มัฏฐกุณฑลี ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ (กฎแห่งกรรม)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 3 ธันวาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    วิถีชีวิตของคนทุกคนนับตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกชีวิตจะดำเนินไปในทางดีหรือทางชั่ว ก็ขึ้นอยู่กับกรรม หรือการกระทำที่ตนทำไว้ทั้งสิ้น ดังพระพุทธวจนะว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” นั่นคือ ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากกรรมเก่าที่ได้เคยกระทำไว้ในอดีตในชาติเดียวกัน หรือในอดีตชาติ อีกส่วนหนึ่งอาจเป็นผลมาจากกรรมใหม่ที่สร้างขึ้นเอง ทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม

    ชาวห้องศาสนาทราบที่มาของพุทธดำรัสเหล่านี้ไหมครับ?

    “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้นเหมือนเงาไปตามตัว”

    “ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกใน โลกทั้ง 2 เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศก เขาย่อมเดือดร้อน”

    “ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้วก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้ง 2, เขาเห็นความหมดจดแห่งกรรมของตน ย่อมบันเทิง, เขาย่อมรื่นเริง”

    มาศึกษาการให้ผลของกรรมตามเหตุที่ได้กระทำไว้จากเรื่องราวในอดีต วันนี้นำมาฝากชาวห้องศาสนา 3 เรื่องนะครับ <!--MsgFile=0-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    [​IMG]มัฏฐกุณฑลี[​IMG]

    ในกรุงสาวัตถีมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่ออทินนะปุพพกะ เป็นคนตระหนี่ มีบุตรคนเดียว ชื่อว่า มัฏฐกุณฑลี เมื่อบุตรอายุได้ 16 ปี เกิดเป็นโรคผอมเหลือง แต่พราหมณ์ก็ไม่ยอม หาหมอมารักษาเพราะกลัวเสียทรัพย์ ในที่สุดโรคกำเริบมากไม่มีหมอใดรักษาได้ พราหมณ์รู้ว่าบุตรจวนจะตาย ก็เอามานอนที่ระเบียง ด้วยกลัวคนมาเยี่ยมจะเห็นสมบัติ ต่อมาพระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นอุปนิสัยของมัฏฐกุณฑลี จึงเสด็จผ่านไปทางนั้นแล้วเปล่งรัศมีไปวาบหนึ่ง มัฏฐกุณฑลีเห็นแล้ว ก็ได้แต่ทำใจเท่านั้น ให้เลื่อมใส ครั้นตายไป ก็ได้ไปเกิดในวิมานทองสูงประมาณ 30 โยชน์ในเทวโลก ฝ่ายพราหมณ์ก็ไปร้องไห้หาลูกที่ป่าช้าทุกวัน มัฏฐกุณฑลีที่ไปเกิดเป็นเทพบุตรจึงจำแลงตัวเหมือนมัฏฐกุณฑลีมาณพ แล้วไปหาพราหมณ์ ได้โต้ตอบกับพราหมณ์ จนพราหมณ์ได้สติว่า การมาร้องไห้คร่ำครวญถึงบุตรที่จากไปเป็นความเขลา จึงหายเศร้าโศก แล้วถามเทพบุตรว่าเป็นใคร เมื่อรู้ว่าเป็นบุตรที่ตายไป แล้วไปเกิดในเทวโลก ก็ถามต่อว่า ได้ทำกรรมใดไว้ เทพบุตรก็เล่าความให้ฟัง จนพราหมณ์เกิดปิติ เทพบุตรจึงให้โอวาทแก่พราหมณ์ในการไปเฝ้าพระศาสดา แล้วถวายทาน ฟังธรรม แล้วถามปัญหา จากนั้นก็อันตรธานหายไป

    ฝ่ายพราหมณ์ ก็ชักชวนนางพราหมณีนิมนต์พระศาสดามายังเรือนตน ถวายภัตตาหารแล้วกราบทูลถามปัญหา โดยถามว่า มีด้วยหรือที่เหล่าชนที่ไม่ได้ถวายทานแก่พระองค์ ไม่ได้บูชาพระองค์ ไม่ได้ฟังธรรม ไม่ได้รักษาอุโบสถเลย ได้ไปเกิดในสวรรค์ ด้วยเพียงทำใจให้เลื่อมใสในพระองค์อย่างเดียวเท่านั้น พระศาสดาก็ทรงท้าวความว่า บุตรของพราหมณ์ได้บอกแล้วมิใช่หรือ เพื่อให้มหาชนที่เข้าเฝ้าอยู่ด้วย ที่ยังไม่สิ้นสงสัย ประจักษ์ความจริง พระศาสดาจึงทรงอธิษฐานให้ มัฏฐกุณฑลีเทวบุตรลงมาปรากฎกายให้เห็น แล้วทรงตรัสถามว่า ทำกรรมสิ่งไรจึงได้สมบัตินี้ เทพบุตรกราบทูลว่า เพราะทำใจให้เลื่อมใสในพระองค์ ทำให้มหาชนประกาศความยินดีว่า ไม่ได้ทำบุญอะไรอย่างอื่น ทำใจให้เลื่อมใสในพระศาสดา ยังได้สมบัติถึงเพียงนี้ พระศาสดาจึงตรัสแก่พวกชนเหล่านั้นว่า

    “ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
    สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว
    พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา
    เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว”
    <!--MsgFile=1-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></center>
    [​IMG]นายจุนทสูกริก[​IMG]


    นายจุนทสูกริกนั้นมีอาชีพฆ่าสุกร โดยเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือกไปแลกกับลูกสุกรในชนบทเอามาเลี้ยง เมื่อลูกสุกรเติบใหญ่ มีความประสงค์จะฆ่าตัวใด ก็ใช้วิธีมัดตัวนั้น ๆ ให้แน่น แล้วทุบด้วยฆ้อนสี่เหลี่ยม แล้วกรอกน้ำร้อนใส่ปาก ตัดหัวสุกร รองเลือดเคล้าเนื้อปิ้งรับประทานในครอบครัว ส่วนที่เหลือก็ขาย นายจุนทสูกริกเลี้ยงชีวิตโดยวิธีนี้อยู่ 55 ปี ต่อมา กรรมก็เกิดแก่นายจุนทสูกริกทันตาเห็น โดยเขาร้องเสียงเหมือนหมู คลานไปมาอยู่ในเรือนอยู่ 7 วัน วันที่ 8 จึงตาย แล้วไปเกิดในอเวจีมหานรก ในช่วง 7 วันที่เขาร้องอยู่นั้น พวกภิกษุที่เดินผ่านเรือนของเขา เข้าใจว่าเขาปิดประตูเรือนฆ่าหมู เพื่อเตรียมงานมงคล จึงไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย เขาฆ่าสุกรตลอด 7 วันนี้ หามิได้ อันผลที่เหมาะสมด้วยกรรมเกิดขึ้นแก่เขา ด้วยความเร่าร้อนนั้น เขาร้องเหมือนหมู เที่ยวไปภายในนิเวศน์อยู่ ตลอด 7 วัน วันนี้ทำกาละแล้ว ไปเกิดในอเวจี” แล้วตรัสคาถาว่า

    “ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
    ละไปแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกใน
    โลกทั้ง 2 เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว
    ย่อมเศร้าโศก เขาย่อมเดือดร้อน”
    <!--MsgFile=2-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    [​IMG]ธัมมิกอุบาสก[​IMG]

    ในเมืองสาวัตถี ได้มีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมประมาณ 500 คน อุบาสกที่เป็นหัวหน้าอุบาสก มีบุตร 7 คน เขาพร้อมทั้งบุตรและภรรยา ได้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มีความยินดีในการให้ทาน ต่อมา ด้วยอายุสังขารเสื่อม อุบาสกล้มป่วยลง ขอนอนฟังธรรม ขณะที่ภิกษุเริ่มสวด ก็มีเทวดานำรถมารับอุบาสกไปเทวโลก เทวดาบนรถต่างก็เชิญอุบาสกไปยังเทวโลกของตน อุบาสกต้องการฟังธรรม จึงบอกให้เทวดารอก่อน แต่ภิกษุทั้งหลายกลับเข้าใจว่า อุบาสกพูดกับตน ต่างจึงหยุดนิ่ง ไม่แสดงธรรมและลุกจากไป ฝ่ายบุตรธิดาไม่เข้าใจ ต่างก็คร่ำครวญว่าพ่อไม่กลัวต่อมรณะ พออุบาสกได้สติ จึงถามลูก ๆ ว่า คร่ำครวญทำไม แล้วอธิบายถึงเหตุที่มาของการบอกให้รอ แล้วบอกให้ลูกเสี่ยงพวงมาลัยคล้องรถที่มาจากภพดุสิต ซึ่งลูกให้ความเห็นว่าเป็นภพที่รื่นรมย์ เพราะเป็นที่ประทับของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เมื่อเหวี่ยงไปแล้ว พวงดอกไม้ก็ได้คล้องที่แอกรถ ห้อยอยู่ในอากาศ มหาชนเห็นแต่พวงดอกไม้ ไม่เห็นรถ อุบาสกจึงสอนลูก ๆ ว่า ถ้ามีความปรารถนาจะไปเกิดในเทวโลก ก็จงทำบุญอย่างพ่อ แล้วก็สิ้นใจไปดำรงอยู่บนรถที่มาจากภพดุสิต

    เมื่อภิกษุทั้งหลายกลับมาถึงวิหาร พระศาสดาได้สอบถามว่า อุบาสกได้ฟังธรรมเทศนาแล้วหรือ ภิกษุทั้งหลายจึงเล่าความให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสบอกภิกษุว่า บัดนี้เขาไปเกิดในภพดุสิตแล้ว แล้วตรัสพระคาถาว่า

    “ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไปแล้ว
    ก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้ง 2,
    เขาเห็นความหมดจดแห่งกรรมของตน ย่อมบันเทิง,
    เขาย่อมรื่นเริง”
    <!--MsgFile=3-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    ภาพประกอบจากสมาชิกพันทิป ข้อมูลจากพระธัมมปทัฏฐกถาแปล
    และคุณอัมพร หุตะสิทธิ์ ขออนุโมทนามา ณ โอกาสนี้ครับ

    ทุกคนย่อมต้องรับผิดชอบความเชื่อและกรรมของตนเอง
    ท่านที่หมั่นทำบุญ ทำกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ ย่อมจะได้รับผลบุญ
    และความสุขแน่นอน ขอให้ทุกท่านมีความสุขในวันอาทิตย์ครับ <!--MsgFile=4-->
    <center><table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><table bgcolor="#222244" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td>[​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
    </center>​
    </center>​
    </center>​
    </center>
     
  2. เดช ศานติ

    เดช ศานติ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๒๕<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๑๗ ขุทฺทกนิกายสฺส ขุทฺทกปาฐ-ธมฺมปทคาถา-อุทานํ-อิติวุตฺตกํ-สุตฺตนิปาตา<o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    [๑๑] ๑ มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺา มโนมยา<o:p></o:p>
    มนสา เจ ปทุฏฺเน ภาสติ วา กโรติ วา<o:p></o:p>
    ตโต น ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกว วหโต ปท ฯ<o:p></o:p>
    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺา มโนมยา<o:p></o:p>
    มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา<o:p></o:p>
    ตโต น สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี ฯ<o:p></o:p>
    อกฺโกจฺฉิ ม อวธิ ม อชินิ ม อหาสิ เม<o:p></o:p>
    เย จ ต อุปนยฺหนฺติ เวร เตส น สมฺมติ ฯ<o:p></o:p>
    อกฺโกจฺฉิ ม อวธิ ม อชินิ ม อหาสิ เม<o:p></o:p>
    เย จ ต นูปนยฺหนฺติ เวร เตสูปสมฺมติ ฯ<o:p></o:p>
    น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจน<o:p></o:p>
    อเวเรน จ สมฺมนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน ฯ<o:p></o:p>
    ธรรมบท<o:p></o:p>
    ยมกวรรคที่ ๑<o:p></o:p>
    [๑๑] ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ<o:p></o:p>
    ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้าใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ <o:p></o:p>
    ...<o:p></o:p>
    ชนเหล่าใดมีความรู้ในธรรมอันหาสาระมิได้ว่าเป็นสาระและมีปกติเห็นในธรรมอันเป็นสาระ ว่าไม่เป็นสาระ ชนเหล่านั้นมีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่บรรลุธรรมอันเป็นสาระ <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ชนเหล่าใดรู้ธรรมอันเป็นสาระ โดยความเป็นสาระ และรู้ธรรมอันหาสาระมิได้โดยความเป็นธรรมอันหาสาระมิได้ ชนเหล่านั้นมีความดำริชอบเป็นโคจร ย่อมบรรลุธรรมอันเป็นสาระ <o:p></o:p>
    ...<o:p></o:p>
    หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้มาก แต่เป็นผู้ไม่ทำกรรมอันการกบุคคลพึงกระทำ เป็นผู้ประมาทแล้วไซร้ นรชนนั้นย่อมไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ประดุจนายโคบาลนับโคของชนเหล่าอื่น ย่อมไม่มีส่วนแห่งปัญจโครส <o:p></o:p>
    <o:p> </o:p>
    ฉะนั้น หากว่านรชนกล่าวคำอันมีประโยชน์แม้น้อยย่อมประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ทั่วโดยชอบ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้วไม่ถือมั่นในโลกนี้หรือในโลกหน้า นรชนนั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องความเป็นสมณะ ฯ<o:p></o:p>
    09-06-2010<o:p></o:p>
     
  3. lionking2512

    lionking2512 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,525
    ค่าพลัง:
    +7,632
    อนุโมทนาด้วยครับ
    บุญก็ใจเรานี่แหละ บาปก็ใจเรานี่แหละ ไม่ค้องไปค้นหาที่ไหน
     

แชร์หน้านี้

Loading...