มาณพน้อยผู้มานิมนต์ข้ามโขง (หลวงปู่ชอบ ฐานสโม)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 14 มกราคม 2007.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้

    หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว


    ธรรมบท อรหันตวรรค

    วันนี้ขอนำเสนอชีวประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นตอนจบนะครับ <!--MsgFile=0-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td><td rowspan="2" bgcolor="#000000" valign="top"><table bgcolor="#204080" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td width="10">[SIZE=-3] [/SIZE]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    [​IMG] มาณพน้อยผู้มานิมนต์ข้ามโขง [​IMG]

    ครั้งหนึ่ง สมัยท่านออกปฏิบัติใหม่ ๆ เดินรุกขมูลไปอยู่แถวท่าลี่ จังหวัดเลย ท่านรำพึง ตรึกในใจว่า เราได้มาจนถึงที่นี้ ใกล้ฝั่งดินแดนประเทศลาวเต็มทีแล้ว ถ้าหากจะข้ามแม่น้ำโขงไปเที่ยวฝั่งลาว ไม่ทราบว่าจะมีข้อขัดข้องหรืออุปสรรคใดหรือไม่

    ตามปกติพระกรรมฐานเมื่อท่านจะทำอะไร ท่านมักจะต้องเข้าที่พิจารณาความเป็นไปได้ก่อนเสมอ ครั้งนี้ท่านยังมิได้พิจารณาอะไร ด้วยความคิดที่จะข้ามไปฝั่งลาวยังไม่ทันแน่นแฟ้นเท่าไร เพียงแต่คิดผ่านไปเท่านั้น อย่างไรก็ดี คืนนั้นเอง ระหว่างภาวนา ก็เกิดนิมิตเห็นมาณพหนุ่มน้อยผู้หนึ่งมากราบท่านด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า ทราบว่าพระคุณเจ้าปรารถนาจะไปวิเวกที่ฝั่งลาว ปวงข้าน้อยรู้สึกปีติเป็นอย่างยิ่ง จึงใคร่ขอมานิมนต์พระคุณเจ้าไปโปรดบรรดาพวกเรา สัตว์ผู้มีวาสนาน้อยทางดินแดนฝั่งโน้นด้วยเถิด ในนิมิตนั้น ท่านรับนิมนต์เขาด้วยอาการดุษณีภาพ

    รุ่งเช้า ฉันจังหันเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ก็แต่งบริขารทั้งปวงไปที่ฝั่งแม่น้ำเหียง ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำโขง เห็นมีเรือลำหนึ่ง วาดเข้ามาจากกลางลำน้ำ มาจอดอยู่ที่ท่า คนเรือก็ตะโกนขึ้นมานิมนต์พระคุณเจ้าให้ขึ้นเรือ ท่านถามว่า เรือจะไปที่ใด ท่านจะไปฝั่งลาว เขาก็บอกว่า ยินดีจะไปส่งให้ท่าน ท่านจึงลงเรือนั้นไป คนเรือมีสีหน้ายิ้มละไม และมีกิริยานอบน้อมต่อท่านอย่างผิดสังเกต เมื่อเรือออกจากปากแม่น้ำเหียง ก็ข้ามแม่น้ำโขงมุ่งตรงไปฝั่งลาว แล้วก็จอดเทียบท่านิมนต์ให้ท่านขึ้นฝั่ง

    หลวงปู่ประคองบาตรและบริขารขึ้นฝั่งเรียบร้อยแล้ว ก็เหลียวมาเพื่อจะขอบใจและให้พรที่คนเรือนั้นได้กรุณานำพระข้ามเรือมา แต่ท่านก็ต้องประหลาดใจ ด้วยปรากฏว่า มองไปมิได้เห็นเรือลำนั้นเลย และความจริงแม้แต่เรือลำใด...ไม่ว่าเล็กใหญ่ประการใดก็ไม่มีปรากฏในสายตาของท่าน ! ...ทั้งลำน้ำโขง มีจะเข้ขนาดมหึมาตัวหนึ่ง ลอยฟ่องอยู่กลางลำน้ำแต่เพียงตัวเดียว...!!

    หลวงปู่กำหนดจิตพิจารณา...จึงทราบว่า นั่นคือพญานาคเขามานิมนต์ท่านในนิมิต และแปลงกายเป็นเรือและคนเรือมารับ เมื่อส่งท่านแล้วเขาก็แปลงเพศเป็นจระเข้ให้ท่านได้เห็นเป็นอัศจรรย์ ท่านจึงแผ่เมตตาให้ จะเข้นั้นลอยตัวนิ่งอยู่ราวกับสงบกิริยาอาลัย จึงนึกบอกในจิตว่า เอาละ...เราขอบใจเธอมาก ที่ช่วยเป็นธุระให้เราข้ามน้ำมาครั้งนี้ เราขออนุโมทนาด้วย เราเดินทางต่อไปได้แล้ว ไม่ต้องห่วงใยอะไรเราหรอก บอกลาครั้งหลังนี้ จะเข้นั้นจึงได้ผงกหัวลาและจมลงไปในท้องน้ำ

    หลวงปู่ดูจะมีข้อเกี่ยวข้องกับพญานาคเป็นพิเศษ ท่านไปที่ใดก็มักจะมีพญานาคมาอารักขาให้ความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นปกติ

    [​IMG] พญานาคผู้มิจฉาทิฏฐิ [​IMG]

    เรื่องพญานาคทั้งหลายที่นำมาเล่านี้ ดูจะเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาต่อพระเจ้าพระสงฆ์ทั้งนั้น แต่ความจริงมีพวกพญานาคที่ท่านพบเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ไม่เคารพเลื่อมใสในพระกรรมฐานก็มีเหมือนกัน

    เช่นครั้งหนึ่ง สมัยท่านติดตามพระอาจารย์มั่นไปวิเวกแถบฝั่งแม่น้ำโขงเช่นกัน ขณะนั้นท่านได้พาคณะไปพักอยู่ในเขตป่าร่มรื่นแห่งหนึ่ง บริเวณใกล้เคียงนั้นมีบึงน้ำกว้างใหญ่ น้ำเปี่ยมตลิ่งใสสะอาด ระหว่างที่หมู่เพื่อนเตรียมจะสรงน้ำ และตักน้ำมาสำหรับดื่มกินและใช้สอย แต่หลวงปู่ก็สังเกตว่า บริเวณโดยรอบบึงนั้นสงัดเงียบเกินไป ไม่มีนกกาเกาะอยู่บนต้นไม้ใกล้เคียง หรือรอยเท้าของสัตว์ชนิดใดก็ไม่มีโดยรอบบึงน้ำ อันดูเป็นการผิดวิสัย เพราะหนองน้ำ หรือบึงใหญ่ ย่อมเป็นที่พึ่งพิงอาศัยของส่ำสัตว์มีชีวิตจะใช้เพื่ออาบกินทั้งนั้น ท่านสงสัยว่าจะเป็นที่ไม่ชอบมาพากล จึงพิจารณาดูก็รู้ว่าเป็นที่ซึ่งพญานาคผู้มีมิจฉาทิฏฐิมาพ่นพิษใส่ในน้ำนั้นไว้ หากพระเณรลงอาบน้ำหรือตักมาใช้สอยดื่มกิน ก็คงจะเกิดอันตรายเจ็บไข้ได้ป่วยกันให้เป็นที่ยากลำบาก ท่านจึงรีบห้ามหมู่เพื่อนไว้ บอกสั้น ๆ ว่าอย่าเพิ่งใช้น้ำเหล่านี้ แล้วท่านก็รีบไปกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นถึงข้อที่ท่านสงสัยและได้พิจารณาดู

    ท่านพระอาจารย์มั่นก็ยืนยันความรู้เห็นของหลวงปู่ว่าถูกต้องแล้ว และว่าท่านก็พิจารณาอยู่แล้ว รู้ว่าพญานาคพวกนี้ยังไม่มีความเคารพเลื่อมใสในศาสนา เห็นพวกเราเป็นศัตรู เข้าใจว่าที่พวกเรามา ณ ที่นี้นั้นจะลองดีแข่งกับพวกเขา และขับไล่ให้พวกเขาต้องระเหเร่ร่อนจากถิ่นที่อยู่ไป เขาจึงได้แกล้งพ่นพิษใส่ในน้ำไว้ ดูทีหรือพวกเราจะทำประการใด หากประมาทมาใช้อาบกินเข้าก็คงจะเจ็บไข้ ต้องหนีจากไป ท่านชมเชยความรู้เห็นของหลวงปู่มาก และสั่งยืนยันมิให้พระไปลงอาบน้ำหรือตักน้ำอันมีพิษนั้นมาดื่มกินหรือใช้สอย ท่านว่าเราจะต้องไม่สนใจกับปฏิกิริยาอันไม่ถูกต้องของพญานาคเหล่านั้น ให้พวกเราเจริญเมตตาแผ่ให้เขา ในไม่ช้าเขาก็คงจะต้องละทิฏฐิมานะเป็นแน่แท้ เพราะเมตตาธรรมเป็นธรรมอันเยือกเย็น สามารถดับความร้อนรุ่มกระวนกระวายของจิตที่หลงผิดริษยาอาฆาตได้เป็นอย่างดี

    หมู่เพื่อนทราบความแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มความเกรงใจในหลวงปู่มากขึ้น เพราะนอกเหนือรองลงมาจากท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว ก็ดูเหมือนว่า หลวงปู่จะเป็นที่พึ่งอาศัยทางรู้เห็นสิ่งลึกลับกายทิพย์แก่หมู่คณะได้ดีที่สุด ต่างองค์ก็เชื่อฟังคำท่านพระอาจารย์มั่นและหลวงปู่มิได้พยายามย่างกรายไปใกล้บึงน้ำนั้นแต่ประการใด การอาบ การตักน้ำมาใช้ดื่มกินใช้สอย ก็พยายามไปหาจากหนองน้ำแห่งอื่น แม้จะไม่ค่อยสะดวก ด้วยอยู่ห่างไกลกว่าและดูไม่ค่อยสะอาดร่มรื่นเท่า แต่ก็แน่ใจได้ในความปลอดภัยกว่า

    หลายวันต่อมาพระอาจารย์มั่นจึงอนุญาตให้พระลงอาบน้ำและใช้สอยน้ำในบึงดังกล่าวได้ คงจะไม่จำเป็นต้องกล่าวแต่อย่างใดว่า การนี้เป็นไปภายหลังจากที่ท่านได้ทรมานพญานาคเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว ให้ยอมตนเคารพท่าน และรับนับถือพระไตรสรณาคมน์

    ทราบกันในภายหลังว่า หลังจากเมื่อพญานาคยอมตนสิโรราบต่อท่านแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นก็ถามเรื่องการพ่นพิษใส่ในบึงน้ำ ท่านตักเตือนเรียบ ๆ ว่า หากมีพระเณรหรือผู้ใดมาใช้น้ำพิษนี้แล้ว เกิดภัยอันตรายขึ้นก็จะเป็นบาปกรรมอย่างหนักแก่พญานาคโดยแท้ โดยเฉพาะโทษการล่วงเกินพระผู้มีศีลบริสุทธิ์นั้น คงจะไม่ต่ำกว่าการลงสู่ขุมนรก หากยั่นบาป ยั่นกรรม ก็ควรจะเร่งไปถอนพิษให้น้ำเป็นน้ำบริสุทธิ์ เป็นประโยชน์แก่ผู้สัญจรไปมาดังเดิม พญานาคทั้งประหลาดใจและตกใจ...ประหลาดใจ ที่ว่าตนแอบทำ แต่ท่านพระอาจารย์มั่นและหลวงปู่ต่างล่วงรู้ได้ด้วยอำนาจความรู้ภายใน...ตกใจด้วยกลัวโทษทัณฑ์ในการล่วงเกินพระอริยเจ้า จึงได้กราบกรานขอสมาโทษ แล้วรีบไปถอนพิษโดยเร็ว

    ท่านเล่าว่า แต่นั้นมา พญานาคคณะนั้นก็หมดทิฏฐิมานะ มีความเคารพเลื่อมใสศรัทธาในพระศาสนา ถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ปวารณาตัวรับใช้และถวายอารักขาท่านและหลวงปู่ ตลอดจนพระเณรทั้งปวงเป็นอย่างดี และเมื่อถึงโอกาสอันควรก็พากันมาฟังธรรมเสมอมิได้ขาด

    [​IMG] แม่ไก่ผู้มาปรากฏตัวในนิมิตภาวนา [​IMG]

    วันหนึ่งระหว่างที่หลวงปู่กำลังวิเวกอยู่ที่เชียงใหม่ ตอนกลางคืน ท่านก็เข้าที่ภาวนาตามปกติ ปรากฏภาพนิมิต มีแม่ไก่ตัวหนึ่งมาหาท่าน กิริยาอาการนั้นนอบน้อมอ่อนโยนเป็นอย่างยิ่ง มาถึงก็ใช้ปีกจับต้องกายท่าน จูบท่าน ท่านรู้สึกประหลาดใจที่สัตว์ตัวเมียมาแสดงกิริยาอันไม่สมควรต่อพระเช่นนั้น จึงได้ดุว่าเอา แต่แม่ไก่ตัวนั้นก็อ้างว่า เคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมาแต่ชาติก่อน และเคยเป็นภรรยาของท่านมาถึง ๗ ชาติแล้ว ความผูกพันยังมีอยู่ ไม่อาจลืมเลือนได้ แม้จะรู้อยู่ว่า ท่านเป็นพระภิกษุสงฆ์ ไม่บังควรที่จะแสดงความอาวรณ์ผูกพันเช่นนี้ ตนมีกรรม ต้องมาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานต่ำต้อยวาสนา ก็ได้แต่นึกสมเพชตัวเองอยู่มาก อย่างไรก็ดี เมื่อพระคุณเจ้าผู้เคยเป็นคู่ชีวิตมาอยู่ในถิ่นที่ใกล้ตัวเช่นนี้ อดใจไม่ได้ จึงมาขอกราบ ขอส่วนบุญบารมี

    ในนิมิตนั้น หลวงปู่ได้เอ็ดอึงเอาว่า เราเป็นมนุษย์ เจ้าเป็นสัตว์ จะมาเคยเป็นสามีภรรยากันได้อย่างไร เราไม่เชื่อเจ้า แม่ไก่ก็เถียงว่า ถ้าเช่นนั้นคอยดู..พรุ่งนี้เช้า ตอนท่านออกไปบิณฑบาต ข้าน้อยจะไปจิกจีวรท่านให้ดู ตกเช้าหลวงปู่ก็ครองผ้าออกไปบิณฑบาตตามปกติ ท่านเล่าว่า ท่านไม่ได้นึกอะไรมาก ด้วยคิดว่าเป็นนิมิตที่เหลวไหลไร้สาระ แต่เมื่อท่านเดินเข้าไปบิณฑบาตเข้าไปในหมู่บ้านยางที่ชื่อบ้านป่าพัวะ อำเภอจอมทอง ก็มีแม่ไก่ตัวเมียตัวหนึ่งตรงรี่เข้ามาจิกจีวรท่านข้างหลัง หมู่เพื่อนที่ไปด้วยกันก็ตกใจ ด้วยเป็นสัตว์ตัวเมีย ท่านจะต้องอาบัติ จึงช่วยกันไล่ แต่แม่ไก่ตัวนั้น แม้ถูกไล่ออกไป ก็ยังพยายามวิ่งเข้ามาอีก

    คืนนั้นหลวงปู่พิจารณาซ้ำ ก็รู้ชัดว่า ไก่ตัวนั้นเคยเกิดเป็นภรรยาของท่านมาแล้วถึง ๗ ชาติจริง ๆ เป็นที่น่าเวทนาสงสารเป็นอย่างยิ่ง...ที่นางทำกรรมไม่ดีไว้ ไม่มีศีลจึงต้องตกไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานเช่นนั้น เรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่หลวงปู่เคยยกเป็นขึ้นมาตักเตือนบรรดาพระผู้เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดให้เห็นชัดถึงผลของกรรม สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป จักเป็นทายาท คือว่าจักต้องได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป

    ท่านสอนให้ระมัดระวังเกรงบาป เกรงกรรมเป็นที่สุด โดยเฉพาะผู้ที่เคยเกิดร่วมชีวิตกัน หากมิได้พยายามรักษาจิต ประกอบแต่กรรมดี ไม่มีศีลเสมอกัน ไม่มีธรรมเสมอกัน ในวัฏสงสารอันยาวนาน สายธารชีวิตย่อมจะต้องแตกแยกจากกัน ยากจะหาโอกาสมาพบพานกันได้ หรือหากพบกันก็อยู่ในฐานะที่เหลื่อมล้ำกัน ตามผลแห่งกรรมที่ตนได้ประกอบมา <!--MsgFile=3-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></center>
    [​IMG] หลวงปู่กับยอดคนแห่งแผ่นดิน [​IMG]

    หลวงปู่เป็นพระป่า อยู่แต่ในป่าในเขาจนชิน และดูเหมือนจะไม่รู้จักโลกภายนอกที่ว่าเจริญของคนกรุง ท่านมักจะอยู่กับพวกยาง พวกกระเหรี่ยง พวกชาวเขาเป็นปกติ ไม่คุ้นเคยต่อการพบคนใหญ่คนโตมีชื่อเสียงของจังหวัดหรือบ้านเมืองเลย

    ดังนั้น วันหนึ่ง ท่านไปเยี่ยมหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินมากราบหลวงปู่ขาวเป็นวาระแรก ทางบ้านเมืองจึงมาส่งข่าวให้ทางวัดเตรียมตัวรับเสด็จ พอหลวงปู่ทราบว่าเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินจะเสด็จ ก็เตรียมหนีทันที หลวงปู่ขาวซึ่งบ่นเช่นกันว่า ไม่ทราบว่าจะ “พูด” ด้วยอย่างไร ขอให้หลวงปู่ชอบอยู่ด้วยกันเป็นเพื่อน

    อ้อนวอนกัน จนสุดท้ายหลวงปู่ก็ใจอ่อน ยอมอยู่ด้วย โดยเป็นที่เข้าใจว่า ท่านจะไม่ต้องพูดอะไรเลย และหลวงปู่ขาวก็ไม่ต้องพูดอะไรเท่าไรนัก ด้วยทางบ้านเมืองจะมาดูแลกำกับด้วย ถึงวันที่กำหนด หลวงปู่ทั้งสององค์ ก็ครองจีวรอย่างเรียบร้อยรออยู่ จนเย็น ท่านก็บ่นกันว่า

    “ไม่เห็นมา ให้รออยู่” องค์หนึ่งบ่น
    “นั่นซิ ไม่เห็นมามีแต่ทหารสองพ่อลูก มาคุยอยู่เป็นนานสองนาน”
    “คนพ่อเพิ่นงามกว่าลูกนะ” ท่านวิจารณ์กัน

    หลวงปู่ทั้งสองหวัวกันจนองค์งอ เมื่อพระเณรช่วยกันชี้แจงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ......เสด็จพระราชดำเนินแล้ว...! พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ .....ที่หลวงปู่ว่า ทหาร ๒ พ่อลูกนั่นแหละ !!

    เป็นเรื่องที่เล่ากันอย่างขบขันตลอดมา ผู้เขียนซึ่งปากอยู่ไม่สุข ภายหลังได้โอกาสก็กราบเรียนถามหลวงปู่ขาว

    ทำไมหลวงปู่ไม่รู้จักพระเจ้าอยู่หัวและทูลกระหม่อมฟ้าชายล่ะเจ้าคะ (ขณะนั้นท่านยังมิได้ดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร)

    ท่านว่า “ไม่เห็นมีขบวนแห่”

    ส่วนหลวงปู่ชอบนั้น เมื่อกราบเรียนถามด้วยคำถามเดียวกันนั้น ท่านก็ยิ้มอาย ๆ ตอบผู้เขียนว่า “นึกว่าจะใส่ชฎา !”

    หลังจากการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น ภายหลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปกราบนมัสการหลวงปู่ขาวที่วัดถ้ำกลองเพลอีกนับครั้งไม่ถ้วนและแทบทุกครั้ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะโดยเสด็จด้วย จนเป็นที่ทราบกันว่า ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระทัย ผูกพันต่อหลวงปู่ และหลวงปู่ขาว <!--MsgFile=4-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></center>
    ผู้เขียนยังจำได้ไม่ลืม เมื่อได้นำหนังสือ “ชีวประวัติพระคุณเจ้า หลวงปู่ชอบ ฐานสโม” ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ไปกราบถวาย พระคุณเจ้าหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ แห่ง วัดหินหมากเป้ง ท่านก็อ่านอย่างสนใจ เป็นเวลาติดต่อกันหลายวัน และเป็นเวลาติดต่อกันหลายวันเช่นกัน ที่เรียกผู้เขียนไป... ท่านให้คำวิจารณ์โดยละเอียดและมากด้วยเมตตา ท่านก็รำพึงกับผู้เขียนว่า

    “เทวดารักท่านชอบมาก อันที่จริงแล้ว มากกว่าท่านอาจารย์มั่นด้วยซ้ำไป ...ในเรื่องเกี่ยวกับเทวดานี้แล้ว บางครั้งท่านอาจารย์มั่นก็ยังขอให้ท่านชอบช่วยจัดการให้เสมอ”

    เมื่อผู้เขียนแสดงความสงสัยว่า “เอ๊ะ หลวงปู่มั่นท่านเป็นอาจารย์หลวงปู่ชอบนะเจ้าคะ เทวดาน่าจะรักและเกรงใจหลวงปู่มั่นมากกว่า”

    หลวงปู่เทสก์ ท่านก็อธิบายความว่า “เป็นเรื่องบารมีของแต่ละองค์ ก็เหมือนพระพุทธเจ้ากับพระสิวลี ในเรื่องบารมีทางลาภแล้ว บางครั้งพระพุทธเจ้าท่านก็ยังให้พระสิวลีช่วย”

    “พระ” ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ

    ข้อมูลจากหนังสือ ฐานสโมปูชา คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต ผู้เขียนและเรียบเรียง

    ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต ขออนุโมทนามา ณ โอกาสนี้ครับ


    ที่มาค่ะ..http://www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y5045328/Y5045328.html

    </center>
     

แชร์หน้านี้

Loading...