ยังไงถึงจะเรียกว่า เราได้เข้าถึง "สมาธิ","จิตนิ่ง" แล้ว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย makcloud, 16 มีนาคม 2011.

  1. makcloud

    makcloud เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    424
    ค่าพลัง:
    +535
    แรก ๆ ตอนนั่งสมาธิใหม่ ๆ ก็รู้สึกเหมือนคนอื่น ๆ มีอาการตัวสั่นบ้าง น้ำตาไหลบ้าง หาวบ้าง แต่พอมาระยะหลัง ๆ เริ่มไม่รู้สึกอะไรเลย รู้สึกแต่ว่า ปวดขมับ ปวดตา ปวดขา เริ่มคิดเรื่องโน้นเรื่องนี้มากขึ้นกว่าเดิมทั้ง ๆ ที่นั่งสมาธิอยู่ ถ้าวันไหนโล่ง ๆ ก็นับลมหายใจเข้าออก ภาวนา พุทโธ ก็นับจนจบตั้งแต่ 1-5 จนกระทั่ง 1-10 ได้ประมาณ 4 รอบ (ลองดูนาฬิกาประมาณ 30 นาทีขึ้นไป) อาจจะหลุดบ้าง แต่ก็ยังต่อจนจบได้ แต่ก็ยังไม่พบว่าตัวเองมีสมาธิ(จิตนิ่ง)เลย รู้แต่ว่ามีความสุขและความสงบที่ได้นั่งสมาธิเท่านั้น เลยไม่มีความอยากที่จะนั่งสมาธิเท่าไหร่ ผมหัดเองน่ะครับ อ่านหนังสือบ้าง อ่านเวปบ้าง ไม่ได้ไปฝึกนั่งจากที่ไหน ก็เลยไม่รู้ว่ามีสมาธิคือยังไง อย่างไร เราเคยได้เข้าถึงบ้างหรือยัง ขอรบกวนด้วยครับ
    ขอบคุณมากครับ ขอบคุณมากครับ ขอบคุณมากครับ
     
  2. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    จากสังเกตดูสภาวะคุณก็พอที่จะเริมปฏิบัติเข้าถึงความสงบแล้วนิครับ.....สมาธิจริงๆนั้นมีอยู่หลายระดับนะ....ความเข้มข้น ความสงบนิ่ง ความตั้งมั่น มันก็ละเอียดขึ้นไปตามลำดับนะ....ซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกตินะครับ.....ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกอะไร.....

    การศึกษาลำดับของสมาธินั้นมีประโยชน์ตรงที่ว่าเราสามารถตรวจสอบตัวเราเองได้ว่าทำได้ดีและพัฒนาขึ้นแล้วและเข้าใจสถาวะว่ามันเป็นแบบใหน.....อย่างไร......แต่การศึกษานี้จะไม่มีประโยชน์เลยถ้าเราจะมาพะวงอยู่ว่าเราจะต้องถึงลำดับใหนอย่างไร....อันนี้ก่อให้เกิดความฟุ้งซ่านได้นะครับ..... อาจกล่าวได้ว่ามีคุณสำหรับผู้มีปัญญาในการศึกษาและใช้งานเพื่อการปฏิบัตินะครับ.....

    ลำดับต่างๆมีอยู่ให้ศึกษาได้ครับ...จากครูบาอาจารย์ที่ท่านทำได้...หรือจากตำราอ้างอิง...ต่างๆมีนะ.....

    ปฏิบัติได้ดีแล้วนิครับ....ปฏิบัติต่อไปนะ....
     
  3. เงาเทวดา

    เงาเทวดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +314
    ยังไงถึงจะเรียกว่า เราได้เข้าถึง "สมาธิ","จิตนิ่ง" แล้ว

    ตอบ..จิตนิ่ง เป็นผลที่เกิดจากตัวรู้ในปฐมฌาณ ฌาณกับญาณ จะอยู่ร่วมกันเสมอ ถ้าปฏิบัติถูกต้องตามหลักสัมมาสมาธิ ฌาณ 234 เป็นแค่ผล ปฐมฌาณ เป็นเหตุ

    คลิกที่ชื่อนี้เลย"จริงนะ" ด้านข้างกระทู้ เข้าไปหาดูวิธีเองจ้า...
     
  4. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -จิตเป็นสมาธิหากอธิบายเป็นตัวหนังสือมันก็คงลำบากเพราะสมาธิมีหลายระดับ
    -แต่หากอยากรู้ด้วยตัวเอง ลองนั้งแล้วอัด vdo ไว้หากสัพงก (หลวงปู่หล้าพูดว่า ตอดเงา) นั้นคือยังไม่เป็น สมาธิ
    -สติ คือ ระลึกรู้
    -สมาธิ คือ ความตั้งมั่นในความรู้
     
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ฮั่นแน่ เริ่มตั้งต้น ก็ติด การเปรียบเทียบ ซะแล้ว ตัวนี้มันจะย้อนตีหัวภาย
    หลัง คอยสังเกตนะ

    ก็แบบนี้แหละ มีระคนคละเคล้า ระหว่าง สภาพธรรมของนักปฏิบัติ กับ
    สภาพธรรมของนักย่อหย่อนปฏิบัติ แต่ย่อหย่อนก็ดีกว่า คนที่ไม่เคยไม่ทำเลย เนาะ

    จะเอาอะไรหละ การเปรียบเทียบ มันมายอกย้อน สังเกตเห็นไหม แสบไหม

    ก็แบบนี้แหละ ปฏิบัติมาอีกหน่อย จิตมันก็ใส่ใจใคร่ครวญเข้ามาที่กายมากขึ้น แทนที่
    จะสนแบบผิวๆ(เลยเห็นสั่นไหว) ร้อนเย็น(น้ำตาไหล) นิวรณ์5(หาว) ก็เริ่มมาเห็น
    "เวทนากาย(ขามันปวด)" "เวทนาจิต(กูปวดไปกะขา)" มันเป็นความก้าวหน้าทางการปฏิบัติเล็กๆน้อยๆ ซึ่งกว่านี้
    มีอีก และยิ่งกว่านี้ก็ยังมีอีก ซึ่งจะเป็นเรื่องของ ธาตุกรรมฐาน บุญกรรมที่ตบแต่งมา

    นี่แปลว่าถลำไปจากการรู้กาย ไปรู้อยู่ที่จิต จิตเขามีหน้าที่คิด เขาก็เลยแสดง
    ตัวให้ดูว่า นี่คือจิตไหลไปคิด นักภาวนาก็จะอาศัย รู้กาย(เย็นร้อนอ่อนแข็ง
    ตึงไหว/เน่าสลายไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน) รู้เวทนา(เวทนากาย เวทนาจิต) รู้จิต(ไหลไปคิด)
    รู้ธรรม(นิวรณ์5 หาวว๊อดๆ น้ำตาไหลบางกรณี)

    "กาย เวทนา จิต ธรรม" สติปัฏฐาน4 ทางเอกสายตรงสู่มรรคผลเลยนะนั่น

    นี้แปลว่าเกิด วิภวตัณหา ไม่ชอบเห็นจิตคิด เลยแทรกแทรงด้วยการ พาจิตคิด
    เรื่องกุศลแทน จริงๆแล้ว จิตก็คิดเหมือนเดิม แต่ให้มันคิดไปเรื่อยแต่สิ่งที่เป็นกุศล
    เพราะความกลัวว่า มันจะไปคิดอกุศล หากกล้าพอให้ดูวิภวตัณหา หากไม่กล้า
    พอก็นับไป แต่อย่าลืมว่า มันเหมือนกันยังกับแกะ ไม่ได้ต่างกันเลย

    ก็ว่าไปตามวาสนา เคยสดับธรรมะมา เขาให้นับ เราก็น้อมใจนับ หากไป
    สำนักอื่นเขาให้ทำอย่างอื่น หากเราโลเล เราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จริงๆแล้ว
    จะอันไหนก็ได้ เพราะว่า มันก็คือ จิตไหลไปคิด ไม่ต่างกัน

    4 รอบแล้วไง หากมัน 3 รอบแล้วไง 7 รอบแล้วไง คนภาวนาไม่เป็น ก็สารวนกับ
    น้ำหนักที่ว่า ทำได้กี่รอบ คนภาวนาเป็นเขาไม่สนหรอก ครึ่งรอบก็ขอให้ได้ทำเป็นอัน
    ใช้ได้ หากวันหนึ่งครึ่งรอบไม่ทำเลย ก็เรียกว่า เผลอสติ ขาดความเพียร หากวันหนึ่ง
    ทำได้เป็นแสนรอบแล้วมั่วนั่งดีใจกับแสนรอบ ก็เท่ากับ ล้มละลายทางธรรม ขาดความ
    เพียรเพราะไปเข้าใจผิดเสีย อันนี้ก็ การเปรียบเทียบ นั้นแหละ เล่นงานเอาอีกแล้ว
    แสบไหมหละ

    นี่เลยๆ มันสำคัญตรงนี้ ตรงที่ อธิษฐานบารมี มีหรือเปล่า หากมี มันจะลุกขึ้นมาต่อ
    ต่อให้คนเอาดาบเงื้อจะฝันทันทีที่ล้ม เราก็จะต้องรีบลุกขึ้นมาทันที ไม่ให้เขาอาศัยโอกาส
    ที่เราล้มเผลอนอนให้เพชรฆาติฝันฉับเข้ามา ให้ดีให้รู้เนื้อรู้ตัว รู้กาย จะช่วยได้มาก

    นั้นประไร การเปรียบเทียบ หลอกให้คิด นี่เชื่อมันนะว่า เราไม่รู้จิตนิ่งเลย เสร็จเลย
    โดนมันแหกตา ที่มันแหกตาเราได้ง่ายๆ เพราะ เริ่มต้นผิด ตั้งจิตไว้ผิด มีอธิจิตผิด
    ฝาตั้งแต่ออกจากเส้นสตาร์ท แสบไหม การเปรียบเทียบ

    คืออะไรก็ไม่รู้เนาะ ไม่บรรยายดีก่า ให้พิจารณาใคร่ครวญโยนิโสมนสิการเอาเอง
    ของแบบนี้ วิญญูชน เท่านั้นที่รู้

    ป๊าปเข้าให้ การเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบ
    มันทำกับคุณขนาดนั้นเชียวหรือ มันทำกับคุณขนาดนั้นเชียวหรือ

    โมทนาสาธุ ที่สนใจธรรมะ ธรรมะมีประโยชน์แม้เพียงแค่แวะอ่าน อย่างไร
    เสียก็อย่าขาดการสดับ ยิ่งสดับยิ่งรู้สิ่งที่ไม่รู้ ยิ่งสดับสิ่งที่รู้แล้วก็ไม่ถูกอวิชชา
    ปิดบังว่าไม่รู้ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านช่วยตรงนี้ ช่วยให้คนที่รู้แล้วแต่ไม่รู้ตัว
    ว่าตนรู้ ท่านก็จะได้ชี้ให้รู้ แต่หากเราเข้าใจทั้งหมด หัดมี "โยนิโสมนสิการ"
    มากๆ "ไม่ประมาท" "มีกัลยณธรรม(มรรค etc.)" ก็ไม่ต้องถามพ่อแม่ครูบา
    อาจารย์ก็ได้ ศึกษาได้เองแม้นเจอ วลี เพียงคำเดียว ก็เกิดสติระลึกได้ ไม่ยาก
    แต่ก็ไม่ง่าย

    อย่าไปคิดมาก การเปรียบเทียบ มันหลอกตา ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เท่านั้น

    พอคิดมากมันก็กังวลซ้ำซ้อน การเปรียบเทียบ มันหลอกตา ซ้ำซ้อนซ้ำแล้วซ้ำเล่า

    เหวะหวะ เอน็จอนาถ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2011
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถ้าเข้าถึงสุขจนชำนาญ เอกัคคตารมณ์ไม่ลอยไปไหนครับ เรื่องฌาน เรื่องสมาธิ ต้องอาศัยการทำให้บ่อย ทำให้มาก เพียรอีกหน่อยครับ และความสม่ำเสมอก็สำคัญครับ

    จิตเสื่อม ฌานเสื่อม นี่แทบจะต้องมาไล่กันใหม่เลย แต่อย่างว่าของมันเคยได้ มันก็แค่เสียเวลาหน่อย
     
  7. Ayukawa

    Ayukawa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    256
    ค่าพลัง:
    +573
    "แต่ก็ยังไม่พบว่าตัวเองมีสมาธิ(จิตนิ่ง)เลย รู้แต่ว่ามีความสุขและความสงบที่ได้นั่งสมาธิ"
    ขอออกความเห็นนิดหนึ่งครับ เวลาที่จิตสงบนิ่งเป็นสมาธิจะเหมือนกับกระจกใสปิ๊ง
    เราจะมองทะลุกระจกไปเลย เรามองไม่เห็นกระจกหรอกครับ เดินชนกระจกกันก็บ่อย
    ขณะที่จิตจับอยู่ที่องค์ภาวนา แล้วไม่มีความคิดอื่นเข้ามาแทรกนั่นคือสมาธิเริ่มเกิดแล้วครับ
    เมื่อสมาธิเกิดจิตเริ่มสงบนิ่งละจากความโลภ โกรธ หลง อกุศลต่างๆ ความสงบสุขย่อมเกิด
    ผมคิดว่านี่เป็นก้าวแรกที่ดี เมื่อมีก้าวแรกก็ย่อมมีก้าวที่สอง และสามตามมา
    ขอให้พยายามต่อไปครับ :cool:
     
  8. makcloud

    makcloud เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2009
    โพสต์:
    424
    ค่าพลัง:
    +535
    ขอบคุณครับสำหรับคำแนะนำ แต่ก็ยังมีข้่อสงสัยอีกนิดหน่อย ขอรบกวนขอความรู้เพิ่มเติมอีกหน่อยครับผม
    ที่ว่า4 รอบแล้วไง หากมัน 3 รอบแล้วไง 7 รอบแล้วไง คนภาวนาไม่เป็น ก็สารวนกับ
    น้ำหนักที่ว่า ทำได้กี่รอบ คนภาวนาเป็นเขาไม่สนหรอก ครึ่งรอบก็ขอให้ได้ทำเป็นอัน
    ใช้ได้ หากวันหนึ่งครึ่งรอบไม่ทำเลย ก็เรียกว่า เผลอสติ ขาดความเพียร หากวันหนึ่ง
    ทำได้เป็นแสนรอบแล้วมั่วนั่งดีใจกับแสนรอบ ก็เท่ากับ ล้มละลายทางธรรม ขาดความ
    เพียรเพราะไปเข้าใจผิดเสีย
    แล้วจะให้ทำยังไงล่ะครับ ผมนับสี่รอบเพราะว่าผมนั่งได้ราว ๆ ครึ่งชั่วโมงถึงสี่สิบนาที มันกลายเป็นความเคยชินว่าต้องนับให้ได้ขนาดนี้ และกำลังจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นห้ารอบต่อวัน ต้องบอกว่ามันชินน่ะครับ ผมเคยได้อ่านมาว่านั่งหนึ่งนาทีก็ได้ถ้าจิตเป็นสมาธิ แต่ผมไม่รู้ว่าจิตผมเป็นสมาธิหรือเปล่า ถึงได้กำหนดว่าต้องนั่งให้ได้ครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย และคนที่คุ้นเคยและได้พูดจากันเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ เขาก็บอกว่าเขาก็ต้องนั่งเป็นชั่วโมงเหมือนกันกว่าจิตของเขาจะเป็นสมาธิ (ซึ่งผมก็สงสัยว่าคงขึ้นอยู่กับจิตของแต่ละบุคคลกระมัง เพราะบางคนห้านาที ก็เป็นสมาธิ บางคนเป็นชั่วโมงถึงจะเป็นสมาธิ)
    ประเด็นที่ผมอยากจะทราบก็คือ ควรจะนับไปเรื่อย ๆ ไม่นับรอบ ใช่หรือไม่ แล้วถ้าเป็นเช่นนั้น เราจะเอาเกณฑ์อะไรมากำหนดว่า เรานั่งพอแล้ว ควรเลิกได้แล้ว ในแต่ละครั้ง
    ลูกศิษย์ที่ดีควรถามเมื่อสงสัย หวังว่าอาจารย์ (รุ่นพี่หรือผู้มีความรู้) คงไม่รำคาญนะครับ
    ขอบคุณมากครับ ขอบคุณมากครับ ขอบคุณมากครับ
     
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    นั่งนาน ไม่ได้หมายความว่าได้สมาธิ ดูคนหลับนั่นสิ หลับได้ยังไงตั้ง 7-8 ชม

    การทำสมาธิได้ ถ้าเป็นสมาธิจริงๆ เพียงแค่ 5 นาที ก็จะทำให้จิตมีกำลังแช่มชื่นขึ้นมา

    แต่ว่า สมาธิ ที่ถูกเป็นอย่างไรนั้น เป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจให้ตรงกัน เพราะว่า คนที่เคยสัมผัสสมาธิ กับ คนไม่เคยสัมผัสรสแห่งสมาธิ ก็เหมือนกับ คนไม่เคยสัมผัสลิ้มรสชาติอาหาร จะให้อธิบายสภาพรสชาติ มันก็คงจะลำบาก

    ทีนี้ จึงบอกได้แต่เพียงว่า มีจิตเป็นหนึ่ง สงบ สุข มีอาการประหลาดปรากฎให้ใจเรารับรู้ เบิกบาน

    การปฏิบัติให้เกิด อาการเช่นว่านั้น เราก็ควรจะต้อง ควบคุมสติ ให้ตั้งมั่น อยู่กับ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วค่อยๆปล่อยวาง ความเครียด ความกดดัน ความคิดทั้งหมด ลงไป จึงว่า เริ่มต้นนี้ ให้ผ่อนคลายให้สบาย อาจจะสวดมนต์ ทำจิตทำใจ ให้เบิกบาน มีความรู้สึก อยากจะนั่งสมาธิ ให้มีอารมณ์ แบบเด็กอยากจะเล่นของเล่น คือ เบิกบาน รู้สึกดี มีกำลัง แล้ว จึงค่อยๆ ลงมือ ทำสมาธิ ด้วยความตั้งใจ แล้ว ก็ค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้น อาการจรดจ่อให้มากขึ้นตามลำดับ

    บางคน นั่งลอยๆ ไม่มีหลักให้จับ จิตก็ไม่สามารถที่จะจรดจ่อ กับสิ่งใดได้ จิตก็ล่องลอย ก็เป็นอาการที่ว่า นั่งนานๆ แล้วไม่ได้อะไร

    เราก็ต้อง หาหลักให้จิตนี้ จับ เช่น คำบริกรรม ในขณะบริกรรมไป ใจก็ต้องคอยดูว่า จิตใจมันแนบสนิทมากขึ้นหรือไม่ จิตใจ ยังแว็บออกหรือไม่ จิตใจยังพะวงอยู่กับ อาการอย่างอื่นหรือไม่
    คอยดึงจิตให้กลับเข้ามาสู่คำบริกรรม ทั้งหมด จิตจะค่อยๆหดตัวลงมา ทั้งอายตนะต่างๆ ความรุ้สึกต่างๆ ความคิดต่างๆ หดตัวลงมา แล้ว นิ่ง นั่นแหละ สมาธิ

    ลองฝึกทำกันดู
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ดีๆ แต่มาทำความเข้าใจระหว่าง กังขาวิตรณวิสุทธิ กับ ลังเลสงสัย กันก่อน

    เวลาเราเกิด คำถามขึ้นในใจ มันมีสองอาการ

    อาการแรก คือ ติดขัด ไม่ก้าวข้าม
    อาการที่สอง คือ เกิดคำถามขึ้น แต่ไม่ติดขัด มีการก้าวข้าม

    อาการแรก เมื่อ เกิดการติดขัดแล้ว แม้จะเป็นคำถาม แต่จิตจะไร้อารมณ์
    อยากฟังคำตอบ ซ้ำร้ายใครตอบมีด่า มีขัดใจ มีไม่พอใจเพราะว่าไม่เหมือน
    ที่ตนแอบตอบเอาไว้ในใจ

    อาการที่สอง เมื่อเกิดติดขัดแล้ว จิตมันจะอะเริธท์ตัว จะคอยเงี่ยหู ตื่นจิต ตื่น
    ใจหมายๆ จะรอรับอะไรสักอย่าง ขอให้ได้ยินเถอะ เป็นใช้ได้ทั้งนั้น ไม่เกี่ยงเลย
    ที่จะสดับ แม้จะสดับสิ่งที่ไม่ตรงที่อเริธท์อยากได้ยิน ก็ไม่ขัดใจ เคืองใจ

    เนี่ยะ การถามแบบมีอากัปกริยาจิตแบบแรก คือ ลังเลสงสัย วิจิตกิจฉา และ
    ศีลลัพพตปรามาส และ สักกายทิฏฐิ ประชุมอยู่ครบ

    ส่วน การถามแบบมีอากัปกริยาจิตแบบที่สอง คือ ถามแบบว่าก้าวข้ามความสงสััย
    ไร้อัตตา ไม่ละเมิดศีล เพียงแต่ว่า เป็น ตรณ (ตะ ระ ณะ) หรือ ตรุณ หรือ
    อรุณ หรือแค่ แรกๆแย้ม ที่จะวิสุทธิ ร้อยเสียใหม่ได้คำว่า กังขาตรณวิสุทธิ

    ที่นี้ คุณ จขกท ต้องมั่นอกมั่นใจ หากเรา ถามเพื่อหมั่นสดับ ไม่ใช่ถามเพื่ออยาก
    ฟังอยากเทียบเพื่อไปกลัดกลุ้ม ก็ไม่ต้อง ออกตัวถามผู้มาสอนว่า

    "คงไม่รำคาญนะครับ ขอบคุณมากครับ ขอบคุณมากครับ ขอบคุณมากครับ<!-- google_ad_section_end -->"

    เพราะว่า มันจะเผลอไปสั่งสม มานานุสัย หรือ มานะสังโยชน์ ให้พอกพูล
    ไม่ดีหรอก

    เราควรมีจรณะที่รู้ว่าการนี้ เป็นไปเพื่อความประพฤติที่รู้ว่าอยู่บนทาง
    มีทัศนะ มีญาณ มีปัญญา เพื่อมีวิมุติเป็นที่สุด

    * * * * *

    กลับมาตอบคำถาม ทำไม 4 ทำไม 3 ทำไม 7 คุณตั้งขอสังเกตเอาไว้เถอะ

    เพราะ มันคือ จุดที่จะทำให้คุณรู้ว่า อะไรคือ สมาธิ อะไรคือ ความสงบ
    อะไรคือ นิ่ง อะไรคือ ไหวแต่ไม่กระเพื่อม

    อะไรคือ "สภาวะที่คล้ายแมงมุมที่อยู่ตรงกลางใยที่โบกไหว"
     
  11. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,427
    ค่าพลัง:
    +35,049
    ผมขอแวะมาเป็นกำลังใจให้นะครับ..สู้ๆครับ..พยายามต่อไป.ผมคิดว่าต่อไปคุณจะดีขี้นเองครับ
    ขอให้เจริญก้าวหน้าในธรรมนะครับ..
     
  12. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    จะมีความรู้สึกที่อยู่กับตัว
    ไม่หวั่นไหวตามอารมณ์ ไม่อินยินดี ยินร้าย

    มีสติกำกับการกระทำ ถ้ายังดีๆชั่วๆไม่เด็ดขาด

    ถ้าไม่ทำชั่ว ก็จะได้เบิกบานไม่เศร้าหมองเพิ่มขึ้น หักใจไม่ทำได้บ่อยๆกิเลสมันก็อ่อนกำลัง
    ถ้าทำดี ก็ได้สว่างจ้าเพิ่ม

    พอไม่ทำชั่วนี่ไม่มีเหตุไปอบายภูมิละ ดีขึ้นเรื่อยๆ
     
  13. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ใจ....รู้ที่ลมหายใจ เข้า-ออก ตลอดเวลา อย่างสงบ ไม่คิดไปในเรื่องอื่น ๆ เมื่อไม่มีการคิดก็ไม่เกิดอารมณ์อื่นมาแทรก.....ใจก็นิ่ง สงบอยู่แบบสบาย ๆ นั่งทั้งวันก็ยังได้ เพราะมันรู้สึกสบาย ๆ มีหลักให้เกาะ ให้ระลึกถึง แทนการคิดไปในเรื่องอื่น ๆ

    ถ้าใจไม่นิ่ง คิดไปในเรื่องอื่น ๆ เดี๋ยวก็หลุดออกไปสู่อารมณ์นั้น ๆ แล้วใจจะไม่นิ่ง อยากคิดต่อไปตามเรื่องที่คิด.....หากไม่คิดอยากได้ อยากมี อยากเป็น ปล่อยวางได้ มันก็หยุดคิด......พอหยุดคิด มันก็สบาย เดี๋ยวก็นิ่ง.....ไม่คิดอะไรเลย อยู่อย่างนั้น....สบาย ๆ.
     
  14. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    ถ้ายังต้องพึ่งลมหายใจ พึ่งคำบริกรรม
    เรียกว่า ยังไม่นิ่งจริง

    ถ้านิ่งได้จริงโดยไม่ต้องพึ่งอะไร
    คือ รู้จัก จุดของผู้รู้
     

แชร์หน้านี้

Loading...