มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,324
    ค่าพลัง:
    +4,774
    ขอถอนจอง รายการที่ 738 มาจอง รายการที่ 740 ครับ
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 741 พระกริ่งพุทธชยันตี+ เหรียญหน้ายักษ์รุ่นรับทรัพย์มีโชคลาภหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโสติถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปุาบุญหนาเป็นศิษย์หลวงปุ่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม พระกริ่งสร้างปี 2555 มีตอกโค๊ต ตัวเลข 2084 เเละโค๊ต ยันต์ ในรูปดอกบัว ก้นทองเเดง เนื้อนวะส่วนเหรียญสร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 80 ปี พ.ศ. 2555 เนื้อกะไหล่ทอง มีตอกโค๊ต ส 2 โค๊ตหลังเหรียญ มาพร้อมพระเกศาขาวใสๆของหลวงปุ่มาบูชาเป้นมงคล *,มาพร้อมกล่องเดิมๆจากวัด*********บูชาที่ 585 บาทฟรีส่งems
    ๏ อัตโนประวัติ

    “หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน” เป็นพระสายวิปัสสนากัมมัฏฐานที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยชื่อดังรูปหนึ่งแห่งเมืองสกลนคร ที่มีชาวบ้านให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก โดยเฉพาะความเป็นพระสงฆ์ที่มากด้วยเมตตาธรรม ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

    เมื่ออายุ ๑๒ ปี ได้เข้าพิธีบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง ได้ญัตติฝ่ายมหานิกาย

    ๏ อุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์

    ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง ๑๒ ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับ “พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ” ศิษย์สายธรรม หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อน เคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป

    สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้านหนองโดก (ปัจจุบันคือ วัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้น ได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย ได้ ๔ พรรษา พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก ประกอบด้วยตัวท่านเองมีความเลื่อมใสการปฏิบัติอยู่แล้ว จึงเป็นโอกาสให้ท่านสนใจไปฟังการอบรมภาวนาและอุปัฏฐากใกล้ชิดกับพระอาจารย์อ่อนตั้งแต่นั้น ภายหลังจึงได้เปลี่ยนเป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และติดตามพระอาจารย์อ่อนเรื่อยมา

    ๏ กราบนมัสการพระอาจารย์มั่น

    ท่านเล่าต่อไปว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่ง (จำชื่อไม่ได้) และญาติโยม ๔-๕ คน ออกจากวัดป่าบ้านหนองโดกหลังฉันจังหันเสร็จประมาณ ๓ โมงเช้า โดยเดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ผ่านไปทางบ้านโคกกะโหล่งหรือบ้านคำแหวปัจจุบัน แล้วปีนเขาขึ้นสู่ถ้ำน้ำหยาด อันเป็นที่พักแห่งหนึ่งของคนเดิน

    คณะของท่านก็เดินตามทางนั้นไปเรื่อยๆ ใช้เวลานานพอสมควร จึงไปถึงที่พักของคนเดินทางอีกแห่ง ตรงนั้นเป็นลำห้วยเล็กๆ อยู่ฟากเขาใกล้บ้านหนองผือ น้ำใสเย็นไหลตลอดแนว ชื่อว่าห้วยหมากกล้วย ถึงช่วงนี้พระอาจารย์อ่อนผู้เป็นหัวหน้า จึงพูดขึ้นอย่างเย็นๆ ว่า “เอาล่ะ ถึงที่นี่แล้ว ให้พักผ่อนเอาแฮงสาก่อน...”

    และพระอาจารย์ก็รับผ้าอาบจากสามเณร เอามาพับครึ่งแล้วปูลงบนพลาญ (ลาน) หิน เสร็จแล้วท่านก็นั่งลงขัดสมาธิหลับตา ซึ่งเป็นการพักเหนื่อยตามวิธีของท่าน สำหรับสามเณรพร้อมญาติโยมที่ไปด้วยต่างแยกย้ายหาที่พักเหนื่อย โดยการหามุมสงบทำสมาธิของแต่ละคนไปตามอัธยาศัย จนตะวันบ่ายคล้อยอากาศเริ่มเย็นสบาย จึงพากันออกจากสมาธิแล้วเตรียมเดินทางต่อไป จนกระทั่งถึงวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) เวลาประมาณบ่าย ๓ โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณร แต่ลานวัดสะอาด เห็นแล้วพลอยทำให้จิตใจสงบเย็นไปด้วย ดูสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ภายในวัด จัดเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อยดีมาก เดินไปอีกหน่อยหนึ่ง เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด

    ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ ซึ่งบ่อน้ำนั้นอยู่ท้ายวัด ตักขึ้นเทใส่ปี๊บ ใช้ผ้าขาวกรองที่ปากปี๊บ เมื่อเต็มแล้ว พระเณรผู้ที่จะหาม ๒ รูปใช้ไม้คานหามสอดที่ห่วงปี๊บ ถ้าต้องการหลายปี๊บก็สอดเรียงซ้อนกันมากน้อยตามกำลังสามารถ อย่างมากประมาณ ๔ ถึง ๖ ปี๊บ ในแต่ละเที่ยว เอาไปเทตามโอ่งที่ล้างบาตรที่ล้างเท้าหน้าศาลาหอฉัน และตามกุฏิพระเณร ห้องถาน (ห้องส้วม) จนกระทั่งเต็มหมดทุกที่

    เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิท่าน ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่นๆ เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วน สามเณรบุญหนา (หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน) มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย

    เนื่องจากสามเณรบุญหนามีรูปร่างเล็ก พอได้แทรกเข้าไปกับพระ ซึ่งส่วนมากมีร่างกายใหญ่โตทั้งนั้น เช่น พระอาจารย์ทองคำ จารุวัณโณ, พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส, พระอาจารย์อ่อนสา สุขกาโร, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสัมปันโน และอีกหลายๆ ท่าน

    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า “เณรมาแต่ไส...” เสียงท่านน่าฟังสดับจับใจมาก บ่งบอกถึงความเมตตา แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า “เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย” จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น ซึ่งเหตุการณ์ในวันนั้นเป็นสิ่งที่ท่านประทับใจมาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้

    สำหรับที่เป็นคติธรรมตามที่ได้เข้าสัมผัสวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งสมัยพระอาจารย์มั่นพำนักจำพรรษาอยู่ที่นั่น ได้สังเกตเห็นว่า แม้พระเณรจะมีเป็นจำนวนมาก การทำกิจวัตร เช่น ตักน้ำใช้ น้ำดื่ม กวาดลานวัด ขัดห้องน้ำห้องส้วม ตลอดทั้งล้างกระโถน กาน้ำ กรองน้ำใส่โอ่งไห และทำการงานอื่นๆ จะไม่ปรากฏเสียงพระเณรพูดคุยกันเลย ถึงจะพูดคุยกันก็เพียงกระซิบกระซาบ เห็นแต่อาการปากขมุบขมิบเท่านั้น คนอื่นไม่ได้ยินด้วย นี่เป็นคติธรรมอันหนึ่ง ให้มีสติระมัดระวังตัวไม่ประมาท

    จึงเกิดอุบายธรรมขึ้นมาว่า เรื่องสติเป็นสิ่งสำคัญมาก สติระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรูซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ

    พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ได้เล่าเรื่องของ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ว่า “กายสุจริตํ วจีสุจริตํ มโนสุจริตํ กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ เอวัง...” แล้วท่านก็เดินลงจากธรรมาสน์ไป

    หลังจากพักอยู่วัดป่าบ้านหนองผือได้ระยะหนึ่งแล้ว จึงได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปกับพระอาจารย์อ่อน เพื่อหาความสงบวิเวกอยู่ใกล้ละแวกนั้น จนกระทั่งทราบข่าวว่าพระอาจารย์มั่นออกจากวัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) แล้วไปพำนักอยู่ที่วัดป่ากลางโนนภู่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สุดท้ายท่านได้มรณภาพลงที่วัดป่าสุทธาวาส ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

    สามเณรบุญหนาได้ติดตามไปกับพระอาจารย์อ่อนโดยตลอด และไปพักอยู่ช่วยงานเตรียมเมรุชั่วคราว เพื่อถวายเพลิงศพพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าสุทธาวาส จนแล้วเสร็จเรียบร้อยหมดทุกอย่าง จึงออกเที่ยวเดินธุดงค์ต่อไป

    นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก อาทิเช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น

    ต่อมา หลวงปู่บุญหนา ธมฺมทินโน ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดวัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูปหนึ่งที่ยังเหลืออยู่

    เมื่อวันที่ ๖ เม.ย. ๒๕๕๙ เวลา ๑๔.๕๒ น. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ ๘๔ ปี ๙ เดือน ๑ วัน ๖๔ พรรษา หลังจากก่อนหน้านี้หลวงปู่บุญหนาได้อาพาธด้วยโรคมะเร็งปอด และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นระยะๆ ทั้งนี้เมื่อวันที่ ๕ เม.ย. ๒๕๕๙ หลวงปู่บุญหนาได้เดินทางมาโรงพยาบาลศรีนครินทร์อีกครั้งเนื่องจากอาการทรุดลง จนเมื่อเวลา ๐๓.๐๐ ของวันที่ ๖ เม.ย. หลวงปู่มีอาการหายใจไม่ออก จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจประคอง ทางศิษยานุศิษย์จึงนิมนต์หลวงปู่กลับวัดตามที่หลวงปู่ได้สั่งไว้ กระทั่งเวลา ๑๔.๕๒ น. หลวงปู่บุญหนาจึงละสังขารอย่างสงบ ในกุฏิ วัดป่าโสตถิผล
    sam_2473-jpg-jpg.jpg sam_0336-jpg-jpg.jpg SAM_9120.JPG SAM_9121.JPG sam_6550-jpg-jpg.jpg sam_6551-jpg-jpg.jpg sam_6553-jpg-jpg.jpg sam_6554-jpg-jpg.jpg
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 742
    เหรียญหลวงพ่อเพชรรุ่นเเรกหลวงพ่อขันตี ญาณวโร วัดป่าม่วงไข่ บ.ม่วงไข่ ต.สานตม อ.ภูเรือ จ.เลย ปี ๒๕๓๘ วัตถุประสงค์ - เพื่อแจกแก่ศิษย์ผู้ศรัทธาโดยไม่มีการจำหน่ายออกในนาม - วัดป่าสันติธรรม บ.ห้วยเดื่อ ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย มีเกศาหลวงปู่มาบูชาเป้นมงคล *******บูชาี่ 335 บาทฟรีส่งems

    หมายเหตุ - เหรียญมีเพียงเนื้อ ทองแดงผิวไฟ เนื้อเดียวเท่านั้น โดย คุณสุนันท์และคุณวรชัย ได้ขออนุญาตหลวงพ่อขันตี สร้างเหรียญพระพุทธ เป็นพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร เพื่อให้หลวงพ่อขันตี ไว้แจกแก่ศิษย์ ในขณะที่เหรียญหลวงพ่อเพชรดำเนินการสร้างไป คุณสุนันท์ และ คุณวรชัย ได้ขออนุญาตสร้างเหรียญ รูปหลวงพ่อขึ้นในการนี้ด้วย เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ศิษย์
    หลวงพ่อขันตี อนุญาตให้จัดสร้างเหรียญรูปหลวงพ่อ และหลวงพ่อเพชรไปพร้อมกันๆ โดยไว้แจกแก่ผู้ศรัทธา และแจกแก่ลูกศิษย์ในวันที่ 12 ต.ค. sam_1450-jpg.jpg 2538 ในวาระครบรอบ 53 ปี หลวงพ่อขันตี ญาณวโรเมื่อทางหลวงพ่อขันตี ได้รับเหรียญ รุ่นแรกของท่านทั้ง 2 แบบ แล้ว คือ เหรียญหลวงพ่อเพชร และ เหรียญรูปท่านแล้ว ท่านได้มอบหมายให้พระอาจารย์ทวี น้องชายของท่าน นำเหรียญทั้งหมดไปไว้ใต้ฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร ที่วัดสันติธรรม ห้วยเดื่อ เพื่อให้ครูบาอาจารย์ได้ร่วมอธิษฐานจิต 3 ไตรมาสจนเมื่อวันที่ 2 ม.ค. 2541 งานผูกพัทธสีมาบ้านห้วยเดื่อ หลวงพ่อขันตี ได้มอบเหรียญหลวงพ่อเพชร และ เหรียญรูปท่าน ซึ่งเป็นรุ่นแรกของท่าน ให้หลวงปู่จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย จ.พิจิต หลวงพ่อทิวา อาภากโร หลวงพ่อจันทร์เรียน คณวโร วัดถ้ำสหาย จ.อุดร อธิษฐานจิตก่อนแจกจ่ายแก่พระเณร ญาติโยม ที่มาร่วมงาน
    โดยหลวงพ่อเพชรนั้นสร้าง 10000 เหรียญ มี 2 พิมพ์.
    1.พิมพ์ใหญ่ จำนวนสร้าง 5000 เหรียญ(ทองแดงเนื้อเดียว)
    2.พิมเล็ก จำนวนสร้าง 5000 เหรียญ(ทองแดงเนื้อเดี่ยว)
    เหรียญ รุ่นแรกทั้ง 2 พิมพ์สร้างเนื้อเดี่ยว คือทองแดง เนื้อเดี่ยว
    ครูบาอาจารย์ที่ เมตตาปลุกเสกให้ ในวันที่ 2 ม.ค. 2541 ก่อนแจกญาติโยม
    1.หลวงปู่จันทา ถาวโร (ศิษย์หลวงปู่ขาว)

    2.หลวงพ่อจันทร์เรียน คณวโร (ศิษย์หลวงปู่ชอบ)ท่านไม่นิยมเสกพระนักแต่ครั้งนี้ท่านเมตตามากครับ
    3.หลวงพ่อทิวา อาภากโร (ศิษย์หลวงปู่ชอบ)
    4.หลวงพ่อขันตี ญาณวโร (ศิษย์หลวงปู่ชอบ) sam_6211-jpg.jpg SAM_9122.JPG SAM_9123.JPG SAM_9124.JPG sam_1450-jpg.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กันยายน 2021
  4. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,293
    ค่าพลัง:
    +6,460
    ขอจองครับ
     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 743 รูปหล่อเหมือนสมเด็จองค์ปฐมหลวงพ่อหนุน สุวิชโย พระเกจิเเห่งวัดพุทธโมกข์ อ.โพนนาเเก้ว จ.สกลนคร หลวงพ่อหนุนเป็นศิษย์เอกหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง องค์พระสร้างปี 2553 เนื้อกะไหล่ทอง องคืพระได้เข้าพิธีพุทธาภิเษกที่วัดท่าซุงเเละวัดท่าขนุน เสาร์ 5 เดือน 5 ขึ้น 5 คํ่า มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศาหลวงพ่อหนุนมาบูชาด้วยครับ ********บูชาที่ 755 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา

    หลวงพ่อหนุน สุวิชโย
    วัดพุทธโมกพลาราม
    อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร
    9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.jpg
    พระครูวิชัยสารคุณ (หลวงพ่อหนุน สุวิชโย)
    วัดพุทธโมกพลาราม ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร
    พระครูวิชัยสารคุณ (หลวงพ่อหนุน สุวิชโย) มีนามเดิมว่า หนุน นามสกุล วิชัยยา เกิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๕ (หลักฐานตามใบเกิดวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๕) (จากคำบอกเล่าโยมมารดา แจ้งว่าหลวงพ่อเกิด ๑๓ ค่ำ เดือน ๗)

    หลวงพ่อหนุน สุวิชโย ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ของคุณพ่อโค้ง และ คุณแม่รอน วิชัยยา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียว ๙ คน ผู้ชาย ๓ คน ผู้หญิง ๖ คน เกิดที่บ้านเลขที่ ๓๗ หมู่ ๒ บ้านนาเดื่อ ต.นาแก้ว อ.เมือง (สมัยนั้นยังไม่เป็นอำเภอโพนนาแก้ว) จ.สกลนคร

    หลวงพ่อหนุน สุวิชโย ท่านอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๔ ตรงกับที่ ๒๕ เดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ ขณะอายุ ๒๗ ปี ณ พัทธสีมา วัดหนองหญ้าปล้อง ต.หนองหญ้าปล้อง อ.เขาย้อย (สมัยนั้นยังไม่เป็นอำเภอหนองหญ้าปล้อง) จ.เพชรบุรี พระอุปัชฌาย์ พระครูโสภณวชิรธรรม วัดบุญทวี (ถ้ำแกลบ) ต.ธงชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี พระกรรมวาจารย์ พระอธิการหมี วัดหนองหญ้าปล้อง ต.หนองหญ้าปล้อง อ.เขาย้อย (สมัยนั้นยังไม่เป็นอำเภอหนองหญ้าปล้อง) จ.เพชรบุรี ได้รับฉายา “สุวิชโย” แปลว่า “ผู้มีชัยชนะที่ดีงดงาม“

    เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๓ หลวงพ่อหนุน ท่านย้ายมาอยู่ที่วัดนาเดื่อ ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร

    ◎ ตำแหน่งทางการปกครอง สมณศักดิ์
    ปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดนาเดื่อ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๒๗
    ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ได้รับแต่งตั้งฐานานุกรมเป็นพระใบฎีกาหนุน สุวิชโย
    ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับเลื่อนเป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโทเป็นพระครูวิชัยสารคุณ
    ปี พศ.๒๕๔๙ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลนาแก้ว เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๔๙
    ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ได้รับเลื่อนเป็นเจ้าคณะตำบลชั้นโท และได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๒
    ปี พ.ศ.๒๕๕๙ ได้รับเเต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธโมกพลาราม เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๙

    8%97%E0%B8%98%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1-1.jpg
    พระครูวิชัยสารคุณ (หลวงพ่อหนุน สุวิชโย) วัดพุทธโมกพลาราม
    ปัจจุบัน พระครูวิชัยสารคุณ (หลวงพ่อหนุน สุวิชโย) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธโมกพลาราม เเละ เจ้าคณะตำบลนาแก้ว ต.นาแก้ว อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนคร สิริอายุได้ 69 ปี พรรษา 43 (พ.ศ.2564)

    B5%E0%B8%A3%E0%B8%B0-%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3-%E0%B8%9B.%E0%B8%98.%E0%B9%94.jpg
    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    แนวจริยาวัตรเเละปฏิปทาของครูบาอาจารย์ที่ หลวงพ่อหนุน น้อมนำมาศึกษาข้อวัตรปฏิบัติมีดังนี้ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี หลวงปู่พา พุทธสโร วัดยอดลำธาร บ้านนาแก้ว จ.สกลนคร พระครูพิศาลสิกขยุติ (หลวงปู่เกษ) วัดยอดลำธาร บ้านนาเเก้ว จ.สกลนคร

    %B8%97%E0%B8%98%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg
    คาถา หลวงพ่อหนุน สุวิชโย วัดพุทธโมกพลาร
    SAM_9126.JPG SAM_9127.JPG SAM_9128.JPG SAM_9129.JPG SAM_7700.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  6. ธรรมศิล

    ธรรมศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +800
    ขอบูชารายการ 738 ครับ
     
  7. ธรรมศิล

    ธรรมศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +800
    ขอบูชารายการ 737 ครับ
     
  8. birdyik

    birdyik Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +128
    โอนรายการที่ 724 แล้วครับ แจ้งรายละเอียด PM ครับ
     
  9. sunmk

    sunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2020
    โพสต์:
    1,039
    ค่าพลัง:
    +804
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 744
    พระสมเด็จหินหยกเเม่นํ้าโขงหลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ,สกลนคร หลวงตาเเตงอ่อนเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย องค์พระสร้างเนื่องในโอกาสสร้างพระประธานหินหยกพระมหาธาตุเจดีย์วัดป่าโชคไพศาล พระใหม่ไม่เคยใช้ มีพระเกศาหลวงตามาบูชาด้วย************บูชาที่ 575 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม

    วัดป่ากัลยาณธัมโม (วัดป่าโชคไพศาล)
    ต.นาซอ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร

    9E%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-5.jpg
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล จ.สกลนคร
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม ท่านถือกำเนิด ตรงกับวันเสาร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านม่วงไข่ ต.พรรณนา อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร

    หลวงตาแตงอ่อน ท่านอุปสมบท เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๕ ณ วัดเสบุญเรือง ต.วานรนิวาส อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร และญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๗ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (หลวงปู่จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์

    มอบกายถวายตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น
    ภายหลังจากได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้ว หลวงตาแตงอ่อนได้ไปอยู่ศึกษาธรรม ข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

    หลวงตาแตงอ่อน ท่านเล่าว่า “ในพรรษา ๔ ก่อนที่จะเดินทางเข้าไปที่วัดป่าบ้านหนองผือนั้น ได้นิมิตถึงท่านพระอาจารย์มั่น ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อนเลย เคยได้ยินแต่ชื่อท่าน ท่านมาปรากฏให้เห็นขณะหลวงตากำลังนั่งสมาธิอยู่ โดยนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น เดินมายืนตรงหน้า แล้วหันหลังกลับมานั่งสมาธิทับองค์หลวงตา จากนั้นหลวงตาก็ตื่นขึ้น และคิดว่าสงสัยเราจะได้เข้าไปบ้านหนองผือแน่ ครั้นไปถึงที่วัดบ้านหนองผือแล้ว หลวงตาจึงทราบว่า เป็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่น”

    8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-2.jpg
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล
    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ประทับใจครั้งแรกในเมตตาธรรมของหลวงปู่มั่น ช่วงที่ไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือว่า “เราจะไปกราบนมัสการท่าน”

    เห็นพระภิกษุสามเณรเอาน้ำร้อนเข้าไปให้ท่านฉัน พระเณรขึ้นไปกราบท่าน เราก็ขึ้นไปด้วย ท่านทักว่า “พระมาจากไหน”

    แล้วท่านเมตตาถามว่า “ท่านจะไปไหน?”

    หลวงตากราบเรียนท่านว่า “กระผมคิดจะกลับไปบ้านวา”

    ท่านกล่าวว่า “อันนี้ไม่โมทนานำแล้ว ลงไปนั่นมันร้อน ไปภาวนาข้างนอกมันร้อน อยู่แถวภูเขานี้ดีกว่า”

    เรียกว่าท่านให้โอกาสแล้ว ท่านจะให้อยู่แล้วนี่ ให้อยู่ถิ่นของท่านมันเย็นอยู่แล้ว หมู่เพื่อนภิกษุมาจับแขนแล้วบอกว่า “ท่านให้อยู่นะนี่ ไปขอนิสัยกับท่านอยู่เด้อ” พอเสร็จธุระแล้วหลวงตาครองผ้าจีวร ไปกราบขอนิสัยกับท่าน หลวงตาเลยอยู่ด้วยกับท่าน ไม่ได้ออกไปไหนจนท่านมรณภาพลง”

    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ว่า “ท่านมีกิจวัตรประจำทุกวันแหละ ท่านเดินจงกรมทั้งตอนเช้าและตอนเย็น ตอนเช้าท่านออกจากห้องมีพระมารับบริขาร บาตร จีวร ของท่านไปสู่ที่ฉัน ส่วนท่านก็เดินจงกรมก่อน เสร็จแล้วก็กลับขึ้นไปศาลา แล้วครองจีวรไปบิณฑบาต

    เมื่อถึงเวลาท่านออกจากวัดไปบิณฑบาตนั้น ภิกษุสามเณรออกไปรอท่านที่บ้านหนองผือก่อน เมื่อท่านไปถึงก็นำบาตรมาถวายท่าน แล้วก็เดินตามท่านเป็นแถว ชาวบ้านหนองผือจะตั้งแถวรอใส่บาตร ๓ สายด้วยกัน พอท่านรับบิณฑบาตแล้วก็ไปนั่งม้านั่งที่เขาเตรียมไว้ เพื่อจะให้พร ยถา สัพพี…..ฯ แก่เขา แล้วก็เดินไปรับบิณฑบาตและให้พรจนครบทุกสายก็กลับวัด

    ญาติโยมบ้านหนองผือ ไม่ค่อยมารับพรในวัดหรอกเพราะท่านให้พรในหมู่บ้านทุกวันแล้ว อุบาสกอุบาสิกามีไม่มาก มาแต่เฉพาะผู้ชายที่มารับใช้ภิกษุสามเณร ล้างบาตร ล้างกระโถน และเก็บสิ่งเก็บของ ถ้ามีโยมผู้หญิงมาปฏิบัติ ท่านให้ไปอยู่กับแม่ชีข้างนอก (บ้านพักแม่ชีอยู่นอกวัด) โยมเอาอาหารมาวางที่หอฉัน

    ผู้ชายเขาก็เก็บมา ผู้หญิงเข้ามาใกล้ไม่ได้ ท่านไม่ให้เกี่ยวข้องกับฆราวาสผู้หญิง หลังจากท่านฉันจังหันแล้วเป็นอันว่าเสร็จกิจวัตรของท่านในช่วงเช้า จากนั้นท่านก็ขึ้นกุฏิพักผ่อน จะมีพระภิกษุที่เคยมานวดเส้นนวดถวายท่านเป็นประจำ พอท่านพักผ่อนแล้ว ท่านก็ลุกมานั่งสมาธิ บางทีท่านก็นั่งอยู่โคนต้นไม้ในตอนกลางวัน บางวันท่านก็เดินดูภิกษุสามเณรซักผ้าจีวร แล้วท่านก็เดินดูบริเวณรอบๆ วัด พอสมควรก็กลับกุฏิ

    พอย่ำค่ำท่านอบรมภิกษุสามเณร มีอยู่ตลอดทุกวัน ใครจะศึกษาธรรมะ กราบขอโอกาสเรียนถามท่าน ท่านก็อธิบายธรรมะธัมโมเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้ภิกษุสามเณรฟัง ฟังอยู่ที่นั้นก็เข้าใจดี ได้พิจารณาอาคันตุกะภิกษุที่อยู่ในนั้นก็ได้ยินได้ฟังด้วยกัน ท่านอบรมสั่งสอนให้เดินจงกรมภาวนานั่งสมาธิ มีความพากเพียรเราก็ทำไปตามคำสอนของท่านนี่แหละ มีโอกาสเวลาใดก็ไปนั่งสมาธิเดินจงกรมภาวนาไม่ว่าเช้า-เย็น-กลางคืน

    กติกาของท่านนั้น เช้า-เย็น ต้องทำความเพียรตลอด ตื่นแต่เช้ากวาดวัดเสนาสนะก่อนท่านพระอาจารย์มั่นออกจากห้อง ตอนเย็นก็ช่วยกันกวาดวัด บริเวณวัดและกุฏิที่พัก ภิกษุสามเณรต้องปฏิบัติตามข้อวัตร การตักน้ำใช้นั้นเปลี่ยนกันตักน้ำขึ้นจากบ่อ ตักน้ำตักสองคน พวกหาบก็หาบไปใส่ไว้ทุกกุฏิ บ่อน้ำในวัดป่าบ้านหนองผือ ไปตักไม่เคยแห้งใสปานแก้ว สองคนตักๆ เทใส่ องค์นี้ก็ตักเทจ๊าก องค์นั้นก็ตักเทจ๊าก เปลี่ยนกันทำ พวกหามก็หามไป น้ำบ่อไม่ลึก เอาไม้ขอตักเอา”

    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เอาไว้ว่า

    “ท่านเป็นผู้มีความสำรวมในอิริยาบถ มีอิริยาบถสำรวมตลอด ท่านไม่มองนั่นมองนี่ ไม่ยิ้มไม่หัว ท่านไม่ค่อยดูใครๆ ถ้ามองพระภิกษุสามเณรทางสายตา หากไปกระทบ ภิกษุสามเณรยืนอยู่ไม่ได้ ต้องนั่งเลย สายตาท่านคมมาก ท่านมองไปแต่ละครั้งบาดคมมาก ท่านไม่ดุหรอกแต่พูดคล้ายๆ ดุ ใจท่านไม่ดุเลยท่านเป็นพระอริยเจ้า สมควรที่เป็นพระอริยเจ้า ท่านพระอาจารย์มั่นมีปฏิปทาตามแบบแผนที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้

    ปฏิปทาของท่านก็ธรรมดา ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ว่าท่านพยายามไม่ให้ภิกษุสามเณรญาติโยมมาสร้างอันนั้นอันนี้ ท่านไม่ให้สร้างหรอก ถ้าสร้างอันนี้ไม่เสร็จก็ให้เลิกไม่ให้ทำ เพราะทำให้ภิกษุสามเณรไม่ได้ภาวนา ที่พักก็ไม่ได้สวยงามอะไรหรอก ทำกระต๊อบๆ ก็พออยู่ได้ ส่วนกุฏิของภิกษุสามเณรและกุฏิของหลวงตานั้น จะเป็นกุฏิหลังเล็กๆ ที่เขาตีไว้ ฝาก็ฝาแถบตอง เอาฝาแถบตองสาน ข้างบนเอาหญ้าแฝกหญ้าคามามุง ข้างล่างนี้จักไม้ไผ่เป็นพื้น แต่ว่าดูดีนะภาวนาดี กุฏิแบบนี้จิตใจมันสงบเข้าสมาธิได้ดี

    สมัยนั้นท่านพระอาจารย์มั่น ให้ถือธุดงควัตรหมด แต่ว่ามันไม่มีอะไรสมัยนั้น ตลอดถึงสำรับจะใส่อาหารก็ไม่ค่อยจะมีหรอก ถาดอะไรๆ รับใส่ข้าวเศษบาตรนี้ ต้องสานเป็นตะกร้าใส่นะ กระโถนก็ไม่มีต้องเอาไม้ไผ่มาตัด กระโถนอย่างธรรมดาไม่มีหรอก บางทีกระบอกไม้ไผ่โตๆ ไม้ไผ่บ้านก็นำมาตัด ท่านพระอาจารย์มั่นก็ใช้กระโถนที่ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่นั่นแหละ

    ดูเหมือนตอนนี้จะมีอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริขารท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าสุทธาวาส เอาไม้ไผ่มาตัดแล้วก็หาสีมาทา ขัดดีๆ หาสีมาทา ขัดล้างสีมันก็ไม่ออก สมัยนี้ไม่มีหรอกไม่มีกระโถนอย่างนี้ ข้าวเศษบาตรก็เอาใส่ตะกร้า ส่วนกระแป๋งก็สานด้วยไม้ไผ่เอาขี้ชันมาทา ท่านว่ากระแป๋งเสียงมันดัง กระแป๋งไม้ไผ่กระทบมันไม่ดัง

    อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น มีคติอยู่อย่างหนึ่งท่านไม่รับกฐินแต่รับเป็นผ้าบังสุกุล อย่างนายวัน คมนามูลจะไปถวายผ้ากฐิน พอไปถึงท่านก็ถาม “คุณวันๆ อะไรนี่ จะถวายผ้ากฐินหรือบังสุกุลนี่”

    เขาก็ไม่ว่าอะไร กราบเรียนท่านว่า “แล้วแต่หลวงปู่ขอรับ”

    ท่านพระอาจารย์มั่นก็บอกไปว่า “เอาเตียงไปตั้งซิ เอาผ้าไปวาง เอาฟดไม้ (กิ่งไม้ที่มีใบไม้) ไปปก จะไปบังสุกุลเดี๋ยวนี้”

    เถ้าแก่ใฮ เมืองวานรฯ (อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร) ได้นำผ้าและจักรเย็บผ้าพร้อมทั้งสิ่งของต่างๆ เข้าไปวัดป่าบ้านหนองผือ มีศรัทธาจะถวายผ้ากฐินเหมือนกัน ท่านพระอาจารย์มั่นก็ถามว่า “เถ้าแก่ใฮเอ๊ย จะมาทำผ้าหรือบังสุกุลล่ะ” เถ้าแก่ใฮตอบว่า “แล้วแต่หลวงปู่” ท่านก็ทอดบังสุกุลไปเลย หลวงตาก็เตรียมท่องอปโลกน์กฐินไว้แล้ว หลวงตามหาบัวบอกว่า “ท่านเตรียมไว้นะ ถ้าพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นให้ทำก็ทำไปเลย ถ้าท่านไม่ให้ก็แล้วไป” สุดท้ายท่านพระอาจารย์มั่นก็ไม่รับกฐิน ให้แต่ทอดบังสุกุล

    8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.jpg
    ถ้ามีคนมาจากที่ไหนก็ตาม จะมาถวายของ ท่านจะถามก่อนว่า “จะเอาอะไร จะรับศีลห้าหรือศีลแปด”

    หากเขาตอบว่า “เอาศีลห้า”

    ท่านก็บอกว่า “เอาศีลห้าก็ว่าตาม”

    ท่านก็ว่า “อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ”

    ศีลห้าไม่ไล่เป็นข้อนะ ท่านไม่ได้ว่า ปาณาติปาตา…..อยู่สองปี….ไม่มีเลย ถ้าญาติโยมที่มาขอศีลแปด ท่านก็จะว่าเหมือนกัน “อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ”

    หลวงตาก็พูดกับเพื่อนที่อยู่ด้วยกันว่า “ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ให้ศีลสักที เรานี่ซ้ำๆ ซากๆ ลูบๆ คลำๆ แต่เรื่องศีลไม่แน่ใจ หลวงปู่ท่านไม่ว่า เพราะศีลเป็นศีล เป็นสมาทานวิรัต สัมปัตตวิรัติ สมุทเฉทวิรัต มันมีอยู่แล้ว”

    อยู่ปรนนิบัติถวายงานหลวงปู่มั่น
    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า “หลวงตามีหน้าที่ประจำหลายอย่าง คือ ตอนเช้าเณรเป็นคนชงโอวัลตินใส่แก้ว หลวงตาเป็นคนเทน้ำร้อนใส่ชงถวายท่าน ท่านฉันโอวัลตินพร้อมยาเม็ดทุกวัน ยานั้นเป็นยาแก้ไอ ตอนเช้าเมื่อท่านออกมาจากห้องพัก หลวงตาก็เอารองเท้าท่านออกมาเช็ดก่อน จับรองเท้าไว้ถวายให้ท่านสวมรองเท้าก่อนท่านเดิน จากนั้นหลวงตาก็เก็บกระโถน และก็ล้างน้ำมูตร น้ำคูถ เสร็จแล้วจากนั้นก็จัดกุฏิของท่าน

    ส่วนเวจกุฎี (ส้วม) ของท่าน หลวงตาต้องไปล้างเอาน้ำไปชำระไปเช็ดไปถู ไม่มีกระดาษชำระแบบนี้หรอก เอาใบตองกล้วยน่ะมาตัด ตัดประมาณคืบหนึ่งเลือกเอาแบบอ่อนๆ เนื้อหนังท่านอ่อน ไม่อย่างนั้นใบตองจะบาดเอา ตอนหลังท่านป่วยไปส้วมไม่ได้ ต้องมาเจาะกุฏิ พอท่านถ่ายเสร็จก็เอาอุจจาระไปเลยไม่ให้มี บางคืนก็ไม่มีอุจจาระดอก ถ้าท้องท่านไม่เสีย เกี่ยวกับทางจงกรมก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นฝุ่นหลวงตาก็เอาน้ำไปรด มันแห้งก็เอาฟอย (ไม้กวาด) มากวาดให้เกลี้ยง ไม่ให้มีอะไรทุกวันเป็นอย่างนี้ นอกจากนั้นคณะสงฆ์มอบให้หลวงตาเป็นผู้รักษาคลังสงฆ์นั้น อะไรๆ ที่ใช้อยู่ในวัดเอามาเก็บรวมกันหมด ใครเอาไปก็รู้ คลังสงฆ์ต้องมีบัญชี ใครขาดแคลนอะไรหลวงตาเป็นผู้แจกจ่าย มีหน้าที่ดูแลสิ่งของ

    ผู้ทำหน้าที่ดูแลนั้น มี ๒ รูป คือ ท่านอาจารย์วัน และหลวงตา ท่านอาจารย์วันรักษาคลังผ้า ผ้าผ่อนที่เขาถวายมาท่านเก็บไว้ ภิกษุสามเณรขาดแคลนก็ไปหาท่านองค์นี้ จับเอามาวัดศอกแล้วพากันตัดเย็บช่วยกัน ท่านพระอาจารย์มั่น ให้ตัดเย็บแจกกันให้เป็นระเบียบ ท่านให้ปฏิบัติอย่างนั้นไม่ให้เก็บไว้ ไม่ได้ใช้ท่านไม่เอา ส่วนหลวงตามีหน้าที่ดูแลสิ่งของรักษาเครื่องใช้ไม้สอย มีด พร้า เครื่องยาแก้ไข้เภสัชต่างๆ รักษาคลังสงฆ์ ญาติโยมนำมาก็มาเก็บรักษา อยากใช้อะไรก็มาหาหลวงตา หลวงตาก็จ่ายตามต้องการ ตอนเย็นพระเณรมาสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่น หลวงตาเป็นคนปั้น (ปิด) ผ้าอาบและถ่าย (เปลี่ยน) ผ้าใหม่ถวายท่าน ผู้มีหน้าที่ดูแลปรนนิบัติท่านจะเป็นลูกศิษย์ลูกหา ผู้มีพรรษาต่ำพรรษาน้อยครูบาอาจารย์รุ่นใหญ่ไม่มีหรอก ช่วงนั้นผู้ที่อยู่ดูแลปรนนิบัติท่านก็มี หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร, พระอาจารย์วัน อุตฺตโม, หลวงปู่คำพอง ติสฺโส, อาจารย์ทองคำ จารุวณฺโณ และ พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต อยู่วัดถ้ำกลองเพล เป็นสามเณร”

    ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่มั่น
    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงการที่ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่มั่น ว่า

    “วันหนึ่งหลวงตาไปซักผ้าอยู่องค์เดียว ซักผ้าแล้วก็ไปนั่งพักผ่อนบนศาลา ท่านพระอาจารย์มั่นเดินลงมาจากกุฏิ ไม่มีใครในระหว่างเที่ยงวัน ท่านเดินถือผ้าเช็ดหน้าขึ้นมาศาลา เดินขึ้นไปยืนตรงหน้าหลวงตา แล้วเอาผ้าเช็ดหน้ามาวางบนศรีษะหลวงตา ท่านไม่พูดอะไรแล้วก็เดินลงศาลากลับไปกุฏิท่าน”

    หลวงตาแตงอ่อน ขนหัวลุก คิดว่าท่านพระอาจารย์มั่นนี้เมตตาเราถึงที่สุดแล้ว ท่านเมตตากับคนโง่ พระโง่ คนไม่ฉลาด ปรกติท่านไม่แสดงออกอย่างนี้ อะไรๆ ที่เขาหวงไว้ ของดีๆ ผ้าดีๆ น่ะ เอาให้แต่หลวงตา ผ้าจีวรที่เขาเอามาแต่โน้น…ศรีสะเกษ สวยๆ ตัดถวายท่าน หรือสังฆาฏิเก่าของท่านที่ท่านเปลี่ยนก็มอบให้หลวงตา เพราะคนขนาดเดียวกัน (องค์เท่ากัน) ท่านให้จีวร สังฆาฏิ และผ้าเช็ดหน้าของท่าน ท่านคิดสงสารอะไรไม่รู้ เดินมากลางวันถือผ้ามาวางใส่หัวให้เลย

    ดุภายใน
    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงการดุของหลวงปู่มั่น ว่า

    “ภิกษุสามเณรด้วยกันเขาสงสัยว่า…..ทำไมองค์อื่นท่านพระอาจารย์มั่นดุมาก ทำไมภิกษุองค์เล็กๆ นี้ไม่ดุสักที เขาไม่รู้หรอกถ้าท่านดุก็ดุภายใน ไม่ดุภายนอกเสียงไม่ออก ท่านพูดออกมาธรรมะมันตำใจ หลวงตาไม่โดนท่านดุหรอกนะ แต่ท่านดุภายในหากหลวงตาภาวนา ที่มันค้างๆ คาๆ ติดขัดในการภาวนา ที่มันไม่ไหลไม่ลื่นท่านเทศน์เข้าไปเลย เรียกว่าท่านจี้เข้าไปเลย ท่านจี้เราแรง แล้วบาดลึกเรากลับตัวอนุโมทนาเลย

    ภาวนามัวเมา ไม่รู้ไปไหนมาไหน ท่านก็ต้องสอนแบบที่ว่าท่านไม่ให้ประมาท แต่ใจของท่านเมตตามาก หลวงตาไม่เคยกราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่น แต่ท่านแสดงธรรมอธิบายไปเลย ตอบข้อข้องใจหรือปัญหาธรรม ระหว่างอบรมธรรมะพระภิกษุสามเณรช่วงเย็นทุกวัน พอหลวงตาคิดอะไรท่านเทศน์ออกมาเลย เทศน์มาภายในเลยแต่คนอื่นไม่รู้ หลวงตารู้ภายในคนเดียว จะดุออกมาภายนอกนนั้นไม่มี

    หลวงตาอยู่บ้านหนองผือเขาอัศจรรย์เหมือนกันพวกเพื่อนน่ะ ภิกษุสามเณรองค์อื่นท่านก็พูดว่าเสียงดังๆ หลวงตานี้ท่านไม่พูดเลย หลวงตาคิดว่าเราเป็นคนโง่ เราเป็นคนซื่อสัตย์นี่ เราไม่ทำอะไรให้ท่านหนักอกหนักใจ ท่านก็ไม่ว่าอะไร หลวงตายังคิดว่ากิจวัตรในวัดนั้น ถ้าคนอื่นไม่ทำเราทำได้คนเดียว คิดว่ามีศรัทธาถึงขนาดนั้นภูมิใจขนาดนั้น เช่น อะไรทุกสิ่งที่มันเป็นกิจวัตรอยู่ในนั้น กล้าทำได้คนเดียว เพราะเรามีศรัทธา มีความเชื่อมั่นอยู่กับท่าน ถึงแม้นหลวงตาจะไม่ได้กราบเรียนถามปัญหาต่อท่านพระอาจารย์มั่น แต่ท่านรู้ หลวงตาคิดว่าท่านพระอาจารย์มั่น ท่านมีญาณหยั่งรู้ คืนหนึ่งหลวงตาไปปรึกษากับ ท่านอาจารย์วัน อุตฺตโม เรื่องข้อวัตรปฏิบัตินี้ ตอนเช้าท่านก็บอกว่า

    “เออเรารู้แล้ว”

    ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าเราปรึกษากับท่านอาจารย์วัน นึกว่าท่านจะดุเป็นเรื่องที่ภิกษุสนใจมาก เราก็มองเห็นอาจารย์วันยิ้ม ที่เราปรึกษากันเมื่อคืนนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นรู้เราแล้วนี่ หลวงตามอบกายถวายชีวิตกับท่าน คิดปรึกษาข้อวัตรปฏิบัติที่จะเข้าสู่ธรรมะของท่านพระอาจารย์มั่น”

    อยู่กับหลวงปู่มั่นจนวาระสุดท้าย
    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงเหตุการณ์ช่วงสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ว่า

    “หลวงตาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น จนปีท่านมรณภาพ ช่วงสุดท้ายหลวงตาอยู่จนถึงตอนท่านเคลื่อนไปสกลนคร แต่ออกไปบ้านภู่นั้นหลวงตาไม่ได้ออกไป เขามอบให้แต่ง (จัด) บริขาร หลวงตาแต่งบริขารแล้วก็ตามท่านออกมา แวะวัดป่าบ้านภู่ไปเฝ้าท่านอยู่ ท่านออกไปแล้วสองวันหลวงตาจึงตามไป ตอนที่จะเคลื่อนท่านออกจากวัดป่าบ้านหนองผือนั้น วันนั้นหลวงปู่เทสก์เข้ามาเป็นเพราะท่านพระอาจารย์มั่นป่วยโซมากแล้ว ได้กราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นว่า “ขอนิมนต์อาราธนาออกไปข้างนอก มันลำบากลูกศิษย์ลูกหาจะมาคารวะ”

    ท่านกล่าวว่า “ออกไปไม่ลำบากเหรอ ไม่ลำบากก็หามเอา”

    รถก็ไม่มี มีแต่เกวียนก็ออกจากบ้านหนองผือ อยู่วัดป่าบ้านภู่ไม่กี่วัน ลำบากเสนาสนะ ฝนมันตกเดือนสิบสองฝนยังไม่หยุด ภิกษุสามเณรลำบากหาที่อยู่ไม่ได้

    หลวงปู่เทสก์ท่านก็มากราบขออาราธนาท่านพระอาจารย์มั่นว่า

    “เสนาสนะไม่พอ ลูกศิษย์ลูกหามากมาย ขออาราธนาไปวัดป่าสุทธาวาส ที่โน่นกว้างขวาง” ท่านก็เคลื่อนไปวัดป่าสุทธาวาสในวันนั้น ไปวันนั้นก็มรณภาพวันนั้น หลวงตาก็ตามไป

    แต่ก่อนนั้นรถไม่มี รถที่มารับนั้นมีโยมนุ่ม ชุวานนท์ คันเดียวเที่ยวขนพระขนเณร กลับไปกลับมาอยู่จนค่ำกว่าจะครบ จนไปถึงวัดป่าสุทธาวาส ช่วงนั้นหลวงปู่เทสก์ เป็นพระผู้ใหญ่ เคยอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น มีความชอบกับท่าน หลวงปู่เทสก์เป็นคนจริง เชี่ยวชาญในการพูดด้วย ศิษย์ผู้อื่นไม่กล้ากราบเรียนอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่น”

    สังฆานุสติ
    หลวงตาแตงอ่อน กล่าวว่า “คำของพ่อแม่ครูอาจารย์นั้นหลวงตายกใส่เกล้าตลอด เดินจงกรมภาวนาก็ทำตามท่านสอน สำหรับความดีของท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านเป็นผู้มีเมตตาสูงเยือกเย็นมาก อยู่กับท่านมีแต่ความเย็นใจ ทำอะไรก็ระลึกถึงท่านตลอด เป็นอนุสสติอย่างหนึ่ง ไม่ได้ว่างเว้นเลย”

    %81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1-33.jpg
    B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%91%E0%B8%B5%E0%B8%86%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%81.jpg
    แถวนั่ง จากซ้าย : หลวงปู่สมัย ฑีฆายุโก, หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร, หลวงปู่ลี ฐิตธมฺโม, หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม และหลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม
    แถวยืน จากซ้าย : หลวงปู่แปลง สุนฺทโร, หลวงพ่อคำบ่อ ฐิตปญฺโญ, หลวงปู่สรวง สิริปุญฺโญ, หลวงปู่เกิ่ง วิฑิโต และหลวงปู่ประสาร ปญฺญาพโล
    บันทึกภาพร่วมกัน ณ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
    เมื่อครั้งครูบาอาจารย์ท่านรับนิมนต์
    ไปโปรดลูกศิษย์ทางภาคใต้ และเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย
    %B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5.jpg
    จากซ้ายไปขวา : หลวงปู่อุ่นหล้า ฐิตธัมโม วัดป่าแก้วชุมพล, หลวงปู่อ้ม สุขกาโม วัดภูผาผึ้ง, หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล, หลวงปู่บุญมี ฐิตปุญโณ วัดป่าประชานิยม, หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล, หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม, หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ วัดใหม่บ้านตาล, หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต, พระอาจารย์สุธรรม สุธัมโม วัดป่าหนองไผ่
    สร้างสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
    ภายหลังจากถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าสุทธาวาสแล้ว หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม ท่านก็ได้ออกเที่ยวเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ ตามป่าเทือกเขาภูพาน ป่าช้า ป่ารกชัฏ และได้ไปอยู่ปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อาทิเช่น หลวงปู่สีลา อิสฺสโร วัดอิสระธรรม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร, หลวงพ่อลี ธมฺมธโร วัดทรายงาม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น

    ต่อมาได้มาสร้างสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ดำเนินตามหลักปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต รวมไปถึงเป็นที่อบรมศีลธรรมแก่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และคณะศรัทธาญาติโยมทั่วไป อาทิเช่น วัดอรัญญวิเวก บ้านกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส, วัดธรรมนิเวศวนาราม อำเภอวานรนิวาส, วัดภูคอกม้า, วัดป่าโชคไพศาล อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ปัจจุบันนี้ หลวงตาแตงอ่อน ท่านได้พำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดป่าโชคไพศาล บ้านหนองนาหาร ซึ่งเป็นบ้านเกิดขององค์ท่าน

    8%9E%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3.jpg
    วัดป่าโชคไพศาล จ.สกลนคร
    %B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
    หลวงตาแตงอ่อน ท่านเป็นพระที่มีความเมตตา สุขุม สงบเยือกเย็น สันโดษ มักน้อย อยู่แบบสมถะเรียบง่ายไม่หรูหรา เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กอปรด้วยศีลและธรรม มีศีลาจาริยวัตรที่งดงาม ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจโดยแท้ ท่านได้สอนสั่งพระภิกษุสามเณร รวมทั้งประชาชนญาติโยมทั้งใกล้ไกล ให้รู้จักศีลธรรม เป็นคนดีของสังคม ไม่เบียดเบียนกัน ให้รู้รักสามัคคี รวมทั้งให้เป็นคนที่มีหลักธรรมประจำใจ และให้หมั่นกระทำบำเพ็ญในการให้ทาน การรักษาศีล และการภาวนา เป็นต้น

    B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E.jpg
    หลวงตาแตงอ่อน มรณภาพ
    กาลมรณภาพ
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม ละสังขารตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ เมื่อเวลา ๐๗.๕๘ น. ณ โรงพยาบาลสกลนคร สิริอายุรวม ๙๑ ปี ๑๑ เดือน ๒๓ วัน พรรษานั้นเป็นพรรษาที่ ๗๑

    ที่มา : ขอขอบคุณข้อมูลจากเพจ ท่องถิ่นธรรม พระกัมมัฏฐาน

    %B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A1.jpg
    พระมหาธาตุเจดีย์หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม
    9E%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5-%E0%B8%88.%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-6.jpg
    หลวงตาแตงอ่อน กัลยาณธัมโม วัดป่าโชคไพศาล จ.สกลนคร

    sam_6054-jpg.jpg SAM_9134.JPG SAM_9132.JPG SAM_9133.JPG เปิดดูไฟล์ 5765816 เปิดดูไฟล์ 5765817 เปิดดูไฟล์ 5765818 sam_2473-jpg.jpg


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2021
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 745 เหรียญหล่อขุนเเผนโบราณหลวงปู่ศูนย์ จันทสุวัณโณ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอิสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร หลวงปู่ศูนย์ เป็นศิษย์หลวงปู่สีลา (ศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น องค์่ท่านรุ่นเดียวกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร)สร้างปี 2563 เนื้อชนวนหล่อโบราณ เเต่ก่อนผมเจอหลวงปู่ศูนย์บ่อยมากเพราะท่านมางานหลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป ทุกครั้ง เเละผมเองก็เเวะไปกราบพระเจดีย์หลวงปู่สีลาทุกครั้งที่ไปอำเภออากาศอำนวย บางครั้งเจอหลวงปู่กวาดตาดลานวัด ผมก็ขับรถผ่านเลยองค์หลวงปู่ศูนย์ไปเลยครับ หลวงปู่ศูนย์มาดังก็เพราะว่าลูกศิษย์์เป็นตำรวจได้นำวัตถุมงคลของท่านไปทดลองยิง ปรากฏว่ายิงไม่ออก เซียนพระทั่วประเทศเลยพากันเฮโลมาที่วัด่ป่าอิสระธรรมเต็มไปหมด(เหรียญท่านเดี๊ยวนี้ 1000 บาทขึ้นครับเพราะมีประสบการณ์ด้านอุบัติเหตุมาเเล้ว) มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ************มีตอกโค๊ตตัวเลข 138 หลังเหรียญ หมายเหตุสร้างเพียง 399 เหรียญเท่านั้น>>>>>>>>บูชาที่ 525 บาทฟรีส่งems
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ

    วัดป่าอิสระธรรม
    ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    -e0-b9-8c-e0-b8-88-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-97-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-93-e0-b9-82-e0-b8-93-0-jpg.jpg
    พระครูธรรมคุณาธร หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม
    อัตโนประวัติ
    “พระครูธรรมคุณาธร” หรือ “หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ” มีนามเดิมว่า สูนย์ ไตรธรรม
    เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๗๙ ตรงกับวันอังคาร ณ บ้านวาใหญ่ หมู่ที่ ๒ ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

    โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายโท และ นางวันดี ไตรธรรม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน คือ
    ๑. นางสุกัน ไตรธรรม
    ๒. นางสันแก้ว ไตรธรรม
    ๓. นางสิงห์ ไตรธรรม
    ๔. สูนย์ ไตรธรรม พระครูธรรมะคุณาทร (หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ)
    ๕. นางบาลี ไตรธรรม

    การศึกษา
    ในปี พ.ศ.๒๔๙๒ สอบไล่ได้ ชั้นประถมการศึกษาที่ ๔ ครอบครัวประกอบอาชีพทำนาทำไร่ เมื่อเรียนจบภาคบังคับ ท่านก็ออกมาช่วยบิดาและมารดา ทำนา ทำไร่ ตามวิถีชีวิตชาวชนบทอีสาน

    การบรรพชาและอุปสมบท
    ครั้นอายุได้ ๒๑ ปี ท่านได้เข้าพิธีบรรพชาและอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ณ วัดอิสสรธรรม. ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร โดยมี
    พระอุปัชฌาย์สีลา อิสสโร . วัดอิสสรธรรม. ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระทองสี โชติธัมโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระวินิต ธัมมวาที เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    การศึกษาทางเพศบรรพชิต
    พ.ศ.๒๕๐๒ สอบนักธรรมตรีได้ ในสำนัก วัดอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๐๓ สอบนักธรรมโทได้ ในสำนัก วัดอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๐๘ สอบนักธรรมเอกได้ ในสำนัก วัดอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    หลังจากนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับครูบาอาจารย์และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตลอดมา เป็นเวลา ๔ พรรษา และในพรรษาที่ ๔ หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ จึงได้ปลีกวิเวกและธุดงค์
    ภาคกลาง ,ภาคเหนือ ,ภาคใต้ เกาะสีชัง,ภาคตะวันออก

    พ.ศ.๒๕๐๔ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดป่าสวนมะม่วง อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๐๕ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดถ้ำผาจลุย อ.พาน จ.เชียงราย เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๐๖ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดเขาน้อยสามพราน ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นเวลา ๒ ปี
    พ.ศ.๒๕๐๗ ย้ายไปจำพรรษา ณ สำนักสงฆ์ อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๐๘ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร เป็นเวลา ๒๐ ปี
    พ.ศ.๒๕๒๘ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดเขาเข้ ต.ควนกาหลง อ.เมือง จ.สตูล เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๒๙ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดคลองช่องลม ต.อ่าวลึก อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เป็นเวลา ๑ ปี
    พ.ศ.๒๕๓๐ ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร จนถึงปัจจุบัน

    หลังจากนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับครูบาอาจารย์และปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตลอดมา เป็นเวลา ๕ พรรษา ในพรรษาที่ ๖ หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ จึงได้ปลีกวิเวกและธุดงค์
    ภาคกลาง ,ภาคเหนือ ,ภาคใต้ เกาะสีชัง,ภาคตะวันออก

    พระสายกรรมฐานที่เคยได้ศึกษาธรรม อาทิ เช่น
    หลวงปู่สีลา อิสสโร,
    หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม,
    หลวงปูอุ่น อุตตโม,
    หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย,
    หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาพโล,
    หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป,
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ,
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
    ฯลฯ

    e0-b8-88-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-97-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-93-e0-b9-82-e0-b8-93-00-768x1024-jpg.jpg
    พระครูธรรมคุณาธร หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม
    สมณศักดิ์และการปกครองสงฆ์
    พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นครูสอนปริยัติธรรม ณ วัดอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นพระธรรมทูตสายที่ ๕
    พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นกรรมการสร้างอุโบสถวัดอิสสระธรรม ต.วาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๒๕ เป็นเจ้าอาวาสวัดอิสสระธรรม
    เป็นเจ้าคณะตำบลอากาศอำนวย-ตำบลวาใหญ่ อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร
    พ.ศ.๒๕๓๐ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระครูธรรมะคุณาทร
    พ.ศ๒๕๓๓ ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระอุปัชฌาย์

    พำนักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอิสระธรรม
    ปัจจุบันนี้ หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ พำนักจำพรรษาอยู่ที่วัด วัดป่าอิสระธรรม บ้านวาใหญ่ อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร

    หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ สิริอายุ 85 ปี พรรษา 63 (พ.ศ.2564)

    -e0-b8-88-e0-b8-b1-e0-b8-99-e0-b8-97-e0-b8-a7-e0-b8-b1-e0-b8-93-e0-b9-82-e0-b8-93-2-684x1024-jpg.jpg
    พระครูธรรมคุณาธร หลวงปู่สูนย์ จันทวัณโณ วัดป่าอิสระธรรม SAM_7605.JPG SAM_9130.JPG SAM_9131.JPG
     
  12. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  13. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 746 เหรียญปี 2516หลวงปู่ชาว อนาลโย พระอรหันต์เจ้าวัดถั้ากลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู หลวงปู่ขาว เป็นศิษย์รุ่นใหญ่หลวงปู่มั่น เหรียญสร้างปี 2516 สร้างเนื่องี่ระลึกสร้างศาลาโรงธรรม วัดบ้านเกิดของหลวงปู่ขาว เนื้อกะไหล่เงิน เหรียญยังสวยมาก มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ*********บูชาที่ 595 บาทฟรีส่งemslส
    พระขาว อนาลโย
    (ขาว อนาลโย)

    หลวงปู่ขาว
    B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7_%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%A2.jpg
    เกิด 28 ธันวาคม พ.ศ. 2431
    มรณภาพ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
    อายุ 94
    อุปสมบท 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462
    พรรษา 64
    วัด วัดถ้ำกลองเพล
    จังหวัด หนองบัวลำภู
    สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
    25px-Dharma_wheel.svg.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    เป็นพระภิกษุ คณะธรรมยุติกนิกาย ท่านได้รับความเคารพนับถือจากพุทธศาสนิกชนในฐานะพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    ชาติภูมิ[แก้]
    หลวงปู่ขาว อนาลโย นามเดิมชื่อ ขาว โคระถา เกิดวันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2431 ปีชวด ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ) บิดาชื่อ พั่ว โคระถา มารดาชื่อ รอด โคระถา มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 7 คน ท่านเป็นคนที่ 4 ทำอาชีพหลักของครอบครัว คือ ทำนาและค้าขาย ต่อมาท่านได้สมรสกับนางมี โคระถา เมื่อ พ.ศ. 2452 ขณะอายุได้ 20 ปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ใช้ชีวิตคู่ได้ 11 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา นอกจากหลวงปู่ขาวแล้วยังมีผลผลิตทางธรรมจากบ้านบ่อชะเนงและเป็นญาติกับหลวงปู่ขาว อีก ๒ รูป คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร กรุงเทพมหานคร [1]และพระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย ป.ธ.๗) เจ้าอาวาสวัดบ่อชะเนง และเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ (รูปปัจจุบัน) [2]

    อุปสมบท[แก้]
    ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 ที่วัดโพธิ์ศรี (ปัจจุบันคือวัดบ่อชะเนง) บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ สังกัดคณะมหานิกาย มีท่านพระครูพุฒิศักดิ์ฯ เจ้าคณะอำเภออำนาจเจริญ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์บุญจันทร์ฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และจำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี 6 พรรษา

    ต่อมาหลวงปู่ขาวเกิดความศรัทธาในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงได้ญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุติกนิกายเมื่อ พ.ศ. 2468 ขณะมีอายุได้ 37 ปี ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นประธานพิธี พระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) ครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระชิโนวาทธำรง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุฑโฒ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา[แก้]
    หลังกระทำญัตติกรรมเข้าคณะธรรมยุติกานิกายแล้ว ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานีเป็นเวลา 8 ปี จากนั้นได้เดินธุดงค์ตาม ท่านพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ไปปฏิบัติธรรมในสถานที่ต่างๆ ท่านออกเดินทางทุกปี และได้สมบุกสมบันไปแทบทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ ท่านยังได้เคยเดินธุดงค์ร่วมกับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นเวลารวมกันหลายปีอีกด้วย

    ท่านได้สร้างบารมีอยู่ในป่าเขาเป็นเวลายาวนาน มีประสบการณ์มากมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าทั้งหลาย เช่น สิง ค่าง ช้าง เสือ เวลาท่านนึกถึงอะไร สิ่งนั้นมักจะมาตามความรำพึงนึกคิดเสมอ เช่น นึกถึงช้าง ว่าหายหน้าไปไหนนานไม่ผ่านมาทางนี้เลย พอตกกลางคืนดึกๆ ช้างก็จะมาหาจริงๆ และ เดินตรงมายังกุฏิที่ท่านพักอยู่ พอให้ท่านทราบว่าเขามาหาแล้ว ช้างก็จะกลับเข้าป่าไป เวลาที่ท่านนึกถึงเสือ ก็เช่นกัน นึกถึงตอนกลางวันตกกลางคืนเสือก็มาเพ่นพ่านภายในวัดบริเวณที่ท่านพักอยู่

    คุณหมออวย เกตุสิงห์ เขียนไว้ในประวัติอาพาธ ซึ่งเป็นภาคผนวกของหนังสือ อนาลโยวาท ว่า เวลาท่านไม่สบายอยู่ในป่าเขา มักจะไม่ใช้หยูกยาอะไรเลย จะใช้แต่ธรรมโอสถ ซึ่งได้ผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน ท่านเคยระงับไข้ด้วยวิธีภาวนามาหลายครั้ง จนเป็นที่มั่นใจต่อการพิจารณาเวลาไม่สบาย

    ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว เล่าถึง หลวงปู่ขาว ในหนังสือ "ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐานสายพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต" ว่าหลวงปู่ขาว ได้บรรลุธรรมชั้นสุดยอดในราวพรรษาที่ 16-17 ในสถานที่ซึ่งมีนามว่าโหล่งขอด แห่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้เขียนเล่าไว้ว่า "เย็นวันหนึ่ง เมื่อปัดกวาดเสร็จ หลวงปู่ขาว ออกจากที่พักไปสรงน้ำ ได้เห็นข้าวในไร่ชาวเขา กำลังสุกเหลืองอร่าม ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาในขณะนั้นว่า ข้าวมันงอกขึ้นมาเพราะมีอะไรเป็นเชื้อพาให้เกิด ใจที่พาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็น่าจะมีอะไรเป็นเชื้ออยู่ภายในเช่นเดียวกันกับเมล็ดข้าว เชื้อนั้น ถ้าไม่ถูกทำลายเสียที่ใจให้สิ้นไป จะต้องพาให้เกิดตายอยู่ไม่หยุด ก็แล้วอะไรเป็นเชื้อของใจเล่า ถ้าไม่ใช่กิเลสอวิชชา ตัณหาอุปาทาน ท่านคิดทบทวนไปมา โดยถืออวิชชาเป็นเป้าหมายแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ พิจารณาย้อนหน้าถอยหลัง อนุโลมปฏิโลมด้วยความสนใจอยากรู้ตัวจริงแห่งอวิชชา นับแต่หัวค่ำจนดึกไม่ลดละการพิจารณาระหว่าง อวิชชา กับ ใจ จวนสว่างจึงตัดสินใจกันลงได้ด้วยปัญญา อวิชชาขาดกระเด็นออกจากใจไม่มีอะไรเหลือ การพิจารณาข้าว ก็มายุติกันที่ข้าวสุก หมดการงอกอีกต่อไป การพิจารณาจิต ก็มาหยุดกันที่ อวิชชาดับ กลายเป็นจิตสุกขึ้นมา เช่นเดียวกับ ข้าวสุก จิตหมดการก่อกำเนิดเกิดในภพต่างๆ อย่างประจักษ์ใจ สิ่งที่เหลือให้ชมอย่างสมใจ คือ ความบริสุทธิ์แห่งจิตล้วน ๆ ในกระท่อมกลางเขา มีชาวป่าเป็นอุปัฏฐากดูแล ขณะที่จิตผ่านดงหนาป่ากิเลสวัฏฏ์ไปได้ แล้วเกิดความอัศจรรย์อยู่คนเดียวตอนสว่าง พระอาทิตย์ก็เริ่มสว่างบนฟ้า ใจก็เริ่มสว่างจากอวิชชาขึ้นสู่ธรรมอัศจรรย์ถึงวิมุตติหลุดพ้นในเวลาเดียว กันกับพระอาทิตย์อุทัย ช่างเป็นฤกษ์งามยามวิเศษเสียจริง

    ท่านได้ธุดงค์จาริกไปตามถิ่นต่าง ๆ จนในที่สุดก็มาพำนักจำพรรษาอยู่ที่ วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อ พ.ศ. 2501 จวบจนมรณภาพ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคมพ.ศ. 2526

    มรณภาพ[แก้]
    คุณหมออวย เกตุสิงห์ ได้เล่าเกี่ยวกับปัจฉิมกาลของท่านไว้ในหนังสือ อนาลโยวาท ว่า ท่านทุพพลภาพอยู่ถึง 9 ปี แต่สุขภาพจิตยังดีมีนิสัยรื่นเริงติดตลกในระยะสามปีสุดท้าย นัยน์ตาของท่านมืดสนิทเพราะต้อแก้วตา หรือ ต้อกระจก หูก็ตึงมาก เพราะหินปูนจับกระดูก แต่ท่านก็มิได้เดือดร้อนใจ และสามารถบอกกำหนดอายุขัยของตนเองได้ว่า จะมรณภาพอายุ 96 ปี ซึ่งก็เป็นจริงดังที่ท่านได้กล่าวไว้

    หลวงปู่ขาวมรณภาพในวันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม 2526 อายุ 95 ปี 64 พรรษา โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับไว้เป็นศพในพระบรมราชานุเคราะห์โดยตลอดตั้งบำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน พระราชทานโกศโถฉัตรเบญจาตั้งประดับ และพระราชทานเพลิงศพวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2527 ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น ปรากฏว่า วัดถ้ำกลองเพล ซึ่งมีอาณาบริเวณหลายพันไร่กลับคับแคบไปถนัดใจ ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลกันมาถวายสักการะสรีระร่างของท่านนับเป็น จำนวนแสนคน นับเป็นประวัติการณ์สูงสุดของประเทศทีเดียว

    ธรรมโอวาท[แก้]
    ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของพระธรรมเทศนาของท่าน ที่ได้เทศน์โปรดพระเณรและญาติโยม ณ บ้านบ่อชะเนง (บ้านเกิดของท่าน)

    "คนเกิดมาไม่เหมือนกัน เพราะมีความประพฤติที่ต่างกัน ผู้ที่เขาประพฤติดี รักษาศีลมีการให้ทาน มีการสดับรับฟังพระธรรม เขาจึงมีปัญญาดี มีการศึกษาเล่าเรียนดี การจำแนกสัตว์ให้ดีให้ชั่วต่าง ๆ กัน มันเป็นเพราะกรรม ถ้ามันยังทำกรรมอยู่ ก็ต้องได้รับผลกรรมทั้งกรรมดีกรรมชั่ว มันต้องได้รับผลตอบแทน เหตุนี้ เราจึงควรทำกุศล รักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ แล้วทำสมาธิจะมีความสงบสงัด จิตรวมลงได้ง่าย เพราะมันเย็น มันราบรื่นดี ไม่มีลุ่มไม่มีดอน จงพากันทำไป ในอิริยาบถทั้งสี่ นั่ง นอน ยืน เดิน อะไรก็ได้ แล้วแต่ความถนัด แล้วแต่จริต อันใดมันสะดวกสบายใจ หายใจดี ไม่ขัดข้องฝืดเคือง อันนั้นควรเอาเป็นอารมณ์ของใจ

    พุทโธ พุทโธ หมายความว่า ให้ใจยึดเอาพุทโธเป็นอารมณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้จิตออกไปสู่อารมณ์ภายนอก เพราะอารมณ์ภายนอกมันชอบไปจดจ่ออยู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความถูกต้องทางกาย หากทุกสิ่งทุกอย่างมันไปจดจ่ออยู่ที่นั่น จิตมันจะไม่รวมลง นี่แหละ เรียกว่า มาร คือ ไม่มีสติ อย่าให้จิตไปจดจ่ออย่างนั้น ให้มาอยู่กับผู้รู้ ให้น้อมเอา พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอารมณ์ จะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ให้มีความเพียร ผู้ที่ภาวนาจิตสงบลงชั่วช้างพับหู งูแลบลิ้น ชั่วไก่กินน้ำ นี่ อานิสงส์อักโข ให้ตั้งใจทำไป

    การที่จิตรวมลงไปบางครั้ง มี 3 ขั้นสมาธิ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ หากรวมลง ขณิกสมาธิ เราบริกรรมไป พุทโธ หรืออะไรก็ตาม จิตสงบไปสบายไปสักหน่อย มันก็ถอนขี้นมา ก็คิดไปอารมณ์เก่าของมันนี่ ส่วนหากรวมลงไปเป็น อุปจารสมาธิ ก็นานหน่อยกว่าจะถอนขึ้นไปสู่อารมณ์อีกให้ภาวนาไป อย่าหยุดอย่าหย่อน ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องไปนึกคาดหวังอะไร อย่าให้มีความอยาก เพราะมันเป็นตัณหา ตัวขวางกั้นไม่ให้จิตรวม ไม่ต้องไปกำกับว่า อยากให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ การอยากให้จิตรวมลง เหล่านี้แหละ เป็นนิวรณ์ตัวร้าย ให้ปฏิบัติความเพียรไม่หยุดหย่อน เอาเนื้อและเลือด ตลอดจนชีวิตถวายบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม และ พระสงฆ์ เราจะเอาชีวิตจิตใจ ถวายบูชาพระรัตนตรัย ตลอดจนวันตาย นี่ก็เป็นมัชฌิมาปฏิปทา แล้วจิตจะรวมลงอย่างไร เมื่อไร ก็จะเป็นไปเองเมื่อใจเป็นกลาง ปล่อยวาง สงบถูกส่วน"

    ปัจฉิมบท[แก้]
    ท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว ได้พรรณนาถึงเมตตาธรรม และ ตปธรรม ของ หลวงปู่ขาว ไว้ในหนังสือ ปฏิปทาของพระธุดงค์กรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มีข้อความตอนหนึ่งว่า

    "ท่านอาจารย์องค์นี้มีความเด็ดเดี่ยวมาก การนั่งภาวนาตลอดสว่างท่านทำได้สบายมาก ถ้าไม่เป็นผู้มีใจกล้าหาญกัดเหล็กกัดเพชรจริง ๆ จะทำไม่ได้ จึงขอชมเชยอนุโมทนากับท่านอย่างถึงใจ เพราะเป็นที่แน่ใจในองค์ท่านร้อยเปอร์เซนต์ว่า เป็นผู้สิ้นภพสิ้นชาติอย่างประจักษ์ใจ ทั้งที่ยังครองขันธ์อยู่"

    ในบทความภาคผนวกตอนหนึ่งของหนังสือ อนาลโยวาท ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งหนึ่งว่า "วันหนึ่ง มีชายแปลกหน้าวัยฉกรรจ์ผู้หนึ่ง ปรากฏกายขึ้นที่วัด ขอเข้านมัสการท่านอาจารย์ พอได้พบก็ตรงเข้าไปกราบถึงที่เท้า แล้วเอ่ยปากขอบพระคุณที่ท่านช่วยเขาให้พ้นจากโทษมหันต์ พร้อมเล่าว่า เขาเป็นทหารไปรบที่ประเทศลาวเป็นเวลานาน พอกลับมาบ้าน ก็ได้รู้ว่าภรรยานอกใจ จึงโกรธแค้น เตรียมปืนจะไปยิงทิ้งทั้งคู่ แต่ยังไม่ทันได้กระทำเช่นนั้น เพราะกินเหล้าเมา แล้วหลับฝันไปว่า มีพระแก่องค์หนึ่งมาขอบิณฑบาตความอาฆาตโกรธแค้น และเทศน์ให้ฟังถึงบาปกรรมของการฆ่า จนเขายอมยกโทษ ให้อภัย ละความพยาบาท ได้ถามในฝัน ได้ความว่า พระภิกษุองค์นั้น ชื่อ ขาว มาแต่เมืองอุดรฯ พอตื่นขี้นจึงออกเดินทางมาเสาะหาท่าน จนได้พบที่วัด เช่นนี้" หลวงปู่ขาว ท่านกล่าวอนุโมทนา แล้วอบรมต่อไปให้เข้าใจหลักธรรม ตลอดจนผลของการงดเว้นจากการฆ่า ทำให้ชายผู้นั้นซาบซึ้งในรสพระธรรม จนตัดสินใจที่จะอุปสมบทต่อไป เรื่องนี้ เป็นหลักฐานว่า ความเมตตาของท่านเปี่ยมล้น และครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างขวางเพียงใด

    อนุสรณ์สถานที่ถือว่าสำคัญที่สุดของ หลวงปู่ขาว ก็คือ วัดถ้ำกลองเพล อันเป็นสถานที่ท่านพำนักจำพรรษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อ พ.ศ. 2526 ท่านดูแลบริเวณวัดซึ่งมีเนื้อที่กว่าพันไร่ ให้เป็นป่าร่มรื่นบนลากสันเขา มีโขดหินขนาดใหญ่มากมาย เป็นเพิงผาธรรมชาติที่งดงาม ด้านหลังเป็นอ่างเก็บน้ำ ชื่อ อ่างอาราม ซึ่งเป็นโครงการชลประทานพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ จุดเด่นของ วัดถ้ำกลองเพล คือ พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งสร้างเสร็จตั้งแต่ พ.ศ. 2531 เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะสวยงามควรแก่การศึกษาและเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง "ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ"

    สานุศิษย์สำคัญ[แก้]
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ วัดภูทอก จ.บึงกาฬ

    พระครูสุทธิธรรมรังสี พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท วัดป่าภูริทัตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี

    พระอาจารย์จันทา ถาวโร วัดป่าเขาน้อย จ.พิจิตร

    พระอาจารย์ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า จ.เชียงราย

    พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู

    พระอาจารย์บุญมา สุชีโว วัดป่าสุขเกษม จ.หนองบัวลำภู

    พระอาจารย์ปรีดา (ทุย) ฉนฺทกโร วัดป่าดานวิเวก จ.บึงกาฬ

    พระครูสุวิมลคุณากร พระอาจารย์บุญพิณ กตปูญฺโญ วัดป่าผาเทพนิมิตร จ.สกลนคร

    พระครูญาณวราจารย์ พระอาจารย์วิไลย์ เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก จ.ชัยภูมิ

    พระอาจารย์คำสุข ญาณสุโข วัดป่าซับคำกอง จ.เพชรบูรณ์

    พระอาจารย์สวาท ถาวโร วัดอ่าวหมู จ.จันทบุรี

    พระอาจารย์อุ่นหล้า ฐิตธมฺโม วัดป่าแก้วชุมพล จ.สกลนคร

    พระปัญญาพิศาลเถร พระอาจารย์ทูล ขิปฺปปญฺโญ วัดป่าบ้านค้อ จ.อุดรธานี

    พระครูมงคลญาณ พระอาจารย์คำพอง (น้อย) ปญฺญาวุโฒ วัดป่านานาชาติ รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมกา

    พระอาจารย์เสงี่ยม สมาจาโร วัดป่าดาลเทพมงคล จ.บึงกาฬ

    พระเทพวิมลญาณ พระอาจารย์มหาถาวร จิตฺตถาวโร วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ SAM_9135.JPG SAM_9136.JPG SAM_7793.JPG
     
  14. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 747 ล็อกเก็ตหลวงปู่วสันตื สันตมโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองหัวหมู อ.เมือง จ.อุดรธานี สร้างปี 2557 สร้างเนื่องหลวงปุ่อายุครบ 66 ปี ด้านหลังมีติดเกศา,จีวร,คำหมาก ,มาพร้อมกล่องเดิมหลวงปู่วสันต์องค์ท่านมีฉายาเดียวกันกับหลวงปู่รินทร์ สันตมโน พระอาจารย์ของผมเอง หลวงปู่รินทร์เวลาเข้าฌานสมาบัติทีไร พระญาณของหลวงปู่วสันต์ได้มาเข้าข่ายพระญาณของหลวงปู่รินทร์ตลอดทําให้หลวงปู่รินทร์ต้องไปกราบที่วัดหนองหัวหมูอุดรธานี ช่วงปี2561 เข้าพรรษาไตรมาส 3 เดือน หลวงปู่วสันต์ท่านได้เมตตาหลวงปู่รินทร์มาอยู่เข้าพรรษาที่วัดหลวงปู่รินทร์จำพรรษาที่หนองคายด้วยครัมีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *****บูชาที่ 345 บาทฟรีส่ง

    หมายเหตุ: (ท่านเป็นศิษย์หลวงปู่บัว สิริปุณโณ และหลวงปู่เจิ่น สิริจันโท ลป.กูด รักขิตสีโล...ฯลฯ
    -ท่านได้ปฏิบัตธรรมแปลกๆ ด้วยการอดอาหาร 3 เดือน ฆ่ากิเลส จนสำเร็จธรรมชั้นสูง
    -หลวงปู่เสน วัดป่าหนองแซง ศิษย์ผู้พี่ท่านยังยกย่องให้ฟังว่า "ในบรรดาศิษย์หลวงปู่บัว ไม่มีใครปฏิบัติได้อุกฤษเทียบเท่าท่านวสันต์ได้"
    -หรือแม้แต่ พ่อแม่ครูอาจารย์องค์พระหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ยังได้เคยมาเยี่ยมดูหลวงพ่อวสันต์ที่วัดป่าหนองหัวหมูว่า "เออ..เก่ง อดอาหาร 3 เดือนไม่ตาย แต่กิเลสตาย) SAM_7823.JPG SAM_9137.JPG SAM_9138.JPG SAM_9139.JPG
     
  16. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    8,293
    ค่าพลัง:
    +6,460
    ขอจองครับ
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 748 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าวังเลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม หลวงปู่มหาบุญมีเป็นศิษย์หลวงปุ่มั่นยุคกลาง เหรียญสร้างปี 2536 เนื้อทองเเดงรมดำ ,มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ >>>>บูชาที่ 245 ******ประวัติย่อๆหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง

    s2-jpg-jpg.jpg
    มีนามเดิม บุญมี สมภาค ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ต.ค.2453 ณ บ้านขี้เหล็ก อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นบุตรคนเดียวของพ่อทำมา-แม่หนุก สมภาค ครอบครัวมีอาชีพทำไร่ทำนา ฐานะค่อนข้างจะยากจนเหมือนกับชาวอีสานทั่วไป
    ชีวิตช่วงวัยเด็กของหลวงปู่ เป็นคนใฝ่เรียนรู้ อ่อนโยน มีเรื่องเล่าว่า ช่วงที่หลวงปู่อายุ 8-9 ขวบ ได้ออกไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควายอยู่กับเพื่อนกลางทุ่งนา
    ท่านเก็บภาพพระพุทธรูปได้ จึงนำมาเก็บไว้ดูและเกิดแรงศรัทธาที่แรงกล้า จึงนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ไว้บูชาที่บ้าน

    s6-jpg-jpg.jpg

    s3-jpg-jpg.jpg ย่างเข้าสู่วัยรุ่นอายุได้ 17 ปี บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบ้านท่าขี้เหล็ก ได้ประมาณปีมารดาสุขภาพไม่ดี หลวงปู่เป็นลูกคนเดียวจึงต้องสึกออกมาดูแลบุพการี
    จนอายุได้ 21 ปี จึงอุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดในหมู่บ้าน โดยมีพระอาจารย์สิงห์ มีศักดิ์เป็นหลวงน้า ดำเนินการให้บวชในสายมหานิกาย แต่ด้วยจิตใจอยากเรียนด้านปริยัติธรรม แต่ไม่สะดวก เพราะ สำนักเรียนวัดเลียบต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เป็นวัดธรรมยุตจึงต้องญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต
    หลวงปู่บุญมี จึงต้องอุปสมบทใหม่ในปีพ.ศ.2474 โดยมีพระศาสนดิลก เจ้าอาวาสวัดเลียบ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาสว่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “สิริธโร”
    หลังจากอุปสมบทแล้วได้ตั้งใจศึกษา เล่าเรียนจนสอบนักธรรมตรี โท เอก ด้วยความมุ่งมั่นอยากศึกษาพระธรรมวินัยที่ลึกซึ้งสูงขึ้น ในปี พ.ศ.2479 จึงเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร เรียนที่สำนักวัดปทุมวนาราม สอบได้เปรียญธรรม 3ประโยคจากนั้นจึงเดินทางกลับบ้านเกิดและออกเดินธุดงค์ เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วภาคอีสาน
    เป็นพระสงฆ์ในยุคเดียวกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน แต่ไม่ได้พบกับ หลวงปู่มั่นเลย แต่เคยได้รับฟังธรรมะของพระอาจารย์ใหญ่ทำให้เกิดกำลังใจในการบำเพ็ญเพียรภาวนา
    สำหรับคำสอนที่พร่ำสอนศิษยานุศิษย์เน้นเรื่องของกรรมว่า “ทุกคนมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งบุญทั้งบาป”
    ย้ำเสมอว่าเรื่องกรรมไม่ใช่เรื่องเหลวไหลเป็นเรื่องจริงขอให้เชื่อในกฎแห่งกรรม “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
    นอกจากนี้ ยังมีคำสอนผญาธรรมภาษาอีสานที่น่าสนใจ เช่น “เทียวทางโค้งหนทางมันนานฮอด มัวเก็บบักหว่า มันสิซ้าคำ ทาง” ล้วนเป็นคำสอนที่ลึกซึ้งให้คติเตือนใจใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ตลอดชีวิตหลวงปู่มหาบุญมี ได้เดินธุดงควัตรและจำพรรษาอยู่ในวัดเขตพื้นที่ภาคอีสานหลายวัด เช่น วัดห้วยทราย จ.มุกดาหาร วัดคำม่วง จ.อุดรธานี วัดป่าหนองบัว จ.สกลนคร เป็นต้น

    s7-jpg-jpg.jpg
    สุดท้ายในปี พ.ศ.2533 ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม
    บุกเบิกพัฒนาสร้างวัดป่าวังเลิงแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร เริ่มมีอาการอาพาธบ่อยครั้ง
    สุดท้ายมรณภาพละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 เม.ย.2535 รวมอายุ 81 ปี sam_7159-jpg-jpg.jpg sam_7161-jpg-jpg.jpg sam_3774-jpg-jpg.jpg


    >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ******(อนึ่ง.....หลวงปู่มหาบุญมีเเก่พรรษากว่าพระหลวงตามหาบัว 3 พรรษาเเละเคยธุดงค์ร่วมกันมาก่อน)**********บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems
     
  18. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 749
    ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร
    87-e0-b8-9b-e0-b8-b9-e0-b8-b9-e0-b9-88-e0-b8-9b-e0-b8-a3-e0-b8-b0-e0-b8-aa-e0-b8-b2-e0-b8-a3-jpg.jpg
    หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร รายการที่ 734 เหรียญใจหลวงปู่ประสาร สุมโน พระโพธิสัตว์โต เเห่งวัดป่าหนองไคร้ อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่ผั่น ปาริสโก เหรียญสร้างปี 2555 สร้างเนื่องหลวงปู่อายุครบ 82 ปี เนื้อทองเเดง มีตอกโค๊ตหลังเหรียญ ,มีพระเกศาหลวงปู่มาเป็นมงคล ***********บูชาที่ 355 บาทฟรีส่งems
    หลวงปู่ประสาร สุมโน (พระครูสุมนสารคุณ) มีนามเดิมว่า ประสาร นามสกุล “เผ่าเพ็ง” ต่อมาเปลี่ยนนามสกุลเป็น “เผ่าพุทธ” และในปัจจุบันคือนามสกุล เผ่าพุทธ (พุทธะ) นั่นเอง


    เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๓ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๑๓ ค่ำ เดือนยี่ ปีมะเมีย ที่บ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี (ในขณะนั้น ต่อมายกระดับขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยแยกการปกครองมาจากจังหวัดอุบลราชธานี) จึงถือตามเอกสารทางราชการในปัจจุบันว่า หลวงปู่ประสารเป็นคนบ้านหนองเป็ด ตำบลหนองหิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

    โยมบิดามีนามว่า นายกลม โยมมารดามีนามว่า นางขาว นามสกุล เผ่าพุทธ (นามสกุลเดิมฝ่ายโยมมารดา “หงส์คำ) มีพี่น้องชายหญิง ๒ คน คือ

    ๑. พระครูสุมนสารคุณ (หลวงพ่อประสาร เผ่าพุทธ)
    ๒. นางเตย น้องสาว ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ (พ.ศ.๒๕๕๒ ต้นปี)


    ปฐมวัย
    ในวัยเด็กหลวงปู่ประสารนั้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดบ้านหนองเป็ดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ชีวิตของท่านก็เหมือนเด็กในชนบททั่ว ๆ ไป ต้องช่วยพ่อ-แม่ทำงานในบ้านตามแต่กำลังของเด็กจะช่วยได้ แม้ว่าร่างกายของท่านในยามนั้นจะเจ็บป่วยบ่อยครั้ง เพราะเป็นคนที่มีร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากน้ำนมของโยมมารดาของท่านไม่มีพอให้ท่านดื่ม แต่การประกอบสัมมาอาชีพท่านเล่าว่าท่านไม่เคยท้อ จนถึงปัจจุบันร่างกายของท่านก็ไม่ค่อยแข็งแรง กระทั่งปี ๒๔๙๒ พระอาจารย์ศรีอารย์ เป็นคนบ้านหนองเป็ดได้ไปจำพรรษาอยู่กับ พระอาจารย์ผั่น วัดนาหัวช้าง หรือ วัดป่าอุดมสมพร ในปัจุบัน ได้มารักษาตัวโรคนิ่วที่จังหวัดอุบลราชธานี แล้วมาเยี่ยมโยมทั้งสองที่บ้านหนองเป็ด โดยพักที่ วัดบ้านหนองค้อ ซึ่งบ้านหนองค้อกับบ้านหนองเป็ดนั้นอยู่ห่างกันคนละฝั่งคลอง
    ในยุคนั้นหลวงปู่ประสาร ท่านออกจากโรงเรียนแล้วช่วยพ่อ-แม่ทำไร่ทำนา เมื่อเสร็จงานไร่งานนาแล้วว่างงานก็วิ่งเล่นตามประสาเด็กชนบทที่ว่างงาน พระอาจารย์ศรีอารย์เมื่อเห็นหลวงปู่ประสารย่างเล่นตามประสาคนชนบท จึงถามท่านด้วยความเมตตาว่า “มึงอยากบวชบ่”

    ท่านจึงตอบว่า “ก็อยากบวชอยู่แล้วล่ะขอรับพระอาจารย์”

    ท่านจึงพูดว่า “ให้บอกพ่อ-แม่เสียก่อน ท่านจะบวชให้”

    เมื่อนำเรื่องไปปรึกษาครอบครัว พ่อ-แม่บอกว่า “มึงจะบวชได้บ่ พระกรรมฐานฉันข้าวมื้อเดียว”

    หลวงปู่ประสารในขณะนั้นจึงตอบพ่อ-แม่กลับไปว่า “ฉันก็เป็นคนเหมือนพระท่านนั่นแหละ เมื่อท่านอดได้ฉันก็ต้องทำได้”

    เมื่อไปบอกขออนุญาตจากทางบ้านแล้วก็ไปพบพระอาจารย์ศรีอารย์ ท่านจึงให้โกนหัวบวชขาว (ประมาณว่าให้ถือศีล ๘ นั่นแหละ ผู้เขียน) ในต้นปี ๒๔๙๒ ที่วัดโนนค้อ ซึ่งขณะนั้นเป็นวัดที่พักของพระสายกรรมฐาน ไม่มีพระอยู่ประจำ พระกรรมฐานผ่านมาพักแล้วก็จากไปเป็นอยู่เช่นนั้น พอบวชได้ไม่กี่วันกลาง ๆ เดือนมกราคมของปีนั้นเดินทางจากจังหวัดยโสธรไปวัดป่าอุดมสมพรของพระอาจารย์ผั่นที่จังหวัดสกลนคร

    บรรพชาอุปสมบท
    จนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๔๙๒ ได้บวชเป็นสามเณรที่ วัดสว่าง โดยมี เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การบรรพชา เมื่อบวชแล้วก็จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งในขณะนั้น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านเป็นพระหนุ่มยังจาริกธุดงค์อยู่ที่ภาคเหนือแถวจังหวัดลำปาง และจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพระสบาย และในพรรษานั้นข่าวว่าพระอาจารย์มั่นท่านอาพาธ สามเณรประสารในสมัยนั้นก็เดินทางไปเยี่ยมพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์ศรีอารย์ได้นำพระ-เณรไปเยี่ยมพระอาจารย์มั่นที่วัดป่าบ้านหนองผือ โดยไปพักที่ศาลา แม้ว่าจะมีพระ-เณรไปไม่ต่ำกว่า ๕๐-๖๐ รูป แต่ไม่มีเสียงดังหรือเสียงกระแอมไอให้ยินเลย การเดินของพระครูบาอาจารย์ต่าง ๆ นั้นหรือก็อยู่ในอาการสำรวมระวัง แม้จะออกเดินไปที่ใดก็สำรวมระวังอินทรีย์ บริเวณวัดนั้นก็ปัดกวาดสะอาดสะอ้าน จนค่ำพระอาจารย์มั่นก็ออกมาพบศิษย์และเทศนาอบรมพระ-เณรเสร็จ สามเณรประสารในขณะนั้นก็มีโอกาสสดับพระธรรมเทศนาจากพระอาจารย์มั่นเป็นครั้งแรก

    เมื่อจบการเทศน์ฯ ท่านกลับไปพักที่ศาลา ท่านเล่าว่า พยายามไม่ให้เกิดเสียงดัง แม้แต่การวางกระโถนท่านก็กลัวจะเกิดเสียงดัง ต้องเอามือรองก้นกระโถนแล้วค่อย ๆ วางลง แต่พอตกกลางคืนจิตใจเป็นลิงเป็นค่าง ยังมีความคิดวอกแวก จึงพยายามรักษาใจไว้ให้มั่นคง เพราะกลัวว่าจิตนั้นจะฟุ้งซ่านคิดออกนอกลู่นอกทาง จึงนั่งภาวนาจนจิตแตกเหงื่อไหลโทรมกายท่าน ด้วยอานุภาพหรือบารมีความกลัวในพระอาจารย์มั่นเพราะเชื่อกันว่าจิตของพระอาจารย์มั่นนั้นท่านสามารถรู้วาระจิตผู้อื่น และอีกอย่างเพราะอยู่ในรัศมีของท่าน กลัวว่าท่านพระอาจารย์มั่นจะรู้ความคิดที่จิตเกิดวอกแวกเนื่องจากอยู่ในบริเวณของท่าน เพราะบุญบารมีของท่านแก่กล้า จึงไม่ได้หลับไม่ได้นอน เพราะจิตใจไม่ยอมหลับยอมนอน คุมจิตรักษาใจไม่ให้ฟุ้งซ่าน ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์ในชีวิตที่ได้บวชมาได้ฟังเทศน์ฟังธรรมขณะนั้น แม้หลวงปู่มั่นจะอาพาธแต่ยังพอเดินได้ออกมารับบิณฑบาตภายในวัด ในขณะนั้นพระอาจารย์มั่นท่านบวชได้ ๖๐ พรรษาพอดี

    จนถึงเดือนพฤศจิกายน ท่านพระอาจารย์มั่นอาพาธหนัก บรรดาลูกศิษย์จึงนำท่านลงมาอยู่ที่วัดโนนโค่ ในขณะนั้น พระอาจารย์กู่ เป็นเจ้าอาวาส เมื่อชาวบ้านได้ข่าวว่าพระอาจารย์มั่นลงมาพักที่วัดโนนโค่ ผู้คนหลั่งไหลมากราบท่านจำนวนมาก แต่ว่าไม่มีเสียงอึกทึก แม้เสียงไอเสียงจาม ในเดือนพฤศจิกายนนั้นเห็นว่าอาการอาพาธของท่านพระอาจารย์มั่นไม่ดีขึ้น จึงเอารถมารับไปที่วัดป่าสุทธาวาสซึ่งยังไม่เจริญ ด้านใต้ของวัดยังเป็นป่ารกทึบอยู่ และได้มรณภาพลงในเดือนพฤศจิกายนนั่นเอง

    หลวงปู่ประสาร สุมโน ผู้มากด้วยเมตตา เย็นกายเย็นใจเป็นปกติ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๒ ที่วัดป่าสว่าง อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร และปีพ.ศ.๒๔๙๔ เข้ารับการอุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีท่านเจ้าพระคุณธรรมเจดีย์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “สุมโน” โดยหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมตตาเป็นเจ้าภาพอุปสมบทให้ ในปีพ.ศ.๒๔๙๖ และได้ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก ไปทางภาคใต้ร่วมกับกองทัพธรรมหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    จดีย์พุทธเมตตามหามงคล
    พระครูสุมนสารคุณ (หลวงปู่ประสาร สุมโน) พร้อมศิษยานุศิษย์ของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก และกัลยาณมิตรทั้งหลาย ต่างมีจิตหวนรำลึกถึงปฏิปทาจริยาสัมมาปฏิบัติของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก ซึ่งเป็นศิษย์สายพระกรรมฐานที่สำคัญยิ่งรูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทฺตโต จึงมีเจตนารมณ์ร่วมกันหาทุนจัดสร้าง “เจดีย์พุทธเมตตามหามงคล (ผั่น ปาเรสโก) ” เพื่อเป็นการรำลึกถึงท่านผู้เป็นพุทธสาวกที่สำคัญ ด้วยงบประมาณ ๒๐ ล้านบาทในเบื้องต้น

    9c-e0-b8-b1-e0-b9-88-e0-b8-99-e0-b8-9b-e0-b8-b2-e0-b9-80-e0-b8-a3-e0-b8-aa-e0-b9-82-e0-b8-81-jpg.jpg
    เจดีย์พุทธเมตตามหามงคล (ผั่น ปาเรสโก)
    9c-e0-b8-b1-e0-b9-88-e0-b8-99-e0-b8-9b-e0-b8-b2-e0-b9-80-e0-b8-a3-e0-b8-aa-e0-b9-82-e0-b8-81-jpg.jpg
    หลวงปู่ผั่น ปาเรสโก
    เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๑ และอัฐิธาตุตลอดจนอัฎฐบริขารของหลวงปู่ผั่น ปาเรสโก”

    เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราช ประเทศศรีลังกา ที่จะได้รับในอนาคต
    เพื่อเฉลิมพระเกียรติถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสที่พระองค์ทรงฉลองศิริราชสมบัติครบ ๖ รอบ และทรงเจริญพรรษาครบ ๘๐ พรรษา

    เพื่อเป็นอามิสบูชา ปฏิบัติบูชา และเป็นอนุสรณ์สถาน แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่านซึ่งเป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย และมั่นคงในหลักพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสมอมาจนตลอดชีวิต เพื่อเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรมะภาวนา ตามแนวทางหลักพระธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า SAM_9144.JPG SAM_9143.JPG sam_9103-jpg.jpg sam_9104-jpg.jpg sam_7644-jpg.jpg

     
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 750 เหรียญรุ่น ตอก 1 หลวงปู่หา สุภโร พระอรหันต์เจ้าวัดสักกะวัน(วัดไดโนเสาร์ ภูกุ้มข้าว) อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ ล็อกเก็ตสร้างปี 2557 มีตอก 4 โค๊ต โค๊ต 1 หน้าเหรียญ,โค๊ต รูปไดโนเสาร์หลังเหรียญ,โค๊ตตัวอักษร ต,เเละโคีตตัวเลข 184 เนื้อตะกั่ว เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ มาพร้อมกล่องเดิม มีพระเกศารวมพระอรหันต์มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ**********บูชาที่ 385 บาทฟรีส่งems
    พระเทพมงคลวชิรมุนี
    (หา สุภโร)

    หลวงปู่ไดโนเสาร์, หลวงปู่หา
    0-b8-9b-e0-b8-b9-e0-b9-88-e0-b8-ab-e0-b8-b2_-e0-b8-aa-e0-b8-b8-e0-b8-a0-e0-b9-82-e0-b8-a3-29-jpg.jpg
    เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2468
    อายุ 96
    อุปสมบท พ.ศ. 2489 มหานิกาย
    พรรษา 76
    วัด วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)
    จังหวัด กาฬสินธุ์
    สังกัด ธรรมยุตินิกาย ญัตติ พ.ศ. 2490
    วุฒิ นธ.เอก
    ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว)
    อดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์
    ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์
    25px-dharma_wheel-svg-png.png ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
    พระเทพมงคลวชิรมุนี
    [1] (หา สุภโร) หรือ หลวงปู่ไดโนเสาร์ พระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะธรรมยุติกนิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามตามสัญญาบัตรว่า พระเทพมงคลวชิรมุนี เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า และได้ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ ทำให้มีการขุดค้น โดยเป็นแหล่งไดโนเสาร์กินพืชที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย[2] และยังมีการสร้างพิพิธภัณฑ์สิรินธร บริเวณที่ขุดค้นพบอีกด้ว
    ประวัติ[แก้]
    พระเทพมงคลวชิรมุนี [1](หลวงปู่หา สุภโร) ท่านมีนามเดิมว่า หา ภูบุตตะ เกิดวันศุกร์ที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ ตรงกับวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีฉลู ที่บ้านนาเชือก ตำบลเว่อ (ปัจจุบันเป็นตำบลนาเชือก) อำเภอยางตลาด (ปัจจุบันเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดกาฬสินธุ์ บิดาชื่อ นายสอ ภูบุตตะ มารดาชื่อ นางบัวลา ภูบุตตะ มีพี่น้องรวมกัน ๗ ท่าน

    ท่านถือกำเนิดในตระกูลที่มีฐานะดีในหมู่บ้านนาเชือก ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มีฝูงวัวมากกว่า ๓๐ ตัว มีที่นากว่า ๖๐ ไร่ มารดาเลี้ยงหม่อนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะมั่นคงที่สุดในแถบนั้น เมื่อท่านเป็นฆราวาส ท่านมีความขยันหมั่นเพียร และความอุตสาหะ ท่านช่วยโยมบิดามารดาทำงานทุกอย่าง ท่านได้สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่โรงเรียนวัดบ้านนาเชือกเหนือ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นทหารอาสาเพื่อไปร่วมรบในสงคราม และท่านได้เข้ารับการฝึกซ้อมรบ ภายหลังก่อนที่ท่านจะไปในสงครามจริงๆ สงครามโลกครั้งที่ ๒ ก็ได้ยุติลงก่อนในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ครั้งนึงท่านชอบการต่อยมวยมาก ท่านชอบไปต่อยมวยตามงานวัดต่างๆ ในเวลาว่างจากการทำนาและงานอื่น แต่โยมบิดาของท่านไม่ชอบที่ท่านเป็นนักมวยนัก พอช่วงอายุประมาณ ๒๐ ปี คุณยายของท่านก็ได้ปรารภกับท่านว่าอยากจะให้ท่านบวชให้คุณยายของท่านหน่อย อันเป็นที่มาของการออกบวชภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ในบวรพระพุทธศาสนา

    ท่านอุปสมบท เมื่ออายุย่างเข้า ๒๑ ปี ที่สิมน้ำ ณ วัดสว่างนิวรณ์นาแก ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีหลวงปู่ลือ เป็นพระอุปัชฌาย์ สังกัดมหานิกาย เมื่อท่านบวชแล้วก็มาอยู่ที่วัดสุวรรณชัยศรี ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ขณะนั้นที่นั่นการปกครองในคณะสงฆ์ยังไม่ทั่วถึงมากนัก การบวชของคณะธรรมยุตและคณะมหานิกายยังไม่มีการแยกจากกัน ยังคงใช้พระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ทางคณะสงฆ์ได้ประกาศว่า พระอุปัชฌาย์สังกัดนิกายอะไรผู้บวชก็ต้องสังกัดนิกายนั้น พระครูประสิทธิ์สมณญาณ จนฺโทปโม เจ้าอาวาสวัดสุวรรณชัยศรี (ศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยท่านจำพรรษาอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่านจึงได้ขึ้นไปอบรมการเป็นพระอุปัชฌาย์ของคณะธรรมยุต ต่อมาเมื่อท่านอายุ ๒๒ ปี ท่านได้ญัติติเป็นธรรมยุต ที่สิมน้ำ ณ วัดบ้านหนองโจด (ปัจจุบันเป็นที่นาชาวบ้าน) ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อ วันที่ ๒๑ เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ เวลา ๑๓.๐๐ น. โดยมีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูปลัดอ่อน ขนฺติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระใบฎีกาทองสุข สุจิตฺโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายา ว่า “สุภโร” แปลว่า “ผู้เลี้ยงง่าย”

    เมื่อท่านยังเป็นพระนวกะ (ผู้บวชใหม่) ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้จำพรรษาที่วัดสุวรรณชัยศรี จนสอบได้นักธรรมชั้นตรี และ ในปีพ.ศ. ๒๔๙๕ สอบได้นักธรรมชั้นโทที่วัดขวัญเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และในปีพ.ศ. ๒๔๙๗ ได้มีโอกาสศึกษาต่อที่วัดนรนาถสุนทริการาม กรุงเทพมหานคร จนสำเร็จนักธรรมชั้นเอก ท่านได้มีโอกาสอุปัฏฐากท่านเจ้าประคุณสมเด็จมหามุนีวงศ์ (สนั่น จนฺทปชฺโชโต) และด้วยความที่ท่านมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ท่านจะเรียนบาลีเป็นประจำทุกวัน เมื่อเว้นว่างจากการเรียนบาลีแล้ว ท่านก็จะเดินทางด้วยเท้าเปล่าเพื่อไปเรียนกรรมฐานจากพระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล และพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ลี ธมฺมธโร) ที่วัดบรมนิวาส

    เมื่อเรียนไปได้สักระยะหนึ่ง ท่านเริ่มอาพาธด้วยโรคดีซ่าน การเรียนทั้งปริยัติและปฏิบัติจึงได้ระงับไว้ก่อน เมื่ออาการหนักมากจนถึงขั้นต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ถึง ๓ เดือน โดยไม่มีท่าทีว่าจะหาย หรือดีขึ้นเลย ท่านจึงทอดอาลัยในชีวิต แล้วตั้งความปรารถนาขอใช้ชีวิตที่เหลือในการรับใช้พระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก โดยท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐาน ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้วมรกต) ว่า “หากข้าพเจ้าจะมีชีวิตในการบวช ขอให้โรคหาย ถ้าหากจะไม่มีชีวิตแล้ว ขอให้ตายกับผ้าเหลือง” ท่านมีความคิดว่าหากได้บวชอยู่นานๆ จะได้ทำประโยชน์ในพระศาสนาให้สมกับที่เป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลก จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับมาที่บ้านเกิดเพื่อตั้งต้นดำเนินภารกิจดังที่ตั้งปณิธานไว้ และได้ตั้งสัตยาธิษฐานอีกครั้งหนึ่งว่า “ขอให้ได้อยู่ป่าทำความสงบสบายทางจิต”

    ด้วยอานิสงส์แห่งการอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา ในขณะนั้นท่านก็ได้รับการรักษาจากหมอพื้นบ้าน และการอบรมทางใจจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเข้าช่วยเหลือ จึงเป็นผลให้อาการของโรคทุเลาลงจนหายขาดในที่สุด เมื่อหายเป็นปกติแล้วท่านจึงออกเที่ยวปฏิบัติรุกขมูล หาความวิเวกทางกายและใจออกธุดงค์ไปยังภาคต่างๆ ในประเทศไทยแทบทุกจังหวัด ไปทุกมุมเมืองในภาคอีสาน และข้ามไปยังฝั่งลาว ไปถึงนครเวียงจันทน์ถึงสองครั้ง เข้ากัมพูชา จนเห็นผลทางจิตอันแน่นอนแล้ว ท่านจึงกลับมาช่วยงานพระศาสนาดังปฐมปณิธาน

    ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์[แก้]
    • เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ชั้น เอก โท ตรี
    • เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวงในคณะธรรมยุติภาคอีสาน
    • พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    • พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นเจ้าคณะตำบล (ธ) ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    • พ.ศ. ๒๕๐๒ เป็นเจ้าคณะอำเภอ (ธ) ปกครอง ๓ อำเภอ ได้แก่ อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอกุฉินารายณ์ และอำเภอท่าคันโท
    • พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ)
    • พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ (ธ) SAM_9145.JPG SAM_9146.JPG SAM_9148.JPG SAM_9147.JPG SAM_7478.JPG
    สมณศักดิ์[แก้]
    • ได้รับการแต่งตั้งพระฐานานุกรมในพระสุธรรมคณาจารย์ที่ พระสมุห์หา สุภโร
    • พ.ศ. ๒๕๐๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ
    • พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ
    • พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ที่ พระครูวิจิตรสหัสคุณ
    • พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระญาณวิสาลเถร
    • พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นเทพ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระเทพมงคลวชิรมุนี ภาวนาวิธีวราจารย์ ไพศาลศาสนกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[1]
    งานการศึกษา[แก้]
    • พ.ศ. ๒๔๙๘ – ๒๕๐๙ เปิดสอนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก
    • เปิดสำนักสอบธรรมสนามหลวง จำนวน ๑๓ พรรษา ณ วัดสักกะวัน (วัดเดิม) ตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    • พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๒๗ เปิดสำนักสอบธรรมสนามหลวง ณ วัดสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    งานสาธารณูปการ[แก้]
    • ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ย้ายวัดสักกะวัน จากตำบลโนนศิลา มาอยู่ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
    • ได้พัฒนาวัดสักกะวัน โดยการสร้างโบสถ์ วิหาร และตัดถนนรอบวัดจำนวน ๕ สาย เพื่อใช้ในการเดินจงกรม
    • ได้ตัดถนนสายหน้าวัดสักกะวัน - วัดตาดแม่นาย
    • ได้ก่อสร้างเมรุเผาศพ
    • ได้ช่วยวัดต่างๆ สร้างโบสถ์จำนวน ๙ หลัง ในจังหวัดกาฬสินธุ์
    • ได้มอบพื้นที่บริเวณลานจอดรถให้กับหน่วยงานราชการทำประโยชน์
    • ได้สนับสนุนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอุทยานโลกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว

    ฝากตัวเป็นศิษย์กับพ่อแม่ครูบาอาจารย์[แก้]
    การค้นพบกระดูกไดโนเสาร์[แก้]
    ในขณะที่ท่านกำลังดำเนินการก่อสร้างวัดสั่งสอนผู้คนพุทธศาสนิกชน สอนปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณรบริหารการปกครองคณะสงฆ์อยู่นั้นท่านก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติในทางการอบรมจิตทำสมาธิภาวนา เมื่อมีเวลาว่างท่านจะขึ้นบนยอดภูกุ้มข้าวกางกลดนั่งสมาธิครั้งละ ๑๕ วัน โดยไม่ฉันอาหารไม่เข้าห้องน้ำ อบรมจิตใจตนเองอย่างนี้โดยวิธีนี้เรียกว่าการเข้า “ปฏิสลี” มีเพียงบางวันที่สามเณรจะเอายาต้มไปส่งแต่ถ้าเห็นหลวงปู่ไม่เปิดกลดก็จะกลับลงมาโดยไม่ได้ถวายยาต้มนั้นในบางปีท่านฉันภัตตาหารเพียงวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษาเท่านั้น ประมาณปี ๒๕๓๔ ท่านได้พบนิมิตโอภาส คือพบแสงสว่างที่ใสมากเป็นแสงที่ท่านไม่เคยพบในโลกนี้สว่างไปทั่วโลกธาตุ สว่างทั้งจักรวาล มองทะลุภูเขา มองทะลุต้นไม้มองเห็นทุกอย่างอยากเห็นสิ่งใดก็เห็นไปหมด แล้วก็ปรากฏสัตว์ชนิดหนึ่ง คอยาว ตัวใหญ่กว่าช้างเท้าใหญ่เท่ากระบุง เดินไปเดินมาในบริเวณภูกุ้มข้าว กินยอดไม้ เล่นน้ำ และล้มลงตายขณะที่เห็นมีลักษณะเป็นเหมือนฟีมล์หนังกลางแปลงในสมัยก่อนพอสัตว์นั้นตายลงก็หมดม้วนพอดี เป็นอย่างนี้อยู่ ๒-๓ ครั้ง ในปี ๒๕๓๖ และปี๒๕๓๗ก็มีลักษณะเดียวกัน ครั้งสุดท้าย พอเห็นจบแล้วก็มีเสียงมาบอกว่า จะมาขออยู่ด้วยเตรียมตัวไว้พรุ่งนี้จะมีฝนมาจากทิศอุดรห่าใหญ่ผมจะมากับฝน ครั้งล่าสุดท่านเข้าปฏิสลีได้เพียง ๓ วันเท่านั้น ท่านจึงเก็บบาตรและกลดลงจากยอดเขาสั่งให้พระเณรเก็บสิ่งของไปไว้บนกุฏิเวลาประมาณเที่ยงวันฝนก็เริ่มตั้งเคาและตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตาหลวงปู่ท่านได้กางร่มเดินออกมาตรวจบริเวณวัดขณะฝนตก ร่มที่กางโดนลมพัดจนหักและปลิวไปกับลมเหลือเพียงด้ามร่มเท่านั้น บริเวณทั้งหมดมืดไปหมดมองสิ่งใดไม่เห็นท่านจึงนั่งลงตรงที่เห็นสัตว์นั้นตายในนิมิต ฝนตกกว่า ๓ ชั่วโมงจึงเริ่มซาและหายไปในที่สุด จากฟ้าที่มืดก็ปรากฏแสงสว่างขึ้นมาแผ่นดินที่เคยสูงโดนน้ำเซาะจนเห็นเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ หลายสิบชิ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ท่านนั่ง ท่านก็สั่งให้คนเก็บกระดูกนั้นไว้และส่งข่าวไปยังนายอำเภอเพื่อมาตรวจสอบ ทางอำเภอจึงส่งข่าวไปยังศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เจ้าหน้าที่ก็ได้มาตรวจสอบปรากฏว่าเป็นไดโนเสาร์พันธ์กินพืชที่ใหญ่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา (ภายหลังให้ชื่อว่า อีสานโนซอรัสสิรินธรเน่) ต่อมามีการแจ้งว่าจะมีการจะขอทำการขุดค้นเพิ่มเติมจึงกราบเรียนถามองค์หลวงปู่เพื่อชี้จุดที่เห็นในนิมิตเพิ่มเติมท่านจึงได้ชี้ใต้ต้นไม้ทางทิศเหนือของวัดก็พบฟอสซิลไดโนเสาร์อีกหลายตัว(ปัจจุบันคือ “อาคารหลุมขุดค้นไดโนเสาร์พระญาณวิสาลเถร” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ค้นพบครั้งแรก)อีกทั้งยังมีการรวบรวมฟอสซิลไดโนเสาร์จากทั่วสาระทิศมารวมที่วัดสักกะวันและก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โลกล้านปีได้รับพระราชทานนามว่า“พิพิธภัณฑ์สิรินธร” คณะศิษย์ยานุศิษย์ ลูกหลาน จึงถวายฉายานามหลวงปู่ว่า“หลวงปู่ไดโนเสาร์” (แต่เดิมท่านชื่อพระหา ภายหลังได้รับถวายตำแหน่งพระฐานานุกรมในตำแหน่งพระสมุห์ชาวบ้านจึงให้ชื่อว่าพระอาจารย์สมุห์หาภายหลังเมื่อมีการถวายสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิจิตรสหัสคุณชาวบ้านก็เรียกหลวงตาวิจิตร เมื่อท่านค้นพบไดโนเสาร์ชาวบ้านจึงนิยมเรียกท่านว่าหลวงตาวัดไดโนเสาร์ เมื่อเรียกบ่อยๆจึงเหลือแต่หลวงตากับไดโนเสาร์ แต่คณะศิษย์ในภายหลังไม่อาจเรียกท่านว่าหลวงตาได้(เพราะคำว่าหลวงตาคือคนที่มีครอบครัวแล้วมาอุปสมบท)จึงเรียกท่านว่าหลวงปู่ไดโนเสาร์ SAM_9145.JPG SAM_9146.JPG SAM_9148.JPG SAM_9147.JPG SAM_7478.JPG
     
  20. ผู้ผ่านมา

    ผู้ผ่านมา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2006
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +140
    ขอบูชาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...