มีคนบอกว่าศาสนาพุทธลอกเขามา

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย ฉีเทียนต้าเซิ่น, 29 มีนาคม 2009.

  1. ฉีเทียนต้าเซิ่น

    ฉีเทียนต้าเซิ่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +21
    ศีล ๕ ข้อย่างเคร่งครัดของศาสนาเชน คือ ๑. เว้นจาการฆ่าสิ่งที่มีชีวิตรวมทั้งพืชด้วย ๒.เว้นจาการพูดเท็จ ๓. เว้นจาการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ๔. เว้นจาการประพฤติผิดในกาม ๕. ไม่ยินดีในกามวัตถุ มีศีล 5 ด้วยนะ ในฤดูฝน ซึ่งมีแมลงและกบเขียดชุกชุม นักบวชเชนจึงไม่ออกจาริกไปไหน แต่จะอาศัยอยู่ที่วัดใดวัดหนึ่ง ก่อนที่จะออกเดินทางไปบำเพ็ญตบะอีก 8 เดือน มีการจำพรรษาด้วย ครั้งออกบวชแสวงหาโมกขธรรม ๑๒ ปี จึงบรรลุโมกษะ เมื่อได้บรรลุแล้วจึงได้นามใหม่ว่า ชินะ อันหมายถึงผู้ชนะแล้ว ท่านเป็นศิษย์ท่านปาร์ศวา (Parsva) ซึ่งถือว่าเป็นศาสดาองค์ที่ ๒๓ ผู้มีอายุห่างจากท่านมหาวีระเพียง ๒๕๐ ปีเท่านั้น คำว่า ศาสดาในศาสนาเชนเรียกว่า ตัรถังกร แปลว่า ผู้ถึงท่าคือนิพพาน มีนิพพานด้วย และที่สำคัญ พระมหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน ซึ่งมีแนวความคิดปฏิเสธพระเจ้า ปฏิเสธการบูชายัญเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ แต่ต่างกันที่หนทางปฏิบัติ และการทรมานกายอันสุดโต่งของเหล่านักบวชเชนเพื่อไปสู่ปรโลก เป็นภพที่อยู่เหนือโลก ซึ่งไม่ใช่นิพพาน ตามประวัติของศาสนาเชนนั้น พระมหาวีระเป็นเจ้าชายพระองค์หนึ่งในวงศ์กษัตริย์ลิจฉวีผู้ครองกรุงเวสาลี เสด็จออกบวชและได้บำเพ็ญตบะทรมานกายจนบรรลุความหลุดพ้น จึงได้ประกาศศาสนาเชนขึ้นเมื่อ 57 ปีก่อน พุทธศาสนา โดยพระมหาวีระคือศาสดาองค์ที่ 24 เพราะตามคตินิยมของศาสนาเชนนั้น ได้มีศาสดาองค์ก่อนหน้านี้มาแล้ว 23 องค์

    ไม่ทราบว่าจริงเท็จประการไดครับ
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.551651/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. Pelagia

    Pelagia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    790
    ค่าพลัง:
    +1,198
    ผู้ก่อตั้งศาสนาก็จากไปนานแล้ว จึงไม่สามารถบอกได้หรอกว่าใครลอกใครมา เพียงแต่ว่าทั้งสองศาสนาทั้งพุทธทั้งเชน ก็เป็นผลพวงจากการค้นหาความจริงในสมัยนั้น

    ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว ถ้าจะพูดถึงความจริงหนึ่งเดียวกันแม้ว่าจะอธิบายอย่างไร มันก็คล้ายๆ กันเสมอ
     
  4. ราคุเรียวซาย

    ราคุเรียวซาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    2,940
    ค่าพลัง:
    +8,516
    มีอีกข้อนะ
    ศาสนาเชนนี้เดิมเขาไม่นุ่งผ้านะตัว
     
  5. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ไม่เห็นต้องคิดเลย ภาษาฝรั่งเขาบอกว่า keep the faith
    คือ บางทีถ้าเรา ศรัทธา เราจะเชื่อโดยไ่ม่ต้องพิสูจน์อะไร นั่นแหละจะทำให้เราไม่ลังเล และ สงสัยมากเกินไป
     
  6. ฉีเทียนต้าเซิ่น

    ฉีเทียนต้าเซิ่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +21
    ศาสนาเชนที่นุ่งลมห่มฟ้าหรือไม่นุ่งผ้าเรียกนิกายทิคัมพรครับ ส่วนอีกนิกายชื่อ เศวตัมพร นุ่งขาวห่มขาวครับ

    ศาสนาเชน เรียกอีกอย่างว่า ไชนะ หรือ ชินะ แปลว่า ผู้ชนะ ศาสนานี้เกิดขึ้นในประเทศอินเดีย อนุมานกาลราวยุคเดียวกับสมัยพุทธกาล ซึ่งมีหลักฐานว่าจ้าชายสิทธัตถะขณะออกผนวชแสวงหาสำนักลัทธิต่าง ๆ ก่อนตรัสรู้ก็ได้เคยเสด็จไปศึกษาในสำนักเชนด้วย

    ที่ผมอยากรู้คือทำไมเจ้าชายสิทธัตถะจึงละทิ้งแนวทางของศาสนาเชน? ศาสนานี้มีข้อปฏิบัติอะไรที่เจ้าชายสิทธัตถะคิดว่ายังไม่ใช่?

    ศรัทธา? เป็นสิ่งดีครับ แต่ถ้าเป็นศาสนาพุทธควรศรัทธาเนื่องจากกระจ่างในเหตุและผล ไม่ใช่เทวนิยมที่ศรัทธาเพราะความยำเกรงในอำนาจของพระเจ้าโดยไม่ต้องพิสูจน์อะไร

    ไม่ได้อยากจะกวนใครหรอกนะครับ แต่เพื่อนมุสลิมผมมันถามมา คนรู้น้อยอย่างผมก็อยากได้คำตอบที่ดีไปให้เขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มีนาคม 2009
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ก็ศาสนาใดๆ ก็ไม่ชัดเจนทั้งนั้น ในด้านวิธีการ

    สิ่งที่แตกต่างคือ อริยสัจสี่ คือ ความจริงของการพ้นทุกข์ ต้องซื่อตรง คือ เห็นทุกข์ สมุทัย ตรงๆ อันมาจากความซื่อสัตย์ อันดับแรก

    ทีนี้ศาสนาอื่น ก็ไม่มีศาสนาใดสอนใน อริยสัจสี่

    พระศาสดา เป็นผุ้มีปัญญาบาีรมีมากมาย อันใดไม่ใช่มรรค ท่านก็เห็นอยู่แน่นอน
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ระหว่างศาสนาพุทธ กับ ศาสนาเชน

    ความเหมือนกันนั้น จะมี นิพพาน เหมือนกัน มีสมถะสมาธิเหมือนกัน
    แทบจะแยกไม่ออก

    ความแตกต่าง จึงเป็นเรื่องละเอียดในส่วนที่เป็นเรื่องการปฏิบัติต่อกิเลส

    ศาสนา เชน มองกิเลสเป็นข้าศึกที่ต้องเอาชนะให้ได้ การปฏิบัติจึงค่อนไปทาง
    ทำสมถะ สมาธิ ทุกวิธี หลากวิธี แบบอุกกฤติ เป็นการข่มเวาทนากาย หรือ ข่ม
    เวทนาทางใจ และโดยส่วนมากก็จะไปสุดที่พรหมลูกฟัก อาสัญญีสัตตา หรือ
    สัตว์ที่สัญญาแทบจะไม่มี แต่เหลือขันธ์อยู่คือ รูปขันธ์ ทำให้ยังมีสังขารอยู่
    และเมื่อหมดกำลังของสมาธิก็จะต้องมาเกิดใหม่

    ศาสนาพุทธมีมุมมองกิเลสเป็นเพียงทุกขสัจจของการมีจิต และไม่ได้มุ่งเอาชนะ
    แบบกดข่มเวทนา ข่มวิญญาณการรับรู้ของจิต แต่จะปล่อยให้จิตที่เป็นธรรมชาติ
    รู้นั้น ให้มันทำงานรู้ตามธรรมชาติของมันไปจนถึงสภาวะที่ละเอียดที่สุดที่จิตสามารถ
    รู้ได้ จึงเรียกว่า รู้ตามความเป็นตามที่จิตรู้ หรือ รู้ทุกขสัจจของจิตที่เที่ยวออกไปรู้

    เพราะศาสนาพุทธนั้น เล็งเห็นว่า การที่จิตหยั่งลงไปรู้รูป-นาม จะทำให้เกิดสันนติ
    ของการมีขันธ์5 หากสามารถเข้าไปรู้สภาวะดังกล่าวโดยจิตเขาแสดงความเป็น
    จริงให้ดู เราก็จะรู้ทุกข์ ทันทีที่รู้ทุกข์จิตจะละสมุทัย ประจักษ์นิโรธน เจริญมรรค
    ในขณะเดียวที่รู้ทุกข์ทันที หลังจากนั้นจะเกิดความรู้ที่จะทำให้ไม่ยึดถือจิตอีก
    สภาวะนั้นจะเกิดธรรมหนึ่งขึ้นมาให้รู้ ที่เรียกกันว่า นิพพาน ซึ่งจะทำให้หมดชาติ
    ได้จริงๆ เพราะไม่มีขันธ์5เหลือ

    สรุปสั้นๆ

    ศาสนาเชนมุ่งเอาชนะทุกข์ สร้างงานให้จิตผลักดันทุกข์

    ศาสนาพุทธมุ่งรู้ทุกข์ เมื่อรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง ก็จะสลัดคืนจิต ไม่ยึดถือจิต
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทิคัมพร แรกๆในเมืองไทยก็มี ในบทประพันธ์ของสุนทรภู่จึงมี ชีเปลือย

    ส่วน เศวตัมพร นั้นสามารถเข้าครอบงำราชสำนักได้ รู้สึกจะก่อนสมัยโยนก ก่อนสมัย
    ทราวดี (จำชื่อสมัยนครไม่ได้ ) แต่เมื่อศาสนาพุทธได้แพร่เข้ามา พวก ชี หรือ
    เศวตัมพร ได้ปรับกลยุทธในการกลืน หรือ ผนวกแนวคิดทางศาสนา เพื่อให้พวกตน
    ได้อยู่ในราชสำนักทำการปกครองได้ต่อไป ทำให้คำสอนศาสนาพุทธค่อยๆ เลือนหาย
    จนพระมหากษัตริย์ไทยเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ก็จะมีการไปอัญเชิญพระไตรปิฏก
    มาใหม่เสมอ

    เช่น กรณีกบฏท้าวศรีสุดาจันทร์ จะมีการเปลี่ยนแปลงขั้วของศาสนาร่วมกับการเปลี่ยน
    แปลงราชวงศ์ด้วย
     
  10. ฉีเทียนต้าเซิ่น

    ฉีเทียนต้าเซิ่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอบคุณ คุณขันธ์ และคุณนิวรณ์ มากครับ

    ให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    แต่อย่างไรก็ดี พวก ชี หรือ พราหมณ์ ก็จะมีเชื้อสายของราชวงศ์เข้าไปศึกษา

    ทำให้ศาสนาพรหมณ์ หรือ ชี นั้นสามารถดำรงค์อยู่ได้ เพราะอย่างน้อยก็เป็น
    เชื้อสายบรรพกษัตริย์ไทย

    แต่พอมาสมัยรัตนโกสินทร์ ราชนิกูลก็ไม่ค่อยจะได้เข้าไปอุปถัมภ์ หรือ ศึกษา
    ศาสนาพรหมณ์ หรือ ชี อีก แต่ท้ายที่สุดศาสนาพรหมณ์ได้มีส่วนในการเป็น
    วัฒนธรรมชั้นสูง ราชพิธี เพื่อหลักความสามัคคี และความมั่นคง และความเป็น
    เชื้อชนชาติไทย เราจึงต้องให้มีศาสนาพราหมณ์คงอยู่

    ก็เรียกว่ามีคุณต่อชาติบ้านเมืองเหมือนกัน

    แต่ถ้า จขกท สนใจเรื่องหลุดพ้นกิเลส ก็ลองพิจารณาดูนะครับ
     
  12. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]

    เห็นใช้รูปนี้แทนตัว ขอเสนอบทความสนุกๆ เกี่ยวกับ หงอคง

    ........
    ........

    อ้าว หาไม่เจอ ไว้วันหลัง เจอแล้วขอกลับมา update อีกทีครับ

    * * * *

    อ๊ะ ไวเหมือนโกหก เจอแล้ว !

    ไขความปริศนาธรรม จาก มหากาพย์ไซอิ๋ว
     
  13. ฉีเทียนต้าเซิ่น

    ฉีเทียนต้าเซิ่น สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2009
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +21
    แล้วพวกที่ทรงเจ้าสั่นๆแล้วทำท่าลิงนี่ลิงที่ไหนมาสิงเขาหรอครับ?

    ปล.ไม่ต้องตอบเรื่องทรงเจ้านะครับ เดี่ยวจะผิดหัวข้อกระทู้ เอวังก็มีประการะฉะนี้ ขอจบกระทู้บริบูรณ์ [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2009
  14. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG] เป็นด้วยคน ไม่ได้ตั้งใจเลียนแบบนะ มันอยากเป็นของมันเอง
     
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    [​IMG]
     
  17. โชเต

    โชเต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2009
    โพสต์:
    285
    ค่าพลัง:
    +331
    ลอกมายังไง
    แล้วลอกมาแบบไหน

    ใครเป็นคนให้ลอก
    แล้วเขารู้ได้ยังไงว่าลอก

    คิดพิจารณาให้ดีนะ ก่อนที่จะตอบน่ะ
     
  18. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    การกระทำของจิตในลักษณะนี้เรียกว่า วิรัติ จะมีการคิดพิจารณา แล้ว ตัดสิน
    ตามด้วย เจตนาที่จะกระทำการละ ซึ่งก็คือ วิรัติ แล้วรวมเรียกว่า ศีล

    ดังนั้น กระบวนการนี้เป็นขั้น รักษาศีล ซึ่งสมควรทำ

    แต่จะให้ดีกว่านี้ ต้องทำให้ถึง อธิศีล การเจริญอธิศีล ก็ให้ รู้สึกถึงการมี
    อารมณ์โกรธ กับ สภาวะที่จิตไม่มีอารมณ์โกรธ หรือ จิตมีโทษะให้รู้ว่า
    จิตมีโทษะ เมื่อจิตไม่มีโทษะ(อ่านแล้วไม่กระเพื่อมเลย ไม่ต้อง วิรัติเลย)
    ก็ให้รู้ว่าจิตไม่มีโทษะ หากระลึกเห็นได้โดยไม่เจตนาจะเห็นทันทีว่า จิตที่
    ไม่กระเพื่อมสั่นไหวมีจริง จิตที่ไม่กระเพื่อมสั่นไหวเมื่ออ่านข้อความใดๆ
    นั้นคือลักษณะของ อธิศีล ใจปรกติที่แท้จริง ซึ่งจะเห็นว่า หากเรามีจิต
    ยืนอยู่ตรงนี้เป็นปรกติ เราก็ไม่ต้อง เจตนาวิรัติ งานของใจจะน้อยลง เพราะ
    เรามี อธิศีล ซึ่งเป็น ศีลระดับที่สูงกว่า ดีกว่า ศีลแบบเจตนาวิรัติ
     
  19. พระไตรภพ

    พระไตรภพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,067
    ค่าพลัง:
    +7,521
    ศาสนาเชนนั้น ถ้าใครได้ศึกษาการโต้ตอบปัญหาของพระเชนกับพระพุทธ จะทราบได้ว่าพระเชน เขาเน้นการปฏิบัติทางกาย เขาไม่เน้น ใจ
    พระในศาสนาพุทธ ต้องมีใจ นำหน้า มีใจเป็นประธาน

    ศีล ในศาสนเชนเขาเรียกพรต เป็นข้อปฏิบัติตนเองเขา


    แต่ต่อมา มีการประยุกต์หลักคำสอนของศาสนาพุทธรวมเข้าด้วย คล้ายๆกับศาสนาอื่นๆที่ได้ทำกัน เพื่อความอยู่รอดของศาสนาตน และเพื่อความดีที่เต็มพร้อมขึ้น คล้ายๆกับร้านค้าปรับปรุงร้านเพื่อดึงดูดลูกค้าอะไรประมาณนั้น ซึ่งการกระทำอย่างนี้แม่ในปัจจุบันก้ยังมีปรากฎให้เห็นอยู่

    หลักการปฏิบัติตนของเชนในปัจจุบันนี้เป็นดังต่อไปนี้

    นิกายทิคัมพร ได้แก่ นิกายเปลือยกายหรือนักบวชแบบชีเปลือย ปฏิบัติโดยเคร่งครัด ทรมานตนให้ลำบากนานัปการ ไม่ยอมมีเครื่องปกปิดร่างกาย เพราะพวกเขาเชื่อว่าการมีเครื่องแต่งกายหรือมีผ้าปกปิดร่างกายนั้น ทำให้เกิดความกังวลใจเกี่ยวกับบริขารของตน หรืออาจเป็นเครื่องกังวลใจที่ต้องรักษาและแสวงหามา แต่เมื่อตนได้ถือเพศเป็นนักพรตเปลือยแล้ว ความกังวลใจในเรื่องนี้ก็เป็นอันหมดไป นอกจากไม่มีบริขารแล้ว พวกเขาก็มีเพียงไม้กวาดและผ้ากรองน้ำเพื่อมิให้สิ่งมีชีวิตถูกเบียดเบียนหรือต้องตายเพราะตน หลักปฏิบัติอันเคร่งครัดจริงๆ มีอีก 3 ข้อ ดังต่อไปนี้

    1. ไม่กินอาหารใดๆ แม้น้ำก็ไม่ยอมให้ล่วงลำคอในคราวปฏิบัติ

    2. ไม่มีสมบัติใดๆ ติดตัวแม้แต่ผ้านุ่ง สัญจรไปด้วยตัวเปล่าเปลือยกาย

    3. ไม่ยอมให้ผู้หญิงปฏิบัติตามและบรรลุธรรม

    2. นิกายเศวตัมพร ได้แก่ นิกายนุ่งขาวห่มขาวเพียงเพื่อปกปิดกายของตนเท่านั้น ทั้งนี้เพราะผู้ที่เข้ามาบวชพิจารณาเห็นว่า ตนยังมีความละอายใจที่ต้องเที่ยวไปโดยไม่มีชิ้นผ้าปกปิดกาย นิกายเศวตัมพรส่วนมากอาศัยอยู่ทางภาคเหนือของสาธารณรัฐอินเดีย อันเป็นแถบที่มีอากาศหนาวมากกว่าทางตอนใต้ของประเทศซึ่งพวกนิกายทิคัมพรอยู่อาศัย

    นักศึกษาสามารถสังเกตความแตกต่างของนิกายทั้ง 2 เหล่านี้ได้ว่า วัดใดเป็นวัดเชนนิกายใด ให้สังเกตดูรูปองค์พระตีรถังกร ถ้าเปลือยกายทอดตาลงต่ำ วัดนั้นเป็นวัดเชน นิกายทิคัมพร ถ้าพระตีรถังกรมีผ้านุ่งผ้าห่มทอดตามองตรงไปข้างหน้า วัดนั้นเป็นวัดเชน นิกายเศวตัมพร

    ข้อปฏิบัติของพระนิกายทิิคัมพร
    1. ต้องปฏิบัติตามปัญจมหาพรตหรือมหาพรตทั้ง 5 คือ อหิงสา สัตยะ อัสเตย พรหมจริยะ และ อปริครหะ อย่างเคร่งครัด

    2. ต้องสำรวม 5 คือ การเคลื่อนไหว การพูด การบริโภคอาหาร การยกและวางสิ่งของ และการโยนสิ่งต่างๆ

    3. ต้องควบคุมอายตนะภายในทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย

    4. ต้องปฏิบัติกิจ 6 อย่าง คือ หาความสงบ สวดมนต์ เคารพผู้เหนือกว่าตน ปลงอาบัติ มุ่งมั่นที่จะกำจัดบาป และทำสมาธิ

    5. โกนผม

    6. เปลือยกาย

    7. ไม่อาบน้ำ

    8. นอนบนพื้นที่ราบ

    9. ไม่แปรงฟัน

    10. ยืนบริโภคอาหาร

    11. บริโภคอาหารได้เพียง 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง

    ข้อควรปฏิบัติของพระนิกายเศวตัมพร
    1. ต้องปฏิบัติตามมหาพรตทั้ง 5

    2. ต้องไม่บริโภคอาหารในเวลาค่ำคืน

    3. ต้องควบคุมอายตนะทั้ง 5

    4. ต้องรักษาความสะอาดภายใน

    5. ต้องรักษาความหมดจด

    6. ต้องรักษาความหมดจดในการครอบครองเป็นเจ้าของสิ่งต่างๆ

    7. ต้องให้อภัย

    8. ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น

    9. ต้องใจดี

    10. ต้องพูดดี

    11. ต้องช่วยคุ้มครองทุกชีวิต

    12. ต้องมีขันติ

    วัตตบท 7
    ความจริงศาสนาเชนทั้ง 2 นิกาย มีข้อวัตรปฏิบัติอย่างเดียวกัน โดยยึดพระสูตรอย่างเดียวกัน ต่างแต่เพียงข้อปฏิบัติเล็กน้อยเท่านั้น เช่น การนุ่งห่มดังกล่าว ข้อวัตรปฏิบัติ ที่บรรพชิตในศาสนาเชนพึงปฏิบัติประจำตลอดชีวิต เรียกว่า วัตตบทŽ มี 7 อย่าง ดังนี้

    1. ประพฤติตนเป็นคนเปลือยไม่นุ่งผ้า

    2. ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่เสพเมถุนธรรม

    3. เลี้ยงชีวิตด้วยของแห้ง ไม่บริโภคข้าวสุก ขนมสด

    4. ไปนมัสการอุเทนเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศบูรพา

    5. ไปนมัสการโคตมกเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศทักษิณ

    6. ไปนมัสการสัตตัมพเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศประจิม

    7. ไปนมัสการพหุปุตติกเจดีย์ ซึ่งประดิษฐานอยู่ทางทิศอุดร

    แต่กระนั้น อริยะสัจ ทั้ง4 ในพุทธศาสนาก็ยังถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างยิ่งของพุทธศาสนา ซึ่งไม่มีผู้ใดจะเสมอเหมือนได้ ไม่มีผู้ใดจะโต้แย้งได้ หลักของปฏิจจสมุปบาท มีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

    หลักการเหล่านี้เป็นสมบัติทางปัญญาของพระพุทธองค์ ที่เราท่านควรกระทำให้เกิดมีแจ่มแจ้ง

    ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้
    สมุทัย เป็นสิ่งที่ควรกำจัดเสีย
    นิโรธ เป้นสิ่งที่ควรทำให้เกิด
    มรรค เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง

    เราอย่าได้ไปสงสัยเรื่องไม่เป็นเรื่องเลยนะ มันไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย นอกจากจะสงสัยต่อไม่รู้จบ สาธุ

    ขออภัยหากผิดพลาดไป เอวัง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2009
  20. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    รู้สึก เชน เป็นศาสนาร่วมสมัยกับพุทธศาสนา เกิดก่อนไม่กี่สิบปี
    ซื่งแนวปฏิบัตินั้น ฮือฮามาก เป็นที่แสวงหากันในพราหม์
    และพระอาจารย์ทั้งสอง คือ อุทก และอาฬาดาบถ ก็อยู่ในข่าย
    พระพุทธเจ้าเองก็เคยเข้าไปศึกษาจนถึงที่สุด แต่ทรงพิจารณาแล้วว่าไม่เป็นทางหลุดพ้น
    แม้ในช่วงต้นๆที่ออกบำเพ็ญทุกขกิริยา ทรงบำเพ็ญสารพัด และสุดโต่ง ดังเช่น เชนทำ
    คือ เอาลิ้นดุลเพดานปากบ้าง อธิฐานนั่งไม่ชอบอาหาร หรือ ยืนขาเดียว
    อะไรก็ตามแต่ ที่ ลัทธิ นุ่งลมห่มฟ้าทำกัน ในยุคนั้นเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับผู้บำเพ็ญ

    เพราะรู้เขารู้เรา ทำมาหมดแล้ว ไม่เป็นไปเพื่อปัญญา จึงออกมาเดินสายกลาย

    ส่วนศีล 5 นี้ ไม่รู้ใครลอกใคร

    แต่สังเกตุได้อย่างนี้
    คำสอนทุกอย่าง พุทธองค์ไม่เคยไปหักล้างความเชื่อเดิม
    แต่ทรงพิจารณาโดยแยบคาย แล้วมีอุบายสั่งสอนด้วยปัญญาวิมุติ
    ตัวอย่างเรื่องทิศทั้ง 6 หรือ ความเชื่ิอเรื่องพรหม4 ในฮินดู

    เชนเน้นเวทนาเพื่อเอากรรมออก แต่พุทธชี้ลงไปที่อวิชา จี้ลงไปที่จิต ซึ่งเป็นที่สุด

    หากพุทธเอามาจริง ออกจากพระโอษฐ์จริง ธรรมนั้นย่อมแยบคาย

    หาก เชน ลอกจริง คำสอนนั้นย่อมไม่ถึงกุศลจิต แต่ไปเน้นภายนอกมากกว่า

    แม้ศาสดาทั้งสองไม่เคยเจอกัน แต่เชนก็มีการส่งปราชญ์เชนมาโต้ธรรมแล้วหน้าแหกกลับไปก็มาก

    นี่กระมังธรรมสองมาตราฐาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...