ์ที่บ้าน อากาศอำนวยอยู่ไม่นาน ท่านอาจารย์มั่น ได้ตามไปถึง ท่านอาจารย์มั่นได้ให้หลวงปู่ตามท่านไปตั้งสำนักสงฆ์ที่บ้านสามผง ที่นี้ หลวงปู่ได้มีโอกาสถวายการปฏิบัติท่านพระอาจารย์มั่น โดยท่านได้ไปนอนที่ระเบียงกุฏิของท่านอาจารย์ คอยถวายการปฏิบัติท่าน และได้มีโอกาสปฏิบัติความเพียรเดินจงกรมทำความสงบฟังเทศน์จากพระอาจารย์มั่น ในพรรษาที่ 6 พ.ศ. 2471 โยมพ่อของ หลวงปู่ซึ่งบวชเป็นชีปะขาวมาได้ 11 ปี ได้มาอยู่จำพรรษากับหลวงปู่ที่ถ้ำพระนาฝักหอกทำให้เป็นโอกาสอันดีที่หลวงปู่ได้มีโอกาส อุปการะโยมพ่อทางธรรม และโยมพ่อของท่านก็ได้ทำภาวนากรรมฐานอย่างสุดความสามารถของท่านและได้ผลอย่างยิ่ง จนโยม พ่อของท่านได้อุทานออกมาว่า "ตั้งแต่เกิดมาในชีวิตนี้พึ่งได้ซาบซึ้งในรสชาติของพระธรรมในครั้งนี้เอง" โยมพ่อท่านนั่งภาวนา กัมมัฏฐานได้นานเป็นเวลานานถึง 3-4 ชั่วโมงทีเดียว ซึ่งทำให้หลวงปู่ดีใจมากที่ได้สงเคราะห์โยมพ่อสมเจตนารมณ์ ต่อมาในปี นั้นโยมพ่อของหลวงปู่เกิดอาพาธ หลวงปู่ได้คอยให้สติและอุบายต่างๆ จนเป็นที่พอใจ และถึงแก่กรรมด้วยอาการมีสติ สงบ อารมณ์อยู่ตลอดจนหมดลมหายใจหลังจากโยมพ่อของหลวงปู่ถึงแก่กรรม หลวงปู่ก็ได้อยู่คนเดียวได้วิเวกและได้ กำหนดในใจว่า " ชีวิตและเลือดเนื้อตลอดถึงข้อวัตรที่หลวงปู่ทำอยู่ทั้งหมด ขอมอบบูชาพระรัตนตรัยเหมือนกับบุคคลเด็ดดอกไม้บูชาพระฉะนั้น" แล้วหลวงปู่ก็รีบเร่งปรารภความเพียรอย่างแรงกล้า ตั้งสติกำหนดจิตมีให้คิดนึกส่งออกไปภายนอกให้อยู่ในความสงบเฉพาะภาย ในอย่างเดียว ตลอดวันยังค่ำคืนยังรุ่ง ก่อนจะนอนตั้งสติไว้อย่างไรตื่นมาก็ให้ได้อย่างนั้นหลวงปู่บอกว่า แม้บางครั้งนอนหลับอยู่ก็รู้ สึกว่าตัวเองนอนหลับ แต่ลุกขึ้นไม่ได้ พยายามให้กายเคลื่อนไหวแล้วจึงจะรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา โดยความเข้าใจในตนเองว่า จิตที่ไม่ คิดนึกส่งส่ายออกไปภายนอกสงบนิ่งอยู่ ณ ที่เดียวนั้นแลคือความหมดจดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ปัญญาก็เอามาใช้ชำระใจที่ส่งส่าย แล้วเข้ามาหาความสงบนั่นเอง ฉะนั้นจึงไม่พยายามที่จะใช้ปัญญาพิจารณาธาตุขันธ์อายตนะ เป็นต้น หาได้รู้ไม่ว่า "กายกับจิตมัน ยังเกี่ยวเนื่องกันอยู่เมื่อวัตถุหรืออารมณ์อันใดมากระทบส่วนใดส่วนหนึ่งเข้าแล้ว มันจะต้องกระเทือนถึงกันทำให้ใจที่สงบอยู่แล้ว นั้น หวั่นไหวไปตามกิเลสได้"

    ออกพรรษาแล้วหลวงปู่ก็ได้ย้อนกลับไปหาพี่ชายและพระอาจารย์เสาร์ที่นครพนม เนื่องจากได้ห่างจากหมู่เพื่อนและครูบาอาจารย์ มาสองปีแล้ว ตั้งแต่พระอาจารย์เสาร์และท่านอาจารย์มั่นฯ พร้อมทั้งหมู่คณะจากท่าบ่อไป เมื่อไปอยู่ด้วยกับพระอาจารย์เสาร์ หลวงปู่ก็ได้ช่วยท่านอบรมญาติโยม และในปีนั้นหลวงปู่ได้ขออาราธนาให้ท่านถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกทีแรกท่านก็ไม่ยอม พอหลวงปู่ อ้อนวอนอ้างถึงเหตุผลความจำเป็น เพื่อให้บรรดาศิษยานุศิษย์และลูกหลานยุคต่อไปได้มีโอกาสกราบไหว้เคารพบูชาท่านถึงได้ ยอม ซึ่งนับเป็นประวัติการณ์ เพราะแต่ก่อนมาท่านไม่ถ่ายรูปเลย แต่กระนั้นหลวงปู่ก็ยังเกรงว่าท่านอาจารย์เสาร์ จะเปลี่ยนใจต้อง รีบให้ข้ามไปตามช่างภาพมาจากฝั่งลาวมาถ่ายให้ หลวงปู่ดีใจมากถ่ายภาพท่านอาจารย์เสาร์ ได้แล้วได้แจกท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ และท่านพระครูสีลสัมปัน (ภายหลังได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณธรรมสารมุนี) รูปท่านอาจารย์เสาร์ที่หลวงปู่จัดการถ่ายครั้งนั้น ดูเหมือน จะเป็นรูปของท่านครั้งเดียวที่มีโอกาสถ่ายไว้ได้ แม้ท่านอาจารย์มั่นก็เช่นเดียวกัน การถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกเป็นเรื่องที่ท่านปฏิเสธ เสมอ เมื่อหลวงปู่อาราธนาอ้อนวอนบ่อยๆ ท่านก็ว่า "ซื้อขนมให้หมากินดีกว่า" แต่เมื่อหลวงปู่อ้อนวอนชี้แจงเหตุผลหนักเข้า สุด ท้ายท่านก็ใจอ่อน ทำให้เป็นบุญของคนรุ่นหลังๆ ที่ได้มีโอกาสมีรูปของท่านไว้กราบไหว้สักการะ

    ปี พ.ศ. 2475 นับเป็นพรรษาที่ 10 ของหลวงปู่ ท่านอาจารย์สิงห์ ได้เรียกให้ลูกศิษย์ที่อยู่ทางขอนแก่นลงไปโคราช หลวงปู่ซึ่ง ขณะนั้นได้ออกจากการจำพรรษาที่อำเภอพลและอยู่ที่อำเภอพลจึงได้ออกเดินทางพร้อมด้วยคณะไปพักที่สวนของหลวงชาญนิคม หลวงปู่ได้พาหมู่คณะจัดเสนาสนะชั่วคราวขึ้น ในเวลานั้นอากาศร้อนจัดมาก หลวงปู่ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ชอบอากาศร้อน แต่ก็ได้กัด ฟันอดทนต่อสู้ทำความเพียรไม่ท้อถอย สติที่อบรมดีแล้วของหลวงปู่สงบอยู่ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน วันหนึ่งจิตรวมอยู่อย่าง น่าประหลาดใจ คือรวมใหญ่เข้าสว่างอยู่คนเดียว แล้วมีความรู้ชัดเจนจนสว่างจ้าอยู่ ณ ที่เดียวจะพิจารณาอะไรๆ หรือมองดูในแง่ ไหนในธรรมทั้งปวงก็หมดความลังเลสงสัยในธรรมวินัยนี้ทั้งหมด คล้ายๆ กับว่า ถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวงแล้ว แต่หลวงปู่ก็ไม่ได้ สนใจในเรื่องนั้น มีแต่ตั้งใจไว้ว่า "ไฉนหนอเราจะชำระใจของเราให้บริสุทธิ์หมดจด"

    ในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งเป็นพรรษาที่ 11 หลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี ท่าบ่อ เมื่อออกพรรษาแล้วหลวงปู่ได้ปรารภกับพระ ครูสีลขันธ์สังวร (อ่อนสี) และชักชวนกันไปตามหาท่านอาจารย์มั่น ซึ่งขณะนั้นปลีกหมู่หนีความวุ่นวายไปอยู่จำพรรษาที่เชียงใหม่ หลวงปู่กับพระครู สีลขันธ์สังวร (อ่อนสี) ได้เข้าไปถึงพม่าไปถึงผาฮังฮุ้ง ซึ่งเป็นเขตแดนของเมืองปั่น ประเทศพม่า โดยเข้าใจว่า ท่านอาจารย์มั่น คงจะไปทางนั้น แต่ก็ไม่ปรากฏวี่แววว่าท่านได้ไปทางนั้น การเดินทางครั้งนั้นทำให้หลวงปู่ได้มีโอกาสไปไหว้พระ ธาตุปะหล่องซึ่งอยู่บนผาฮังฮุ้ง ซึ่งหลวงปู่กล่าวว่า พระธาตุนี้ขึ้นไปไหว้ยากที่สุด เพราะอยู่สูงบนผาฮังฮุ้ง และทางขึ้นยากมาก หลัง จากได้ไหว้พระธาตุปะหล่องแล้วจึงได้กลับลงมาโดยเดินข้ามดอยอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ (ดอยอ่างขางนี้เดิมเขา เรียกว่า "ดอยมหาขาง" ซึ่งชาวบ้านเขาแปลว่า "ผีหวงที่สุด") การเดินทางยากลำบากมากต้องเดินไปตามลำดับห้วยและหน้าผาชัน มากจนได้เกิดอุบัติเหตุเดินพลาดก้อนหินล้มลง หินบาดฝ่าเท้าเป็นแผลเหวอะหวะ หลวงปู่ได้เอาผ้าอังสะพันแล้วเดินทางต่อไป จน กระทั่งถึงบ้านมโนราห์ มีชาวบ้านบอกว่ามีตุ๊เจ้าองค์หนึ่ง อยู่ที่บ่าเมียง แม่ปั๋ง ชื่อตุ๊เจ้ามั่น หลวงปู่ได้ถามลักษณะท่าทีและการ ปฏิบัติก็แน่ชัดว่าเป็นท่านอาจารย์มั่น แน่แล้วจึงได้ออกเดินทางต่อไปเพื่อพบท่านอาจารย์มั่น การเดินทางได้แวะพักนอนที่ถ้ำดอก คำหนึ่งคืนแล้วเดินทางต่อจนถึงป่าเมียง แม่ปั๋ง ในเวลาบ่าย หลวงปู่และพระครูสีลขันธ์สังวร ตามไปถึงที่อยู่ของท่านอาจารย์มั่น ราวบ่าย 4 โมง ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่พอท่านมองมาเห็นหลวงปู่ท่านจำได้แม่นและเรียกชื่อหลวงปู่เลย หลังจากนั้นท่านอาจารย์ มั่น ได้พักเดินจงกรมเดินเข้าไปนั่งในอาศรมของท่าน หลวงปู่และพระครูสีลขันธ์สังวร ได้เข้าไปกราบนมัสการท่านและกราบเรียน ถาม อุบายธรรมจากท่านอาจารย์มั่น ซึ่งท่านอาจารย์มั่นก็ได้เทศนาให้หลวงปู่ฟังเป็นใจความว่า "ถ้าองค์ไหนดำเนินตามรอยของ ผมจนชำนิชำนาญมั่นคง องค์นั้นย่อมเจริญก้าวหน้าอย่างน้อยก็คงตัวอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ถ้าองค์ไหนไม่ดำเนินตามรอยของผม องค์ นั้นย่อมอยู่ไม่ทนนาน ต้องเสื่อมหรือสึกไป ผมเองหากมีภาระมากยุ่งกับหมู่คณะการประกอบความเพียรไม่สม่ำเสมอ เพ่งพิจารณา ในกายคตาสติไม่ละเอียด จิตใจก็ไม่ค่อยจะปลอดโปร่งการพิจารณาอย่าให้จิตหนีออกนอกกาย อันนี้จะชัดเจนแจ่มแจ้งหรือไม่ก็ อย่าได้ท้อถอยเพ่งพิจารณาอยู่ ณ ที่นี่ละจะพิจารณาให้เป็นอสุภหรือให้เห็นเป็นธาตุก็ได้ หรือจะพิจารณาให้เห็นเป็นขันธ์หรือให้ เห็นเป็นไตรลักษณ์ได้ทั้งนั้น แต่ให้พิจารณาเพ่งลงเฉพาะเรื่องนั้นจริงๆ ตลอดอิริยาบททั้งสี่แล้วก็มิใช่ว่าเห็นแล้วก็จะหยุดเสียเมื่อ ไร จะเห็นชัดหรือไม่ชัดก็พิจารณาอยู่อย่างนั้นแหละ เมื่อพิจารณาอันใดชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยใจตนเองแล้ว สิ่งอื่นนอกนี้จะมา ปรากฏชัดในทีเดียวกันดอก" หลวงปู่ได้น้อมนำเอาธรรมะนั้นมาปฏิบัติตาม ใช้เวลาปรารภความเพียรอยู่ด้วยไม่ประมาทสิ้นเวลา 6 เดือน โดยไม่มีความเบื่อหน่ายใจได้รับความสงบและเกิดอุบายเฉพาะตนขึ้นมาว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงสัก แต่ว่าเป็นธาตุสี่เท่านั้น แต่คนเราไปสมมติแล้วหลงสมมติตนเองต่างหาก มันจึงต้องยุ่งและเดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง" การได้ อุบายครั้งนี้ทำให้หลวงปู่มีจิตหนักแน่นมั่นคงผิดปกติกว่าเมื่อก่อนๆ มาก แล้วก็เชื่อมั่นในตัวเองว่า เดินถูกทางแล้วแต่ก็ไม่ได้ กราบเรียนท่านอาจารย์มั่น เพราะเชื่อในอุบายนี้ และคิดว่าจะกราบเรียนท่านอาจารย์มั่น เมื่อไรก็คงได้ในปีนั้นหลวงปู่ทั้งสามรูป (ท่านอาจารย์มั่น, หลวงปู่เทสก์, พระครูสีลขันธ์สังวร) ได้อยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น ในปีนั้นอากาศหนาวเย็นมากเป็นพิเศษ หลวงปู่จึง ได้ทำโรงไฟให้ท่านอาจารย์มั่นนอน

    พรรษาต่อมาหลวงปู่ได้ลาท่านอาจารย์มั่นขึ้นไปจำพรรษาที่บ้านมูเซอร์ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในที่นั้นไม่เคยมีพระไปจำ พรรษาเลยสักที ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ ได้สั่งให้ หลวงปู่ไปเป็นสมภารที่วัดหมู่บ้านชาวมอญชื่อบ้านหนองคู่ เขตอำเภอปากบ่อง (อำเภอป่าซางปัจจุบัน) จังหวัดลำพูน ในพรรษานี้ หลวงปู่ได้เทศนาอบรมชาวมอญทั้งหมู่บ้านจนพวกเขาเลื่อมใสศรัทธาได้พากันสละผีมอญ เกือบทั้งหมดหมู่บ้านหันมานับถือพระ ไตรสรณคมน์ยังเหลืออีกก๊กหนึ่งจะหมดแต่หลวงปู่ไม่มีโอกาสอยู่ได้ออกจากวัดบ้านหนองดู่ กลับมาภาคอีสาน ก่อนจะกลับได้ไป นิมนต์ท่านอาจารย์มั่น ให้กลับมาภาคอีสานอีกวาระหนึ่งซึ่งท่านอาจารย์มั่นได้บอกว่า "ดูกาลก่อน" หลวงปู่ได้ลาท่านอาจารย์มั่น กลับมาเพียงผู้เดียว ส่วนพระครูสีลขันธ์สังวร ยังอยู่ตามท่านอาจารย์มั่น ต่อไปหลวงปู่ได้เดินทางกลับมาท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย และอยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสีระหว่างพรรษาที่ 17-25 (พ.ศ. 2482-90) ณ ที่กลับมาอยู่วัดอรัญญวาสีได้ 2 พรรษา คือ ระหว่าง ปี พ.ศ.2484-2485 หลวงปู่ได้พาญาติโยมไปสร้างสำนักขึ้นที่ทิศตะวันตกของบ้านกลางใหญ่ ซึ่งยังคงเป็นสำนักถาวรมี พระเณรอยู่จำพรรษาตลอดมาทุกปีมิได้ขาดจนทุกวันนี้ ชื่อว่า "วัดนิโรธรังสี" ขณะที่หลวงปู่อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี ท่าบ่อ เป็นเวลานานครั้งแรกถึง 9 ปี หลวงปู่ได้เล่าว่า เมื่อก่อนหลวงปู่ไม่สนใจในการก่อสร้างเพราะถือว่าเป็นเรื่องยุ่ง และไม่ใช่กิจของ สมณะ ผู้บวชจำต้องประพฤติเฉพาะสมณกิจเท่านั้น แต่เมื่อมาอยู่ที่วัดนี้แล้ว มองดูเสนาสนะที่อยู่อาศัยล้วนแต่เป็นมรดกของครูบา อาจารย์ได้ทำไว้ให้อยู่ทั้งนั้น แล้วมาค้นคิดถึงพระวินัยบางข้อ ท่านอนุญาตให้บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะได้ จึงเกิดความละอายใจว่า มานอนกินของเก่าเฝ้าสมบัติเดิมของครูบาอาจารย์แท้ๆ ต่อจากนั้นหลวงปู่จึงได้เริ่มพาญาติโยมทำการก่อสร้างมาจนกระทั่งบัดนี้ แต่ถึงกระนั้นก็ตามไม่ว่า ณ ที่ใดๆ หลวงปู่ไม่เคยทำการเรี่ยไรมาก่อนสร้างเลยด้วยละอายแก่ใจมีก็ทำ ไม่มีก็ไม่ทำแล้วก็ไม่ยอม ติดในงาน ถึงงานไม่เสร็จเมื่อทุนไม่มีก็ทิ้งได้โดยไม่มีเยื่อใย และขณะอยู่ที่วัดอรัญญวาสีที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ออก พรรษาเมื่อ พ.ศ. 2490 โยมมารดาของหลวงปู่ป่วยอยู่ที่บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ หลวงปู่ก็ได้พยาบาลโยมมารดาด้วยธรรม โอสถและยาภายนอกจนสุดกำลังแต่เนื่องจากโยมมารดาอายุมากแล้วได้ 82 ปี อาการจึงมีแต่ทรุดลงๆ แต่ด้านจิตใจหลวงปู่ได้ พยายามรักษาให้อยู่ในความสงบอย่างยิ่งจนวาระสุดท้าย

    ในปี พ.ศ. 2491-2492 ซึ่งเป็นพรรษาที่ 26-27 หลวงปู่ได้ไปอยู่จำพรรษาที่เขาน้อย อ.ท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งหลวงปู่ได้ นิมิตเห็นภูเขาลูกนี้แล้วตั้งแต่อยู่วัดอรัญญวาสี ณ ที่นี้หลวงปู่ได้ทำความเพียรและรู้สึกแปลกมาก คือได้ค้นธรรมที่ไม่เคยคิดและรู้ ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ลำดับอุบายและแนวปฏิบัติได้ละเอียดถี่ถ้วน จนวางแนวปฏิบัติได้อย่างเชื่อตนเอง จึงได้เขียนหนังสือส่องทาง สมถะวิปัสสนาเป็นเล่มแรก หลวงปู่ได้อยู่จำพรรษาที่เขาลูกนี้จนได้ข่าวอาพาธของท่านอาจารย์มั่นจึงได้ลาจากเขาน้อยไปเยี่ยม อาการไข้ของท่านอาจารย์มั่น จนท่านมรณภาพแล้วได้อยู่ทำฌาปนกิจศพของท่านจนเสร็จ หลังจากนั้นหลวงปู่ได้มาคิดถึงหมู่คณะ ว่าพระผู้ใหญ่ที่จะเป็นที่พึ่งของพระกรรมฐานไม่มีหลวงปู่จึงตั้งใจออกเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เป็นครั้งแรก เพื่อติดต่อกับพระผู้หลัก ผู้ใหญ่จนกระทั่งไปถึงจังหวัดภูเก็ต

    ที่จังหวัดภูเก็ต หลวงปู่ได้ผจญภัยอย่างร้ายแรง โดยพระท้องถิ่นเขาไม่อยากให้อยู่ ถูกเผากุฏิบางแห่ง จนกระทั่งถูกปาด้วยก้อนอิฐ และขับไล่โดยประการต่างๆ ทางเจ้าคณะจังหวัดพังงาได้ขับไล่ให้หนีจากท้องถิ่นที่เขาปกครอง หลวงปู่ได้พยายามพูดความจริงให้ ฟังว่า หลวงปู่มาเพื่ออบรมศีลธรรมและเผยแพร่ศาสนาอันเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง มิได้มาเบียดเบียนใคร ต่อมาผู้ช่วยสังฆ มนตรีได้มีหนังสือไปต่อว่าเจ้าคณะจังหวัดพังงาด้วยประการต่างๆ เรื่องจึงสงบลง หลวงปู่ได้ไปอยู่จังหวัดพังงานหนึ่งพรรษา ต่อ มาได้ขยับมาอยู่ที่เกาะภูเก็ต กระทั่งได้ 15 พรรษา จึงได้ลาญาติโยมกลับมาภาคอีสาน การไปอยู่เกาะภูเก็ตเป็นเหตุให้พระท้องถิ่น และญาตโยมเปลี่ยนสภาพไปหลายอย่าง โดยเฉพาะการเทศนาและการบริหารนับว่าเป็นประโยชน์แก่พระท้องถิ่นมาก ตาม ประเพณีเดิมชาวบ้านเขาเข้าหาพระและกราบพระต้องนั่งขัดสมาธิ (ขัด-สะ-หมาด) หลวงปู่ได้ไปสอนให้ทำความคารวะโดยให้นั่ง พับเพียบทำให้เรียบร้อยดีมาก หลวงปู่ได้สละทุกอย่างเพื่อประโยชน์แก่ชนชาวภูเก็ตและจังหวัดพังงาด้งกล่าวแล้ว เมื่อกลับ มาภาคอีสาน หลวงปู่พิจารณาเห็นว่าได้แก่ชรา เดินรุกขมูลมามากแล้ว ควรหาที่พักทำความเพียรภาวนาวิเวกเฉพาะตัว และเห็น ว่าที่วัดหินหมากเป้ง เหมาะที่สุดจึงได้เข้ามาอยู่ที่วัดนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 เรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้หลวงปู่ได้พัฒนาวัดให้เจริญไป เรื่อยๆ จนกระทั่งญาติโยมทางกรุงเทพฯ และหมู่บ้านใกล้เคียงรู้จักเข้าไปสนับสนุนช่วยกันทำถาวรวัตถุจนสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงยกย่องให้เป็น "วัดพัฒนาตัวอย่าง" การก่อสร้างวัดหรือถาวรวัตถุนี้ คำว่า "ขอ" หรือ "เรี่ยไร ไม่เคย ออกจากปากของหลวงปู่แม้แต่คำเดียวสร้างอะไรขึ้นมาก็มีแต่ญาติโยมผู้มีศรัทธาบริจาคให้ทั้งนั้น" นอกจากวัดหินหมากเป้งแล้ว ยังมีวัดสาขาของวัดหินหมากเป้งอีก คือ "วัดเทสรังสี" และวัด "ลุมพินี"

    เมื่อปี พ.ศ. 2520 หลวงปู่ได้ไปเผยแพร่ธรรมะที่สิงคโปร์ อินโดนีเซียและออสเตรเลียพร้อมด้วยพระ 3 องค์ ฆราวาส 2 คน ตาม คำชักชวนเป็นเวลา 3 เดือนกว่า และได้กลับไปที่สิงคโปร์อีกครั้งหนึ่งและได้ไปพักที่เดิมอีกเป็นเวลานาน เพราะมีผู้อยากจะสร้าง วัดที่นั่น แต่สถานที่ไม่เหมาะจึงไม่ได้สร้าง

    หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี ท่านได้รับตำแหน่ง เช่น เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าคณะอำเภอภูเก็ต-พังงา-กระบี่ (ธรรมยุต) และในปี พ.ศ. 2500 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์และในปี พ.ศ. 2534 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ สถิต ณ วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ปัจจุบันท่านมีอายุ 91 ปี (นับถึงปี 2536) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหินหมากเป้ง อ.ศรี เชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
     
  11. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=166 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=166>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เดิมชื่ออ่อน กาญวิบูลย์ เกิดวันอังคารขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล พ.ศ.2445 (ตามพ่อแม่ของท่านบอก) หรือเกิดวันอังคารขึ้น 5 ค่ำหรือ 12 ค่ำ (ตามปฏิทิน 100 ปี) ณ บ้านดอนเงิน ตำบลแซแล อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรของนายภูมีใหญ่และนางบุญมา กาญวิบูลย์ ซึ่งมีลูกทั้งหมด 20 คน เลี้ยงจนเจริญเติบโตเพียง 10 คน ท่านเป็นคนที่ 8 ของผู้ที่ยังมีชีวิตรอด จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ท่านเกิดในท่ามกลางสภาพของธรรมชาติป่าดงอันอุดมสมบูรณ์มีความอบอุ่น อยู่กับพ่อแม่ มีความเป็นอยู่พอมีความสุขตามสมควรจากอาชีพทำนา เลี้ยงโคฝูง ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ค้าขายเบ็ดเตล็ดต่างๆ อาชีพทำนาอาศัยฟ้าฝน ถ้าปีไหนฟ้าฝนดี ถ้าไม่เกิดโรคก็จะได้ผลผลิตเกิน 1,000 ถังจากที่นา 8 ทุ่ง (แปลง) เป็นการผลิตเพื่อบริโภคกันทุกครัวเรือน มีวัวฝูงกว่า 200 ตัว กลางวันต้อนออกคอก ปล่อยไปหากินเอง ตอนเย็นกลับเข้าคอกเอง ถ้าวัวไม่เข้าคอกเกิน 4-5 วัน จึงออกตามไล่ต้อนเข้าคอกสักทีหนึ่ง ถ้าวัวหายไปตามหาก็ลำบากป่าดงมันรกเสือและงูร้ายก็ชุกชุม หลวงปู่ได้เล่าถึงประวัติตนเองเมื่อครั้งช่วยพ่อแม่ทำงานด้วยความทุกข์ใหญ่ว่า ครั้งหนึ่งเดือนเมษายน วัวไม่กลับเข้าคอกจึงออกติดตาม ไม่ได้เตรียมน้ำดื่มไปด้วย กว่าจะเห็นฝูงวัวก็บ่าย 2 โมงเข้าไปแล้ว เดินเท้าเปล่าไม่มีรองเท้าตอไม้ทิ่ม หิวน้ำก็หิว ก่อนเข้าหมู่บ้านหัวเข่าอ่อนล้าฮวบลง ลุกขึ้นหาไม้เท้าใช้สองมือยืนไปจนถึงบ้านได้ ครั้นถึงบ้านด้วยความกระหายน้ำอย่างมากจึงรีบดื่มน้ำไป 12 กระบวยใหญ่ จุกน้ำเกือบตาย นี่คือทุกข์ใหญ่ สมัยที่หลวงปู่อ่อนอายุ 11 ปี พ่อแม่ของท่านได้นำไปฝากให้อยูวัดใกล้บ้าน ซึ่งสมภารมีความรู้ทางด้านภาษาลาว ภาษาขอม และภาษาไทย เป็นอย่างดี โดยหวัง ให้ลูกชายได้รับการศึกษามีอนาคตสามารถเลี้ยงพึ่งพาตนเองได้ พออายุได้ 16 ปี พ่อของท่านได้อบรมว่า การบวชนี้เป็นบุญมาก ในที่สุด ท่านก็ใคร่จะบวช จึงบอกเล่าและลาพ่อแม่ว่าต้องการบวช เมื่อได้บวชแล้วจะไม่สึก พ่อแม่จึงนำท่านไปฝากให้เป็นศิษย์วัดกับ ท่านพระครูพิทักษ์คณานุการ วัดจอมศรี บ้านเมืองเก่า อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ต่อมา ท่านก็ได้บรรพชาให้เป็นสามเณรอ่อน ให้ศึกษาเล่าเรียนสวดมนต์ไหว้พระ การบวชเป็นสามเณรนี้ก็เพื่อจะได้ศึกษาเล่าเรียน ให้มีความรู้มากขึ้น สามเณรอ่อนได้ศึกษาพระธรรมวินัยพอเป็นนิสัย เข้าใจถึง ชีวิตสมณเพศเท่านั้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    เด็กชายอ่อนได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 17 ปี (พ.ศ.2462) สามเณรอ่อนได้ศึกษาเล่าเรียนธรรมวินัย เมื่อเลิกจากเวลาเรียนแล้วก็ต้องเข้าไปรับใช้อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ปัดกวาด ทำความสะอาด ล้างกระโถน รุ่งเช้าก็ออกบิณฑบาต ท่านมีฝีมือด้านการช่าง ได้ร่วมกับพระอาจารย์นำดินมาสร้างพระพุทธรูป แกะ สลักไม้ ทำบานประตูหน้าต่างที่สวยงามมาก ท่านมีมานะอดทน ขยันหมั่นเพียร ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดจอมศรีกับท่านพระครูพิทักษ์คณานุการ ผู้เป็นอุปัชฌาย์ 3 ปี ท่านมีอายุ 19 ปี จึงเข้าอำลาอาจารย์ไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ท่านอุปัชฌาย์หาว่า อวดดี จึงขับออกจากวัดจอมศรีไปพักอยู่ที่วัดดอนเงิน ไปลาโยมพ่อโยมแม่ แต่ไม่ได้รับ อนุญาต อ้างว่าคิดถึง เมื่อสามเณรอ่อนอายุครบ 20 ปี ใน พ.ศ. 2464 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในคณะมหานิกาย ที่วัดบ้านปะโค ตำบลปะโค อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระครูจันทา (เจ้าอธิการจันทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดบ้านดอนเงิน 1 พรรษา ในปี พ.ศ. 2465 ได้ขอลาโยมพ่อโยมแม่ออกธุดงค์กรรมฐานไปอยู่กับ พระอาจารย์สุวรรณ วัดป่าอรัญญิกาวาส อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนงอคาย ตามความตั้งใจของท่านมาแต่เดิม คือ 1. ยึดมั่นต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการบริกรรมว่า พุทโธ 2. ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร 3. บิณฑบาตเป็นวัตร 4. ไม่รับอหารที่ตามมาส่งภายหลัง รับเฉพาะที่ได้มาในบาตร 5. ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร 6. ฉันในบาตร คือมีภาชนะใบเดียวเป็นวัตร 7. อยู่ในป่าเป็นวัตร คือเที่ยวอยู่ตามร่มไม้บ้าง ในป่าธรรมดาบ้าง บนภูเขาบ้าง ในหุบเขาบ้าง ในถ้ำบ้าง ในเงื้อมผาบ้าง 8. ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า 3 ผืน ได้แก่ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าจีวร ผ้าสบง (รวมผ้าอาบน้ำฝนด้วย) ในปี พ.ศ. 2466 ได้ออกธุดงค์แสวงหาความสงบวิเวก ปฏิบัติธรรมได้ไปฝึกหัด เรียนพระกรรมฐานอยู่กับพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ยอมมอบกายถวายชีวิตเป็นศิษย์อยู่ที่วัดป่าบ้านค้อ อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี และได้ขอให้สวดญัตติแปรจากมหานิกายมาเป็นธรรมยุต พระอาจารย์ยังไม่ยินยอม ให้ฝึกภาวนาไปอีก 1 ปี แล้วได้ขอให้ญัตติเป็นธรรมยุตอีก ท่านยินยอมแต่ต้องให้ท่องหนังสือนวโกวาท และพระปาติโมกข์ ให้จบเสียก่อน หลวงปู่อ่อนจึงตั้งใจท่องนวโกวาท 4 วันจบ ท่องปาติโมกข์ 7 วันจบจึงได้รับทำการญัตติ เป็นธรรมยุต เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2467 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 อายุได้ 23 ปี โดยมีพระครูชิโนวาทธำรง (พระมหาจูม พนธุโล หรือ พระธรรมเจดีย์) รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะมณฑลอุดร เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระครูอดิสัยคุณาธาร (คำ อรโก) เจ้าคณะจังหวัดเลย วัดศรีสะอาด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ แล้วกลับไป จำพรรษาที่วัดป่าอรัญญิกาวาส อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ในปี พ.ศ. 2468 หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้ไปจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่กับพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ที่วัดป่าอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร ในปีนี้ หลวงพ่อคำมี ผู้เป็นพี่ชายของหลวงปู่อ่อนบวชสังกัดมหานิกาย มาขออยู่ปฏิบัติธรรม ฝึกหัดภาวนากับท่านด้วย แต่ได้เกิดไข้ป่าอย่างแรง มรณภาพเมื่อเดือน 8 แรม 8 ค่ำ ในปี พ.ศ.2469 ได้ธุดงค์ไปจำพรรษากับพระอาจาย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจาย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ที่เสนาสนะป่า ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานีปี พ.ศ. 2470 จำพรรษาที่ป่าช้าบ้านหัวงัว ตำบลไผ่ช้าง อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ปีถัดมา พ.ศ. 2471-2472 ไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านสาวะถี ตำลบสวะถี อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น (สมัยนั้น) ถัดมาอีกปี พ.ศ. 2473 ธุดงค์ไปจำพรรษาที่ วัดป่าบ้านพระคือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2474 หลวงปู่อ่อนได้ไปจำพรรษาที่วัดป่าวิเวกธรรม บ้านเหล่างา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และในปี พ.ศ.2475 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ขณะดำรงตำแหน่งพระเทพเมธี เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา มีบัญชาเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2475 ให้พระกรรมฐานที่มีอยู่ในจังหวัดขอนแก่นไปร่วมอบรมประชาชน ร่วมกับทางราชการที่จังหวัดนครราชสีมา มีพระกรรมฐานไปชุมนุมกันจำนวนมาก เช่น พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์อ่อน พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ ปีนี้เอง พ.ต.ต.หลวงชาญนิยมเขต ได้ยกที่ดิน 80 ไร่ถวายพระกรรมฐาน ที่มาชุมนุมเพื่อสร้างสำนักปฏิบัติธรรมอบรมศีลธรรม ตั้งชื่อให้สถานที่แห่งนี้ว่า วัดป่าสาลวัน ในครั้งนี้คณะพระกรรมฐานได้แยกย้ายกันออกอบรมศีลธรรมและสร้างวัดอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ได้ไปสร้างวัดป่าบ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว ชื่อวัดสว่างอารมณ์ พระอาจารย์อ่อน ณาณสิริได้อยู่ปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดป่าสาลวัน เป็นเวลา 12 ปีเท่ากับพระอาจาย์ฝั้น อาจาโร เมื่อปี พ.ศ. 2488 พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ได้ออกจากวัดป่าสาลวันไป นมัสการพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดบ้านหนองผือ ได้สร้างวัดที่บ้าหนองโคก อำเภอพรรณานิคมให้เป็นคู่กับวัดป่าบ้านหนองผือ ทางที่จะไปนมัสการพระอาจารย์มั่น เพื่อให้ถูกกับอัธยาศัยของพระอาจารย์มั่น ด้วยว่าให้พระผู้ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระสร้าง วัดขึ้นในรัศมีของวัดป่าบ้านหนองผือจะได้ฝึกหัดพระที่มาศึกษาภาวนา เป็นการแบ่งเบาภาระของท่าน เมื่อพระอาจารย์อ่อนได้สร้างวัดนี้แล้ว ท่านได้อยู่จำพรรษาหลายปีและได้เดินทางไปนมัสการพระอาจารย์มั่น เป็นประจำเพราะท่านอายุมาก ในปี พ.ศ. 2492 พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อาพาธหนัก ได้รับการนำไปรักษา ที่ วัดสุทธาวาส สกลนคร และมรณภาพที่นี่ ในปี พ.ศ. 2493 เมื่อพิธีถวายเพลิงศพพระอาจารย์มั่น ผ่านไปแล้ว พระอาจารย์อ่อน ได้เที่ยวธุดงค์ไปถึงเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี อยู่จำพรรษา 1 พรรษา แล้วกลับมาช่วยพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม สร้างกุฏิและหล่องพระประธานที่ วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ต่อมาพระอาจารย์สิงห์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระญาณวิศิษฏ์วิริยาจารย์ มาอีกหลายปีท่านมาณภาพ ทางคณะสงฆ์จึงได้ขอแต่งตั้งให้ อาจารย์อ่อน ญาณสิริ เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน แทนท่านเจ้าคุณอยู่ประมาณ 1 ปีจึงลากออก เพราะเห็นว่าขัดต่อการออกรุกขมูลวิเวก ในปี พ.ศ. 2496 ท่านได้มาสร้างวัดป่าบ้านหนองบัวบาน ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนวงวัวซอ จังหวัดอุดรธานี ตามคำบัญชาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ สิ้นเงินหลายล้านบาท ครั้นปี พ.ศ. 2518 หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เริ่มอาพาธด้วยโรคกระเพาะอาหาร ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดหลายครั้ง อาการพอทรงตัวอยู่ได้ ร่างกายทรุดโทรม แต่ท่านก็ยังปฏิบัติกิจด้วยความอุตสาหะ สงเคราะห์พุทธบริษัท ปฏิบัติธรรม ตลอดมิได้เว้น วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 อาการอาพาธทรุดหนัก จึงได้นำเข้า รักษาที่โรงพยายบาลค่ายประจักษ์ศิลปาคม อุดรธานี (24 พ.ค.) โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพฯ (25 พ.ค.) โรงพยาบาลรามาธิบดี (26 พ.ค.) อาการไม่ดีขึ้น ครั้นวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 คืนวันพุธ เวลา 04.00 น. ท่านก็ได้มรณภาพด้วยอาการอันสงบท่ามกลางนายแพทย์และคณะศิษย์ที่ติดตาม สิริรวมอยุได้ 80 ปี เป็นสามเณร 3 พรรษา เป็นพระ 58 พรรษา

    ธรรมโอวาท

    จิตเป็นสิ่งสำคัญ สัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ คือ ตัวปัญญามันเกิดขึ้น พอปัญญาเกิดขึ้นเท่านนั้นแหละ สัมมาทิฐิตัวเดียวชัดเจนขึ้นมา นั่นเป็นอาการของมัน ปัญญาสัมมาทิฐิเกิดขึ้นมา มันเป็นองค์มรรค 8 สมบูรณ์เลย เบื้องต้นเรายังฟุ้งซ่านอยู่ก็ต้องมาแก้ เราจะเข้าใจสงบระงับด้วยอุบายนี้ ความฟุ้งขณะปฏิบัติเพราะเราไปยึดมั่น เรายังยึดเท่าไรมันก็ยิ่งฟุ้งซ่าน ดังนั้นท่านเรียกว่า สมุทัย ยุ่งไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง พอปัญหาสัมมาทิฐิเกิดขึ้น สมุทัยก็หาย นิโรธก็เกิดขึ้น การที่เรามาเห็นว่านี้เป็นสัมมาทิฐิ คือ ตัวมรรคทั้ง 8 มารวมกันอยู่ ณ ที่เดียวกันนี้ เมื่อจิตรรวมกันในสมาธิแน่วแน่เต็มที่แล้ว สัมมาทิฐิความเห็นชอบก็เกิดขึ้น ณ สัมมาทิฐินั่นเอง คือ เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย ส่วนจะละได้มากน้อยขนาดไหนก็แล้วแต่กำลัง ของปัญญาสัมมาทิฐิของตน เมื่อละได้แล้ว นิโรธ ความดับเย็นสนิทขนาดไหนก็จะปรากฎขึ้นเฉพาะตนในที่นั้น... ธรรมะเป็นทางแก้ทุกข์ เมื่อจะแก้ ก็ต้องสอบทุกข์ก่อน ให้เห็นทุกข์ก่อน เหมือนกับเราทำงานอะไร เราต้องเห็นงานก่อน จึงจะทำได้ ทุกข์อันหนึ่ง ที่เป็นงานของพวกเราควรทำ ถ้าไม่ทำเราก็ไม่พ้น ฉะนั้น พระพุทธเจ้าทรงสอน พวกเราให้รู้ทุกข์ เราได้ชื่อว่าผู้นับถือพระพุทธศาสนาประจำใจ ต้องให้เข้าใจหลักธรรมจริงๆ จึงจะถูกต้อง การเปิดจิตใจให้กว้างสว่างไสวนั้น เป็นนิสัยของชาวพุทธโดยตรง เราเชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ทาน ศีล ภาวนา หรือ การทำดีได้ดี การทำชั่วได้ชั่วจริง ก็ควรที่จะรีบขวนขวายหาทางสร้างความดีเสีย จะได้มีกำลังใจของจิตใจต่อไป คนเราในโลกนี้เกิดมาแล้วย่อมมีความดีและความชั่วประปนกันไป ไฉนเราจึงจะพบกับความดีเดียงอย่างเดียว อะไรๆ ก็ไม่สู้การสร้างความดีนะ ความดีนั้น ผู้ใดสร้าง ผู้นั้นย่อมมีความสุขเย็นอกเย็นใจ การให้อภัยนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญ ปัจจุบัน โลกเราต้องการคนดี โลกต้องการให้อภัย เพราะนั่นเป็น ทางแห่งความสันติสุขนะ ต้องให้อภัยทำให้ใจกว้างขวาง จึงจะได้ชื่อว่า เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้จริง ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ เป็นของเย็น เป็นของบริสุทธิ์ บุคคลผู้มีปัญญาจะไม่ปฏิเสธธรรมของพระพุทธเจ้า เพราะธรรมถ้าอยู่ในจิตใจของผู้ใด ผู้นั้นย่อมมีความสุขความเจริญ ธรรมชาติของธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติผู้บำเพ็ญเท่านั้นจึงจะรู้ได้ ครูบาอาจารย์หลายองค์ท่านไม่เคยลดละในการปฏิบัติธรรม เพราะการปฏิบัติธรรม ที่เรากระทำอยู่เรื่อยๆ เป็นนิจโดยไม่หยุดยั้ง ผลย่อมเกิดขึ้นได้ทุกครั้งไป และจะสืบเนื่อง กันไม่ขาดระยะ ตราบเท่าที่เราไม่ทิ้งการปฏิบัติธรรมนั้น เราเป็นฆราวาส ต้องพยายามทำคุณงามความดี ทำทาน รักษาศีล บำเพ็ญภาวนาให้เจริญ แล้วปัญญาก็ย่อมเกิดตามมาเอง ท่านผู้รู้พูดเป็นปัญหาว่า กล้วย 4 หวี สำหรับอาหาร 4 สำหรับ สามเณรนั่งเฝ้า พระเจ้านั่งฉัน ปัญหานี้เป็นปัญหาธรรมะ เปรียบเทียบกับการปฏิบัติของบุคคล ส่วนมากคนจะไม่นำไปคิดกัน ข้อธรรมะที่ท่านให้ไว้แล้วให้นำไปตีความหมายให้ละเอียด กล้วย 4 หวี ได้แก่ ธาตุ 4 เณรน้อยนั่งเฝ้า ได้แก่ คงโง่เขลาเบาปัญญา ไม่รู้เท่าทันตามหลักของพระธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม นั่งเฝ้าตัวเองอยู่ ไม่รู้ในตัวของตนนั้นมีอะไรบ้าง กินแล้วก็นอน เลี้ยงร่างกายให้อ้วนท้วนสมบูรณ์ไม่ได้ทำอะไรที่ดีให้เกิดขึ้นแก่ตัวเองเลย อันนี้แหละชื่อว่าโง่เขลาเบาปัญญา ได้แต่นั่งเฝ้าตัวเองอยู่ สามเณรนั่งเฝ้าสำหรับที่มีอยู่แล้วโดยไม่ฉัน ก็หมายถึงบุคคลที่ไม่รู้ธาตุ 4 ตามความเป็นจริงว่า ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เป็นอย่างไร ไม่ยอมกำหนด รู้แบบชนิดที่ให้เกิดปัญญา พระเจ้านั่งฉัน หมายความว่า พระอริยเจ้าทั้งหลายที่รู้หลักความจริงอันประเสริฐ เมื่อภาวนาได้ที่แล้วก็ยกธาตุ 4 (เปรียบด้วยกล้วย 4 หวี) มาพิจารณาตามหลัก แห่งความเป็นจริง จนท่านเหล่านั้นสำเร็จ คุณเบื้องสูง คือ พระอรหันต์ ก็เพราะพระอริยเจ้า ท่านเป็นผู้ฉลาดในอรรถ และพยัญชนะ จึงไม่นั่งเฝ้าอยู่เฉยๆ ธาตุ 4 ก็อยู่ที่ตัวของเรา ขันธ์ 5 ก็อยู่ที่ตัวของเรา มันไม่ได้อยู่ที่ไหนเลย แต่คนที่ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ก็เลยต้องนั่งเฝ้าเฉยๆ เหมือนลิง นั่งเฝ้าเม็ดทองคำ ไม่รู้ค่าของทองคำ คนที่โง่เขลาเบาปัญญาก็ได้แต่นั้งเฝ้ารูปธรรม นามธรรมที่มันอยู่ในตัวของเรานี่แหละ. ท่านหยิบยกเอาธาตุ 4 ขันธ์ 6 มาสับโขลกให้ละเอียด จนท่านรู้แจ้งเห็นจริง ให้อัตภาพร่างกายของท่านเอง และ อัตภาพร่างกายของคนอื่น ท่านนั่งฉัน คือ นั่งพิจารณาอัตภาพ คือ ธาตุ 4 ขันธ์ 5 เกิดมาแล้วมัน เป็นอย่างไร เกิดมาแล้วก็เป็นทุกข์ คือ ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย พวกท่านทั้งหลายอย่าได้นั่งเฝ้าร่างกายอยู่เฉยๆ มันไม่เกิดปัญญา ปัญญามันเกิดจากการภาวนา คือ การอบรมจิต เพื่อจะทำลายกิเลสให้หลุดหาย ไปในที่สุด. หลักสำคัญก็คงจะมีกายนี่แหละสำคัญมาก กายก็คือขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตามธรรมดาของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้อยู่กับตัวเรา คือ จิต ตกลงว่าขันธ์ 5 กับจิตนี่อยู่ร่วมกัน แยกกันไม่ออก แต่ถ้าคนไม่รู้ไม่เข้าใจก็แยกแยะออกเป็นส่วนว่า ส่วนไหนเป็นรูป ส่วนไหนเป็นเวทนา และส่วนไหนเป็นสัญญา สังขาร วิญญาณ ยุ่งเหยิงกันไปหมด นอกจากปล่อยให้เรื่องราวที่เกิดขึ้นเกี่ยวพันกันกับใจ ให้มันผ่านไปตามธรรมชาติของมัน เราต้องพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในขันธ์ทั้ง 5 สู้กิเลสที่มันย่ำยีตัวเราอยู่นั้น ก็เท่ากับว่าพวกเราได้ทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง ถึงแม้พวกเราจะบวชเข้ามาอยู่ใกล้พระพุทธองค์ ก็จะไม่มีความหมาย นักบวช ที่แท้จริงนั้น ต้องเป็นผู้ต่อสู้หรือปราบปรามกับกิเลส ถ้าเราไม่มีการต่อสู้กับมัน ปล่อยให้มันย่ำยีเราแต่ฝ่ายเดียวนั้น ตัวเราเองจะย่ำแย่ลงไปทุกที ผลสุดท้ายเราก็เป็นผู้แพ้ ยอมเป็นทาสรับใช้ของกิเลส ใช้การไม่ได้ สำหรับการสู้รบตบตีกับกิเลส จิตใจของเราจะรู้สึกว่า มีความทุกข์ยากลำบากเป็นกำลังอย่างมากทีเดียว แต่ก็ขอให้พวกเราทำต่อและยอมรับ ความทุกข์ยากลำบากลำบนอันนั้น ยิ้มรับกับความลำบากเพราะความเพียรพยายาม ของเรา เมื่อเรามีความท้อถอยอิดหนาระอาใจต่อความเพียรของตนนั้น ให้พึงระลึกถึงพระพุทธองค์ผู้เป็นบรมครูของพวกเราว่า พุทโธ ธมฺโม สงฺโฆจาติ นานาโหนฺคมฺปิ วตฺถุโต คือ ให้ยึดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ โดยเฉพาะพระพุทธเจ้าของพวกเรา ก่อนที่พระองค์จะทำลายรังของกิเลสได้อย่างราบคาบ พระองค์ก็ใช้อาวุธ หลายอย่างหลายชนิดเข้าประหัตประหาร จนกิเลสยอมจำนนต่อหลักฐาน ยอมให้พระองค์โขกสับได้อยางสบาย ขันติ พระองค์ก็นำมาใช้ เช่น พระองค์บำเพ็ญทุกรกิริยา คือ การกระทำที่บุคคล ทั้งหลายในโลกทำได้ยากยิ่ง เพราะต้องใช้ความอดทนอย่างใหญ่หลวง จนเอาชนะกิเลส ทั้งหลายทั้งปวงได้ พวกท่านทั้งหลายเมื่อเข้ามาอยู่ป่าแล้ว ก็ได้ชื่อว่าทำตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่นิยมอยู่บ้าน คลุกคลีด้วยหมู่ เพราะการคลุกคลีด้วยหมู่ จิตใจของเราก็จะไหลไปสู่อารมณ์ต่างๆ ได้ง่าย โอกาสที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิ หรือทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งนั้นยากเหลือเกิน พระพุทธองค์ เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา พวกท่านปัญจวัคคีย์ 5 รูป ไปเฝ้าปฏิบัติพระองค์อย่างใกล้ชิดด้วยตั้งใจว่า เมื่อพระองค์บรรลุธรรมแล้วจักบอก แก่เราก่อน เมื่อเรามาสันนิษฐานดูแล้วจะเห็นได้ว่าการคลุกคลีหรือการอยู่ร่วมกันหลายคน นั้น เป็นปฏิปักษ์ต่อการทำสมาธิ พระองค์ก็เลยต้องทำวิธีใดวิธีหนึ่งให้พวก ปัญจวัคคีย์เกิดความเบื่อหน่าย แล้วจะได้หลีกหนีไปอยู่เสียที่อื่น พระองค์ต้องกลับมา เสวยพระกระยาหารอีก ทำให้ท่านเหล่านั้นไม่เชื่อมั่นในการกระทำความเพียร เลยต้องหลีกหนีไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมื่อท่านปัญจวัคคีย์หนีจากท่านไปแล้ว พระองค์ก้ได้ทำความเพียรทางใจ ให้อุกฤษฏ์ยิ่งขึ้น จนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยกาลไม่นาน อันนี้จะเห็นได้ว่า พระองค์ทำเป็นตัวอย่างไว้ให้เราดูแล้ว เราผู้เป็นศิษย์ของพระองค์ท่าน ก็ควรจะสำเหนียกและดำเนินตามการทำความเพียร เพื่อทำลายกิเลส มันจะต้องลำบากทุกสิ่งทุกอย่าง การกินก็ลำบาก อดมื้อฉันมื้อก็ต้องยอมอด อดมันทำไม อดเพื่อปราบกิเลส กิเลสมันก่อตัวมานานแสนนาน หลายกัปป์หลายกัลป์มาแล้ว จากเราสาวหาตัว ต้นตอ โคตรเหง้าของมันไม่พบ นี่แหละ ท่านจึงสอนให้อยู่ป่าหาที่สงัด แม้แต่ในครั้งพุทธกาล มีท่านพระเถระหลายท่านที่มุ่งหมายต่อแดน พ้นทุกข์ ได้ออกปฏิบัติตนทรมานตนอยู่ในป่าในเขา และก็ได้บรรลุมรรคเป็นพระอริยบุคคลเป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน ท่านทำกันจริงจัง หวังผล คือ การหลุดพ้นจริงๆ ท่านสละเป็นสละตายมาแล้วทั้งนั้น ความทุกข์ยากลำบาก ทุกข์มากทุกข์น้อย ย่อมมีแก่ทุกคนในขณะปฏิบัติ เราต้องทำความเพียร ก็ไปทุกข์อยู่กับความเพียร ทำนา ทำไร่ ก็ไปทุกข์อยู่กับ ทำนาทำไร่ อันนี้เป็นของธรรมดา แต่จะทุกข์มากทุกข์น้อยก็ขึ้นอยู่กับการกระทำที่ฉลาด รู้วิธีการบ้างพอสมควร อย่างการทำความเพียรต้องเป็นผู้รักษาสัจจะ คือ ให้มีสัจธรรม ตั้งใจ อย่างไรอย่าทำลายสัจจะ สัจจะเมื่อตั้งให้ถูกต้องตามอรรถตามธรรมแล้วจะเกิดเป็นพลังของจิตอย่างดีเยี่ยม พวกเราทั้งหลายตั้งหน้าตั้งตาเข้ามาสู่สมรภูมิรบด้วยกันเช่นนี้แล้ว ต้องตั้งหน้า ตั้งตาถอดถอนสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อต้นด้วยกัน อย่าถือว่าเป็นเรื่องง่ายๆ ถ้าถือว่าเป็นเรื่องง่ายแล้วกิเลสมันจะหัวเราะเยาะดูถูกพวกเรา ทุกข์เพราะการทำความเพียร มิใช่ทุกข์ที่ไม่มีผล เป็นทุกข์ที่ทำลงไปแล้วคุ้มค่า เราอย่าไปท้อถอยจงอดทนต่อสู้อุปสรรคต่างๆ การปราบปรามกิเลส ก็คือ การแก้ความไม่ดีที่สถิตย์อยู่ภายในตัวของรา จึงต้องทำด้วยความเพียรของบุรุษ ทำด้วยความตั้งจิตตั้งใจจริงๆ ทำด้วยความพากเพียรจริงๆ หนักก็สู้เบาก็สู้ เช่นเดียวกับเราตกน้ำ เราต้องพยายามแหวกว่ายช่วยตัวเอง กำลังวังชามีเท่าไรเอามารวมกันหมด เพื่อจะเอาตัวรอด จนกว่าชีวิตจะหาไม่ เมื่อไม่ไหวจริงๆ จึงจะยอมจมน้ำตาย หากมี กำลังเพียงพออยู่ตราบใด จะไม่ยอมจมน้ำตายเป็นอันขาด อันนี้ก็เช่นเดียวกัน การจะทำความเพียรเพื่อหลุดพ้นนั้น จะทำเหลาะแหละไม่ได้ ต้องทำจริงๆ จังๆ จึงจะเห็นความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ เรามาอยู่ร่วมกันมาก จงประพฤติตามธรรมตามวินัยอย่างเคร่งครัด อย่าเป็นคนมักง่าย วันหนึ่งคืนหนึ่งผ่านไป ผ่านไปอยู่เรื่อยๆ สังขารร่างกายนับเวลาที่จะผ่านไปๆ โดยลำดับ พวกเราอย่าปล่อยให้วันคืนล่วงไปเฉยๆ ต้องให้มันผ่านไปด้วยการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรม ก็เพื่อจะกำจัดสิ่งปลอมแปลงนั้นออกให้เหลือแต่ของจริง คือ แก่นแท้ของธรรม เฉพาะอย่างยิ่งคือ การหัดภาวนา ควรจะทำให้เกิดให้มีความแท้จริง งานอย่างอื่นเราก็เคยต่อสู้มาแล้ว ตั้งแต่ไหนแต่ไรก็ต่อสู้กับงานหนักงานเบามาแล้ว จนกระทั่งเวลาผ่านมาจนบัดนี้ เราก็ทำได้มาเรื่อยๆ แต่เวลานี้เราจะฝึกหัดภาวนา คือ การทำจิตใจโดยเฉพาะ และการทำภาวนานี้ก็เป็นงานที่จำเป็นจะต้องทำเช่นเดียวกับงานชิ้นอื่นๆ หรือควรที่จะทำให้หนักยิ่งไปกว่างานอื่นๆ เสียอีก เพราะเป็นงานหนักและละเอียดกว่างานทั้งหลาย การทำภาวนาแรกๆ จิตของเราย่อมกวัดแกว่งดิ้นรน ล้มลุกคลุกคลาน เป็นของธรรมดา เพราะจิตยังไม่เคยกับการภาวนามาก่อน จึงถือได้ว่าการภาวนาเป็นงานใหม่ของจิต ถึงจะยากลำบากแค่ไหนเราต้องฝึก เพื่อที่จะฉุดกระชากลากจิตที่กำลังถูกกิเลสย่ำยีอยู่นั้นให้พ้นภัยอันตราย ให้เป็นจิตที่ปราศจากกิเลสเรื่องเศร้าหมอง จึงเป็นสิ่งที่พวกเราทั้งหลายควรทำอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น ในโอกาสต่อไปนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราจะพากันมาบำเพ็ญเพียร ทางด้านจิตใจ อันเป็นจุดหมายปลายทางให้เกิดความสุขความสมหวังขึ้นภายในใจของ ตัวเองด้วย จิตภาวนา เหนื่อยบ้าง ลำบากบ้างก็ทนเอา การปล่อยให้จิตคิดไปในแง่ต่างๆ ตามอารมณ์ของจิตนั้น ไม่สามารถที่จะทำให้เกิดอะไรขึ้นมา นอกจากไปเที่ยวเก็บรวบรวมเอาความทุกข์ความร้อนจาก อารมณ์ภายนอก มาเผาลนจิตใจของตนให้วุ่นวายเดือดร้อน ไม่ขาดระยะเท่านั้น ท่านกล่าวว่า สมาธิก็คือการทำใจให้สงบ สงบจากอะไร สงบจากอารมณ์ เครื่องก่อกวนทั้งหลาย เมื่อไม่มีอะไรมารบกวน ถ้าเป็นน้ำก็จะใสสะอาดดุจน้ำฝน ที่ตกลงมาจากท้องฟ้า ยังไม่มีอารมณ์ภายนอกมารบกวน ก็จะเป็นจิตที่ใสสะอาดหมดจด แต่ขณะนี้จิตของเราถูกกิเลสหรืออารมณ์ภายนอกเล่นงานแทบจะเอาตัวไม่รอดอยู่แล้ว แต่เราจะมาฝึกเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกเหล่านั้น การทำนั้นต้องค่อยทำค่อยไป จะกำหนดเอาวันนั้นเวลานั้นจะเกิดผลแน่นอนนั้นย่อมไม่ได้ เพราะการทำจิตให้ปราศจาก อารมณ์ภายนอกนั้นต้องใช้เวลาพอสมควร ยิ่งถ้าเราไม่เคยฝึกมาก่อน จะเป็นการลำบากมากทีเดียว แต่ก็ไม่เหลือวิสัยที่เราจะทำ ในขั้นแรกของการอบรมจิตนั้น ท่านสอนให้ยึดเอาข้ออรรถ ข้อธรรม บทใดบทหนึ่งมาเป็นอารมณ์ บทใดก็ได้สำหรับเป็นเครื่องกำกับความคุมใจ ไม่เช่นนั้นจิตจะส่ายกวัดแกว่งไปสู่อารมณ์ต่างๆ ที่เราเคยชินกับอามรณ์นั้นๆ แล้วก่อความทุกข์ให้เป็นที่เดือดร้อนอยู่เสมอ ท่านจึงสอนให้นำบทธรรมะข้อใดข้อหนึ่งมาเป็นอารมณ์ เช่น เราภาวนาบริกรรมว่า พุทโธๆ ธัมโมๆ หรือสังโฆๆ หรือ จะกำหนดให้มีอานาปานสติ คือ การกำหนดลมหายใจ เข้าออกควบคู่ไปด้วยก็ได้ เช่น จะบริกรรมว่า พุท เข้า โธ ออก ดังนี้ คำว่าเข้าออกก็คือหมายกำหนดกองลมนั่นเอง หายใจเข้าก็กำหนดว่า พุธ หายใจออกก็กำหนดว่าโธ ดังนี้ และในขณะที่บริกรรมเราต้องมีสติควบคู่ไปด้วย เมื่อเรามีสติตามระลึกอยู่โดยการเป็นไปติดต่อโดยลำดับ จิตก็ไม่มีโอกาสจะแวะไปเกี่ยวข้องกับอารมณ์ภายนอก จิตก็จะค่อยหยั่งเข้าสู่ความสงบโดยลำดับ จิตใจขณะนั้น จะมีความสงบมาก ในขณะที่จิตสงบไม่ยุ่งเหยิงวุ่นวาย กาลเวลาและสถานที่จะไม่มีเลย ในขณะนั้นจิตจะสงบอย่างเดียว เพราะจิตที่สงบจะไม่สำคัญมั่นหมายติดอยู่กับสถานที่ กาลเวลาที่ไหนเลย มีแต่ ความรู้ ที่ทรงตัวอยู่เท่านั้น นี่เรียกว่า ความสุขที่เกิดขึ้นจากการภาวนา จะเรียกว่าเป็นผลจากการภาวนาก็ได้ เราอยู่ในโลกนี้ เราต้องอยู่ให้ฉลาด ประกอบด้วยปัญญา ตัวเรารู้ว่า เราปฏิบัติผิด ไม่ถูกต้องตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ต้องพยายามแก้ไขที่ตัวเรา ให้ถูกต้อง คือ เราต้องหาอุบายวิธีอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรตัวเองจึงจะอยู่ให้เป็นสุขไม่วุ่นวายใจ อันนี้สำคัญมากทีเดียว สิ่งทั้งปวงพระพุทธเจ้าสอนพวกเราว่า ถ้าใครละความโลภ ความโกรธ ความหลง หรือ กำจัดความโลภ ความโกรธ ความหลงเสียได้ ผู้นั้นจะพบเห็นพระนิพพาน พระนิพพานอยู่เหนือความโลภ โกรธหลง ท่านว่าอย่างนี้ ความโลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของโลก ชาติใด ภาษาใด ก็มีสิ่งทั้งสามนี้ ทุกคนหนีไม่พ้น มีปัญหาอยู่ ถ้าทุกคนมีกันแล้วอย่างนี้จะทำประการใดดี ไม่คิดจะละสิ่งเหล่านี้บ้างหรือ บางคนถ้าจะละมันออกไปก็ยังเสียดายมันอยู่ ถือว่ามัน เป็นมิตรที่ดีต่อเราอยู่ ไม่ยอมให้มันตีตัวจากเราเลย อันนี้ก็ได้ชื่อว่าเราโง่กว่ากิเลส ปล่อยให้กิเลสเป็นนายเรา

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้ดำเนินชีวิตทุ่มเทให้กับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ตั้งแต่วัยเด็กได้เข้าถือเพศบรรพชิตเมื่ออายุ 16 ปี ออกศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรม จนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ได้ฝึกฝนอบรมศาสนิกชนให้ประพฤติปฏิบัติชอบ ตามท่านมากมาย ได้สร้างสถานปฏิบัติธรรมเพื่ออนุชนนับไม่ถ้วน ได้แต่งเติมพระพุทธศาสนาให้คงสีสัน นำหลักธรรมปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจของชาวพุทธ นับได้ว่าท่านเป็นปูชนียบุคคลที่ชาวพุทธมิอาจลืมเลือน ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติ บำเพ็ญเพียรเพื่อพระนิพพาน เป็นเนื้อนาบุญของโลกโดยแท้

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=right><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD class=PageTab vAlign=center align=middle> </TD><TD width=3>[​IMG]</TD><TD vAlign=center align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD width=7 height=17>[​IMG]</TD><TD align=middle background=/images/b_bg.gif height=17></TD><TD width=8 height=17></TD><TD width=11 height=17></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=142 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=142>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เป็นบุตรของ คุณพ่อคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และ เจ้าแม่นางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร ธิดาของผู้มีอันจะกินเขตเมืองเลย

    ท่านถือกำเนิดเมื่อ วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 เวลารุ่งอรุณจวนสว่าง ได้ชื่อว่า วอ มีพี่สางต่างบิดา 1 คน และ น้องชายร่วมบิดามารดาอีก 1 คน

    เมื่อเข้าโรงเรียน ท่านมีนิสัยช่างซักช่างเจรจา ออกความเห็นเหมือน ครูบา จึงถูกเรียกว่า บา ท่านมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสะอาดจนจบชั้นประถมปีที 3 ซึ่งขณะนั้นถือเป็นการศึกษาชั้นสูงสำหรับเมืองชายแดน

    ต่อมาท่านได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อำเภอเชียงคาน และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด

    ขณะที่อยู่ที่เชียงคาน ด้วยวัยหนุ่มคะนอง มีการติดต่อกับฝรั่งฝั่งลาว ท่านจึงรู้จักวิธีผสมสุราอย่างฝรั่งเศส และศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปี จนคุณพระเชียงคาน ลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุย หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ชีวิตราชการของท่านไม่ค่อยราบรื่นนัก ท่านจึงรู้สึกอึดอัดใจในชีวิตฆราวาสอย่างยิ่ง ประกอบกับรู้สึกเบื่อหน่ายกับการต้องคลุกคลีอยู่กับการจัดอาหารในงานเลี้ยงที่ต้องมีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต คิดอยากบวชเพื่อแผ่บุญกุศลไปให้สรรพสัตว์ที่ตายไปแล้ว ท่านจึงตัดสิ้นใจลาออกจากชีวิตราชการเข้าสู่พิธีอุปสมบท เป็นพระมหานิกาย ณ อำเภอแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อปีพุทธศักราช 2466 โดยมีอัยการภาคเป็นเจ้าภาพบวชให้

    ระหว่างพรรษาแรกที่ธวัชบุรี ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วมการคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม ระหว่างทางได้พบพระธุดงค์กัมมัฏฐานรูปหนึ่งมาจากอำเภอโพนทอง รู้สึกถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ท่านได้ร่วมถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา คือ กายเบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่าจะบวชกัมมัฏฐานตลอดชีวิต

    ระหว่างทางสู่จังหวัดเลย เมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ท่านได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจาก ท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวโร รู้สึกเลื่อมใสมาก จึงขอถวายตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์ได้แนะนำให้ขอญัตติเป็นธรรมยุตที่จังหวัดเลย หลังจากเกณฑ์ทหารแล้วท่านจึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่ เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อำเภอเมือง จังหวัดเลย

    ต่อมาท่านได้กลับมาอยู่กับ พระอาจารย์บุญ ที่วัดหนองวัวซอ และติดตามไปวัดพระพุทธบาทบัวบก ซึ่ง ณ ที่นี้เอง ท่านได้พบกับ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และอยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจาก พระอาจารย์เสาร์ โดยมี พระอาจารย์บุญ เป็นพระพี่เลี้ยง

    จากนั้น ก็ได้ไปกราบนมัสการ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มหาเถระที่ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์มั่น จวบจนเข้าพรรษา จึงกลับมาจำพรรษาต่อกับ พระอาจารย์เสาร์ ที่วัดพระพุทธบาทบัวบก

    ในพรรษานี้ ท่านได้ภาวนาจนจิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุ้ง พระอาจารย์บุญ จึงให้ญุตติจตุถกรรมใหม่ที่ วัดโพธิสมพรณ์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2468 โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งเป็นพระครูสังฆวุฒิกรป็นพระอุปัจฌาย์ และ ท่านพระอาจารย์บุญ ปญญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ท่านจึงได้บวชถึง 3 ครั้ง คือ ปี 2466, 2467 และ 2468

    พรรษาที่ 1-6 ( พ.ศ. 2468-2473) ท่านจำพรรษาอยู่กับ ท่านพระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุโธ พ.ศ.2468 จำพรรษา ณ วัดพระบาทบัวบก อำเภอผือ จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2469-2473 จำพรรษา ณ วัดป่าหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันมีชื่อว่า วัดบัญญานุสรณ์) และในปี พ.ศ. 2473 พระอาจารย์บุญ ปญฺญวุโธ มรณภาพ ซึ่งในปีนี้ ท่านได้จำพรรษาอยู่ร่วมกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย และ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    พรรษาที่ 7-8 พ.ศ. 2474 ท่านจำพรรษาที่วัดป่าบ้างเหล่างา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (ปัจจุบัน คือ วัดป่าวิเวกธรรม) ร่วมกับ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ชอบ ฐานสโมและหลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    ปี พ.ศ. 2475 ได้ร่วมกับคณะไปส่งสตรีกัมมัฏฐานที่ นครราชสีมา และ ร่วมสร้างวัดป่าสาลวัน และได้จำพรรษาที่ วัดป่าศรัทธา ร่วมกับ พระอาจารย์มหาปิ่น พระอาจารย์ภูมี จิตฺตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์คำดี ปภาโส

    พรรษาที่ 9-10 (พ.ศ.2476-2477) ท่านได้ร่วมเดินธุดงค์กับ พระอาจารย์เสาร์ และได้วิชาม้างกายจากท่านอาจารย์ ในปีนี้ท่านได้จำพรรษา ณ ถ้ำบ้านโพนงาม-หนองสะไน ตำบลผักคำภู อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร
    พรรษาที่ 11 (พ.ศ.2478) เป็นปีที่สร้างวัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร หรือ วัดภูริทัตตถิราวาส และท่านได้ออกอุบายให้ชาวบ้าน อาราธนานิมนต์ ท่านพระอาจารย์ฝั้น มาจำพรรษาที่นี่นานถึง 5 ปี
    พรรษาที่ 12 (พ.ศ.2479) อยู่จำพรรษากับ พระอาจารย์เสาร์ ณ วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
    พรรษาที่ 13-14 (พ.ศ.2480-2481) กลับมาสู่แผ่นดินถิ่นกำเนิด จำพรรษา ณ ป่าช้าหนองหลางฝาง ถ้ำผาปู่ และ ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
    พรรษาที่ 15 (พ.ศ.2482) ธุดงค์แสวงหาที่ว่างปฏิบัติธรรมในเขตป่าดงเถื่อนถ้ำ จังหวัดเลย จำพรรษา ณ ถ้ำผาปู่ และ พักเจริญธรรมบ้านหนองบง
    พรรษาที่ 16 (พ.ศ.2483) เกิดอัศจรรย์ในดวงจิต จำพรรษา ณ โพนสว่าง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (โพนงาม. หนองสะไน) ได้โสรจสรงอมฤตธรรม ครั้นออกพรรษา ได้ไปนมัสการ หลวงปู่มั่น ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี
    พรรษาที่ 17-19 ใน พ.ศ.2484 ได้ร่วมอยู่ในรัศมีบารมีบูรพาจารย์ ขณะที่ หลวงปู่มั่น จำพรรษา ที่โนนนิเวศน์

    พ.ศ.2485-2486 จำพรรษาที่ บ้านอุ่นโคก และ ป่าใกล้วัด ป่าบ้านนามน จังหวัดสกลนคร

    พรรษา ที่ 20-25 ใน พ.ศ.2487-2488 ทำหน้าที่เปรียบได้ดังนายทวารบาล แห่งบ้านหนองผือ จำพรรษา ณ บ้านหนองผือ จังหวัดสกลนคร

    พ.ศ.2489-2490 จำพรรษา ณ บ้านอุ่นดง จังหวัดสกลนคร
    พ.ศ. 2491 จำพรรษา ณ บ้านโคกมะนาว จังหวัดสกลนคร
    พ.ศ. 2492 จำพรรษา ณ บ้านห้วยป่น ตำบลนาใน อำเภอพรรณนิคม สกลนคร ขณะที่หลวงปู่มั่น จำพรรษาช่วงปลายชีวิต ณ วัดป่าหนองผือ ท่านจึงอยู่พรรษากับบูรพาจารย์ใหญ่ ในช่วงนี้ โดย เฉพาะในปีนี้ มี พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พระอาจารย์มนู พระอาจารย์อ่อนสา พระอาจารย์เนตร ตนฺติสีโล พระอาจารย์วัน อุตฺตโมร่วมจำพรรษาด้วย

    พรรษาที่ 26-31 พ.ศ.2493 หลังจากประทีปแก้วของพระกัมมัฏฐานได้ดับลง ณ วัดป่าสุทธาวาส เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2492 และได้ถวายเพลิงในต้นปี 2493 หลังจากนั้น ท่านได้ออกธุดงค์เรื่อยไป จำพรรษาที่วัดศรีพนมมาศ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย

    พ.ศ. 2494 จำพรรษา ณ ถ้ำพระนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    พ.ศ. 2495 จำพรรษา ณ วัดป่าเขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น กับ เจ้าคุรอริยคณาธาร
    พ.ศ. 2496 จำพรรษา ณ วัดดอนเลยหลง อำเภอเมือง จังหวัดเลย และถ้ำผาปู่
    พ.ศ. 2497 จำพรรษา ณ บ้านไร่ม่วง (วัดป่าอัมพวัน) กับ หลวงปู่ชา อจฺตฺโต ผู้เคยร่วมธุดงค์กันหลายครั้ง และในปีนี้ ด้มาที่ท่าแพ อำเภอเมือง จังหวัดเลย
    พ.ศ. 2498 จำพรรษา ณ สวนพ่อหนูจันทร์ บ้านฝากเลย จังหวัดเลย

    พรรษาที่ 32 พ.ศ.2499 อยู่บ้านกกกอก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย (ปัจจุบัน คือ วัดปริตตบรรพต) และ ผจญพญานาคที่ภูบักบิด
    พรรษาที่ 33-35 พ.ศ.2500 จำพรรษาร่วมกับ หลวงปู่ขาว อนาลโย ณ วัดป่าแก้วชุมพล สว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร

    พ.ศ. 2501-2502 ร่วมจำพรรษา และ ร่วมสร้าง วัดถ้ำกลองเพล กับ หลวงปู่ขาว

    พรรษาที่ 36 พ.ศ. 2503 จำพรรษา ณ ถ้ำมโหฬาร ตำบลหนองหิน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และ ในเขตป่าเขาถ้ำเถื่อน ในเขตจังหวัดเลย
    พรรษาที่ 37 พ.ศ. 2504 จำพรรษา ณ ถ้ำแก้งยาว บ้านโคกแฝก ตำบลผาน้อย อำเภอสะพุง จังหวัดเลย ในปีนี้ ได้พบงูใหญ่มาอยู่ใต้แคร่
    พรรษาที่ 38 พ.ศ. 2505 จำพรรษาที่ เขาสวนกวาง อำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น
    พรรษาที่ 39 พ.ศ. 2506 ได้อุบายธรรม เนื่องจากการจำพรรษากับ หลวงปู่ขาว อนาลโย ณ ถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู
    พรรษาที่ 40 พ.ศ.2507 จำพรรษาที่ บ้านกกกอก ตำบลหนองงิ้ว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    พรรษาที่ 41-42 พ.ศ.2508-2509 เสวยสุขจำพรรษา ณ ถ้ำผาบิ้งบ้านนาแก ตำบลผาบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
    พรรษาที่ 43-48 พ.ศ. 2510-2515 จำพรรษา ณ ถ้ำผาบิ้ง สร้างวัดผาบิ้งและเริ่มรับนิมนต์โปรดพุทธชนภาคอื่นๆ ขณะมีอายุกว่า 70 ปีแล้ว
    พรรษาที่ 49-50 พ.ศ. 2516-2517 กลัปไปบูรณะ บ้านหนองผือ และถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    พรรษาที่ 51 พ.ศ. 2518 จำพรรษา ร สวนบ้านอ่าง อำเภอบะขาม จังหวัดจันทบุรี เพื่อโปรดชาวภาคตะวันออก
    พรรษาที่ 52 พ.ศ.2519 เดินทางไปโปรดชาวภาคใต้ และ จำพรรษา ณ วัดกุมภีร์บรรพต นิคมควนกาหลง จังหวัดสตูล วัดควนเจดีย์ จังหวัดสงขลา
    พรรษาที่ 53-57 โปรยปรายสายธรรม

    พ.ศ.2520 จำพรรษาที่ สวนปทุมธานี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
    พ.ศ. 2521 จำพรรษาที่ วัดป่าหนองแซง อำเภอหนองวัวซอ อุดรธานี
    พ.ศ. 2522 จำพรรษาที่ โรงนายาแดง คลอง 16 อำเภอองครักษ์ นครนายก
    พ.ศ. 2523 จำพรรษาที่ วัดอโศการาม อำเภอเมือง สมุทรปราการ
    พ.ศ. 2524 จำพรรษา ณ ที่พักสงฆ์ บ้านคุณประเสริฐ โพธิ์วิเชียร อำเภอศรีราชา ชลบุรี

    พรรษาที่ 58 พ.ศ.2525 พิจารณาธาตุขันธ์จะแตกดับ จำพรรษา ณ ถ้ำเจ้าผู้ข้า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    พรรษาที่ 59-65 (พ.ศ.2526-2532) เป็นช่วงแสงตะวันลำสุดท้ายของชีวิต ในช่วงปี พ.ศ. 2526-2528 ท่านจำพรรษาที่ วัดเจติยาคีรีวิหาร (ภูทอก) กิ่งอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย

    พ.ศ. 2529-2532 จำพรรษาที่พักสงฆ์ ก.ม.27 ดอนเมือง กรุงเทพมหานครกับ ที่พักสงฆ์เย็นสุดใจ อำเภอท่าหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

    ในบรรดาศิษย์ของ หลวงปู่มั่น นั้น หลวงปู่หลุย เป็นผู้ทีสันโดษ มักน้อย ประหยัดมัธยัสถ์ที่สุด ท่านเป็นผู้ละเอียดละออมาก เป็นนักจดบันทึก มีบันทึกหลายสิบเล่มเกี่ยวกับหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการค้นคว้าศึกษาสำหรับสาธุชนคนรุ่นหลังรวมทั้ง ธรรมโอวาท ของท่านเองด้วย
    ธรรมโอวาท

    ธรรมเทศนาของหลวงปู่มีมากมายหลายร้อยหลายพันกัณฑ์ เพราะท่านได้เทศน์โปรดญาติโยมลูกศิษย์มากกว่าครึ่งศตวรรษ และกระทำเรื่อยมาจนกระทั่งคืนสุดท้าย ก่อนจะมรณภาพเพียงหนึ่งชั่วโมง ท่านก็ยังอบรมสั่งสอนศิษย์อยู่

    ท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของ การรักษาศีล โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ ท่านจะเน้นให้บรรดาศิษย์รักษาเพิ่มจาก ศีล 5 เป็น ศีล 8

    ท่านได้อธิบายอานิสงส์ของศีลให้ฟังว่า

    ศีล 5 นี้ พระพุทธเจ้า ท่านมีเมตตาต่อผู้ครองเรือน ผู้รักษาศีล 5 ย่อมสำเร็จโสดาบันได้ สำหรับศีล 8 ย่อมช่วยให้สามารถสำเร็จถึงอนาคามีได้

    พระธรรมเทศนาของท่าน จะย้ำเสมอเรื่องการบริจาคทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา

    ท่านมักจะเน้นเรื่องศีลอยู่เสมอ เพราะ ศีล แปลว่า ความปกติ เป็นการรักษาใจให้ปกติ อันเป็นบาทเบื้องต้นของการภาวนา หากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ การภาวนาก็จะก้าวหน้ารวดเร็ว ผู้มีศีลย่อมต้องมีจิตใจผ่องใส เป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย ในสังคมที่อยู่ร่วมกันนี้ ถ้าทุกคนรักษาศีล 5 บ้านเมืองก็จะสงบราบรื่น ปราศจากขโมย ไม่มีการฆ่าฟันกัน

    อานุภาพแห่งศีล ย่อมรักษาตัวผู้รักษาศีล และ สังคมโดยรอบได้

    หลังจากได้ฟอกจิตด้วยการรักษาศีลแล้ว การบำเพ็ญทาน ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้จิตใจโน้มน้าวตัดความตระหนี่ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ถึงกัน

    ส่วนเรื่อง จิตภาวนา นั้น ท่านจะเน้นว่ามีอานิสงส์มาก ท่านกล่าวเสมอว่า กิเลสมีร้อยแปดประตู แต่พุทโธมีประตูเดียว เพราะฉะนั้น ให้ฝึกหัดปฏิบัติให้คุ้นเคย วาระที่เราจะเปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด ดังนั้นจงเพียรฝึกจิตให้คุ้นไว้กับพุทโธ

    ท่านละเอียดพิถีพิถันมากในทุกเรื่อง เป็นต้นแบบให้สาธุชนรู้จักฝึกตนให้รู้จักการกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ อย่างถูกต้อง คือ นอกจากเข่าทั้งสอง มือทั้งสอง ศอกจรดพื้น หน้าผากต้องแตะถีงพื้นด้วย จึงจะเป็นท่ากราบที่งดงาม

    ในการกราบครั้งที่หนึ่งให้มีน้อมจิตรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า กราบครั้งที่สองให้นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนของท่านที่สืบต่อพระศาสนามาจนทุกวันนี้ กราบครั้งที่สามให้ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสมมติสงฆ์แทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในการกราบทุกครั้ง ต้องน้อมจิตให้รำลึกด้วยเสมอ จิตจะเอิบอาบในการบุญ จะเป็นจิตที่อ่อนน้อมควรแก่การงาน หากฝึกเช่นนี้เสมอ จะเป็นผู้นอบน้อมถ่อมตน

    ให้ดูจิตของตัวเอง ภาวนาให้จิตใจสงบ มัธยัสถ์ปัจจุบัน ม้างกายให้มาก จะช่วยให้หมดความกำหนดหลงติดในสีสันของกามวัตถุ

    ให้หมั่นมีเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งหลาย อานิสงส์ของการช่วยชีวิตสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่า มีผลทำให้อายุยืน แม้ยามตกทุกข์ได้ยาก ก็จะมีคนมาช่วยเหลือ ไม่ติดคุกติดตาราง

    หลักการม้างกาย ของท่าน คือ การพิจารณาปล่อยวางธาตุขันธ์ ส่วนการภาวนาหรือทำจิตทำใจ ให้ดูอาการของจิต ก่อนตาย อย่าไปดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว เวลาธาตุจะตีลังกาเปลี่ยนภพ จิตจะออกจากร่าง ให้พิจารณาตามจิต จะเห็นว่า จิตจะออกจากร่างอย่างไร ไปอย่างไร จิตจะเข้าๆ ออกๆ อย่างไร จะมืดๆ สว่างๆ อย่างไร จะมีอาการเหนื่อยหอบมาก ให้กำหนดตามจิต จะเห็นอาการจิตชัด แต่หากตามไม่ทัน ก็ให้ปล่อยไปให้ได้ปัจจุบันขณะ

    ท่านจะย้ำเสมอว่า อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียวและ ขอให้เร่งทำความเพียร มีความสามัคคี กลมเกลียวกัน

    ปัจฉิมบท

    ในวันที่ 7 ตุลาคม 2532 ท่านรำพึงระหว่างที่พักอยู่ ณ ที่พักสงฆ์ กม.27 ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ความว่า

    "แก่ ชรา มานานเท่าไร พึงภาวนาให้คุ้นเคยกับความตาย เพราะจะต้องตายอยู่แล้ว เตรียมตัวไว้ก่อนตาย รอรถ รอเรือ ที่จะต้องขึ้นไหสวรรค์พระนิพพาน หูยิ่งหนวกหนักเข้าทุกวัน ตายิ่งไม่เห็นหน ตีนเท้าอ่อนเพลีย หันไปหาความตายเสมอไป ถือภาวนาใน ไตรลักษณ์ ทุกขอนิจจัง อนัตตา มีเกิดแล้วย่อมมีตาย เพราะโลกไม่เที่ยงอยู่แล้ว แปรปรวนไปต่างๆ สังขารเราบอกเช่นนั้น เที่ยงแต่พระนิพพานอย่างเดียว"

    เช้าวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2532 หลวงปู่ยังคงเดินจงกรมตามปกติ หลังจากนั้นได้เรียกพระเณรมาขอนิสัยใหม่ แล้วท่านก็ได้อบรมธรรมะ โดยให้พระเณร ภาวนาดูจิตนเอง ภาวนาให้จิตสงบ ม้างกายให้มาก ท่านปรารภถึงความตาย จนเวลา 13.00น. ท่านเรียกพระอุปัฏฐากขึ้นไปพบและปรารภให้ฟังว่า รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ลมตีขึ้นเบื้องบน แล้วบอกให้ช่วยนวดขา ครั้นเวลาผ่านไปถึง 16.00น. อาการกำเริบหนักท่านหายใจไม่ออก พระอาจารย์อุทัย สิริธโร และ บรรดาลูกศิษย์จึงขอนิมนต์ท่านไปโรงพยาบาล แต่ท่านบอกว่า "หมอก็ช่วยไม่ได้ ขอตายที่หัวหิน ไม่ยอมเข้ากรุงเทพฯ เพราะสถานที่ไม่สงบ จะทำให้เข้าจิตไม่ทัน" ลูกศิษย์จึงไปตามแพทย์มาดูอาการและวินิจฉัยว่า เป็นอาการของโรคหัวใจ และ อาหารไม่ย่อย ตรงตามที่ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ไว้ก่อนที่หมอจะมา

    ท่านขอแสดงอาบัติ และ บอกบริสุทธิ์ต่อท่ามกลางสงฆ์ ด้วยน้ำเสียงที่แจ่มใสยิ่งพร้อมแสดงธรรม ปฏิญานปลงอายุสังขารแล้วปรารภปัจฉิมเทศนาในเรื่องการทำกิจ การภาวนา การดูอาการของจิตก่อนตาย ย้ำว่า อย่าไปตามดูอาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว

    ท่านเปี่ยมล้นด้วยเมตตาธิคุณ กรุณาธิคุณ โดยไม่อ้างกาลเวลา แม้อาพาธอย่างหนักก็ยังปรารภปัจฉิมเทศนาเป็นครั้งสุดท้าย จวบจนเวลา 23.30 น. ท่านได้กล่าวว่าท่านประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหว คงจะปล่อยวางแล้ว ขอเอาจิตอย่างเดียว และขอขอบใจที่พระเณรได้ช่วยกันอุปัฏฐากท่าน หากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย กระทั่งถึงเวลา 00.43น. ของ คืนวันที่ 24 ล่วงเข้าสู่ วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2532 หลวงปู่ได้กล่าวเป็นคำสุดท้ายว่า "เอาขันธ์ไว้ไม่ไหวแล้ว"

    หลวงปู่ได้จากไปพร้อมอาการสงบด้วยสติ รวมสิริอายุได้ 88 ปี 65-67 พรรษา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2005
  13. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    หลวงปู่ลี ธมฺมธโร

    [​IMG]

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    พระอาจารย์ลี เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เวลา 21.00 น. เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 31 มกราคม 2449 บ้านเกิดคือบ้านหนองสองห้อง ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี หมู่บ้านนี้มีบ้านประมาณ 80 หลังคาเรือน แบ่งออกเป็น 3 คุ้ม คือหมู่บ้านน้อยหนึ่ง หมู่บ้านในหนึ่ง และหมู่บ้านนอกหนึ่ง ที่หมู่บ้านนอกนี้มีวัดตั้งอยู่ พระอาจารย์ลี ได้เกิดในหมู่บ้านที่มีวัดตั้งอยู่ บ้านทั้ง 3 คุ้มนี้มีหนองน้ำอยู่ตรงกลาง 3 หนองบริเวณรอบๆ หมู่บ้านมีต้นยางใหญ่ขึ้นอยู่ล้มอรอบนับเป็นสิบๆ ต้นทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้านมีเนินบ้านเก่า

    นามเดิมของพระอาจารย์ลี คือ นายชาลี เป็นบุตรของนายปาว นางพ่วย นารีวงศ์ ปู่ชื่อจันทารี ย่าชื่อนางสีดา ตาชื่อนันทะเสย ยายชื่อนางดี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันรวม 9 คน เป็นชาย 5 คน เป็นหญิง 4 คน เมื่อเกิดมาได้ 9 วัน เกิดมีอาการรบกวนพ่อแม่เป็นการใหญ่ เช่น ร้องไห้เสมอๆ ถึงกับโยมทั้งสองได้แตกจากกันไปหลายวัน เมื่อโยมผู้หญิงออกไฟได้ 3 วัน ตัวเองเกิดโรคป่วย ไม่กินไม่นอนเป็นเวลาหลายวัน เลี้ยงยากที่สุด พ่อกับแม่ไม่มีใครสามารถจะเลี้ยงให้ถูกใจได้

    ต่อมาอายุได้ 11 ปี มารดาถึงแก่กรรม ยังมีน้องเล็กๆ คนหนึ่งเป็นผู้หญิงได้เลี้ยงดูกันมาส่วนคนอื่นๆ เขาโตแล้วต่างพากันไปทำมาหากิน ยังเหลืออีก 2-3 คน พ่อลูกพากันทำนาเป็นอาชีพพออายุได้ราว 12 ปี ได้เรียนหนังสือไทยพออ่านออกเขียนได้ สอบชั้นประถมก็ตกเสียอีก ช่างมันแต่จะเรียนไปจนหมดเวลา พอดีอายุ 17 ปี จึงได้ออกจากโรงเรียน ต่อจากนั้นมาก็คิดหาแต่เงินกันเท่านั้นในระหว่างนี้เกิดมีการขัดอกขัดใจกับโยมผู้ชายบ่อยๆ คือโยมต้องการให้ทำการค้าขายของที่ไม่ชอบ เช่น ไปหาซื้อหมูมาขาย ซื้อวัวมาขาย เป็นต้น ถึงเวลาอยากจะไปทำบุญก็คอยขัด การงานก็คอยขัดคอเสมอ บางทีต้องการไปทำบุญกับเขา ก็หายอมให้ไปไม่ กลับบอกให้ไปทำไร่ทำนาเสีย บางวันน้อยใจนั่งร้องไห้อยู่คนเดียวกลางทุ่งนา นึกแต่ในใจว่าเราจักไม่อยู่ในหมู่บ้านนี้ แต่ก็ต้องอดทนอยู่ไปก่อน ต่อมาบิดาได้ภรรยาใหม่คนหนึ่งชื่อ แม่ทิพย์ ตอนนี้ค่อยสบายใจขึ้นหน่อยชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    พอดีอายุครบ 20 ปี ตรงกับ พ.ศ.2468 โยมมารดาเลี้ยงถึงแก่ความตาย ขณะนั้นได้ไปอยู่กับญาติที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม พอปลายเดือนกุมภาพันธ์ก็ได้กลับขึ้นไปบ้านโยมบิดาก็แนะนำให้บวช วันนั้นเงินติดตัวอยู่ประมาณ 160 บาท เมื่อไปถึงบ้านใหม่ๆ พี่ชาย พี่เขย พี่สาว ฯลฯ ก็พากันมากลุ้มรุมเยี่ยมเยือนถามข่าวคราวต่างๆ แล้วขอกู้เงินยืมเงินไปซื้อควายบ้าง ซื้อนาบ้าง ค้าขายบ้าง ก็ยินยอมให้เงินเขาไปตามที่ต้องการ เพราะตัวเองคิดจะบวช ตกลงเงิน 160 บาท ที่มีอยู่คงเหลือเพียง 40 บาท

    ถึงเวลาเทศกาลบวชนาค โยมบิดาก็จัดแจงให้บวชจนสำเร็จ ได้ทำการบวช เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 มีเพื่อนบวชด้วยกันในวันนั้นรวม 9 รูป พอล่วงถึงพรรษาที่ 2 จึงตั้งใจอธิษฐานว่า "เวลานี้ข้าพเจ้ายังมุ่งดีหวังดีต่อพระศาสนาอยู่ในกาลต่อไปนี้ ขอจงให้พบครูบาอาจารย์ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบภายใน 3 เดือน"

    ต่อมาเดือนพฤศจิกายนข้างแรม ได้ไปเทศน์มหาชาติที่วัดบ้านโนนรังใหญ่ ตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ พอดีไปพบพระกรรมฐานรูปหนึ่งกำลังเทศน์อยู่บนธรรมาสน์รู้สึกเกิดแปลกประหลาดในจิตขึ้นโดยโวหารของธรรมะน่าเลื่อมใส จึงได้ไต่ถามญาติโยมว่าท่านองค์นั้นคือใคร มาจากไหน ได้รับตอบว่า "เป็นศิษย์พระอาจารย์มั่น ชื่ออาจารย์บท" ท่านได้พักอยู่ในป่ายางใหญ่ใกล้บ้านราว 20 เส้น พองานมาหาชาติเสร็จก็ได้ติดตามไปดู ได้เห็นปฏิปทาความประพฤติของท่านเป็นที่พอใจ จึงถามท่านว่าใครเป็นอาจารย์ของท่าน ท่านตอบว่า "พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ เวลานี้พระอาจารย์มั่นได้ออกเดินทางจากจังหวัดสกลนครไปพักอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี" พอได้ความเช่นนั้นก็รีบเดินทางกลับบ้าน นึกแต่ในใจว่า "เราคงสมหวังแน" อยู่มาไม่กี่วันจึงได้ลาโยมผู้ชาย ลาพระอุปัชฌาย์ ท่านทั้งสองนี้ก็พูดจาขัดขวางทุกด้านทุกมุม แต่ได้ตัดสินใจเด็ดขาดว่า "เราต้องไปจากบ้านนี้โดยเด็ดขาด จะให้สึกก็ต้องไป จะให้อยู่เป็นพระก็ต้องไป พระอุปัชฌาย์ และโยมผู้ชายไม่มีสิทธิ์ใดๆ ทั้งหมด ถ้าขืนก้าวก่ายสิทธิ์ในตัวเรานาทีใด ต้องลุกหนีไปนาทีนั้น" ได้พูดกับโยมผู้ชายอย่างนี้ ในที่สุดโยมผู้ชายและพระอุปัฌาย์ก็ยอม

    เดือนอ้ายข้างแรม เวลาเพลแล้ว ประมาณ 13.00 น. ได้ออกเดินทางพร้อมด้วยบริขารโดยลำพังรูปเดียว โยมผู้ชายได้ติดตามออกไปส่งถึงกลางทุ่งนา เมื่อได้ร่ำลากันแล้วต่างคนก็ต่างไป วันนั้นเดินทางผ่านอำเภอม่วงสามสิบมุ่งไปสู่จังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ 10 กิโลเมตรเศษ พอดีพระบริคุตฯ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายอำเภอม่วงสามสิบถูกปลดออกจากราชการขี่รถยนต์ผ่านมาพบเรากำลังเดินทางอยู่คนเดียว ท่านผู้นี้ได้นิมนต์ขึ้นรถขนย้ายครอบครัวของท่าน ไปส่งถึงสนามบินจังหวัดอุบลฯ ทางไปบ้านกุดลาด บัดนี้ก็ยังระลึกถึงบุญคุณของท่านผู้นี้อยู่ ทั้งๆ ที่ไม่รู้จักกันเลยประมาณ 5 โมงเย็นเดินทางถึงสำนักวัดป่าบ้านกุดลาด แต่ได้ทราบว่าพระอาจารย์มั่นกลับมาพักอยู่วัดบูรพา

    รุ่งเช้าเมื่อฉันอาหารแล้วได้เดินเท้ากลับมาจังหวัดอุบลฯ ได้ไปนมัสการกราบเรียนความประสงค์ของตนต่อพระอาจารย์มั่น ท่านก็ได้ช่วยแนะนำสงเคราะห์เป็นที่พอใจสอนคำภาวนาให้ว่า "พุทโธฯ" เพียงคำเดียวเท่านี้ พอดีท่านกำลังอาพาธ ท่านได้แนะนำให้ไปพักอยู่บ้านท่าวังหิน ซึ่งเป็นสถานที่เงียบสงัดวิเวกดี ที่นั่นมีพระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น มีพระภิกษุสามเณรราว 40 กว่ารูปพักอยู่ ได้เข้าไปฟังธรรมเทศนาของท่านทุกคืนรู้สึกว่ามีผลเกิดขึ้นในใจ 2 อย่างคือ เมื่อนึกถึงเรื่องเก่าๆ ของตนที่เป็นมาก็ร้อนใจ เมื่อนึกถึงเรื่องใหม่ๆ ที่กำลังประสบอยู่ก็เย็นใจ ทั้ง 2 อารมณ์นี้ติดตนอยู่เสมอ พอดีได้พบเพื่อนที่หวังดี 2 รูป ได้ร่วมอยู่ ร่วมฉัน ร่วมศึกษาสนทนากันตลอดมา เพื่อน 2 รูปนั้นคือพระอาจารย์กงมาและพระอาจารย์สาม ได้พากเพียรพยายามภาวนาอยู่เสมอทั้งกลางวันกลางคืน เมื่อได้พักอยู่พอสมควรแล้ว ก็ได้ชวนพระอาจารย์กงมาออกเดินทางไปเรื่อยๆ ไปพักตามศาลเจ้าผีปู่ตาของหมู่บ้าน ตำบลต่างๆ แล้วได้เดินทางกลับไปถึงบ้านเดิม เพื่อบอกข่าวกุศลให้โยมผู้ชายทราบว่าได้พบพระอาจารย์มั่นเป็นที่พอใจในชีวิตแล้ว อาตมาจักไม่กลับมาตายบ้านนี้ต่อไป คือได้นึกเป็นคติในใจอยู่ว่า"เราเกิดมาเป็นคน ต้องพยายามไต่ขึ้นอยู่บนหัวคน เราบวชเป็นพระ ต้องพยายามให้อยู่บนหัวพระที่เราเคยพบผ่านมา ตอนนี้รู้สึกว่าเกิดสมหวังในความคิด ฉะนั้น จึงกลับบอกเล่าให้โยมฟังว่า "ฉันลาไม่กลับ เงินทองข้าวของใช้ส่วนตัวมอบเสร็จ ทรัพย์สินเงินทองของโยม จักไม่เกี่ยวข้องตลอดชีวิต" โยมป้าได้ทราบเรื่องก็มาพูดต่อว่า ว่า "ท่านจะเกินไปละกระมัง" จึงได้ตอบไปว่า "ถ้าฉันสึกมา ถ้าฉันมาขอข้าวป้ากินขอให้ป้าเรียกฉันว่าสุนัขก็แล้วกัน" เมื่อได้ตัดสินใจเด็ดขาดแล้วเช่นนี้ก็ได้สั่งกับโยมผู้ชายว่า "โยมอย่าเป็นห่วงอาตมาจะบวชอยู่ได้ก็ตาม จะสึกออกมาก็ช่าง อาตมาพอใจแล้วที่ได้สมบัติจากโยม ได้ทรัพย์วิเศษจากโยม คือ ตา 2 ข้าง หู 2 ข้าง จมูก ปาก ครบอาการ 32 จัดเป็นก้อนทรัพย์อย่างสำคัญแม้โยมจะให้ทรัพย์อย่างอื่น อาตมาก็ไม่อิ่มใจ" เมื่อได้สั่งโยมผู้ชายเสร็จแล้ว ก็ลาโยมผู้ชายเดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี เดินทางไปถึงหมู่บ้านวังถ้ำ ก็ได้พบพระอาจารย์มั่นพักอยู่ในป่าจึงได้เข้าไปพักอาศัยอบรมอยู่กับท่านเป็นเวลาหลายวัน

    ต่อจากนั้นก็ได้ดำริว่า "เราต้องสาดญัตติใหม่ ล้างบาปเก่าเสียที" เมื่อได้หารือพระอาจารย์มั่นแล้วท่านเห็นดีเห็นชอบด้วย จึงได้ทำการหัดขานนาค เมื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้ติดตามท่านไปเที่ยวในตำบลต่างๆ ได้รู้สึกมีความเลื่อมใสท่านเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้รับความอัศจรรย์จากท่านหลายอย่าง อาทิเช่น บางเรื่องคิดอยู่ในใจของเราไม่เคยแสดงให้ท่านทราบเลย ท่านกลับทักทายถูกต้อง ก็ยิ่งเพิ่มความเคารพเลื่อมใสยิ่งขึ้นทุกที การทำสมาธิก็หนักแน่นหมดความห่วงในอะไรต่ออะไรหลายๆ อย่างได้อบรมอยู่กับท่านเป็นเวลา 4 เดือน ท่านก็ได้นัดหมายให้ไปสวดญัตติใหม่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลฯ มีพระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) วัดสระปทุม จังหวัดพระนคร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์เพ็ง วัดใต้ จังหวัดอุบลฯ เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์มั่นเป็นผู้บรรพชาให้เป็นสามเณร ได้อุปสมบทใหม่ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 อุปสมบทเสร็จแล้ว 1 วัน ก็ได้ถือธุดงค์อย่างเคร่งครัดคือฉันมื้อเดียวได้พักอยู่วัดบูรพาคืนเดียวก็ได้ออกไปอยู่ป่าบ้านท่าวังหินตามเคย

    เที่ยวจาริกสัญจร ไปในระหว่างเวลาออกพรรษาทุกปี การทำเช่นนี้ ก็เพราะได้คิดเห็นว่าการที่จะอยู่ประจำวัดเฉยๆ ก็เปรียบเหมือนรถไฟที่จอดนิ่งอยู่ที่สถานีหัวลำโพงประโยชน์ของรถไฟที่จอดอยู่กับที่มีอะไรบ้าง ทุกคนคงตอบได้ ฉะนั้น ตัวเราเองจะมานั่งอยู่ที่เดียวนั้น เป็นไปไม่ได้จำเป็นจะต้องออกสัญจรอยู่อย่างนี้ตลอดชาติในภาวะที่ยังบวชอยู่

    การประพฤติเช่นนี้ บางครั้งหมู่คณะก็ตำหนิโทษ บางคราวก็ได้รับคำชมเชย แต่ตนเองเห็นว่าได้ผลทั้งนั้น เพราะได้รู้จักภูมิประเทศเหตุการณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีของพระศาสนาในที่ต่างๆ บางอย่างชนิดเราอาจโง่กว่าเขา บางอย่าง บางหมู่คณะ บางสถานที่เขาอาจดีกว่าเรา ฉะนั้น การสัญจรไปจึงไม่ขาดทุน นั่งอยู่นิ่งๆ ในป่าก็ได้ประโยชน์ ถ้าถิ่นไหนเขาโง่กว่าเรา เราก็เป็นอาจารย์ให้เขา หมู่ไหนฉลาดกว่าเรา เราก็ยอมตนเป็นศิษย์เขา ฉะนั้น การสัญจรไปมาจึงไม่เสียประโยชน์ อีกประการหนึ่งที่เราชอบไปอยู่ตามป่าดงนั้น ได้เกิดความคิดหลายอย่าง คือ

    (1) ให้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แสดงตนเป็นผู้ขอ แต่พระองค์ไม่ให้แสดงตนเป็นคนยากจน เช่น เขาให้เท่าไร ก็ยินดีเท่านั้น
    (2) พระองค์ทรงสอนให้ไปอยู่ในที่สงัด ที่เรียกว่า "รุกขมูลเสนาเสนะ" มีบ้านร้าง สัญญาคาร หิมมิยัง เงื้อมผา คูหาถ้ำ สถานที่ต่างๆ เหล่านี้ มีปัญหาว่าพระองค์ทรงเห็นประโยชน์อะไรหรือ จึงได้สอนเช่นนั้น แต่ตัวเองก็นึกเชื่อยู่ในใจว่า ถ้าเรื่องเหล่านี้ไม่มีประโยชน์ พระองค์คงไม่สอน ถึงกระนั้นก็ยังมีความรู้สึกลังเลใจอยู่ จนเป็นเหตุให้สนใจในเรื่องนี้
    (3) พระองค์สอนให้ถือผ้าบังสุกุลเป็นเครื่องใช้สอย ตลอดจนให้ถือเอาผ้าพันผีตายมาใช้นุ่งห่ม ก็เป็นเหตุให้ตัวเองนึกถึงเรื่องตายว่าการนุ่งห่มผ้าพันผีตายมีประโยชน์อะไรบ้าง ข้อนี้พอได้ความง่ายๆ คิดดูโดยหลักธรรมดาก็จะเห็นได้ว่า ของตายนั้นไม่มีใครต้องการอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็คือของตายเป็นของไม่มีพิษไม่มีโทษในข้อนี้พอจะน้อมนึกตรึกตรองได้อยู่บ้าง ว่าพระองค์ได้สอนไม่ให้เป็นผู้ทะนงตัวในปัจจัยลาภ
    (4) พระองค์สอนให้บริโภคยารักษาโรคที่หาได้อย่างง่ายๆ เช่น ให้ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า คำสอนต่างๆ ของพระองค์ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ เมื่อเราได้รับฟังเข้าแล้วเป็นเหตุให้เกิดความสนใจแต่เมื่อสรุปแล้วจะได้รับผลหรือไม่ได้รับผลก็ตาม แต่เรามีความเชื่อมั่นอยู่อย่างหนึ่งว่าพระองค์ไม่ใช่บุคคลที่งมงาย เรื่องใดที่ไม่มีเหตุผลพระองค์คงไม่ทรงสั่งสอนเป็นอันขาด

    ฉะนั้น จึงได้มาระลึกนึกคิดว่า ถ้าเราไม่เชื่อในคำสอนของพระองค์ เราก็ควรยอมรับถือตามโอวาท หรือถ้าเราไม่เชื่อความสามารถของผู้สอนเรา เราก็ควรทำตามไปก่อนโดยฐานะที่ทดลองดูเพื่อเป็นการรักษาสังฆประเพณี ระเบียบแบบแผนของผู้ที่เราเคารพนับถือกราบไหว้เอาไว้ก่อนอีกประการหนึ่ง ได้ระลึกถึงคำพูดของพระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นผู้ถือเคร่งครัดในธุดงค์ เช่น ถือการอยู่ป่า ฉันอาหารแต่มื้อเดียว ถ้าผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ท่านได้ขอปฏิบัติตัวของท่านอย่างนี้ตลอดชีพในเรื่องนี้พระองค์ได้ทรงซักถามพระมหากัสสปะว่า "ท่านเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว ท่านขวนขวายเพื่อเหตุอะไร" พระมหากัสสปะตอบว่า "ข้าพระองค์มุ่งประโยชน์ของกุลบุตรผู้จะเกิดตามสุดท้ายภายหลังไม่ได้มุ่งประโยชน์ส่วนตัว เมื่อข้าพระองค์ไม่ทำ จะเอาใครเป็นตัวอย่าง เพราะการสอนคนนั้นถ้ามีตัวอย่างสอนได้ง่าย เปรียบเสมือนการสอนภาษาหนังสือเขาทำแบบหรือรูปภาพ ประกอบการสอน เป็นเหตุให้ผู้เรียน เรียนได้สะดวกขึ้นอีกมาก ข้าพระองค์ประพฤติเช่นนี้ฉันใดก็ฉันนั้น"

    เมื่อได้ระลึกถึงคำพูดของพระมหากัสสปะ ซึ่งได้ทูลตอบพระบรมศาสดาเช่นนี้ ก็สงสารพระมหากัสสปะ ท่านอุตส่าห์ตรากตรำทรมาน ถ้าเปรียบในทางโลกท่านก็เป็นถึงมหาเศรษฐีควรได้นอนที่นอนที่ดีๆ กินอาหารที่ประณีต ตรงกันข้าม ท่านกลับสู้อุตส่าห์มาทนลำบากนอนกลางดินกินกลางหญ้า ฉันอาหารก็ไม่ประณีต เปรียบเทียบตัวเราเสมอเพียงแค่นี้ จะมาหาแต่ความสุขใส่ตัวแค่อามิส ก็บังเกิดความละอายใจ สำหรับพระมหากัสสปะ เวลานั้นท่านจะบริโภคอาหาร นั่ง นอน ในที่สวยงามเท่าไรก็ตาม ย่อมไม่มีปัญหาใดๆ ที่จะเป็นไปเพื่ออาสวะกิเลสเสียแล้ว แต่ว่าเป็นของไม่แปลก ท่านกลับเห็นประโยชน์ที่จะเกิดแก่บรรดาสานุศิษย์

    ฉะนั้น เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแต่เป็นข้อสะกิดใจเรามานับตั้งแต่เริ่มบวชในครั้งแรก

    เมื่อพูดถึงเรื่องการอยู่ป่า ก็เป็นของแปลกประหลาดเตือนใจเราอยู่มาก เช่น บางคราวได้มองเห็นความตายอย่างใกล้ชิด และได้รับคำเตือนใจหลายอย่าง บางคราวก็เกิดจากคนในป่า บางคราวก็เห็นพฤติการณ์ของสัตว์ในป่า สมัยหนึ่ง มีตาแก่ยายแก่สองคนผัวเมียพากันไปตักน้ำมันยางในกลางดงใหญ่ เผอิญไปพบหมีใหญ่ตัวหนึ่ง ได้เกิดการต่อสู้กันขึ้น เมียหนีขึ้นต้นไม่ทัน แล้วร้องตะโกนบอกผัวว่า "ถ้าสู้มันไม่ไหว ให้ลงนอนหงายนิ่งๆ ทำเหมือนคนตายอย่ากระดุกกระดิกฝ่ายผัวพอได้ยินเมียร้องบอกดังนั้นก็ได้สติ แกจึงแกล้งล้มนอนแผ่ลงกลางพื้นดิน และนอนนิ่งๆ ไม่ไหวตัว เมื่อหมีเห็นดังนั้นก็ขึ้นคร่อมตัวตาแก่ไว้ ปล่อยมือปล่อยตีน ไม่ตะปบตาแก่อีกเป็นแต่มองดูตาแก่ที่กำลังนอนหงายอยู่นั้น ตาแก่ก็ได้แต่นอนบริกรรมภาวนาได้คำเดียวว่า "พุทโธ พุทโธ" พร้อมทั้งนึกในใจว่า"เราไม่ตาย"หมีก็ดึงขา ดึงศีรษะแก แล้วใช้ปากดันตัวแกทางซ้ายทางขวา แกก็ทำเป็นนอนตัวอ่อนไปอ่อนมาไม่ยอมฟื้น หมีเห็นดังนั้นก็คิดว่าตาแก่คงตายแล้ว มันจึงหนีไป ต่อจากนั้นสักครู่หนึ่งแกก็ลุกขึ้น เดินกลับบ้านกับเมีย บาดแผลที่แกได้รับคือหัวถลอกปอกเปิกแต่ไม่ตาย แกก็สรุปให้ฟังว่า "สัตว์ป่าต้องเป็นอย่างนี้ ถ้าเราเห็นว่าจะสู้ไม่ไหว ต้องทำตัวเหมือนคนตาย"

    เมื่อเราได้ฟังแกเล่าแล้ว ก็ได้ความรู้ขึ้นอีกอย่างหนึ่งว่า คนตายไม่มีใครต้องการเราอยู่ในป่าเราก็ควรทำตนเหมือนคนตาย ฉะนั้นใครจะว่าดีหรือชั่วประการใด เราต้องนิ่งสงบกาย วาจา ใจ จึงจะรอดตาย เป็นอุทาหรณ์เตือนใจได้อีกอย่างหนึ่งในทางธรรมะว่า "คนที่จะพ้นตาย ต้องทำตนเหมือนคนตาย" ก็เป็นมรณัสสติเตือนใจได้เป็นอย่างดี

    อีกครั้งหนึ่ง ได้ไปพักอยู่ในดงใหญ่แห่งหนึ่ง วันหนึ่งเวลาเช้าสายๆ ได้พาลูกศิษย์ออกบิณฑบาต พอเดินผ่านดงไป ได้ยินเสียงแม่ไก่ร้อง "กะต๊ากๆ "ฟังเสียงดูเป็นเสียงไก่แม่ลูกอ่อน เพราะเมื่อส่งเสียงร้องแล้ว ไม่ยอมบิน จึงให้ลูกศิษย์วิ่งไปดูแม่ไก่ตกใจก็บินข้ามต้นไม้สูงหนีไป เห็นลูกไก่วิ่งอยู่หลายตัว มันพากันวิ่งหนีเข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในกองใบไม้ร่วง แล้วทุกตัวก็นิ่งเงียบ ไม่ยอมไหวตัวไม่ยอมกระดุกกระดิก แม้จะเอาไม้คุ้ยเขี่ยดู ก็ไม่ยอมกระดุกกระดิก เด็กลูกศิษย์ไปหาอยู่พักหนึ่ง ไม่ได้พบลูกไก่เลยแม้แต่ตัวเดียว แต่เรานึกในใจว่ามันไม่ได้หนีไปไหนแต่มันทำตัวเหมือนใบไม้ร่วง ในที่สุดลูกไก่ตัวนิดๆ จับไม่ได้สักตัวเดียว เรื่องนี้ก็เป็นเหตุให้นึกถึงสัญชาติญาณการป้องกันภัยของสัตว์ ว่ามันก็มีวิธีการที่ฉลาด มันทำตัวของมันให้สงบ ไม่มีเสียงในกองใบไม้ร่วง จึงได้เกิดการนึกเปรียบเทียบขึ้นในใจตนเองว่า "ถ้าเราอยู่ในป่า ทำจิตให้สงบไม่ไหวตัวเช่นเดียวกับลูกไก่ เราก็ต้องได้รับความปลอดภัย พ้นความตายแน่นอน" ก็เป็นคตติเตือนใจได้อีกเรื่องหนึ่ง

    นอกจากนี้ เมื่อนึกถึงธรรมชาติอื่นๆ เช่น ต้นไม้ เถาวัลย์ สัตว์ป่า แต่ละอย่างเหล่านี้ล้วนเป็นเครื่องปลุกใจได้เป็นอย่างดี เช่น เถาวัลย์บางชนิดพันต้นไม้ไม่มีเลี้ยวไปทางทิศทางอื่น ต้องพันเลี้ยวไปทางทักษิณาวัตรเสมอ สังเกตเห็นเช่นนี้ก็มาระลึกถึงตัว หากเราจะทำจิตให้ก้าวไปสู่ความดีอันยิ่งยวด เราต้องเอาอย่างเถาวัลย์คือเดินทางทักษิณาวัตร เพราะพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงว่า "กายกมฺม" วจีกมฺมํ มโนกมฺมํ ปทกฺขิณ" ฉะนั้น เราต้องทักษิณาวัตร คือเวียนไปทางทักษิณเสมอ นั่นคือเราต้องทำตนให้เหนือกิเลสที่จะลุกลามใจมิฉะนั้น เราก็สู้เถาวัลย์ไม่ได้ ต้นไม้บางชนิดแสดงความสงบให้เราเห็นด้วยตา ที่เราเรียกกันว่า"ต้นไม้นอน"ถึงเวลากลางคืนมันหุบใบ หุ้บก้าน เมื่อเราไปนอนอยู่ใต้ร่มไม้ต้นนั้น จะมองเห็นดาวเดือนอย่างถนัดในเวลากลางคืน แต่พอถึงเวลากลางวันแผ่ก้านแผ่ใบมืดทึบอย่างนี้ก็มี เรื่องเหล่านี้ก็ล้วนเป็นคติเตือนใจว่า ขณะเรานั่งสมาธิหลับตาภาวนานั่น ก็ให้หลับตา ส่วนใจเราต้องให้สว่างไสว เหมือนต้นไม้นอนในเวลากลางคืน ซึ่งใบไม้ปิดตาเรา เมื่อระลึกนึกคิดได้อย่างนี้ ก็ได้แลเห็นประโยชน์ของการอยู่ป่า จิตใจก็เกิดความห้าวหาญธรรมะธรรมโมที่ได้เรียนมาหรือที่ยังไม่ได้เรียนรู้ ก็ได้ผุดมีขึ้น เพราะธรรมชาติเป็นผู้สอน จึงได้มานึกถึงหลักวิทยาศาสตร์ของโลกที่ทุกประเทศพากันทำฤทธิ์ทำเดชต่างๆ นานา และทำได้อย่างสูงๆ น่ามหัศจรรย์ ล้วนแต่ไม่ปรากฏว่ามีตำราในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมาแต่ก่อน นักวิทยาศาสตร์พากันคิดได้จากหลักธรรมชาติ ซึ่งปรากฏมีอยู่ในโลกนี้ทั้งสิ้น เรามาหวนคิดถึงธรรมะก็มีอยู่ตามธรรมชาติเหมือนวิทยาศาสตร์นั่นเอง เมื่อคิดได้อย่างนี้ก็หมดห่วงในเรื่องการเรียนแล้วมาระลึกถึงพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ล้วนแต่ได้เรียนสำเร็จจากหลักธรรมชาติทั้งนั้นไม่ปรากฏว่าเคยมีตำรับตำรามาแต่ก่อน

    ด้วยเหตุผลต่างๆ ดังได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ตัวเราจึงยอมโง่ทางแบบ และตำราต้นไม้บางชนิดมันนอนกลางคืนแต่ตื่นกลางวัน บางชนิดก็นอนกลางวันแต่ตื่นกลางคืน สัตว์ป่าก็เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นยังได้ความรู้จากพฤกษชาติ ซึ่งมันคลายรสในตัวของมันออก บางชนิดก็เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย บางชนิดก็เป็นโทษแก่ร่างกาย อาทิเช่น บางคราวเราเป็นไข้เมื่อเข้าไปอยู่ใต้ต้นไม้บางชนิดอาการไข้ก็หายไป บางคราวเราสบายดี แต่พอเข้าไปอยู่ใต้ต้นไม้บางชนิด ธาตุก็เกิดแปรปรวน บางคราวเราหิวข้าวหิวน้ำ แต่พอเข้าไปอยู่ใต้ต้นไม้บางชนิด อาการหิวเหล่านั้นก็หายไป การได้ความรู้ต่างๆ จากพฤกษชาติเช่นนี้ เป็นเหตุให้นึกถึงแพทย์แผนโบราณ ซึ่งนิยมสร้างรูปฤาษีไว้เป็นที่เคารพบูชา ฤาษีนั้นไม่เคยได้เรียนตำรายามาแต่ก่อน แต่มีความสามารถสอนแพทย์แผนโบราณให้รู้จักยารักษาโรคได้ โดยวิธีการเรียนธรรมชาติโดยทางจิตเหมือนอย่างตัวเรานี้เอง น้ำ พื้นแผ่นดินหรืออากาศธาตุก็เช่นเดียวกัน

    ฉะนั้น เมื่อทราบเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ เราก็ไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องยารักษาโรค คือเห็นว่ามันมีอยู่ทั่วไป ส่วนที่ว่าเรารู้หรือไม่รู้ อันนี้เป็นเรื่องของตัวเราเอง นอกจากนั้นยังมีคุณความดีอย่างอื่นที่จะต้องบริหารตัวเอง นั่นคืออำนาจแห่งดวงจิตที่สามารถทำให้สงบระงับลงได้เท่าไร ก็ยื่งมีคุณภาพสูงขึ้นไปยิ่งกว่านี้อีกหลายสิบเท่า ซึ่งเรียกว่า"ธรรมโอสถ"

    สรุปแล้ว คุณประโยชน์ที่ได้รับในเรื่องการอยู่ป่าที่สงัดเพื่อปฏิบัติทางจิตนี้ เห็นจริงตัดข้อสงสัยในคำสอนของพระตถาคตได้เป็นข้อๆ ด้วยเหตุนี้ เราจึงยอมปฏิบัติตนเพื่อ"วิปัสสนาธุระ"ตลอดไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่

    ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นเนื่องในการได้ปฏิบัติทางจิตนี้ ถ้าจะนำมาพรรณนาก็มีอยู่มากมายแต่จะขอกล่าวแต่เพียงสั้นๆ เสมอเพียงเท่านี้

    ธรรมโอวาท

    - คนที่จะพ้นตาย ต้องทำตนเหมือนคนตาย
    - คนกลัวตายจะต้องตายอีก
    - ผู้ที่จะพ้นจากภพก็ต้องเข้าไปอยู่ในภพ ผู้ที่จะพ้นจากชาติต้องรู้เรื่องของตัว จึงจะเป็นไปได้
    - ถ้าทุกคนมีความคิดเห็นถูกต้อง การปฏิบัตินั้นเป็นเหตุไม่เหลือวิสัย
    - ขณะเรานั่งสมาธิหลับตาภาวนานั้น ก็ให้หลับแต่ตา ส่วนใจเราต้องให้สว่างไสว

    ผู้จะต้องถึงมรรคผลนิพพานได้นั้น จะต้องทำทางใจ ถ้าไม่ทำทางนี้แล้ว จะทำการกุศลสักเท่าไร ก็ถึงมรรคผลนิพพานไม่ได้ นิพพานนี้จะต้องถึงด้วยข้อปฏิบัติทางใจเท่านั้น ที่เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ศีลเป็นเหตุแห่งสมาธิ สมาธิเป็นเหตุแห่งปัญญา ปัญญาเป็นเหตุแห่งวิมุตติ สมาธิเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งแห่งปัญญาและญาณ อันเป็นองค์สำคัญของมรรค แต่จะขาดสมาธิไม่ได้ถ้าขาดแล้วก็ได้แต่จะคิดๆ นึกๆ เอา ฟุ้งซ่านไปต่างๆ ปราศจากหลักฐานสำคัญ

    สมาธิเปรียบเหมือนตะปู ปัญญาเปรียบเหมือนค้อนที่ตอกตะปู ถ้าตะปูเอียงไปค้อนก็ตีผิดๆ ถูกๆ ตะปูนั้นก็ไม่ทะลุกระดานนี้ฉันใด ใจเราจะบรรจุธรรมชั้นสูงทะลุโลกได้จะต้องมีสมาธิเป็นหลักก่อน แล้วจึงเกิดญาณ ญาณนี้จะได้แต่คนทำสมาธิเท่านั้น ส่วนปัญญาย่อมมีอยู่ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย แต่ไม่พ้นจากโลกได้เพราะขาดญาณ ฉะนั้นท่านทั้งหลายควรสนใจ อันเป็นทางพ้นทุกข์ถึงสุขอันไพบูลย์

    ปัจฉิมบท

    ฉะนั้น ชีวิตความเป็นมาของตน ก็ได้คิดมุ่งอยู่อย่างนี้เรื่อยมา นับตั้งแต่ได้ออกปฏิบัติในทางวิปัสสนากรรมฐานมาแต่ พ.ศ.2469 จนถึง พ.ศ.2502 นี้ได้อบรมสั่งสอนหมู่คณะสานุศิษย์ในจังหวัดต่างๆ ได้สร้างสำนักให้ความสะดวกแก่พุทธบริษัท เช่น จังหวัดจันทรบุรี 11 สำนัก การสร้างสำนักนี้มีอยู่ 2 ทาง คือ

    1. เมื่อลูกศิษย์ได้ก่อร่างสร้างตัวขึ้น ยังไม่สมบูรณ์ก็ช่วยเป็นกำลังสนับสนุน
    2. เมื่อเพื่อนฝูงได้ดำริสร้างขึ้นยังไม่สำเร็จ บางแห่งก็ขาดพระ ก็ได้ส่งพระที่เป็นศิษย์ไปอยู่ประจำต่อไป มีบางสำนักครูบาอาจารย์ได้ไปผ่านและสร้างขึ้นไว้แต่กาลก่อน ก็ได้เดินทางไปเยี่ยมและอบรมหมู่คณะเรื่อยมา จนบัดนี้ จังหวัดจันทบุรีมี 11 แห่ง นครราชสีมามีสำนักปฏิบัติ 2-3 แห่ง ศรีสะเกษ 1 แห่ง สุรินทร์ก็มีเพื่อนกรรมฐานทั้งนั้น อุบลราชธานีมีหลายแห่ง นครพนม สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี ระยอง ตราด ลพบุรี ชัยนาท ตาก นครสวรรค์ พิษณุโลก เป็นวัดที่ผ่านไปอบรมชั่วคราว ไม่มีสำนัก สระบุรีมี 1 แห่ง อุตรดิตถ์ก็เป็นจุดผ่านไปอบรม ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ นครนายก นครปฐม ได้ผ่านไปอบรมชั่วคราวยังไม่มีสำนัก ราชบุรีได้ผ่านไปอบรมยังไม่มีสำนัก เพชรบุรี มีพระเณรเพื่อนฝูงตั้งสำนักไว้บ้าง ที่ประจวบคีรีขันธ์ได้เริ่มสร้างสำนักที่อำเภอหัวหิน ชุมพรมีสำนักอยู่ 2-3 แห่ง สุราษฎร์ธานี ผ่านไปอบรมชั่วคราวไม่มีสำนัก นครศรีธรรมราช ก็ผ่านไปอบรมมีสำนักขึ้นก็รกร้างไป พัทลุง มีศิษย์ผ่านไปอบรมยังไม่มีสำนัก สงขลามีสำนักที่วิเวกหลายแห่ง ยะลา มีศิษย์ไปเริ่มอบรมไว้เป็นพื้น และได้เคยไปอบรม 2 ครั้ง

    ระหว่างออกพรรษาได้สัญจรไปเยี่ยมศิษย์เก่าๆ ของครูบาอาจารย์ที่เคยไปพักผ่อนมาแล้วก็ได้ไปอยู่เสมอมิได้ขาด บางคราวก็ได้หลบหลีกไปบำเพ็ญประโยชน์ส่วนตัวบ้าง นับตั้งแต่ได้อุปสมบทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2468 แต่มาสวดญัตติใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2470 จำเดิมแต่นั้นมาปีแรกที่ได้สวดญัตติแล้วได้อยู่จำพรรษาที่จังหวัดอุบลราชธานี 6 พรรษา มาจำพรรษาวัดสระปทุมพระนคร 3 พรรษา ไปจำพรรษาอยู่ที่เชียงใหม่ 2 พรรษา จำพรรษาที่จังหวัดนครราชสีมา 2 พรรษา จังหวัดปราจีนบุรี 1 พรรษา มาสร้างสำนักที่จันทรบุรี จำพรรษาอยู่ 14 พรรษา ต่อจากประเทศอินเดียผ่านประเทศพม่า ไปจำพรรษาที่วัดควนมีด จังหวัดสงขลา 1 พรรษา จากนั้นได้จำพรรษาที่วัดบรมนิวาส 3 พรรษา สมเด็จพระมหาวีรวงส์ (อ้วน) มรณภาพแล้วได้ออกไปจำพรรษาอยู่วัดอโศการาม 4 พรรษา พรรษาที่ 4 นี้ตรงกับปี พ.ศ. 2502 หลวงพีอเริ่มอาพาธหนัก ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2502 กระทั่ง พ.ศ. 2504 ท่านจึงถึงแก่มรณภาพในวันที่ 26 เมษายน 2504 รวมอายุ 54 ปี 3 เดือน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2005
  14. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร

    [​IMG]

    วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    หลวงปู่พระมหาบุญมี สิริธโร เดิมชื่อบุญมี สมภาค เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ตรงกับวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปี 11 คือปีจอ เป็นบุตรโทนของนางหนุก สมภาค และ นายทำมา สมภาค ที่บ้านขี้เหล็ก ตำบลรังแร้ง อำเภออุทุมพรพินัง จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อครั้งเป็นเด็กจะมีนิสัยรักความสงบและมีความใฝ่ใจในพุทธศาสนาอย่างมาก จนมีเรื่องเล่าว่าครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านเลี้ยงควายอยู่กลางทุ่งนาร่วมกับเด็กๆ ในหมู่บ้านเดียวกัน ท่านได้พบภาพพระพุทธรูปในแผ่นกระดาษแผ่นหนึ่งเข้า ก็เกิดความสนใจมากเป็นพิเศษจึงได้เก็บกระดาษแผ่นนั้นซ่อนเอาไว้ พอมีเวลาว่างท่านก็จะเอามานั่งดูจนเกิดปิติ จึงเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูป โดยมีเด็กเลี้ยงควายพากันนั่งดู และก้ปั้นบ่อยๆ มีความสวยงามด้วย เมื่อมีมากขึ้นหลวงปู่จึงได้แจกและแบ่งปันให้เพื่อนๆ เอาไป ตอนนั้นหลวงปู่บอกว่ามีอายุประมาณ 8-9 ปีเห็นจะได้ พออายุได้ประมาณ 10-12 ปี ท่านก็ได้เริ่มเรียนหนังสือกับหลวงน้า ซึ่งบวชพระอยู่ที่วัดใกล้ๆ บ้าน ท่านช่วยโยมมารดาทำนาและช่วยงานบ้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานของเด็กผู้หญิงก็ตาม ท่านทำทุกอย่าง นับว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถกว่าเด็กทั่วๆ ไป และที่สำคัญก็คือ มีนิสัยชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้านไม่ว่าเขาจะทำอะไรไม่ว่าจะเป็นงานหนักงานเบา ถ้าพอจะช่วยเหลือได้ท่านจะรีบช่วยทันที โดยไม่ต้องให้คนอื่นขอร้องและชอบถามคำถามที่เกี่ยวกับธรรมะอยู่เสมอ เช่น เห็นคนตายก็จะถามว่า คนไม่ตายไม่ได้หรือคนป่วยไม่ป่วยไม่ได้หรือ อย่างนั้นเป็นต้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    หลังจากที่หลวงปู่ พระมหาบุญมี สิริธโร เรียนจบชั้นประถมปีที่ 2 แล้ว ก็ไม่ได้เรียนต่อต้องออกมาช่วยโยมมารดาทำนาและงานบ้าน เลี้ยงควาย จนอายุได้ 17 ปี จึงได้มาบวชเป็นสามเณรอยู่กับหลวงน้า คือพระอาจารย์สิงห์ ผู้เป็นน้องชายของมารดา โดยบวชในฝ่ายมหานิกาย หรือที่เรียกว่า "วัดบ้าน" บวชได้ 1 พรรษา พอจวนจะเข้าพรรษาที่ 2 ซึ่งเหลือเวลาเพียง 1 เดือน โยมมารดาก็ขอร้องให้สึกออกมาช่วยทำงานบ้าน เพราะสุขภาพไม่ดี ท่านจึงต้องสึกออกมาช่วยโยมมารดาทำงานและได้สมัครทำงานเป็นคนขายหินทำทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา - สุรินทร์

    เมื่อหลวงปู่ อายุย่าง 18-20 ปี โยมมารดาจะขอผู้หญิงให้ตั้งหลายครั้ง แต่ท่านก็ปฏิเสธทุกครั้งไม่ยอมมีครอบครัว เพราะดูคนทั้งหลายแล้วมีความทุกข์ วิตกกังวล แทบทั้งสิ้น ยากที่จะทำจิตของตนให้ผ่องแผ้วได้ ท่านระลึกอยู่ว่า บวชจึงจะมีสุขหนอ การมีชีวิตอยู่อย่างฆราวาสนี้มีแต่ทุกข์ วิตก กังวล ไม่สิ้นสุดมีแต่ความรุ่มร้อน เหมือนฝุ่นละอองมาจากทิศต่างๆ มีเต็มอากาศไม่รู้ว่าจะหนีไปทิศใดได้มีแต่จะคลุกเคล้าละอองพิษลงสู่ใจ ใจก็มีแต่ความเศร้าหมอง เพราะท่านเห็นโทษของกามคุณ ถ้าผู้ใดกำลังเสพกามารมณ์อยู่เสมือนบริโภคเหล็กเผาไฟแดงๆ อยู่ จิตอขงท่านจึงรำลึกน้อมไปถึงการอุปสมบท ท่านจึงเอาความดำริในใจนี้เล่าสู่มารดาฟัง ว่าท่านอยากบวช โยมมารดาของท่านจึงได้อนุโมทนาและอนุญาตให้ออกบรรพชาอุปสมบทได้ จนถึงอายุ 21 ปี จึงขออนุญาตโยมมารดาชวบเป็นพระฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระอาจารย์สิงห์ เป็นภาระรับไปดำเนินการให้ทุกอย่างด้วยจิตใจที่ใฝ่ในเรื่องของการศึกษาในธรรม ท่านจึงมีความปรารถนาที่จะเรียนด้านปริยัติธรรม แต่เนื่องจากการศึกษาธรรมะ ในสมัยนั้นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุด คือวัดเลียบ ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์ กนุตสีโล เคยพำนักมาก่อนแต่เนื่องจากท่านเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย จึงค่อนข้างจะยุ่งยาก เพราะวัดเลียบเป็นวัดธรรมยุต ด้วยเหตุนี้พระอาจารย์สิงห์ (ไม่ใช่พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม วัดป่าสาลวัน) ซึ่งเป็นหลวงน้าของท่าน ได้รับภาระนำไปฝาก ท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก เจ้าอาวาสวัดเลียบ ท่านเจ้าคุณฯ บอกว่าจะต้องญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต พอได้ฟังดังนั้นหลวงปู่ก็ดีใจเป็นอันมาก ในการบวชใหม่ครั้งนี้ มีพระศาสนดิลกเป็นอุปัชฌาย์ พระมหาสว่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ได้รับฉายาว่า "สิริธโร" อุปสมบทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 เวลา 10.00 น. ณ วัดเลียบ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี หลังจากที่ได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านก็ได้ตั้งใจเล่าเรียนข้อวัตรปฏิบัติ จนเป็นที่เล่าลือว่าท่านเก่งมาก เพียงเวลาไม่นานท่านก็สอบนักธรรมตรี โท เอก ได้ และในปี พ.ศ. 2478 ก็ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พำนักอยู่สมัยปฏิบัติธรรมเริ่มแรก จากนั้น ในปี พ.ศ. 2479 ก็ได้เดินทางเข้าไปศึกษาหาความรู้ในกรุงเทพมหานคร จำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม เขตปทุมวัน อยู่ไม่นานก็สอบได้เปรียญ 3 ประโยค มีความแตกฉานเพระปริยัติมาก

    หลังจากหลวงปู่ ได้อุปสมบท 2 พรรษา โยมมารดาก็ได้ถึงแก่กรรม ในระหว่างนั้นจิตก็วิตกกังวลไปต่างๆ ท่านได้พิจารณาเห็น "อนิจจัง" ต่อมาท่านอยากจะออกธุดงค์ปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเดินทางกลับมายังภาคอีสาน แล้วก็ตั้งหน้าปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง

    พ.ศ. 2490-2494 จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นวัดที่หลวงปู่เสาร์, หลวงปู่มั่น, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่มหาบัวฯ ฯลฯ เคยจำพรรษา พำนักปฏิบัติธรรมมาก่อน
    พ.ศ. 2495-2500 จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านม่วง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    พ.ศ. 2501-2503 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าหนองบัว อ.พังโคน จ.สกลนคร
    พ.ศ. 2504-2505 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านเหล่า อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร
    พ.ศ. 2506-2508 จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านท่าสำราญ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
    พ.ศ. 2509-2519 จำพรรษาอยู่ที่วัดในเขตจังหวัดเลยหลายวัด เช่น ถ้ำเต่า, บ้านหมากแข้ง ฯลฯ
    พ.ศ. 2520-2530 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
    พ.ศ. 2531-2532 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าศรีโพธิ์ทอง อ.พนนไพร จ.ร้อยเอ็ด
    พ.ศ. 2533- จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองเกาะ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์
    พ.ศ. 2534-2535 จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวังเลิง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม้

    ธรรมโอวาท

    หลวงปู่บุญมี สิริธโร เป็นพระสุปฏิปันโนที่เผยแพร่ธรรมด้วยการปฏิบัติ อบรมสั่งสอนศานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและฆราวาสด้วยการทำจริง ทำตาม ปฏิบัติตาม มากกว่าการอบรมบรรยายเทศน์หรือแสดงธรรม แต่ในวาระวันสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือการได้รับอาราธนา หลวงปู่จะเมตตาแสดงธรรมเทศนาโปรดซึ่งมักใช้ภาษาอีสาน และมีผญาภิษิตของภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเปรียบเทียบให้ญาติโยมได้แปลความตีความวิเคราะห์พินิจพิจารณานัยแห่งความหมายธรรมะ ซึ่งใกล้ตัวและใกล้วิถีชีวิตชองการดำรงอยู่เป็นเนื้อแนวเดียวกันกับวัฒนธรรมการผลิตของชุมชน ดังที่จะได้ยกมาเป็นตัวอย่างพอสังเขปดังนี้ หลวงปู่บุญมี ได้เทศนาอบรมในวันเข้าพรรษาครั้งหนึ่งว่า

    การปฏิบัติเหมือนการทำนา มีคราดมีไถ มีการเก็บหญ้า กว่าสิได้หว่านข้าว หว่านแล้วกว่าสิงอก มันกะขึ้นของมันเอง บ่ได้บังคับนี่ฉันใด หัวใจของคนก็คือกัน สงบราบคาบแล้วมันกะสิเกิดเอง เกิดแล้วจังค่อยพิจารณามัน พิจารณาให้มันแตก คันบ่แตกกะให้คาโตเองไปศึกษาเอาเองบ่ได้ มันเกิดของมันเอง เมื่อมันเกิดเองเฮาต้องแก้เอง ให้ตัวเองแก้เอง ถ้าแก้ถือแล้ว มันกะบ่อมีที่ไป กะเป็นสุขคือความบ่เป็นหยังเป็นทุกข์คือบ่เกิดทุกสิ่งทุกอย่างกะไปอยู่ความสุขเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาคิดกะบ่แล้ว วิปัสสนา เป็นการขุดฮาก สมถะเป็นการชำระ ผู้หลงหรือฮู้กะอยู่โตเดียวกัน ฮู้เรื่องการ ปฏิบัติบ่แม่นฮู้ย่อนการศึกษา จั่งให้มีสติ ฮู้กะให้ฮู้ถึงใจฮู้ถึงตนถึงตัวการอบรมสติคันบ่ศึกษามันกะบ่แล้ว ต้องอบรมเจ้าของให้มันเป็นไปเอาเอง มันจั่งแล้ว ถ้าเจ้าของแก้บ่ได้ผู้อื่นกะแก้บ่ตกคือกัน โอเฮาแก้โตเฮามันจั่งแก้ได้ แก้ให้มันถึงที่สุดมันกะสิแล้วนั้นแหละ มันเป็นปัจจัยตังทั้งหมด สันทิฏฐิโก เห็นด้วยตัวเอง ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหิ วิปัสสนาสันทิฏฐิโก นอกจากความฮู้ ความเห็นเป็นบ่ได้ ทุกข์เกิดความอยาก อยากกะอยากดี อยู่ทางโลกมีแต่ควาทุกข์กับความอยากสองอย่างนี่มันได้รับกัน ศาสนากะอาศัยมรรค อาศัยทางโลก เข้าพรรษาอยู่ในไตรมาส 3 เดือน นับตั้งแต่มื้อนี้เป็นต้นไปึงกลางเดือนสิบเอ็ดบ่จำเป็นบ่ให้นอนบ่อนอื่น บ่ให้ไปแจ้งนอกวัด สังเกตเบิ่งวัดมีฮั้วล้อมเป็นเขต ถ้ามีความจำเป็นมีพ่อมีแม่เจ็บป่วย อนุญาตให้ไปดูแลรักษาได้การอื่นไปบ่ได้ไปกะไปด้วยสัตตาหะ ได้ 6 มื้อ มื้อที่ 7 ให้มาถึงวัด มื้อนี้คือมื้อสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เป็นมื้อที่พระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมพระเทศนาธรรมจักรอนัตตาเทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ก่อนแสดงพระธรรมจักรกับอริยสัจ 4 ให้มีการอธิฐานตาม ความสามารถของเจ้าของในธุดงค์วัตร 13 ข้อ เอาข้อใดข้อหนึ่ง คันสิเอาทั้งเหมิด คือ สิบ่ได้ เฮ็ดหยังให้เฮ็ดอีหลี อย่าเฮ็ดเล่นๆ คันเฮ็ดเล่นบ่เป็นหยัง บ่มีสติสตังมันกะบ่ยากได้อีหยังเลยพากันรักษาวินัย ธุดงค์เป็นวินัย ธรรมะรักษาใจบำเพ็ญภาวนา ให้ธรรมเกิดขึ้นผู้ใดสิอธิษฐานหยังกะให้อธิษฐานเอา บิณฑบาตฉันเป็นวัตร ฉันเถื่อนเดียว ฉันบ่อนั่งเดียวห่อแนวกินใส่บาตร อย่าเอาแต่ถุงพลาสติกใส่บาตร ให้ใช้ใบตอบห่อ แม่ออกกะต้องอธิษฐานใส่บาตร หรือรักษาใจของตนให้มีสติสตังอันนี้รักษาไว้ปฏิบัติไว้เผื่อหยัง เมื่อนั่งภาวนา ให้เป็นผู้มีสติ อย่าให้มันขาด ธรรมะจังสิเจริญขึ้น ชาดว่าเฮ็ดซื่อๆ บ่มีสติธรรมะมันบ่เกิดเกิดขึ้นมันเกิดแนวบ่ดีแนวดีมันบ่ได้ มันบ่เกิดให้ ถ้าสิดีได้นอกจากความมีสติ ฯลฯ

    หลวงปู่สอนให้ศึกษาจากเบื้องต่ำสุดเริ่มจาก เช่น

    ศีล คืออะไร ทุกศาสนาก็มีศีล มีสอนอะไรเราศึกษาหมดเมื่อยังประพฤติตามที่พระองค์สอนหมดหรือยังจุดประสงค์ ที่ศึกษาเรื่องศีล สรุปศีลคืออะไร

    สมาธิก็สอนทุกๆ ศาสนาผิดแตกต่างบ้างอยู่ที่วิธีการ จุดประสงค์คือการที่ต้องการให้จิตใจเป็นปกติในเมื่อมีผัสสะ อะไรเกิดขึ้น เมื่อศีลเป็นปกติ สมาธิก็จะไม่ถูกรบกวนแต่จิตเป็นสิ่งที่ชอบโลดแล่นโดดไปมาตามอายตนะกระทบผัสสะ เกิดเป็นรูปเป็นนาม ก็เกิดชอบไม่ชอบรูปนั้นขึ้นมา แต่สุดท้ายก็ต้องเข้าใจว่ามันทุกข์ ทั้งสองอย่างนั่นแหละ ทั้งกุศลและอกุศล

    สติ จึงจำเป็นต้องมีสติ พัฒนาให้มีกำลังเพียงพอที่จะไปทำหน้าที่ควบคุมจิต จิตเป็นสิ่งที่จะต้องถูกควบคุมด้วยสติ ถ้าใช้สติยึดมั่นถือมั่นดื่มด่ำลงสู่ขณิกสมาธิ-อุปจารสมาธิและเข้าสู่แดนของปฐมฌานคือ จิตเข้าสู่ความสงบยิ่งในนามอัปนาสมาธิ พักชั่วขณะหนึ่งถอนความรู้สึกมาอยู่ที่อุปจารสมาธิ เพื่อสร้างสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวให้มีควบคู่กับสติให้เป็นอันเดียวกัน สัมปชัญญะ คือความรู้สึกตัวเกาะกุมอยู่กับสติ ที่กำลังควบคุมจิตอยู่จะต้องเลือกดูพระกรรมฐาน 40 ห้องจ่อมดวอลขยแยาฝขงาสถูกจริตแต่ละห้อง ถ้าทำถูกจริตถ้าทำปุ๊บ ก็สว่าง-สงบ-ก้าวหน้าแสดงว่าถูกจริตกับกองธรรมฐานนั้นๆ ยังมีสิ่งที่จะต้องศึกษาอีกมาก เช่น ไม่ใช่ไปอ่านเอาฟังเอา ต้องเกิดจากการปฏิบัติเอาและนี่คือหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะเป็น วิปัสสนากรรมฐาน จุดเริ่มต้นของ ปฐมฌาน โดยต้องศึกษาเรื่อง

    1. ศีล สมาธิ ปัญญา
    2. ศึกษาเรื่อง สติปัฎฐาน 4 ให้เข้าฝึกจนมีสมรรถภาพ มีพลังของสติโดยรู้ด้วยอารมณ์ของเจตสิก ว่ามีกำลังเพิ่มขึ้นๆ เป็นสติที่จะอำนวยความสะดวก ในการจะเข้าปฐมฌาน
    3. ต้องศึกษาพุทธประวัติ และคำสั่งสอนให้รู้ซึ้งถึงความยากลำบาก กว่าจะได้เป็นสมณโคดมพระพุทธเจ้า
    4. ต้องศึกษา มรรค 8

    ทั้งหมดเป็นธรรมที่เป็นทางที่จะต้องเดินเข้าไปสู่ผลเท่านั้น ผลก็จะต้องได้จากการปฏิบัติที่จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกเอา ท่านว่าอย่าไปเสียดายมันเลยชีวิตนั้น เดี๋ยวก็ตายทิ้งไปเปล่าๆ วางความตายเสีย อย่าไปเสียดายความมีอยู่เลย มันหลอกให้เราทุกข์ทั้งนั้น เกิดซ้ำๆ ซากๆ ไม่หยุดหย่อนให้ผ่อนคลายเลย นี่เป็นทาง (ชี้ไปที่หัวใจ) ทั้งหมดนี้เป็นการย่นย่อคำสอนให้สั้นที่สุด เพื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่กำหนดตายตัว

    สำหรับผญาปริศนาธรรมและภาษิตคำสอนที่หลวงปู่อบรมสั่งสอนสานุศิษย์ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และจริตลีลาในการอบรมธรรมของหลวงปู่เป็นต้นว่า

    หลวงมั่นใหญ่ที่สุด

    ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยสติทั้งหมด

    อีลุมปุมเป้า สามเปาเก้าขอด สุดยอดพระคาถา บารมีงุมไว้ แก้บ่ได้ เมื่อบ้านอ่านสาร

    กกอีตู่เตี้ยต้นต่ำใบดก ฮากบ่ทันฝังแน่น ซ่างมาจีจูมดอก ฮากบ่ทันหยั่งพื้น ซ่างมาปี้นป่งใบ

    อัศจรรย์ใจกุ้งพุงบ่มีซ่างมาเลี้ยงลูกใหญ่ ไส้บ่มีอยู่ท้องซ่างมาได้ใหญ่มา

    แก้บ่ขัดสามปีเป็นหินแฮ่ พี่น้องบ่อแหว่สามปีไปเป็นอื่น

    ชีวิตน้อยหนักหนา พึงฮู้ว่าลมหายใจ ชีวิตยังเป็นไป ลมหายใจชีพจร

    แม่น้ำท่อฮอยวัว บ่มีผู้ใด เฮ็ดขัวข้ามได้ เว้นไว้แต่ผู้ฮู้เหตุผล

    ผักหมเหี่ยนริมทางอย่างสิฟ้าวเหยียบย่ำ บัดมันทอดยอดขึ้นยังสิได้ก่ายเดิน

    กินมำๆ บ่คลำเบิ่งท้อง

    สี่คนหาม สามคนแห่ คนหนึ่งนั่งแคร่ สองคนพาไป

    ดีหรือชั่วเป็นของประจำตัว

    เป็นใหญ่แล้ว เป็นน้อยบ่อเป็น

    สุกณา เป็นเสียงฮ้อง ปฐพี เป็นหม่องเล่น แม่นทีเป็นหม่องอยู่

    ขวาแข็งแรงกว่า ขวาแข็งแรงที่สุด ปทักขิณา ปทักขิ

    มีตาให้ดู มีหู้ให้ฟัง

    ฟานกินหมากข้ามป้อม ซ่างมาคาคอมั่ง มั่งบ่ขี่สามมื้อกระต่ายตาย กระต่ายตายแล้วเห็นอ้มผัดเน่านำ

    เกิดมาหยังเกิดมาเพื่อสร้างบุญญาบารมีหนีให้พ้นทุกข์

    การปฏิบัติให้มันฮู้ จั่งแบ่งเวลา ให้มันมี เช้า-สาย-บ่าย-เย็น ให้มันมีกิน มีนอน มีเฮ็ด มีทำ เฮ็ดกินส่วนตัวแล้วกะมาเฮ็ดกินส่วนรวม

    ใจประสงค์สร้างกลางดงกะว่าท่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะว่าดง

    มุดน้ำอย่าสิเฮ็ดก้นฟู จกฮูอย่าสิเฮ็ดแขนซั่น

    ปัจฉิมบท

    หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร เป็นพระสุปฏิปัจโน บุตรของกองทัพธรรม พระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น สานุศิษย์คาดว่าหลวงปู่บุญมีไม่ได้พบหรือได้ฟังธรรมภายนอกจากพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตโดยตรง แต่การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ของหลวงปู่บุญมี อยู่สำนักเดียวกับหลวงปู่เสาร์คือวัดเลียบ และไปพำนักอยู่วัดบูรพาสำนักเก่าแก่ดั้งเดิมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตเถระ นั่นเองด้วยบริบทและสภาวะธรรมของของสำนักวัดเลียบ วัดบูรพาราม และทราบประวัติของพระอาจารย์ใหญ่บูรพาจารย์ทั้งสองขณะที่ศึกษาปริยัติอยู่วัดนี้ ซึ่งเป็นแบบอย่างของการแสวงหาโมกธรรม เกิดแรงบันดาลใจและมองเห็นลู่ทางธรรมที่เหนือกว่าการศึกษาปริยัติ จึงเป็นสิ่งที่หลวงปู่ฝังใจตลอดเวลา เมื่อไปศึกษาปริยัติธรรมที่เมืองกรุงที่วัดปทุมวนารามก็ได้รับทราบเรื่องราวที่บูรพาจารย์และพระป่ามาพำนักที่นี่หลวงปู่จึงทิ้งป่าคอนกรีตออกปฏิบัติธรรมอย่างอุกกฤษ ตามรอยพระพุทธองค์และบูรพาจารย์ทั้งสอง โดยมีสหธรรมมิกที่เคยปรนนิบัติและรับใช้บูรพาจารย์ที่ธุดงค์ร่วมกันถ่ายทอดคำสั่งสอนมรรควิธีของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตหลวงปู่จึงถือว่าบูรพาจารย์ทั้งสองเป็นพระอาจารย์ และมีความสนิทคุ้นเคยกับกลุ่มกองทัพธรรมสายนี้ที่สุด ดังจะเห็นได้ว่าหลวงปู่เป็นที่เคารพนับถือของพระสุปฏิปันโนทั้งรุ่นศิษยานุศิษย์หลวงปู่มั่น และรุ่นหลานศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก นับตั้งแต่หลวงปู่มหาบัว ญานสมฺปนฺโม หลวงพ่อพุทธ ฐานิโย หลวงปู่ศรี มหาวีโร หลวงพ่อเมือง หลวงพ่ออุ่น วัดป่าแก้ว พระอาจารย์อินทร์ถวาย ฯลฯ ดังจะเห็นได้จากงานพระราชท่านเพลิงศพที่เป็นวาระการชุมนุมของคณะศิษยานุศิษย์สายหลวงปู่มั่น มากที่สุดครั้งหนึ่งและในงานรำลึกบูชาพระเถราจารย์ฝ่ายปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงปู่มั่น ณ วัดโพธิสมพร อุดรธานี ประวัติและรูปของหลวงปู่ก้ได้รับการเผยแพร่ในงานนิทรรศการนี้ด้วย

    หลวงปู่เริ่มอาพาธหนักในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2532 ในระหว่างที่พักจำพรรษา อยู่ที่วัดป่าศรีโพธิ์ทอง อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด สาเหตุเกิดจากการหกล้มในขณะเดินเข้าห้องน้ำแล้วเกิดอาการเข่าอ่อน หลังจากนั้นท่านเกิดอาพาธเดินไม่ได้ คณะศิษย์จึงได้พยายามช่วยกันรักษาพยาบาลอาการอาพาธของท่าน ทั้งด้วยยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบันแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้นในที่สุดผู้ใหญ่สัญชัย และกำนันเซ็ง จึงได้นิมนต์ต่านไปรักษายาแผนโบราณ ที่ อ.สตึก โดยพักจำพรรษาที่วัดป่าเกาะแก้วประเสริฐ์ อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ พร้อมกับไปรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชด้วย ในบางโอกาสจนอาการดีขึ้น

    ภายหลังจากนั้น คณะศิษย์จากจังหวัดมหาสารคามได้พากันไปอารมธนานิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาที่วัดป่าวังเลิง และท่านก็ได้มาพักจำพรรษาที่วัดป่าวังเลิง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2533 ครั้งต่อมาในปี พ.ศ.2534 หลวงปู่ก็ได้เกิดอาพาธอีกครั้งหนึ่ง คณะศิษย์จึงได้นำตัวท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น และตั้งแต่นั้นมาอาการอาพาธของหลวงปู่ก็มีแต่ทรงกับทรุดมาตลอด ตามลำดับดังนี้

    เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ครั้งที่ 1 วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2534 ออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2534

    เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ครั้งที่ 2 วันพุทธที่ 25 ธันวาคม 2534 ออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2535

    เข้ารักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2535 และในเช้าวันที่ 28 มีนาคม 2535 ท่านก็ได้อนุญาตให้ นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ เพื่อทำการผ่าตัดใส่สายยางทางหลอดลม เข้า โอ อาร์ เวลา 16.15 ออกเกือบจะเวลา 17.00 น. และฟื้นเวลาประมาณ 20.00 น. หลังจากนั้นอาการอาพาธของหลวงปู่ ก็ทรุดหนักมาเรื่อยๆ จนเป็นที่หนักใจของแพทย์และคณะศิษยานุศิษย์ผู้เฝ้ารักษาพยาบาลเป็นอย่างมาก จนในที่สุดหลวงปู่ก็ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 เวลา 10.10 น. ตรงกับวันจันทร์ แรม 3 ค่ำ เดือน 5 ปีวอก สิริรวมอายุหลวงปู่ได้ 81 ปี 6 เดือน 6 วัน

    เหลือเพียงภาพลักษณ์แห่งความเป็นพระภิกษุ ที่เยือกเย็นเบิกบาน เมตตาหาที่ประมาณมิได้ สันโดษ เรียบง่าย และแบบอย่างแห่งมรรควิธีไปสู่ความหลุดพ้น ที่พุทธศาสนิกชนจะต้องปฏิบัติตาม ขออำนาจบารมีธรรมของหลวงปู่ที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาจงแผ่เมตตาบารมีให้ พุทธบริษัทได้เกิดธรรมจักษุ พบแก่นพุทธธรรม เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของสรรพสัตว์ทั้งพิภพด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2005
  15. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    หลวงปู่มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=164 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=164>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>หลวงปู่มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน หรือ "หลวงตามหาบัว" ถือกำเนิดในตระกูล "โลหิตดี" เมื่อวันที่ 12 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2457 ณ หมู่บ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อนายทองดี มารดาชื่อ นางแพง มีพี่น้องรวมกัน 12 คน ครอบครัวมีอาชีพทำนา ในวัยเด็กท่านได้รับการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับชั้นสูงสุดในสมัยนั้น

    ในตอนเป็นฆราวาส ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยพูดจริง ทำจริง รักคำสัตย์ หนักแน่นในเหตุผล อุปนิสัยอันนี้เองที่ช่วยให้การปฏิบัติธรรมของท่านเป็นผลสำเร็จในเวลาต่อมา การดำรงชีวิตในเบื้องต้นท่านได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของครอบครัว เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจในกิจการงานทั้งปวง จนบิดามารดาหวังฝากผีฝากไข้กับท่าน ตามประเพณีของไทยเรานั้นเมื่อลูกชายมีอายุครบบวชก็มักจะให้บวชเรียนเสียก่อนก่อนที่จะมีครอบครัวครองเรือนต่อไป

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

    เมื่อนายบัว โลหิตดี มีอายุได้ 21 ปี บิดามารดาได้ขอร้องให้เขาได้บวชเรียน เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณตามประเพณี ในที่สุดท่านก็ตัดสินใจบวช เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 ณ วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระราชเทวี (จูม พนฺธุโล ต่อมาเป็น พระธรรมเจดีย์) เป็นพระอุปัชฌายะ ได้รับฉายาว่า "ญาณสมฺปนฺโน" ท่านตั้งใจไว้ว่าจะบวชพอเป็นประเพณีเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจว่าจะบวชนานเท่านี้

    ครั้นบวชแล้ว พระภิกษุบัว ญาณสมฺปนฺโน ก็ได้ศึกษาพุทธประวัติและประวัติพระอรหันตสาวก จนเกิดความเลื่อมในศรัทธาใน พระศาสนาอย่างจริงจังท่านจึงตั้งใจว่าจะศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมเสียก่อน เพราะถ้าไม่ศึกษาแล้วจะไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติ โดยตั้งความหวังไว้ว่าจะเรียนปริยัติธรรมทั้งแผนกนักธรรมและแผนกบาลี สำหรับแผนกบาลีนั้น ท่านตั้งใจว่าจะสอนให้ได้เพียงแค่เปรียญธรรมสามประโยคก็พอ ทั้งนี้เพื่อเป็นกุญแจเปิดตู้พระไตรปิฎก และเป็นอบายเข้าถึงการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้อง แต่จะไม่ให้เกินเลยเปรียญธรรม 3 ประโยคไป เพราะจะทำให้เหลิงและลืมตัว

    ในระหว่างที่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่นั้นพระภิกษุบัว ญาณสมฺปนฺโน ก็ได้ฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนาไปด้วย การศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมก็สอบไล่ได้ ตกบ้าง แต่ในที่สุดความปรารถนาของพระภิกษุบัวก็เป็นจริง เมื่อท่านสามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอกพร้อมกับเปรียญธรรม 3 ประโยคในปีเดียวกันนั้น รวมเวลาที่ศึกษาเล่าเรียนปริยัติธรรมเป็นเวลา 7 ปี

    ครั้นสอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ก็มุ่งออกปฏิบัติด้านเดียว จิตใจของท่านจึงมุ่งสู่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตั้งแต่สมัยที่ท่านเป็นเด็ก จนกระทั่งท่านอุปสมบทแล้ว ชื่อเสียงของหลวงปู่มั่นก็ยิ่งฟุ้งขจรไปไกล ในตอนที่พระมหาบัวจำพรรษาอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ ได้พบปะพูดคุยกับครูบาอจารย์ที่เคยอยู่กับหลวงปู่มั่นมาเล่าให้ฟังถึงปฏิปทาและข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่นว่า หลวงปู่มั่นไม่ใช่พระธรรมดา หากแต่เป็นพระอริยะผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เมื่อได้ฟังดังนั้น จิตใจของพระมหาบัวก็ยิ่งฝังลึกลงในการที่จะปฏิบัติตนให้พ้นทุกข์ และอยากจะฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น ด้วยมั่นใจว่ามรรคผลนิพพานยังมีอยู่

    ในพรรษาต่อมา (คือพรรษาที่ 8) พระมหาบัวได้ไปจำพรรษาอยู่ที่อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา เพื่อฝึกปฏิบัติสมาธิภาวนา จนจิตเข้าถึงความสงบ ท่านเร่งทำความเพียรอย่างหนักทั้งนั่งสมาธิทั้งเดินจงกรม ในเวลาต่อมาพระผู้ใหญ่จะให้พระมหาบัวเดินทางเข้าไปศึกษาต่อ ในกรุงเทพฯ ท่านเห็นว่าจะผิดกับปณิธานและเสียคำสัตย์ที่เคยตั้งใจว่าจะเรียนให้ได้เพียงแค่เปรียญธรรม 3 ประโยค ท่านจึงหนีกกลับมาอยู่บ้านเดิมคือบ้านตาด ณ ที่นี่แทนที่ท่านจะได้เจริญสมาธิภาวนาให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป กลับปรากฏว่าจิตใจไม่ค่อยสงบ เพราะมัวแต่ทำกลดไม่เสร็จสิ้น

    พระมหาบัวคิดว่า ถ้าอยู่บ้านเกิดต่อไปคงไม่ดีแน่ มีแต่จะขาดทุน จึงเดินทางหนีจากบ้านตาด มุ่งหน้าไปหาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งตอนนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าโนนนิเวศน์ อุดรธานีแต่ก็ไม่ได้พบหลวงปู่มั่น เพราะท่านได้รับนิมนต์ไปจังหวัดสกลนครเสียก่อน เมื่อตามไปไม่ทันพระมหาบัวจึงไปพักอาศัยอยู่ที่วัดทุ่งสว่าง จังหวัดหนองคายเป็นเวลาสามเดือนกว่า พอถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2485 ก็ออกเดินทางจากจังหวัดหนองคายไปจังหวัดสกลนคร ได้พบหลวงปู่มั่นที่บ้านโคก ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พอไปถึงก็พบหลวงปู่มั่นกำลังเดินจงกรมอยู่ในเวลาโพล้เพล้

    เมื่อได้พบหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตแล้วก็สมใจนึกทุกอย่าง เพราะได้ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่นเป็นครั้งแรก ก็เกิดศรัทธาปสาทะขึ้นมาทันที และดูเหมือนว่า หลวงปู่จะทราบเรื่องราวทุกอย่างของพระมหาบัวหมดแล้ว หลวงปู่ได้กล่าวหลักธรรมยืนยันว่า มรรคผลนิพพานเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เสมอและให้ผลแก่ผู้ปฏิบัติในปัจจุบันทันที จนพระมหาบัวหมดความสงสัย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ท่านได้มอบตัวเป็นศิษย์และอยู่ศึกษาอบรมสมาธิภาวนาในสำนักของหลวงปู่มั่นเรื่อยมา ด้วยความจริงใจและเด็ดเดี่ยวพระมหาบัวได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานในป่าอันสงัด ห่างไกลจากบ้านเรือนของผู้คน โดยตั้งปณิธานไว้ว่า จะเป็นก็เป็น จะตายก็ตาย จิตมุ่งอยู่แต่สมาธิภาวนาเท่านั้น

    ขณะที่ศึกษาอบรมอยู่กับหลวงปู่มั่นนั้น พระมหาบัวก็ได้เรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติอันเป็นเครื่องขูดเกลากิเลส ตลอดถึงจิตภาวนาที่หลวงปู่มั่นได้พาดำเนินไปด้วยความถูกต้องดีงาม ตามหลักพระธรรมวินัยซึ่งพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้สืบทอดข้อวัตรปฏิบัติเรื่อยมาและได้ใช้เป็นแนวทางในการอบรมสั่งสอน พระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกาในเวลาต่อมา ด้วยเหตุที่ท่านเคารพเทอดทูญหลวงปู่มั่นอย่างสุดหัวใจโดยเรียกหลวงปู่มั่นว่า "พ่อแม่ครูบาอาจารย์" เพราะหลวงปู่มั่น เปรียบเสมือนพ่อกับแม่ และเป็นครูเป็นอาจารย์ในองค์เดียวกันหมด ด้วยคารวธรรมอันสูงส่งนี้เองจึงเป็นพลังใจให้พระอาจารย์มหาบัวได้เขียนหนังสือ "ประวัติหลวงปู่มั่น" เพื่อเผยแพร่ข้อวัตรปฏิบัติ ตลอดจนชื่อเสียงเกียรติคุณให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบเป็นคติ เป็นการบูชาคุณท่าน และยังได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับภาคปฏิบัติธรรมการฐานอีกหลายเล่ม รวมทั้งการบันทึกเทปธรรมะเป็นการเผยแพร่อีกด้วย

    พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้อยู่จำพรรษาที่วัดบ้านโคกกับหลวงปู่มั่น เป็นเวลา 2 พรรษา แล้วติดตามหลวงปู่มั่นไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคอีก 6 พรรษา รวมเวลาที่อยู่กับหลวงปู่มั่นทั้งหมด 8 ปี จวบจนหลวงปู่มั่นถึงแก่มรณภาพ ในปี พ.ศ. 2492

    ครั้นเสด็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว พระอาจารย์มหาบัวก็ได้ หลีกเร้นเข้าป่าเขา เพื่อแสวงหาสถานที่อันสงัดวิเวกมุ่งบำเพ็ญภาวนาแต่เพียงรูปเดียว แต่หมู่คณะพระสงฆ์สามเณรก็ขอติดตามไปด้วยเพื่อหวังให้ท่านอาจารย์ได้ช่วยอบรมสั่งสอน ท่านอาจารย์ก็พยายามหลีกหนีจากหมู่คณะ เพื่อเร่งบำเพ็ญเพียรของตนเองให้บรรลุจุดหมายปลายทางที่ตั้งไว้ พระอาจารย์มหาบัวก็หวนมาพิจารณาสงสารหมู่คณะที่หวังพึ่งพิงครูบาอาจารย์เช่นเดียวกันกับท่านที่เคยหวังพึ่งพิงครูบาอาจารย์มาแล้ว ท่านอาจารย์จึงได้นำข้อวัตรปฏิบัติและธรรมอันวิเศษที่ได้รู้เห็นประจักษ์แก่ใจมาสั่งสอนหมู่คณะ

    ในครั้งแรกนับจำเดิมแต่หลวงปู่มั่นมรณภาพ ท่านอาจารย์มหาบัวได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองผือนาใน ซึ่งท่านเคยจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่มั่น เนื่องจากเมื่อหลวงปู่มั่นล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว พระสงฆ์สามเณรที่เคยมีอยู่จำนวนมาก ก็แตกกระจัดกระจายหนีไปอยู่ที่อื่น เหลือแต่พระหลวงตาเฝ้าวัดอยู่เพียงรูปเดียว ท่านอาจารย์รู้สึกสังเวช สลดใจในความเปลี่ยนแปลง จึงได้ย้อนกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้หนึ่งพรรษา ในปีถัดมา (พ.ศ. 2493) ท่านอาจารย์ได้ออกธุดงค์หาสถานที่อันสงัดวิเวก และได้พักจำพรรษาอยู่วัดบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเป็นจังหวัดมุกดาหาร) อีก 4 พรรษา ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่ที่นี่ ท่านอาจารย์ได้เข้มงวดกวดขันเอาจริงเอาจังกับการอบรมสั่งสอนพระภิกษุสามเณร ทั้งในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติธุดงควัตร และเจริญสมาธิภาวนาจนทำให้พระสงฆ์สามเณรมีหลักยึดเหนี่ยวของจิตใจมากยิ่งขึ้น

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 ท่านอาจารย์มหาบัวก็ได้จาริกแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรมผ่านไปทางจังหวัดจันทบุรี และได้สร้างวัดจำพรรษาอยู่ที่นั่น 1 พรรษา ระยะต่อมาได้ทราบข่าวว่าโยมมารดาของท่านป่วย ท่านอาจารย์จึงได้เดินทางกลับมาตุภูมิที่บ้านตาด เพื่อดูแลโยมมารดา ชาวบ้านได้นิมนต์ให้ท่านไปพำนักในป่าบริเวณทางทิศใต้ของหมู่บ้าน พร้อมทั้งนิมนต์ท่านให้อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งเสียที เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้าน โดยได้บริจาคที่ดินประมาณ 263 ไร่เพื่อสร้างวัด ท่านอาจารย์ได้พิจารณาเห็นว่าโยมมารดาของท่านแก่ชรามากแล้ว สมควรที่จะอยู่ช่วยดูแลเป็นการตอบแทนบุญคุณของมารดาด้วย ท่านอาจารย์จึงตกลงใจรับนิมนต์และเริ่มสร้างวัดนี้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ตั้งชื่อวัด "วัดป่าบ้านตาด" จนตราบเท่าทุกวันนี้

    ธรรมโอวาท

    ธรรมโอวาทของท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ซึ่งท่านได้แสดงไว้ใน โอกาสและสถานที่ต่างๆ เป็นเวลาเกือบ 40 ปีมาแล้ว ก็พอจะประมวลได้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ "พลธรรม 5" หมายถึงหลักพระธรรมที่เป็นกำลังสำคัญในการประพฤติปฏิบัติธรรม อันได้แก่ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ท่านอาจารย์ได้ดำเนินชีวิตตามหลักพลธรรมนี้ตลอดมา โดยให้เหตุผลว่า "ผู้ไม่ห่างเหินจากธรรมเหล่านี้ ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่ขาดทุนและล่มจม เป็นผู้มีความหวังความเจริญก้าวหน้าไปตามลำดับ"

    ความเพียรทำให้พ้นทุกข์ได้
    การต่อสู้กับกิเลสให้ได้ผลนั้นต้องฝึกฝนทรมานตนเองอย่างหนัก ทำความเพียรให้มากๆ แต่ผู้ปฏิบัติใหม่ๆ มักจะทนไม่ได้ ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่ปรากฏชื่อลือนาม เราได้กราบไหว้บูชากันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนแต่เป็นผู้ฝึกทรมานตนมาแล้ว ผ่านการทดสอบจนเป็นที่แน่ใจ ทั้งเจ้าของผู้ฝึกฝนทรมานตนก็ไม่มีอะไรจะเสียหายเพราะการฝึกนั้น ต่อไปเป็นเรื่อง "มีทุกข์เหมือนติดคุก"

    รักต่อสู้ต้องฝืน
    พักปฏิบัติจึงต้องค้นคว้า จึงต้องพินิจพิจารณา จึงต้องฝืน การต่อสู้กันต้องฝืน ไม่ฝืนไม่เรียกว่าการต่อสู้ อยู่เฉยๆ จะเรียกว่าต่อสู้ได้ยังไง การทำหน้าที่ต่อสู้กันนั้นต้องฝึกทั้งนั้นแหละ ลำบากก็ฝืน ทุกขืก็ฝืน ขัดข้องขนาดไหนก็ฝืน โง่ก็ฝืน โง่ก็ฝืนความโง่ให้เป็นความฉลาด แก้ความโง่ด้วยความฝืน

    อย่าลืมตัว
    ผู้ปฏิบัติธรรมจึงใคร่ครวญด้วยปัญญา อย่าละหลวมลืมตัว ไม่เหมือนผู้ ไม่ปฏิบัติธรรม โดยทั่วๆ ไปเลย เวลาเกิดทุกข์ก็ต่างกัน ผู้ปฏิบัติธรรมพอมีทาง หลบหลีก มีทางแยกแยะ มีทางผ่อนคลายด้วยอุบาย ถึงจะเป็นมากก็พอแบ่ง เบาตัวได้ ไม่ได้ยกแบกหามกันทั้งหมด ไม่ได้แบกกันทั้งความทุกข์กายและความ ทุกข์ใจ

    ราคาก่อกวน
    ราคาตัณหาเป็นเครื่องเขย่าก่อกวนให้ดิ้นรนกวัดแกว่ง ดิ้นรนกระวน กระวาย นั่นละตัวมันดิ้นที่สุดคือตัวนี้ เมื่อฆ่าสาเหตุตัวมาให้ดิ้นเสียแล้วอะไร จะมาดิ้น คนดิ้นตายมีความสุขไหม คนไม่ดิ้ต่างหากมีความสุข

    มีทุกข์เหมือนติดคุก
    เราจะไปโลกไหน ถามเจ้าของซิ โลกไหนโลกวิเศษ ถ้าลงได้กิเลสบีบหัวใจอยู่แล้วมันก็เหมือนกับนักโทษ ย้ายจากเรือนจำนั้นสู่ เรือนจำนี้ ก็คือนักโทษย้ายที่ย้ายฐานนั่นเอง มันมีความสุข ความเจริญ ความเลิศเลออยู่ตรงไหน พิจารณาเองซิ

    กิเลสคือเสี้ยน
    ที่เป็นทุกข์ๆ ในหัวใจนี้ทุกข์เพราะอะไร ทุกข์เพราะกิเลสเท่านั้น มีมากมีน้อยก็ตามเหมือนอย่างหนามอย่างเสี้ยนเรานี่ ละเอียดขนาดไหน มันก็ทุกข์ถ้ายังมีอยู่ในร่างกายของเรานี้ถอดถอนมันออกหมดเสียนั่นถึงจะ สบาย จิตใจก็เหมือนกัน

    งานของพระ
    งานของพระก็คืองานเดินจงกรมนั่งสมาธิภาวนา ให้เห็นเรื่องของกิเลส ตัวมันสร้างความทุกข์ให้แก่สัตว์และแก่หัวใจเรา ธรรมะท่านให้ดูตรงนี้ ท่านไม่ให้ไม่ยุ่งเหยิงวุ่นวายกับกิจนั้นการนี้ อันเป็นเรื่องของโลกเขา ปล่อยให้เขาทำไป

    ปัญญาเห็นกิเลส
    ถ้าเราไม่ได้ใช้ปัญญาแล้ว จะไม่เห็นความซึมซาบของกิเลสที่มีอยู่เต็มสรรพางค์ร่างกาย... พูดง่ายๆ ทั้งขันธ์ 5 และจิตไม่มีช่องว่างตรงไหน พอจะเป็นเกาะเป็นดอนว่ากิเลสมองไม่เห็น กิเลสไม่ยึดไม่ถือ

    ร่างกายคืออสุภะ
    มีอวัยวะส่วนไหนที่ว่างาม ตามกิเลสเสกสรรปั้นยอ มันไม่มี มีแต่เรื่อง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อสุภะอสุภัง ป่าช้าฝีดิบเต็มไปหมดทั้งร่าง เขาร่างเราตลอดสัตว์ทั้งหลาย

    ทาน
    เราไปที่ใด เกิดที่ใด ผลทานที่เราให้ไปนั่นแหละจะตามสนับสนุนเรา ให้เป็นคนมีความสุขความเจริญ นึกอะไรก็ไหลมาเทมา เพราะเราเคยให้มาแล้ว สิ่งที่ให้ไปนั้นคือมิตร คือสหาย สิ่งที่พึ่งเป็นพึ่งตายของเรา เมื่อเรานึกถึงผลทานย่อมไหนมาเทมา เมื่อนึกถึงบุญต้องมา เพราะเป็นของของเราที่เคยสร้างไว้แล้วให้ไปแล้ว ต้องกลับมาสนองตัวเราโดยไม่ต้องสงสัย

    กิเลสคือไฟ
    โลกนี้เป็นโลกที่มีกิเลสตัณหา ต้องมีผัวเมียมีคู่ครอง เช่นเดียวกับไฟ จำเป็นต้องมีอยู่ในบ้าน เรายังไม่สิ้นกิเลสจำเป็นต้องมีคู่ครอง มีผัวมีเมีย แต่ต้องอยู่ในขอบเขตแห่งผัวแห่งเมีย ขอบเขตแห่งศีลธรรม อย่าให้เลยขอบเขต เช่นเดียวกับที่เรารักษาไฟเอาไว้ให้อยู่ในความปลอดภัย อย่าปล่อยให้ไฟนั้นไหม้บ้านไหม้เมืองของใครเข้าไป จะเกิดความฉิบหายทั้งเขาทั้งเรา อันนี้ก็เหมือนกัน กาเมสุ มิจฉาจาร ถ้าปล่อยให้ลุกลามไป จะกลายเป็นไฟไหม้บ้าน ไหม้เมือง เพราะฉะนั้น ศีลธรรม จึงช่วยระงับดับไว้ให้เป็นไปพอดิบพอดี เหมาะสมกับมนุษย์เราที่มีกิเลส แต่เป็นกัลยาณชน เป็นผู้รู้จักหนักจักเบา รู้จักดีจักชั่ว รู้จักของเขาของเรา

    น้ำบ้า
    ปัจจุบันนี้ ไม่ว่าอยู่ในสถานที่ใดไปที่ใด ถ้าไม่มีสุราออกหน้าออกตาแล้ว สังคมนั้นรู้สึกว่ามันเหงาหงอย ราวกับบ้าไม่มีในสังคมนี้ ถ้าสังคมใดมีสุราออกโชว์นั้นโชว์นี้รู้สึกกว่าสง่าผ่าเผยรื่นเริงด้วยบ้า แม้สมาคมของพระก็ตามเถอะ ถ้าลองเอาน้ำบ้ามาวางนี้ ภาษาอีสานว่า คนนี้จอกหนึ่ง คนนี้จอกหนึ่ง คือคนนั้นแก้วหนึ่ง คนนี้แก้วหนึ่ง หลวงตาบัวแก้วหนึ่ง ฟาดลงไป พวกนี้ตีกันแหละล้มระเนระนาว หลวงตาบัวเก่งมากตีคนล้มระนาว เพราะน้ำบ้าทำให้กล้าหาญ ตีคนไม่เลือกหน้า ที่นี่มันเลยเป็นบ้าไปหมด กระทั่งหลวงตาบัว ขอให้อาจหาญอย่างมีเหตุผลดีกว่าคนเมาสุราเป็นไหนๆ ขอให้อาจหาญด้วยเหตุด้วยผล นั่นและดีกว่าอาจหาญด้วยการเมาสุรา

    ธรรมะสำหรับตำรวจ
    เมื่อเราจับอย่างมีเหตุมีผล ปรับไหมใส่โทษด้วยความมีเหตุผลนี้ชาวบ้านเขาก็เห็นใจ เขาก็รับเขาก็ชอบ เขาก็รู้ว่าเราทำถูก ถ้าเราทำตรงกันข้ามไม่มีหลักมีเกณฑ์ อาศัยแต่อำนาจของความเป็นตำรวจ เอาอำนาจกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ทำสุ่มสี่สุ่มห้า แอบหน้าแอบหวังอย่างนั้น เขาก็รู้เพราะเหตุไร เพราะบ้านเมืองนั้นคือใคร ก็คือคนคนมีหัวใจ ตำรวจรู้เขาก็รู้ จึงต้องปฏิบัติหน้าที่ให้ตรง

    การตัดสินโทษ
    การฆ่าสัตว์ฆ่าคนฆ่าใครก็ตามล้วนเป็นบาป มีมากมีน้อยต่างกัน ตามแต่เจตนาและเหตุการณ์ที่ควรไม่ควร หนักเบามากน้อยเพียงใด เรามีชีวิตอยู่ไม่ตายก็เพราะชีวิตของเราทรงตัวไว้ เขาไม่ตายก็เพราะชีวิตของเขาทรงตัวไว้ จึงไม่ควรทำลายกัน

    ปัจฉิมบท

    ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้บำเพ็ญศาสนกิจเทศนาอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ คำสั่งสอนของท่านมีการบันทึกเทปไว้ และมีบางส่วนถูกนำมาจัดพิมพ์เป็นหนังสือเล่มใหญ่ได้จำนวน 23 เล่ม หลักธรรมคำสอนที่ท่านอาจารย์เทศนาประกาศเผยแผ่มักจะเน้นเรื่องของการปฏิบัติ เพื่อสลัดความมักมาก ความมักได้ความขี้เกียจ และความโง่เขลา ท่านอาจารย์ได้ให้อุบายกำจัดความชั่วร้ายเหล่านี้ว่า จะต้องอาศัยกำลังภายใน ซึ่งเรียกว่า "กำลังใจ" อันได้แก่ ศรัทธา ความเชื่อมั่น ความเลื่อมใสในแนวทางปฏิบัติ วิริยะ ความเพียรพยายาม ความเอาจริงเอาจัง ไม่ทอดทิ้งธุระของตน สติ ความระลึกได้ ความรอบคอบ รู้จักระมัดระวัง สมาธิ ความตั้งมั่นของจิต ความเป็นผู้มีจิตใจมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่ออารมณ์ภายนอกและภายใน ประการสุดท้ายคือปัญญา ความเฉลียวฉลาด ความรอบรู้ ความรู้จริง ความมีเหตุมีผล

    ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ยังเป็นที่พึ่งทางใจของพุทธศาสนิกชนทั้งที่อยู่ใกล้และอยู่ไกล จัดได้ว่าท่านยังเป็นตัวแทนและเป็นแบบอย่างของพระสุปฏิปันโนสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ต่อไปอีกนาน
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  16. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    หลวงปู่จันทร์ สิริจนฺโท

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=284 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=284>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หลวงปู่จันทร์ สิริจนฺโท
    วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร


    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจนฺโท (จันทร์) รูปนี้ นามสกุล ศุภสร เกิดในรัชกาลที่ 4 วันศุกร์ เดือน 4 แรม 10 ค่ำ เวลาประมาณ 5 นาฬิกา ปีมะโรง จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2399 เป็นบุตรหัวปีของ หลวงสุโภรสุประการ กรมการเมืองอุบลราชธานี นางสุโถรสุประการ (แก้ว สุภสร) เป็นมารดา ชาติภูมิอยู่บ้านหนองไหล อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุลบลราชธานี

    เมื่ออายุได้ 13 ปี บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนัก เจ้าอธิการม้าว เทวธุมมี วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    ถึงรัชกาลที่ 5 อายุ 19 ปี ลาสิกขาบทจากสามเณรมาอยู่กับบิดามารดา 3 ปี จึงอุปสมบทที่ วัดศรีทอง เมื่อปีฉลู พ.ศ.2420 เจ้าอธิการม้าว เทวธฺมมี ซึ่งเป็นลัทธิ วิหาริกในพระบาทสมเด็จพระจอมเก้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระอุปัชฌายะ ต่อมาอีก 4 พรรษา แล้วจึงมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดชัยมงคล แต่ไปศึกษาเล่าเรียนในสำนักพระอุปัชฌายะ ต่อมาอีก 4 พรรษา จึงมาอยู่ที่ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร ในสำนัก พระปลัดผา ถือนิสสัยเป็นพระอริยะมุนี (เอม) ศึกษาพระปริยัติธรรมกับ พระมหาดิษและพระอาจารย์บุษย์ ปีเศษ แล้วไปศึกษาในสำนักพระยาธรรมปรีชา (บุญ) ภายหลังย้ายมาอยู่ที่ วัดกันมาตุยาราม แล้วกลับไปอยู่ วัดเทพศิรินทร์ อีก ครั้นพระอริยะมุนี (เอม) และ พระปลัดผา มรณภาพแล้ว จึงย้ายไปอยู่ที่ วัดบุปผาราม จังหวัดธนบุรี ในสำนักพระสาสนโสภณ (อ่อน) แต่ยังเป็นเปรียญฯ

    ถึงปีระกา พ.ศ.2428 ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมครั้งแรกที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้เป็นเปรียญ 3 ประโยค แล้วลาไปปฏิบัติอุปัชฌายะที่ จังหวัดอุบลราชธานี 2 พรรษา ระหว่างนี้ เจ้ายุติธรรมธร เจ้านครจำปาศักดิ์ สร้างวัดมหาอำมาตย์ ถวายพระสงฆ์ธรรมยุต จึงอาราธนาไปเป็นเจ้าอาวาสวัดนั้น ครั้นถึงวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ.2435 ทรงพระกรุอยู่ที่ วัดพิชัยญาติการาม 1 พรรษา แล้วกลับไปอยู่วัดเทพศิรินทร์อีก ต่อจากนั้นได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้ง สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค จึงโปรดให้ไปจัดการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีได้ 2 ปีเศษ

    ถึงปีกุน พ.ศ.2442 ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณรักขิต แล้วโปรดให้เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน จึงกลับไปอยู่วัดสุปัฏน์ จังหวัดอุบลราชธานี 5 พรรษา ภายหลังขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกลับเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ อยู่ที วัดเทพศิรินทร์บ้าง ไปธุดงค์บ้าง จนถึงปีมะโรง พ.ศ.2447 จึงโปรดให้อาราธนาไปครองวัดบรมนิวาส ถึงปีระกา พ.ศ.2452 โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ ที่พระราชกวี

    ถึงรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2457 ทรงโปรดให้เลื่อน สมณศักดิ์เป็น พระเทพโมลี ต่อมาถึง พ.ศ.2458 ได้แต่งหนังสือเทศน์ เห็นเป็นอันไม่ต้องด้วยรัฐประศาสนโยบายบางประการอันเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร จึงถูกถอดจากสมณศักดิ์คราวหนึ่ง ครั้นถึงวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2459 ทรงพระกรุณาโปรดกลับตั้งให้เป็นพระราชาคณะที่พระธรรมธีรราชมหามุนี มีสมณศักดิ์เสมอชั้นเทพ และโปรดให้ครองวัดบรมนิวาสตามเดิม ถึงปี พ.ศ.2466 โปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระโพธิวงศาจารย์ เสมอตำแหน่งชั้นธรรม ครั้นถึง พ.ศ.2468 ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ตำแหน่งเจ้าคณะรองฝ่ายอรัญญวาสี มีนามในสัญญาบัตรว่า "พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ญาณวิสุทธจริยาปรินายก ตรีปิฏกคุณาลังการ นานาสถานราชคมนีย์สาธุการีธรรมาดร สุนทรศีลาทิขันธ์" ได้เคยรับราชการทางคณะสงฆ์ในหน้าที่สำคัญๆ หลายตำแหน่งคือ เป็นเจ้าคณะใหญ่ เมืองนครจำปาศักดิ์ เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน มณฑลจันทบุรี มณฑลราชบุรี และ มณฑลกรุงเทพฯ

    ท่านเป็นพระนักปกครองผู้มีอัธยาศัยงดงามให้ความคุ้มครอง และให้ความดีความชอบแก่ผู้น้อย เป็นผู้มีใจกันทุกครั้งเมื่อมีโอกาส ท่านแสดงธรรมสั่งสอนให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาดชี้ให้เห็นเหตุผลแจ่มแจ้งในกว้างเฉลี่ยลาภผลเกื้อกูลแก่สพรหมจารี ไปอยู่ที่ไหน ก็ยังคุณความดีให้เกิดแก่หมู่เป็นคณโสภณผู้ทำหมู่ให้งาม เป็นผู้ฉลาดในเชิงช่าง

    นอกจากนี้ ท่านยังใส่ใจในการศึกษาของภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และ กุลบุตรกุลธิดามาก ทั้งภาษาบาลีและไทย เมตตาสั่งสอนให้ได้รู้หนังสือ ท่านมีความ สามารถในการอธิบายอรรถธรรมให้เข้าใจง่าย และชักชวนให้อาจหาญร่าเริงในสัมมาปฏิบัติ จัดเป็นธรรมกถึกเอกมีเชาวนะปฏิภาณว่องไวเฉียบแหลม วิจารณ์อรรถธรรมอันลุ่มลึกให้แจ่มแจ้ง ท่านแต่งหนังสือไว้ทั้ง คำร้อยแก้วทั้งคำกาพย์

    เมื่ออยู่เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้ตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดมหาอำมาตย์ (วัดนี้พระยามหาอำมาตย์หรุ่น กับ เจ้านครจำปาศักดิ์ สร้าง) ให้ชื่อว่า "โรงเรียนบุรพาสยามเขตร" สอนทั้งภาษาบาลี ทั้งภาษาไทย และยังได้จัดตั้ง "โรงเรียนอุบลวิทยาคม" ขึ้นที่ วัดสุปัฏน์ เช่นกัน ครั้นได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ก็จัดการการศึกษาทั่วไปจนได้เข้ามาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ได้จัดการศึกษาของกุลบุตรให้เจริญดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้ถึงวัดสิริจันทรนิมิตร ที่เขาบ่องาม (เขาพระงามในปัจจุบัน) จังหวัดลพบุรีและวัดเจดีย์หลวง นครเชีงใหม่ ก็ได้จัดการศึกษาของกุลบุตรให้รุ่งเรืองขึ้นโดยควรแก่ฐานะ

    แม้ในการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ ท่านก็ได้สร้างคุณประโยชน์อันมากมาย เช่น การปฏิสังขรณ์ วัดบวรมงคล คือ พระอุโบสถ พระระเบียง ตลอดจนวิหารคด การปฏิสังขรณ์วัดบรมนิวาส คือ พระอุโบสถแล พระอสีติมหาสาวก วิหารคด และ พระพิชิตมาร ซึ่งเป็นพระประธานในศาลาอุรุพงษ์ คือ เป็นพระลีลาเก่า อัญเชิญมาจาก จังหวัดราชบุรี และได้ให้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ เช่น โรงเรียนภาษาบาลี และ ภาษาไทย สระน้ำ ศาลาอุรุพงษ์ ส่วนของระฆัง และหอระฆัง มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนมรุพงศ์สิริวัฒน์เป็นผู้ร่วมสร้าง ตลอดจนกุฏิสร้างใหม่ให้เป็นตึก หอเขียวซึ่งเป็นกุฏิใหญ่ในวัดนี้ หม่อมเจ้าหญิงเมาลี หม่อมเจ้าหญิงคอยท่า หม่อมเจ้าหญิงโอฐอ่อน หม่อมเจ้าหญิงคำขาว และ หม่อมเจ้าหญิงรับแข สกุลปราโมทย์ ณ อยุธยา ทรงร่วมกันสร้างด้วยความสามัคคีธรรมแห่ง คณะญาติ นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ประเดิมสร้างวัดเสน่หานุกูล จังหวัดนครปฐม และที่วัดสิริจันทรนิมิตร จังหวัดลพบุรีนั้น ท่านได้สร้างพะรพุทธปฏิมากร อันมีนามว่า พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล ซึ่งมีหน้าตักกว้าง 11 วา 1 ศอก สูงทั้งรัศมี 18 วา อีกทั้ง พระอุโบสถ พระประธาน และ พระกัจจายน์ วิหาร ตลอดถึงถ้ำและกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ ท่านเป็นผู้นำในการสร้างมณฑปวัดบ้านแป้ง จังหวัดสิงห์บุรี

    ท่านเป็นผู้ยินดีในสัมมาปฏิบัติ สันโดษมักน้อยใฝ่ใจในสัลเลขปฏิบัติ ประกอบด้วยธุดงควัตรเที่ยวรุกขมูล รักษาขนบธรรมเนียมของสมณะที่ดีไว้มั่นคง มีสติสัมปชัญญคุณทุกเมื่อ มีความเยือกเย็นอาจหาญอดกลั้นทนทานต่อสถานการณ์ต่างๆ แม้ในยามอาพาธสุดท้ายพิษของโรครุนแรงด้วยทุกขเวทนายิ่งนัก ท่านยังได้ให้โอวาทแก่ผู้มาเยี่ยมเยือนว่า "เราเป็นนักรบ ได้ฝึกหัดวิธีรบไว้ก็ไม่เสียที ได้ผจญต่อพยาธิธรรมและมรณธรรมจริงๆ ก็อาจหาญอดกลั้นทนทานไม่สะทกสะท้าน มีสติสัมปชัญญคุณรอบคอบไม่หลงใหลไม่ฟั่นเฟือน ไม่กระวนกระวาย หากถึงกาลแตกดับ ก็ไปด้วยความสงบเงียบหายดุจหลับไป" จึงได้ชื่อว่า ท่านเป็นผู้ปฏิบัติได้ผลโดยควรแก่ภาวะโดยแท้

    ธรรมโอวาท
    ท่านได้กล่าวไว้มากมาย ขอคัดลอกมาบางส่วน ดังนี้ คือ

    ที่ว่าร่างกายจิตใจเป็นแก้วสารพัดนึกนั้น พึงพิเคราะห์ดู เรามีตา นึกจะดูอะไรก็ดูได้เรามีหู นึกจะฟังอะไรก็ฟังได้ เรามีจมูก อยากจะรู้กลิ่นอะไรก็รู้ได้ เรามีปาก มีลิ้น นึกอยากจะรู้รสอะไรก็รู้ได้ นึกอยากจะกินอะไรก็กินได้ เรามีมือ นึกอยากจะทำอะไรก็ทำได้ เรามีเท้านึกอยากเดินไปไหนก็ไปได้ เรามีจิตมีใจ นึกอยากจะน้อมนึกตรึกตรองอะไร ก็ได้สมประสงค์ ผู้รู้ตนว่า เป็นของวิเศษอย่างนี้ ย่อมเป็นเหตุให้ได้ความสุข คือ ใช้ตามหน้าที่ ไม่ให้วัตถุเหล่านั้นเป็นข้าศึกแก่ตน คือ เกิดปฏิฆะโทมนัสยินดี ยินร้ายเพราะวัตถุของตน นิสัยของผู้ฉลาด ย่อมไม่ให้วัตถุวิเศษของตนเป็นข้าศึกแก่ตน อารมณ์ที่ผ่านไปผ่านมา เลือกเอาแต่ส่วนที่เป็นประโยชน์ ส่วนที่จักเป็นโทษ จงปล่อยฝ่านไปเสีย ไม่รับไม่เก็บเข้ามาไว้ คือ หัดชำระวัตถุภายในนี้ ให้ผ่องใส สมกับที่ว่า เป็นแก้วสารพัดนึกอยู่ทุกเมื่อ อาศัยความหัดบ่อยๆ สติก็แก่ขึ้น วัตถุภายในก็ปราศจากโทษ คือ ไม่เป็นข้าศึกแก่ตน ให้ความสุขแก่ตนทุกอิริยาบถ จึงสมกับพุทธโอวาทที่ทรงสั่งสอนว่า

    อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ตนแล เป็นที่พึ่งแห่งตน

    ถ้าว่าโดยสมมติ สกลกายนี้เองเป็นตน ถ้าว่าโดยสกลกายนี้เองเป็นธรรม ที่ว่า อตฺตสรณา ธมฺมสรณา ให้มีตนเป็นที่ระลึกนี้ คือ ให้เห็นว่า ตนเป็นธรรม ธรรมเป็นตน ความรู้ธรรมเป็นพุทธะ สกลกายที่ทรงคุณความดีไว้เป็นธรรม ความประพฤติให้คุณความดีมีขึ้นในตนเป็นสังฆะ ผู้ที่มีพุทธะ ธรรมะ สังฆะในตนอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้ถึงไตรสรณคมน์ในชาตินี้

    ตลอดชาติชั้นศีล ชั้นสมาธิ ชั้นปัญญา ชั้นวิมุตติ ชั้นวิมุตติญาณทัสสนะ สุดแท้แต่วาสนาของใครจะถึงได้ในชั้นใด จะต้องได้รับผล คือ ความสุขตามชั้นตามภูมิของตนทั้งนั้น อย่าเป็นคนสงสัยลังเลยึดให้มั่นคั้นให้ตาย อย่างมงายเชื่อเกจิอาจารย์ที่สอน นอกรีตนอกทาง อย่าพากันหลงใหลไปตามเขา เพราะพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า นิพพานสมบัติ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา และ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ มีสติปัฏฐาน เป็นต้น มีอัฏฐังคิกมรรค เป็นที่สุด เหล่านี้เป็นนิพพานสมบัติ อย่างอื่นๆ ถ้าไม่เป็นไปตามนี้เป็นอวิชชาทั้งนั้น

    พวกเราเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ต้องประพฤติตนให้มั่งมีเหมือนพระพุทธเจ้า ทั้งสมบัติภายนอกแลสมบัติภายใน

    ปัจฉิมบท
    ท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ สิริจนฺโท (จันทร์) เปรียญ 4 ประโยค เจ้าอาวาส วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร อาพาธเนื่องด้วยโรคชรา ถึงมรณภาพ เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ.2475 คำนวณอายุได้ 77 ปี พรรษา 55 ได้พระราชทานโกศโถ มีชั้นรองสองชั้น ฉัตรเบญจา 4 ประกอบศพเป็นเกียรติยศ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=150 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=150>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หลวงปู่ชอบ ฐานสโม
    วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

    พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม มีชาติกำเนินในสกุลแก้วสุวรรณ เดิมชื่อ บ่อ เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444 ตรงกับวันพุธขึ้น 5 ค่ำ เดือน 3 ปีฉลู ณ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    โยมบิดาชื่อ มอ โยมมารดาชื่อ พิลา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4 คน เป็นชาย 2 คน เป็นหญิง 2 คน มีชื่อเรียกกันตามลำดับคือ

    1. ตัวท่าน บ่อ แก้วสุวรรณ

    2. น้องสาว ชื่อ พา แก้วสุวรรณ

    3. น้องสาว ชื่อ แดง แก้วสุวรรณ

    4. น้องชายสุดท้อง ชื่อ สิน แก้วสุวรรณ

    ทั้งน้องสาวและน้องชาย รวม 3 คนนี้ปัจจุบันถึงแก่กรรมไปตามกาลเวลาหมดแล้ว

    โยมบิดามารดาเล่าให้ท่านฟังว่าบรรพบุรุษต้นตระกูลของท่านนั้น เดิมมีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มีอาชีพหลักคือการทำนา แต่โดยที่พื้นที่เป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่การทำนาต้องอาศัยไหล่เขา ยกเดินเป็นขั้นบันไดเป็นชั้นๆ ไปจึงจะปลูกข้าวได้ แม้จะลงแรงทำงานหาเลี้ยงกันอย่างไม่ยอมเหนื่อยต้องทำไร่ตามดอยเพิ่มเติมแต่ก็ไม่ค่อยพอปากพอท้อง โดยเฉพาะบางปีถ้าฝนแห้งแล้ง ข้าวไม่เป็นผล พืชล้มตายก็อดยากแร้นแค้นจึงได้คิดโยกย้ายไปแสวงหาถิ่นทำกินใหม่ ซึ่งจะเป็นที่ราบลุ่มอันไม่เป็นที่ดอยที่เขาเช่นแต่ก่อน

    ตระกูลของท่านพากันอพยพหนีความอัตคัดฝืดเคือง มาหภูมิสำเนาใหม่ ผ่านหุบเหวภูเขาสูงของอำเภอด่านซ้าย ผ่านป่าดงพงทึบของภูเรือ ภูฟ้า ภูหลวง ได้มาพบชัยภูมิใหม่เหมาะ คือที่บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง ยังเป็นที่รกร้างว่างเปล่าใกล้หุบห้วย เหมาะแก่การเพาะปลูกจึงช่วยกันหักร้างถางป่าออกเป็นไร่นาสาโท คงยึดอาชีพหลักคือการทำนาเช่นเดิม

    ณ ที่บ้านโคกมนนี้เอง ที่เด็กชายบ่อ บุตรชายคนหัวปีของสกุลแก้วสุวรรณได้ถือกิเนิดมาเป็นประดุจพญาช้างเผือกที่มีกำเนิดจากกลางไพรพฤกษ์ ทำให้ชื่อป่าที่เกิดของพญาช้างเผือกนั้นเป็นที่รู้จักขจรขจายไปทั่วสารทิศ...ฉันใด หลวงปู่ก็ทำให้ชื่อ "หมู่บ้านโคกมน" บ้านที่เกิดของท่านเป็นที่รู้จัก เป็นที่จาริกแสวงบุญของบรรดาชาวพุทธทั่วประเทศ ... ฉันนั้น

    ชีวิตตอนเป็นเด็กของท่าน นับว่ามีภาระเกินวัยด้วยเกิดมาเป็นบุตรหัวปี ต้องมีหน้าที่ช่วยบิดามารดาทำการงานในเรือกสวนไร่นา พร้อมทั้งต้องทำหน้าที่พี่ใหญ่ดูแลน้องๆ หญิงชายทั้งสามด้วย

    บ้านโคกมนในปัจจุบันนี้ แม้ว่าผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านจะคุยให้เราฟังว่า มีความเจริญขึ้นกว่าเมื่อเจ็ดสิบปีก่อนอย่างหาที่เปรียบมิได้ แต่ในสายตาของเราชาวกรุงก็ยังเห็นคงสภาพเป็นบ้านป่าชนบทอยู่มาก ดังนั้นหากจะนึกย้อนกลับไปสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กเล็กอยู่ ณ ที่นั้น บ้านเกิดของท่านก็คงมีลักษณะเป็นบ้านป่าเขาที่น่าเห็นใจอย่างยิ่ง สมาชิกทุกคนในครอบครัว ต้องช่วยกันตัวเป็นเกลียว โดยไม่เลือกว่าผู้ใหญ่หรือเด็ก ระหว่างที่พวกผู้ใหญ่ต้องไถ หว่านปักกล้า ดำนา เด็กๆ ก็ต้องเลี้ยงควาย คอยส่งข้าวปลาอาหาร เด็กโตหรือลูกหัวปีอย่างท่าน ก็ต้องช่วยในการไถ ปักกล้า ดำนาด้วยขณะเดียวกันก็ต้องคอยดูแลน้องๆ กลับจากทำนา ก็ต้องช่วยกันหาผักหญ้า หน่อหวาย หน่อโจด หน่อบง หน่อไม้ รู้จักว่ายอดอ่อนของต้นไม่ชนิดใดในป่าในท้องนาควรจะนำมาเป็นอาหารได้ เช่น ยอดติ้วใบหมากเหม้า ผ้าดระโดน...

    โดยมากเด็กชายบ่อจะพอใจช่วยบิดามารดา ทางด้านเรือกสวนไร่นามากกว่ากล่าวคือ จะช่วยเป็นภาระทางด้านเลี้ยงควาย ไถนา เกี่ยวข้าว หาผักหญ้า แต่ด้านการหาอาหารที่ต้องเกี่ยวเนื่องด้วยชีวิตผู้อื่น เช่น การจับปู ปลา หากบ เขียด มาเป็นอาหารประจำวันอย่างเด็กอื่นๆ นั้น ท่านไม่เต็มใจจะกระทำเลย ยิ่งการเล่นยิงนก กระรอก กระแต ที่เด็กต่างๆ เห็นเป็นของสนุกสนานนั้น ท่านจะไม่ร่วมวงเล่นด้วยอย่างเด็ดขาดพูดง่ายๆ ท่านไม่มีนิสัยทาง "ปาณาติบาต" มาแต่เด็กนั่นเอง

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
    หลวงปู่มีจิตโน้มน้าวไปสู่ธรรมตั้งแต่ยังเด็กกล่าวคือ เมื่อท่านมีอายุได้ 14 ปี ได้มีพระธุดงค์กรรมฐานองค์หนึ่งจาริกไปปักกลดรุกขมูลอยู่ที่วัดบ้านตระครูแซ ใกล้บ้านท่านพระธุดงคกรรมฐานองค์นั้นมีชื่อว่า พระอาจารย์พา เป็นศิษย์องค์หนึ่งของ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านเป็นพระที่มีจริยาวัตรที่นุ่มนวล และเคร่งครัดในธรรมวินัย คนในหมู่บ้านรวมทั้งมารดาและญาติผู้ใหญ่ของหลวงปู่จึงมีความเลื่อมใสศรัทธาพากันไปปรนนิบัติอุปัฏฐาก ถวายกัปปิยะจังหันอยู่มิได้ขาดตัวท่านเองก็พลอยติดตามโยมมารดาไปด้วย ในฐานะที่เป็นเด็กชายแรกรุ่น วัยกำลังใช้กำลังสอย จึงได้รับหน้าที่มอบหมายให้คอยปฏิบัติรับใช้พระ ประเคนของ ล้างบาตรให้พระอาจารย์ทุกวันราวกับว่าพระอาจารย์พาจะตั้งใจไปโปรดเด็กชายน้อย แห่งสกุลแก้วสุวรรณโดยเฉพาะ ท่านจึงปักกลดอยู่ใกล้หมู่บ้านนานพอดูจนกระทั่งเด็กชายน้อยเกิดความรู้สึกสนิทสนมคุ้นเคยกับท่านอาจารย์พาเป็นอย่างดีท่านสอนให้เด็กชายรู้จักของควรประเคน และไม่ควรประเคน เวลาว่างก็เมตตาสอนหนังสือให้บ้างและอบรมการสวดมนต์ภาวนาให้บ้าง จิตของเด็กชายน้อยจึงโน้มน้าวไปสู่ทางธรรมมากขึ้นทุกทีจนในที่สุดเมื่อพระอาจารย์พาเห็นนิสัยอันสงบเสงี่ยมเรียบร้อย ฝักใฝ่ในทางธรรมของเด็กชายน้อยผู้นี้ "บ่มได้ที่" แสดง "นิสัยวาสนา" แต่ก่อนอย่างเพียงพอแล้ว ท่านก็ออกปากชวนไปบวชด้วย

    "บวชกับเราไหม"

    เด็กชายน้อยแห่งสกุลแก้วสุวรรณก็ตอบคำเดียว...สั้นๆ อย่างไม่ลังเลเยว่า

    "ชอบครับ"

    ท่านถามย้ำ "บวชกับเราแน่หรือ" "ชอบครับ" เป็นคำตอบยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว ท่านจึงให้ไปขออนุญาติมารดาผู้ปกครองก่อน

    เมื่อหลวงปู่ไปขอลามารดา เพื่อจะตามพระอาจารย์ไปออกบวชมารดาทั้งประหลาดใจและตกใจระคนกัน

    -- ประหลาดใจ...ที่บุตรชายน้อยมีความคิดอาจหาญ เด็ดเดี่ยว...ใจคอจะทิ้งบ้าน ทิ้งอ้อมอกแม่อันอบอุ่น ทิ้งญาติพี่น้องไปได้หรือ

    -- ตกใจ...ที่ในวัยเพียงเท่านี้ บุตรชายน้อยจะต้องจากบ้านเดินทางไปถิ่นทางไกลอันลำบากยากแค้นลำเค็ญ เหมือนคนไร้ญาติขาดมิตร

    อย่างไรก็ดีท่านก็ยังพออุ่นใจได้บ้างว่า บุตรชายน้อยของท่านคงจะได้รับความคุ้มครองดูแลจากท่านอาจารย์พาเป็นอย่างดี

    แต่ที่จะไม่ให้ห่วงหาอาลัยเลยนั้นคงเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งมารดาก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า ลูกของท่านจะมีความตั้งใจแน่วแน่มั่นคงแค่ไหน จึงถามย้ำแล้วย้ำอีก

    "จะบวชไหม"

    "จะบวชแน่หรือ"

    ทุกครั้ง...ไม่ว่าจะเป็นคำถามจากมารดาก็ดี จากญาติผู้ใหญ่ผู้ทราบเรื่องก็ตกใจ มาช่วยกันซักไซ้ไล่เรียง...ก็ดี ทุกครั้งจะได้รับคำยืนยันอย่างหนักแน่นมั่นคงจากเด็กชายน้อยว่า

    "ชอบครับ" ทุกคราวไป

    ดังนั้น ในเวลาต่อมา ชื่อ "เด็กชายบ่อ" จึงกลายเป็น "เด็กชายชอบ" ด้วยประการฉะนี้

    เมื่อท่านมีอายุอย่างเข้า 19 ปี ท่านพระอาจารย์พาก็จัดการดูแลให้ผ้าขาวศิษย์รัได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านนาแก บ้านากลาง อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ด้วยเป็นวัดใกล้บ้านกับที่ลุงของท่านผู้เป็นพี่ชายโยมมารดามีหลักฐานบ้างช่องอยู่อัฐบริขารนั้นโยมมารดาและยายช่วยกันจัดหาให้ด้วยความศรัทธา

    ท่านใช้ชีวิตระหว่างเป็นสามเณรอยู่ถึง 4 ปีกว่า โดยท่านอาจารย์พามิได้หวงแหน ให้ศิษย์ศึกษาอบรมอยู่กับท่านแต่ผู้เดียว ท่านได้ให้ศิษย์รักออกไปศึกษาธรรมกับครูบาอาจารย์ตามสำนักต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อให้มีความรู้แตกฉานกว้างขวางขึ้น หลวงปู่จึงได้มีโอกาสไปกราบเรียนข้อปฏิบัติกับพระอาจารย์องค์อื่นๆ บ้าง เช่น พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ วัดโยธานิมิต เป็นอาทิ

    ครั้นท่านมีอายุครบ 23 ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดสร่างโศกซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่าวัดศรีธรรมาราม อำเภอเมืองยโสธร ซึ่งขณะนั้นยังเป็นอำเภอหนึ่งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ยังมิได้ตั้งขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร เช่นทุกวันนี้

    หลวงปู่บวชเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2467 มีพระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์ เป็นพระอุปัชฌายะ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ฐานสโม"

    ท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า ท่านมิได้มีนิสัยสนใจทางการศึกษาด้านปริยัติธรรมมากนัก แม้การท่องปาฏิโมกข์นั้น ท่านใช้เวลาเรียนท่องถึง 7 ปี จึงจำได้หมด

    "รู้ความ แต่ไม่ได้ท่องจำ" ท่านเล่า

    เมื่อกราบเรียนถามว่าเหตุใดหลวงปู่จึงใช้เวลานานนัก ท่านก็ตอบอย่างขันๆ ว่า "นานๆ ท่องเถื่อ (ครั้งหนึ่ง บางทีก็ 2 เดือน ท่องเถื่อหนึ่ง บางทีก็ 3 เดือนท่องเถื่อหนึ่ง"

    "ในใจภาวนามากกว่า"

    ท่านสารภาพว่า ท่านดื่มด่ำในการภาวนามากท่านใช้คำบริกรรม "พุทโธ" อย่างเดียว มิได้ใช้ "อานาปานสติ" หรือกำหนดลมหายใจ เข้า-ออก ควบคู่กับพุทโธเลย

    สิ่งที่ไม่เคยเห็น ก็ได้เห็น

    สิ่งที่ไม่เคยรู้ ก็ได้รู้

    สิ่งที่เป็นของสาธารณแก่ปุถุชนธรรมดาก็กลับปรากฏขึ้น

    เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่ง..!

    ท่านเล่าว่า จิตของท่านรวมลงสู่ความสงบได้โดยง่ายมากและเกิดความรู้พิสดาร การนี้เริ่มปรากฏแก่ท่าน ตั้งแต่ขณะที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่ ท่านสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ที่แปลกลึกลับได้ดีเกินกว่าสายตามนุษย์สามัญจะรู้เห็นได้ ได้ล่วงรู้ความคิดความนึกในจิตใจของผู้อื่น

    ไม่ได้นึกอยากเห็น ก็เห็นขึ้นมาเอง

    ไม่ได้นึกอยากรู้ ก็รู้ขึ้นมาเอง

    รวมทั้งการรู้เห็นสิ่งแปลกๆ เช่น พวกกายทิพย์ คือ เทวบุตร เทวธิดาอินทร์พรหม ยมยักษ์ นาค ครุฑ...หรือ การรู้วาระจิตคนอื่น ที่เขาคิด เขานึกอยู่ในใจก็สามารถได้ยินชัด...

    สิ่งเหล่านี้...แรกๆ ท่านก็ทั้งตกใจ ทั้งประหลาดใจ แต่เมื่อเป็นมาระยะหนึ่งได้รู้ว่าอะไรคือความจริง อะไรคือภาพนิมิตก็ระงับสติได้ มีสติว่านี่เป็นเรื่องพิสดาร แต่ไม่ควรจะให้ความสนใจมากนัก

    นี่เป็นเหตุหนึ่งที่เมื่อได้บวชเป็นภิกษุแล้ว ท่านก็บากบั่นมุ่งมั่นต่อไปในแดนพุทธอาณาจักรอย่างไม่ย่อท้อ

    ครูบาอาจารย์ก็ช่วยให้ความมั่นใจว่า เมื่อท่านเป็นผู้มีนิสัยวาสนาทางนี้แล้ว ก็ควรจะเร่งทำความพากความเพียรต่อไป ไม่ควรให้ความสนใจต่อสิ่งที่เป็นเหมือน "แขกภายนอก" เหล่านี้อย่านึกว่าตนเป็นผู้วิเศษ ผู้เก่งกล้าอะไร ผู้ใดมีวาสนาบารมี สร้างสมอบรมมาอย่างไร ก็จะเป็นไปอย่างนั้น เปรียบเสมือนการปลูกต้นผลไม้ หากเรานำเอาเมล็ดมะม่วงมาเพาะ ปลูก ลงดิน รดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย บำรุงต้นไม้นั้นไป วันหนึ่งก็จะออกดอกออกช่อให้ผลเป็นมะม่วงจะกลายเป็นมะปรางหรือมะไฟก็หามิใช่ หรือผู้ที่ไม่เคยเพาะเลียงมะม่วง ไม่เคยปลูกมะม่วง แต่จะนั่งกระดิกเท้ารอให้เกิดต้นมะม่วง มีผลมะม่วงขึ้นมาเอง ก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน

    ท่านเป็นผู้มีวาสนาบารมีธรรมสร้างสมอบรมมาแต่บรรพชาติ จิตจึงเกรียงไกร มีอานุภาพแต่ก็ควรจะประมาณตนอยู่เพราะความรู้สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของผู้กระทำความเพียรภาวนา นักปราชญ์จะไม่มัวหลวงงมงายอยู่กับความรู้ภายนอก อันเป็นโลกียอภิญญา จุดมุ่งหมายปลายทางของปวงปราชญ์ราชบัณฑิตนั้น อยู่ที่การกำจัดอาสวกิเลสที่หมักดองอยู่ในกมลสันดานของเราให้หมดไป สิ้นไป โดยไม่เหลือแม้แต่เชื้อต่างหาก

    หลวงปู่ได้น้อมรับคำสั่งสอนเตือนสติของครูบาอาจารย์ด้วยความเคารพ แม้หมู่พวกเพื่อนๆ จะมีความเกรงใจท่านอยู่มาก แต่ท่านก็มีความเสงี่ยม เจียมตัวอยู่มิได้นึกเห่อเหิมอวดตัดแต่ประการใดระยะแรกๆ ท่านเต็มไปด้วยความระวังตัว ด้วยไม่แน่ใจว่าบางครั้งภาพที่ปรากฏให้ท่านเห็นนั้นจะมีผู้อื่นเห็นเหมือนกับท่านหรือไม่ หากเขาปรากฏให้ท่านเห็นเพียงผู้เดียว การทักทายปราศรัยหรือสนทนาก็อาจทำให้ถูกมองเหมือนเป็นคนบ้าคนประหลาดพูดคุยคนเดียวก็ได้ ท่านจึงเป็นผู้เงียบสงบ ไม่ค่อยพูดคุยสุงสิงกับใครมากนักด้วยได้ใช้ภาษาใจได้อย่างเป็นประโยชน์มากกว่า อย่างไรก็ดีต่อมาท่านก็ชำนาญในการนี้มากขึ้น จนรู้ได้ทันทีว่าเป็นนิมิตหรือไม่ แต่ในขณะเดียวกันนั้นท่านก็คิดหมายมาดว่า ท่านจะต้องเร่งโอกาสความเพียรพยายามต่อไปโดยไม่ประมาท

    หลวงปู่บวชแล้วถึง 4 ปี จึงได้มีโอกาสพบ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ...!!!

    ความจริง พระอาจารย์พา>/b> อาจารย์องค์แรกผู้พาท่านออกดำเนินทางธรรมโดยให้เป็นผ้าขาวน้อยเดินรุกขมูลไปกับท่าน จนกระทั่งเป็นธุระให้ท่านบวชเณร...ก็เป็นศิษย์องค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเคยเคารพเลื่อมใสพระอาจารย์พา อาจารย์ของท่านมากและอดคิดแปลกใจไม่ได้ที่ท่านพระอาจารย์พาเล่าให้ฟังถึงท่านพระอาจารย์มั่นอาจารย์ของท่านด้วยความเคารพเทิดทูนอย่างสูงสุด

    ท่านว่าพระอาจารย์พาเคร่งครัด ในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติมากอยู่แล้ว

    แต่ท่านพระอาจารย์พา บอกว่าท่านพระอาจารย์มั่นเคร่งครัดในเรื่องข้อวัตรปฏิบัติมากที่สุด

    ท่านว่าพระอาจารย์พา ฉลาดรอบรู้ในการเทศนาธรรมมากอยู่แล้ว

    แต่ท่านพระอาจารย์พากล่าวว่า ท่านพระอาจารย์มั่นอาจารย์ของท่านฉลาดรอบรู้ในการเทศนาธรรมได้กว้างขวางพิสดารมากที่สุด

    ท่านว่า พระอาจารย์พา อ่านใจคนได้มากอยู่แล้ว

    แต่ท่านพระอาจารย์พายืนยันว่า ท่านพระอาจารย์มั่นอาจารย์ของท่านอ่านใจคนดักใจคนรู้จิตคนได้ทุกเวลา ทุกโอกาสมากที่สุด

    ท่านพระอาจารย์มั่นเป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบซึ่งในสมัยนี้ยากจะพบ "พระ" ผู้เป็น "พระ" อันประเสริฐ ผู้เป็นนาบุญอันเลิศ ยากจะหานาบุญใดมาเทียบได้

    ควรที่ผู้สนใจใฝ่ทางธรรมอย่างเธอนี้จะไปกราบกรานขอถวายตัวเป็นศิษย์

    ครั้นหลวงปู่ได้ฟังก็อดคิดแปลกใจไม่ได้ว่าในโลกปัจจุบันนี้ยังจะมีบุคคลผู้ประเสริฐเลิศลอยเช่นนี้อยู่อีกหรือ แต่เมื่ออาจารย์ของท่านบอกไว้ ท่านก็จดจำไว้ คอยสำเหนียกฟังข่าวท่านพระอาจารย์มั่นอยู่ตลอดเวลา

    และต่อมาเมื่อปรารภกับใคร กิตติศัพท์กิตติคุณของท่าน พระอาจารย์มั่นก็ดูจะเป็นที่เลื่องระบือมากขึ้น ท่านจึงคอยหาโอกาสจะเข้าไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ตลอดเวลา

    ระหว่างที่มารดามาถวายจังหันหรือฟังเทศน์ที่วัดก็ดี หรือเมื่อ "พระ" ได้ไปเทศน์โปรดที่บ้านก็ดี หลวงปู่ก็ได้มีโอกาสตอบแทนพระคุณโยมมารดาผู้เป็นบุพการีของท่านเป็นปกติ

    พรฺหมาติ มาตาปิตโร ปุพฺพาจริยาติ วุจฺจเร
    อาหุเนยฺยา จ ปุตฺตานํ ปชาย อนุกมฺปกา
    มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์
    เป็นผู้ควรบูชาของบุตรและเป็นผู้อนุเคราะห์หมู่สัตว์

    หลวงปู่ได้ให้ความอนุเคราะห์ท่านผู้เป็นพรหม เป็นครูอาจารย์คนแรก เป็นผู้ควรบูชาของท่านตามควรแก่สมณเพศวิสัย โดยช่วยเทศน์กล่อมเกลาให้จิตของโยมมารดาเพิ่มพูนศรัทธาบารมีในพระพุทธศาสนา แต่แรกโยมมารดาได้มารักษาศีลแปดอยู่ด้วยที่วัดก่อนสุดท้ายครั้นเมื่อศรัทธาปสาทะของท่านเพิ่มพูนมากขึ้น เห็นทางสว่างทางด้านศาสนาโยมมารดาก็ปลงใจสละเพศฆราวาสโกนผมบวชเป็นชี

    โยมมารดาของท่านพบความสุขสงบ รู้จักทางภาวนากระทั่งบอกหลวงปู่ไม่ต้องเป็นห่วงท่าน ท่าน "รู้" แล้วให้พระลูกชายธุดงค์เที่ยววิเวกไปได้ตามใจ

    ธรรมโอวาท
    หลวงปู่มักจะเทศน์เรื่อง ไตรสรณคมน์หรือศีล 5 มากกว่าธรรมข้ออื่น ซึ่งดูเผินๆ เหมือนเป็นหญ้าปากคอก แต่ท่านว่านี่แหละคือ รากฐานของการบำเพ็ญเพียรภาวนาถ้าไม่มีฐานไม่มีศีลรองรับ ก็ยากจะดำเนินความเพียรได้ เพราะ

    อาทิ สีลํ ปติฎฺฐา จ กลฺยาณญฺจ มาตฺกํ
    ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
    ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
    เป็นประมุขของธรรมทั่วไป เพราะฉะนั้นความชำระศีลให้บริสุทธิ์

    หลวงปู่จะเทศน์ เป็นวลีสั้นๆ ประโยคสั้นๆ แต่ก็เป็นธรรมที่ลึกซึ้ง ถ้าปฏิบัติได้ ปฏิบัติจริง ปฏิบัติถูก ปฏิบัติตรง ปฏิบัติชอบ และพิจารณาได้ พิจารณาจริง พิจารณาถูก พิจารณาตรง พิจารณาชอบ
    ...แน่นอน มรรคผลนั้นคงอยู่แค่เอื้อมนั่นเอง
    เทศน์ที่สั้นที่สุด วาง
    พิจารณาตน วางตัวเจ้าของ
    จิตตะในอิทธิบาท 5 เอาใจใส่
    มรณานุสฺสติ
    ให้พิจารณาความตาย...
    นั่งก็ตาย
    นอนก็ตาย
    ยืนก็ตาย
    เดินก็ตาย

    ปัจฉิมบท
    คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ได้กล่าวไว้ในคำแถลงหนังสือชีวประวัติ พระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2535 ว่า "เราเคยซาบซึ้งแก่ใจมานานแล้วว่าเมตตาของท่านใหญ่หลวงเพียงไร แต่ระห่างการรวบรวมต้นฉบับที่ต้องกราบเรียนซักถามเพื่อสอบทานรายละเอียดในชีวิตของท่านก็ยิ่งซาบซึ้งเป็นที่ประจักษ์แก่ใจผู้เขียนมากยิ่งขึ้น

    ไม่ว่าจะเป็นชีวิตระหว่างวัยเด็ก วัยรุ่น เริ่มบวช เริ่มธุดงค์ประสบการสิ่งลึกลับหลวงปู่ได้เมตตาตอบข้อซัก แม้ริมฝีปากของท่านจะลำบากในการเปล่งเสียงลิ้นของท่านจะลำบากอย่างยิ่งในการเปล่งคำพูด แต่ท่านก็ยิ่งด้วยเมตตาธรรม เมตตาของท่านไม่มีประมาณจริงๆ"

    อันเมตตาของหลวงปู่ที่ไม่มีประมาณนั้นได้แผ่ออกสู่ลูกศิษยานุศิษย์ผู้ประพฤติธรรมพวกเราทั้งหลายซึ่งยังเวียนว่าย วกวนอยู่ในโลกใบกลมๆ ใบนี้หากจะรับเมตตาที่หลวงปู่แผ่ออกมาแล้ว พวกเราก็จะต้องปรับเครื่องรับให้ตรงกับเคลื่นที่หลวงปู่แผ่ออกมาเพื่อที่จะรับกันได้ ศิษย์ผู้ปฏิบัติชอบ ตามหลักคำสอนของหลวงปู่ คงจะได้รับความบันดาลใจและความสงบเยือกเย็นและด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและบารมีของพระคุณเจ้าหลวงปู่ชอบ ฐานสโน คงจะดลบันดาลให้ต่างมีความสุข ความเจริญ ความรุ่งเรือง ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป ทั้งทางโลกและทางธรรม
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...