มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ"สติปัฎฐาน4" ที่ถูกต้อง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 6 เมษายน 2008.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    สติปัฎฐาน 4 มีความหมายตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับ เจ้าคุณธรรมปิฏก ดังนี้.
    "ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่าง ๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ ๑.กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย ๒.เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา, ๓.จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต ๔.ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม; เรียกสั้น ๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม"

    ความจริงแล้วหลักการสติปัฎฐาน 4 นี้ ในโลกนี้ มีข้าพเจ้าเพียงผู้เดียวที่สามารถอธิบายให้เกิดความเข้าใจ และถูกต้องได้อย่างชนิดที่ไม่มีใครคาดถึง นี้ไม่ใช่เป็นการยกตัวข่มท่าน และไม่ใช่การคุยโวโอ้อวดนะขอรับ แต่เป็นเรื่องจริง ดังข้าพเจ้าจะอธิบายให้ได้อ่านกันสักเล็กน้อยซึ่งก็คงสามารถทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ที่เคยหลงผิดคิดผิด เกิดความเข้าใจในเรื่องของสติปัฎฐาน4 ได้บ้างไม่มากก็น้อย ดังต่อไปนี้.-
    อันหลักการสติปัฎฐาน 4 นั้น หากจะกล่าวกันในแง่คำสอนแล้ว เขาสอนไว้แบบ เอาเฉพาะหัวข้อใหญ่ๆ มากล่าว เพื่อให้อยู่ในรูปของพรหม คือมี 4 ในแต่ละหัวข้อ ต้องมีการแยกแยะรายละเอียดออกไป เช่น การตั้งสติพิจารณากายของตนอยู่เสมอ หรือให้มีความนึกได้ในกายของตนอยู่เสมอ ก็ต้องศึกษาค้นคว้า ในทางสรีระร่างกายของมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) อีกทั้งยังต้องศึกษาในรายละเอียดอันเกี่ยวกับสรีระร่างกาย อย่างละเอียด ทั้งภายในภายนอก และไม่ใช่พิจารณาเฉพาะตัวเอง ต้องพิจารณาเกี่ยวโยงไปถึงผู้อื่นด้วย และ เมื่อพิจารณาแล้ว ก็ต้องพิจารณาในข้ออื่นทำนองเดียวกัน และให้สัมพันธ์กัน ซึ่งล้วนเป็นเรื่องยากเย็นแสนเข็ญยิ่งหนัก เพราะ คนในสมัยโบราณนั้น เขาชอบสอนแบบซ่อนความลับเอาไว้ ไม่เก่งจริง ไม่มีประสบการณ์ ไม่ฉลาด ก็ย่อมไม่มีทางเข้าถึงหลักธรรมได้
    ถึงอย่างไรก็ตาม หลักการทางศาสนาย่อมมีง่ายมียาก มีลำบาก มีสบาย ตามแต่ความคิดของเรา ฉะนี้
     
  2. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    เห็นคุณลุงหายไปนานก็ยังนึกถึงอยู่เลย

    ขอให้เจริญในธรรมนะครับ
     
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817

    ขอบคุณที่ยังจำข้าพเจ้าได้
    ขอให้เจริญในธรรมเช่นกัน

    ส่วนเรื่องความตั้งใจของคุณนั้น คงไม่ยากเกินความสามารถ ถ้ารู้หลักการ วิธีการ ก็ง่ายขอรับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...