มูลกรรมฐาน โดยหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 29 ธันวาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    มูลกรรมฐาน

    [​IMG]

    การ ที่เราจะเรียนรู้กรรมฐานของพระพุทธเจ้าเป็นเรื่องเรียนรู้วิชาอันสูงสุด คนที่ยังไม่เรียนรู้ พุทโธ ธัมโม สังโฆ นี้เป็นบุคคลที่ยังไกล มีโอกาสจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสารนับชาติไม่ถ้วน ไหลไปตามกระแสน้ำเหมือนเรือไม่มีหางเสือ ไม่สามารถจะไปตามจุดหมายปลายทางได้ น้ำไหลไปทางไหน เรือก็ไปทางนั้นมันไม่ข้ามฝั่ง
    คน ไม่เรียนรู้กรรมฐาน ไม่เรียนรู้พุทธศาสนา ก็เหมือนกับบุคคลที่มีกายใจแบบปุถุชนคนธรรมดา ไม่สามารถจะยกตนเองให้พ้นจากความทุกข์ หรือความเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารได้ คือจะดีใจชั่วขณะเดียว ความเสียใจมันจะเกิดขึ้นกับผู้ไม่เรียนรู้ธรรมะ ฉะนั้นจึงบอกว่าคนที่ปฏิบัติกรรมฐานเหมือนเรือที่มีหางเสือ และบางคนที่คุมหางเสือดีไปสู่จุดหมายปลายทางสู่ฝั่งที่หายได้ ไม่ได้ไปเลาะกลางน้ำหรือไปจมกลางน้ำ

    คนที่จะนำพาหางเสือก็ต้องเป็นคน ที่มีสติดีมีปัญญา ไม่ใช่เอาคนตาบอกไปพายเรือ ไม่ใช่เอาคนขาดสติไปถือหางเสือ คนนั้นจะต้องเรียนรู้ทิศทางลมหรือทิศทางที่จะไป เหมือนกับกัปตันเรือที่จะเอาเรือข้ามทะเลได้ก็ต้องดูทิศทางลมทิศทางเรือ แล้วจึงจะนำเรือไปได้ การเรียนรู้ธรรมะคำสั่งสอนพระพุทธเจ้าก็เช่นเดียวกัน เราต้องมีพื้นฐานทางด้านจิตใจของเรา

    เริ่มต้นเราต้องเกิดศรัทธา มีความศรัทธาในคำสองของพระพุทธเจ้า มีจิตใจตั้งมั่นที่จะฟังธรรมปฏิบัติธรรม มีความเชื่ออยู่ในตัวแล้วเชื่อว่าพระพุทธเจ้าท่านได้ปฏิบัติตัวอย่างไร ธรรมะคำสอนของท่านสอนให้เราทำดีอย่างไรเป็นเรื่องจริงแค่ไหน และพระสงฆ์เจ้าก็ปฏิบัตินำให้เราดูว่าทางพ้นทุกข์ทำอย่างไร



    การ เรียนรู้พุทธศาสนาเป็นอุดมมงคลอันสูงสุด ถ้าใครไม่เรียนรู้แล้วบุคคลนั้นจะไม่เข้าไปใกล้เลย จะเป็นคนที่ห่างไกลเหมือนต้นไม้หรือต้นกล้าปลูกไปแล้วไม่มีน้ำรด มีแต่ตายอย่างเดียว คล้ายว่าคนเราเกิดมาแล้วพบพุทธศาสนา แต่ไม่สนใจธรรมะเลยสักข้อเดียวเพราะเกิดมาแล้วมีแต่กายกับใจ กิจกับนอน เมื่อตายไปแล้วก็ไม่มีอะไรติดตัวไป เหมือนกับมีนามีสวนแต่ไม่มีต้นไม้ มีต้นไม้ก็ไม่มีคนดูแล ไม่มีใครรดน้ำมันก็ตาย ไม่มีประโยชน์อะไร

    บุคคล ที่มีใจศรัทธาต้องพยายามสร้างกุศล กุศลอันนี้ไม่ใช่เป็นของไกลตัวเองมันอยู่ที่จิตใจเรา ทุกข์มันก็มีอยู่ที่ใจเรา ความไม่สงบก็มีอยู่ที่ใจเรา ถ้ามันยังเก็บไว้มันก็ยังไม่ออกฤทธิ์ เมื่อออกฤทธิ์มาเมื่อไหร่ก็ทุกข์วุ่นวายเมื่อนั้น เราก็ต้องหาทางดับเหมือนไฟ มันมีอยู่แต่เราพยายามเอาเชื้อออก จิตใจเราที่ร้อนทำให้มันเย็นพยายามไม่หาเรื่องหาราวมาใส่ใจ

    สิ่งที่ จะแก้ใจเราได้ก็ต้องอาศัยพระรัตนตรัยเข้ามาเรียนรู้พุทธศาสนาอย่างน้อย นะโม พุทโธ สังโฆ ให้มีอยู่ในหัวใจของเราบ้าง ดีกว่าเราไม่รู้เรื่องศาสนาเลยสักข้อเดียว ถ้ารู้แล้วเราก็ปฏิบัติตัวเองได้ถูกต้อง ต่อไปมันก็ดีขึ้นไปเอง มันจะปรับปรุงฐานะจิตของเราให้สูงขึ้น จิตใจที่มันจะตกต่ำมันไม่ตกต่ำ ถ้าเราไม่เข้าใจชีวิตเราจะไม่มีโอกาสเลย เพราะเราเรียนมาแล้วก็มาทำงานตั้งเนื้อตั้งตัว ชีวิตฝากไว้กับงาน เงิน และภาระทุกอย่าง



    คน ที่เข้าหาธรรมะเป็นคนมีปัญญาที่มองเห็นแล้วว่า ทำดีแล้วได้ผลแก่ตนเอง ยิ่งมาทำกรรมฐานยิ่งเห็นความสงบ มันสบายใจ ตอนเราไม่สงบนี้มันลำบากใจ มันเห็นกันปัจจุบันนี้เอง เราก็ไปมองคนข้างนอกที่เขามไม่มีธรรมะ เขาก็วุ่นวายหาที่พึ่งไม่ได้ คนมีเงินมีทองยศตำแหน่งสูงเพียงใด เขาก็วุ่นวายมากกว่าเรา เรานี้พยายามปลง พยายามละ พยายามไม่เอาอะไรมาก พยายามปฏิบัติใจ มันก็ดี

    ธรรมะของพระพุทธเจ้าให้พิจารณามุมกลับมองคน โน้นคนนี้ ได้โน่น ได้นี่ แล้วเราก็จะตามเขาไป ตามเขาไปเราก็มีทุกข์อย่างเดียว เราต้องรู้ว่าธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนให้ใจเราสงบทางใดเป็นทุกข์ไม่สงบ เราก็ไม่ไป พระพุทธเจ้าเรียนรู้ธรรมะ ท่านเรียนง่ายๆ ท่านเรียนกรรมฐาน

    กรรมฐาน กรรมคือการงาน ฐานคือที่ตั้ง ตั้งไว้ที่ในตัวไว้ที่จิต จิตคนเรามันคอยจะตกไปสู่อารมณ์อื่นเราก็เอาจิตของเรามาตั้งไว้ที่กาย และพยายามควบคุมจิตของเราให้อยู่กับกายเรื่อยๆ เมื่อไว้กับกายไม่ถนัดก็ให้จับไว้ที่ลมหายใจเข้า ออก ถ้าจิตของเราไม่สงบลมหายใจจะขัดๆ หายใจไม่สะดวกเราก็ปรับใจเรา



    เมื่อ เราจับลมได้ดีแล้วลมมันจะแสดงออก ลมหายใจน้อยลง หายใจเข้าก็น้อย หายใจออกก็น้อย หายเจ้าเข้าก็เย็น หายใจออกก็เย็น เราก็รู้เลยว่าจิตเรานี้เริ่มสงบแล้ว เรียกว่าอุปจารสมาธิ เมื่อจิตเข้าไปอุปจารสมาธินี่ลมเราจะเย็น ใจเราจะเย็น ไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามาแทรก ใจเราจะเย็น ไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามาแทรก ใจของเราจะผ่องใสเบิกบาน จิตที่เคยนึกไปโน่นไปนี่ก็หยุดมันไม่คิดจิตจะน้อมเข้ามาเห็นตัวเอง นึกผมก็เห็นผม นึกถึงขนก็เห็นขน นึกถึงเล็บก็เห็นเล็บ จะไปดูตรงไหนก็เห็น

    จิต จะละเอียดขึ้นไม่คิดถึงใคร อดีตและอนาคตก็ปล่อยว่าง จิตจะเกาะอยู่กับกายหนักเข้าจิตมันก็ปรากฏสติมากขึ้น สมาธิมากขึ้น ญาณปัญญาก็เกิดเห็นจิตตัวเองว่าสงบหรือไม่สงบ พอสงบมันก็เห็นชัดเหมือนเราเอาหน้าไปส่องกระจกใสๆ นั่นเอง มันจะเห็นตัวเอง ทำสมาธิมันเป็นเรื่องเกาะกายนั่นเอง

    เพียงเอาจิตมาเกาะกายเท่านี้นะ หรือ? เท่านี้ก็ขอให้ทำเถอะ! เราไม่ต้องไปติดดถึงขึ้นอื่นแล้วมันจะเข้าใจเอง เรียนธรรมะนี่เรียนเบื้องต้นก่อนไม่ต้องไปเรียนวิปัสสนา ถ้าเราจะเรียนทำนาเราก็เรียนปลูกข้าวให้เป็นก่อนไม่ต้องไปเรียนเกี่ยวข้าว หรอก ถ้าจะเรียนปลูกต้นทุเรียนก็ไม่ต้องไปเรียนเก็บลูกทุเรียน ปลูกต้นทุเรียนให้ขึ้นก่อน ทำอะไรต้องมีพื้นฐานก่อน คนเราโดยมากไม่เข้าใจพื้นฐานก็คิดจะไปเอายอด



    เรา มาเรียนกรรมฐานกันก่อน จับกายตนเองนั่นแหล่ะกรรมฐาน พอจิตสงบเป็นสมาธิ พอแยกรูปแยกนามออกจากกันได้ ไหนคือรูปไหนคือนาม นามคือไม่มีตัวตนเป็นการปรุงแต่งคิดนึก รูปคือร่างกายที่สัมผัสเย็นร้อนอ่อนแข็ง ที่กระทบได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย เมื่อเราแยกรูปนามได้ก็เป็นปัญญาเป็นญาณจึงจะเป็นวิปัสสนา จึงไปละรูปนามอันนั้น

    เราเรียนเบื้องต้น เรียนมูลกรรมฐาน มูลกรรมฐานนี้พระพุทธเจ้าสอนพระภิกษุให้บรรลุกันมาก มูลกรรมฐานเป็นมูลรากของกรรมฐานทั้ง 40 ที่จริงเราข้ามกันไปเองอย่างจะให้ถูกทางอย่างจะให้สำเร็จกลัวจะผิดทาง เราก็เลยค้นคว้าหามากมายเลย เราก็เลยลืมของเก่าไปหมด กรรมฐานทั้ง 40 ย่นมาเพียงเอากายเป็นหลัก เอากายกับใจให้พิจารณาสังขารบ่อยๆ

    พระ พุทธเจ้าสอนเรื่องนี้โดยมากเลย ในสมัยที่พระองค์ยังทรงอยู่ สอนภิกษุในจับกายของตนเองเป็นอารมณ์ พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้เห็นความจริงว่ามันไม่ใช่ของเรา เหมือนฟันของเราหักไปซี่นี่มันเป็นของเราหรือเปล่า มันหักไปซี่ต่อไปมันคงจะหักหมด มันเคยเป็นของเราแหล่ะซี่นี้แต่ตอนนี้มันไม่ใช่แล้ว ถ้าผมมันหงอกไปเส้นทำไมมันหงอก ต่อไปมันคงหงอกหมดศีรษะ กำลังวังชาที่เคยแข็งแรงมันเริ่มลดลง



    พิจารณา ไปๆ เราก็เกิดปัญญา คิดได้ว่าเราจะต้องรีบปฏิบัติธรรมหาที่พึ่ง เพราะอะไรๆ มันก็เริ่มปรากฏมาให้เห็นแล้วว่าเราจะไม่ยอมรับอย่างไรได้เรียนกรรมฐาน แล้วจะเป็นคนไม่งมงาย เป็นคนไม่หลงเป็นคนเข้าใจอะไรดีขึ้นสามารถจะช่วยตนเองได้ เมื่อมีทุกข์มันก็แก้ตนเองได้ ทุกข์ต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นกับเราผู้ปฏิบัติธรรม ความวุ่นวายในชีวิตจะไม่มี มันรู้ทันดับไปหมดและไม่สร้างทุกข์ขึ้นมาใหม่ เพราะตนเองรู้จักมันแล้วก็เหมือนกับคนที่ควบคุมตัวเองได้ดี

    คนที่มา เรียนรู้กรรมฐานเป็นคนเลี้ยงง่าย ว่าง่ายเป็นคนดีอยู่กับใครก็ง่าย ปรับตนเองให้เข้ากับสังคมได้ แล้วจะว่าไม่อย่างไร...โยม กรรมฐานนี้ดีอยู่แล้ว แต่เราไม่ค่อยภาวนา มันก็เลยเป็นเรื่องยาก เยนที่กายเรานี่เองไม่ต้องอยาก เรื่องบุญ บาป นรก สวรรค์ นิพพาน มันอยู่ที่ใจเราหมด

    งานทางจิตของเราก็ทำให้ถูกเท่านั้นเองแล้วมันก็ เกิดไปตามวาระจิต เกิดไปตามบารมีที่เราสร้างของเราไว้แต่ชาติก่อนและชาตินี้ มันไปเต็มอยู่ในหัวใจเราเหมือนกับคนที่เอาน้ำไปใส่ตุ่ม ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่เต็มหรอก ใส่ไปเรื่อยๆ แล้วมันเต็มออกมาก็เห็นเอง



    ที่ นี่ทำไงเราจะเติมให้เต็ม? เราก็ภาวนาเหมือนกับน้ำนั่นแหละ! ภาวนาวันยังค่ำ ยืนก็ภาวนา นั่งก็ภาวนา นอนก็ภาวนา คิดอะไรมันก็ค่อยๆ ภาวนาพิจารณา เรียกว่า กินไม่หมด ใช้ไม่หมดบุญกุศลอันนี้ ภาวนาไปมันก็เห็นบุญที่ใจของเราเอง เห็นศีลที่ใจ เห็นสมาธิที่ใน ปัญญามันก็เกิดล้นออกมาจากใจ มันเกิดของมันออกมาที่ใจเอง

    ฆราวาสนี้ มีโอกาสเยอะเลยนะ ถ้าตั้งใจปฏิบัติธรรม มีโอกาสจะบรรลุธรรมได้ โสดาบันก็เป็นได้ โสดาบันก็พิจารณาว่าไม่ใช่กายเราก็แล้วกัน พยายามพิจารณาว่าไม่ใช่กายเรา โสดาบันเขาคิดอย่านั้น แต่เขาทำงานนะไม่ใช่พิจารณาเบื่อหน่ายร่างกายจนอยากจะตาย พอเห็นว่าไม่ใช่กายเราไม่ใช่จิตเรา มันปรุงแต่งคิดนึกของมันไป เราก็วางเฉย โสดาบันที่อยู่กับชาวโลกก็อยู่อย่างนี้ พอคิดได้อย่างนี้ก็สบายใจ ถ้าแฟนไปแต่งงานใหม่ก็ไม่ทุกข์ใจ ไม่ใช่ของเรา โอ้! ถ้าหากว่า ไม่เป็นโสดาบันพอรู้ว่าไปชอบใครหน่อย จะตายเสียแล้ว กินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะมีธรรมะจึงปลงตก

    ธรรมะนี้ทำให้คนใจสูง ทำให้คนมีความสงบมากขึ้น ไม่ถูกทุกข์ทรมานใจ ปัญจกรรมฐานนี้เรียนไปเถอะเป็นทางพระนิพพาน พระพุทธเจ้าท่านก็เรียนอย่างนี้ไม่ต้องสงสัย กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ท่านก็เรียนที่กายนี้เอง



    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็พิจารณากายยืน กายเดิน การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ กายเคลื่อนไหว ก็รู้ กายของเราเป็นอย่างไรก็รู้

    เวท นานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็พิจารณาเวลาเวทนาที่เกิดกับกาย ใจ สุขก็พิจารณาว่าสุข ทุกข์ก็พิจารณาว่าทุกข์ เฉยก็พิจารณาว่าเฉย เห็นว่ามันเกิดขึ้นได้มันก็ดับได้ อะไรๆ มันตั้งอยู่ไม่ได้สักอย่างเดียวพิจารณาเห็นความจริงแล้วมันก็ไม่หลง

    จิต เห็นจิตตนเองอยู่เรื่อยๆ คิดเรื่องอะไรก็รู้ คิดเรื่องเก่าก็รู้ คิดเรื่องใหม่ก็รู้ คิดเรื่องไม่ดีก็รู้ คิดเรื่องดีก็รู้ คิดอันไหนก็ตามจิตไปเรื่อยๆ เรียกว่า พิจารณาเห็นจิตเนืองๆ เอ ! ตัวคนเดียวเห็นได้ตั้งหลายอย่าง เกิดญาณเกิดปัญญาเห็นตั้งหลายอย่าง

    ธัม มานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมะก็ปรากฏเกิดขึ้น เห็นไตรลักษณาญาณ ยิ่งพิจารณาเท่าไรก็ยิ่งปรากฏให้เห็นให้รู้เป็นพยานได้หมด เกิดธรรมะขึ้นมาในใจ จิตใจก็เชื่อมั่นเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าว่ามีจริงๆ หนอ

    หลวงพ่อสนอง กตฺปุญโญ

    ที่มา
     

แชร์หน้านี้

Loading...