มหายานธรรม สาคร-นาคราช-ปริปฺฤจฉา-สูตร

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย b_odhinanda, 18 มีนาคม 2010.

  1. b_odhinanda

    b_odhinanda สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +6
    ปกรณ์ที่ ๕๙๙ สาคร-นาคราช-ปริปฺฤจฉา-สูตร.<O:p</O:p
    นายศุภโชค ตีรถะ แปล-เรียบเรียง<O:p</O:p

    [บทนำ]<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    พระสูตรนี้มีชื่อเต็มว่า อารฺยสาครนาคราชปริปฺฤจฺฉานาม มหายานสูตฺรํ พระพุทธองค์ทรงแสดงถึงสิ่งที่ควรระลึกถึงอยู่เสมอ ๆ เพื่อจะได้เกิดความผาสุกแก่มวลมนุษยชาติ คือความไม่เที่ยงแท้ของสิ่งต่าง ๆ สิ่งที่อยู่รอบตัวเรานั้นมีแต่ความทุกข์และไม่มีสิ่งใดที่เราจะยึดถือได้อย่างจริงแท้เพราะมันไม่ใช่ของ ๆ เรา อนึ่งทรงสอนให้พิจารณาพระนิพพาน พระอาจารย์อี้จิงได้แปลเอาความหมายนิพพานว่าความสงบระงับซึ่งตรงกับฝ่ายพระไตรปิฎกบาลี ในตอนท้ายได้ใช้ชื่อพระสูตรว่า จตุรบทธรรมมุทราสูตร (สันสกฤตใช้จตุรฺธรฺโมทฺทานสูตฺรมฺ)ซึ่งหมายถึงการระลึกถึงสิ่งที่พระองค์ได้สอนไปแล้วนี้ เป็นเครื่องหมายเตือนใจแก่เราทั้งหลายอันมี ๔ ประการ ต้นฉบับคัมภีร์นี้ได้มีการรวบรวมโดยSamten, Geshe Nawang and Pandey, Dr.Janardan เป็นบรรณาธิการ ตีพิมพ์ในDhih Journal No.34พิมพ์เผยแพร่โดยศูนย์กลางการศึกษาธิเบตชั้นสูง(Sarnath: Central Institute of Higher Tibetan Studies)ในปี ๒๐๐๒ ในประเทศจีนนั้นมีการแปลในราวค.ศ. ๗๑๑ โดยพระอี้จิงของราชวงศ์ถังราวค.ศ. ๖๑๘-๙๐๗ ชื่อว่า 佛為海龍王說法印經FoWeiHaiLongWangShuoFaYinJing ฝอเว่ยห่ายหลงหวางซัวฝ่าอิ่งจิงอยู่ในพระไตรปิฏกเล่มที่ ๑๕ หมวดชุมนุมพระสูตร จัดเป็นพระสูตรขนาดเล็ก ในฉบับสันสกฤตที่ได้รับการเทียบเคียงจากทิเบตที่นำมาลงไว้ ณ ที่นี้แตกต่างกันกับภาษาจีนบ้างในส่วนที่ไม่สำคัญเช่นจำนวนของบุคคลที่ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้น แต่โดยใจความแล้วเสมอเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนแม้แต่น้อย ขอท่านผู้ศึกษาทั้งหลายจงเจริญในธรรมที่พระชินเจ้าตรัสไว้ดีแล้วเถิด.<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ......................................................<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    佛為海龍王說法印經
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    大唐三藏法師義淨奉 詔譯
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    如是我聞。一時薄伽梵。在海龍王宮。與大苾芻眾千二百五十人俱。并與眾多菩薩摩訶薩俱。
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่งองค์พระภควันต์ทรงประทับอยู่ในพระราชวังของสาครนาคราช พร้อมทั้งพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่พันสองร้อยห้าสิบรูป พร้อมพรั่งด้วยเหล่าพระโพธิสัตว์มหาสัตว์มากหลาย

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    爾時娑竭羅龍王。即從座起。前禮佛足白言。世尊。頗有受持少法得福多不。
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    บัดนั้นท้าวสาครนาคราชลุกขึ้นจากที่ประทับ เพื่อไปถวายสักการะพระพุทธบาทอยู่เบื้องหน้าแล้วจึงทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีภค การปฏิบัติรับถือธรรมเพียงเล็กน้อยแต่ได้รับบุญกุศลมากนั้นมีอยู่หรือไม่ พระเจ้าข้า"


    <O:p</O:p<O:p</O:p

    佛告海龍王。有四殊勝法。若有受持讀誦解了其義。用功雖少獲福甚多。即與讀誦八萬四千法藏。功德無異。
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระพุทธองค์ทรงตรัสต่อท้าวสาครนาคราชว่า ธรรมอันประเสริญเลิศค่านั้นมี ๔ ประการ หากมีการปฏิบัติรับถือสวดสาธยายเข้าใจแจ่มแจ้งในอรรถะ(เนื้อความ)ของธรรมนั้น มุ่งพากเพียรแม้เพียงน้อยนิดก็ตามย่อมได้รับบุญคือความผาสุกเป็นอันมากยิ่งนัก ก็เมื่อใดได้สวดสาธยายพร้อมทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ กุศลผลบุญย่อมไม่แตกต่างกันเลย
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    云何為四。所謂念誦。諸行無常。一切皆苦。諸法無我。寂滅為樂。龍王當知。是謂四殊勝法。菩薩摩訶薩無盡法智。早證無生。速至圓寂。是故汝等常應念誦。
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทั้ง ๔ ประการนั้นเป็นอย่างไร กล่าวคือสวดสาธยายระลึกถึงสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงแท้แน่นอน ๑ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนแต่เป็นทุกข์ ๑ ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน ๑ นิรวาณคือความสงบระงับนั้นเป็นสุข ๑ ดูก่อนนาคราชพึงรู้เถิดว่าสิ่งนี้กล่าวคือธรรมอันประเสริญเลิศค่า ๔ ประการนี้ ยังให้พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ประกอบด้วยธรรมปัญญาอันไม่มีความสูญสิ้น ตรัสรู้ซึ่งความไม่เกิดโดยเร็ว บริบูรณ์ด้วยสันติภาพโดยฉับพลัน ดังนั้นแล้วท่านทั้งหลายต้องสวดสาธยายระลึกถึงอยู่อย่างสม่ำเสมอ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    爾時世尊。說是四句法印經時。彼諸聲聞。大菩薩眾。及天龍八部。阿蘇羅揵達婆等。聞佛所說。皆大歡喜。信受奉行

    <O:p</O:p
    ปางเมื่อองค์พระภควันต์แสดงจตุรบทธรรมมุทราสูตรนี้ เวลานั้นเหล่าพระสาวกทั้งปวง หมู่คณะแห่งมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ตลอจจนเทวะนาคาเหล่าสัตว์ทั้ง ๘ จำพวก มีอสูร คนธรรพ์เป็นต้น ครั้นเมื่อได้สดับพุทธภาษิตนี้แล้วล้วนแต่เกิดความเพลิดเพลินยินดียิ่งนัก ศรัทธารับถือปฏิบัติสืบไป.
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ฉบับสันสกฤต.
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จตุรฺธรฺโมทฺทานสูตฺรมฺ<O:p</O:p
    (ข)สํสฺกฺฤเต ปุนรุทฺธฺฤตมฺ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ภารตียภาษายามฺ-อารฺยสาครนาคราชปริปฺฤจฺฉา นาม มหายานสูตฺรมฺ |<O:p</O:p
    โภฏภาษายามฺ-ผคฺ-ปา-กฺลุ-ยิ-คฺยล-โป-คฺย-โฉสฺ-ยุสฺปา-เยสฺ-ชา-วา-เถกฺ-ปา-เฉนฺ-โป-มฺโท |<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นมะ สรฺวพุทฺธโพธิสตฺตฺเวภฺยะ |<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เอวํ มยา ศฺรุตมฺ | เอกสฺมินฺ สมเย ภควานฺ พุทฺธะ สาครนาคราชาวสเถ วิหรติ สฺม สารฺทฺธํ สารฺธทฺวาทศศตภิกฺษุณำ มหาสํเฆน พหุภิศฺจ โพธิสตฺตฺวมหาสตฺตฺไวะ |ตสฺมินฺ สมเย ภควานฺ พุทฺธะ สาครนาคราชมโวจตฺ-นาคาธิปเต, จตุรฺณำ ธรฺโมทฺทานานามภิธาเน ตทภิธาเนน จตุรศีติธรฺมสฺกนฺธสหสฺราณามภิธานมฺ กฺฤตํ ภควติ | กตมานิ จตฺวาริ ? ตถาหิ-<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สรฺเวษำ สํสฺการาณำ อนิตฺยตายำ โพธิสตฺตฺวานํ มหาสตฺตฺวานำ นิรฺทิษฺฏมกฺษยชฺญานํ ปฺรวรฺตเต | สรฺเวษำ สาสฺรวาณำ ธรฺมาณำ ทุะขตายำ โพธิสตฺตฺวานํ มหาสตฺตฺวานำ รฺนิรฺทิษฺฏมกฺษยชฺญานํ ปฺรวรฺตเต | สรฺเวษำ ธรฺมาณำ อนาตฺมตายำ โพธิสตฺตฺวานำ มหาสตฺตฺวานำ นิรฺทิษฺฏมกฺษยชฺญานำ ปฺรวรฺตเต | นิรฺวาณสฺย ศานฺตตายำ โพธิสตฺตฺไวรฺมหาสตฺตฺไวรฺนิรฺทิษฺฏมกฺษยชฺญานํ ปฺรวรฺตเต |<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นาคาธิปเต, เอเตษำ จตุรฺณำ ธรฺโมทฺทานานามภิธาเน กฺริยมาเณ ตทภิธาเนน จตุรศีติธรฺมสฺกนฺธสหสฺราณามภิธานํ กฺฤตํ ภวติ |<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อิทมโวจตฺ ภควานฺ | อาตฺตมนโส ภิกฺษวะ สรฺเว จ โพธิสตฺตฺวา ภควโต ภาษิตมภฺยนนฺทนฺนิติ|<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ||อารฺยสาครนาคราชปริปฺฤจฺฉานาม มหายานสูตฺรํ สมาปฺตมฺ||<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ภารตีโยปาธฺยาเยน สุเรนฺทฺรโพธินา มหาโลจาวา-วนฺเทชฺญานเสเนนเสเนน เจทมนูทิตํ วฺยวสฺถาปิตํ จ |<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ||ภวตุ สรฺมํคลมฺ||<O:p</O:p
     
  2. linake119

    linake119 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +578
    อนุโมทนาครับ
    เป็นพระสูตรฉบับย่อที่ดีมากๆ ย่นย่อพระธรรมให้เข้าใจอย่างง่ายๆ และปฏิบัติง่าย
     

แชร์หน้านี้

Loading...