มหาสติปัฏฐานสูตรพระธรรมเทศนา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 26 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    10 ตุลาคม 2497
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)
    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโทสํ วา จิตฺตํ วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ. อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนฺสส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปติสฺสติมตฺตาย อนิสฺสิโต จ วิหรติ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ. เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรตีติ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่แสดงไปแล้วนั้น โดยอุเทศวาร ปฏินิเทศวาร แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นอุเทศวารนั้น ตามวาระพระบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย. แค่นี้ จบอุเทศวารของมหาสติปัฏฐานสูตร
    แปลภาษาบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อยํ มคฺโค อันว่า หนทางนี้
    เอกายโน เป็นเอก
    เอกายโน อยํ มคฺโค หนทางนี้เป็นหนทางเอก ไม่มีสองแพร่ง เป็นหนทางเดียวแท้ๆ หนทางหนึ่งแท้ๆ เอกน่ะ คือหนึ่ง

    เอโก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ เหล่านี้ เอโก เขาแปลว่า หนึ่ง หนทางนี้เป็นหนึ่งไม่มีสองต่อไป
    สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อความล่วงเสียซึ่งโศก ความแห้งใจ ความปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ
    ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่ออัสดงคตหมดไปแห่งเหล่าทุกข์โทมนัส ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุซึ่งธรรมที่ควรรู้
    นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นี่แสดงดังนี้เพียงเท่านี้ เรียกว่า อุเทศวาร จักได้แสดงเป็นปฏินิเทศวารสืบต่อไป
    กตเม จตฺตาโร 4 อย่างอะไรบ้าง
    ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา นี้คือ สติปัฏฐาน 4
    กตเม จตฺตาโร สติปฏฺฐานา สติปัฏฐาน 4 คืออะไรบ้างล่ะ

    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. 4 อย่างนี้ เรียกว่าปฏินิเทศวาร อุเทศวารแสดงแล้ว อีก 2 นี้เป็นปฏินิเทศวาร อุเทศน่ะแสดงออกเป็นหนึ่งทีเดียว

    ปฏินิเทศนั้นแสดงหนึ่งออกไปเป็น 4 กาย เวทนา จิตธรรม แปลภาษาบาลีว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ นั้นเป็นไฉนเล่า

    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อ้ายนี้ต้องคอยจำนะ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ถ้าเห็นเข้าแล้ว ทำให้ อาตาปี เพียรเทียว เพียรให้เห็นอยู่เสมอนั้นไม่เผลอทีเดียว
    สมฺปชาโน รู้รอบคอบอยู่ เพียรแล้วก็รู้รอบคอบ

    สติมา มีสติด้วยไม่เผลอ รู้รอบคอบไม่เผลอ
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ คอยกำจัดความเพ่งเฉพาะอยากได้และโทมนัสเสียใจที่ไม่ได้สมบัติ นำอภิชฌาโทมนัสในโลกออกเสีย อย่าเพ่งเฉพาะเสียใจ เพราะอยากได้แล้วไม่สมหวัง มันจะทำกายในกายให้เป็นที่เสื่อมไปเสีย

    อภิชฌา สำคัญนัก เพ่งเฉพาะอยากได้ เมื่อไม่ได้ มันก็เสียใจเพราะไม่สมหวัง ไอ้ดีใจเสียใจนี่แหละอย่าให้เล็ดลอดเข้าไปได้ทีเดียว เมื่อเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่แล้วก็ อาตาปี มีความเพียรเร่งเร้าทีเดียว มีความรู้รอบคอบ ประกอบด้วยสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว
    วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ นี่ข้อต้น ข้อที่ 2 คือ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีความรู้รอบคอบ มีสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน นำอภิชฌา โทมนัสในโลกออกเสีย ไม่ให้ลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่ส่วนเวทนา
    จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติไม่พลั้งเผลอ นำอภิชฌาในโลกนี้ออกเสียได้ อย่าให้ความยินดียินร้ายมันลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่เป็นข้อ 3

    ข้อที่ 4 ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เมื่อเห็นแล้วให้มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน กำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกนี้เสียได้ 4 ข้อนี้แหละเรียกว่า ปฏินิเทศวาร กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่ นี่ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสอนต่อไปเป็นลำดับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เห็นกายในกาย นี่เห็นอย่างไร

    เห็นกายในกายนั่นเหมือนกับนอนฝันนั่นแหละ เห็นชัดๆ อย่างนั้นนะ เห็นกายในกายก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดเท่ากายมนุษย์นี้แหละ นอนฝันในกายมนุษย์นี่ต่อไป ทำหน้าที่ไป ผู้เห็นกายในกายก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นเอง

    เห็นเวทนาในเวทนาล่ะ มนุษย์นี่มันก็มีเวทนาเหมือนกัน เห็น นี่ ไม่ได้พูดรู้นี่ เวทนาในเวทนานั่นเป็นอย่างไรล่ะ สุข กายนั้นเป็นสุข ก็เห็นเป็นสุข กายนั้นเป็นทุกข์ ก็กายละเอียดนั่นแหละ ที่เห็นกายนั้นเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์ เมื่อกายนั้นไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เห็นว่าไม่สุขไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ อย่างนี้

    เห็นจิตในจิต ล่ะ ลึกนี่เห็นจิตได้หรือ ไม่ใช่เห็นง่ายๆ นี่ จิตเป็นดวงนี่ เท่าดวงตาดำข้างนอกนี่แหละ เท่าดวงตาดำของตัวทุกคนๆ นั่นแหละดวงจิต เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ถ้าเห็นอย่างนี้ไม่หลับ เป็นประธาน เห็นกายในกายชัดๆ ก็เห็นกายละเอียดนั่น


    เห็นเวทนาในเวทนา เห็นกายแล้วก็เห็นเวทนา เวทนาเพราะใจกำหนดอยู่ที่จะดูกาย เห็นกายน่ะ ต้องกำหนดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เมื่ออยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละก้อ นั่นแหละ ตาเห็นกาย ก็เห็นอยู่ในกลางกายมนุษย์นั่นแหละ เห็นเวทนาล่ะ เป็นอย่างไรล่ะ เห็นสุขเป็นดวงกลมใสอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียดนั่น เห็นสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ เป็นดวงอยู่กลางกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เวทนาของกายมนุษย์นี้เป็นเวทนานอก เวทนาของกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นเวทนาของกายมนุษย์ละเอียดข้างใน นั่นแหละเวทนาในเวทนา


    เห็นจิตในจิต ล่ะ ดวงจิต ก็เห็นดวงจิตของกายละเอียดนั่น เห็นดวงจิตเท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นดวงจิต มั่นอยู่ในกลางดวงจิตนี่แหละ อยู่ในกลางดวงจิตมนุษย์หยาบนี่แหละ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียดมันก็ไปเห็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่เห็นจิตในจิต


    เห็นธรรมในธรรม ล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ มันมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนั่น พอไปเห็นกายละเอียด มันก็เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เป็นธรรมข้างใน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ นี่เป็นดวงธรรมข้างนอก เห็นจริงอย่างนี้นะ วัดปากน้ำเขาเห็นกัน จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นเล่นๆ


    นี่ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เห็นจริงๆ อย่างนี้ นี่อุเทศวาร แล้วก็เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นไป กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม วัดปากน้ำเห็นเข้าไปตั้ง 18 กายนั่นแน่ะ เห็นเข้าไปอย่างนี้แหละ 18 กาย ชัดๆ ทีเดียว ชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ใช่พอดีพอร้ายหละ เห็นชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ชัดแต่ว่าเห็นหละ ถ้าว่าสนใจจริงๆ ก็เห็นจริงๆ เห็นจริงๆ อย่างนี้ เมื่อเห็นจริงๆ เป็นจริงๆ อย่างนี้แล้วละก็ ตำราบอกไว้ตรงๆ อย่างนี้แล้วมันก็ถูกตำรับตำราทีเดียว แล้วจะได้แสดงในกาย เวทนา จิต ธรรม ต่อไปอีก คัมภีร์นิเทศวารต่อไป


    มีคำถามสอดเข้ามาว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ นั่นเป็นไฉน
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ อันนี้แล้ว
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา นี่ปฏินิเทศวาร
    อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุ ํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา โส สโต ว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฑีฆํ วา อสฺสสนฺโต ฑีฆํ อสฺสสามีติ ฯเปฯ ฑีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ฯเปฯ อสฺสสนฺโต ฯเปฯ รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํปสฺสสามีติ ปชานาติ. นี่เป็นปฏินิเทศวาร กว้างออกไปทีเดียว กว้างนี่แหละที่แสดงไปแล้ว

    ส่วนกายที่แสดงไปแล้ว ท่านจัดออกเป็น ข้อกำหนด เป็น ปัพพะ คือเรียก อานาปานปัพพะ ข้อกำหนด ด้วยลมหายใจเข้าออก อิริยาปถปัพพะ ข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน สัมปชัญญปัพพะ ข้อกำหนดด้วยกิริยาในอิริยาบถแห่งอวัยวะ รู้อยู่เสมอ นั่นเรียกว่า สัมปชัญญปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ข้อกำหนดด้วยข้อปฏิกูลแห่งร่างกายของคนเราแห่งฟัน หนัง เนื้อ ตามบาลีว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา ทนฺตา ปฏิกูลนั้นไม่น่ารักน่าชมเลย ปฏิกูลแห่งร่างกาย นี้ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ที่ไหน ประสมกันแล้วก็เป็นร่างกาย ล้วนแต่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไป นี้เป็น ธาตุปัพพะ พอกายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์หยาบแล้วก็เน่ากันทั้งนั้น เป็นปฏิกูลอย่างนี้ ปฏิกูลนั่นเป็นข้อที่ 5 นวสีวถิกปัพพะ ข้อกำหนด ด้วยศพ 9 รูป ตายวันหนึ่ง สองวัน ท้องเขียว น้ำเลือดน้ำหนองไหล เป็นลำดับไปจนกระทั่งเหลือแต่กระดูกนั่น นี้ได้แสดงมาแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      119
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    วันนี้จะแสดง เห็นเวทนาในเวทนา สืบต่อไปว่า

    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ สามิสํ วา สุขํ เวทนํเวทิยมาโน สามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ ทุกขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ.

    อันนี้เวทนาไม่ใช่เป็นของฟังง่ายเลย เป็นของฟังยากนัก แต่ว่าท่านแสดงไว้ย่อๆ ว่า สุข เมื่อเราเสวยความสุขอยู่ ก็รู้ชัดว่าเวลานี้เสวยความสุขอยู่ เมื่อเราเสวยความทุกข์อยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์อยู่ เมื่อเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์อยู่
    เมื่อเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส
    เมื่อเสวยสุขที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความสุขที่ปราศจากอามิส เมื่อเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส
    เมื่อสวยความทุกข์ที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์ที่ปราศจากอามิส
    เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส
    เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่ปราศจากอามิส นี้เรียกว่า เวทนา รู้จักเวทนาอย่างนี้ แต่เวทนาที่จะแสดงวันนี้จะแสดง เวทนาในจิต


    คำว่า จิต นะ เป็นของจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นมันก็บังคับเราใช้มันอยู่ทุกๆ วัน ถ้าเราใช้มันไม่เป็นมันจะกลับมาข่มเหงเอาเราเข้า จิตนั่นเป็นตัวสำคัญ
    ท่านจึงได้ยืนยันตามวาระพระบาลีว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ นั่นเป็นไฉน
    อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้
    สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยราคะ
    วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ วา จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากราคะ
    สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโทสะ
    วีตโทสํ วา จิตฺตํ วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
    สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโมหะ
    วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโมหะ
    สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหดหู่ ก็ทราบชัดว่าจิตหดหู่
    วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตฟุ้งซ่าน ก็ทราบชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน
    มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตเป็นมหัคคตะ ก็ทราบชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตประกอบด้วยบุญกุศลยิ่งใหญ่ เรียกว่า มหัคคตกุศล กุศลเกิดด้วยรูปฌาน เป็นมหัคคตกุศล
    อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ประกอบด้วยมหัคคตะ ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ประกอบด้วยมหัคคตะ
    สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตยิ่งก็ทราบชัดว่าจิตยิ่ง
    อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็ทราบชัดว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่น ก็ทราบชัดว่าจิตตั้งมั่น
    อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ตั้งมั่น ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น
    วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหลุดพ้น ก็ทราบชัดว่าจิตหลุดพ้น
    อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่หลุดพ้น ก็ทราบชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น
    อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดังนี้ แหละ ภิกษุเห็นจิตในจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่
    พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อันเป็นภายนอกอยู่
    อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิต ในจิตเนืองๆ ทั้งเป็นภายในและภายนอกอยู่
    สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็น ธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นในจิตอยู่
    วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นธรรมดาซึ่งความเสื่อมไปในจิตอยู่
    สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเพียงในจิตอยู่
    อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอเข้าปรากฏว่าจิตมีอยู่
    ยาวเทว ญาณมตฺตาย เพียงสักแต่ว่ารู้
    ปติสฺสติมตฺตาย เพียงสักแต่ว่าอาศัยระลึก
    อนิสฺสิโต จ วิหรติ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิยึดถือไม่ได้
    น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ยึดถือมั่นอะไรๆ ในโลก
    เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อย่างนี้แหละ ภิกษุเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ ความเพียงเท่านี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายขยายความในเรื่องจิต จิตนั่นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร

    คำที่เรียกว่า “จิต” นั่น หนึ่งใน 4 ของใจ ดวงวิญญาณเท่าดวงตาดำข้างใน ดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นชัดอยู่อย่างนี้แล้วก็ ดวงจำ ก็โตไปอีกหน่อย อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงเห็น อยู่ในกลางกาย โตไปอีกหน่อย ดวงเห็นอยู่ข้างนอก มันซ้อนกันอยู่

    ดวงเห็นอยู่ข้างนอก ดวงจำอยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้อยู่ข้างในดวงคิด
    ดวงรู้ เท่าตาดำข้างใน นั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างใน เขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ
    เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นเขาเรียกว่า ดวงจิต หรือ ดวงคิด
    โตออกไปกว่านั้น โตออกไปกว่าดวงจิต เท่าดวงตานั่นแหละ นั่นเขาเรียกว่า ดวงใจ หรือ ดวงจำ
    โตกว่านั้นอีกหน่อย เท่ากระบอกตานั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงเห็น ดวงเห็นนั้นคือ ดวงกายทีเดียว 4 ดวงนั้นมีเท่านี้แหละ

    ดวงกาย นั่นแหละ เป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลาง อยู่ศูนย์กลางกำเนิดดวงกายนั้น อ้ายดวงใจนั่นแหละเป็นที่ตั้งของจำ ธาตุจำอยู่ศูนย์กลางดวงใจนั่นแหละ อ้ายดวงจิตนั่นแหละเป็นที่ตั้งของคิด ธาตุคิดอยู่ศูนย์กลางจิตนั่นแหละ อ้ายดวงวิญญาณเป็นที่ตั้งของรู้ ธาตุรู้อยู่ศูนย์กลางดวงวิญญาณนั่นแหละ ธาตุเห็น จำ คิด รู้ 4 ประการนั้น ธาตุเห็นเป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุจำเป็นที่อยู่ของจำ ธาตุคิดเป็นที่อยู่ของคิด ธาตุรู้เป็นที่อยู่ของรู้ เห็น จำ คิด รู้ 4 ประการ ยกแพลบเดียวโน้นไปนครศรีธรรมราช ไปแล้ว เห็นจำคิดรู้ไปแล้ว ยกไปอย่างนั้นแหละไปได้ ไปได้ ไปเสียลิบเลย ไปเสียไม่บอกใครทีเดียว ไปอยู่เสียที่นครศรีธรรมราชโน้น
    ถ้าว่าคนเขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช ไปเห็นเอากายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว อ้ายคนนี้ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนั้น แต่งเนื้อแต่งตัวเป็นอย่างนั้น
    เราคิดว่าเราส่งใจไปนี่นะ ส่งไปนครศรีธรรมราช อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช
    เห็นทีเดียว เขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ที่นี้แล้ว เราก็ยกเห็น จำ คิด รู้ ไปนี่ ไม่ได้ไปทั้งตัว นั่นแหละกายละเอียดไปแล้ว ไปยุ่งอยู่โน้นแล้ว ดูก็ได้ ลองไปดูก็ได้ พวกมีธรรมกายเขามี เขาเห็นทีเดียว อ้ายนี้มายุ่งอยู่นี่แล้ว จำหน้าจำตาจำตัวได้ เอ! ก็แปลกจริงนะ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย
    พระพุทธศาสนาเป็นของลึกซึ้งอยู่

    แต่ว่าจะส่งใจไปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามเถอะ ไปได้อย่างนี้แหละ 4 อย่างไปได้อย่างนี้ คือ เห็น จำ คิด รู้ มันหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็นกายละเอียด มันแยกกันไม่ได้ แยกไม่ได้เด็ดขาดเชียว เป็นตัวเป็นตัวตายอยู่ เหมือนกายมนุษย์นี่เราจะเอาแยกเป็นหัวใจเสีย จากหัวใจเสีย หัวใจแยกจากดวงจิตเสีย จิตแยกจากดวงวิญญาณเสียไม่ได้ ถ้าแยกไม่เป็นเลย แยกตายหมด ถ้าแยกเวลาใด มนุษย์ก็ตายเวลานั้น ถ้าไม่แยกก็เป็นอย่างนี้ เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่างนี้แยกไม่ได้ แยกก็ตายเหมือนกัน แยกเข้าอ้ายกายละเอียดนั้นตาย แยกหัวใจออกไป ดวงจำ ดวงเห็น ตาย แยกไม่ได้ หากว่ากายทิพย์ก็เหมือนกัน แยกไม่ได้ มันเป็นตัวของมันอยู่อย่างนั้นแหละ เอาแต่ตัว กายมนุษย์ละเอียด มันก็ละเอียดพอแล้ว พอเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็ยิ่งละเอียดไปกว่านั้นอีก ละเอียดพอแล้วหรือ พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก

    นี่ถ้าว่าทำธรรมกายเป็นละก้อ มันฉลาดกว่ามนุษย์หลายสิบเท่าเชียวนะ
    นี่พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็ฉลาดกว่าเท่าหนึ่งแล้ว สูงกว่าเท่าหนึ่งแล้ว เข้าถึงกายทิพย์ก็ 2 เท่าแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็ 3 เท่าแล้ว กายรูปพรหม 4 เท่า กายรูปพรหมละเอียด 5 เท่า กายอรูปพรหมหกเท่า กายอรูปพรหมละเอียดเจ็ดเท่า เข้าถึงกายธรรมและกายธรรมละเอียด 8-9 เท่าเข้าไปแล้ว มันมีความฉลาดกว่ากันอย่างนี้นะ ให้รู้จักว่าของสูงของต่ำอย่างนี้ เมื่อรู้จักอย่างนี้แล้วก้อ

    วันนี้ที่จะแสดง จิต ตำราท่านวางไว้แค่จิต เอาดวงจิตนี้เท่านั้น ดวงเห็นก็ไม่ได้เอามาพูด ดวงจำไม่ได้มาพูด ดวงรู้ไม่ได้มาพูด มาพูดแต่ดวงจิตดวงเดียว ที่เราแปลจิต ถ้าเราเอามาใส่ปนกันกับเรื่องจิตก็ป่นปี้หมด เพราะจิตมีหน้าที่คิดอย่างเดียวเท่านั้นแหละ ดวงรู้ก็มีหน้าที่รู้อย่างเดียว ไม่มีหน้าที่คิด ดวงจิตก็มีหน้าที่คิดอย่างเดียว ดวงจำก็มีหน้าที่จำอย่างเดียว ดวงเห็นก็มีหน้าที่เห็นอย่างเดียว จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้ แต่ว่า ถ้าไม่รู้หลักความจริงแน่นอนอย่างนี้ละก็ ท่านก็แปลเอาดวงจิตไปรวมเข้ากับรู้เสียว่า รู้ก็คือจิตนั่นแหละ วิจิตฺตารมฺมณํ ดวงจิตวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ นี่วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ อย่างนี้ ดวงจิตนั่นอีกนัยหนึ่ง
    อารมฺมณํ วิชานาตีติ จิตฺตํ จิตรู้ซึ่งอารมณ์ จิตรู้เสียอีกแล้ว เอาละซี เอาวิญญาณไปไว้ที่ไหนแล้ว

    ไม่พูดดวงวิญญาณเสียอีกแล้ว พูดเป็นรู้เสียแล้ว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เพราะฉะนั้น คำว่า จิต นี่แหละ
    เป็นดวงใสเท่าดวงตาดำข้างนอก ใสเกินใส ปกติมโน ใจเป็นปกติ คือ ภวังคจิต จิตที่เป็นภวังคจิตน่ะ ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใส ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใสนะ
    จิตที่ใสนั่นแหละ เมื่อระคนด้วยราคะเหมือนยังกับน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว มันก็ปนเป็นนะซี นี่เป็นอย่างนั้นนา เมื่อจิตระคนด้วยราคะเหมือนน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว จิตระคนด้วยโทสะเล่า เหมือนยังกับน้ำเขียวน้ำดำเข้าไปปน น้ำเขียวเข้าไปปนระคนเสียแล้ว จิตระคนด้วยโมหะเหมือนน้ำตมเข้าไประคนเสียแล้ว ไอ้จิตใสนะมันก็ลางไป ก็รู้นะซี

    สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยราคะ จิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จิตหดหู่ที่ใสน่ะ หดหู่ไป ผู้สร้างพอรู้ว่าผู้สร้างเป็นอติวิสัย ไม่คงที่เสียแล้ว ผู้สร้างก็รู้ว่าผู้สร้าง จิตประกอบด้วยกุศลที่ระคนด้วยญาณ เป็นมหัคคตจิต จิตไม่ประกอบด้วยกุศลก็เห็น จิตประกอบด้วยกุศลก็เห็นชัดๆ ดังนี้

    สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่นใสมั่นดิ่งลงไปก็เห็นชัดๆ ดังนี้ รู้ชัดๆ อย่างนี้ จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตพ้น ใสพ้นจากเครื่องกิเลส ก็รู้ว่าพ้น ไม่พ้นก็รู้ว่าไม่พ้น เห็นชัดๆ อย่างนี้ เมื่อเห็น ชัดเข้าดังนี้ละก็
    อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ภายในน่ะคือจิตกายละเอียดเห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตเป็นภายนอกนี้ จิตของกายมนุษย์ เห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิต ทั้งภายในภายนอก เห็นเป็นรูปจิต เป็นจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นทั้ง 2 ทีเดียว เห็นทั้งภายในและภายนอก เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความเสื่อมไป ความเกิดขึ้นของจิต เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความดับไปของจิต คือความดับไปในจิต เมื่อเห็นเนืองๆ เป็นธรรมดา ทั้งเกิดขึ้นทั้งความดับไป เมื่อเห็นชัดดังนี้ละก็

    อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอเข้าไปปรากฏว่าจิตมีอยู่ เห็นจิตแล้ว เมื่อจิตมีสติของเธอ ปรากฏว่าจิตมีอยู่ เพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยความระลึก อันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัยไม่ได้เลย
    น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ถือมั่นอะไรเลยในโลก รู้ว่าปล่อยวางแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ติด ไม่แตะ ไม่อะไรแล้ว ให้รู้ชัดๆ เห็นชัดๆ อย่างนี้ อย่างนี้แหละเรียกว่าภิกษุทั้งหลาย เห็นในจิต เนืองๆ อยู่ด้วยประการดังนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เพราะได้ยินเสียงระฆังหง่างๆ อยู่แล้ว
    เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อธิบายอ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้
    สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพได้ชี้แจงแสดงมาตามสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้
    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
  9. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต





    ๒. ธาตุสูตร
    [๒๒๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้
    พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ รูปธาตุ ๑ อรูปธาตุ ๑
    นิโรธธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓ อย่างนี้แล ฯ


    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาค
    ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

    ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุแล้ว ไม่ดำรงอยู่ในอรูปธาตุ
    น้อมไปใน
    นิโรธ ชนเหล่านั้นเป็นผู้ละมัจจุเสียได้ พระสัมมา-
    สัมพุทธเจ้าผู้หาอาสวะมิได้ ถูกต้อง
    อมตธาตุอันหาอุปธิมิได้
    ด้วย
    นามกาย แล้วกระทำให้แจ้งซึ่งการสละคืนอุปธิ ย่อม
    แสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
    มาแล้ว ฉะนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๒
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๕๔๑๘ - ๕๔๓๒. หน้าที่ ๒๓๘ - ๒๓๙.
    <!-- m -->http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... agebreak=0<!-- m -->

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก</BIG> <CENTER class=D>สโมธานกถา</CENTER></CENTER>
    หน้าต่างที่ ๒ / ๗.


    อีกอย่างหนึ่ง บารมีย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตนด้วยการประกอบคุณวิเศษ.
    หรือบารมีย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทินคือกิเลส.
    หรือบารมีย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ.
    หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่นดุจรู้โลกนี้ด้วยคุณวิเศษคือญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว.
    หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง.
    หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจากธรรมกาย อันเป็นอัตตา
    หรือหมู่โจรคือกิเลสอันทำความพินาศแก่ตนนั้น เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าปรมะ.









    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=244
     

แชร์หน้านี้

Loading...