มิ่งมณีสงขลา มัชฌิมาวาส

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 28 เมษายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    มิ่งมณีสงขลา 'มัชฌิมาวาส'

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width=567 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>มิ่งมณีสงขลา 'มัชฌิมาวาส'</TD></TR><TR><TD vAlign=top>27 เมษายน 2550 22:09 น.</TD></TR><TR><TD class=Text_Story vAlign=top><!-- [​IMG] [​IMG] ลายปูนปั้นบนหน้าบันพระอุโบสถหลังนั้นพลิ้วไหวจับใจเหลือเกิน เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณงามสง่า อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระพรหมทรงหงส์ รายล้อมด้วยลวดลายพรรณพฤกษา และเทวดาชุมนุมในท่วงท่าอ่อนช้อย


    พระอินทร์และพระพรหมเป็นเทพเจ้าฮินดู แต่มักปรากฏตามวัดของชาวพุทธ เพราะตามพุทธตำนาน พระอินทร์ทรงดีดพิณสามสาย (สายตึง สายหย่อน และสายที่มีเสียงไพเราะดี) น้อมนำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงมี "มัชฌิมาปฏิปทา" คือความพอดี จนทรงเลิกกระทำทุกรกิริยา แล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระพรหมก็เป็นเทวดาองค์แรกที่ได้สดับฟังพุทธธรรมคำสอน
    พระอุโบสถหลังนี้วิจิตรตระการตาราวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า ทว่าฝีมือช่างที่รังสรรค์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย จนเกือบลืมว่าเวลานี้ผมกำลังยืนอยู่บนแผ่นดินเกือบสุดปลายด้ามขวานของไทย เพราะที่นี่คือวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร อ.เมือง จ.สงขลา ที่มีประวัติว่าสร้างด้วยฝีมือช่างหลวงแห่งกรมช่างสิบหมู่ ร่วมกับช่างประจำเมืองสงขลา ในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ช่วง พ.ศ.2390-2408 ตามกุศลเจตนาของผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา คือเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) พระอุโบสถหลังนี้จึงมีอายุกว่า 150 ปี
    แต่ตัววัดนั้นเก่าแก่เกิน 250 ปี เพราะมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างด้วยแรงศรัทธาของนางศรีจันทน์ จึงได้ชื่อว่า "วัดยายศรีจันทน์" ภายหลังชาวบ้านเรียกติดปากว่า "วัดกลาง" เพราะตั้งอยู่ตรงกลางระหว่าง "วัดเลียบ" กับ "วัดโพธิ์" เมื่อเจ้าเมืองสงขลามาบูรณะโดยสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 5 จึงประทานนามวัดนี้อย่างเป็นทางการว่า "มัชฌิมาวาส" ซึ่งนอกจากแปลว่า "วัดกลาง" แล้ว ยังมีความหมายสอนใจชาวพุทธให้มี "มัชฌิมาปฏิปทา" ในการดำเนินชีวิตตามรอยพระพุทธองค์ด้วยคุณค่าของวัดมัชฌิมาวาส ยังอยู่ที่ "ศาลาฤษีดัดตน" ศาลาโถงทรงไทยเปิดโล่ง ซึ่งท่านเจ้าเมืองสงขลา เจตนาสร้างขึ้นเพื่อประดับภาพ "ฤษีดัดตน" รวม 40 ท่า พร้อมโคลงสี่สุภาพบรรยายสรรพคุณ ว่าแต่ละท่าสามารถแก้อาการเมื่อยล้าในร่างกายส่วนใดได้บ้าง เช่น โยคีอังคดกล้า สมาบัติ์/รู้ชาติ์เนาวรัตน์ชัด ชื่อนั้น/แก้ลมเสียดเสียวขัด ลำฝัก หายแฮ/นั่งสมาธินวดคอคั้น ขบเขี้ยว ตาขมึง ฯลฯ พร้อมทั้งจารึกตำรายาสมุนไพรโบราณ เหมือนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ ดังนั้น หากวัดโพธิ์ได้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย" วัดมัชฌิมาวาส ก็คือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยวัดโพธิ์ นั่นเอง
    ที่น่าสนใจคือ หน้าบันของศาลาฤษีดัดตน มีลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนที่หาดูไม่ได้ง่ายนัก คือตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส ภายหลังทรงเลิกกระทำทุกรกิริยา กับตอนทรงลอยถาดข้าวในแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อเสี่ยงทายว่าจะทรงบำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมถึงขั้นตรัสรู้ได้หรือไม่? ถ้าได้ก็ขอให้ถาดนั้นลอยทวนน้ำ ปรากฏว่าถาดลอยทวนน้ำจริงๆ
    เรื่องนี้ นักปรัชญาศาสนาอธิบายว่า ไม่ใช่เรื่องอภินิหารแต่อย่างใด แต่ถาดที่ลอยทวนน้ำ หมายถึงสัจธรรมที่ทรงค้นพบนั้น สวนกระแสหลักของสังคมอินเดียที่นับถือฮินดูอย่างเข้มข้น มีการเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้ามากมาย และยังแบ่งชั้นวรรณะอย่างเคร่งครัด ทว่า แก่นแท้แห่งพุทธะนั้นไม่มีเทพเจ้า มีแต่ตัวเราเป็นที่พึ่งตัวเราเอง และทุกคนยังทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ
    ศาลาฤษีดัดตน ทำให้ผมเพลิดเพลินจนแทบลืมว่าในพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่นเล่าเรื่อง "ทศชาติชาดก" สอดแทรกภาพวิถีชีวิตคนไทยและจีนถิ่นใต้ องค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปหินอ่อนปางสมาธิ ซึ่งช่างไทยเป็นผู้ปั้นแบบ แต่ส่งไปแกะสลักที่จีน จึงมีพุทธลักษณะไทยผสมจีน ที่ระเบียงรอบอุโบสถยังมีหินแกะสลักเล่าเรื่อง "สามก๊ก" และมีตุ๊กตาจีนที่เรียก "อับเฉา" ถ่วงเรือสินค้าไม่ให้โคลงเวลาโดนพายุ...ประดับอยู่โดยรอบ
    สะท้อนความจริงว่าสงขลาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ ด้วยความสามัคคีสมานฉันท์ระหว่างคนไทยกับคนจีน แม้แต่ต้นตระกูล "ณ สงขลา" ก็มีประวัติว่าเมื่อพระเจ้าตากสิน ทรงปราบชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราชแล้ว ทรงพัฒนาสงขลาให้เจริญขึ้นเพื่อคานอำนาจเมืองนคร โดยแต่งตั้งพ่อค้าจีน ชื่อนายเหยี่ยง แซ่เอา เป็นพระยาสงขลา จากนั้น ทายาทตระกูล "ณ สงขลา" ก็ปกครองสงขลาให้รุ่งเรืองเป็นเมืองท่า เมืองเศรษฐกิจการค้าและศิลปวัฒนธรรมสืบมา
    นอกจากนั้น ยังมีพิพิธภัณฑ์ภัทรศีลสังวร อันควรค่าแก่การชม เพราะจัดแสดงโบราณวัตถุรอบทะเลสาบสงขลา เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา กว่า 5,000 ชิ้น เก็บสะสมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 โดยอดีตท่านเจ้าอาวาส พระราชศีลสังวร จะว่าไปแล้ว วัดมัชฌิมาวาสมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่อุดมด้วยงานพุทธศิลป์ล้ำเลอค่า บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย จนเสียดายที่ผมสัญจรสู่สงขลาหลายครั้ง แต่เลยไปหาดใหญ่บ้าง สตูลบ้าง เกือบไม่ได้สัมผัสมิ่งมณีสงขลา ณ ปลายด้ามขวานทองของไทยแห่งนี้ ชมรมท่องอุษาคเนย์ขอเชิญร่วมเดินทาง "สู่เมืองแมนที่ปลายฟ้า" (ลี่เจียง-แชงกรีล่า) 12-16 พ.ค. สำรองที่นั่ง โทร.0-2637-7321-2, 08-1823-7373
    เรื่องและภาพ...ธีรภาพ โลหิต กุล

    -->[​IMG]
    ลายปูนปั้นบนหน้าบันพระอุโบสถหลังนั้นพลิ้วไหวจับใจเหลือเกิน เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณงามสง่า อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระพรหมทรงหงส์ รายล้อมด้วยลวดลายพรรณพฤกษา และเทวดาชุมนุมในท่วงท่าอ่อนช้อย
    พระอินทร์และพระพรหมเป็นเทพเจ้าฮินดู แต่มักปรากฏตามวัดของชาวพุทธ เพราะตามพุทธตำนาน พระอินทร์ทรงดีดพิณสามสาย (สายตึง สายหย่อน และสายที่มีเสียงไพเราะดี) น้อมนำให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงมี "มัชฌิมาปฏิปทา" คือความพอดี จนทรงเลิกกระทำทุกรกิริยา แล้วตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนพระพรหมก็เป็นเทวดาองค์แรกที่ได้สดับฟังพุทธธรรมคำสอน
    พระอุโบสถหลังนี้วิจิตรตระการตาราวกับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า ทว่าฝีมือช่างที่รังสรรค์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย จนเกือบลืมว่าเวลานี้ผมกำลังยืนอยู่บนแผ่นดินเกือบสุดปลายด้ามขวานของไทย เพราะที่นี่คือวัดมัชฌิมาวาสวรวิหาร อ.เมือง จ.สงขลา ที่มีประวัติว่าสร้างด้วยฝีมือช่างหลวงแห่งกรมช่างสิบหมู่ ร่วมกับช่างประจำเมืองสงขลา ในแผ่นดินรัชกาลที่ 4 ช่วง พ.ศ.2390-2408 ตามกุศลเจตนาของผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา คือเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา) พระอุโบสถหลังนี้จึงมีอายุกว่า 150 ปี [​IMG]
    แต่ตัววัดนั้นเก่าแก่เกิน 250 ปี เพราะมีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างด้วยแรงศรัทธาของนางศรีจันทน์ จึงได้ชื่อว่า "วัดยายศรีจันทน์" ภายหลังชาวบ้านเรียกติดปากว่า "วัดกลาง" เพราะตั้งอยู่ตรงกลางระหว่าง "วัดเลียบ" กับ "วัดโพธิ์" เมื่อเจ้าเมืองสงขลามาบูรณะโดยสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส พระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 5 จึงประทานนามวัดนี้อย่างเป็นทางการว่า "มัชฌิมาวาส" ซึ่งนอกจากแปลว่า "วัดกลาง" แล้ว ยังมีความหมายสอนใจชาวพุทธให้มี "มัชฌิมาปฏิปทา" ในการดำเนินชีวิตตามรอยพระพุทธองค์ด้วยคุณค่าของวัดมัชฌิมาวาส ยังอยู่ที่ "ศาลาฤษีดัดตน" ศาลาโถงทรงไทยเปิดโล่ง ซึ่งท่านเจ้าเมืองสงขลา เจตนาสร้างขึ้นเพื่อประดับภาพ "ฤษีดัดตน" รวม 40 ท่า พร้อมโคลงสี่สุภาพบรรยายสรรพคุณ ว่าแต่ละท่าสามารถแก้อาการเมื่อยล้าในร่างกายส่วนใดได้บ้าง เช่น โยคีอังคดกล้า สมาบัติ์/รู้ชาติ์เนาวรัตน์ชัด ชื่อนั้น/แก้ลมเสียดเสียวขัด ลำฝัก หายแฮ/นั่งสมาธินวดคอคั้น ขบเขี้ยว ตาขมึง ฯลฯ พร้อมทั้งจารึกตำรายาสมุนไพรโบราณ เหมือนที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) กรุงเทพฯ ดังนั้น หากวัดโพธิ์ได้ชื่อว่า "มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย" วัดมัชฌิมาวาส ก็คือวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยวัดโพธิ์ นั่นเอง
    ที่น่าสนใจคือ หน้าบันของศาลาฤษีดัดตน มีลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติตอนที่หาดูไม่ได้ง่ายนัก คือตอนนางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส ภายหลังทรงเลิกกระทำทุกรกิริยา กับตอนทรงลอยถาดข้าวในแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อเสี่ยงทายว่าจะทรงบำเพ็ญเพียรจนบรรลุธรรมถึงขั้นตรัสรู้ได้หรือไม่? ถ้าได้ก็ขอให้ถาดนั้นลอยทวนน้ำ ปรากฏว่าถาดลอยทวนน้ำจริงๆ
    เรื่องนี้ นักปรัชญาศาสนาอธิบายว่า ไม่ใช่เรื่องอภินิหารแต่อย่างใด แต่ถาดที่ลอยทวนน้ำ หมายถึงสัจธรรมที่ทรงค้นพบนั้น สวนกระแสหลักของสังคมอินเดียที่นับถือฮินดูอย่างเข้มข้น มีการเซ่นสรวงบูชาเทพเจ้ามากมาย และยังแบ่งชั้นวรรณะอย่างเคร่งครัด ทว่า แก่นแท้แห่งพุทธะนั้นไม่มีเทพเจ้า มีแต่ตัวเราเป็นที่พึ่งตัวเราเอง และทุกคนยังทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ
    ศาลาฤษีดัดตน ทำให้ผมเพลิดเพลินจนแทบลืมว่าในพระอุโบสถ ยังมีภาพจิตรกรรมเขียนด้วยสีฝุ่นเล่าเรื่อง "ทศชาติชาดก" สอดแทรกภาพวิถีชีวิตคนไทยและจีนถิ่นใต้ องค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปหินอ่อนปางสมาธิ ซึ่งช่างไทยเป็นผู้ปั้นแบบ แต่ส่งไปแกะสลักที่จีน จึงมีพุทธลักษณะไทยผสมจีน ที่ระเบียงรอบอุโบสถยังมีหินแกะสลักเล่าเรื่อง "สามก๊ก" และมีตุ๊กตาจีนที่เรียก "อับเฉา" ถ่วงเรือสินค้าไม่ให้โคลงเวลาโดนพายุ...ประดับอยู่โดยรอบ
    สะท้อนความจริงว่าสงขลาเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้ ด้วยความสามัคคีสมานฉันท์ระหว่างคนไทยกับคนจีน แม้แต่ต้นตระกูล "ณ สงขลา" ก็มีประวัติว่าเมื่อพระเจ้าตากสิน ทรงปราบชุมนุมเจ้าพระยานครศรีธรรมราชแล้ว ทรงพัฒนาสงขลาให้เจริญขึ้นเพื่อคานอำนาจเมืองนคร โดยแต่งตั้งพ่อค้าจีน ชื่อนายเหยี่ยง แซ่เอา เป็นพระยาสงขลา จากนั้น ทายาทตระกูล "ณ สงขลา" ก็ปกครองสงขลาให้รุ่งเรืองเป็นเมืองท่า เมืองเศรษฐกิจการค้าและศิลปวัฒนธรรมสืบมา
    นอกจากนั้น ยังมีพิพิธภัณฑ์ภัทรศีลสังวร อันควรค่าแก่การชม เพราะจัดแสดงโบราณวัตถุรอบทะเลสาบสงขลา เช่น พระพุทธรูป เทวรูป เครื่องปั้นดินเผา กว่า 5,000 ชิ้น เก็บสะสมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2477 โดยอดีตท่านเจ้าอาวาส พระราชศีลสังวร จะว่าไปแล้ว วัดมัชฌิมาวาสมีขนาดไม่ใหญ่นัก แต่อุดมด้วยงานพุทธศิลป์ล้ำเลอค่า บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมาย จนเสียดายที่ผมสัญจรสู่สงขลาหลายครั้ง แต่เลยไปหาดใหญ่บ้าง สตูลบ้าง เกือบไม่ได้สัมผัสมิ่งมณีสงขลา ณ ปลายด้ามขวานทองของไทยแห่งนี้
    ชมรมท่องอุษาคเนย์ขอเชิญร่วมเดินทาง "สู่เมืองแมนที่ปลายฟ้า" (ลี่เจียง-แชงกรีล่า) 12-16 พ.ค. สำรองที่นั่ง โทร.0-2637-7321-2, 08-1823-7373 เรื่องและภาพ...ธีรภาพ โลหิต กุล
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    --------------
    ที่มา:คมชัดลึก
    http://www.komchadluek.net/
     

แชร์หน้านี้

Loading...