มีขันติ คือ ให้พรแก่ตัวเอง

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย เถรี, 27 ตุลาคม 2006.

  1. เถรี

    เถรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +6,511
    "คำสอนข้อแรกที่หลวงพ่อชาสอน
    คือ เราต้องอดทน"
    นับจากวันแรก
    ที่อาจารย์ไปถึงวัดหนองป่าพงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรได้ 3 เดือนก็พยายามแสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม ทีแรกเพื่อนก็พาไปดูวัดที่ภาคใต้ 3-4 วัด เป็นวัดที่มีชาวต่างชาติไปปฏิบัติกัน แต่อาจารย์ดูแล้วก็ยังไม่รู้สึกตกลงใจ หลังจากนั้นก็มีคนแนะนำให้ไปจังหวัดอุบลราชธานี ให้ไปหาหลวงพ่อชา ตอนนั้นก็มีพระชาวอินเดียที่พูดภาษาไทยได้พาอาจารย์ไป นั่งรถทัวร์จากกรุงเทพไปถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้วก็ยืนงงๆอยู่ว่าจะไปวัดหนองป่าพงยังไง

    ที่วัดหนองป่าพง อาจารย์ได้พบกับพระฝรั่งชื่อเขมธัมโม ท่านก็เข้ามาช่วยแนะนำ เมื่อฉันจังหันเสร็จแล้ว ท่านสุเมโธและพระฝรั่งอีก 4-5 รูป ก็พาอาจารย์ไปหาหลวงพ่อชาที่กุฏิ เมื่อบอกความประสงค์ของอาจารย์ที่จะมาขอปฏิบัติที่วัดหนองป่าพง ท่านซักถามว่ามาจากไหน มายังไง แล้วก็ถามชื่อ อาจารย์ตอบท่านว่า

    ชื่อ ชิบาฮาชิ

    (ชื่อมิตซูโอะแต่ธรรมเนียมญี่ปุ่นจะใช้นามสกุลเป็นชื่อแนะนำตัวเอง)

    หลวงพ่อชาท่านก็จำเทียบเคียงเป็นภาษาไทยว่า

    สี่บาทห้าสิบ

    นับจากวันนั้นท่านก็เรียกอาจารย์สั้นๆว่า

    "สี่บาทห้า" มาตลอด
     
  2. เถรี

    เถรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +6,511
    รู้สึกมั่นใจว่าอดทนได้จริงๆ

    เพราะการฝึกที่ท้าทายทั้งทางกายทางใจ ก็สมัครใจทำมาแล้วตั้งแต่สมัยเป็นนักเรียน

    เคยเป็นนักปีนเขแบกเต๊นท์และเสบียงอาหารหนัก 15 กิโล 20 กิโล เดินข้ามเขาลูกหนึ่งไปอีกลูกหนึ่ง ผ่านยอดเขานี้ไปอีกยอดเขาหนึ่ง เรียกว่าเดินขึ้นเดินลงภูเขาตลอดวัน มีทั้งการเดินระยะสั้นๆ 2-3 วัน ไปจนถึง 7 วันก็มี ตั้งแต่อายุ 20 อาจารย์ก็ออกเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวแบบนี้อ อยู่เสมอ ทัศนศึกษาไปเรื่อยๆ ในหลายๆประเทศ ทั้งอินเดีย เนปาล ปากีสถาน อัฟกานิสถาน เยอรมัน ฯลฯ

    เดินทางไปประเทศไหนก็ถือหลักว่าจะทดลองดูเป็นประสบการณ์ว่าคนจนที่สุดของเขากินอยู่อย่างไร เราก็เอาอย่างเขานี่แหล่ะ กินง่าย นอนง่าย เรียกว่ากินอยู่แบบประหยัดสุดๆ

    เมื่อไปกรุงนิวเดลลี ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นเมืองที่ค่าพักโรงแรมแพง อาจารย์ก็อาศัยนอนค้างคืนตามสถานีรถไฟ หรือเมื่อครั้งเดินทางไปประเทศเนปาล ไปพักกับพวกชาวเขา เขากินมันฝรั่งต้มจิ้มน้ำพริกหรือบางทีก็กินข้าวโพดคั่วแห้งๆ เราก็กินตามเขา เจ้าของบ้านเขาก็พอใจที่ต้อนรับชาวต่างชาติซึ่งมากินอยู่เหมือนเขา

    การกินอยู่อย่างง่ายๆ
    เป็นการสร้างความสบายใจ
    ให้แก่เจ้าของบ้าน
    และสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกัน

    ดังนั้นเมื่อจะมาอยู่ที่วัดหนองป่าพง อาจารย์จึงมั่นใจว่าอยู่ได้แน่นอน เมื่อมาอยู่ที่วัดหนองป่าพงใหม่ๆ อาจารย์พยายามจับหลักธรรมที่หลวงพ่อชาสอน
    ท่านว่า​

    โลก แปลว่า มืด

    การที่พวกเราพากันพัฒนาโลกให้เจริญจึงเป็นการทำให้มืดขึ้นๆ คือ หมายถึงในด้านจิตใจ คนเรากลับแย่ลง สับสนวุ่นวายเป็นทุกข์มากขึ้นทุกวัน​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2006
  3. เถรี

    เถรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +6,511
    อดทน
    ต่อเหตุที่มากระทบ 4 อย่าง

    ในชีวิตประจำวันของคนเรา จำเป็นต้องฝึกให้มีความอดทนต่อเหตุที่มากระทบ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 4 อย่าง คือ

    1. อดทนต่อความลำบากตรากตรำ

    คือ อดทนต่อสภาพธรรมชาติ ดินฟ้าอากาศ ไม่เอาเหตุแห่งดินฟ้าอากาศมาเป็นข้ออ้างที่จะทอดทิ้งการงาน

    2. อดทนต่อทุกขเวทนา

    คือ อดทนต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย ความไม่สบายกาย

    3. อดทนต่อความเจ็บใจ

    คือ อดทนต่อเหตุแห่งความไม่พอใจที่มากระทบ เช่น คำพูดที่ไม่ชอบใจ ความบีบคั้นจากผู้บังคับบัญชา อดทนต่อความโกรธ หงุดหงิด ขุ่นเคืองใจ เป็นต้น

    4. อดทนต่ออำนาจกิเลส

    คือ อดทนต่อสิ่งยั่วยุน่าเพลิดเพลินใจ อดทนต่อสิ่งที่อยากทำแต่ไม่สมควรทำ เช่น การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย การเที่ยวกลางคืน เล่นการพนัน สูบบุหรี่ กินเหล้าเมายา เป็นต้น

    มีบางคนที่นำเอาคำว่า
    ขันติมาใช้อย่างผิดความหมาย
    คือเอามาเป็นข้ออ้างที่จะปล่อยปละละเลย
    ไม่ยอมทำในสิ่งที่ถูกที่ควร
    เช่น บางคนขี้เกียจทำมาหากิน งอมืองอเท้า
    ตกอยู่ในสภาพใดก็ทนอยู่อย่างนั้น ไม่ขวนขวาย
    แล้วบอกว่า ตนมีความอดทนต่อความยากลำบาก
    อย่างนี้เป็นการเข้าใจผิด

    ตีความหมายของขันติผิดไป

    ขันติ ความอดทนอดกลั้น
    ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน คือ​

    อดทนในสิ่งที่ควรอดทนด้วยความเต็มใจและพอใจ
    อดทน ในการละ หลีกเลี่ยงจากความชั่ว
    อดทน ทำความดีต่อไปในทุกสถานการณ์
    อดทน รักษาใจให้ผ่องใส ไม่เศร้าหมอง

    ลักษณะที่สำคัญของขันติ
    คือตลอดเวลาที่อดทนอยู่นั้น
    จะต้องรักษาความเป้นปกติของตนไว้ได้
    ใจผ่องใสไม่เศร้าหมอง​
     
  4. เถรี

    เถรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +6,511
    โทมัส เอดิสัน
    ผู้ล้มเหลวเกือบหมื่นครั้ง แต่ไม่เคยยอมแพ้

    "ความล้มเหลวหลายๆอย่างในชีวิต เป็นเพราะคนเราไม่ตระหนักว่าพวกเขาอยู่ใกล้ความสำเร็จแค่ไหน ตอนที่เขายอมแพ้"

    เป็นคำยืนยันของนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก คือ โทมัส เอดิสัน ชายผู้นี้หูหนวกแต่เด็ก เขาไม่สามารถได้ยินอะไรชัด ทำมห้เขาเรียนที่โรงเรียนได้ไม่ดีและที่โรงเรียนให้สมญานามเขาว่าเป็น "ไข่เน่าของชั้นเรียน"​


    แต่เอดิสันมีแม่ที่เข้าใจเขา คอยดูแลและอยู่เคียงข้างเป็นกำลังใจให้เขาเสมอ เอดิสันต้องเข้าๆออกๆ โรงเรียนหลายแห่ง แม่ของเขาได้เป็นผู้สอนหนังสือให้เขา และยอมให้เขาเรียนรู้ด้วยตนเอง กำลังใจจากแม่ ทำให้เอดิสันอ่านหนังสือมากขึ้น​


    เขาสนุกสนานกับการทดลองต่างๆมากมาย แม้การทดลองหลายครั้งจะมีการผิดพลาดและไม่ได้ผล แต่แม่คือผู้ที่พูดให้กำลังใจแก่เอดิสันอยู่เสมอ ปลูกฝังให้เขามีทัศนะคติที่ดีต่อการทำงาน

    เอดิสันมองเห็นความผิดพลาดเป็นบทเรียนมากกว่าจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้เขาท้อถอย ดังเช่นในการทดลองเพื่อคิดค้นหลอดไฟ ซึ่งเป็นผลงานประดิษฐ์ชิ้นสำคัญของเขา เมื่อผู้ช่วยของเอดิสันกล่าวกับเขาว่า "เราทำการทดลองมา 700 ครั้งแล้ว แต่เรายังไม่มีคำตอบ เราล้มเหลวเสียแล้ว"


    แต่เอดิสันกลับตอบว่า " เปล่าหรอก เรายังไม่ล้มเหลว เรารู้มากกว่าใครๆในโลกเรื่องนี้ และเรายังรู้อีกว่ามี 700 วิธี ที่ไม่ควรทำ อย่าเรียกว่าความผิดพลาด แต่ให้เรียกว่า เป้นการเรียนรู้"


    นอกจากโทมัส เอดิสันจะฝากผลงานทางวิทยาศาสตร์ไว้แก่โลกอย่างมากมาย ด้วยผลงานประดิษฐ์ซึ่งจดสิทธิบัตรไว้มากกว่า 1,000 ชิ้นแล้ว เขายังได้ฝากข้อคิดเพื่อการก้าวไปสู่ความสำเร็จไว้อย่างน่าฟังว่า​


    ความสำเร็จที่เขาได้รับนั้น 10% เกิดจากแรงบันดาลใจอีก 90 % มาจากความทุ่มเทด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน
     
  5. เถรี

    เถรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    326
    ค่าพลัง:
    +6,511
    ผู้มีปัญญาเท่านั้น อดทนได้
    วันหนึ่งมีโยมผู้หญิงวัยกลางคนเดินทางมาจากอเมริกา โยมคนนี้คงศึกษาพระพุทธศาสนามาพอสมควร ที่เดินทางมาวัดหนองป่าพงก็เพราะคงได้ยินกิตติศัพท์ของหลวงพ่อชา ท่านอยู่แบบป่าธรรมชาติ รักษาศีลเค่งครัด


    เมื่อเข้าไปหาหลวงพ่อซึ่งขณะนั้นท่านกำลังยืนดูงานก่อสร้างในโบสถ์อยู่ โยมก็ถามหลวงพ่อว่า สอนวิปัสสนาอย่างไร พระฝรั่งก็ช่วยแปลให้ อาจารย์เองก็ยืนอยู่ตรงนั้นด้วย หลวงพ่อหัวเราะพูดว่า
    "ผมไม่สอนวิปัสสนา ผมสอนแต่ทรมาน"

    พูดแล้วหลวงพ่อก็เดินไป อาจารย์เดินตามหลวงพ่อไป ท่านก็หยุดหันมาพูดกับอาจารย์ว่า การทรมานก็คือ การสอนให้อดทน เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้จิตใจของตนเอง ท่านอธิบายว่า สมมติว่าร่างกายเป็นวิทยุ ก็รื้อระบบออกมาดูว่า ข้างในมันมีอะไรบ้าง รื้อดูให้ละเอียด ดูให้ชัดๆ ศึกษาระบบข้างในดูให้เข้าใจจนซ่อมแซมเป็นเหมือนช่างที่ซ่อมได้เมื่อเครื่องวิทยุมันเสีย


    การศึกษาชีวิตตัวเอง ก็คือรื้อเข้าไปในกายในใจ
    เพื่อที่จะเข้าใจและรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง


    ปกติคนเราก็วิ่งตามกิเลส ตัณหา ทำตามกระแสความอยาก หลวงพ่อชาท่านเมตตาทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตร ท่านช่วยเราในการฝืนกระแสของความอยากด้วยการให้ในสิ่งที่เราไม่อยากจะได้ เพื่อให้เราเห็นอารมณ์ เห็นเข้าไปในจิตใจตัวเอง

    ท่านทรมานเพราะต้องการฝึกให้เรามีความอดทน อดกลั้น ให้มีจิตใจเข้มแข็ง หนักแน่น เมื่อผ่านการทรมานไปได้ ต่อไปก็จะทำใจได้ในทุกสถานการณ์ เพราะสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว จำเป็นต้องสร้างความอดทนไว้เป้นพื้นฐาน นับแต่การรักษาศีล ก็ต้องมีความอดทนที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัย เป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ การเจริญสมาธิ ต้องอาศัยอดทน อดกลั้น ต่อสู้กับนิวรณ์ 5 และในการเจริญสมถะวิปัสสนา เพื่อที่จะละกิเลสตัณหา อุปาทานทั้งปวงก็ต้องอาศัยจิตใจที่มั่นคงและหนักแน่น อดทนอย่างยิ่งยวด ปฏิปทาของหลวงพ่อชาจึงเน้นความอดทน


    หลวงพ่อมีชื่อเสียงเรื่องฝึกให้ศิษย์มีความอดทน
    โดยเฉพาะกับเรื่องลมฟ้าอากาศ
    ลูกศิษย์สมัยแรกๆของหลวงพ่อชาเล่าถึงช่วงแรกๆ
    ที่หลวงพ่อนำพระเณรปฏิบัติว่า
    พอหน้าร้อน ฉันข้าวเสร็จท่านให้ห่มจีวรซ้อนด้วยผ้าสังฆาฏิ
    ปิดหน้าต่างนั่งสมาธิ
    พอหน้าหนาว ท่านก็ให้เปิดหน้าต่างโล่งหมดไม่ให้ห่มจีวร


    บางทีโดยเฉพาะวันพระ ท่านพาเนสัชชิกและเทศน์ทั้งคืน
    พระเณรก็ต้องนั่งพับเพียบ ลุกขึ้นไปไหนไม่ได้


    บางครั้งเช้าๆ ญาติโญมมาทำบุญ ถวายอาหาร ได้ยินท่านให้พรเสร็จท่านก้คุยกับชาวบ้านต่ออีก คุยไปเรื่อยๆ พระคอยฉันก็หงุดหงิด ฟังๆดู หลวงพ่อก็คุยกับโยมได้เป็นชั่วโมง ไม่เห้นจะมีเรื่องสำคัญอะไร เช่น ชาวบ้านก็เล่าว่าเมือ่คืนควายคลอดลูกอย่างนั้นอย่างนี้ พระก็รอๆๆ มีอารมณ์หงุดหงิดมากขึ้นเป็นลำดับ เมื่อไรจะได้ฉันสักที นี่ก็เป็นอุบายของหลวงพ่อ
    ที่จะฝึกลูกศิษย์ให้รู้จักอดทน
    และได้เห็นอารมณ์ของตัวเอง

    สิ่งที่ท่านพูดบ่อยๆก็คือ​
    "ผู้มีปัญญาเท่านั้นอดทนได้
    อดทน กับปัญญาเป็นของคู่กัน"
    "เห็นทุกข์ไม่มีทุกข์"

    คำพูดของหลวงพ่อติดอยู่ในใจของอาจารย์ตลอด และได้ประจักษ์แจ้งแก่ใจถึงควาหมายที่ว่า "เห็นทุกข์ ไม่มีทุกข์" ก็จากประสบการณ์พิจารณาทุกขเวทนา คือเอาทุกขเวทนาเป็นอารมณ์กรรมฐาน ตั้งอธิษฐานในใจว่า ขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วก็นั่งขัดสมาธิเพชรตั้งใจรักษาอิริยาบถเดียว อะไรจะเกิดก็จะไม่ขยับไม่เปลี่ยนอิริยาบถ ซึ่งเป็นสภาวะที่ทุกข์ทรมาน ทนได้ยาก


    ใครๆก็กลัวกันทุกคน ตามปกติคนเราต้องเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเพื่อหนีจากทุกขเวทนา แต่ในวันนั้นอาจารย์ก็มีกำลังใจแก่กล้า ต้องการพิสูจน์ เพื่อที่จะได้รู้จักความจริงอันประเสริฐ คือทุกขสัจ
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    ปกติเรามีอุปาทานยึดมั่นในทุกขเวทนา เรามักมีความรู้สึกว่าเรามีทุกข์ เราเป็นทุกข์ ประสบการณ์ทุกข์เป็นของเรา เราทนทุกขเวทนาไม่ไหว เรายึดมั่นถือมั่นว่า เรากับทุกขเวทนาเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน แต่เมื่อตั้งใจจะพิจารณาทุกขเวทนาแล้ว ทุกข์อยู่ที่ไหน ให้ตั้งสติ ตั้งใจมั่น กำหนดดู เข้าดูถึงต้นตอ เมื่อจิตตั้งมั่นป็นสมาธิต่อทุกข์ อาการของสมาธิที่จิตตั้งมั่นกับทุกขเวทนา คือ ไม่ยินดียินร้าย ไม่มีวิภวตัณหา เป็นจิตที่หนักแน่นกล้าหาญ จึงทำจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิกับทุกขเวทนาได้ เมื่อผ่านจุดนี้ไปได้ จึงเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง ละตัณหา วิภวตัณหา อุปาทานยึดมั่นถือมั่น ขณะที่วิภวตัณหาดับ ทุกขเวทนาก็จะดับในขณะนั้น เห็นด้วยปัญญาว่าเราผู้รู้ผู้เห็น ทุกขเวทนากับความรู้สึกทุกขเวทนาอยู่คนละฝ่ายกัน ใจสงบเย็นด้วยความปล่อยวาง จิตอยู่เหนือเวทนา มองดูเวทนาอยู่ห่าง ๆ คล้ายกับว่าเกิดช่องว่างระหว่างจิตกับเวทนา เราคือส่วนหนึ่ง เวทนาก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
     
  7. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    วิกฤติ คือ โอกาสทอง
    [​IMG]


    ณ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีชาวนาคนหนึ่ง เลี้ยงลาไว้ตัวหนึ่งซึ่งแก่มากแล้ว ด้วยความโง่เขลาของมัน ดันเดินซุ่มซ่ามไปตกบ่อแห่งหนึ่ง มันร้องครวญครางอยู่เป็นเวลานาน ชาวนาเองก็พยายามใคร่ครวญหาวิธีที่จะช่วยมันขึ้นมา ในที่สุดชาวนาหวนคิดขึ้นมาได้ว่า เจ้าลาก็แก่เกินไปแล้ว อีกอย่างบ่อนี้ก็ต้องกลบ ไม่คุ้มที่จะช่วยเจ้าลา ชาวนาจึงไปขอแรงชาวบ้านเพื่อมาช่วยกลบบ่อ ทุกคนใช้พลั่วตักดินสาดลงไปในบ่อ ครั้งแรกเมื่อดินไปถูกหลังลา มันตกใจและรู้ชะตากรรมของตนทันที มันร้องโหยหวน สักพักหนึ่งทุกคนก็แปลกใจที่เจ้าลาเงียบไป หลังจากชาวนาตักดินใส่ไปในบ่อได้สักสองสามพลั่ว เมื่อเหลือบมองลงไปในบ่อ ก็พบกับความประหลาดใจที่ว่าทุกครั้งที่ทุกคนสาดดินไปถูกหลังลา มันจะสะบัดดินออกจากหลัง แล้วก้าวขึ้นไปเหยียบบนดินเหล่านั้น ยิ่งทุกคนพยายามเร่งระดมสาดดินลงไปมากเท่าไร มันก็ก้าวขึ้นมาได้เร็วมากยิ่งขึ้น ในไม่ช้าทุกคนต่างประหลาดใจที่ในที่สุดเจ้าลาก็สามารถหลุดพ้นจากปากบ่อดังกล่าวได้

    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ชีวิตนี้อุปสรรคต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาหาเรา ก็เปรียบเสมือนดินที่สาดเข้ามาหาเรา จงอย่าท้อถอยและยอมแพ้ จงแก้ไขมัน เพื่อที่เราจะได้เหยียบมัน เพื่อที่จะก้าวสูงขึ้นเรื่อย ๆ เปรียบเสมือนลาแก่ที่หลุดพ้นจากบ่อได้ ฉันใดฉันนั้น อุปสรรคมีไว้ให้ก้าวข้ามไป ชีวิตคนเราก็เช่นกัน เราต้องประสบกับโลกธรรมแปด เป็นธรรมดา คือ ได้ลาภ ได้ยศ สรรเสริญ สุข ก็ต้องมีเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ แต่เมื่อเรามีทุกข์มีปัญหา หรือต้องประสบกับวิกฤติหนักหนาสาหัสแค่ไหน ก็ให้อาศัยขันติ มีความอดทน เมื่อมีความทุกข์ หยุดทำ หยุดพูด หยุดคิด ตั้งสติใช้ปัญญา อาศัยอดทน อดกลั้น หยุดทุกสิ่งทุกอย่างไว้ก่อน ไม่ต้องคิดที่จะแก้ปัญหาภายนอก กำหนดรู้ลมหายใจออยาว ลมหายใจเข้าลึก ๆ ให้มีสติ มีความรู้สึกตัว กับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ติดต่อกันต่อเนื่องกัน มีสมาธิตั้งมั่นกับลมหายใจ ปล่อยวางความรู้สึกที่ไม่ดี ปล่อยวางจิตใจให้ว่าง ๆ ว่างจากอดีต ว่างจากอนาคต ว่างจากความไม่สบายใจ เหลือแต่จิตที่มีความรู้สึกตัวเบิกบากใจ โอปนยิโก น้อมเข้าไปหาธรรมชาติของจิตที่เป็นประภัสสร บริสุทธิ์ผ่องใส เมื่อจิตสงบเบาสบายแล้ว จึงค่อย ๆ คิดแก้ปัญหาด้วยสติปัญญา เมื่อจิตใจดี สบายใจแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น ให้มีความหวัง มีกำลังใจที่จะต่อสู้ ทุกข์ที่สุดอยู่ที่ไหนขุมทรัพย์ก็มีอยู่ที่นั่น ทุกข์ที่สุดอยู่ที่ไหน สุขที่สุดมันก็อยู่ที่นั่น นี่เป็นความจริง

    ไม่ว่าจะมีวิกฤติหรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับเรา สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต คือ รักษาใจของเราให้ดี ให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นคุณธรรมประจำใจของเรา ตั้งใจทำความดีรักษาคุณงามความดีความถูกต้องด้วยจิตใจที่หนักแน่นไม่หวั่นไหวในทุกสถานการณ์ ให้ชีวิตทั้งหมดอยู่ด้วยอานาปานสติ คือ ทำหน้าที่ในปัจจุบันให้ดีที่สุดด้วยใจดี สุขใจ​
     
  8. wudiman

    wudiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +1,333
    อนุโมทนาครับ ผมชอบเรื่องเจ้าลานี้จัง ให้แง่คิดได้ดี......เยี่ยมครับ แก่แต่ตัวปัญญาไม่แก่ตาม ไม่ว่าจะเป็นใครถ้ามีสติและใช้ปัญญาคิดแก้ปัญหาอุปสรรคนั้นก็จะหมดไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...