มองต่างมุม แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย pimmarka, 21 พฤศจิกายน 2011.

  1. pimmarka

    pimmarka สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +12
    มองต่างมุม แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฏก<O:p</O:p
    เมื่ออยู่ในสถานะที่แตกต่างกัน ความเห็น ความเข้าใจยอมแตกต่างกัน เพราะคนเรามีพื้นฐาน ความรู้ ประสบการณ์ ความคิด สิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะทำให้มีความคิดเห็นที่เหมือนกัน เรื่องการปฏิบัติธรรมก็ เช่นกัน บางคนก็ไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องให้ทาน เสียทรัพย์เปล่า ๆ ทำไมต้องเข้าวัด เสียเวลาเปล่า ๆ ทำไมต้องบวช ให้ลำบากเปล่า ๆ เรามีข้าวกิน มีบ้านอยู่ ทำไมต้องไปขอเขากินและเพราะความไม่เข้าใจ จึงไม่สนใจไยดี หรือหนักขึ้นไปอีก ต่อว่า เสียดสี เหน็บแนม หรืออาจหนักขึ้นเป็น ต่อต้าน ทำลายล้าง พระพุทธองค์ทรงสอนให้เข้าใจธรรมชาติที่แตกต่างกันนี้ และวิธีการไม่เข้าใจเป็นลำดับ จนเขามาอยู่สถานะเดียวกับเรา ผู้มีสัมมาทิฏฐิ มุ่งมั่นในการประพฤติธรรม ดังนี้
    <O:p
    สามเณรอจิรวตะ อัคคิเวสสนะ กราบทูลพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เล่าถึงการตอบปัญหาเรื่องการมีจิตเป็นเอกัคคตา มีจิตหยุดนิ่ง แก่พระราชกุมารชยเสนะ พระพุทธองค์จึงทรงแนะนำว่า<O:p</O:p
    <O:p
    อัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะเข้าใจความในภาษิตของเธอได้อย่างไร จิตเอตกัคตาที่เธอกล่าวนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันด้วยเนกขัมมะ การประพฤติพรหมจรรย์ แต่พระกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ จักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้ แจ้งจิตเอกัคคตาได้นั้น ไม่ใช้ฐานะที่มีได้ ฯลฯ
    <O:p
    อัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้านหรือนิคม สหาย ๒ คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปอยู่ที่ภูเขาลูกนั้นแล้ว จูงมือกันไปยังที่ตั้งภูเขา ครั้งแล้วสหายคนหนึ่งยืนที่เชิงภูเขาด้านล่าง อีกคนหนึ่งขึ้นไปข้างบนภูเขา
    <O:p</O:p</O:p
    สหายที่ยืนอยู่บนภูเขาด้านล่ายเอ่ยถามผู้ที่ยืนอยู่บนภูเขานั้นว่า แน่ะเพื่อน ท่านยืนบนภูเขาลูกนั้น มองเห็นอะไรบ้าง สหายผู้ยืนอยู่บนภูเขาตอบว่า เพื่อนเอ่ยเรายืนบนภูเขา แล้วเห็น สวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมณ์

    สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แนะเพื่อน ข้อที่ท่านยืนอยู่บนภูเขาแล้วเห็น สวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมณ์นั้นเป็นไปไม่ได้หรอก”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สหายที่ยืนอยู่บนภูเขาจึงลงมาข้างล่างแล้วจูงแขนสหายนั้นขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้พักเหนื่อยครู่หนึ่งแล้วถามสหายนั้นว่า แน่ะเพื่อน เรายืนอยู่บนภูเขาแล้ว ท่านเห็นอะไรบ้าง สหายคนนั้นตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ่ย เรายืนบนภูเขา แลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมณ์”<O:p</O:p
    <O:p
    สหายคนขึ้นไปก่อนกล่าวว่า แน่ะเพื่อน เราเพิ่งได้ยินท่านกล่าว สิ่งที่เราเห็น เป็นไปไม่ได้หรอก”<O:p</O:p
    สหายขึ้นที่หลังพูดว่า เราเพิ่งรู้คำที่ท่านกล่าวเป็นจริงอย่างนี้เอง”<O:p</O:p
    สหายคนที่ขึ้นไปก่อนจึงพูดอย่างนี้ว่า สหายเอ่ย ความเป็นจริง เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงไม่แลเห็น สิ่งที่ควรเห็น นี้ ฉันใด<O:p</O:p
    <O:p
    อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล พระราชกุมารชยเสนะ ถูกกองอวิชชาใหญ่ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว ปิดไว้ คลุมไว้แล้ว พระราชกุมารชยเสนะนั้นแล ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการแสวงหากามจักทรงรู้ หรือทรงเห็น หรือทำให้แจ้งซึ่งธรรม ที่เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ นั้นไม่ใช่ฐานะที่มีได้
    <O:p</O:p</O:p
    จากนั้นจึงทรงแนะนำต่อว่า การสอนธรรมะ ฝึกคนนั้น ควรทำอย่างการฝึกช้างทรง คือ เริ่มจากการจับช้างป่ามา และผูกไว้กับการฝึกช้างหลวงที่ฝึกดีแล้ว ต่อมาให้ช้างหลวงจูงออกมาจากป่า แล้วฝึกให้คุ้นกับบ้านด้วยการล่ามไว้กับเสาใหญ่ พูดด้วยคำที่ไพเราะ เริ่มช้างเริ่มการรับฟังคำ ก็เพิ่มอาหารคือหญ้า และน้ำเป็นรางวัล หลังจากนั้นจึงฝึกให้ทำตามคำสั่งควาญช้าง ให้รุก ให้ถอย ให้ยืน ให้หยุด และขั้นสุดท้ายการฝึกเป็นช้างทรงในสงคราม ด้วยการผูกโล่ใหญ่ที่งวงช้าง ให้บุรุษถือหอกนั่งบยคอช้าง และบุรุษถือหอกหลายคนยืนล้อมลอบ ควาญช้างถือของง้ามยืนอยู่ข้างหน้า
    <O:p</O:p</O:p
    จากนั้น ฝึกช้างให้หยุดนิ่งไม่ขยับอวัยวะใดๆ ท่ามกลางเสียงและอาวุธ เป็นช้างหลวงทนต่อการประหาร ด้วย หอก ดาบ ลูกศร และ เครื่องประหารของศัตรูอื่น ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์ สังข์และกลองเล็ก กำจัดข้อบกพร่องทุกอย่างได้ หมดพยศ เมื่อนั้นจึงนับเป็นช้างทรงที่สมควรแก่พระราชา เป็นสมบัติคู่บารมีของพระราชา
    <O:p</O:p</O:p
    ด้วยอุปไมยนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงฝึกคนไปตามลำดับด้วยการแสดงธรรม จนเกิดความเลื่อมใส ทำให้เขาเห็นอานิสงส์แห่งการบรรพชา เมื่อเขาออก บวชทรงฝึกให้ละกามคุณ ๕ ด้วยการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ สำรวมอินทรีย์ เจริญภาวนา ละนิวรณ์ทั้ง ๕ เจริญสติปัฏฐานไปตามลำดับ จนบรรลุวิชชา ๓ มีปุพเพนิวาสนุสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในที่สุด
    <O:p</O:p</O:p
    วิธีแก้ไขความเข้าใจผิด ความเห็นแตกต่าง พระพุทธองค์สอนด้วยวิธีที่เป็นธรรมชาติที่สุด คือ เหตุที่เขาไม่เข้าใจ เพราะว่า เขาไม่มีประสบการณ์เช่นนั้น ไม่เคยมาอยู่ในจุดเดียวกับเรา แต่คิดจะให้เขามีความเห็นเหมือนกันกับเรา เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น วิธีการแก้ไข และตรงที่สุดคือ นำเขาให้มายืนจุดที่เรายืนอยู่ เมื่ออยู่บนยอดเขาเช่นเดียวกันแล้ว ก็ย่อมเห็นเหมือนกัน จะชี้ชวนดูความสวยงามของต้นไม้ ทิวเขา ก็เขาใจกันและกัน แต่การทำเช่นนั้นต้องค่อยเป็นค่อยไปไม่หักโหมประหนึ่งหักด้ามพร้าด้วยเข่า ดังเช่น การฝึกช้างจากช้างป่า จนกลายเป็นช้างทรงที่ออกศึกสวยงาม คู่บารมีพระราชาได้
    <O:p</O:p
    ขอบคุณที่แวะมาอ่าน อนุโมทนา สาธุ ขอให้ทุกท่านเป็นผู้เข้าถึงธรรมะอย่างง่ายๆ รู้แจ้งแทงตลอดทั้งทางโลกและทางธรรม สาธุ :cool:<O:p</O:p
     

แชร์หน้านี้

Loading...