มหาปุริสวิตก ๘ ประการ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 17 มีนาคม 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=fbaOisgOD0s]สนทนาธรรมค่ำวันเสาร์_10Mar2012 - YouTube[/ame]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปุริสวิตก ๘ ประการ แก่เธอทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงทำในใจให้ดี เราจักกล่าว
    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็มหาปุริสวิตก ๘ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย
    มิใช่ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ๑
    ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ๑
    ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑
    ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ๑
    ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืม ๑
    ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑
    ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม ๑
    ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
    ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้มีความปรารถนาน้อย มิใช่ธรรมของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สันโดษเป็นผู้สงัดย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้สงัด เป็นผู้ปรารภความเพียรย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติตั้งมั่นย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มีจิตมั่นคงย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตมั่นคง เป็นผู้มีปัญญาย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้มีปัญญา ผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนทั้งหลายพึงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีความปรารถนามาก ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้เป็นของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้ ข้อที่เรากล่าวว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของบุคคลผู้ไม่สันโดษ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจ
    การคลุกคลีด้วยหมู่คณะ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลายพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสกอุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชาเดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ เข้าไปหาภิกษุนั้น ภิกษุมีจิตน้อมไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะย่อมกล่าวกถาอันปฏิสังยุตด้วยถ้อยคำตามสมควร ในสมาคมนั้นโดยแท้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายธรรมนี้ของบุคคลผู้สงัด มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของ
    บุคคลผู้เกียจคร้าน เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคงไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกนึกถึงกิจที่ทำคำที่พูดแม้นานได้ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของบุคคลผู้มีสติหลงลืม ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงฌานที่หนึ่ง ...เข้าถึง ฌานที่สอง ...ย่อมเข้าถึง ฌานที่สาม ...ย่อมเข้าถึง ฌานที่สี่ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีจิตมั่นคง มิใช่ของบุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง ดังนี้เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทราม เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญาประกอบด้วยปัญญาเครื่องให้ถึงสัจจะแห่งการเกิดดับ เป็นเครื่องไปจากข้าศึก เป็นเครื่องเจาะแทงกิเลส เป็นเครื่องถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ
    ข้อที่เรากล่าวว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของบุคคลผู้มีปัญญาทรามดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่นอยู่ในความดับกิเลสเป็นเครื่องเนิ่นช้า ย่อมหลุดพ้น ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าผู้ยินดีในธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า มิใช่ของบุคคลผู้ชอบใจในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๑๗๖/๓๗๙หัวข้อที่ ๑๒๐
     

แชร์หน้านี้

Loading...