มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 13 มกราคม 2008.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"><tbody><tr><td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">23 ธันวาคม 2547 17:16 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> การฝึกฝนอบรมจิตแบบมาตรฐานที่มุ่งความหลุดพ้นจากทุกข์สิ้นเชิง หรือเพื่อถึงซึ่งวิมุตตะมิติด้วยปัญญา หรือที่เรียกว่าปัญญาวิมุตินั้น เป็นแบบมาตรฐานทั่วไปที่เหมาะสำหรับคนทั่วไป และไม่มีความยุ่งยากมากเรื่อง เป็นแบบการฝึกฝนอบรมจิตหรือเป็นวิธีปฏิบัติที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสรรเสริญมาก

    แต่ทว่าคนเรานั้นเปรียบได้ดังบัวสี่เหล่า มีหลายจำพวก มีความถนัดและอัชฌาสัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีแบบฝึกฝนอบรมมากมายหลายแบบเพิ่มขึ้นเพื่อให้เหมาะสมและพอเพียงแก่เหล่าเวไนยสัตว์ที่มีอัชฌาสัยต่าง ๆ กันนั้น

    ในบรรดาแบบฝึกฝนอบรมจิตแบบพิสดารซึ่งมีมากมายหลายแบบนั้น จะมีความแตกต่างกับแบบมาตรฐานในขั้นตอนของการทำให้กายสังขารสงบรำงับ ทำให้จิตมีความตั้งมั่น ส่วนขั้นตอนจากนี้ไปจะคล้ายคลึงกัน คือมุ่งเอาจิตเป็นที่ตั้งในการฝึกฝนอบรม

    แต่การฝึกฝนอบรมจิตนั้นมีเป้าหมายที่ต่างกันคือแบบมาตรฐานมุ่งการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะปัญญาเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงส์คือกำลังอำนาจของจิตได้ถูก อบรมบ่มเพาะให้มีพละกำลังแกล้วกล้าตามไปด้วย ส่วนการฝึกฝนอบรมจิตแบบพิสดารนี้มุ่งการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะกำลังอำนาจของจิตเป็นหลัก โดยได้รับอานิสงส์คือกำลังปัญญาก็ได้ถูกอบรมบ่มเพาะให้แกล้วกล้าคมกริบตามไปด้วย

    ก่อนจะแสดงความเป็นลำดับไป จำจะต้องทำความเข้าใจในเรื่องกายสามชนิด ที่เป็นเครื่องตั้งต้น ดำเนินไป และเป็นเป้าหมายของการฝึกฝนอบรมแบบพิสดารนี้ กายสามชนิดนี้เป็นไฉน?

    ชนิดแรกคือรูปกาย อันได้แก่ร่างกายเนื้อที่ยาววาหนาคืบนี้ และมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นทวารในการรับรู้สัมผัสสิ่งทั้งปวง เป็นกายหยาบที่เห็นง่าย รู้ง่าย และศึกษาได้ง่าย

    ชนิดที่สองคือนามกาย อันได้แก่กายชั้นในหรือจิต ซึ่งประกอบด้วยองค์ห้าประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

    อันรูปกายนั้นจะรับรู้สัมผัสและกระทำการใด ๆ ได้ก็เพราะมีกายภายในอีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่านามกายเป็นตัวกำหนด ซึ่งกำหนดการกระทำทั้งเชิงลบ เชิงบวก หรือกลาง ๆ ได้ตามระดับของศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ที่เป็นอยู่

    จะคิดดี คิดชั่ว เป็นสุขทุกข์ประการใด หรือมีความเป็นกลาง ๆ อย่างใดก็ล้วนเป็นผลจากการก่อกำหนดขึ้นจากกายภายในหรือนามกาย ส่งผลออกเป็นการกระทำโดยรูปกาย

    ความคิดอยากมี อยากเป็น อยากได้ใคร่กำหนัด หรือไม่อยากมี ไม่อยากเป็น หรืออยากเฉย ๆ ก็ล้วนเป็นผลจากการก่อกำหนดขึ้นจากกายภายใน หรือนามกาย ส่งผลออกเป็นการกระทำโดยรูปกาย

    ทำดี ทำชั่ว หรืออย่างกลาง ๆ ก็ล้วนเป็นผลจากการก่อกำหนดขึ้นของกายภายในหรือนามกาย ส่งผลออกเป็นการกระทำโดยรูปกาย

    นามกายหรือกายชั้นในหรือกายภายในเป็นองค์ประกอบหรือเป็นอาการทำหน้าที่ของจิต เหตุนี้จิตจึงยังคงเป็นตัวตั้ง เป็นศูนย์กลาง และเป็นใหญ่กว่าสิ่งทั้งปวง ดังนั้นพระบรมศาสดาจึงทรงตรัสว่าจิตเป็นประธาน รูปกายเป็นเพียงตัวแสดงออกหรือลูกไม้ลูกมือของจิตเท่านั้น

    ในชั้นนี้พึงตั้งความสังเกตว่านามกายหรือกายชั้นในนั้นทุกคนก็มีอยู่แล้วตามธรรมดา ตามธรรมชาติ ทำหน้าที่อยู่แล้วตามธรรมดา ธรรมชาติ เป็นแต่ขีดขั้นความสามารถและคุณสมบัติที่มีอยู่ยังบางเบา ไร้พละกำลัง และอาจมีคุณสมบัติเป็นเชิงลบหรือเป็นกลาง ๆ อีกด้วย

    ชนิดที่สามคือธรรมกาย อันได้แก่สภาวะของจิตที่บรรลุถึงวิมุตตะมิติแล้ว ดับทุกข์สิ้นเชิงแล้ว มีกำลังปัญญาและกำลังจิตเต็มเปี่ยมบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ถึงที่สุด หรือนัยหนึ่งก็คือเมื่อจิตถึงสภาวะธรรมที่เป็นธรรมชาติขั้นสูงสุด ดังนั้นพระบรมศาสดาจึงตรัสว่าคำว่า “ธรรมกาย” นั้นคือตถาคต หรือคำเรียกตถาคต หรือเป็นคุณสมบัติของตถาคต

    การฝึกฝนอบรมจิตแบบพิสดารก็คือการฝึกฝนอบรมจากรูปกายเพื่อให้ส่งผลต่อนามกาย และมุ่งทำให้นามกายก่อตัวมีความเข้มแข็งสมบูรณ์เป็นลำดับไป จนเป็นทิพยกายหรือกายทิพย์ จากนั้นจึงมุ่งฝึกฝนอบรมเพื่อบ่มเพาะจิตซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือเป็นที่ตั้งของทิพยกายให้มีขีดความสามารถข้ามพรมแดนจากโลกียะมิติสู่วิมุตตะมิติ

    แบบวิธีการฝึกฝนอบรมจิตที่ยอมรับกันทั่วไปเรียกว่ากัมมัฏฐานวิธีหรือวิธีปฏิบัติกัมมัฏฐาน มีการประมวลรวบรวมว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 38 วิธี ประกอบด้วย

    (1) กสิณ 10 วิธี
    (2) อสุภสัญญา 10 วิธี
    (3) อนุสติ 10 วิธี
    (4) อัปมัญญา 4 วิธี
    (5) จตุธาตุวัฏฐาน 1 วิธี
    (6) อาหาเรปฏิกูล 1 วิธี
    (7) อากิญจัญญายตนะ 1 วิธี
    (8) เนวสัญญานาสัญญายตนะ 1 วิธี

    แม้ว่าในบางที่บางสำนักจะกล่าวว่ากัมมัฏฐานวิธีมี 40 วิธี แต่ที่สุดแล้วก็เป็นเพียงการจำแนกแยกย่อยออกไปจากบางวิธี ดังนั้นในที่นี้จึงกล่าวรวมลงเป็น 38 วิธี เพื่อไม่ให้เฝือเฟ้อจนเกินการ และเป็นไปดังที่มีกล่าวกำหนดมาแต่ก่อน

    ดังนั้นเวไนยสัตว์ทั้งหลายที่มีอัชฌาสัยต่างกันจึงสามารถเลือกแบบวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องชอบพอต้องด้วยอัชฌาสัยของตนได้ตามความพอใจ และตามที่เห็นว่าจะได้ผลเร็ว ได้ผลดี

    ก็เช่นเดียวกับการที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งมีแบบเสื้อมากมายหลายชนิด มีขนาดแตกต่างกันหลายขนาด ก็เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับอัชฌาสัยและขนาดของแต่ละคน ทั้ง ๆ ที่เนื้อแท้แล้วก็ล้วนเป็นเสื้อเหมือนกัน อุปมาฉันใดก็อุปไมยฉันนั้น

    ขอตั้งข้อสังเกตไว้ในชั้นนี้ว่า ในจำนวนกัมมัฏฐานวิธี 38 ชนิดหรือ 38 แบบนั้น ได้รวมเอาแบบมาตรฐานเอาไว้ด้วย คือแบบวิธีอานาปานสติ สติปัฏฐาน ซึ่งเป็นแบบวิธีการฝึกฝนอบรมแบบมาตรฐานดังที่ได้แสดงมาในตอนก่อน ๆ แล้ว และยังได้กล่าวถึงแบบกายคตาสติซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นแบบวิธีการฝึกฝนอบรมแบบมาตรฐาน แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นแบบการฝึกฝนอบรมแบบพิสดาร และส่วนใหญ่ในส่วนนี้นั้นก็ค่อนข้างจะซ้ำกับแบบวิธีอสุภสัญญา 10 ดังนั้นในภาคนี้จะเว้นไม่กล่าวถึงส่วนที่ซ้ำกันและคงแสดงเฉพาะส่วนที่ไม่ซ้ำกันเท่านั้น

    เนื่องจากการแสดงเรื่องมหัศจรรย์แห่งโลกภายในได้มุ่งหมายเอาเชิงปฏิบัติเป็นหลักยิ่งกว่าเชิงปริยัติ แต่ก็จำต้องแสดงถึงเชิงปริยัติเพียงเท่าที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องกันหรือเพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือเพื่อการรับรู้ถึงหนทางหรือแนวทางอันจะนำไปใช้ในการฝึกฝนอบรมจริง รวมทั้งการปฏิเวธ คือการรับรู้ ตรวจสอบผลการปฏิบัติจริงว่าถูกต้องตรงกันกับที่พระบรมศาสดาได้ทรงชี้ ทรงสอน ทรงกำหนดไว้หรือไม่

    ยกเว้นแบบวิธีมาตรฐานซึ่งถูกรวมไว้ในกัมมัฏฐานวิธี 38 ชนิด หรือ 38 วิธี แล้ว อาจจำแนกกัมมัฏฐานวิธีออกเป็นประเภทเพื่อให้ง่ายต่อการรับรู้ เข้าใจ และนำไปสู่การปฏิบัติดังต่อไปนี้

    กัมมัฏฐานวิธีอาจจำแนกได้เป็น 5 ประเภท คือ

    ประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ประเภทที่ใช้วัตถุหรือสิ่งภายนอกเป็นอุปกรณ์เครื่องมือ ในการฝึกฝน ได้แก่กสิณ 4 ชนิด คือ ปฐวีกสิณ อาโปกสิณ เตโชกสิณ และวาโยกสิณ และอสุภสัญญา 10 ชนิด รวมทั้งอาหาเรปฏิกูลอีก 1 ชนิด

    ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้มีอัชฌาสัยเดิมติดยึดอยู่กับสิ่งภายนอก ได้แก่ ผู้ที่เคยติดยึดหรือเลื่อมใสหรือมีอัชฌาสัยชอบใจในการเพ่งดิน หรือบูชาภูเขา จอมปลวก หรือสิ่งของจำพวกดินพวกหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้เคยติดยึดหรือเลื่อมใสหรือมีอัชฌาสัยชอบใจในน้ำ หรือการบูชาแม่น้ำ หรือลำธาร หรือน้ำฝนพวกหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้เคยติดยึดหรือเคยเลื่อมใสหรือมีอัชฌาสัยชอบใจในลม หรือวายุ หรือพายุ หรือเทพแห่งพายุ หรือวายุเทพพวกหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่เคยติดยึดหรือเคยเลื่อมใสหรือมีอัชฌาสัยชอบใจในไฟ หรือบูชาไฟ หรือบูชาพระอัคนีหรือเทพแห่งไฟพวกหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่มีความกำหนัดมาก มีความติดยึดในเนื้อหนังมังสา ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสมากผิดปกติ ยากที่จะละวางพวกหนึ่ง เหมาะสำหรับผู้ที่ติดยึดพึงใจในอาหารการกิน หรือสิ่งที่เป็นกามสุขขัลลิกานุโยคจำพวกหนึ่ง

    ประเภทที่สอง ได้แก่ประเภทที่ใช้สีทั้งภายนอกหรือสีที่เป็นสัญญาจำได้หมายรู้เป็นเครื่องมือในการฝึกฝนอบรม ได้แก่แบบวิธีนีลกสิณ ปิตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ

    ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ติดยึดในสีทั้งสีที่มีอยู่ภายนอกและสีที่อยู่ในความทรงจำได้หมายรู้

    ประเภทที่สาม ได้แก่ประเภทที่ใช้แสงทั้งภายนอกและภายในเป็นเครื่องมือในการฝึกอบรม ได้แก่อาโลกกสิณ

    ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ติดยึดหรือมีอัชฌาสัยชอบใจหรือพอใจในแสง

    ประเภทที่สี่ ได้แก่ประเภทที่ใช้ความว่างหรือช่องว่างทั้งที่แยกออกเป็นส่วนหนึ่งจากรูป และทั้งที่แยกไม่ออกเป็นอีกส่วนหนึ่งจากรูป ได้แก่ปริจฉินนากาสกสิณเป็นเครื่องมือในการฝึกฝนอบรม

    ประเภทนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ติดยึดหรือมีอัชฌาสัยชอบโดดเดี่ยว ชอบความว่าง ชอบช่องว่าง หรือสิ่งที่ว่างเปล่าอยู่ตรงกลางระหว่างสิ่งอื่น

    ประเภทที่ห้า ได้แก่ประเภทที่อาศัยจิตเป็นตัวฝึกอบรม คือฝึกฝนอบรมที่จิตโดยตรง ได้แก่ วิญญานกสิณ อนุสติ อัปมัญญา 4 จตุธาตุวัฏฐาน และอากิญจัญญายตนะ และ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    ประเภทนี้เหมาะสำหรับเวไนยสัตว์ที่มีภูมิธรรมสูง มีจิตใจละเอียดประณีตสักหน่อยหนึ่ง คือคุ้นเคยกับการฝึกฝนอบรมจิตหรือมีอัชฌาสัยชอบในการฝึกฝนอบรมที่จิตโดยตรง

    ทั้งหมดนี้แสดงมาเพื่อรู้ไว้ใช่ว่า และเผื่อการเลือกใช้ให้เหมาะกับอัชฌาสัยของแต่ละคน โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องไปทำความเข้าใจหรือไปเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับอัชฌาสัยของตนให้เสียเวลาเปล่า ๆ ขออย่าได้มุ่งเอาส่วนเกินมาเป็นเครื่องรกรุงรังเลย.

    ***********
    หมายเหตุ (แนบท้ายบทความตอนที่ 28 ตีพิมพ์ในวันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม 2547)
    เรื่องมหัศจรรย์แห่งโลกภายในหรือวิมุตตะมิตินี้ได้เขียนเป็นลำดับเรื่อยมา แต่ไม่ได้กำหนดเค้าโครงที่ชัดเจน บัดนี้ได้กำหนดเค้าโครงในการเขียนแล้วเป็นสามภาค คือภาคแรกตั้งแต่ตอนที่ 1-27 เป็นเรื่องของปัญญาวิมุตหรือการหลุดพ้นหรือถึงซึ่งโลกภายในโดยวิถีทางการอบรมปัญญา ภาคที่สองเป็นเรื่องของเจโตวิมุตหรือการหลุดพ้นหรือถึงซึ่งโลกภายในโดยวิถีทางอบรมกำลังอำนาจของจิต จะเริ่มตั้งแต่ตอนที่ 28 เป็นต้นไปแต่ยังไม่รู้ว่าจะมีสักกี่ตอน เพราะจะเขียนไปเรื่อย ๆ ส่วนภาคที่สามเป็นเรื่องของอิทธิ ปาฏิหาริย์ และวิชชาในพระพุทธศาสนา ซึ่งไม่รู้ว่าจะมีสักกี่ตอนเหมือนกัน ขอเพื่อนชาวพุทธได้ร่วมกันอนุโมทนาเพื่อเป็นกำลังกาย กำลังใจ และกำลังปัญญาในการทำหน้าที่เพื่อเพื่อนชาวพุทธจนกว่าการจะสำเร็จ.

    http://www.manager.co.th
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">6 มกราคม 2548 18:06 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> โดยที่การฝึกฝนอบรมแบบเจโตวิมุตมีแบบวิธีถึง 38 วิธี หรือ 38 ชนิด รวมทั้งยังมีอานิสงส์ข้างทางเป็นสิ่งมหัศจรรย์แห่งโลกภายในที่น่าพิศวงและมหัศจรรย์ที่สุด ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจกรอบกว้าง ๆ เสียชั้นหนึ่งก่อนว่าจะทำความเข้าใจกันในเรื่องใดบ้าง เรื่องใดที่ต้องทำความเข้าใจเฉพาะและเป็นการปฏิบัติเฉพาะ เรื่องใดเป็นเรื่องที่ร่วมกันอยู่ รวมทั้งอานิสงส์หรือสามัญผลที่จะบังเกิดขึ้นตามปกติ ตามธรรมชาติ

    ไม่ว่าคนในเพศวัยชั้นวรรณะหรือศาสนาไหนก็อาจฝึกฝนอบรมและได้รับผล อย่างเดียวกัน ขอแต่เพียงศึกษา รู้และปฏิบัติให้ถูกตรงในสิ่งอันเป็นธรรมดา ธรรมชาติ ที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนไว้เท่านั้นก็จะได้รับผลจริงด้วยตนเอง ไม่ว่าในกาลไหน ๆ เพราะพระธรรมนั้นไม่ได้จำแนกเหล่าสัตว์ที่ชั้นวรรณะหรือศาสนา ซึ่งเป็นเรื่องที่มนุษย์ตั้งสมมติกำหนดขึ้นเอง ในขณะที่ธรรมชาติและความเป็นธรรมดาของธรรมชาตินั้นย่อมเป็นอยู่ตามธรรมดาธรรมชาตินั้นเสมอ

    การฝึกฝนอบรมตามกัมมัฏฐานวิธีทั้ง 38 ชนิดนั้นจะมีข้อแตกต่างกันบ้างก็เฉพาะในเบื้องต้น ตามแต่อัชฌาสัยของแต่ละคนที่จะพึงพอใจและเหมาะสมกับแบบวิธีใด แต่เมื่อฝึกฝนอบรมมาถึงขั้นหนึ่งคือการอบรมบ่มเพาะพลังของจิตจนสามารถกำหนดเป็นอุคหนิมิตได้แล้วก็จะมีวิธีปฏิบัติในการฝึกอบรมเป็นอย่างเดียวกัน และไปสู่ที่หมายปลายทางเดียวกันคือวิมุตตะมิติ

    อุปมาเหมือนดั่งน้ำทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบึง น้ำหนอง น้ำคลอง น้ำครำ น้ำบาดาล น้ำประปา ไม่ว่าสกปรกเพียงไหน มีสิ่งเจือปนอย่างใด หรือว่าบริสุทธิ์ถึงที่สุด แต่เมื่อไหลรวมมาถึงทะเลแล้วก็จะตกตะกอนแล้วกลายเป็นน้ำทะเลที่มีความเค็มเป็นอย่างเดียวกันฉะนั้น

    ดังนั้นในการพรรณนากัมมัฏฐานวิธีแต่ละวิธีจะได้พรรณนาแต่เฉพาะส่วนแบบวิธีเฉพาะเป็นลำดับไปพอเป็นสังเขป และพอเป็นแนวทางแห่งการฝึกฝนอบรม และจะไปลงรวมกันที่การทำอุคหนิมิต

    จากอุคหนิมิตก็จะเป็นขั้นตอนการฝึกฝนอบรมเพื่อให้จิตมีพลัง สามารถยกระดับอุคหนิมิตเป็นปฏิภาคนิมิต ยกระดับกำลังสมาธิของจิตจากกนิกกะสมาธิเป็นอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ตลอดจนการเข้าออกสมาธิที่แคล่วคล่องว่องไว รวมทั้งการรักษานิมิตไว้ให้มั่นคงด้วยกำลังอำนาจของจิต ทั้งในส่วนที่เป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต

    จากปฏิภาคนิมิตก็จักได้แสดงถึงกระบวนการที่จิตได้รับการฝึกฝนอบรมจนมีพลังย่างก้าวเข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ซึ่งทั้งสี่ฌานนี้จัดว่าเป็นรูปฌาน เพราะแม้จะเป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้มีพลังและพลานุภาพก็ตาม แต่ก็ยังเกาะเกี่ยวเนื่องยึดโยงอยู่กับรูปนั่นเอง ทั้งจะได้แสดงสภาวะของจิตในขณะที่บรรลุถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ไปโดยลำดับ

    เมื่อบรรลุถึงจตุตถฌาน การฝึกฝนอบรมที่เริ่มต้นจากรูปกายจะไปสำเร็จที่นามกาย ก่อเกิดเป็นกายชนิดใหม่อีกกายหนึ่งซึ่งเรียกว่ากายทิพย์ และกายทิพย์หรือนามกายนี้นี่แหละที่มีอำนาจในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชาต่าง ๆ โดยจะกระทำได้ในขณะที่จิตทำงานอยู่ในอุปจารสมาธิ

    ถัดจากรูปฌานทั้งสี่นั้นก็จะได้แสดงถึงอรูปฌานอีกสี่ขั้นคือ อากาสานัญจายตนะฌาน วิญญานัญจายตนะฌาน อากิญจัญญายตนะฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน ซึ่งเป็นฌานขั้นสูงกว่ารูปฌานโดยลำดับขั้น และขั้นนี้นามกายหรือกายทิพย์ก็จะยิ่งมีพลังมากขึ้น พลังอำนาจแห่งจิตก็จะสูงและมีกำลังอำนาจเต็มเปี่ยมถึงขั้นที่สุด

    ตลอดกระบวนการที่จิตได้รับการอบรมฝึกฝนออกกำลังจิต จิตก็จะมีพละกำลังมากขึ้นโดยลำดับ ในขณะที่ปัญญาก็จะเกิดเป็นอานิสงส์ตามพ่วงเข้ามาอย่างใกล้ชิดด้วย และกลายเป็นพลังหนุนให้กับพลังจิตในการก้าวข้ามแดนโลกียะมิติสู่วิมุตตะมิติ

    เมื่อจิตมีกำลังสูงสุด บริบูรณ์เต็มที่ โดยมีปัญญาเป็นกำลังหนุนเนื่องตามมาในขั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานแล้ว กำลังอำนาจของจิตที่ประกอบด้วยปัญญาเช่นนี้ก็จะมีพลังพอเพียงที่จะทำให้จิตได้
    บรรลุมรรคผลคือการหลุดพ้นจากความทุกข์ที่เรียกว่านิโรธสมาบัติ

    นั่นคือการก้าวหรือบรรลุถึงวิมุตตะมิติ ซึ่งเป็นที่หมายปลายทางอย่างเดียวกันกับการฝึกฝนอบรมจิตแบบปัญญาวิมุติ และกล่าวแบบวิธีการบรรลุถึงวิมุตตะมิติในวิธีการเช่นนี้ว่าเป็นแบบเจโตวิมุติ

    เมื่อได้แสดงถึงขั้นตอนการฝึกฝนอบรมตั้งแต่ขั้นกายที่ต้องอาศัยวัตถุภายนอก
    หรือภายในอันเป็นสิ่งหยาบเป็นเบื้องต้นที่สุดไปโดยลำดับถึงขั้นสูงสุดคือการบรรลุถึง
    นิโรธสมาบัติขั้นสูงสุดคือถึงแดนแห่งวิมุตตะมิติแล้ว และมีอานิสงส์คืออภิญญาและวิชชา จากนั้นก็จะได้แสดงถึงอภิญญาและวิชชา ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการฝึกอบรมจิตนั้น ประกอบด้วยวิธีการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชา ที่มีมาในพระพุทธศาสนา รวม 8 ประการคือ อิทธิวิธีหรือการกระทำฤทธิ์ต่าง ๆ มโนมยิทธิหรือการกระทำฤทธิ์ที่ใช้กำลังแห่งจิตโดยตรง เจโตปริยญาณหรือญาณที่ทำให้ล่วงรู้จิตใจของผู้อื่น ทิพพโสตหรือหูทิพย์ บุพเพนิวาสานุสติญาณหรือญาณหยั่งรู้อดีตชาติ ทิพยจักขุหรือตาทิพย์ จุตูปปาตถญาณหรือญาณหยั่งรู้การเกิดดับและความเป็นไปของเหล่าสัตว์ และอาสวักขยญาณหรือญาณที่ทำให้หลุดพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งปวง

    อภิญญาและวิชชาซึ่งประกอบด้วยอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชา เป็นอานิสงส์หรือเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรมจิต เป็นคนละชนิด เป็นคนละอย่างกัน อิทธิก็อย่างหนึ่ง ฤทธิ์ก็อย่างหนึ่ง วิชชาก็อย่างหนึ่ง แต่โดยรวมก็คือคุณวิเศษที่เกิดจากการฝึกฝนอบรมจิตในพระพุทธศาสนา และเป็นมหัศจรรย์แห่งโลกภายในที่มหัศจรรย์ที่สุดอย่างหนึ่งด้วย

    ในเรื่องอภิญญาและวิชชาจะได้พรรณนาถึงการกระทำอิทธิหรือที่เรียกว่าอิทธิวิธี 10 ชนิด คือ อธิฏฐานฤทธิ์ วิกุพพนาฤทธิ์ มโนมยิทธิหรือมโนมัยฤทธิ์ ญาณวิปผาราฤทธิ์ สมาธิวิปผาราฤทธิ์ อริยฤทธิ์ กัมมวิปากชาฤทธิ์ ปุญญฤทธิ์ วิชชามยฤทธิ์ สัมปโยคปัจจยิชฌนฤทธิ์ รวมทั้งการกระทำอภิญญาและวิชชาอีก 7 ประเภทที่เหลือไปโดยลำดับ

    เพราะเหตุที่การกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชา ทำให้เกิดฤทธิ์เหนือกว่าความสามารถปกติที่มนุษย์ทั่วไปพึงกระทำได้ จึงจัดว่าเป็นอุตริมนุษยธรรมคือเป็นธรรมเหนือกว่ามนุษย์สามัญที่จะกระทำได้

    พระบรมศาสดาทรงบัญญัติวินัยบทปาราชิกบทสุดท้ายว่าความผิดฐาน
    อวดอุตริมนุษยธรรมอันไม่มีในตนนั้นเป็นความผิดถึงขั้นปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ การบัญญัติพระวินัยในเรื่องอวดอุตริมนุษยธรรมเป็นความผิดร้ายแรงอยู่ตรงที่เป็น
    การอวดอุตริมนุษยธรรมอย่างหนึ่งและที่อวดนั้นก็เป็นอุตริมนุษยธรรมที่ไม่มีในตนอีกอย่างหนึ่ง องค์ประกอบครบทั้งสองประการนี้เมื่อใด เมื่อนั้นก็เป็นความผิดฐานปาราชิก แต่ไม่ใช่การห้ามฝึกฝนอบรมหรือการห้ามมีอุตริมนุษยธรรมในตนดังที่ชอบนำมากล่าวอ้างกัน
    เพื่อปกปิดหรือบิดเบือนความเกียจคร้านหรือความไร้ขีดความสามารถของตนในการบรรลุมรรคผลในพระพุทธศาสนา

    การมีอุตริมนุษยธรรมกับการอวดอุตริมนุษยธรรมนั้นเป็นคนละเรื่อง ทำนองเดียวกันกับคนที่มีทรัพย์มาก กับคนที่ชอบอวดทรัพย์ เป็นคนละเรื่องคนละราวกันฉันใดก็ฉันนั้น พระบรมศาสดาทรงบัญญัติพระวินัยเป็นความผิดก็เฉพาะการอวด แต่ทรงส่งเสริมให้พระสาวกทั้งหลายศึกษาปฏิบัติเพื่อให้มีอุตริมนุษยธรรมในตนทุกผู้ทุกคน

    การฝึกฝนอบรมหรือศึกษาและปฏิบัติเพื่อให้มีอุตริมนุษยธรรมในตนนั้นเป็นผลธรรมชาติ
    อย่างหนึ่งของการฝึกฝนอบรมจิตในพระพุทธศาสนา เป็นสามัญผล เป็นบทพิสูจน์และพยานหลักฐานแห่งการตรัสรู้ของพระบรมศาสดาโดยตรง ขึ้นอยู่กับว่าจะกล้าฝึกฝนอบรมให้ถูกต้อง ความเพียรพยายาม มีความอดทน และมีศรัทธามั่นคงในการตรัสรู้ของพระบรมศาสดาหรือไม่เท่านั้น

    ผู้คนในยุคพุทธกาลก็หาได้มีความฉลาดเกินกว่าผู้คนในยุคปัจจุบันแต่ประการใดไม่ และผู้คนในยุคปัจจุบันก็หาได้มีความโง่กว่าผู้คนในยุคพุทธกาลแต่ประการใดไม่ แต่เหตุที่คนในยุคปัจจุบันน้อยนักจักบรรลุถึงมรรคผลนิพพานและการกระทำให้มีอุตริมนุษยธรรม
    เกิดขึ้นในตนก็เพราะว่าขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดการศึกษา ขาดการปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกตรง ตามที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนไว้เท่านั้น

    พระธรรมคำสอนโดยเฉพาะวิธีการฝึกฝนอบรมจิตที่ทรงแสดงไว้เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นเรื่องจริง และได้รับผลตามธรรมดาธรรมชาติ แต่ผู้ที่จะรู้สัมผัสและได้รับผลอันนั้นก็ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง ไม่อาจไหว้วานให้คนอื่นศึกษาปฏิบัติแทนได้ ไม่สามารถได้รับผลจากการศึกษาปฏิบัติของคนอื่นได้ ใครศึกษาปฏิบัติไม่ว่าในกาลไหน ๆ หากถูกตรงตามที่ทรงตรัสสอนแล้วก็ย่อมได้รับผลเหมือนกัน

    เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งและเป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวระหว่างโลกียะมิติ
    กับแดนต่อแดนระหว่างโลกียะมิติกับวิมุตตะมิติ รวมทั้งมิติแห่งวิมุตหรือวิมุตตะมิติ นี่ก็เป็นความมหัศจรรย์แห่งโลกภายในที่แสวงหาพบและรับผลได้ในพระพุทธศาสนา

    มนุษย์เราไม่สามารถไปถึงวิมุตตะมิติซึ่งเป็นอีกมิติหนึ่งนอกเหนือจากมิติทาง
    ฟิสิกส์และมิติแห่งกาลเวลาได้โดยรูปกาย ไม่อาจไปถึงได้ไม่ว่าด้วยยานพาหนะใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกวียน เรือ รถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน หรือแม้กระทั่งยานอวกาศ

    แต่มนุษย์เราสามารถไปถึงวิมุตตะมิติได้ก็ด้วยจิต ตั้งแต่ขั้นที่จิตได้รับการฝึกฝนอบรมจนมีพลังแก่กล้า ก่อตัวเป็นนามกายหรือกายทิพย์ที่เข้มแข็งแกล้วกล้า จึงสามารถไปถึงวิมุตตะมิติได้ และเมื่อถึงวิมุตตะมิติแล้วนามกายหรือกายทิพย์นั้นก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นธรรมกาย นั่นคือกายของพระอรหันต์และที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือกายของพระตถาคตเจ้า พระบรมศาสดานั่นเอง

    ในรอยต่อระหว่างแดนแห่งโลกียะกับแดนแห่งวิมุตตะมิตินั้นหาขอบเขตอันประมาณมิได้ และยังมีมิติย่อย ๆ อีกหมื่นแสนมิติ ในแต่ละมิติเหล่านั้นก็อาจเทียบได้กับพิภพของมนุษย์เรา และเป็นที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่ ของสิ่งอีกจำพวกหนึ่ง ซึ่งอาจมีชื่อว่าภูตก็ดี ผีก็ดี เทวดาก็ดี พรหมก็ดี โดยต่างก็มีมิติที่อยู่อาศัยเป็นของตน ๆ

    แต่เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนวุ่นวายในการสอนของคนโบราณ ท่านจึงกำหนดเอาแต่เพียงง่าย ๆ หยาบ ๆ ว่ามิติอันเป็นที่อยู่อาศัยทั้งปวงนั้นแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ ๆ ก็คือนรก บาดาล มนุษย์ พิภพ สวรรค์ พรหมโลก หรือบางทีก็แบ่งประเภทให้หยาบเข้าไปอีกเป็นเทวโลก มนุษย์โลก และนรก ทั้ง ๆ ที่ระหว่างแดนแห่งโลกียะมิติกับวิมุตตะมิตินั้นยังมีมิติย่อย ๆ นับไม่ถ้วน ดุจดังกับระบบสุริยะที่มีเป็นหมื่นแสนโลกธาตุนั้น

    ดังได้แสดงมานี้เป็นการบอกกล่าวถึงกรอบกว้าง ๆ ของการแสดงการฝึกฝนอบรมจิตแบบพิสดารหรือหนทางแห่งเจโตวิมุต เพื่อจะได้รู้และเข้าใจในภาพกว้างเสียชั้นหนึ่งก่อน จะได้ง่ายและสะดวกในการเลือกกัมมัฏฐานวิธีหรือวิธีฝึกฝนอบรมจิตให้สอดคล้องตามอัชฌาสัยของแต่ละคน.
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (30) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">13 มกราคม 2548 17:33 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับแต่นี้ไปจักได้แสดงกัมมัฏฐานวิธี ซึ่งแม้มีบัญญัติไว้รวม 38 วิธีหรือ 38 ชนิด แต่ก็ซ้ำอยู่กับวิธีแบบมาตรฐานอยู่สองวิธี คือ วิธีที่เรียกว่าอานาปานสติและกายคตาสติ ซึ่งได้แสดงไว้ในแบบมาตรฐานแล้ว จึงคงเหลือแบบวิธีที่จะแสดงในแบบพิสดารนี้เพียง 36 วิธี หรือ 36 ชนิด รวมทั้งกระบวนการในการฝึกฝนอบรมจิต ผลที่เกิดขึ้นตลอดจนการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชาต่าง ๆ

    ความจริงในวิธีปฏิบัติที่เรียกว่ากายคตาสตินั้นก็ทรงแสดงไว้หลายประการวิธี โดยรวมเอาวิธีแบบอานาปานสติเอาไว้ด้วย และรวมเอาแบบวิธีที่เรียกว่าอสุภสัญญาเอาไว้ด้วย รวมทั้งได้แสดงกระบวนการต่าง ๆ ในการฝึกอบรมไว้อย่างละเอียด จึงอาจกล่าวได้ว่าในกายคตาสติสูตรนั้นเป็นพระสูตรที่แสดงถึงกัมมัฏฐานวิธีไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์พระสูตรหนึ่ง

    ท่านเจ้าคุณพุทธทาสเคยกล่าวว่าในการฝึกฝนอบรมจิตเพื่อถึงซึ่งความหลุดพ้นนั้นวิธีปฏิบัติแบบอานาปานสติสมบูรณ์พร้อมที่สุด ทรงสรรเสริญมากที่สุด เพราะบัญญัติทั้งรูปแบบวิธี กระบวนการในการฝึกฝนอบรมของจิต และผลที่สุดในการฝึกฝนอบรมจิตด้วย

    ความอันท่านเจ้าคุณพุทธทาสได้กล่าวนั้นถูกต้องตรงแท้แต่เฉพาะคนปกติ แต่ยังไม่ครบถ้วนกับเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอัชฌาสัยต่างกัน คุ้นเคยหรือง่ายกับแบบวิธีที่ต่าง ๆ กัน ส่วนในกายคตาสติสูตรนั้นทรงแสดงถึงแบบกัมมัฏฐานวิธีต่าง ๆ ครบถ้วน โดยได้รวมวิธีปฏิบัติแบบอานาปานสติและสติปัฏฐาน รวมทั้งแบบอสุภสัญญาเอาไว้ด้วย นอกจากนี้ยังได้แสดงถึงกระบวนการในการฝึกฝนอบรมจิต อานิสงส์ของการฝึกฝนอบรมและภาวะที่ถึงที่สุดแห่งทุกข์เอาไว้ด้วย

    คงเหลือแต่กสิณวิธีเท่านั้นที่มิได้มีระบุไว้ในกายคตาสติสูตร

    แต่เพราะเหตุที่ได้แสดงแบบวิธีมาตรฐานตามแนวทางที่ทรงบัญญัติไว้ในอานาปานสติสูตรและสติปัฏฐานแล้ว ดังนั้นในลำดับแต่นี้ไปจึงจะได้แสดงในกัมมัฏฐานวิธีส่วนที่เหลือเท่านั้น

    เนื่องจากกัมมัฏฐานวิธีที่เหลือทั้งหมดนั้นหากอุปมาก็จะเปรียบได้กับน้ำชนิดต่าง ๆ ที่กำลังจะไหลรวมลงสู่ทะเล บรรดาน้ำบ่อ น้ำบึง น้ำหนอง น้ำคลอง น้ำครำ น้ำฝน น้ำตามแม่น้ำลำธารต่าง ๆ แม้จะมาจากหลายที่หลายทางต่างสีต่างพรรณต่างคุณสมบัติกัน แต่เมื่อไหลมาถึงทะเลแล้วก็จะมีความเค็มเป็นอย่างเดียวกัน สภาพเดิมจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปในพลันที่มาถึงปากแม่น้ำ แล้วจะกลายเป็นน้ำกร่อย จากนั้นก็ค่อย ๆ กลายเป็นน้ำเค็ม

    ฉันใดกัมมัฏฐานวิธีทั้งหลายแม้จะมีแบบวิธีต่าง ๆ กัน เหมาะกับอัชฌาสัยของเวไนยสัตว์ต่าง ๆ กัน แต่เมื่อปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่งแล้วก็จะมาถึงจุดที่ร่วมกันคือเส้นทางใหญ่หรือซูเปอร์ไฮเวย์ที่จะมุ่งตรงไปสู่ที่หมายปลายทางคือความหลุดพ้นจากทุกข์สิ้นเชิงฉันนั้น

    จุดที่การปฏิบัติตามแบบกัมมัฏฐานวิธีทั้งหลายมาบรรจบหรือเป็นจุดร่วมกันก็คืออุคหนิมิต จึงอาจกล่าวได้ว่าอุคหนิมิตเป็นจุดร่วมและเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการพัฒนาฝึกฝนอบรมอำนาจหรือกำลังของจิตของทุกกัมมัฏฐานวิธี ยกเว้นก็แต่วิธีที่ทรงแสดงไว้ในอานาปานสติและสติปัฏฐานเท่านั้น

    จากอุคหนิมิตนี้ไปทุกกัมมัฏฐานวิธีก็จะดำเนินไปในกระบวนการและขั้นตอนอย่างเดียวกัน คือสู่ปฏิภาคนิมิต รูปฌานสี่ อรูปฌานสี่ ซึ่งผู้ที่ฝึกฝนอบรมสำเร็จรูปฌานสี่และอรูปฌานสี่แล้ว แม้ว่านามกายจะก่อตัวเป็นทิพย์กายแล้วหรือถึงแดนแห่งความเป็นทิพย์แล้ว ก็ยังไม่ถึงขั้นเป็นพระอรหันต์

    เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังทรงศึกษาอยู่กับอุทกดาบสและอาฬารดาบสนั้นการศึกษาขั้นสูงสุดในสำนักนั้นก็คืออรูปธรรมสี่เท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย จึงทรงปลีกพระองค์ออกจากสำนักพระอาจารย์ทั้งสอง แล้วบำเพ็ญทุกรกิริยาจนกระทั่งทรงเห็นว่าทุกรกิริยานั้นเป็นทางสุดโต่งทางหนึ่ง ทำนองเดียวกับทางสุดโต่งทางกาม ไม่ใช่หนทางแห่งการหลุดพ้น จึงทรงเริ่มต้นฉันอาหาร และบำเพ็ญทางจิตให้ประกอบด้วยปัญญาจนตรัสรู้ในที่สุด

    การบรรลุถึงรูปฌานสี่และอรูปฌานสี่เป็นการบรรลุถึงขั้นที่เรียกรวมกันว่าวิโมกข์คือขั้นที่จะเป็นเบื้องต้นในการทำให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย และเมื่อจะข้ามแดนไปสู่วิมุตติมิติโดยหนทางเจโตวิมุตตินี้ยังจะต้องฝึกฝนอบรมจิตในกระบวนการที่เรียกว่าสัญญาเวทยิตนิโรธอีกขั้นหนึ่ง

    ยามใดที่จิตได้รับการฝึกฝนพัฒนาจนกำจัดอวิชชา กิเลส และอาสวะให้ดับไปอย่างสิ้นเชิงด้วยกำลังอำนาจแห่งจิต โดยมีกำลังปัญญาเป็นตัวหนุนแล้ว ยามนั้นความพ้นของจิตโดยแบบวิธีการฝึกแบบพิสดารนี้จะได้ชื่อว่าอกุปปาเจโตวิมุตติ และตรงจุดนี้จะเป็นจุดข้ามแดนระหว่างโลกียะมิติสู่วิมุตติมิติ

    ดังนั้นเมื่อจุดร่วมของกัมมัฏฐานวิธีทั้งหลายจะมารวมกันที่อุคหนิมิต จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจอุคหนิมิตก่อนเพื่อเป็นหนทางหรือเป็นเป้าหมายของการฝึกฝนอบรมตามแบบกัมมัฏฐานวิธีต่าง ๆ

    กล่าวสรุปก็คือการฝึกฝนอบรมจิตตามแบบกัมมัฏฐานวิธีทั้งหลาย นอกจากแบบมาตรฐานในอานาปานสติสูตรและสติปัฏฐานสูตรแล้ว จะต้องตั้งเป้าหมายสู่อุคหนิมิตคือการทำอุคหนิมิตให้เกิดขึ้น ให้สำเร็จ จึงจะดำเนินกระบวนการฝึกฝนอบรมขั้นต่อไปจนกระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ และอกุปปาเจโตวิมุตติได้

    เมื่อจะไปให้ถึงเป้าหมายคืออุคหนิมิตแล้ว ก็ควรจะได้รู้จักว่าอุคหนิมิตคืออะไร เป็นอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะเจริญให้มั่นคงได้อย่างไร

    อุคหนิมิตแปลว่านิมิตที่ติดอยู่กับตา คือติดอยู่กับตาเนื้อ และต่อเนื่องไปถึงตาของจิตหรือตาใน หรือจะว่าติดกับจิตก็ได้ ตัวอย่างเช่นการจำเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งได้ติดตา คือมีการเห็นด้วยตาเนื้อก่อน ทรงจำได้แม่นยำจนกระทั่งฝังใจคือประทับรูปรอยและความทรงจำนั้นเป็นสัญญาไว้กับจิต จนเกิดเป็นภาพขึ้นในจิต ดังที่เรียกว่าจำขึ้นใจนั่นเอง

    ภาพอะไรก็ตามทีที่เคยเห็นได้ด้วยตาและทรงจำไว้ได้อย่างแม่นยำ แม้หลับตาแล้วรำลึกถึง ภาพนั้นก็หวนคืนเข้ามาสู่ห้วงความรู้สึกนึกคิด การปรากฏขึ้นของภาพในลักษณะเช่นนี้เรียกว่าอุคหนิมิต คือนิมิตที่เกิดจากตาเนื้อแล้วประทับฝังตรึงอยู่กับจิต สามารถเกิดเป็นมโนภาพขึ้นในจิตได้

    เป็นแต่ว่ากระบวนการจำขึ้นใจหรือจำติดตาของคนทั่วไปในลักษณะเช่นนี้เป็นไปโดยปกติธรรมชาติและสัญชาตญาณ แต่ก็ได้แสดงให้เห็นว่ากระบวนการในการถ่ายโอนภาพที่เห็นทางตาเนื้อเข้าไปสู่ตาในหรืออีกนัยหนึ่งก็คือกระบวนการในการถ่ายโอนภาพที่เห็นได้โดยรูปกายคือโดยทางตา ไปสู่กระบวนการที่เห็นได้โดยนามกาย หรือโดยจิตก็มีอยู่โดยธรรมดา ธรรมชาติแล้ว แต่ยังคงบางเบาที่ลบเลือนได้ง่ายและไร้พลัง

    การฝึกฝนอบรมจิตในการกระทำอุคหนิมิตให้เกิดขึ้นก็คือการพัฒนาขีดความสามารถในการรับรู้ของมนุษย์ จากที่เคยรับรู้โดยทางรูปกาย ในขณะที่การรับรู้โดยทางนามกายบางเบา ไร้พลัง ให้เป็นมีขีดความสามารถในการรับรู้โดยทางนามกายเพิ่มขึ้น จนกระทั่งถึงขั้นสูงสุด ก่อตัวเป็นนามกายหรือกายทิพย์ได้สำเร็จ

    ในกระบวนการถ่ายโอนความรับรู้จากรูปกายไปสู่นามกายในขั้นอุคหนิมิตนี้ ในเบื้องต้นจะคล้ายกับเป็นการสมมติหรือการจินตนาการเอาเอง แต่ความจริงการสมมติหรือการจินตนาการที่ว่านั้นก็เป็นไปโดยผลของการค้นพบของพระบรมศาสดา แต่ในภาวะที่การรับรู้โดยทางนามกายยังบางเบานั้น ขอเพียงแต่ได้กระทำการแม้ว่าจะเรียกว่าสมมติหรือจินตนาการก็ตามที แต่ก็จะเกิดผลอย่างเดียวเท่านั้นคือการพัฒนานามกายให้มีขีดความสามารถและศักยภาพในการรับรู้เพิ่มขึ้นนั่นเอง

    การเกิดขึ้นของอุคหนิมิตมีกระบวนการที่เริ่มต้นจากการมองเห็นด้วยตาก่อน แล้วจำภาพที่เห็นนั้นได้อย่างแม่นยำ ครบถ้วน สมบูรณ์ การที่จะจำภาพที่เห็นได้ด้วยตาอย่างแม่นยำครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการนั้นจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะจิตได้มีความตั้งมั่น ปราศจากความฟุ้งซ่านเป็นเบื้องต้นก่อน

    ดังนั้นเมื่อจะจำภาพที่มองเห็นด้วยตาได้อย่างแม่นยำครบถ้วนสมบูรณ์ก็ต้องปฏิบัติเหตุให้เกิดขึ้น คือการทำจิตให้ตั้งมั่น ปราศจากความฟุ้งซ่านด้วยวิธีปฏิบัติตามกัมมัฏฐานวิธีนั่นเอง

    เหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าการกระทำอุคหนิมิตประกอบด้วยกระบวนการขั้นต้นคือการเห็นด้วยตา การมีจิตตั้งมั่นปราศจากความฟุ้งซ่าน แล้วสามารถทรงจำภาพได้อย่างแม่นยำครบถ้วนสมบูรณ์ จากนั้นเป็นกระบวนการถ่ายโอนภาพที่เห็นจากตาเข้าสู่จิต โดยกระบวนการทำงานของสัญญาขันธ์ และสุดท้ายคือกระบวนการคงความมั่นคงหรือรักษาความมั่นคงของภาพที่ทรงจำไว้นั้น

    กระบวนการเหล่านี้คืออุคหนิมิตซึ่งเป็นขั้นตอนแรกสุดของการฝึกฝนอบรมจิตแบบพิสดารในหนทางเจโตวิมุตติ แต่ก็เป็นจุดหมายปลายทางแรกสุดของกัมมัฏฐานวิธีทุกแบบวิธีที่จะต้องไปให้ถึงจุดร่วมนี้

    และเมื่อถึงจุดร่วมนี้แล้วกระบวนการหรือขั้นตอนต่อไปก็คือการยกระดับการฝึกฝนอบรมจากอุคหนิมิตไปสู่ปฏิภาคนิมิต ซึ่งจักได้แสดงในส่วนของกระบวนการขั้นตอนการฝึกฝนอบรมหลังแต่ได้อุคหนิมิตแล้วต่อไป

    จะขอเริ่มต้นแสดงกัมมัฏฐานวิธีในส่วนของกสิณวิธี 10 วิธีก่อน

    กสิณวิธี 10 วิธีนั้นคือ การทำกสิณโดยอาศัยธาตุสี่เป็นกสิณจำพวกหนึ่ง คือการทำกสิณธาตุดิน การทำกสิณธาตุน้ำ การทำกสิณธาตุไฟ การทำกสิณธาตุลม การทำกสิณโดยอาศัยสีเป็นกสิณจำพวกหนึ่ง ได้แก่นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ และการทำกสิณที่อาศัยอากาศคืออากาศกสิณพวกหนึ่ง และการทำกสิณโดยอาศัยวิญญาณหรือวิญญาณกสิณอีกจำพวกหนึ่ง

    รวมความก็คือในกสิณ 10 วิธีนั้นถือเอาธาตุสี่ ถือเอาสี ถือเอาอากาศ และวิญญาณรวมสี่จำพวกเป็นหลักในการทำกสิณ โดยแต่ละวิธีนั้นก็มีอานิสงส์ข้างทางที่จะเป็นบ่อเกิดหรือเป็นการสร้างสมฝึกฝนความชำนาญในการกระทำอิทธิและฤทธิ์ที่แตกต่างกัน และมีความพิสดารทั้งเป็นที่สนใจและถูกใช้เป็นเครื่องมือในการ หลอกลวงตลอดมา ดังนั้นจึงจะแสดงแบบวิธีในกสิณวิธีที่ค่อนข้างจะละเอียดสักหน่อยหนึ่ง ส่วนในกัมมัฏฐานวิธีแบบอสุภสัญญา 10 วิธี อนุสติ 10 วิธี อัปปมัญญา 4 วิธี จตุธาตุวัฏฐาน 1 วิธี อาหารเรปฏิกูลสัญญา 1 วิธี อากิญจัญญายตนะ 1 วิธี เนวสัญญานาสัญญายตนะ 1 วิธี จะมีอานิสงส์หรือความพิสดารส่วนมากซ้ำซ้อนกัน จะได้แสดงเฉพาะในส่วนที่แตกต่างกันเท่านั้น
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (31) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">20 มกราคม 2548 17:55 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ในกสิณวิธี 10 วิธีนั้นถือเอาการเพ่งเป็นหลัก โดยกสิณธาตุดิน กสิณธาตุน้ำ กสิณธาตุไฟ และกสิณธาตุลม เป็นกสิณประเภทที่หยาบกว่าเพื่อน เห็นได้ง่ายด้วยตาเนื้อนี้ ถัดมาก็เป็นกสิณที่เป็นสี ประณีตขึ้นมาหน่อยหนึ่ง ส่วนที่เหลืออีกสองประเภทเป็นกสิณที่ประณีต คืออากาศกสิณและวิญญาณกสิณ

    เฉพาะเรื่องกสิณเรื่องเดียวนี้ก็เห็นได้ว่าพระบรมศาสดาทรงบัญญัติวิธีในการฝึกฝนอบรมจิตที่เหมาะกับคนที่มีอัชฌาสัยต่างกัน ตั้งแต่หยาบสุดไปถึงประณีต เพื่อให้เวไนยสัตว์ส่วนใหญ่สามารถได้รับประโยชน์จากสิ่งที่ทรงค้นพบ

    ในอินเดียยุคนั้นการบูชาวัตถุบูชาภายนอกหรือการบำเพ็ญเพียรทางจิตที่ติดยึดในวัตถุภายนอกเป็นที่แพร่หลายมาก การบูชาภูเขา จอมปลวก การบูชาพระแม่คงคา หรือแม่น้ำลำธารต่างๆ การบูชาวายุเทพ การบูชาพระอัคนีเทพมีดาษดื่นกลาดเกลื่อนไป

    ผู้ฝึกฝนอบรมจิตโดยแบบวิธีต่าง ๆ เหล่านั้นบ้างก็บรรลุมรรคผลในระดับและขั้นตอนที่จะพึงเป็น พึงได้ แล้วเกิดความเชื่อมั่นว่าแบบวิธีนั้นเป็นแบบวิธีเดียวที่บรรลุถึงความหลุดพ้น จึงพากันติดยึดไม่ยอมพิจารณาศึกษาแบบวิธีอื่น ๆ บ้างถึงขนาดไปโต้เถียงข่มผู้ปฏิบัติในแบบวิธีอื่น ๆ ซึ่งพระบรมศาสดาก็ต้องเผชิญกับเหตุการณ์แบบนี้เกือบตลอดทั้งพระชนม์ชีพ

    เพราะเหตุที่ผู้ฝึกฝนอบรมจิตโดยแบบวิธีต่าง ๆ เหล่านั้นก็สามารถบรรลุมรรคผลที่พึงเป็นพึงมีพึงได้ จึงมีผู้คนศรัทธาเลื่อมใส เป็นเหตุให้ได้ลาภ เป็นเหตุให้ได้บริวารและสรรเสริญ ความติดมั่น ยึดมั่นในแบบวิธีเหล่านั้นจึงยิ่งแน่นหนา แต่ถึงกระนั้นความคุ้นเคยกับการฝึกฝนอบรมจิตในแบบวิธีเหล่านี้ก็ได้ก่อรากฐานให้เกิดความตั้งมั่นของจิตที่หากปรับแต่งให้เข้าที่ถูกทางแล้ว ก็จะก้าวหน้าไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานถึงซึ่งวิมุตตะมิติได้ด้วย

    ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่ากสิณวิธีเป็นแบบวิธีฝึกฝนอบรมจิตสำหรับผู้ที่มีภาวะจิตใจที่หยาบกระด้างอยู่ และติดยึดอยู่กับวัตถุภายนอกตามความชอบพอและอัชฌาสัยของตน ทำให้การอบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ของพระบรมศาสดาต่อเหล่าผู้ติดยึดเหล่านี้สามารถดำเนินไปได้อย่างไม่ติดขัด และทำให้คนเหล่านั้นหันเข้ามาสู่หนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง จนกระทั่งบรรลุมรรคผลนิพพาน

    ในการแสดงโอวาทปาติโมกข์ซึ่งเป็นปฐมเหตุแห่งวันมาฆบูชานั้น ในบรรดาพระอรหันต์ 1,250 รูป ที่มาร่วมประชุมกันฟังโอวาทปาติโมกข์ ส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ที่ติดยึดในกสิณและแบบวิธีที่ถือเอาวัตถุสิ่งของภายนอกเป็นหลักในการบำเพ็ญภาวนามาก่อน เช่น กลุ่มพระอรหันต์ที่เคยเป็นชฎิลจำนวน 1,000 รูป ก็คือผู้ที่ติดยึดในรูปแบบวิธีบูชาไฟมาก่อน แต่เมื่อได้ฟังพระบรมศาสดาทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุธรรมขั้นสูงในพระพุทธศาสนาสำเร็จความเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

    คำว่า “กสิณ” แปลว่าเพ่ง เริ่มต้นด้วยการใช้ตาเนื้อเพ่งจนเกิดความจำติดตาแล้วถ่ายโอนภาพที่เห็นติดตานั้นเข้าไปสู่จิต โดยผ่านกระบวนการทำงานของสัญญาขันธ์

    ส่วนวัตถุหรือสิ่งของภายนอกที่เพ่งมี 10 ชนิด ดังที่บัญญัติไว้ในกสิณ 10 วิธีนั่นเอง และวัตถุหรือสิ่งของที่ใช้สำหรับเพ่งนั้นเรียกโดยนิยมว่าวงกสิณ โดยมีระยะห่างของการยืนหรือนั่งเพ่งกับวงกสิณชั่วแอกหนึ่ง คือมีระยะประมาณเท่ากับแอกที่เทียมวัว เทียมเกวียนนั่นเอง

    ระยะชั่วแอกหนึ่งที่ว่านี้ก็คือระยะชั่วสายตาที่ทอดลงต่ำ หากจะประมาณโดยการวัดก็อยู่ในระยะ 2 เมตรครึ่ง หรือ 1 วา 2 ศอก โดยประมาณ ซึ่งเป็นระยะที่พอเหมาะพอดีแก่การที่ตาเนื้อจะเห็นวงกสิณได้ชัดครบถ้วนและสมบูรณ์

    เพราะเหตุที่การฝึกฝนอบรมจิตโดยกสิณวิธีนั้นเป็นแบบวิธีที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมของผู้ที่มีระดับจิตใจยังหยาบอยู่ ต้องอาศัยสิ่งของภายนอกอยู่ ดังนั้นจึงต้องป้องกันสิ่งรบกวนอย่างเต็มที่ ไม่ว่าสิ่งรบกวนที่เป็นมด เหลือบ ยุง ริ้น ไร แมลงวัน สิ่งรบกวนที่เป็นเสียงทุกชนิด สิ่งรบกวนที่เป็นความร้อน ความหนาวเกินไป หรือแม้สิ่งรบกวนที่เป็นแสงสว่างที่มากเกินไป

    เพราะภาวะจิตของผู้ที่เริ่มฝึกฝนอบรมโดยแบบกสิณวิธีนั้นยังอ่อนไหวได้ง่าย หากเผชิญกับสิ่งรบกวนใด ๆ แล้ว ก็จะเกิดความวอกแวกขึ้นในจิตใจ ทำให้สมาธิไม่ตั้งมั่น ทำให้จิตไม่รวมตัวลงเป็นหนึ่ง เมื่อจิตไม่สามารถตั้งมั่นได้ มีอาการวอกแวกเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นอุปสรรคต่อการฝึกกระทั่งต้องเลิกล้มไป

    ดังนั้น การเตรียมสถานที่สำหรับฝึกฝนอบรมจิตแบบกสิณวิธีที่ต้องทำพื้นที่ให้สะอาดและเหมาะสม ไม่มีสิ่งรบกวน การชำระร่างกายให้สะอาด ไม่มีเหตุรบกวนโดยทางร่างกายจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดยมีเหตุผลดังที่ได้แสดงมานั้น ซึ่งเป็นเหตุผลตามธรรมดา ธรรมชาติ ไม่ใช่เหตุผลเพื่อความลี้ลับ หรือเพื่อแสดงความวิเศษวิโสเพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาที่ไร้แก่นสารแต่ประการใด

    ในบางที่ท่านสอนว่าก่อนจะเริ่มปฏิบัติกสิณวิธีจะต้องละอุปกิเลสซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางไม่ให้จิตตั้งมั่นเสียก่อน อุปกิเลสที่ว่านี้ก็คือนิวรณ์ 5 ได้แก่ความติดยึดในกามคุณ หรือกามฉันทะอย่างหนึ่ง ความคุมแค้นพยาบาทหรือพยาปาโทอย่างหนึ่ง ความท้อแท้หดหู่ใจ ความซึมเศร้าหรือถีนมิทธะอย่างหนึ่ง ความฟุ้งซ่านหรือพลุ่งพล่านในใจหรืออุทธัจจกุกกุจจะอย่างหนึ่ง และความลังเลสงสัยในใจอีกอย่างหนึ่ง

    นี่แหละที่ได้แสดงมาแต่ต้นแล้วว่าการฝึกฝนอบรมปฏิบัติแบบพิสดารนี้มีความยุ่งยากลำบากมาก เพราะเริ่มต้นก็ลำบากเสียแล้ว คือในทางทฤษฎีหรือปริยัติก็สับสนจนจับต้นชนปลายไม่ถูก หากหลงเข้าไปในภาษาถ้อยคำหรือการจำแนกแจกแจงเป็นอเนกอนันต์ประการที่มีศัพท์ภาษาที่ไม่รู้เรื่อง ดังที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสเคยกล่าวว่าเป็นส่วนเกินที่เหมาะสำหรับใช้ในการโต้วาทีแล้ว ก็จะยิ่งสับสนจนไม่อาจฝึกฝนอบรมได้

    จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องอุปกิเลสหรือนิวรณ์ 5 นี้เสียก่อนว่าจำเป็นจะต้องทำการศึกษาอบรมก่อนที่จะเริ่มต้นการฝึกฝนปฏิบัติแบบกสิณวิธีหรือไม่

    ในประการนี้ก็ควรต้องทำความเข้าใจว่าการฝึกฝนอบรมแบบกสิณวิธีเป็นแบบวิธีที่เหมาะสมกับผู้ที่มีจิตใจที่หยาบ ไม่สามารถตั้งมั่นโดยปกติได้ง่าย จึงต้องอาศัยวัตถุสิ่งของภายนอกที่จับต้องมองเห็นได้ง่ายเป็นตัวตั้งสำรวมจิต และวิธีปฏิบัติแบบนี้เป็นแบบวิธีที่มุ่งฝึกฝนอบรมบ่มเพาะกำลังของจิตเป็นหลัก ไม่ใช่แบบวิธีที่มุ่งฝึกฝนอบรมบ่มเพาะปัญญาเป็นหลัก

    ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิงที่จะละนิวรณ์ 5 ประการ ซึ่งเป็นอุปกิเลสขัดขวางความตั้งมั่นของจิตเสียตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นการฝึกฝนอบรม

    เพราะหากจะมัวฝึกฝนอบรมเพื่อละนิวรณ์ 5 ประการเสียก่อนในขณะที่จิตยังไม่ตั้งมั่นแล้ว หรือในขณะที่ยังไม่เริ่มต้นฝึกฝนอบรมแบบกสิณวิธีแล้ว ก็จะไม่มีโอกาสได้เริ่มต้นฝึกฝนอบรมอีกเลย

    ผู้ปฏิบัติจริงที่ปฏิบัติด้วยตนเองก็คงจะพบเห็นสัมผัสได้ด้วยตนเองว่าจะไม่มีทางละนิวรณ์ทั้ง 5 ประการได้ก่อนที่จะเริ่มต้นการฝึกฝนอบรมแบบกสิณวิธี

    แต่นิวรณ์ทั้ง 5 ประการ ก็คืออุปกิเลสที่เป็นอุปสรรคขัดขวางจิตไม่ให้ตั้งมั่นรวมเป็นหนึ่งจริง ๆ และถ้ายังมีนิวรณ์ 5 ประการนี้อยู่ตราบใด ตราบนั้นจิตก็ไม่อาจตั้งมั่นรวมเป็นหนึ่งได้ ดังนั้นปัญหาอยู่ตรงที่จะขจัดนิวรณ์ 5 ประการนี้ในตอนไหนเล่า

    การฝึกฝนอบรมปฏิบัติที่เป็นจริงจะบอกเราเองว่าการขจัดหรือการละนิวรณ์ 5 ประการ จะเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นการฝึกฝนอบรมโดยอัตโนมัติ จะดำเนินไปตลอดระยะเวลาของการฝึกฝนอบรม และจะบรรเทาเบาบางลงไปหลังจากที่บรรลุถึงอุคคหนิมิตแล้ว ซึ่งจะแสดงรายละเอียดในเรื่องนี้เมื่อถึงขั้นตอนนั้นว่านิวรณ์ 5 ที่เป็นอุปสรรคขวางกั้นจิตไม่ให้ตั้งมั่นรวมลงเป็นหนึ่งจะบรรเทาเบาบางและระงับดับลงไปอย่างไร

    ในชั้นนี้เอาเป็นว่าอย่าเพิ่งไปสนใจกับนิวรณ์ 5 ขอให้เริ่มต้นการฝึกฝนอบรมแบบกสิณวิธีไปได้เลย

    แต่กระนั้นก็ขอทำความเข้าใจนิวรณ์ 5 ประการไว้เป็นเบื้องต้น เพราะมันจะเป็นสิ่งที่จะพบเห็นสัมผัสได้ตลอดกระบวนการฝึกฝนอบรม จนกระทั่งสมาธิได้ก่อตัวตั้งมั่นเป็นอัปปนาสมาธิแล้ว

    เป็นปกติของคนเราที่ยังคลาคล่ำอยู่ในโลกียวิสัยที่จะมีอุปกิเลสปนเปื้อนอยู่ภายในจิตใจ แต่เป็นกิเลสอย่างบางต่างจากกิเลสซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ คือโลภะ โทสะ โมหะ เหตุนี้จึงเรียกกิเลสอย่างบางนี้ว่าเป็นอุปกิเลส แม้มีอยู่แต่เพราะอยู่ที่เปลือกและบางเบาจึงขจัดได้โดยง่าย แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องขจัดให้หมดไปอยู่นั่นเอง

    ภายในจิตใจของคนเราจะรู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกตัว จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตามที จะมีสภาวะธรรม 5 ประการ ซ่อนเร้นอยู่ในจิตใจ มันซ่อนอยู่ใต้จิตสำนึกที่ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจอยู่ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่ บางครั้งก็ต่อเนื่องไปจนกระทั่งถึงเวลาหลับ แล้วเกิดเป็นความฝันขึ้นได้ด้วย

    พระบรมศาสดาทรงค้นพบ ทรงกำหนด ทรงบัญญัติ ว่าสภาวะธรรมประเภทนี้มีอยู่ทั้งสิ้น 5 ประการ คือ ความติดใจพึงใจในกามคุณ ซึ่งคุกรุ่นอยู่ในใจในระดับที่ต่าง ๆ กัน ความพยาบาทมาดร้ายคุมแค้นผู้อื่น หรือกระทั่งกับตัวเอง ความท้อแท้ใจ ความซึมเศร้าเหงาหงอย ความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดาย ความฟุ้งซ่านเพ้อเจ้อรำคาญจิตใจ ความลังเลสงสัยในสิ่งต่าง ๆ ที่หาข้อยุติอะไรไม่ได้

    สภาวะธรรมทั้งห้าประการนี้มีอยู่ตลอดเวลาทุกขณะจิต เป็นอุปกิเลสที่ทำลายความว่างของจิต ทำให้จิตเมื่อยล้าเหนื่อยอ่อน ทั้ง ๆ ที่รู้สึกว่าอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องยุ่งยากมากเรื่องอะไร เอากันแค่นั่งเงียบ ๆ แล้วตรวจสอบสภาวะจิตใจของตัวเองดู ก็จะพบเห็นตัวไอ้โม่งที่ซ่อนเร้นแอบแฝงแสดงฤทธิ์เดชอยู่กับจิตใจได้ไม่ยากไม่ลำบากเลย

    ตรวจสอบดูความรู้สึกแต่ละขณะที่เป็นอยู่อย่างไรนั้น ก็จะพบว่าเป็นเพราะสภาวะธรรมไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งใน 5 ประการนี้ และเมื่อจำแนกให้ลึกลงไปอีกก็จะพบว่าสภาวะธรรมนั้นส่งผลกระทบต่อจิตเป็นประการใด

    ที่สำรวจง่ายพบง่ายเช่นนี้ก็เพราะว่ามันเป็นสภาวะธรรมที่อยู่ที่ผิวเปลือก บางเบายิ่ง ถึงกระนั้นมันก็ก่อเหตุเป็นอุปสรรคที่รบกวนทำให้จิตไม่ตั้งมั่น ดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้นแล้วว่าผู้ที่ฝึกฝนอบรมโดยแบบกสิณนี้ จิตใจยังอ่อนหยาบ ต้องขจัดสิ่งรบกวนออกไปไม่ให้เป็นอุปสรรคเสียก่อน เมื่อขจัดสิ่งรบกวนภายนอกที่รบกวนร่างกายแล้วก็ต้องขจัดสิ่งรบกวนภายในที่ปนเปื้อนอยู่ในจิตใจคืออุปกิเลสนี้เป็นลำดับถัดไป

    เป็นแต่ว่าสภาวะจิตที่อ่อนและหยาบนั้นไม่มีพลังอำนาจที่จะขจัดทำลายไอ้โม่งตัวน้อย ๆ ทั้ง 5 ตัวนี้ให้ดับสูญไปได้ แต่มันจะถูกทำลายเป็นลำดับขั้นไปตั้งแต่ในขณะที่จิตมีความตั้งมั่นขึ้นโดยลำดับ กำลังอำนาจของจิตที่ตั้งมั่นโดยการเพ่งแบบกสิณวิธีนั่นแล้วจึงจะทำลายไอ้โม่งทั้ง 5 ตัวนี้ได้ เหตุนี้จึงต้องแสดงเรื่องไอ้โม่งทั้ง 5 ตัวเพื่อให้ได้รู้จักกันไว้ก่อนแล้วจะได้ทำลายได้ง่ายขึ้นในท่ามกลางการฝึกฝนอบรมปฏิบัตินั้น
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (32) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">27 มกราคม 2548 18:00 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จะได้แสดงการฝึกฝนอบรมจิตในกสิณวิธีแบบปฐวีกสิณ คือการถือเอาดินเป็นวัตถุแห่งการเพ่ง เพราะถือเอาดินหรือปฐวีเป็นวัตถุแห่งการเพ่ง กสิณวิธีนี้จึงได้ชื่อว่าปฐวีกสิณ ซึ่งนับว่าเป็นการฝึกฝนอบรมชนิดแรกของกสิณวิธี

    ก่อนอื่นก็ต้องทำวงกสิณเสียก่อน วงกสิณนี้ทำได้สองวิธีคือขีดเป็นวงกลมไว้ที่พื้นดินอย่างหนึ่ง หรือทำวงกสิณลงบนไม้กระดาน หรือเสื่อ หรือกระดาษ หรือแผ่นผ้าหรือกำแพงอีกอย่างหนึ่ง ขนาดของวงกสิณที่ทำนั้นต้องไม่เล็กเกินไป ไม่ใหญ่เกินไป มีประมาณขนาดที่สามารถมองเห็นได้เต็มตา และเต็มทั้งวงกสิณ ประมาณขนาดดังกล่าวนี้จึงมีขนาดประมาณเท่ากับใบหน้าหรือโตกว่าเล็กน้อย แต่ถ้าจะให้กะขนาดกันให้ชัดเจนก็พึงมีขนาดประมาณ 1 คืบกับ 4 องคุลี ส่วนรูปทรงสัณฐานจะเป็นรูปทรงกลม สามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมก็ได้ทั้งนั้น แต่ถ้าเป็นรูปวงกลมจะทำให้จิตรวมตัวตั้งมั่นได้ง่ายกว่าอย่างอื่น เพราะไม่ไปวอกแวกอยู่กับรูปทรงสัณฐานที่เป็นเหลี่ยมเป็นมุมนั้น

    ขนาดอันประมาณไว้นั้นความสำคัญอยู่ตรงที่สามารถมองเห็นวงกสิณได้ทั่วถ้วนและเต็มตา จึงไม่เคร่งครัดในขนาดเท่าใดนัก แต่สิ่งที่เคร่งครัดก็คือภายในวงกสิณนั้นต้องราบเรียบ ไม่ขรุขระ หรือมีขยะปนเปื้อนอยู่เพราะจะเป็นเครื่องรบกวนในการเห็นหรือในการเพ่ง

    เพราะเป็นกสิณวิธีที่ต้องใช้ดินเป็นวงกสิณ ดังนั้นดินที่ใช้จึงมีอยู่สองชนิด ชนิดแรกคือดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติอันเป็นพื้นแผ่นดินนั่นเอง และชนิดที่สองคือดินที่จัดเตรียมไว้สำหรับทาในวงกสิณที่ขีดวงไว้บนไม้กระดาน หรือเสื่อ หรือกระดาษ หรือแผ่นผ้า หรือกำแพง

    อันดินนั้นโดยทั่วไปแล้วจะเป็นดินที่มีสี 4 สี คือสีขาว สีดำ สีแดง และสีอรุณหรือสีควันบุหรี่ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำเป็นวงกสิณหรือใช้ทาในวงกสิณควรเป็นดินสีอรุณหรือสีควันบุหรี่ เพราะจะทำให้การเพ่งไม่ติดยึดอยู่กับสี

    เนื่องจากหากเป็นดินสีขาว สีดำ หรือสีแดงแล้วการเพ่งไปที่วงกสิณก็อาจติดยึดอยู่กับสีแทนที่จะติดยึดอยู่กับวงกสิณ และถ้าไปติดยึดอยู่กับสีก็จะเปลี่ยนแปลงประเภทกสิณจากปฐวีกสิณไปเป็นกสิณประเภทสี หรือที่เรียกว่าวรรณกสิณ ซึ่งเป็นอีกประเภทหนึ่งต่างหาก ในที่นี้เมื่อจะกล่าวถึงปฐวีกสิณจึงหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาของสีเป็นอุปสรรคหรือเบี่ยงเบนการเพ่งพิจารณาในการทำกสิณ ดังนั้นจึงมุ่งเอาดินสีอรุณหรือสีควันบุหรี่เป็นเกณฑ์

    ในกรณีทำวงกสิณที่พื้นแผ่นดิน จึงพึงเลือกดินที่เป็นสีอรุณโดยธรรมชาติ ปราศจากขยะและความขรุขระทั้งปวง

    ในกรณีใช้ดินมาทาในวงกสิณ ก็ให้เอาดินสีอรุณนั้นสักกำมือหนึ่งผสมกับน้ำแล้วขยำให้เข้ากันจนขุ่นข้น แล้วใช้ดินที่เปียกประดุจแป้งนั้นทาที่วงกสิณภายในกรอบของวงกสิณที่ได้ขีดไว้ แล้วผึ่งไว้ให้แห้ง

    วงกสิณทั้งที่ขีดไว้บนพื้นแผ่นดินหรือที่เอาดินมาทาเป็นวงกสิณแล้วให้แต่งขอบวงกสิณให้มีขอบวงกสิณที่ชัดเจน ซึ่งอาจแต่งได้โดยการใช้ดินอย่างเดียวกัน แต่เลือกเอาที่สีเข้มสักหน่อยหนึ่งเพื่อให้เป็นปริมณฑลของวงกสิณที่เด่นชัด

    ในกรณีที่เป็นการขีดวงกสิณไว้กับพื้นดินก็ดี และในการนำวงกสิณที่ทำขึ้นไปวางไว้ในพื้นที่ใดก็ดี พื้นที่แห่งนั้นจะพึงเป็นสถานที่สงบ มีความวิเวก มีความสงัด ไม่มีสิ่งใดรบกวน มีสิ่งคลุมบังไม่ให้ร้อนด้วยแสงแดดหรือน้ำฝน ไม่อยู่ในที่ซึ่งลมแรงหรือพายุกล้า เพราะจะเป็นการรบกวนในการเพ่งกสิณ และต้องไม่ใช่ที่ซึ่งผู้คนสัญจรไปมาสับสนอลหม่าน หรือมีการงานของชุมชนปะปนอยู่ เพราะเป็นเครื่องรบกวนในการเพ่งกสิณเช่นเดียวกัน

    จากจุดที่ตั้งวงกสิณก็มาถึงจุดที่นั่งเพ่งกสิณ ซึ่งจะต้องอยู่ในระยะที่ไม่ห่างเกินไป และไม่ใกล้เกินไป คือเป็นระยะที่ตาสามารถมองเห็นวงกสิณได้ถ้วนทั่ว ชัดเจน ซึ่งโบราณมาได้ประมาณระยะไว้ว่าชั่วแอกหนึ่ง คือแอกที่เทียมวัวไถนานั่นเอง แต่ถ้าจะให้กำหนดเป็นระยะที่ใกล้เคียงมากยิ่งขึ้นก็พึงเป็นระยะ 1 วา 2 ศอก

    เพื่อป้องกันไม่ให้มดไต่ไรตอมรบกวนการเพ่งกสิณ ก็ควรจะยกพื้นที่นั่งให้สูงสักหน่อยหนึ่งในระดับที่ไม่ต้องก้มมากเกินไป หรือต้องเงยมากเกินไป และขนาดความสูงของที่นั่งที่มีคุณสมบัติเช่นนี้จึงประมาณได้เท่ากับความสูงประมาณ 1 คืบ 4 องคุลี

    เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการเพ่งวงกสิณธาตุดินก็คือการทำให้ภาพของวงกสิณทรงจำติดตรึงตาตรึงใจทั้งในขณะลืมตาและหลับตา เพื่อจะได้นำภาพของวงกสิณที่ทรงจำติดตาตรึงใจนั้นไปเป็นตัวกำหนดในการเพ่งในลำดับถัดไป

    ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการเพ่งปฐวีกสิณก็คือการทรงจำภาพวงกสิณจากการเพ่งด้วยตาเนื้อก่อน จนภาพวงกสิณนั้นจำติดตาตรึงใจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และสามารถนึกมโนภาพเห็นวงกสิณนั้นได้แม้ในยามหลับตา จากนั้นจึงเป็นการใช้จิตเพ่งภาพวงกสิณที่ติดตาตรึงใจเพื่อทำจิตให้ตั้งมั่นต่อไป หรืออีกนัยหนึ่งก็คือใช้จิตทำหน้าที่เป็นตาในการเพ่งกสิณที่ทรงจำติดตาตรึงใจนั้นเพื่อให้จิตรวมตัวตั้งมั่น

    โดยสรุปย่อมกล่าวได้ว่าการทำปฐวีกสิณจะมีขั้นตอนอยู่สองขั้นตอน คือ

    ขั้นตอนแรก เป็นขั้นตอนใช้จักษุหรือตาเพ่งมองวงกสิณในระยะชั่วแอกหนึ่งนั้น เพื่อให้มีความทรงจำในวงกสิณติดตาตรึงใจ มีมโนภาพวงกสิณเกิดขึ้นกับจิตให้ได้

    ขั้นตอนที่สอง เป็นขั้นตอนการใช้จิตเพ่งมองวงกสิณที่ทรงจำติดตาตรึงใจในมโนภาพนั้น จนกระทั่งเห็นเป็นภาพชัดขึ้นและภาพที่ชัดขึ้นนี้เรียกว่านิมิต โดยนิมิตที่ปรากฏขึ้นจากการเพ่งนี้มีชื่อว่าอุคหนิมิต

    ในขั้นตอนแรก เมื่อตั้งวงกสิณหรือกำหนดวงกสิณและกำหนดจุดที่นั่งเพ่งเรียบร้อยแล้ว ก็พึงปล่อยอารมณ์ทำจิตใจให้สบาย ให้เป็นไปตามธรรมชาติให้มากที่สุด เพื่อการนี้จะต้องคำนึงถึงท้องไส้ให้ดี อย่าให้เป็นเครื่องรบกวนในการเพ่งกสิณได้ ดังนั้นในเวลาหลังอาหารใหม่ ๆ จึงไม่ควรเพ่งกสิณ เพราะระบบย่อยอาหารกำลังทำงานอยู่ และการย่อยอาหารยังไม่เสร็จสิ้น เหตุนี้การเพ่งกสิณจึงพึงกระทำในขณะที่ท้องไส้เป็นปกติ คือถ้าเป็นเวลาหลังอาหารก็ต้องล่วงเวลาไปแล้วไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ถ้าเป็นคนย่อยยากหรือกินอาหารหนักก็อาจต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมงก็ได้ ทั้งนี้พึงประมาณเอาจากอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกายว่าอาหารย่อยเสร็จเรียบร้อยแล้วหรือไม่

    ความจริงการนั่งหรือการยืนเพ่งกสิณก็ทำได้ทั้งสองอย่าง แต่ที่มีผลทำให้จิตตั้งมั่นได้มากกว่าก็คือการนั่ง เพราะมีลักษณาการที่มั่นคงกว่า ส่วนลักษณะการนั่งนั้นจะนั่งแบบไหนก็ได้ แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรเป็นท่านั่งสมาธิ เพราะมีความมั่นคง ไม่โยกเยกคลอนแคลน และในกิริยาอาการเช่นนั้นร่างกายมีความสบายที่สุด

    เมื่อนั่งเข้าที่เข้าทางวางอารมณ์ตามสบายแล้ว ก็ควรหลับตาสักครู่หนึ่งเพื่อพักสายตา สูดหายใจเข้าออกลึก ๆ สัก 2-3 ครั้ง แล้วมองวงกสิณด้วยความตั้งใจ

    ตรงนี้ควรทำความเข้าใจสักหน่อยหนึ่งว่าบางสำนักหรือครูอาจารย์บางท่านจะยังไม่ให้เพ่งมองวงกสิณก่อน แต่จะสอนให้พิจารณาโทษของกาม และอานิสงส์ของเนกขัมมะก่อน และบางที่ก็จะสอนให้ละนิวรณ์หรืออุปกิเลสทั้งห้าก่อน

    ในส่วนนิวรณ์หรือไอ้โม่งห้าตัวได้กล่าวมาแล้ว จึงไม่กล่าวในที่นี้อีก แต่จะกล่าวเฉพาะในเรื่องที่จะกำหนดให้พิจารณาโทษของกามและเนกขัมมะว่าเป็นเรื่องที่พึงพิจารณาก่อนในตอนนี้หรือไม่?

    ดังที่ได้กล่าวมาโดยลำดับแล้วว่าผู้ที่มีอัชฌาสัยชอบพอในกสิณวิธีนั้น ทั่วไปโดยมากแล้วจิตใจยังหยาบกระด้าง หวั่นไหววอกแวกได้โดยง่าย สิ่งรบกวนต่าง ๆ เป็นอุปสรรคได้โดยง่าย ลักษณะของจิตแบบนี้ปัญญายังเบาบางนัก ไม่มีอานุภาพเพียงพอที่จะเห็นโทษของกาม หรืออานิสงส์ของเนกขัมมะได้เลย

    เพราะเมื่อว่าเกี่ยวกับกามแล้ว โทษของกามนั้นมีมากมายเหลือที่จะท่องจำ เฉพาะที่มีกำหนดในเชิงปริยัติก็มีโทษถึง 20 อย่าง ตั้งแต่เป็นเหตุให้เกิดความยินดีน้อยไปจนถึงเป็นเหตุทำให้เกิดความคับแค้นจนหาที่ประมาณมิได้ หากจะมัวนั่งพิจารณาเรื่องโทษของกามก่อนก็จะไม่เป็นอันได้เพ่งพิจารณากสิณเลย แม้เอากันแค่ท่องจำโทษของกามทั้ง 20 อย่างก็เกินวิสัยที่เวไนยสัตว์ส่วนใหญ่จะจดจำทำได้อยู่แล้ว ซึ่งไม่สอดคล้องกับคำสอนของพระบรมศาสดาที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของคนหมู่มาก ไม่ใช่เป็นไปเพื่อยอดคนที่มีคุณวิเศษเฉพาะจำนวนน้อยนิด

    ในส่วนของเนกขัมมะนั้นเล่าก็เป็นเรื่องใหญ่เรื่องลึก เพราะเนกขัมมะคือข้อปฏิบัติดี เช่น ปฐมฌานเป็นต้น ผู้ฝึกฝนอบรมจิตจะไปถึงปฐมฌานในตอนไหนเล่า ย่อมไม่ใช่ในตอนเริ่มต้นการฝึกฝนอบรมเป็นแน่แท้ นี่เอากันแค่สิ่งที่เรียกว่าเนกขัมมะ

    ครั้นมาถึงอานิสงส์ของเนกขัมมะอีกก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นเรื่องของการกำจัดนิวรณ์โดยตรง และยังรวมไปถึงการอยู่ด้วยวิมุตคือความยินดีในความสงัด สมบูรณ์ด้วยสติ มีความแกล้วกล้าทางจิตจนสามารถอดทนต่อสิ่งรบกวนและทุกข์ที่เกิดกับร่างกายได้

    ดังนั้นผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติจึงไม่พึงไปวนเวียนวนว่ายหรือติดอยู่กับอุปสรรคในการพิจารณาโทษของกาม 20 อย่าง และอานิสงส์ของเนกขัมมะซึ่งเป็นเรื่องลึก เรื่องใหญ่ ใกล้แดนวิมุตเข้าไปทุกทีเสียแต่ในชั้นนี้ โดยพึงเข้าใจว่านี่เป็นการเริ่มต้นการเรียน ก.ไก่ ข.ไข่ เท่านั้น ป่วยการไยที่จะให้แบบอย่างของฉันทลักษณ์อันลึกซึ้งมาเป็นอุปสรรคเสียตั้งแต่ต้น

    ก็เป็นดังที่ท่านเจ้าคุณพุทธทาสกล่าวไว้นั่นแหละว่า ถ้ามัวแต่ติดยึดหลงวนเวียนว่ายอยู่ในเรื่องเหล่านี้ก่อนก็จะเสียเวลาและตายเปล่า โดยที่ไม่มีโอกาสฝึกฝนอบรมจิตเลย

    แต่เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่จะต้องเผชิญหน้า จะต้องประสบพบรู้ในท่ามกลางการปฏิบัติหรือในการเพ่งกสิณนั่นเองคือมันจะพบ มันจะเห็น มันจะสัมผัสได้ มันจะระงับดับไปและในส่วนที่เป็นกุศลก็จะเจริญงอกงามขึ้นตามลำดับขั้นของการฝึกฝนอบรมเอง

    ดังนั้นจึงพึงมาเริ่มต้นกันที่การใช้จักษุประสาทหรือการใช้สายตาเพ่งมองที่วงกสิณ โดยไม่ต้องไปพะวงคำนึงถึงอุปสรรคหรือเรื่องอื่น ๆ คำนึงแต่เพียงว่ากำลังฝึกฝนอยู่ในขั้นตอนที่หนึ่งของการฝึกฝนแบบปฐวีกสิณ คือเพ่งมองวงกสิณจนสามารถทรงจำติดตาตรึงใจครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งยามลืมตาและยามหลับตาให้ได้สำเร็จก็เป็นอันบรรลุการฝึกฝนในขั้นนี้แล้ว.
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (33) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">3 กุมภาพันธ์ 2548 18:24 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ในขั้นตอนแรกของการฝึกฝนปฏิบัติแบบปฐวีกสิณจะมีเป้าหมายอยู่ตรงที่การเพ่งวงกสิณจนมีความทรงจำติดตาตรึงใจเกิดเป็นมโนภาพขึ้นอย่างชัดเจนและมั่นคง ดังนั้นเมื่อได้เตรียมการทั้งด้านวงกสิณ ด้านที่นั่งเพ่งกสิณ และด้านตัวผู้ฝึกฝนอบรมในบรรยากาศและสถานที่ที่เหมาะสมแล้ว ลำดับจากนั้นไปก็จะเป็นการฝึกฝนเพ่งมองวงกสิณ

    จากระยะที่นั่งไปถึงที่ตั้งวงกสิณซึ่งเป็นระยะประมาณชั่วแอกหนึ่งนั้น นับเป็นระยะที่พอเหมาะพอดีแก่การมองเห็นถ้วนทั่ว แต่ก่อนที่จะเริ่มการเพ่งก็ควรจะได้ทำการพักสายตาสักหน่อยหนึ่งก่อน นั่นคือเมื่อทำจิตใจให้ปลอดโปร่งโล่งใจสบายแล้วก็นั่งสมาธิหลับตาลง จนรู้สึกว่ามีความรู้สึกสบายตา ไม่เมื่อยตา ไม่ปวดแสบปวดร้อนหรือรำคาญนัยน์ตา แล้วจึงค่อยๆ ลืมตา

    ลืมตาในลักษณะธรรมดา ไม่เบิ่งกว้างจนเกินไป และไม่หรี่ตาเกินไป เรียกว่าเป็นการมองวงกสิณอย่างสบาย ๆ แต่ที่เรียกว่าเป็นการเพ่งก็เพราะมุ่งจ้องมองอยู่ที่วงกสิณนั้น ไม่ให้ละ ไม่ให้คลายสายตาไปที่อื่น

    ในระหว่างที่มองวงกสิณอยู่นั้นจะมีสิ่งรบกวนเกิดขึ้น 2-3 อย่าง ซึ่งเป็นปกติธรรมดาที่ผู้ศึกษาทุกคนจะต้องประสบ

    อย่างแรก จะรู้สึกวอกแวกเหมือนกับการฝึกอบรมแบบมาตรฐาน เพราะมายาของจิตที่เกเรไม่อยากรับการฝึกอบรมกระทำอุบายให้คิดเรื่องโน้น คิดเรื่องนี้ จนมีความวอกแวกขึ้น

    อย่างที่สอง จะรู้สึกรำคาญจากเหตุปัจจัยภายนอก เช่น รู้สึกว่ามีฝุ่นปลิวเข้าตาบ้าง มีลมแรงพัดเข้าตาบ้าง ได้ยินเสียงที่รบกวนบ้าง ได้กลิ่นที่ไม่สบอารมณ์บ้าง มีอาการคันเหมือนถูกยุงกัดมดไต่ไรตอมบ้าง

    อย่างที่สาม จะรู้สึกรำคาญมาจากเหตุปัจจัยภายใน เช่น เมื่อยบ้าง ล้าบ้าง หิวบ้าง กระหายบ้าง เบื่อหน่ายบ้าง รำคาญบ้าง

    ทั้งสามอย่างนี้มีทั้งจริง มีทั้งหลอก ในส่วนที่จริงก็คือมีเรื่องราวจริงเกิดขึ้นแล้วทำให้รู้สึกว่าถูกรบกวน และในส่วนที่หลอกอันเกิดแต่มายาของจิตทำให้รู้สึกว่าถูกรบกวนเช่นเดียวกัน แต่ทั้งจริงทั้งหลอกก็ขึ้นอยู่กับจิตทั้งสิ้นและต้องแก้ไขกันที่จิตทั้งสิ้น

    นั่นคือการข่มจิตให้มีความอดทนต่อสิ่งรบกวนทั้งหลาย ซึ่งก็คือการฝึกฝนอบรมจิตให้มีความเข้มแข็ง ให้มีความอดทนต่อภาวะทั้งหลายที่รบกวน การข่มจิตให้มีความอดทนย่อมกระทำได้หลายวิธี เช่น ทำการกำหนดให้รู้ว่ามีสิ่งรบกวนเกิดขึ้นแล้ว ให้รู้ว่ามีความรู้สึกรำคาญหรือไม่สบายอย่างไรแล้ววางเฉยต่อสภาวะนั้นเสีย หรือความพยายามอดทนต่อสิ่งที่รบกวนนั้น เอาอำนาจของจิตเข้าต่อสู้กับสิ่งรบกวนซึ่งหน้าโดยตรง และไม่ว่าจะเป็นวิธีใดก็ล้วนแต่เป็นการฝึกฝนอบรมจิตให้มีความตั้งมั่น มีความมั่นคง และมีความบริสุทธิ์ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ ไปโดยลำดับนั่นเอง

    ผู้ศึกษาปฏิบัติจึงต้องเผชิญกับสภาวการณ์สองอย่าง คือการลืมตาเพ่งมองวงกสิณอย่างหนึ่งไม่ให้คลาดละวางไปจากสายตาอย่างหนึ่ง และกับการต่อสู้กับความรู้สึกซึ่งรบกวนจิตใจอยู่อีกอย่างหนึ่ง ภาวะเช่นนี้จะดำเนินไปอย่างยาวนานจนกว่าจิตจะมีความตั้งมั่นมากขึ้น มีความบริสุทธิ์มากขึ้น และแข็งแกร่งมากขึ้น

    ยามใดที่อำนาจการรบกวนเหนือกว่า ยามนั้นก็ไม่อาจเพ่งมองวงกสิณต่อไปได้ เท่ากับจิตถูกบังคับให้ต้องมาต่อสู้กับสิ่งรบกวนเสียก่อนซึ่งเป็นธรรมดาธรรมชาติที่จะต้องเป็นไป เพราะตราบใดที่ภาวะซึ่งรบกวนก่อความรำคาญยังดำรงอยู่และไม่หมดสิ้นไป ตราบนั้นจิตย่อมไม่อาจรวมตั้งมั่นได้ ต้องวอกแวกวุ่นวายอยู่ร่ำไป และต้องทำการต่อสู้กับสภาวะเช่นนั้นอยู่ร่ำไป

    ผลของการต่อสู้ระหว่างจิตกับมายาของจิตหรือสิ่งรบกวนที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะหนึ่ง ๆ นั้น จะให้ผลสองประการ ประการแรก เมื่อจิตทนต่อสิ่งรบกวนต่อไปไม่ไหวก็ต้องหยุดหรือวางมือจากการเพ่งวงกสิณนั้นไว้ชั่วคราว หรือพักชั่วคราว จากนั้นก็เริ่มต้นใหม่ ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นหลายครั้ง บางคนอาจจะเกิดขึ้นเป็นปี ๆ ก็ได้สุดแท้แต่อัชฌาสัยความเพียรและความตั้งมั่นของจิตที่จะก่อตัวพัฒนาขึ้นมาโดยลำดับ แต่บางคนก็จะผ่านพ้นไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ต้องนับว่าเป็นวาสนาที่ได้บำเพ็ญมาแต่ก่อน

    ยามใดที่จิตต่อสู้กับสิ่งรบกวนและก่อรำคาญนั้นแล้วได้ชัยชนะ ภาวะรบกวนรำคาญก็จะผ่อนคลายลงไป ใจก็จะมีความเป็นอิสระจากสิ่งรบกวนแล้วหันมาสนใจกับการเพ่งวงกสิณต่อไป เพ่งไปอีกสักพักหนึ่งก็อาจมีสิ่งรบกวนรำคาญนั้นเกิดขึ้นมาใหม่ได้อีก ก็ต้องต่อสู้กันอีก การต่อสู้กับภาวะที่รบกวนจะดำเนินไปในลักษณะเช่นนี้ จนในที่สุดจิตก็จะมีความเคยชิน มีความตั้งมั่นมากขึ้น มีความเข้มแข็งมากขึ้น เป็นอิสระจากสิ่งรบกวนมากขึ้น จิตก็จะค่อย ๆ ก่อตัวเป็นสมาธิในการเพ่งวงกสิณนั้น

    นั่นเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ฝึกฝนปฏิบัติที่จิตใจจะต้องทำการต่อสู้กับสิ่งรบกวนต่าง ๆ โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ขึ้นอยู่กับว่าจะต้องเผชิญหน้ากันมากน้อยประการใด หนักเบาประการใดเท่านั้น เพราะเหตุนี้ความอดทน ความเพียรพยายามและความข่มใจจึงเป็นคุณธรรมสำคัญที่จะต้องมีอยู่และเกิดขึ้นเป็นลำดับไปด้วย

    ในท่ามกลางการต่อสู้เช่นนั้น นามกายอันหยาบอยู่ตามปกติก็จะค่อย ๆ เข้มแข็งขึ้น นั่นคือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา จะค่อย ๆ ก่อตัวเข้มแข็งขึ้นเป็นลำดับไปด้วย นี่เป็นอานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนอบรมจิตอันเป็นปกติธรรมดา

    เพราะในท่ามกลางการต่อสู้นั้น ศรัทธาจะค่อย ๆ ก่อตัวกล้าแข็งขึ้น มีความเชื่อมั่นว่าสิ่งรบกวนเหล่านั้นจะต้องถูกขจัด จะต้องหมดสิ้นไปด้วยอำนาจของความตั้งมั่นของจิต เมื่อศรัทธาก่อตัวเข้มแข็งขึ้น ความเพียรที่จะเอาชนะต่อสิ่งรบกวนก็จะเกิดขึ้น สติซึ่งเป็นการทำหน้าที่ของจิตอย่างหนึ่งก็จะมั่นคงขึ้น สมาธิที่เกิดกับจิตก็จะก่อตัวมั่นคงขึ้นด้วย ปัญญา การเห็นความจริงเป็นลำดับไปก็จะเกิดขึ้นตาม และพัฒนาไปโดยลำดับ นี่เรียกว่านามกายกำลังก่อตัวพัฒนาขึ้นจากที่หยาบและบางเบา เป็นละเอียด ประณีต และมีพลังขึ้นโดยลำดับ

    ดังนั้นในขณะที่จิตทำการต่อสู้กับสิ่งที่รบกวน รูปกายคือร่างกายคงนั่งทำหน้าที่เพ่งพิจารณาอยู่ นามกายก็ค่อยๆ ก่อตัวเข้มแข็งขึ้น ขอให้ตั้งความสังเกตให้ดีว่าสิ่งที่เรียกว่านามกายซึ่งจะพัฒนาเป็นกายทิพย์หรือทิพย์กาย และเป็นกายที่ใช้ในการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ในกาลข้างหน้า จะค่อยๆ ก่อตัวประณีตและเข้มแข็งขึ้นโดยลำดับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป

    เมื่อจิตมีความเข้มแข็ง สามารถเอาชนะสิ่งรบกวนหยาบ ๆ ทั้งหลายได้แล้ว จิตก็จะให้ความสนใจในการเพ่งวงกสิณต่อไป

    ตาและจักษุประสาทจะเพ่งมองวงกสิณด้วยอาการที่สงบนิ่งมากขึ้น มั่นคงมากขึ้น เยือกเย็นมากขึ้นโดยลำดับ ในระหว่างที่เพ่งมองวงกสิณนั้นเป็นธรรมดาที่ตาย่อมมีการกะพริบบ้าง แต่เมื่อนานไปและคุ้นเคยมากขึ้นแล้ว การกะพริบของตาก็จะค่อย ๆ ห่างลง คือสามารถมองวงกสิณได้นานขึ้น

    ในขณะที่ตามองวงกสิณนั้น จักษุประสาทก็จะทำหน้าที่รับภาพของวงกสิณเข้ามาสู่ตา จักษุวิญญาณก็จะทำหน้าที่รับรู้รับเห็นจากผัสสะหรือการสัมผัสนั้น แล้วเกิดความทรงจำขึ้นในจิต สัญญาขันธ์ก็จะทำงานทรงจำภาพที่เห็นไว้ในจิต รูปคือวงกสิณที่เห็นทำให้เกิดเวทนาคือความรู้สึกต่อสิ่งที่เห็น เกิดความทรงจำในสิ่งที่เห็น เกิดปฏิกิริยาต่อสิ่งที่เห็น และเกิดปฏิบัติการต่อสิ่งที่เห็น ขันธ์ห้าได้ทำงานครบถ้วนสมบูรณ์ในขณะนั้น จิตจะสัมผัสถึงการทำงานของขันธ์ห้าที่เป็นระบบต่อเนื่องอย่างชัดเจนขึ้นโดยลำดับ

    ในขณะที่เพ่งมองวงกสิณนั้น จักษุประสาทก็จะเห็นภาพวงกสิณสีดินอรุณ รวมทั้งภาพอื่นข้างเคียงเป็นธรรมดา จากนั้นจิตก็จะกำหนดการเพ่งและการเห็นเฉพาะในวงกสิณเท่านั้น นั่นคือกระบวนการได้ผ่านขั้นตอนจากภาวะการรบกวน จากภาวะที่กว้างขวางมาจำกัดลงที่วงกสิณอันเป็นดินสีอรุณ

    กำหนดให้ตาเห็นดิน เน้นเอาที่ดิน เพ่งเอาที่ดิน อย่าเห็นหรือเพ่งเอาที่สีของดินเพราะจะผิดเพี้ยนกลายเป็นกสิณประเภทอื่น หรือเป็นกสิณประเภทสีไปได้

    เมื่อเห็นดิน เน้นเอาที่ดิน เพ่งเอาที่ดินจนเห็นภาพชัดเจนในวงกสิณนั้นแล้วก็ทรงจำรูปแบบขนาดและลักษณะของดินอันอยู่ในวงกสิณไว้โดยลำดับ ซึ่งก็คือการมองหรือการเพ่งให้เห็นดินสีอรุณ ซึ่งอยู่ในวงกสิณนั้นอย่างชัดเจนและทั่วถ้วน เห็นถึงความราบเรียบ เห็นถึงความเป็นดิน และเห็นถึงความเป็นดินที่อยู่ภายในวงกสิณเท่านั้น

    ในขั้นตอนนี้นี่แหละจิตก็จะออกอาการมายาเกเรขึ้นมาอีกคือมายาในทางติดยึดอยู่กับที่ ไม่อยากก้าวหน้าต่อไป ทำนองเดียวกับมายาของจิตรที่เกิดขึ้นในการฝึกฝนอบรมจิตแบบมาตรฐานดังที่ได้แสดงมาแล้ว และต้องทำการขจัดมายาเหล่านั้นเป็นลำดับไป และเมื่อผ่านขั้นตอนนี้ไปแล้วจิตก็จะมีความตั้งมั่นมากขึ้นไปอีก มีพลังและมีความเข้มแข็งมากขึ้นไปอีก

    การต่อสู้กับมายาในลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นเป็นธรรมดาธรรมชาติและอาจใช้เวลามากน้อยในการต่อสู้เอาชนะสุดแท้แต่ความมั่นคงของจิต และความเพียรพยายามของแต่ละคน แต่ในที่สุดก็จะเอาชนะได้ จิตจะมีความตั้งมั่นบริสุทธิ์และแข็งแกร่งมากขึ้น

    ในระหว่างการเพ่งนั้นเมื่อรู้สึกว่าทรงจำดินในวงกสิณได้ชัดเจนแล้วก็ให้ลองหลับตาดูเหมือนหนึ่งกำลังลืมตาอยู่ แล้วทดสอบด้วยความรู้สึกของตนเองว่าภาพของวงกสิณนั้นยังปรากฏกระจ่างชัดและครบถ้วนสมบูรณ์เป็นมโนภาพอยู่หรือไม่

    บ้างก็รู้สึกว่าจำไม่ได้ถนัด บ้างก็รู้สึกว่าจำสภาพวงกสิณไม่ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ บ้างก็รู้สึกว่าจำสภาพดินไม่ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ นั่นก็คือยังทรงจำขนาดของวงกสิณ ดินที่เป็นกสิณ รูปแบบของวงกสิณและภาพที่ปรากฏยังไม่สมบูรณ์นั่นเอง

    เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ให้ลืมตาขึ้นทำการเพ่งมองวงกสิณใหม่ เมื่อมั่นใจว่าทรงจำวงกสิณได้แม่นยำดีแล้วก็ลองหลับตาเพ่งเสมือนหนึ่งลืมตาอยู่อีก แล้วทดสอบผลการทรงจำว่าวงกสิณปรากฏในมโนภาพครบถ้วนสมบูรณ์ดีหรือไม่ ทำแล้วทำเล่า ครั้งแล้วครั้งเล่า จนเมื่อใดที่เห็นในมโนภาพเป็นวงกสิณที่เป็นปฐวีกสิณนั้นชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์นั่นแหละย่อมเป็นอันได้ชื่อว่าได้บรรลุถึงขั้นแรกของการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ คือการเห็นและทรงจำวงกสิณอย่างติดตาตรึงใจ มีมโนภาพเป็นวงกสิณเกิดขึ้นในจิต

    ลืมตาเพ่งมองจนเชื่อมั่นว่าทรงจำวงกสิณได้แล้วหลับตาลงเพ่งมองเสมือนหนึ่งว่ายังลืมตาอยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนในที่สุดในขณะที่หลับตาและเพ่งมองอยู่นั้นก็สามารถเห็นวงกสิณได้อย่างชัดเจนเหมือนกันกับการลืมตา นั่นแหละย่อมบรรลุถึงขั้นแรกของการกระทำปฐวีกสิณ.
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (34) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">10 กุมภาพันธ์ 2548 18:31 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เมื่อเพ่งมองวงกสิณด้วยความเพียรจนทรงจำได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในปฐวีกสิณ ถึงขนาดที่หลับตาก็เกิดมโนภาพเห็นวงกสิณชัดเจนถ้วนทั่วเหมือนกับลืมตา ย่อมได้ชื่อว่าบรรลุถึงขั้นตอนแรกในการทำปฐวีกสิณ ดังนั้นการฝึกฝนอบรมในขั้นที่สองจากนี้ไปคือการใช้จิตเพ่งมองวงกสิณที่ปรากฏเป็นมโนภาพนั้น

    ในขณะที่หลับตาแล้วเห็นมโนภาพเป็นวงปฐวีกสิณครบถ้วนสมบูรณ์ชัดเจนนั้น ย่อมได้ชื่อว่าอุคหนิมิตซึ่งโดยตัวหนังสือแปลว่านิมิตที่ติดอยู่กับตา และโดยความหมายก็คือการเห็นภาพเป็นมโนภาพอยู่กับจิต ในขณะที่บังเกิดอุคหนิมิตก่อตัวขึ้นนี้ นิวรณ์ทั้งห้าซึ่งเป็นอุปกิเลสรบกวนขัดขวางการทำงานตามปกติของจิตจะค่อย ๆ สูญสลายไป จิตจะรวมตัวตั้งมั่นได้มากขึ้น มีพลังมากขึ้น

    การที่อุคหนิมิตเริ่มก่อตัวขึ้นนี้บางทีก็เรียกว่าได้บรรลุถึงกสิณสัญญาหรือได้กสิณสัญญา ซึ่งแปลว่ามีความจำหมายได้ในวงกสิณนั้น

    เป้าหมายของการฝึกฝนในขั้นตอนที่สองของการฝึกฝนแบบปฐวีกสิณจะเป็นการเพ่งมโนภาพอันเป็นวงกสิณนั้น จนกระทั่งเห็นวงกสิณนั้นอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน มีความแน่วนิ่งอยู่กับที่

    เพราะเมื่อมีมโนภาพเกิดกับจิตเห็นเป็นวงกสิณถ้วนทั่วชัดเจนนั้น สิ่งที่เห็นเช่นนั้นเป็นการเห็นอีกชนิดหนึ่งแล้ว ไม่ใช่การเห็นด้วยตาหรือจักษุ แต่เป็นการเห็นด้วยจิต เป็นแต่ว่ายังบางเบาไม่มั่นคง ไม่คงที่ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการเห็นในลักษณะนี้คือการเห็นด้วยนามกายที่เริ่มก่อตัวเข้มแข็งแกล้วกล้ามากขึ้นก็ได้

    การเพ่งวงกสิณให้เห็นปฐวีกสิณชัดเจนถ้วนทั่วในขั้นตอนนี้เป็นการเพ่งด้วยจิต มองด้วยจิต หรือตาของนามกาย เพื่อเห็นรูปซึ่งปรากฏขึ้นกับจิตเป็นมโนภาพ

    ในเบื้องต้นของการเห็นนั้นรูปวงกสิณจะเหมือนลอยอยู่ในอากาศ บางทีก็คล้ายกับว่าอยู่ใกล้ บางทีก็คล้ายกับว่าอยู่ไกล บางทีก็เหมือนเลื่อนขึ้นลงหรือไปทางซ้ายขวา บางทีก็จะเห็นว่ามีขนาดเล็กลง บางทีก็มีขนาดใหญ่ขึ้น นี่คืออาการที่แสดงออกของความไม่มั่นคง ของความไม่แน่วนิ่งของจิตนั่นเอง

    เพราะเหตุที่จิตยังไม่มั่นคง ยังไม่แน่วนิ่ง มโนภาพนั้นจึงยังไม่มั่นคงและไม่แน่วนิ่งด้วย การฝึกฝนอบรมในขั้นตอนนี้จึงมุ่งหมายเพ่งให้มโนภาพอันเป็นอุคหนิมิตนั้นมีความมั่นคง มีความแน่วนิ่ง ซึ่งเป็นการขยับจากภาพวงกสิณที่เห็นด้วยสายตาคือตาเนื้อมาเป็นภาพวงกสิณที่เป็นมโนภาพ และเห็นด้วยจิตหรือตาของนามกาย แล้วทำให้มั่นคงแน่วนิ่ง กล่าวถึงที่สุดแล้วก็คือการฝึกฝนอบรมได้ยกระดับจากที่หยาบมาเป็นละเอียดประณีตขึ้น คือเริ่มมาถึงตัวจิตแล้ว

    ในขั้นตอนนี้นี่แหละที่ภาวะรบกวนจิตใจหรือที่เรียกว่านิวรณ์ซึ่งเบาบางลงจะฟุ้งกระพือขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะต้องเผชิญหน้ากับมันด้วยกำลังอำนาจของจิตจนกว่าจะผ่านพ้นไปได้ในที่สุด

    นิวรณ์คืออารมณ์ความรู้สึกที่รบกวนจิตใจ จัดเป็นอุปกิเลสชนิดหนึ่งดังที่เคยแสดงไว้บ้างแล้ว มี 5 ประการคือ ความที่จิตหมกมุ่นติดพันหวนรำลึกถึงความกำหนัดหรือกามและทำให้จิตที่กำลังจะก้าวรุดหน้าไปต้องหยุดชะงักหรือถอยหลังและมีความเศร้าหมองอย่างหนึ่ง ความพยาบาทรุ่มร้อนในจิตใจอย่างหนึ่ง ความพลั้งเผลอเลินเล่อฟุ้งซ่านของจิตอย่างหนึ่ง ความรู้สึกง่วงเหงาเบื่อหน่ายไม่มุ่งหน้าไปในความพากเพียรอย่างหนึ่ง และความสงสัยซึ่งก็คืออารมณ์ความรู้สึกสงสัยในความสงบ ในสภาพที่เห็นอยู่ สงสัยในสิ่งที่กระทำอยู่และในสิ่งอื่น ๆ อีกอย่างหนึ่ง

    โดยนิวรณ์ข้อแรกคือกามฉันทะนั้นจะเกี่ยวพันกับเรื่องกาม ซึ่งมีโทษถึง 20 ประการ และหลายที่หลายแห่งได้เสนอแนะให้ทำการศึกษาเสียตั้งแต่ก่อนการฝึกอบรมจิต ซึ่งได้ติงไว้ในตอนต้นแล้วว่าเป็นไปไม่ได้ มาถึงขั้นนี้ก็จะเห็นได้ชัดว่าภาวะเช่นนั้นยังคงมีอยู่และรบกวนการฝึกฝนอบรมจิตจริง ๆ การที่เห็นชัดขึ้นก็เพราะจิตมีพลังมากขึ้นนั่นเอง

    พระอนุรุทธมหาเถระได้แสดงความนัยของเรื่องนิวรณ์ไว้เป็นสองนัยยะว่าถ้านิวรณ์เกิดจากอาหารหรือกาลอันไม่สมควรแล้ว ไม่ถือว่าเกิดกับจิตเพราะเกิดจากปัจจัยภายนอก แต่ถ้าเกิดขึ้นกับจิตโดยตรงย่อมละเสียได้ด้วยความเพียรพยายาม

    แต่เพื่อความสะดวกและเพื่อความง่ายในการฝึกฝนปฏิบัติ ไม่ว่านิวรณ์จะเกิดขึ้นด้วยเหตุใดก็ตาม มันย่อมส่งผลรบกวนการทำหน้าที่ของจิตทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่ควรละทั้งสิ้น วิธีการละก็คือการละด้วยปัญญา เห็นตามความเป็นจริงอย่างหนึ่งแล้วละเสีย และการละด้วยกำลังอำนาจของจิตที่มีความแกล้วกล้าเข้มแข็งขึ้น จนสามารถตัดรอนละนิวรณ์นั้นเสียได้อีกอย่างหนึ่ง

    ในขณะที่อุคหนิมิตก่อตัวขึ้น สิ่งรบกวนจิตใจหรือที่เรียกว่านิวรณ์ทั้งห้าอย่างก็จะผุดขึ้นมารบกวนจิตใจ การปฏิบัติที่เป็นจริงในขั้นตอนนี้จึงเป็นการต่อสู้กันระหว่างความเพียรในการเพ่งนิมิตกับความรู้สึกที่ต้องการละความเพียรนั้นเสีย เพราะผลจากการรบกวนจิตใจของนิวรณ์ห้าประการดังกล่าว

    ด้วยความเพียรพยายามเพ่งอยู่กับนิมิต จิตก็จะมีความกล้าแข็งตั้งมั่นขึ้น ค่อยๆ ละนิวรณ์ทั้งห้าประการจากที่หนักหน่วงในตอนแรกจนบรรเทาเบาบางลง และสูญสลายไปในที่สุด

    เมื่อนิวรณ์ทั้งห้าสูญสลายไปแล้ว อานิสงส์ของความไม่มีนิวรณ์รบกวนทั้งปวงก็จะบังเกิดขึ้น ซึ่งมีพรรณนาไว้มากหลาย แต่เพื่อให้ง่ายก็เอาแต่เพียงว่าอานิสงส์ของการละนิวรณ์ได้นั้นจะทำให้จิตตั้งมั่นมากขึ้น มีความบริสุทธิ์ของจิตมากขึ้น จิตมีพลังแกล้วกล้ามากขึ้น สามารถทำหน้าที่การงานได้ดียิ่งขึ้น

    พูดนั้นง่ายอยู่แต่การปฏิบัติจริงไม่ง่ายดังที่พูด เพราะการต่อสู้ระหว่างความเพียรกับอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นฤทธิ์เดชของนิวรณ์นั้น ความรู้สึกที่จะละวางความเพียรจะดำเนินไปอย่างยาวนาน และจะสามารถละนิวรณ์ได้เด็ดขาดจริง ๆ ก็ต่อเมื่อจิตเป็นสมาธิในระดับอัปปนาสมาธิแล้วเท่านั้น

    ความเพียรพยายามเป็นองค์หนึ่งของนามกาย หรือองค์หนึ่งของจิต เมื่อความเพียรพยายามเข้มแข็งก้าวหน้า สามารถเอาชนะอารมณ์ความรู้สึกที่จะละความเพียรเสียได้ เมื่อนั้นนามกายก็จะก่อตัวเข้มแข็งขึ้นตามไปด้วย เป็นสภาวะธรรมที่เป็นไปเองตามธรรมดาธรรมชาติ

    เพราะเหตุที่นามกายคือองค์ทั้งห้าของจิต ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ค่อย ๆ ก่อตัวมั่นคงเข้มแข็งขึ้นโดยลำดับ จิตก็สามารถทำหน้าที่ได้ดีขึ้นเป็นลำดับ มีความมั่นคงขึ้นเป็นลำดับ มีพลังและความแน่วแน่มากขึ้นเป็นลำดับด้วย

    ระยะเวลาอันยาวนาน การต่อสู้ภายในอันยากลำบาก อาจทำให้ผู้ฝึกฝนอบรมจะต้องพักการฝึกฝนอบรมบ้างเป็นธรรมดา พักแล้วก็เริ่มใหม่ ต่อสู้กันใหม่ จนกระทั่งสามารถต่อสู้กันได้ทั้งวันทั้งคืนอย่างต่อเนื่อง

    เมื่อนามกายหรือจิตมีความตั้งมั่นแน่วแน่มากขึ้น การเพ่งวงปฐวีกสิณก็จะมีความมั่นคงแน่วแน่เด็ดเดี่ยวมากขึ้น ภาพวงกสิณที่เห็นในมโนภาพเป็นอุคหนิมิตแล้วเคลื่อนตัวไปมา มีขนาดใหญ่เล็กต่าง ๆ กัน มีสีสันแปรปรวนไปมาตั้งแต่ต้นก็จักค่อย ๆ มีความชัดเจนขึ้น มีขนาดที่แน่นอนเท่ากับขนาดของจริงมากขึ้นและมีความคงที่มากขึ้นโดยลำดับไปด้วย

    ภาพวงปฐวีกสิณที่ปรากฏชัดเจนมั่นคงแน่วนิ่งต่อเนื่องเช่นนี้นี่แหละที่เรียกว่าบรรลุถึงหรือได้อุคหนิมิตอย่างสมบูรณ์

    ในขณะที่อุคหนิมิตเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์นั้น ภาวะของจิตจะมีความปีติเบิกบานเกิดขึ้น มีความสุขเกิดขึ้นกับจิต นี่เรียกว่าผลที่เกิดขึ้นจากการได้อุคหนิมิต

    เมื่อได้อุคหนิมิตแล้วการฝึกฝนอบรมต่อไปก็คือการฝึกฝนทำอุคหนิมิตนั้นให้เป็นปฏิภาคนิมิต

    ปฏิภาคนิมิตก็คือการเล่นกับอุคหนิมิตนั่นเอง เหมือนกับคนเอาลิงมาเลี้ยง ครั้นได้ฝึกฝนลิงจนเชื่องได้ที่แล้วก็สามารถเล่นหัวกับลิงนั้นได้ แม้กระทั่งให้สามารถแสดงละครลิงก็ได้

    กล่าวในทางปฏิบัติก็คือเมื่อบรรลุถึงอุคหนิมิตแล้วการกระทำปฏิภาคนิมิตก็คือการใช้กำลังอำนาจของจิตเพ่งอุคหนิมิตนั้นอย่างต่อเนื่อง แล้วกำหนดบังคับให้อุคหนิมิตนั้นปรากฏเปลี่ยนแปลงไปตามที่ต้องการจนมีความคุ้นเคยชำนาญ และเกิดขึ้นได้ดังปรารถนา

    เริ่มต้นด้วยการเพ่งอุคหนิมิตนั้นแล้วเพ่งกำหนดให้วงปฐวีกสิณที่เป็นอุคหนิมิตนั้นเล็กลง แล้วขยายให้ใหญ่ขึ้น กระทำจนแคล่วคล่องและปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็ว มั่นคง คงที่

    จากนั้นก็เพ่งอุคหนิมิตกำหนดให้วงปฐวีกสิณเข้ามาใกล้และเลื่อนไกลออกไป จนแคล่วคล่องชำนาญ แล้วเพ่งให้โยกไปทางซ้ายย้ายไปทางขวา เพ่งให้เคลื่อนตัวในขณะที่เล็กลงหรือใหญ่ขึ้น

    เมื่อเกิดความชำนาญดังนี้แล้วก็ได้ชื่อว่าบรรลุถึงปฏิภาคนิมิตหรือได้ปฏิภาคนิมิต

    ในขณะที่จิตบรรลุถึงปฏิภาคนิมิตหรือสามารถกระทำปฏิภาคนิมิตได้แคล่วคล่องว่องไวดังใจปรารถนา ความปีติและความสุขที่เกิดกับจิต ตลอดจนพละกำลังของจิต ความตั้งมั่นของจิตก็จะยกระดับตามขึ้นไปด้วย

    สมาธิของจิตก็จะมีความตั้งมั่นเป็นสมาธิมากขึ้น ก้าวเข้าสู่อุปจารสมาธิเต็มขั้น และเป็นอุปจารสมาธิที่มีกำลังมากกว่าแต่ก่อน แต่ทว่ายังไม่มั่นคงสมบูรณ์ถึงที่สุด ยังมีความเสื่อมสลายไปได้โดยง่าย

    ดังนั้นในขั้นถัดไปจึงเป็นขั้นการรักษานิมิตไว้ให้มั่นคง และสามารถกระทำได้ดังใจปรารถนา วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้ทั่วไปและต้องฝึกฝนอบรมปฏิบัติในทุกกัมมัฏฐานวิธี

    อุปมาดั่งบุคคลไม่ว่าหาทรัพย์ได้ด้วยวิธีการใด เมื่อได้ทรัพย์มาแล้ววิธีการรักษาทรัพย์นั้นก็พึงใช้ได้กับวิธีการหาทรัพย์ทุกวิธี ฉันใดก็ฉันนั้น

    การรักษานิมิตไว้มีบัญญัติวิธีว่าจะต้องงดเว้นจากความชั่วทั้งปวง จะต้องปฏิบัติกุศลธรรมทั้งปวง และจะต้องเพียรพยายามฝึกฝนปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง บัญญัติวิธีดังกล่าวนั้นก็พอเห็นได้ชัดว่าการละความชั่ว การกระทำความดี เป็นสิ่งที่ต้องพึงปฏิบัติเป็นประจำอยู่แล้ว นัยยะสำคัญจึงคงอยู่ที่การตั้งความเพียรฝึกฝนอบรมไม่หยุดหย่อน นั่นคือการมุ่งพัฒนานามกายให้มีความก้าวหน้ามากขึ้นโดยลำดับนั่นเอง

    พึงตั้งความสังเกตว่าในกัมมัฏฐานวิธีอันเป็นเจโตวิมุตนั้นจะมุ่งเน้นในความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในทุกประการและในทุกขั้นตอน ซึ่งก็คือการมุ่งพัฒนานามกายให้มีพละกำลังแกล้วกล้าแข็งแกร่งจนสามารถทำการงานของจิตได้อย่างดียิ่ง!
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (35) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">17 กุมภาพันธ์ 2548 17:20 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> กัมมัฏฐานวิธีแบบปฐวีกสิณนั้นแม้เป็นกสิณวิธีที่หยาบที่สุด แต่ก็มีความมั่นคงมากที่สุด และง่ายที่สุดในบรรดากสิณวิธีทั้ง 10 วิธี และมีอานิสงส์เฉพาะตัวของปฐวีกสิณ เนื่องจากพลังอำนาจของจิตที่ได้ผ่านการฝึกอบรมแบบปฐวีกสิณนั้นจะมีความคุ้นเคย จะมีความชำนาญเฉพาะ และเกื้อกูลต่อการได้รับอานิสงส์เฉพาะนั้น

    อานิสงส์ดังกล่าวจะก่อตัวขึ้นเป็นลำดับไป แต่จะปรากฏมรรคผลจริง ๆ ก็ต่อเมื่อการฝึกฝนอบรมจิตโดยวิธีปฐวีกสิณสามารถก้าวหน้ายกระดับไปถึงขั้นจตุตถฌาน และนามกายก่อตัวเข้มแข็ง มีศักยภาพที่จะกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ในขณะที่จิตเจริญอยู่ในอุปจารสมาธิ ซึ่งเป็นเรื่องที่จะแสดงโดยละเอียดในบทที่ว่าด้วยอิทธิ ฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ และวิชชาในพระพุทธศาสนา

    แต่เพื่อส่งเสริมศรัทธาปสาทะและเพื่อได้เห็นถึงกรอบกว้าง ๆ ของอานิสงส์ดังกล่าวแห่งการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ จึงสมควรแสดงอานิสงส์ไว้เสียแต่ในชั้นนี้พอเป็นที่สังเขป

    อานิสงส์ของการฝึกฝนอบรมจิตแบบปฐวีกสิณมี 12 ประการ

    ประการแรก มโนภาพหรือนิมิตเกิดขึ้นได้โดยง่าย เพราะปฐวีกสิณนั้นเป็นกสิณชนิดหยาบ มีความมั่นคง คุ้นเคย เข้ากันได้กับอัชฌาสัยของคนทั่วไป และผู้ที่มีอัชฌาสัยชอบในเรื่องของดิน เมื่อถือเอาการเพ่งดินเป็นอารมณ์ในการฝึกฝนอบรมจิตจึงทำให้ฉันทะหรือความพึงพอใจที่จะฝึกฝนอบรมเกิดขึ้นและเจริญได้เร็ว จึงเป็นเหตุให้ได้รับผลเร็ว คือได้นิมิตทั้งอุคหนิมิต และกระทำปฏิภาคนิมิตได้โดยง่าย

    ประการที่สอง เพราะมีความพึงพอใจหรือฉันทะเป็นตัวนำ จึงทำให้เกิดความเพียรพยายามอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน ทำให้เกิดความใส่ใจและใฝ่ค้นมากขึ้น ดังนั้นจึงสามารถฝ่าสิ่งขัดขวางและอุปสรรคต่าง ๆ ได้อย่างมีพลัง การฝึกฝนอบรมจิตจึงก้าวรุดหน้าได้ตลอดเวลา

    ประการที่สาม เพราะเหตุในประการที่สองนั้นจึงทำให้การฝึกฝนอบรมจิตก้าวรุดหน้าได้ในทุกขั้นตอน ทุกการกระทำอีกด้วย คือ ในขั้นตอนที่เพ่งด้วยตาแล้วถ่ายโอนความทรงจำไปเป็นมโนภาพที่จิต ในขั้นตอนที่กระทำอุคหนิมิตและในขั้นตอนกระทำปฏิภาคนิมิตก็จะก้าวหน้าได้อย่างราบรื่นด้วย

    ประการที่สี่ เป็นอานิสงส์ทั่วไปคือเป็นรากฐานของการกระทำอิทธิฤทธิ์ เป็นบ่อเกิดของอิทธิฤทธิ์

    ประการที่ห้า เป็นอานิสงส์เฉพาะและง่ายสำหรับผู้ฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ สามารถเดินไปบนน้ำได้เหมือนเดินไปบนแผ่นดิน เพราะเมื่อถึงขั้นกระทำฤทธิ์ นามกายก็สามารถกำหนดเนรมิตให้ผืนน้ำมีความแน่น มีความมั่นคง และแข็งแรงดุจดังแผ่นดินได้

    ประการที่หก สามารถเหาะไปในอากาศได้

    ประการที่เจ็ด สามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้

    ประการที่แปด สามารถระลึกชาติได้

    ประการที่เก้า มีหูทิพย์

    ประการที่สิบ เป็นเหตุให้ได้โลกียะอภิญญา

    ประการที่สิบเอ็ด ทำให้อยู่เป็นสุข

    ประการที่สิบสอง ทำให้เข้าไปใกล้วิมุตตะมิติ หรือที่เรียกว่าพระนิพพาน หรือเรียกได้อีกทางหนึ่งว่าใกล้แดนแห่งอมตะ

    พึงตั้งความสังเกตว่าการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณนั้นแม้ถึงชั้นที่สุดแล้วก็ไปได้เพียงแค่ประตูของพระนิพพานเท่านั้น หรือถึงเขตแดนต่อแดนระหว่างโลกียะมิติกับวิมุตตะมิติเท่านั้น ยังต้องมีขั้นตอนปฏิบัติเฉพาะอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งจะกล่าวรวมสรุปหลังจากพรรณนากัมมัฏฐานวิธีครบทุกวิธีแล้ว

    ได้แสดงอานิสงส์ของการฝึกฝนอบรมแบบกสิณวิธีทั้ง 12 ประการ ไว้เสียตั้งแต่ตอนต้นนี้ก็เพื่อให้ได้รู้ ให้ได้เตรียมความคิด ให้ได้เตรียมความสังเกตในระหว่างการฝึกฝนอบรมจิตว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้นกับจิต ภาวะของจิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เข้มแข็งก้าวหน้าไปอย่างไร และเดินเข้าไปใกล้การรับผลอันเป็นสามัญผลคืออานิสงส์ทั้ง 12 ประการนั้นอย่างไร แต่ขออย่าได้ฝักใฝ่ติดยึดในอานิสงส์ดังกล่าวนี้เสียตั้งแต่ต้น เพราะจะทำให้ติดยึดหมกมุ่นและกลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง ทำให้การฝึกฝนอบรมไม่ก้าวหน้าต่อไป

    ที่ร้ายกว่านั้นคือหากติดยึดหมกมุ่นมากไปแล้วก็จะเกิดภาพหลอน จะเกิดความรู้สึกขึ้นในจิตแล้วจิตก็จะกระทำมายาภาพ ทำให้ติดยึดลุ่มหลงงมงายในสิ่งที่ยังไปไม่ถึง หรือในขณะที่ยังไม่สามารถได้รับผลหรืออานิสงส์อย่างเต็มเปี่ยม ซึ่งผู้ประพฤติปฏิบัติจำนวนหนึ่งเคยประสบมาแล้ว และทำให้การฝึกฝนอบรมต้องชะงักลงอย่างน่าเสียดาย

    ดังนั้นขอเพียงให้เป็นเรื่องแค่การรับทราบและเป็นทางแห่งการตั้งความสังเกตเท่านั้น ก็จะเป็นเหตุให้รู้เท่าทันสภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตในท่ามกลางการฝึกฝน อบรมปฏิบัตินั้น

    เพราะเหตุที่ปฐวีกสิณเป็นกสิณวิธีแรกในกัมมัฏฐานวิธีทั้งหมด ยกเว้นแบบมาตรฐานดังได้แสดงมาแล้ว ดังนั้นจึงควรจะได้ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจภาวะของจิตหรืออารมณ์ของจิตหรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิตในกระบวนการฝึกฝนอบรม ตั้งแต่เริ่มต้นการเพ่งไปจนถึงการบรรลุถึงปฏิภาคนิมิต

    ภาวะของจิตหรืออาการที่เกิดขึ้นกับจิตในกระบวนการต่างๆ จะสัมผัสและรับรู้ได้ด้วยตนเองโดยประการต่าง ๆ ดังนี้

    ภาวะแรก คือภาวะการถ่ายโอนรูปวงกสิณที่เกิดจากการเพ่งด้วยตาแล้วจำได้หมายรู้ด้วยการทำงานของสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์ไปสู่จิต แล้วเกิดเป็นมโนภาพ คือจิตเห็นภาพ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจิตทำหน้าที่จักษุวิญญาณเห็นมโนภาพนั้นในขณะหลับตาได้

    ภาวะแรกนี้จะบังเกิดขึ้นและดำเนินไปในการฝึกฝนอบรมทั้งปฐวีกสิณ อาโปกสิณ วาโยกสิณ และเตโชกสิณ

    ภาวะที่สอง เป็นภาวะของจิตที่จะมีความตั้งมั่นมากขึ้น มีความบริสุทธิ์มากขึ้น และมีขีดความสามารถสูงขึ้นโดยลำดับไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีทุกวิธี

    ภาวะที่สาม เป็นภาวะที่นามกายก่อตัวและมีความเข้มแข็งขึ้นกับจิตโดยลำดับไปอย่างเป็นขั้นตอน คือ ศรัทธาจะมั่นคงขึ้น ความวิริยะหรือความเพียรพยายามจะมากขึ้น สติจะมั่นคงขึ้น สมาธิจะแน่วแน่ขึ้น และปัญญาก็จะเจริญขึ้น นามกายที่ค่อยๆ ก่อตัวแข็งแรงขึ้นโดยลำดับนี้จะเป็นรากฐานของการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชาในอนาคต กระบวนการพัฒนาจะเข้าไปใกล้กายทิพย์หรือทิพย์กายมากขึ้นทุกทีโดยลำดับ

    ภาวะที่สี่ อิทธิบาทสี่ซึ่งเป็นรากฐานของการกระทำฤทธิ์จะก่อตัวเกิดขึ้นกับจิตและพัฒนาก้าวหน้าไปโดยลำดับ คือจิตจะมีฉันทะหรือความพึงพอใจในการฝึกฝนอบรมปฏิบัติ มีวิริยะคือความเพียรพยายามในการฝึกฝนอบรม มีจิตตะคือความใส่ใจ สังเกตรู้และเห็นสภาวะที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงมากขึ้นโดยลำดับ มีวิมังสาคือความใฝ่ค้นทบทวนผลการปฏิบัติ ปรับการปฏิบัติ ปรับอารมณ์ ให้เป็นไปโดยถูกตรงมากขึ้นโดยลำดับ นั่นก็คือรากฐานของการกระทำฤทธิ์ได้บังเกิดขึ้นกับจิตเป็นพลังให้แก่นามกายมากขึ้นโดยลำดับด้วย

    ภาวะที่ห้า อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนขัดขวางการทำงานของจิตจะถูกระงับ ถูกละไปโดยลำดับ ได้แก่ นิวรณ์ทั้งห้าซึ่งเป็นอุปกิเลสจะค่อย ๆ ถูกลดละไปเป็นลำดับ ทำให้จิตมีความบริสุทธิ์ปราศจากความขุ่นมัว ปัญญาก็ก่อตัวขึ้นกับจิตเป็นลำดับไปด้วย ทำให้จิตทำหน้าที่รู้และบัญชาการได้อย่างมีอานุภาพมากขึ้นโดยลำดับ และเป็นที่แน่นอนว่ากามฉันทะก็ถูกระงับหรือถูกละไปโดยลำดับด้วย ในขณะที่ความมืดค่อย ๆ หมดไป ความสว่างก็จะมาแทนที่ นั่นคือความยินดีในความสงัด การอดกลั้นต่อความทุกข์ ความลำบาก ความทรมาน การอยู่อย่างเป็นสุขด้วยสติ ก็จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันไป

    ภาวะที่หก ซึ่งเป็นภาวะที่สำคัญมาก เพราะเป็นรากฐานหรือย่างก้าวที่จะก้าวไปสู่ปฐมฌานในอนาคต นั่นคือวิตกหรือภาวะของจิตที่เพ่งพิจารณาอย่างแน่วแน่ได้เกิดขึ้น วิจารณ์หรือภาวะของจิตที่เพ่งพิจารณาอย่างแน่วแน่เฉพาะเจาะจงในกสิณจุดใดจุดหนึ่งแบบใดแบบหนึ่ง ระยะใดระยะหนึ่งได้เกิดขึ้น ความรู้สึกปีติยินดีหรือปีติก็เกิดขึ้น ความรู้สึกเป็นสุขฉ่ำเย็นก็เกิดขึ้น ความรู้สึกนึกคิดอารมณ์จะค่อย ๆ รวมตัวมากขึ้น เหล่านี้ได้ก่อตัวขึ้นแต่ยังบางเบา แม้เท่านี้ก็คือการก่อตัวขึ้นขององค์แห่งปฐมฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือจิตเริ่มก้าวเข้าสู่ประตูแห่งปฐมฌานแล้ว เพราะองค์ทั้งห้าดังกล่าวนั้นเมื่อก่อตัวและมีความชัดเจนหนักแน่นเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมได้ชื่อว่าได้บรรลุถึงปฐมฌาน

    การฝึกฝนอบรมจิตแบบปฐวีกสิณนี้เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วยังคงต้องฝึกอบรมจิตให้มีความคุ้นเคย ให้มีความชำนาญกับการกระทำปฏิภาคนิมิตในปฐวีกสิณเพื่อให้มีความมั่นคงอีกด้วย

    นั่นคือเมื่อได้ปฏิภาคนิมิตแล้วยังคงต้องหมั่นเพียรพยายามฝึกฝนอบรมเพ่งวงปฐวีกสิณในมโนภาพให้มีความแน่วแน่มั่นคง ให้มีความนิ่ง ให้เล็กลง ให้ใหญ่ขึ้น ให้ใกล้ ให้ไกล ให้เคลื่อนไปทางซ้าย ย้ายไปทางขวา ได้ดังปรารถนา

    ครั้นคุ้นเคยมั่นคงดีแล้วก็เน้นการกระทำปฏิภาคนิมิตในทางขยายวงกสิณจากที่กำหนดเห็นวงกสิณในมโนภาพ ขนาดเท่าของจริงคือ 1 คืบ 4 องคุลี เพ่งพิจารณากำหนดให้วงกสิณนั้นขยายโดยปฏิภาคนิมิต จนเท่าฝาโอ่งบ้าง เท่ากระด้งขนาดใหญ่บ้าง เท่าผืนนาบ้าง

    และในที่สุดก็ค่อย ๆ กำหนดเพ่งขยายวงกสิณนั้นให้ใหญ่ครอบคลุมทั้งปริมณฑล กระทั่งครอบคลุมไปทั่วโดยไม่มีข้อจำกัด กระทั่งทั่วทั้งจักรวาล

    กระทำปฏิภาคนิมิตในทางขยายวงกสิณให้กว้าง ให้หนักแน่น ให้มั่นคง ให้แน่วแน่ จนมีความคุ้นเคยชำนาญ ในขณะเดียวกันก็พิจารณาสังเกตถึงภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตให้เห็นตามความเป็นจริง จิตก็จะรู้สัมผัสเห็นภาวะต่างๆ ตามความเป็นจริงชัดขึ้น ๆ โดยลำดับ

    ในขณะนั้นพลังอำนาจของจิตโดยตรงก็จะมีพลังมากขึ้น โดยที่ปัญญาเห็นตามความเป็นจริงก็ได้เจริญขึ้นหนุนตามกันไป

    ในภาวะอันเป็นที่สุดของการฝึกฝนอบรมปฐวีกสิณในชั้นที่ได้ปฏิภาคนิมิตดังพรรณนามาแล้วนี้ พลังอำนาจของจิตที่หนุนด้วยปัญญาอันได้เจริญขึ้นโดยลำดับก็จะมารวมลงอยู่ที่ประตูแห่งปฐมฌาน คือ องค์ห้าประการแห่งปฐมฌานได้แก่วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข และอารมณ์อันเป็นหนึ่ง ได้ก่อตัวปรากฏขึ้นกับจิตแล้วอย่างบางเบาและพร้อมที่จะเจริญก้าวหน้าต่อไป.
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (36) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">24 กุมภาพันธ์ 2548 18:06 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ภาวะของจิตทั้งหกประการที่ก่อตัวเกิดขึ้นและพัฒนาไปโดยการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณนั้น จะเป็นภาวะที่ก่อตัวและเกิดขึ้นในการฝึกฝนอบรมแบบกสิณวิธีอื่น ๆ ด้วย ดังนั้นขอให้ได้ตั้งความสังเกต ความเข้าใจ ไว้เสียตั้งแต่ตอนนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวซ้ำโดยไม่จำเป็นในกสิณวิธีอื่น ๆ

    ลำดับแต่นี้ไปจักได้พรรณนากัมมัฏฐานวิธีแบบอาโปกสิณ หรือกสิณธาตุน้ำ หรือกสิณที่เพ่งน้ำเป็นอารมณ์ ซึ่งจะมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่การกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเป็นเบื้องต้น เหมือนกับการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ

    อาโปกสิณเป็นกสิณที่หยาบน้อยหรือละเอียดอ่อนกว่าปฐวีกสิณตามคุณลักษณะของน้ำ มีความราบเรียบมากกว่าปฐวีกสิณ แต่ก็เห็นได้โดยง่ายเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ มีความอ่อนตัว มีความเหลว ความไหล ความซึมซ่าน อันเป็นลักษณะของน้ำ แต่ก็มีความกระเพื่อมและมีลักษณะสะท้อนเป็นตัวอุปสรรคต่อการเพ่งกสิณได้

    ดังนั้นในการจัดเตรียมการฝึกฝนอบรมอาโปกสิณจึงต้องจัดเตรียมสถานที่ที่ไม่มีลมแรง และที่ไม่มีแสงจ้าจนเกินไป เพื่อไม่ให้น้ำเกิดอาการกระเพื่อมหรือสะท้อนแสงเป็นอุปสรรคต่อการเพ่งกสิณ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่อยู่ในที่มืดเกินไปหรืออับทึบเกินไปจนเป็นอุปสรรครบกวนการเพ่งอาโปกสิณ

    ตัวผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติไม่จำจะต้องกล่าวถึงอีก เพราะต้องเตรียมตัวอย่างเดียวกันกับการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ สิ่งที่ต้องตระเตรียมที่สำคัญคือวงกสิณ ได้แก่น้ำ ซึ่งมีสองประเภท คือน้ำซึ่งได้จัดเตรียมไว้กับน้ำที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ

    น้ำตามธรรมชาติจะเป็นน้ำในบึง ในหนอง ในคลอง ในบ่อก็ได้ หรือน้ำในที่ไหน ๆ ก็ได้ ขอให้เป็นน้ำที่มีลักษณะราบเรียบ ไม่มีแรงกระเพื่อมให้รบกวนต่อการเพ่ง แต่น้ำตามธรรมชาตินี้จะมีความยากลำบากตรงการกำหนดวงกสิณ เพราะไม่สามารถใช้สิ่งของวัตถุเป็นเครื่องกำหนดวงกสิณได้ จะต้องใช้ความสามารถและความเพ่งของตาเป็นตัวกำหนดวงกสิณ

    ส่วนน้ำที่เตรียมก็คือการเตรียมภาชนะที่มีปากกว้างประมาณ 1 คืบ 2 องคุลี ซึ่งพอเหมาะพอดีต่อการมองเห็นโดยถ้วนทั่ว จะเป็นขันขนาดใหญ่ อ่างขนาดเล็ก หรือภาชนะอะไรก็ตามที่สามารถใส่น้ำได้ แล้วมีขนาดของปากภาชนะดังที่ว่านั้น ปากของภาชนะและขนาดของปากภาชนะนั้นก็คือขนาดของวงกสิณนั่นเอง

    เมื่อได้ภาชนะที่จะทำเป็นวงกสิณแล้วก็ใช้น้ำใส่ในภาชนะนั้นให้เต็มถึงปาก ถ้าจะให้ดีก็ควรใช้น้ำฝนหรือน้ำที่ใสสะอาดก็จะทำให้ไม่มีสิ่งรบกวนเป็นอุปสรรคในการเพ่งกสิณ

    ดังนั้นการใช้น้ำตามธรรมชาติและการใช้น้ำที่เตรียมไว้จึงมีความต่างกันตรงที่การกำหนดวงกสิณ คือ สำหรับน้ำที่จัดเตรียมเป็นวงกสิณจะเท่ากับปากขอบของภาชนะ คือ มีวัตถุหรือภาชนะเป็นตัวกำหนดกรอบหรือวงกสิณ ในขณะที่น้ำตามธรรมชาตินั้นจะใช้การเพ่งด้วยกำลังของจิตเป็นตัวกำหนดวงกสิณ จะใช้วิธีใดจึงขึ้นอยู่กับความถนัดและความแก่กล้าของกำลังจิต

    สำหรับผู้ฝึกใหม่ควรใช้น้ำที่จัดเตรียมไว้จะดีกว่า เพราะไม่ต้องเสียเวลาไปกำหนดกรอบวงกสิณด้วยจิตซึ่งยุ่งยากและลำบากไม่น้อย แต่สำหรับผู้ที่คุ้นเคยแล้ว มีความชำนาญมากขึ้นแล้ว จิตมีกำลังมากขึ้นโดยลำดับแล้ว ก็สามารถใช้น้ำตามธรรมชาติในการฝึกและในการเพ่งกสิณได้ ซึ่งเมื่อถึงขั้นนั้นก็จะสะดวกเพราะไม่ต้องจัดเตรียมให้ยุ่งยากลำบากอย่างหนึ่ง และเท่ากับเป็นการฝึกความเข้มแข็งและพลังของจิต ตลอดจนการฝึกสมาธิให้มีความมั่นคงอีกอย่างหนึ่งด้วย

    มีข้อควรระวังคือสีของน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตามธรรมชาติหรือน้ำที่เตรียมไว้ ควรเลือกเอาน้ำที่ไม่มีสีหรือเป็นสีธรรมชาติของน้ำ เพื่อไม่ให้ติดยึดหรือพะวักพะวงเบี่ยงเบนไปเป็นกสิณประเภทสี เพราะถ้าหากน้ำมีสีเจือปนจิตก็จะผูกพันอยู่กับสีได้ เช่น หากน้ำนั้นมีสีเขียวหรือสีดำ แทนที่จะเป็นการฝึกฝนอบรมอาโปกสิณก็จะเบี่ยงเบนกลายเป็นกสิณแบบมีสีไป ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

    ถัดมาก็คือระยะห่างระหว่างวงกสิณกับผู้ฝึกฝนอบรม ซึ่งคงใช้ระยะห่างอย่างเดียวกันกับการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ คือต้องไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป พอให้เห็นวงกสิณได้ถ้วนทั่ว ไม่ต้องก้มต้องเงยหรือต้องเอียงให้เมื่อยล้าร่างกาย ดังนั้นจึงประมาณว่าระยะห่างระหว่างวงกสิณกับผู้ฝึกฝนอบรมเป็นระยะชั่วแอกหนึ่งหรือประมาณ 1 วา 2 ศอก หรืออยู่ในระยะ 2 เมตรครึ่ง

    สถานที่ที่จะใช้ในการฝึกฝนอบรมในตอนแรก ๆ ก็ควรเป็นที่สะอาด โล่งเตียน เพื่อไม่ให้มดไต่ไรตอม ริ้นยุงกัด อันเป็นการรบกวนหรือเป็นอุปสรรคในการฝึกฝนอบรมเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ

    วิธีการฝึกฝนอบรมแบบอาโปกสิณนี้ก็ทำนองเดียวกันกับการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ เป็นแต่เปลี่ยนกสิณจากดินเป็นน้ำเท่านั้น เมื่อเตรียมตัว เตรียมกาย เตรียมใจพร้อมแล้ว ผู้ฝึกฝนอบรมก็นั่งในท่าอันสบายหรือในท่าสมาธิเพ่งมองวงกสิณ เพื่อให้สามารถทรงจำน้ำในวงกสิณนั้นถ้วนทั่วสมบูรณ์ชัดเจน

    เมื่อเพ่งมองจนรู้สึกว่ามีความทรงจำวงกสิณอันเป็นน้ำในกรอบวงกสิณชัดเจนถ้วนทั่วแล้ว ก็ลองหลับตาแล้วเพ่งมองเสมือนหนึ่งลืมตาว่ายังเห็นวงกสิณชัดเจนถ้วนทั่วเหมือนกับลืมตาหรือไม่

    ตรงขั้นนี้คือการถ่ายโอนภาพอาโปกสิณหรือน้ำในวงกรอบกสิณจากที่เห็นด้วยตาเข้ามาเป็นการเห็นเป็นมโนภาพด้วยจิต เช่นเดียวกับการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ

    ฝึกฝนอบรมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเห็นวงกสิณชัดเจนในขณะหลับตา มีความสมบูรณ์ครบถ้วนเหมือนหนึ่งกับลืมตาทุกประการ เมื่อถึงขั้นนี้ก็เท่ากับว่าการถ่ายโอนภาพวงกสิณที่เห็นด้วยตามาเป็นการเห็นด้วยจิต นับว่าได้ก้าวหน้าไปขั้นหนึ่งแล้ว

    เมื่อสามารถหลับตามองเห็นวงกสิณน้ำชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ก็ลืมตาดูวงกสิณนั้นด้วยตาเนื้อ และเปรียบเทียบตรวจสอบกันดูกับที่เห็นด้วยจิตว่าขาดเกิน เหมือนต่างกันประการใดบ้าง จากนั้นก็หลับตาเพ่งมองอีก จนเห็นความสมบูรณ์ถ้วนทั่วชัดเจน ก็นับว่าภาพที่เห็นนั้นมีความครบถ้วนสมบูรณ์ชัดเจนและมีความมั่นคงขึ้นโดยลำดับ

    นั่นคือการเห็นวงกสิณน้ำด้วยจิตอันเกิดแต่จิตมีพละมีกำลังแกล้วกล้าขึ้น มีความชัดเจนมั่นคงแน่วแน่ยิ่งขึ้นโดยลำดับ

    การหลับตาเพ่งอาโปกสิณแล้วปรากฏมโนภาพวงกสิณชัดเจนครบถ้วนบริบูรณ์ก็คือการได้อุคหนิมิตของอาโปกสิณ ภาวะของจิตจะมีอารมณ์ผูกพันเกี่ยวเนื่องอยู่ด้วยน้ำ เป็นลักษณะพิเศษของกสิณวิธีชนิดนี้ ซึ่งจะเกื้อกูลและก่ออานิสงส์ของการฝึกฝนอบรมแบบอาโปกสิณในกาลข้างหน้า

    เมื่อได้อุคหนิมิตในอาโปกสิณแล้ว ลักษณะนิมิตที่เกิดขึ้นในตอนแรกก็เหมือนกับนิมิตที่เกิดขึ้นในตอนแรกของการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ คือ อาจมีความพร่ามัวบ้าง มีความไม่แน่วนิ่งบ้าง มีขาดแหว่งล้นเกินบ้าง จึงต้องใช้ความเพียรฝึกฝนอบรมต่อไปจนทำให้นิมิตในอาโปกสิณนั้นมีความมั่นคง มีความครบถ้วนสมบูรณ์ชัดเจน และมีความรวดเร็วดังปรารถนา

    เมื่อได้อุคหนิมิตในอาโปกสิณมั่นคงแล้ว จากนั้นไปก็จะเป็นการยกระดับการฝึกเพื่อก้าวไปสู่ปฏิภาคนิมิตโดยวิธีการทำนองเดียวกันกับการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ

    นั่นคือการกำหนดเพ่งให้วงกสิณน้ำที่ปรากฏในมโนภาพมีขนาดเล็กลงบ้าง ใหญ่ขึ้นบ้าง เข้ามาใกล้บ้าง ออกไปไกลบ้าง เอียงไปทางซ้าย ย้ายไปทางขวาบ้าง จนเกิดความชำนาญและแคล่วคล่องว่องไว คือวงกสิณสามารถขยายเล็กใหญ่ เคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็วตามกำหนด ไม่มีคลาดเคลื่อนหรือขาดความสมบูรณ์หรือขาดความชัดเจนไปจากที่กำหนด

    ลำดับแต่นั้นไปก็คือการฝึกฝนอบรมการกระทำปฏิภาคนิมิตในอาโปกสิณให้มีความชำนาญ ให้มีความแคล่วคล่องว่องไว มีความมั่นคงชัดเจนสมบูรณ์เป็นลำดับขั้นไปจนถึงที่สุด

    ในท่ามกลางการฝึกฝนอบรมเช่นนั้น ภาวะที่เกิดขึ้นกับจิตก็จะเกิดขึ้นทั้งหกประการเช่นเดียวกับการฝึกฝนอบรมแบบปฐวีกสิณ พละกำลังและปัญญาก็ก่อตัวพัฒนาไปตามลำดับด้วยเช่นเดียวกัน

    เมื่อการฝึกฝนอบรมอาโปกสิณโดยใช้น้ำที่เตรียมไว้กระทำได้ชำนาญแคล่วคล่องว่องไวแล้ว ก็สามารถฝึกฝนอบรมโดยใช้น้ำในธรรมชาติได้โดยง่ายและมีความสะดวก ในขั้นนี้จิตก็จะมีความมั่นคง มีความแน่วนิ่ง และมีกำลังที่จะกำหนดกรอบวงกสิณในผืนแผ่นน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นได้อย่างแม่นยำชัดเจน ทั้งในขณะลืมตาและในขณะหลับตา จนสามารถกระทำปฏิภาคนิมิตได้เช่นเดียวกับการฝึกฝนอบรมที่มีภาชนะเป็นกรอบวงกสิณ

    ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมีความชำนาญ มีความแคล่วคล่องว่องไวมากขึ้นแล้ว อารมณ์ที่เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับน้ำมีความคุ้นเคยอยู่กับจิตมากขึ้นแล้วก็จะเกิดความสะดวก ความสบายในการฝึกฝนมากขึ้น เพราะในที่ใดซึ่งไม่มีน้ำก็สามารถฝึกฝนอบรมอาโปกสิณได้

    วิธีการก็คือผู้ฝึกฝนอบรมที่มีความชำนาญแคล่วคล่องว่องไวแล้วนั้น หลับตาลงรำลึกถึงความทรงจำในวงกสิณธาตุน้ำมากำหนดเป็นอารมณ์ ทำให้เห็นน้ำเป็นวงกสิณขึ้นในมโนภาพ จากนั้นจึงเพ่งอาโปกสิณจากมโนภาพนั้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการลัดขั้นตอนด้วยความชำนาญ โดยไม่ต้องอาศัยการเพ่งมองกสิณด้วยตาเป็นเบื้องต้นอีกแล้ว แต่ลัดขั้นตอนเสียได้เพราะมีความชำนาญในการกำหนดมโนภาพขึ้นกับจิตเป็นวงกสิณน้ำ แล้วใช้จิตเพ่งพิจารณาวงกสิณนั้น กระทำอุคหนิมิตให้เป็นปฏิภาคนิมิตได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก

    การฝึกฝนอบรมแบบอาโปกสิณนี้จะมีอานิสงส์เฉพาะเมื่อถึงขั้นกระทำอิทธิฤทธิ์ได้รวม 5 ประการคือ

    ประการแรก สามารถดำลงไปในดิน หรือผืนแผ่นดิน หรือภูเขา เหมือนหนึ่งดำแหวกว่ายอยู่ในน้ำได้

    ประการที่สอง สามารถเขย่าภูเขา บ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง หรือวัตถุใด ๆ แม้กระทั่งผืนแผ่นดินให้ไหวได้ เหมือนการผลักน้ำให้เคลื่อนไหวได้

    ทั้งประการแรกและประการที่สองนี้เป็นผลมาจากการกำหนดให้วัตถุอื่นมีสภาพหรือคุณสมบัติคล้ายกับน้ำด้วยกำลังอำนาจของจิต

    ประการที่สาม สามารถทำให้ฝนตกได้ดังใจปรารถนา

    ประการที่สี่ สามารถทำให้น้ำพุ่งออกมาจากร่างกายของตนได้

    ประการที่ห้า สามารถทำให้ปรากฏภาพเป็นน้ำ แหล่งน้ำ แม่น้ำ ทะเล หรือเป็นพระมหาสมุทรก็ได้

    ส่วนอานิสงส์ทั่วไปก็เป็นทำนองเดียวกันกับอานิสงส์ของปฐวีกสิณ นอกจากนี้อานิสงส์ของอาโปกสิณยังเกื้อกูลและคุ้นเคยที่ทำให้ผู้ฝึกฝนอบรมสามารถมองเห็นน้ำได้ในทุกที่ทุกแห่ง เช่น มองเห็นแหล่งน้ำบาดาล น้ำใต้ดิน หรือน้ำในที่ใด ๆ ก็ได้

    แต่อานิสงส์ที่ว่านี้ก็เหมือนกับอานิสงส์ของปฐวีกสิณ จะเกิดขึ้นและกระทำได้ก็ในขั้นที่ผู้ฝึกฝนอบรมอาโปกสิณบรรลุถึงจตุตถฌานและกระทำการในอุปจารสมาธิเท่านั้น แต่นำมาแสดงไว้ในที่นี้ก็เพื่อให้เห็นลักษณะเฉพาะแต่ไม่ต้องการให้ติดยึดอันเป็นอุปสรรคในการฝึกฝนอบรมเสียแต่ในชั้นต้น ๆ
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (37) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">3 มีนาคม 2548 17:00 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จักได้แสดงเตโชกสิณหรือกัมมัฏฐานวิธีแบบกสิณวิธีที่ใช้ไฟเป็นวัตถุแห่งการเพ่ง จัดเป็นกสิณวิธีลำดับที่สามถัดจากปฐวีกสิณ และอาโปกสิณ

    โดยทั่วไปการจัดลำดับจะมีการจัดลำดับก่อนหลังคือดิน น้ำ ลม ไฟ แต่ในกสิณวิธีได้จัดเอาไฟหรือเตโชเป็นลำดับที่สาม โดยลมหรือวาโยจัดเป็นลำดับที่สี่

    ความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าพิภพนี้พื้นผิวอันเป็นแผ่นดินรองด้วยแผ่นน้ำ ลึกลงไปจากแผ่นน้ำเป็นลม ตรงศูนย์กลางเป็นไฟ ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการจัดลำดับโดยทั่วไปของธาตุทั้งสี่ เป็นดิน น้ำ ลม ไฟ

    แม้ในคัมภีร์อิสีติธาตุหรือการกำหนดธาตุในจักรราศี รวมทั้งคัมภีร์ทักษาพยากรณ์ก็จัดลำดับธาตุเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ โดยนัยลำดับชั้นของผิวพื้นและศูนย์กลางพิภพตามความเชื่อในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

    การที่การจัดลำดับในกสิณวิธีได้สลับเอาไฟมาก่อนลม โดยการจัดเตโชกสิณเป็นกสิณลำดับที่สามในกสิณ 10 วิธี ก็เพราะว่าเป็นการจัดลำดับจากหยาบไปสู่ละเอียดอ่อน จากง่ายไปสู่ยาก ดังที่ได้แสดงมาก่อนหน้านี้แล้ว

    ดินอยู่นิ่งกับที่ เห็นได้ชัด เห็นได้ง่าย น้ำแม้จะเห็นได้ชัด เห็นได้ง่าย แต่มีการกระเพื่อมไหว จึงยากและละเอียดอ่อนกว่าดิน ส่วนไฟนั้นละเอียดอ่อนกว่าน้ำเพราะจับต้องอะไรไม่ได้ มีการเคลื่อนไหวและมีพลังความร้อนที่สัมผัสได้ การเคลื่อนไหวและพลังความร้อนนั้นเป็นอุปสรรครบกวนต่อการเพ่งดังที่ได้แสดงมาโดยลำดับแล้ว

    แต่ถึงกระนั้นไฟก็ยังหยาบกว่าลม เพราะยังสามารถมองเห็นได้ ส่วนลมนั้นไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาว่าเคลื่อนไหวประการใด แต่ก็สามารถสัมผัสรับรู้ได้จากสิ่งที่ได้รับผลกระทบและยังมีพลังความชุ่มชื่นฉ่ำเย็นอยู่ในลมด้วย ดังนั้นลมจึงละเอียดอ่อนกว่า ประณีตกว่าไฟ เหตุนี้จึงจัดเอาลมหรือวาโยเป็นลำดับถัดไปจากไฟ

    การทำเตโชกสิณในส่วนของผู้ฝึกฝนอบรม ในส่วนของระยะการเพ่ง ในส่วนของการเตรียมตัวเตรียมสถานที่ก็เป็นทำนองเดียวกันกับการจัดเตรียมแบบปฐวีกสิณ คงต่างกันเฉพาะตัววงกสิณคือไฟเท่านั้น

    ไฟซึ่งจะใช้ในการทำเตโชกสิณมีอยู่สองประเภทเช่นเดียวกับดินและน้ำ คือไฟที่มีมาในธรรมชาติกับไฟที่จัดเตรียมขึ้นเพื่อการทำเตโชกสิณ

    ไฟในธรรมชาติได้แก่ไฟที่ไหม้ลามในที่ใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นไฟไหม้กิ่งไม้ ใบไม้ ไฟที่กำลังไหม้ป่าหรือสิ่งของ

    ส่วนไฟที่จัดเตรียมไว้ได้แก่ไฟที่ก่อขึ้นเพื่อทำเตโชกสิณโดยเฉพาะ จะต้องจัดเตรียมให้เหมาะสมกับการทำเตโชกสิณ และป้องกันอุปสรรคขัดขวางการเพ่งกสิณให้มากที่สุด

    เริ่มต้นก็คือฟืนที่จะใช้ในการก่อไฟ จะต้องเลือกเอาไม้ที่เผาไหม้แล้วไม่เกิดควัน หรือเกิดความรบกวนน้อยที่สุด ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด และฟืนนั้นจะต้องไม่เกิดเสียงปะทุในขณะไหม้ เพราะหากเกิดเสียงปะทุแล้วก็จะรบกวนการเพ่งกสิณ และต้องเป็นฟืนที่ไหม้ลุกโชติช่วงวูบวาบ และเมื่อติดไฟแล้วก็จะมีไฟลุกไหม้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นระยะเวลาพอสมควรแก่ระยะเวลาในการทำเตโชกสิณ

    โดยรวมก็คือการเลือกฟืนที่จะใช้สำหรับการก่อไฟนั้นจะต้องเลือกจากไม้ฟืนที่ไม่ก่อให้เกิดควันหรือเกิดควันน้อยที่สุด จะต้องเลือกไม้ที่ไหม้ไฟแล้วไม่ปะทุให้เกิดเสียงดังรบกวนรำคาญ และจะต้องเป็นฟืนที่ไม่ลุกไหม้โชติช่วงวูบวาบซึ่งเป็นการรบกวนการเพ่งกสิณอีกแบบหนึ่ง โดยจะต้องเลือกฟืนที่ไหม้ไฟสม่ำเสมอเป็นระยะเวลายาวนาน สามารถลุกไหม้ได้ต่อเนื่องกันราว ๆ ครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

    เพราะถ้าหากกองฟืนไม่สามารถไหม้ไฟได้อย่างยาวนานแล้วและมอดดับลงเสียในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ต้องเสียเวลาละการเพ่งมาเติมฟืนเติมไฟ ซึ่งเป็นการขัดขวางในการเพ่งกสิณ ดังนั้นการที่มีไฟลุกไหม้ยาวนานเท่าใด จึงทำให้การเพ่งยาวนานโดยไม่ต้องเสียเวลาไปเติมไฟนานเท่านั้นด้วย

    ดังนั้นเมื่อได้ฟืนตามต้องการแล้ว การทำกองฟืนก็ต้องมีขนาดพอประมาณ ไม่เล็กเกินไป และไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะถ้าหากกองฟืนเล็กเกินไปไฟไหม้ชั่วครู่หนึ่งก็จะดับมอด ต้องมาเติมฟืน เติมไฟ ทำให้การฝึกฝนอบรมชะงักขาดตอนและต้องไปเริ่มต้นกันใหม่

    หรือในกรณีที่กองฟืนใหญ่เกินไปก็จะเกิดพลังความร้อนแรงกล้า ไฟจะลุกแผ่เป็นวงกว้างมากเกินไป และให้ความร้อนแรงมากเกินไปจนระยะห่างชั่วแอกหนึ่งจากที่นั่งเพ่งถึงกองไฟไม่อาจทนทานต่อรัศมีความร้อนได้

    โดยปกติระยะห่างจากจุดนั่งเพ่งไปยังวงกสิณจะเป็นระยะชั่วแอกหนึ่ง แต่ในกรณีทำเตโชกสิณนั้นอาจยืดหยุ่นให้ห่างไกลออกไปอีกสักหน่อยก็ได้ เพื่อไม่ให้รัศมีความร้อนรบกวนการเพ่งกสิณ

    ดังนั้นขนาดของกองฟืนและระยะห่างของการนั่งเพ่งกสิณจึงต้องสมดุลกัน ตรงไหนที่เรียกว่าสมดุลก็คือตรงที่ทำให้การนั่งเพ่งกสิณนั้นไม่ถูกรบกวนหรือขัดขวางด้วยรัศมีความร้อนของกองไฟ

    เมื่อเตรียมกองไฟแล้วก็ยังเป็นเรื่องของการเตรียมวงกสิณ เพื่อให้สามารถเห็นไฟภายในวงกสิณ สำหรับการทำเตโชกสิณนั้นจะต้องเตรียมแผ่นเสื่อลำแพนหรือแผ่นไม้กระดานหรืออะไรที่เป็นแผ่นก็ได้ แต่ต้องมีขนาดพอบังกองไฟได้ แล้วเจาะวงกลมไว้ตรงกลางให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 คืบ 2 องคุลี ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับวงกสิณในการทำปฐวีกสิณและอาโปกสิณนั่นเอง

    นำแผ่นดังกล่าวนั้นตั้งบังกองไฟ ให้เห็นไฟผ่านทางวงกสิณอย่างชัดเจน

    ดังนั้นระยะของการตั้งแผ่นดังกล่าวจึงต้องห่างกองไฟพอประมาณ ที่แผ่นนั้นจะไม่ถูกรัศมีความร้อนจนไหม้

    มาถึงตรงนี้ก็อาจกล่าวถึงการจัดที่นั่งในการเพ่งกสิณได้ด้วยว่าอาจจัดที่นั่งให้มีระยะห่างจากแผ่นนั้นชั่วแอกหนึ่งก็จะเป็นระยะที่พอดีกับการทำเตโชกสิณ เพราะระยะก็พอเหมาะ รัศมีความร้อนก็ไม่กระทบจนรบกวนการทำกสิณ เนื่องจากมีแผ่นกั้นอยู่ชั้นหนึ่งแล้ว

    ในการเริ่มต้นฝึกฝนการเพ่งเตโชกสิณก็เหมือนกันกับการเริ่มต้นฝึกฝนการเพ่งปฐวีกสิณและอาโปกสิณ จากนั้นก็เริ่มต้นการเพ่งไปที่วงกสิณ เพื่อให้เกิดมโนภาพขึ้นกับจิต เห็นไฟในวงกสิณนั้นอย่างชัดเจนถ้วนทั่ว

    ในการเพ่งวงกสิณนั้นจะต้องจำกัดสายตาให้รวมตัวอยู่ที่วงกสิณ อย่าให้วอกแวกไปสนใจกับเปลวไฟซึ่งอาจลุกโชติช่วงเหนือแผ่นวงกสิณ และไม่ต้องสนใจกับควันของไฟซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในบางครั้งบางคราว ทั้งต้องไม่สนใจในกลิ่นที่เกิดจากการไหม้ รวมทั้งจะต้องไม่สนใจในสีของไฟ ที่มีลักษณะเป็นสีแดงเพราะจะเบี่ยงเบนไปติดยึดในสี และจะกลายเป็นกสิณที่ถือเอาสีเป็นวัตถุในการเพ่ง ซึ่งเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

    ในการเพ่งวงกสิณซึ่งปรากฏไฟอยู่นั้น จะสัมผัสถึงไอความร้อนของไฟได้ด้วย ดังนั้นจุดเพ่งในการทำเตโชกสิณจึงเพ่งเอาภาพของไฟที่เห็นนั้นอย่างหนึ่ง รวมกับรัศมีความร้อนอีกอย่างหนึ่งเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน คือ เห็นไฟที่มีความร้อน ไม่ใช่เห็นแต่ไฟหรือสัมผัสได้แต่ความร้อน

    ต้องขอย้ำว่าจะต้องเห็นและสัมผัสได้พร้อมกันทั้งไฟในวงกสิณและพลังความร้อนที่เกิดจากไฟนั้นในลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะจะเป็นรากฐานหรือบาทฐานของอานิสงส์แห่งเตโชกสิณในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ ในกาลข้างหน้าซึ่งเป็นอานิสงส์เฉพาะของเตโชกสิณด้วย

    ในการลืมตาเพ่งมองดวงไฟพร้อม ๆ กันกับการรับสัมผัสไอหรือพลังความร้อนของดวงไฟ แม้จะเป็นการเห็นด้วยตาในลักษณะของไฟ และเป็นการรับรู้พลังความร้อนจากการสัมผัสด้วยกาย แต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับจิตก็คือไฟในวงกสิณที่มีพลังความร้อนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

    ในขณะที่เพ่งมองวงกสิณและสัมผัสพลังความร้อนของไฟโดยจิตรับรู้และสัมผัสหรือเห็นวงกสิณไฟที่มีพลังความร้อนนั้น ความถ้วนทั่วครบถ้วนสมบูรณ์ ความแน่วนิ่งมั่นคงก็จะค่อย ๆ เกิดขึ้น จนภาพวงกสิณที่มีพลังความร้อนปรากฏขึ้นกับจิตอย่างครบถ้วนสมบูรณ์โดยลำดับไป

    ในการฝึกฝนปฏิบัติเตโชกสิณนี้ออกจะยากสักหน่อยหนึ่ง เพราะว่าพอจิตจะเริ่มตั้งมั่น ระยะเวลาก็ผ่านไป กองไฟก็จะค่อย ๆ มอดลง ดังนั้นจะต้องเติมฟืนเติมไฟเป็นธรรมดา และทำให้การฝึกฝนอบรมต้องชะงักลง แต่ก็มีอุบายวิธีที่จะรักษามโนภาพไว้โดยทุกขณะที่ลุกไปเติมฟืนเติมไฟนั้นตาก็เพ่งจ้องอยู่ที่วงกสิณและกองไฟ จนสามารถเห็นกองไฟเป็นวงกสิณเหมือนดังเดิมได้

    ความยุ่งยาก ความชะงัก อาจจะช้าเร็วประการใดย่อมขึ้นอยู่กับความตั้งใจและความมั่นคงของจิตที่สามารถรักษามโนภาพวงกสิณไฟที่มีพลังความร้อนได้มากน้อยและช้าเร็วประการใดด้วย แต่ในที่สุดก็จะผ่านพ้นไปได้ตามธรรมดาธรรมชาติ ด้วยนามกายที่ค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นดังที่ได้แสดงมาแล้วในกสิณวิธีก่อนหน้านี้

    ในที่สุดมโนภาพที่เกิดกับจิตเป็นวงกสิณไฟที่มีพลังความร้อนก็จะมีความมั่นคงแน่วนิ่งขึ้นเป็นขั้นตอนแรก จากนั้นก็เป็นการเพ่งด้วยจิตหรือมองด้วยจิตให้เห็นมโนภาพดังกล่าว ภาพที่เกิดขึ้นกับจิตในตอนแรกเรียกว่าเตโชอุคหนิมิต และเมื่อเพ่งกระทำปฏิภาคนิมิตจากเตโชอุคหนิมิตนั้นไปโดยลำดับแล้ว ก็ย่อมสำเร็จในขั้นที่สอง คือการได้ปฏิภาคนิมิตในวงกสิณไฟที่มีพลังความร้อนหรือที่เรียกว่าเตโชปฏิภาคนิมิต

    เตโชปฏิภาคนิมิตที่ครบถ้วนสมบูรณ์แน่วแน่มั่นคง จะทำให้นามกายที่ก่อตัวขึ้นไปโดยลำดับนั้นมีพลังแกล้วกล้าในกสิณวิธีอย่างหนึ่ง และในการกำหนดพลังความร้อนอีกอย่างหนึ่ง

    นั่นคือในขณะกระทำเตโชปฏิภาคนิมิตนั้น จิตจะมีพลัง มีความมั่นคง มีความบริสุทธิ์มากขึ้น กำลังของจิตสามารถทำให้เตโชปฏิภาคนิมิตขยายหรือหดหรือเคลื่อนย้ายโดยมีพลังความร้อนมากน้อยได้ตามปรารถนา

    ส่วนการทำเตโชกสิณโดยไฟในธรรมชาติก็ทำนองเดียวกันกับการทำปฐวีหรืออาโปกสิณ คือ ในการเพ่งไฟที่ลุกไหม้อยู่ตามธรรมชาตินั้นจะต้องกำหนดจิตให้กำหนดวงกสิณแทนการทำวงกสิณและเมื่อมีความชำนาญในการทำเตโชกสิณโดยไฟที่เตรียมไว้แล้ว จากนั้นก็สามารถเพ่งมองไฟในธรรมชาติได้โดยง่ายและหลังจากนั้นแม้ไม่ต้องก่อไฟหรือแม้ไม่มีไฟในธรรมชาติก็สามารถกำหนดวงกสิณไฟขึ้นในมโนภาพแล้วเพ่งได้ จนกระทั่งเตโชปฏิภาคนิมิตมีความมั่นคงครบถ้วนสมบูรณ์

    การทำเตโชกสิณมีอานิสงส์เฉพาะห้าประการ คือ สามารถทำให้เกิดควันและเปลวไฟ สามารถทำให้เกิดแสงสว่าง สามารถทำลายแสงหรือความสว่างของรูปอื่น ๆ ได้ สามารถทำให้เกิดไฟหรือความร้อนเผาผลาญสิ่งอื่น ๆ ได้ และสามารถล่วงรู้เกี่ยวกับไฟและแสงสว่างได้ หรือนัยหนึ่งก็คือสามารถเห็นไฟได้ในทุกที่ไม่ว่าในระยะใกล้หรือในระยะไกล รวมทั้งสามารถดับไฟได้ทั้งในระยะใกล้และในระยะไกล
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (38) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">10 มีนาคม 2548 17:01 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับนี้จักได้แสดงกสิณวิธีลำดับที่สี่คือวาโยกสิณ ซึ่งจัดเป็นลำดับกสิณเกี่ยวกับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ลำดับสุดท้าย และเป็นกสิณวิธีที่ยากที่สุด ละเอียดประณีตที่สุดในบรรดากสิณเกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ

    เหตุที่ละเอียดอ่อน ประณีตและยากกว่ากสิณดิน น้ำ และไฟก็เพราะว่าลมนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเหมือนกับดิน น้ำ และไฟ แต่สามารถสังเกตได้จากการเคลื่อนไหวของลมที่พัดต้องสิ่งต่าง ๆ แล้วแสดงอาการให้เห็นว่าต้องลมพัด และสามารถสัมผัสได้จากกระแสลมที่สัมผัสร่างกาย ถึงกระนั้นก็ยังจัดว่าเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและเป็นเรื่องยากในการนำมากำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณอยู่นั่นเอง

    ลมอันดำรงอยู่ในธรรมชาตินั้นเรียกว่าอากาศ พอเคลื่อนตัวก็เรียกว่าลม แต่ถ้าการเคลื่อนตัวมีความแรงและความเร็วก็จะเรียกว่าพายุ ซึ่งจะมีขนาดของความแรง ความเร็วต่าง ๆ กัน เป็นเหตุให้พายุนั้นได้ชื่อแตกต่างกันตามขนาดของความแรงและเร็วนั้น

    หากเป็นลมที่ใช้ในการหายใจก็เรียกว่าลมปราณ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตและปรุงแต่งสังขาร หรือปรุงแต่งกาย นับว่าเป็นกายสังขารชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ในการฝึกฝนอบรมทางจิตโดยเฉพาะคือแบบอานาปานสติและสติปัฏฐาน

    โดยทั่วไปลมไร้รูป กลิ่น สี และเสียง แต่สามารถโชยพัดกลิ่นต่าง ๆ ให้สัมผัสได้ สามารถพัดฝุ่นละอองให้ปรากฏเป็นสีได้ และเมื่อพัดต้องสิ่งของมีกิ่งไม้ ใบไม้เป็นต้นก็สามารถปรากฏเป็นเสียงได้ต่าง ๆ กัน

    นอกจากนั้นลมยังมีไออุ่นร้อน เย็น ชุ่มฉ่ำ ชุ่มชื้นอีกด้วย ขึ้นอยู่กับเส้นทางที่พัดผ่านว่าพัดผ่านสิ่งร้อน เย็น ชุ่มฉ่ำ ชุ่มชื้นหรือไม่เพียงใด แต่โดยทั่วไปลมจะมีความชุ่มชื่นอยู่ในตัว พัดถูกตัวต้องกายแล้วรู้สึกสบาย

    ลมที่จะใช้ในการฝึกฝนอบรมกสิณวิธีไม่ใช่ลมที่เป็นลมปราณ และต้องไม่ใช่ลมที่เป็นพายุ ทั้งพึงหลีกเลี่ยงลมประเภทที่มีกลิ่น มีสี หรือทำให้เกิดเสียง เพราะเป็นอุปสรรคขัดขวางในการรวมจิตให้ตั้งมั่น

    เหล่านี้เป็นความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับลม แต่มีข้อควรสังเกตที่ต้องทำความเข้าใจด้วยว่าลมที่จะใช้ฝึกฝนอบรมกสิณวิธีนั้นจะต้องพิจารณาในแง่ที่ไม่ใช่ธาตุ เพราะเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากในกัมมัฏฐานวิธี จะคำนึงแต่เพียงลักษณะของลมที่พัดผ่านเพื่อรวมจิตให้ตั้งมั่นเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเท่านั้น

    พระบรมศาสดาบัญญัติวาโยกสิณเป็นหนึ่งในกัมมัฏฐานวิธีก็เพราะทรงเล็งเห็นว่าเวไนยสัตว์นั้นบางทีก็มีอัชฌาสัยต้องด้วยลม ชอบลม และลมสามารถทำให้จิตตั้งมั่นได้ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะพิเศษของแต่ละบุคคล นอกจากนั้นบางคนที่มีอัชฌาสัยก้าวร้าวดุเดือดมุทะลุดุดันก็อาจใช้วาโยกสิณซึ่งร่มเย็นตรงกันข้ามกันเป็นเครื่องแก้ได้อีกด้วย

    ดังนั้นผู้มีอัชฌาสัยชอบลมหรือต้องการความร่มเย็นข่มความก้าวร้าวดุเดือดเลือดพล่านจึงเหมาะสมกับการเลือกฝึกฝนปฏิบัติโดยวาโยกสิณวิธีนี้

    สำหรับตัวผู้ปฏิบัติและการเตรียมตัวก็เป็นอย่างเดียวกันกับการเตรียมตัว เตรียมกาย เตรียมใจในการฝึกฝนอบรมปฐวีกสิณหรืออาโปกสิณหรือเตโชกสิณ จะต่างกันก็ตรงสิ่งที่ใช้สำหรับเพ่งเพื่อกำหนดอารมณ์ให้จิตรวมตัวตั้งมั่นที่ใช้ลม

    ลมที่จะใช้สำหรับเพ่งวาโยกสิณก็มีสองชนิดเช่นเดียวกับปฐวีกสิณ อาโปกสิณ และเตโชกสิณ คือเป็นลมที่พัดอยู่ตามธรรมชาติอย่างหนึ่งกับลมที่จัดเตรียมขึ้นอีกอย่างหนึ่ง

    ลมที่พัดอยู่ตามธรรมชาติจะต้องเป็นลมที่พัดในลักษณะโชยพลิ้วแผ่ว ๆ ไม่แรงเกินไป ไม่นิ่งเกินไป เพราะหากแรงเกินไปก็โน้มไปในทางที่จะเป็นพายุหรือใกล้จะเป็นพายุ หากนิ่งเกินไปก็ไม่อาจสังเกตรู้ว่าเป็นลมพัด ไม่อาจนำมากำหนดเป็นอารมณ์ได้

    ลมที่พัดอยู่ตามธรรมชาติมีตัวอย่างเช่น ลมที่พัดผ่านยอดหญ้า ยอดไผ่ ใบไม้ หรือวัตถุใด ๆ ที่สามารถสังเกตเห็นว่ามีการเคลื่อนไหวพลิ้วไหวเพราะแรงลมได้

    การทำวาโยกสิณไม่สามารถกำหนดวงกสิณที่แน่นอนได้ จึงได้แต่การเพ่งเอาการเคลื่อนไหวของยอดหญ้า ยอดไผ่ ใบไม้ หรือวัตถุใดที่ต้องแรงลมเท่านั้น แต่เพื่อไม่ให้มีการฟุ้งซ่านหรือไร้ขอบเขตในการเพ่งจนเกินไป จึงพึงกำหนดขอบเขตของการเพ่งให้อยู่ภายในคลองของสายตา ที่สังเกตเห็นความเคลื่อนไหวได้เท่านั้น

    ในการเพ่งการเคลื่อนไหวของลมดังกล่าว จึงมีสิ่งสองสิ่งผสมผสานกันอยู่ คือการเห็นกับการรู้ ซึ่งเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันเป็นอย่างยิ่ง นั่นคือการเห็นการเคลื่อนไหวของสิ่งที่ต้องสายลมอย่างหนึ่ง กับการรู้ว่านั่นเป็นการเคลื่อนตัวของลมอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องรู้และเห็นให้เป็นอย่างเดียวกัน

    ในการเห็นด้วยตาย่อมสามารถเห็นได้แต่การเคลื่อนไหวของสิ่งของที่ต้องแรงลม แต่ในขณะเดียวกันจิตก็ย่อมรู้ว่านั่นเป็นเพราะต้องแรงลม เมื่อทั้งสองสิ่งนี้รวมตัวเป็นสิ่งเดียวกันในการกำหนดเป็นอารมณ์สำหรับเพ่งแล้ว ก็นับได้ว่านั่นคือการเริ่มต้นของการเพ่งวาโยกสิณ

    ผู้ฝึกฝนอบรมลืมตาเพ่งสิ่งของที่ต้องแรงลมในลักษณาการที่ทั้งเห็นและรู้เป็นอย่างเดียวกันจนทรงจำได้แม่นยำครบถ้วนสมบูรณ์เป็นมโนภาพขึ้นกับจิตเพื่อกระทำเป็นอุคหนิมิตซึ่งเรียกว่าวาโยอุคหนิมิต

    ฝึกฝนทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่านิมิตที่ปรากฏกับจิตมีความชัดเจนครบถ้วนสมบูรณ์

    ในการฝึกฝนอบรมวาโยกสิณในขั้นตอนนี้จะมีความยุ่งยากอยู่บ้างก็ตรงที่ความไม่สม่ำเสมอของแรงลม เพราะบางครั้งก็โชยพัดแรงกล้ามากขึ้น เป็นการรบกวนและเป็นอุปสรรคทำให้จิตไม่ตั้งมั่น บางครั้งลมก็หยุดโชยพัดไปเสียดื้อ ๆ ก็เป็นการรบกวนและเป็นอุปสรรคทำให้จิตไม่ตั้งมั่น ไม่อาจเจริญวาโยกสิณได้เช่นเดียวกัน

    แต่ในที่สุดเมื่อฝึกฝนปฏิบัติไปก็จะมีความคุ้นเคยกับลักษณาการที่เป็นธรรมชาติเช่นนั้น คือไม่ว่าลมจะพัดแรงกล้าขึ้นกว่าเดิมก็ดี หรือนิ่งลงกว่าเดิมก็ดี ก็ยังคงสามารถกำหนดอารมณ์ให้เป็นดังเดิมได้ นั่นแสดงว่าจิตมีความตั้งมั่น มโนภาพเริ่มก่อตัวขึ้นกับจิตเป็นอุคหนิมิตโดยลำดับแล้ว

    เมื่อฝึกฝนอบรมจนมีความชำนาญและเกิดมโนภาพขึ้นกับจิตในวาโยกสิณนั้นชัดเจนครบถ้วน มีความมั่นคงแล้วเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมได้ชื่อว่าได้บรรลุถึงอุคหนิมิตโดยวาโยกสิณวิธี

    การฝึกฝนอบรมแต่นี้ไปจึงเป็นเรื่องการกระทำอุคหนิมิตให้เป็นปฏิภาคนิมิตหรือที่เรียกว่ากระทำวาโยอุคหนิมิตให้เป็นวาโยปฏิภาคนิมิต นั่นคือเมื่อมีมโนภาพการเคลื่อนไหวของลมปรากฏขึ้นกับจิตเป็นอุคหนิมิตแล้ว ก็เพ่งภาพอุคหนิมิตนั้นโดยสมาธิจิต หลับตาเพ่งด้วยความเพียรไม่ย่อหย่อน

    ภาวะเช่นนั้นจิตก็จะตั้งมั่นมากขึ้น มีความบริสุทธิ์มากขึ้น มีกำลังมากขึ้น ภาวะทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับจิตดังที่ได้แสดงมาในกสิณวิธีก่อนหน้านี้ก็จะเกิดขึ้นกับจิตอย่างเดียวกัน

    ขอบอกกล่าวเป็นข้อสังเกตว่าอุคหนิมิตของวาโยกสิณนั้นจะมีลักษณะเคลื่อนตัวคือมโนภาพที่เกิดกับจิตจะเห็นการเคลื่อนตัวของลมทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหว มีปริมณฑลหาประมาณมิได้ คือเห็นการเคลื่อนไหวเป็นวงกว้างแผ่ออกไปรอบ ๆ ตัวอย่างหนึ่ง แผ่ออกไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งอย่างหนึ่ง แผ่ขึ้นไปข้างบนอย่างหนึ่ง แผ่ลงไปข้างล่างอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นปกติธรรมดาธรรมชาติของการฝึกวาโยกสิณ

    แต่ครั้นกระทำวาโยอุคหนิมิตให้เป็นวาโยปฏิภาคนิมิตกลับมีลักษณะตรงกันข้าม คือสิ่งที่เห็นในมโนภาพนั้นแทนที่จะเป็นการเคลื่อนไหวกลับเป็นการหยุดนิ่งหรือคงที่มากขึ้นโดยลำดับ คือเห็นว่ามีลมพัดอยู่ แต่สรรพสิ่งไม่เคลื่อนไหว นั่นคือการถึงซึ่งวาโยปฏิภาคนิมิต

    ผู้ฝึกฝนจะต้องกระทำปฏิภาคนิมิตจนมีความชำนาญ มีความมั่นคง และภาวะทั้งหลายได้บังเกิดกับจิตครบถ้วนสมบูรณ์ดังที่ได้แสดงมาในกสิณวิธีก่อนหน้านี้ทุกประการ

    ส่วนลมที่จัดเตรียมนั้นความจริงไม่ใช่จัดเตรียมลม แต่เป็นการจัดเตรียมเพื่อให้ร่างกายสามารถสัมผัสกับลมได้อย่างชัดเจน เช่น การเจาะรูที่ฝา หรือที่กำแพง หรือที่ผนัง หรือเจาะที่แผ่นไม้หรือแผ่นเสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง มีขนาดไม่ใหญ่เกินไป ไม่เล็กเกินไป เพราะถ้าใหญ่เกินไปก็ยากที่จะสัมผัสกับลมที่ผ่านเข้ามาได้ ถ้าเล็กเกินไปก็จะมีเสียงและมีสัมผัสที่แรงอันเป็นอุปสรรคขัดขวางการเจริญกสิณ

    นำสิ่งที่เตรียมไว้นั้นไปขวางกั้นทางลมไว้ แต่ต้องไม่ใช่ลมที่เป็นพายุ แล้วผู้ปฏิบัติเข้าไปนั่งใกล้ให้ลมต้องส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายตามความพอใจ เช่น ให้รูที่เจาะไว้อยู่ใกล้กับหัวเข่าก็ได้ ฝ่ามือก็ได้ ตะโพกก็ได้ หรือทรวงอกก็ได้ หรือแผ่นหลังก็ได้ เพียงเพื่อให้ร่างกายได้สัมผัสรับรู้ว่ามีกระแสลมมาพัดต้องร่างกายเท่านั้น

    ระยะในการนั่งกับแผ่นที่กั้นลมจึงต้องอยู่ใกล้กันและไม่ควรเกินกว่า 1 ศอก เพราะหากไกลไปกว่านี้ก็จะสัมผัสลมได้ยาก ทำให้จิตไม่อาจรวมตัวตั้งมั่นได้อย่างรวดเร็ว

    ลมที่เตรียมดังกล่าวนี้จึงเป็นเรื่องของการทำให้ร่างกายได้สัมผัสกับลม แทนการเห็นการเคลื่อนไหวของสิ่งของเพราะต้องแรงลม และมีจุดสัมผัสของร่างกายกับลมที่แน่นอน ดังนั้นจึงมีลักษณาการสองอย่างเกิดขึ้น คือ ร่างกายสัมผัสรู้ได้ว่ามีลมพัดมาถูกต้องร่างกาย และสามารถสัมผัสรู้ความชุ่มชื่นร่มเย็นของลมที่มาสัมผัสร่างกายนั้นด้วย

    เป็นเรื่องที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา แต่รู้เห็นได้โดยการสัมผัสทางกายหรือโผฏฐัพพะโดยจะต้องสัมผัสรับรู้ทั้งสองลักษณาการนั้นให้เป็นอย่างเดียวกัน ไม่ใช่สัมผัสรู้ว่าลมอย่างหนึ่งและความชุ่มชื่นอีกอย่างหนึ่ง แต่ต้องเป็นสัมผัสรู้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน

    ร่างกายสัมผัสกับลมทั้งสายลมที่พัดมาต้องร่างกายนั้นและความชุ่มชื่นที่รู้สึกได้นั้น แต่สิ่งที่สัมผัสรู้จริงก็คือจิต ซึ่งทำหน้าที่วิญญาณขันธ์

    เพราะเหตุที่ลมซึ่งจัดเตรียมไว้ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา ดังนั้นการฝึกฝนอบรมจึงสามารถหลับตาเพ่งความสนใจไปที่การสัมผัสในส่วนของร่างกายที่สัมผัสกับลม จนเกิดมโนภาพเกิดขึ้นกับจิต ราวกับว่าเห็นด้วยตาว่ามีลมที่ชุ่มชื่นพัดมาต้องกายตรงจุดนั้น ๆ จนมโนภาพนั้นมีความชัดเจน มั่นคง ครบถ้วน สมบูรณ์ ก็นับได้ว่าบรรลุถึงวาโยอุคหนิมิต ลำดับแต่นั้นไปก็กระทำวาโยปฏิภาคนิมิตต่อไปดังวิธีฝึกฝนอบรมที่ได้แสดงมาแล้วข้างต้น

    เหล่านั้นเป็นเรื่องของผู้ฝึกฝนใหม่แต่เมื่อมีความชำนาญแล้วก็ไม่ต้องจัดเตรียมสิ่งใด ๆ อีก สามารถกำหนดนิมิตวาโยกสิณได้ดังปรารถนาทุกที่ทุกแห่ง

    ในบางที่แนะนำว่าการเพ่งวาโยกสิณจะต้องภาวนาว่าวาโต หรือมาลุโต หรืออนิลํ ซึ่งล้วนแปลว่าลม แต่ไม่จำเป็นและไม่จำต้องภาวนาเลย เพราะว่ากสิณวิธีนั้นไม่ใช่วิธีภาวนาแต่เป็นวิธีเพ่ง

    การฝึกฝนอบรมวาโยกสิณมีอานิสงส์ในอนาคตเฉพาะตัวคือสามารถทำให้ร่างกายเบาหวิวยิ่งกว่าปุยนุ่นแล้วเหาะไปในอากาศได้ ทำให้เกิดลมได้ ทำให้เกิดฝนและความร่มเย็นได้ ส่วนอานิสงส์ทั่วไปก็เหมือนกับกสิณวิธีอื่น ๆ
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (39) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">17 มีนาคม 2548 17:57 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เมื่อได้แสดงกสิณวิธีประเภทธาตุ คือดิน น้ำ ลม ไฟ แล้ว ลำดับต่อไปนี้จักได้แสดงกสิณวิธีจำพวกสี ซึ่งมีอยู่สี่ชนิดหรือสี่วิธี คือ นีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ และโอทาตกสิณ หรือนัยหนึ่งก็คือกสิณที่ถือเอาสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว เป็นวัตถุแห่งการเพ่ง หรือกำหนดอารมณ์

    พระบรมศาสดาทรงบัญญัติกสิณวิธีจำพวกสีก็โดยนัยยะเหตุผลเดียวกันกับการบัญญัติกสิณวิธีจำพวกธาตุ เพราะเวไนยสัตว์มีอัชฌาสัยแตกต่างกัน นอกจากพวกที่มีอัชฌาสัยนิยมชมชอบคุ้นเคยดิน น้ำ ลม ไฟ แล้ว ก็ยังมีเวไนยสัตว์จำพวกที่มีอัชฌาสัยนิยมชมชอบหรือคุ้นเคยกับสี คือสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว

    การบัญญัติกสิณวิธีจำพวกสีจึงเป็นเครื่องแสดงออกซึ่งพระเมตตาคุณ พระมหากรุณาธิคุณ และพระปัญญาคุณแห่งพระบรมศาสดาโดยแท้ เพื่อให้เวไนยสัตว์หรือชนหมู่มากได้รับประโยชน์จากการตรัสรู้ของพระองค์ เพราะผู้ที่มีอัชฌาสัยนิยมชมชอบสิ่งใดก็จะมีความง่ายต่อการฝึกฝนอบรมและใช้สิ่งนั้นเป็นสื่อในการฝึกฝนอบรมเพื่อให้จิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ และมีศักยภาพสูงสุดในการทำหน้าที่ของจิตต่อไป

    ในปัจจุบันนี้ถือกันว่าแม่สีมีอยู่ 3 สี คือสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน จากแม่สีทั้งสามสีนี้สามารถปรุงแต่งเป็นสีอื่น ๆ ได้ไม่มีที่สิ้นสุด แต่ในทางแสงนั้นถือว่ามีแม่สีอยู่สี่สีคือสีเหลือง สีแดง สีเขียว และสีขาว แม่สีทั้งสี่สีนี้เมื่อผ่านกระบวนการสะท้อนของแสงแล้วก็จะสามารถปรุงแต่งเป็นสีได้ไม่มีที่สิ้นสุดเช่นเดียวกัน

    เป็นที่น่าประหลาดใจสักปานไหนที่การค้นพบเรื่องแม่สีธรรมดากับแม่สีที่เกิดจากการสะท้อนของแสงในปัจจุบันสมัยโดยนักวิทยาศาสตร์ทางสีไม่ได้แตกต่างออกไปจากความรู้ของคนโบราณ ซึ่งถือเอาสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาวเป็นสีในการกำหนดอารมณ์

    ความจริงแล้วการเห็นสีเป็นมายาภาพอย่างหนึ่ง เพราะในทางความเป็นจริงไม่มีสี แต่ที่ตาเห็นเป็นสีได้นั้นเกิดจากการสะท้อนของคลื่นแสงที่กระทบกับพื้นผิวของวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อใดที่ไม่มีแสงเมื่อนั้นก็จะไม่มีสี

    มนุษย์ได้กำหนดลักษณะของสีที่เห็นจากมายาภาพดังกล่าวเป็นสีนั้น สีนี้ และเมื่อแม่สีผสมกันตามการสะท้อนของแสงปรากฏเป็นสีต่างๆ หลากหลายสีแล้ว ก็ตั้งสมมติเอาว่าเป็นสีนั้น สีนี้

    ในส่วนของแสงที่ทำให้เกิดสีก็เช่นเดียวกัน ความจริงไม่มีสีแต่เพราะความถี่ของคลื่นแสงที่มากระทบกันผสมผสานกันและต้องกับผิวของวัตถุแล้วก็เห็นเป็นสีต่าง ๆ ได้ มนุษย์ก็ได้ตั้งสมมติเอาว่าเป็นสีนั้น สีนี้

    พระบรมศาสดาทรงบัญญัติกสิณวิธีจำพวกสีไว้เพียง 4 วิธี ก็เพียงเพื่อเป็นต้นแบบฝึกฝนอบรมของกสิณวิธีจำพวกสี หรือจะเรียกว่าแม่แบบก็ได้ เวไนยสัตว์ใดที่มีอัชฌาสัยชอบพอสีอื่นนอกจากสี่สีที่ทรงบัญญัติเป็นต้นแบบแล้ว ก็ย่อมใช้วิธีฝึกฝนอบรมกสิณวิธีจำพวกสีได้เหมือนกัน เพียงแต่ปรับเปลี่ยนสีตามที่ทรงบัญญัติเป็นแม่แบบไปเป็นสีที่ชอบด้วยอัชฌาสัยเท่านั้น

    เพราะเหตุที่วิธีฝึกฝนอบรมและการจัดเตรียมการฝึกฝนอบรมกสิณจำพวกสีนั้นเป็นแบบอย่างเดียวกัน เหมือนกันทั้งหมด ยกเว้นก็แต่สีอันเป็นที่เพ่งแห่งจิต ดังนั้นในการพรรณนากสิณวิธีจำพวกสีทั้งสี่ชนิดนี้จึงพรรณนารวมกันไป

    แต่จะแสดงแยกในส่วนที่เป็นลักษณะพิเศษของกสิณสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว รวมทั้งอานิสงส์เฉพาะของการฝึกฝนอบรมกสิณวิธีแต่ละสี ซึ่งต่างกันไปบ้าง

    สำหรับผู้ฝึกฝนอบรมนั้นมีวิธีเตรียมตัวอย่างเดียวกันกับที่ได้พรรณนามาแต่ก่อนแล้ว

    สถานที่ฝึกฝน ระยะการตั้งวงกสิณกับการนั่ง ก็เป็นอย่างเดียวกันกับที่ได้พรรณนามาแต่ก่อนแล้ว

    ข้อแตกต่างที่เป็นลักษณะเฉพาะก็คือการเตรียมวงกสิณ โดยนีลกสิณนั้นต้องเตรียมวัตถุสีเขียว ปีตกสิณต้องเตรียมวัตถุสีเหลือง โลหิตกสิณต้องเตรียมวัตถุสีแดง และโอทาตกสิณต้องเตรียมวัตถุสีขาว

    วัตถุที่เป็นสีเขียวมีตัวอย่างเช่น ดอกไม้สีเขียว ผ้าสีเขียว สิ่งของใด ๆ ก็ตามที่เป็นสีเขียว

    วัตถุที่เป็นสีเหลืองมีตัวอย่างเช่น ดอกไม้สีเหลือง ผ้าสีเหลือง สิ่งของใด ๆ ก็ตามที่เป็นสีเหลือง

    วัตถุที่เป็นสีแดงมีตัวอย่างเช่น ดอกไม้สีแดง ผ้าสีแดง สิ่งของใด ๆ ก็ตามที่เป็นสีแดง

    วัตถุที่เป็นสีขาวมีตัวอย่างเช่น ดอกไม้สีขาว ผ้าสีขาว สิ่งของใด ๆ ก็ตามที่เป็นสีขาว รวมทั้งดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว และกระจก

    สำหรับผู้ฝึกฝนอบรมใหม่ย่อมต้องเตรียมวงกสิณก่อน โดยรักชอบพอและมีอัชฌาสัยต้องด้วยสีอะไรก็ใช้สีนั้นหรือวัตถุที่มีสีนั้นทำเป็นวงกสิณ

    วงกสิณจำพวกสีแม้บรรดาตำราต่าง ๆ จะยกตัวอย่างวงกสิณเป็นแบบรูปสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมเท่านั้น แต่ความจริงนอกจากจะทำเป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมแล้ว ยังสามารถทำเป็นรูปวงกลมอันเป็นลักษณะทั่วไปของการทำวงกสิณดังที่ได้พรรณนามาแล้วได้อีกด้วย ขนาดของวงกสิณก็เป็นดังขนาดที่ได้แสดงมาในตอนต้น ๆ แล้ว จักไม่กล่าวซ้ำอีก

    เมื่อจัดเตรียมวงกสิณ เตรียมตัว เตรียมกาย เตรียมใจตามวิธีการดังได้แสดงมาแต่ต้นแล้ว การเพ่งวงกสิณก็กระทำอย่างเดียวกันกับการเพ่งปฐวีกสิณ

    ความเฉพาะของกสิณวิธีจำพวกสีคือการกำหนดการเพ่งอยู่ที่สี คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง หรือสีขาวตามแต่อัชฌาสัย ต้องไม่คำนึงถึงวัตถุหรือธาตุอย่างอื่นนอกจากสี ต้องไม่ให้สิ่งอื่นใดนอกจากสีเข้ามาเกาะเกี่ยวกุมอารมณ์ซึ่งจะทำให้การฝึกฝนอบรมเบี่ยงเบนไปเป็นอย่างอื่น

    รวมทั้งไม่จำที่จะต้องพิจารณาด้วยปัญญาเลยว่าสิ่งที่เรียกว่าสีนั้นมีอยู่ในทางความเป็นจริงหรือว่าเป็นเพียงมายาภาพหรือไม่ และที่เห็นเป็นสีนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร มีความผันแปรไปอย่างไร ความมุ่งหมายสำคัญของการฝึกฝนอบรมกสิณวิธีจำพวกนี้มุ่งเอาที่สี แม้ว่ามันจะเป็นสมมติก็ตาม

    เพราะว่าเป้าหมายที่แท้จริงของการฝึกฝนอบรมไม่ใช่การรู้แจ้งแทงตลอดในเรื่องสี แต่มีเป้าหมายที่แท้จริงอยู่ตรงที่อาศัยสีซึ่งต้องด้วยอัชฌาสัยนั้นเป็นสื่อในการกำหนดอารมณ์ เพื่อทำให้จิตตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ มีพลังแกล้วกล้าจนกระทั่งสามารถทำหน้าที่ของจิตได้อย่างสมบูรณ์เท่านั้น

    เมื่อกำหนดเอาสีที่ชอบอัชฌาสัยเป็นตัวกำหนดอารมณ์ตามที่เตรียมไว้แล้วนั้น ขั้นตอนแรกก็คือการทำอุคหนิมิตให้ปรากฏภาพสีขึ้นในมโนภาพอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ชัดเจน ดังวิธีการกระทำอุคหนิมิตที่ได้พรรณนามาก่อนหน้าแล้ว

    เมื่อใดก็ตามที่อุคหนิมิตสีปรากฏขึ้นชัดเจนเป็นมโนภาพกับจิตแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการกระทำปฏิภาคนิมิตให้ภาพสีที่เห็นในมโนภาพด้วยจิตนั้นแผ่เป็นปริมณฑลกว้างไกลออกไป หรือหดย่อลงมา หรือเคลื่อนย้ายได้ตามปรารถนา แม้กระทั่งกำหนดให้นิ่งมั่นคงอยู่กับที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

    ภาวะทั้งหลายที่เกิดกับจิตดังที่ได้พรรณนามาก็จะเกิดขึ้นอย่างครบถ้วนเช่นเดียวกับกสิณวิธีที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว เมื่อนั้นย่อมได้ชื่อว่าบรรลุถึงการกระทำปฏิภาคนิมิตในกสิณวิธีจำพวกสี

    โดยผลรวมก็คือจิตมีความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ มีความแกล้วกล้า มีพลังและมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น พร้อมที่จะก้าวรุดหน้าต่อไปสู่ปฐมฌาน

    เหล่านั้นเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมของผู้ปฏิบัติใหม่ แต่เมื่อมีความชำนาญแล้วก็ไม่ต้องจัดเตรียมวงกสิณอีกต่อไป เพราะสามารถกำหนดอารมณ์ กระทำอุคหนิมิตจากสีที่มีอยู่ตามธรรมชาติได้

    นั่นคือเมื่อเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง และสีขาว ก็สามารถกำหนดอารมณ์ทำนิมิตสีนั้นให้ปรากฏในมโนภาพ เป็นอุคหนิมิตของสีนั้น ๆ และเป็นปฏิภาคนิมิตของสีนั้น ๆ ได้ดังปรารถนา

    เมื่อมีความชำนาญมากขึ้นไปอีก แม้จะไม่เห็นสิ่งใดที่มีสี ถึงขนาดหลับตาอยู่ก็สามารถกำหนดอารมณ์สร้างนิมิตที่เป็นสีขึ้นในมโนภาพและเป็นอุคหนิมิตของสีนั้นและกระทำเป็นปฏิภาคนิมิตของสีนั้นได้ดังปรารถนาไม่ยาก ไม่ลำบากอีกด้วย

    เมื่อกระทำปฏิภาคนิมิตโดยกสิณวิธีจำพวกสีได้สำเร็จแล้ว การรักษานิมิตนั้นให้มั่นคงแคล่วคล่องว่องไวเป็นเรื่องของการฝึกฝนจนชำนาญ ด้วยความเพียรไม่ย่อหย่อน ยิ่งแคล่วคล่องว่องไวชำนาญเท่าใด กำลังอำนาจของจิตก็จะมีพลังแกล้วกล้ามากขึ้นเท่านั้น ตั้งมั่นและบริสุทธิ์มากขึ้นเท่านั้นด้วย องค์แห่งปฐมฌานก็ย่อมก่อตัวชัดขึ้นโดยลำดับ เช่นเดียวกับที่ได้พรรณนามาเกี่ยวกับกสิณวิธีจำพวกธาตุนั้นแล้ว

    กสิณวิธีจำพวกสีก็มีอานิสงส์เฉพาะแต่ละสีเช่นเดียวกัน แต่ต้องตระหนักว่าอานิสงส์นั้นจะกระทำได้และปรากฏขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้บรรลุถึงจตุตถฌานและกระทำในอุปจารสมาธิเท่านั้น

    แต่เพื่อส่งเสริมศรัทธาประสาทะและเพื่อได้ตั้งเป็นข้อสังเกตของพัฒนาการของนามกายที่จะเป็นบาทฐานของการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชาในวันข้างหน้า จักได้กล่าวอานิสงส์เฉพาะของกสิณวิธีจำพวกสีไว้ ณ ที่นี้

    กสิณวิธีประเภทนีลกสิณมีอานิสงส์เฉพาะห้าประการคือ หลุดพ้นจากความติดยึดในสิ่งสวยงามทั้งปวงหรือที่เรียกว่าสุภวิโมกข์ เป็นผู้ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ในสีเขียว สามารถทำทุกสิ่งให้เป็นสีเขียวได้ สามารถเนรมิตสิ่งทั้งหลายที่เป็นสีเขียวได้และ สามารถมีตาทิพย์มองเห็นสีเขียวในที่ใด ๆ ก็ได้

    กสิณวิธีประเภทปีตกสิณมีอานิสงส์เฉพาะห้าประการคือ หลุดพ้นจากความติดยึดในสิ่งสวยงามทั้งปวงหรือที่เรียกว่าสุภวิโมกข์ เป็นผู้ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ในสีเหลือง สามารถทำทุกสิ่งให้เป็นสีเหลืองได้ สามารถเนรมิตสิ่งทั้งหลายที่เป็นสีเหลืองได้และ สามารถมีตาทิพย์มองเห็นสีเหลืองในที่ใด ๆ ก็ได้

    กสิณวิธีประเภทโลหิตกสิณมีอานิสงส์เฉพาะห้าประการคือ หลุดพ้นจากความติดยึดในสิ่งสวยงามทั้งปวงหรือที่เรียกว่าสุภวิโมกข์ เป็นผู้ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ในสีแดง สามารถทำทุกสิ่งให้เป็นสีแดงได้ สามารถเนรมิตสิ่งทั้งหลายที่เป็นสีแดงได้และ สามารถมีตาทิพย์มองเห็นสีแดงในที่ใด ๆ ก็ได้

    กสิณวิธีประเภทโอทาตกสิณมีอานิสงส์เฉพาะแปดประการคือ หลุดพ้นจากความติดยึดในสิ่งสวยงามทั้งปวงหรือที่เรียกว่าสุภวิโมกข์ เป็นผู้ถึงซึ่งความเป็นใหญ่ในสีขาว สามารถทำทุกสิ่งให้เป็นสีขาวได้ สามารถเนรมิตสิ่งทั้งหลายที่เป็นสีขาวได้ สามารถมีตาทิพย์มองเห็นสีขาวในที่ใด ๆ ก็ได้ สามารถขจัดความมืดได้ บันดาลให้เกิดความสว่างได้ และสามารถขจัดความง่วงเหงาหาวนอนได้
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (40) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">24 มีนาคม 2548 17:17 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ได้พรรณนากสิณวิธีมา 8 วิธีมาโดยลำดับแล้ว คงเหลืออีก 2 วิธี คือ อาโลกกสิณ และ อากาศกสิณ ซึ่งเป็นกสิณวิธีที่มีความประณีตละเอียดอ่อนมากกว่ากสิณวิธีทั้ง 8 วิธีที่ได้แสดงมาแล้ว

    นอกจากจะมีความละเอียดอ่อนประณีตแล้ว ยังมีความสับสนในทางทฤษฎีกันอยู่ เพราะในคัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีพรรณนาไว้ต่างกัน

    ในคัมภีร์วิมุตติมรรคได้แสดงอาโลกกสิณไว้อย่างหนึ่ง แล้วแสดงปริจฉินนากาส กสิณไว้อีกอย่างหนึ่ง โดยในปริจฉินนากาสกสิณนั้นได้จำแนกย่อยออกเป็นอากาศกสิณชนิดหนึ่ง และวิญญาณกสิณอีกชนิดหนึ่ง

    ในขณะที่คัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แสดงอาโลกกสิณไว้เป็นลำดับที่ 9 และปริจฉินนากาสกสิณไว้เป็นลำดับที่ 10 โดยในปริจฉินนากาสกสิณนั้นได้พรรณนาเฉพาะอากาส กสิณไว้เพียงอย่างเดียว

    คัมภีร์ทั้งสองนี้เป็นคัมภีร์หลักของสำนักใหญ่ในลังกามาแต่ก่อน และส่วนนี้ก็คือส่วนที่แตกต่างกันและทำให้มีข้อโต้แย้งทางทฤษฎีระหว่างทั้งสองสำนักนั้นมาแต่โบราณกาล

    สำหรับประเทศไทยของเรา ได้รับเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเป็นคัมภีร์หลักในการสอนพระพุทธศาสนา เพิ่งมาเมื่อระยะ 40-50 ปีมานี้ จึงมีการแปลคัมภีร์วิมุตติมรรคเป็นภาษาอังกฤษ และมาแปลเป็นภาษาไทยเมื่อ พ.ศ. 2538 ทำให้เกิดการตื่นเต้นกันเป็นโกลาหลว่าเป็นคัมภีร์ดั้งเดิมแท้ และสามารถเป็นคู่มือปฏิบัติได้แท้จริงยิ่งกว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรค

    แม้ท่านเจ้าคุณพุทธทาสก็ได้ให้คำรับรองว่าคัมภีร์วิมุตติมรรคนั้นมีความสำคัญยิ่งกว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรค

    ดังนั้นการศึกษาพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการปฏิบัติกัมมัฏฐานเกี่ยวกับกสิณวิธีนั้นจึงถือคติตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค โดยนอกจากกสิณวิธี 8 วิธีที่เหมือนกันแล้ว อีก 2 วิธีที่เหลือคงถือเอาอาโลกกสิณและปริจฉินนากาสกสิณหรืออากาสกสิณเท่านั้น

    แต่ในที่นี้เพื่อให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์และสอดคล้องกับอัชฌาสัยของเวไนยสัตว์ซึ่งยังมีอยู่มากหลาย จึงจักแสดงให้ครบถ้วนทั้งสองกสิณวิธีหลักที่เหลือ โดยแยกย่อยปริจฉินนากาสกสิณเป็นอากาสกสิณวิธีหนึ่ง และวิญญาณกสิณอีกวิธีหนึ่ง

    ความประณีตละเอียดอ่อนของกสิณวิธีที่เหลือดังกล่าวนี้ก็ทำนองเดียวกับที่ได้พรรณนามาเกี่ยวกับวาโยกสิณแล้ว คือ ไม่มีวัตถุธาตุที่จะจับต้องมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถรับรู้สัมผัสได้ ดังนั้นผู้ที่มีอัชฌาสัยคุ้นเคยชอบพอกับกสิณวิธีดังกล่าวจึงเหมาะสมแก่การที่จะนำไปอบรมศึกษาปฏิบัติในการอบรมบ่มเพาะจิตของตน

    ทั้งคัมภีร์วิมุตติมรรคและคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้พรรณนาอาโลกกสิณเป็นอย่างเดียวกัน คือเป็นกสิณวิธีที่ถือเอาความสว่างเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณ

    ความสว่างดังกล่าวนั้นมีทั้งความสว่างที่จัดเตรียมขึ้นเพื่อการเพ่งกสิณโดยเฉพาะ กับความสว่างที่มีอยู่ในธรรมชาติ สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติใหม่จะต้องใช้ความสว่างที่จัดเตรียมขึ้น แต่เมื่อฝึกฝนจนมีความชำนาญดีแล้ว ก็ย่อมใช้ความสว่างในธรรมชาตินั้นได้ไม่ยากไม่ลำบาก

    ในการเพ่งกสิณวิธีนี้ก็เหมือนกับวิธีอื่น ๆ ดังได้แสดงมาแล้ว คือเพ่งเพื่อกำหนดเป็นมโนภาพขึ้นเป็นอุคหนิมิตเป็นขั้นตอนแรก แล้วกระทำเป็นปฏิภาคนิมิตในขั้นตอนที่สอง วิธีการ กระบวนการและภาวะของจิตในการสร้างมโนภาพ ในการกระทำอุคหนิมิต และในการกระทำปฏิภาคนิมิตของอาโลกกสิณก็เป็นอย่างเดียวกันกับกสิณวิธีที่ได้พรรณนามาแต่ก่อนแล้ว

    เพราะเหตุที่ความสว่างไร้ขอบเขตและหาปริมณฑลที่แน่นอนได้ยาก ดังนั้นสำหรับผู้ฝึกฝนอบรมปฏิบัติใหม่จึงต้องจัดเตรียมวงกสิณเพื่อให้เห็นความสว่างที่มีขนาดขอบเขตและความชัดเจน ทำนองเดียวกับการจัดเตรียมวงกสิณอื่น ๆ

    วิธีจัดเตรียมวงกสิณเพื่อให้เกิดแสงสว่างสุดแท้แต่จะจัดทำตามความสะดวกหรือตามที่จะสามารถจัดทำได้ในแต่ละแห่ง แต่ให้เป็นดังตัวอย่างคือให้มีฝาหรือกำแพงหรือผืนแผ่นอย่างใดอย่างหนึ่งที่สามารถรองรับแสงสว่างได้

    ส่วนการทำให้เกิดแสงสว่างนั้นกระทำได้สองวิธี คือ

    วิธีแรก การทำให้เกิดแสงสว่างโดยการสะท้อน เช่น การเอาน้ำใส่ในภาชนะที่มีปากขอบเท่ากับวงกสิณอื่น ๆ แล้วตั้งภาชนะที่บรรจุน้ำนั้นไว้ในท่ามกลางแสงอาทิตย์ วางมุมให้เกิดแสงสะท้อนจากน้ำบนขอบปากภาชนะนั้นไปยังกำแพง ผนัง ฝา หรือผืนแผ่นใด ๆ ที่ตั้งรอรับไว้

    วิธีที่สอง การเจาะรูที่กำแพง ฝา หรือแผ่นพื้นใด ๆ มีขนาดเท่ากับวงกสิณดังทีได้พรรณนามาแล้ว และให้แสงสว่างโดยเฉพาะแสงสว่างจากดวงอาทิตย์สาดผ่านรูที่เจาะเป็นวงกสิณไว้นั้นไปกระทบกับฝา หรือพื้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะปรากฏเป็นความสว่างเป็นวงกสิณ

    พึงตั้งข้อสังเกตว่าวิธีการจัดเตรียมวงกสิณของอาโลกกสิณนั้นเกือบจะเหมือนหรือคล้ายคลึงกับการจัดเตรียมวงกสิณในการทำเตโชกสิณ ซึ่งความต่างตรงนี้ไม่ได้มีความสำคัญแต่ประการใด ความสำคัญอยู่ตรงที่การกำหนดอารมณ์ในการเพ่งที่มีความแตกต่างกัน

    การเพ่งเตโชกสิณนั้นมุ่งเอาไฟเป็นอารมณ์ ไม่ถือเอาแสงสว่างเป็นอารมณ์ ดังที่ได้ตั้งความสังเกตไว้แต่ก่อนแล้ว ส่วนการเพ่งอาโลกกสิณถือเอาความสว่างเป็นอารมณ์ ไม่ถือเอาสีหรือความร้อนเย็นเป็นอารมณ์ ความต่างที่เป็นประการสำคัญอยู่ตรงนี้

    เมื่อเตรียมวงกสิณแล้วก็ทำการฝึกฝนปฏิบัติเพ่งกสิณนั้นจนเกิดเป็นอุคหนิมิต แล้วกระทำให้เป็นปฏิภาคนิมิต โดยสามารถสัมผัสรับรู้ได้ถึงภาวะของจิตในประการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงอย่างครบถ้วนสมบูรณ์

    อาโลกกสิณแม้ว่าจะมีความประณีตละเอียดอ่อน แต่ที่หมายปลายทางเบื้องต้นนั้นก็คือการกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต เช่นเดียวกับกสิณวิธีอื่น ๆ นั่นเอง

    สำหรับผู้ที่ฝึกฝนปฏิบัติจนมีความชำนาญดีแล้วก็ไม่จำต้องจัดเตรียมวงกสิณอีกต่อไป สามารถกำหนดเอาแสงสว่างที่มีอยู่ในธรรมชาติกำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณกระทำเป็นอุคหนิมิตและกระทำปฏิภาคนิมิตได้

    เช่น เมื่อเห็นแสงดวงอาทิตย์ แสงพระจันทร์ แสงไฟ แสงสะท้อนหรือความสว่างใด ๆ ก็สามารถกำหนดเป็นอารมณ์สร้างความสว่างเป็นวงกสิณในมโนภาพ แล้วกระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตได้

    และเมื่อมีความชำนาญมากขึ้นไปอีก ก็สามารถกำหนดความสว่างเป็นอารมณ์ได้ในทุกที่ทุกเวลา แม้ในยามหลับตา

    ในการกระทำอุคหนิมิตของอาโลกกสิณนั้น ความสว่างจะเป็นความสว่างที่มีลักษณะนวลตา เย็นใจ ไม่ร้อนแสบ หรือร้อนแบบแผดเผา หรือเคืองนัยน์ตาทั้งนัยน์ตานอกและนัยน์ตาใน เป็นความสว่างเช่นเดียวกับที่ปรากฏในฝันหรือนิมิตของบางกรณี ที่มีแสงสว่างแต่จะเป็นกลางวันก็ไม่ใช่ กลางคืนก็ไม่ใช่

    ยิ่งมีความชำนาญมากขึ้นเท่าใด อุคหนิมิตของอาโลกกสิณก็จะยิ่งมีความนวลผ่องเย็นตา สบายอารมณ์มากขึ้นทุกที และจะเกิดความสุขกายสุขใจชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน และอาจก่อเกิดเป็นมายาภาพที่ต้องสละละถอนโดยวิธีการดังที่ได้พรรณนามาแล้ว

    ในการกระทำปฏิภาคนิมิตของอาโลกกสิณนั้น ความสว่างที่เป็นวงกสิณในอุคหนิมิตจะถูกแผ่ขยายเป็นปริมณฑลกว้างหาที่สุดมิได้ ทั้งข้างบนก็ดี ทั้งเบื้องล่างก็ดี ทั้งในทิศต่าง ๆ ก็ดี แม้กระทั่งแผ่ปกคลุมไปทั้งจักรวาล หรือแม้กระทั่งจะกำหนดให้ย่อย่นลงเหลือแต่เป็นความสว่างแค่ปลายเข็มก็ได้

    กำลังของจิตที่ก่อตัวพัฒนาไปในการปฏิบัติอาโลกกสิณนั้นจะเป็นพลังที่ไร้สภาพ ยิ่งกว่ากำลังของจิตที่ก่อตัวขึ้นจากกสิณวิธีอื่น ๆ คือแม้จะไร้สภาพและบางเบายิ่งนัก แต่กลับมีความหนักหน่วงและมีอานุภาพยิ่งนักด้วย

    อาโลกกสิณมีอานิสงส์ 8 ประการอย่างเดียวกันกับโอทาตกสิณ นี่เป็นอานิสงส์เฉพาะที่มีพรรณนามาในคัมภีร์วิมุตติมรรค แต่สำหรับคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นพรรณนาว่าเป็นอย่างเดียวกันกับนีลกสิณ

    ในที่นี้พึงตั้งข้อสังเกตในการรับรู้สัมผัสกับอานิสงส์เฉพาะของอาโลกกสิณว่า การฝึกฝนอบรมปฏิบัติจริงและประสบการณ์ของผู้ที่ฝึกฝนอบรมปฏิบัติอาโลกกสิณแล้ว อานิสงส์เฉพาะจะปรากฏหรือกระทำได้อย่างเดียวกันกับโอทาตกสิณ

    อานิสงส์ของอาโลกกสิณในการกระทำอิทธิ ฤทธิ์ และวิชชา เป็นไปในทางบุญฤทธิ์ ให้ผลมาก และมีอานิสงส์มาก จึงพึงตั้งเป็นข้อสังเกตพิเศษว่าไม่เพียงแต่จะมีอานิสงส์เฉพาะในส่วนที่ทำให้กำลังอำนาจของจิตเพิ่มพูนขึ้นเท่านั้น ยังจะส่งเสริมแรงหนุนของปัญญาให้ก่อตัวเร็ว และเพิ่มพูนมากขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วย

    เพราะเป็นกสิณวิธีที่เกี่ยวกับแสง เกี่ยวกับความสว่าง ซึ่งมีปริมณฑลมาก มีปริมณฑลกว้าง และมีผลต่อความรู้สึกของคน สัตว์ และพืช จึงสามารถยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นจากอานิสงส์เฉพาะสุดที่จะประมาณได้

    ทั้งมีความแคล่วคล่องว่องไว มีความรวดเร็วสุดจะคณานับ อันเป็นผลอานิสงส์เฉพาะ เพราะเกี่ยวเนื่องกับแสงหรือความสว่าง

    ในพระสูตรแสดงไว้ว่าเมื่อครั้งที่พระโมกคัลลานะไปโปรดเมืองนรกนั้นก็ได้อาศัยอานิสงส์อาโลกกสิณในการเปิดยมโลกและทำให้พระโมกคัลลานะรู้เห็นความเป็นไปในยมโลกได้กระจ่างแจ้ง

    พระอรรถคถาจารย์ทั้งหลายจึงได้สรรเสริญอาโลกกสิณว่ามีอานิสงส์ใหญ่หลวงที่สุด ในการส่งเสริมทิพยจักษุและบรรดาพระสาวกที่เป็นเลิศทางทิพยจักษุนั้นล้วนชำนาญหรือมีอัชฌาสัยในการเจริญอาโลกกสิณทั้งสิ้น

    อนึ่ง อาโลกกสิณนี้เป็นกสิณวิธีที่ยังมีความสับสนในทางปริยัติมากมาย ดังที่ได้แสดงมาข้างต้นนั้นส่วนหนึ่งแล้ว นอกจากนั้นยังมีความสับสนถึงขนาดที่บางสำนักหรือครูบาอาจารย์บางท่านวินิจฉัยว่าอาโลกกสิณก็คือวิญญาณกสิณ เพราะเป็นกสิณที่ไม่มีรูปหรืออรูปกสิณ ดังเช่นที่ปรากฏในหนังสือทิพยอำนาจของท่านเจ้าคุณเส็งหรือพระอริยคุณาธารเป็นต้น

    ขออย่าได้ให้ความสนใจกับความแตกต่างทางสมมติหรือถ้อยคำในทางปริยัตินั้นเลย จะเกิดความสับสนวุ่นวายไปเปล่า ๆ เอาไว้เมื่อถึงขั้นตอนที่ปฏิบัติไปถึงขั้นนั้นแล้ว ก็จะรู้เห็นได้ด้วยตนเองไม่ยาก ไม่ลำบาก ดังนั้นในชั้นนี้เอาแต่เพียงว่าการฝึกฝนปฏิบัติกสิณวิธีแบบอาโลกกสิณนั้นก็คือการใช้แสงสว่างเป็นตัวกำหนดอารมณ์ในการเพ่งกสิณก็เป็นพอ

    ในส่วนของอากาสกสิณและวิญญาณกสิณซึ่งรวมกันอยู่ในกสิณวิธีเรื่องปริจฉินนากาสกสิณซึ่งเนื่องกันอยู่กับเรื่องนี้ จักได้พรรณนาในตอนต่อไป
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (41) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">31 มีนาคม 2548 17:48 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ลำดับแต่นี้ไปจักได้พรรณนากสิณวิธีที่สิบคือปริจฉินนากาสกสิณ ซึ่งโบราณาจารย์ล้วนยอมรับตรงกันว่าจัดเป็นกสิณที่ไม่มีรูป โดยแยกย่อยออกเป็นอีกสองวิธี คืออากาสกสิณวิธีหนึ่ง และวิญญาณกสิณวิธีอีกหนึ่ง และเพราะเหตุที่เป็นกสิณวิธีที่ไม่มีรูปในการใช้กำหนดเพ่งกสิณ ทั้งเป็นอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุ จึงเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อนยิ่งกว่ากสิณวิธีที่ได้แสดงมาข้างต้นนั้น

    แต่ก็นับว่าเป็นกสิณวิธีที่ต้องด้วยอัชฌาสัยของเวไนยสัตว์บางหมู่บางเหล่า ที่มีจิตใจละเอียดอ่อนประณีต นิยมชมชอบความเวิ้งว้างว่างเปล่า ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอกร่างกายก็ตาม ดังนั้นการบัญญัติกสิณวิธีปริจฉินนากาสกสิณจึงทำให้กสิณวิธีครบถ้วนสมบูรณ์ สมแล้วกับความเป็นโลกวิทูและความเป็นยอดครูผู้อบรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลายของพระบรมศาสดาของเรา

    อาโลกกสิณเป็นกสิณที่ถือเอาแสงในการเพ่งหรือกำหนดเป็นอารมณ์ จะว่าไม่มีรูปทีเดียวก็ไม่ใช่เพราะอย่างน้อยที่สุดแสงนั้นก็เห็นได้ด้วยตา เพียงแต่จับต้องไม่ได้เท่านั้น หากจะเทียบกับอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุแล้ว แสงสว่างก็ยังมีความหยาบมากกว่า

    แต่อากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุนั้นไร้รูป รส กลิ่น เสียง ไม่อาจสัมผัสได้ด้วยอายตนะใด ๆ นอกจากจิต แต่จิตที่จะกำหนดอากาศหรือวิญญาณเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณจะต้องเป็นจิตที่มีอัชฌาสัยคุ้นเคยกับเรื่องอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุมาก่อน มีความคุ้นเคยหรือชมชอบความเวิ้งว้างว่างเปล่าสงบนิ่งมาก่อน มิฉะนั้นก็จะไม่สามารถกำหนดหรือสัมผัสอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุได้เลย

    ในเบื้องต้นจะขอทำความเข้าใจเรื่องอากาศและวิญญาณในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกสิณวิธีเสียก่อน

    ดังได้กล่าวไว้ในวาโยกสิณแล้วว่า ลมที่อยู่นิ่ง ๆ นั้นก็คืออากาศ หากเคลื่อนตัวไปก็เรียกว่าลม หากเคลื่อนด้วยความแรงและเร็วก็จะเรียกว่าพายุ หากสูดหายใจเข้าไปในร่างกายก็เรียกว่าปราณ นี่เป็นอาการของลม แต่ก็ยังมีลมในธรรมชาติอยู่อีกอย่างหนึ่งคือลมใต้พิภพซึ่งเรียกว่าแผ่นลม และแผ่นลมนี้รองรับพิภพอยู่คือพิภพอันประกอบด้วยพื้นผิวดินเป็นผิวเปลือกนั้นรองรับด้วยแผ่นน้ำ น้ำรองรับด้วยแผ่นลม ลมรองรับด้วยไฟ ซึ่งอยู่ในศูนย์กลางของพิภพ

    บรรดานักวิทยาศาสตร์ขี้สงสัยต่างได้พิสูจน์กันมานานแล้ว ถึงกระนั้นในวันนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็บอกได้แต่เพียงว่าใต้ดินมีน้ำ ใต้น้ำมีลม ใต้ลมมีไฟ ซึ่งสอดคล้องกับความรู้ในพระพุทธศาสนาที่พระบรมศาสดาทรงค้นพบ

    อากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณก็คือลมที่อยู่นิ่งๆ และอากาศที่อยู่นิ่ง ๆ นี้บ้างก็เรียกว่าอากาศธาตุ บ้างก็เรียกว่าวิญญาณธาตุ แม้ในคัมภีร์อสีติธาตุหรือคัมภีร์ทักษาก็กำหนดให้ปูมกลางของทักษาเป็นปูมอากาศธาตุหรือวิญญาณธาตุ ซึ่งล้วนแต่เป็นความเชื่อที่สืบเนื่องกันมาจากความรู้ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

    อากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณคืออากาศที่อยู่ภายนอกร่างกาย และหมายความรวมถึงความว่างและช่องว่างต่างๆ ด้วย ทั้งอาจหมายความรวมถึงอากาศหรือช่องว่างอันมีอยู่ภายในร่างกายนี้ด้วย เพราะเหตุที่การปฏิบัติอากาศกสิณนั้นไม่สามารถใช้ตาเป็นอายตนะเพ่งเอาได้ หากต้องใช้จิตอย่างเดียว ดังนั้นจะเป็นอากาศหรือความว่างไม่ว่าภายนอกหรือภายในก็ตาม จึงสามารถกำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งอากาศกสิณได้ทั้งสิ้น

    ส่วนวิญญาณในความหมายของวิญญาณกสิณนั้นไม่ได้หมายถึงวิญญาณที่เชื่อกันว่าเป็นภูตผีปีศาจ และไม่ได้ถึงอากาศที่อยู่ภายในร่างกายหรือความว่างที่อยู่ภายในร่างกาย ซึ่งจัดเป็นจำพวกอากาศกสิณ

    วิญญาณในความหมายของวิญญาณกสิณนั้นหมายถึงวิญญาณในขันธ์ห้า คือวิญญาณขันธ์ ซึ่งเป็นตัวทำหน้าที่รับรู้บัญชาการอันเป็นหน้าที่ประการสำคัญประการหนึ่งของจิตดังที่ได้แสดงมาโดยลำดับแล้ว

    ตาเห็นรูปก็เพราะมีจักษุวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวเห็น หูได้ยินเสียงก็เพราะมีโสตวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้ยิน จมูกได้กลิ่นก็เพราะมีฆานะวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้กลิ่น ลิ้นได้รับรสก็เพราะมีชิวหาวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวได้รับรส ร่างกายได้รู้ความร้อนหนาว ก็เพราะมีกายวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวรู้สึกร้อนหนาว จิตรู้สุขรู้ทุกข์และอื่น ๆ ก็เพราะมีมโนวิญญาณเป็นตัวรับรู้ เป็นตัวรู้สึก

    วิญญาณซึ่งเป็นหนึ่งในขันธ์ห้าและทำหน้าที่อยู่กับอายตนะภายในทั้งหก หรือประตูทั้งหกที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ นี่แหละที่จะใช้กำหนดเป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณของวิญญาณกสิณ

    ดังนั้นจึงสามารถทำความเข้าใจโดยสรุปได้ว่าอากาศที่ใช้ในการปฏิบัติอากาศกสิณก็คืออากาศหรือช่องว่างทั้งที่อยู่ภายนอกและภายในร่างกาย ส่วนวิญญาณที่ใช้ในการปฏิบัติวิญญาณกสิณก็คือวิญญาณที่เป็นหนึ่งในขันธ์ห้าและทำหน้าที่กำกับประตูแห่งการรับรู้ภายในทั้งหกอย่าง จะเลือกเอาอย่างไหนหรือจะปฏิบัติไปแต่ละอย่าง ๆ ก็ได้ทั้งนั้น

    ดังได้พรรณนามาก็พอเป็นทางให้ได้รู้ได้เข้าใจว่า “สิ่ง” ที่ใช้ในการกำหนดอารมณ์ของการปฏิบัติอากาศกสิณและวิญญาณกสิณนั้นเป็นอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร ทั้งจะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีความแตกต่างกับความสว่างหรือแสงที่ใช้ในการปฏิบัติอาโลกกสิณอย่างไร ดังนี้แล้วก็จะหมดปัญหาโต้เถียงกันในทางปริยัติอีกต่อไป

    จะขอเริ่มด้วยการปฏิบัติอากาศกสิณก่อน สำหรับผู้ปฏิบัติใหม่จะต้องจัดเตรียมวงกสิณภายนอกก่อน โดยการทำวงแล้วตั้งไว้กลางแจ้ง พิจารณาเพ่งถึงความว่างหรือช่องว่างหรืออากาศที่อยู่ในวงกสิณนั้น จะกำหนดเอาตรงที่เป็นช่องว่างก็ได้ หรือจะกำหนดเอาที่เป็นอากาศก็ได้ หรือจะปฏิบัติทั้งสองอย่างต่างวาระกันก็ได้ ที่สำคัญคือการสร้างมโนภาพให้ปรากฏวงกสิณที่เป็นช่องว่างหรือเป็นอากาศในวงกสิณนั้นให้ชัดเจนแล้วกระทำอุคหนิมิตต่อไป โดยวิธีการดังได้พรรณนามาแล้ว

    และเมื่อมีความชำนาญแล้วก็สามารถกำหนดช่องว่างหรืออากาศทั้งภายนอกและภายในร่างกายในการเพ่งกสิณได้ดังปรารถนา และเมื่อชำนาญมากขึ้นกว่านั้นก็สามารถกำหนดวงกสิณที่เป็นช่องว่างหรือเป็นอากาศได้ในทุกที่ ทุกกาล ตามความปรารถนา

    ในส่วนของการปฏิบัติวิญญาณกสิณนั้นออกจะยากสักหน่อยหนึ่ง เพราะไม่อาจทำเป็นวงกสิณใด ๆ ได้เลย จะต้องใช้จิตกำหนดรับรู้เอาที่ตัววิญญาณโดยตรง คือเลือกเอาประตูภายในอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน ไม่ว่าที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ

    แล้วนั่งเพ่งพิจารณาถึงการที่ได้เห็นรูป การได้ยินเสียง การได้กลิ่น การได้รส การรู้สัมผัสและการรู้ทุกข์สุขว่าเกิดขึ้นตรงไหน ตรงนั้นแหละกำหนดเป็นวงกสิณขึ้นภายใน

    ดังนั้นการปฏิบัติวิญญาณกสิณจึงต้องใช้จิตกำหนดวงกสิณขึ้นในจิตเอง!

    ตอนเริ่มต้นออกจะยากลำบากมากและละเอียดประณีตมาก แต่ความสงบสงัดและความเพียรไม่ย่อหย่อนจะเป็นบาทฐานของการที่จะกำหนดวงกสิณได้ เพราะในที่สุดก็จะรู้ได้ด้วยตนเองว่าการที่ตาเห็นรูปนั้นเกิดขึ้นตรงจุดที่แสงกระทบวัตถุสะท้อนเข้าสู่ตาเห็นเป็นภาพ และจะรู้ต่อไปว่าการเห็นภาพที่แท้จริงไม่ได้เห็นตรงนัยน์ตา แต่ยังมีอวัยวะอีกอย่างหนึ่งที่เป็นตัวรับรู้การเห็น ตัวนั้นนั่นแหละคือจักษุวิญญาณ

    เมื่อรู้และเข้าใจเช่นนี้แล้วก็จะเป็นทางแห่งการรู้และเข้าใจในส่วนของหู จมูก ลิ้น กาย และใจด้วย เพราะทั้งหมดนั้นก็ล้วนมีตัวรับรู้คือวิญญาณด้วยกันทั้งสิ้น เป็นแต่วิญญาณที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นได้ชื่อสมมติที่แตกต่างกันตามอายตนะหรือประตูที่ทำหน้าที่อยู่เท่านั้น

    เมื่อจิตสามารถกำหนดวงกสิณที่วิญญาณอันทำหน้าที่ประจำอยู่กับอายตนะแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการเพ่งวงกสิณนั้น ความยุ่งยากจะมีอยู่ในตอนต้น เพราะวงกสิณจะเลือนหายหรือสูญสลายไปหรือขาดตอนไปเป็นเนืองนิตย์ นั่นเพราะความไม่คุ้นเคยและเพราะความใหม่ขาดความชำนาญนั่นเอง

    เมื่อฝึกฝนปฏิบัติด้วยความเพียรพยายามโดยกรรมวิธีทั้งหลายดังได้พรรณนามาในการปฏิบัติกสิณวิธีแล้ว ในที่สุดวงกสิณของวิญญาณกสิณก็จะปรากฏแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้นในมโนภาพ จากนั้นก็กระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตต่อไป

    การทำอุคหนิมิตของวิญญาณกสิณนั้น มโนภาพที่ปรากฏขึ้นจะไม่มีรูป ไม่มีร่าง ไม่มีสี แสง กลิ่น เสียง และความร้อนหนาวใด ๆ แต่เป็นความว่างแท้ ๆ เป็นความนิ่งแท้ ๆ ที่สัมผัสได้ด้วยความประณีตแห่งจิตเท่านั้น เป็นแต่ระดับของการรับรู้สัมผัสนั้นจะมีความมั่นคงแนบแน่นอุปมาเหมือนกับอยู่ในสุญญากาศฉะนั้น

    ความประณีต ความละเอียดอ่อน ความชัดเจน ของวิญญาณกสิณจะเกิดขึ้นเป็นลำดับ และทำให้นามกายก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีสมรรถนะสูงกว่าบรรดากสิณวิธีอื่น

    เนื้อแท้ก็เพราะว่าการเพ่งวิญญาณกสิณนั้นก็คือการทำหน้าที่ของนามกายและการทำให้นามกายก่อตัวขึ้น มีสมรรถนะสูงขึ้นโดยตรงนั่นเอง

    หากจะไล่ย้อนกลับไป การก่อตัวของนามกายในกสิณวิธีลำดับต้น ๆ จะค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นหลังจากการปฏิบัติแล้ว แต่ในการปฏิบัติกสิณวิธีนี้เพียงแค่เริ่มต้นปฏิบัติเท่านั้น นามกายก็ปรากฏแล้วและได้เริ่มทำหน้าที่แล้ว ความแตกต่างใหญ่อยู่ตรงนี้และเป็นเรื่องที่ต้องตั้งความสังเกตให้ยิ่งกว่าในเรื่องอื่น ๆ

    เพราะเมื่อกล่าวถึงที่สุดแล้ว วิญญาณกสิณนั้นเป็นกสิณวิธีที่ต้องอาศัยนามกายในการเพ่งนั่นเอง นี่คือความมหัศจรรย์ลับลี้ของกสิณวิธีชนิดนี้

    แต่ที่สุดแล้วเป้าหมายเบื้องต้นของอากาศกสิณและวิญญาณกสิณก็คือการกระทำอุคหนิมิต และมีเป้าหมายขั้นที่สองก็คือการกระทำปฏิภาคนิมิตเช่นเดียวกับกสิณวิธีอื่น ๆ นั่นเอง และเมื่อเกิดปฏิภาคนิมิตแล้ว นามกายก็มีความแข็งแกร่ง มีสมรรถนะสูงขึ้น องค์ของปฐมฌานก็ก่อตัวขึ้น

    ปริจฉินนากาสกสิณซึ่งรวมอากาศกสิณและวิญญาณกสิณนี้มีอานิสงส์เฉพาะ คือความเป็นใหญ่เหนืออากาศ เหนือความว่าง และความรับรู้สัมผัสทั้งมวล ทำให้เป็นเลิศในการเหาะเหินเดินอากาศด้วยนามกาย การข่มหรือการแปรสภาพความรู้สึกทั้งมวลในขณะที่อานิสงส์ทั่วไปก็มีเช่นเดียวกันกับกสิณวิธีอื่นๆ

    จึงเป็นอันว่าได้พรรณนากสิณวิธีมาครบถ้วนทั้งสิบวิธีแล้ว ลำดับแต่นี้ไปจักได้พรรณนาอสุภกัมมัฏฐานต่อไป
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (42) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">7 เมษายน 2548 16:11 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เมื่อได้พรรณนากัมมัฏฐานวิธีแบบกสิณ 10 วิธีมาโดยลำดับแล้ว ถัดจากนี้ไปจักได้พรรณนากัมมัฏฐานวิธีแบบอสุภสัญญา 10 วิธี แต่เนื่องจากอสุภสัญญา 10 วิธีนั้นมีลักษณะทั่วไปและวิธีการทั่วไปที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น จักได้พรรณนารวมกันไปทั้ง 10 วิธี ยกเว้นแต่สิ่งที่เป็นความเฉพาะของแต่ละวิธี จักได้พรรณนาในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีนั้น ๆ เป็นการเฉพาะ

    กัมมัฏฐานวิธีแบบอสุภสัญญาทั้ง 10 วิธีนั้นการเริ่มต้นคือการเตรียมตัว เตรียมกาย เตรียมใจ ก็เป็นแบบปฏิบัติอย่างเดียวกันกับการฝึกฝนแบบกสิณวิธี และมีเป้าหมายเบื้องต้นอยู่ที่การกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเช่นเดียวกันกับแบบกสิณวิธี ดังนั้น ทั้งสองส่วนนี้จะไม่พรรณนาในรายละเอียดอีก ขอท่านผู้สนใจในการปฏิบัติได้โปรดย้อนไปศึกษาหรือทบทวนที่ได้พรรณนามาในกสิณวิธีนั้นเถิด

    กสิณวิธีเป็นแบบวิธีที่ทรงบัญญัติสำหรับเวไนยสัตว์ที่มีความรักชอบพอหรือคุ้นเคยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แล้วใช้สิ่งนั้นเป็นสื่อในการฝึกฝนปฏิบัติ เพราะเหตุที่ชอบพอคุ้นเคยมาแต่ก่อน จึงส่งผลให้การฝึกฝนก้าวหน้าไปได้โดยง่าย เพราะเป็นธรรมดาของคนเราคุ้นเคยชอบพอสิ่งไหนก็จะเข้าใจและจะกระทำในสิ่งนั้นได้ง่าย

    แต่กัมมัฏฐานวิธีแบบอสุภสัญญานั้นออกจะตรงกันข้ามเพราะเป็นแบบวิธีที่ทรงบัญญัติขึ้นให้เหมาะกับเวไนยสัตว์ ที่มีความติดยึดแน่นหนาล้นเกินอยู่กับจิต ทั้งในเรื่องโลภะ หรือราคะ โทสะ และโมหะ ซึ่งผู้ที่มีความติดยึดแน่นหนามากเกินปกติย่อมยากที่จะฝึกฝนอบรมปฏิบัติโดยวิธีปกติได้ จะต้องมีการลิดรอนหรือข่มสิ่งที่แน่นหนามากเกินนั้นให้อยู่ในระดับที่เป็นปกติเสียก่อน จึงจะทำให้การฝึกฝนอบรมปฏิบัติดำเนินไปได้

    การฝึกฝนปฏิบัติแบบอสุภสัญญาคือการกำหนดหมายทรงจำเกี่ยวกับซากศพซึ่งเป็นเรื่องน่าเกลียด น่ากลัว ยุ่งยาก อันตราย และน่าขนพองสยองเกล้า ซึ่งคนปกติทั่วไปไม่มีอัชฌาสัยชอบเช่นนั้น แต่ความน่าเกลียด น่ากลัว อันตราย และน่าขนพองสยองเกล้านั้นกลับมีคุณลักษณะพิเศษประการหนึ่งคือการข่มหรือทำลายหรือผ่อนคลายความติดยึดแน่นหนาในราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ที่ได้ผลมาก ทำให้เกิดการเบื่อหน่ายในความติดยึดเหล่านั้น ทำให้เกิดความจางคลายในความติดยึดเหล่านั้นได้ดี

    เพราะสัตว์ทั้งหลายนั้นเมื่อเกิดมาแล้วย่อมรักชีวิต ย่อมกลัวเจ็บ กลัวแก่ และกลัวตาย ซากศพคือหลักฐานของความตายที่แม้ปรากฏกับผู้อื่น แต่เมื่อผู้ใดประสบพบเห็นแล้วก็ย่อมมีปกติรู้สึกสังเวชหรือหวาดกลัว และย่อมตระหนักแก่ใจตัวได้ไม่มากก็น้อยว่าแม้ตัวเราเองก็ย่อมมีความตายเป็นที่สุดเหมือนกัน และเมื่อต้องตายก็จะทำให้สำนึกหรือรำลึกได้ว่าจะติดยึดหวงแหนในสิ่งใด ๆ ไปทำไม อย่างน้อยที่สุดแม้ไม่อาจสำนึกหรือรำลึกได้อย่างเต็มเปี่ยม ก็ย่อมมีสำนึกหรือความรำลึกแบบแวบวาบปรากฏขึ้น เพียงเท่านั้นก็มีอานิสงส์ต่อการปล่อยปละละวาง และถอนคลายออกมาจากความติดยึดที่แน่นหนานั้นได้ไม่มากก็น้อย

    เพราะเวไนยสัตว์ที่มีความติดยึดแน่นหนาเช่นนั้นมีอยู่ และควรที่จะได้มีโอกาสลิ้มรสพระธรรมอันสงบเย็น ดังนั้น พระบรมศาสดาซึ่งเปี่ยมด้วยพระปัญญาคุณ พระเมตตาคุณ และพระกรุณาธิคุณ จึงได้ทรงบัญญัติวิธีอสุภสัญญาเพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับเวไนยสัตว์จำพวกนี้

    กสิณวิธีเป็นเรื่องของการเพ่ง แต่อสุภสัญญาเป็นเรื่องของการกำหนดหมายและการทรงจำจนติดตาติดใจ ก่อมโนภาพขึ้นกับจิตเพื่อกระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ดังนั้น การกำหนดหมายและการทรงจำซึ่งเกี่ยวข้องกับสัญญาขันธ์ เกี่ยวข้องกับจิตจึงมีบทบาทต่อการทำหน้าที่และต่อการฝึกฝนปฏิบัติในกัมมัฏฐานวิธีชนิดนี้

    เพราะเหตุที่สัญญาขันธ์มีบทบาท มีผล และเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับกัมมัฏฐานวิธีนี้ จึงได้ชื่อว่าอสุภสัญญา ซึ่งแปลเพื่อความเข้าใจง่ายๆ ได้ว่าความทรงจำได้ หรือการกำหนดหมายในซากศพนั่นเอง

    ความจริงพระบรมศาสดาได้ตรัสเกี่ยวกับซากศพไว้ หรือตรัสเกี่ยวกับอสุภสัญญาไว้ในหลายที่ หลายกาล ในบางที่ บางกาล ก็ทรงตรัสว่าอสุภสัญญามี 5 วิธีบ้าง มี 9 วิธีบ้าง มี 10 วิธีบ้าง ดังนั้นพระอรรถกถาจารย์ทุกฝ่ายเมื่อจะรจนาคัมภีร์เกี่ยวกับกัมมัฏฐานวิธีนี้จึงได้กำหนดตรงกันเป็นอสุภสัญญา 10 วิธี ซึ่งครอบคลุมที่พระบรมศาสดาทรงตรัสแบบ 5 วิธีหรือแบบ 9 วิธี จึงเป็นอันว่าการสรุปกัมมัฏฐานวิธีแบบอสุภสัญญา 10 วิธี ของบรรดาพระอรรถกถาจารย์ทั้งปวงและในคัมภีร์ทั้งปวงนั้นได้ครอบคลุมครบถ้วนตามที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอนไว้

    แต่ความจริงลักษณะของอสุภสัญญาย่อมมีมากกว่า 10 วิธี เช่นเดียวกับกสิณประเภทสี ที่แม้จะทรงตรัสสอนเพียง 4 วิธี ก็เพียงเพื่อเป็นต้นแบบหรือแบบอย่างของกสิณวิธีจำพวกสีเท่านั้น เพราะสีทั้งหลายมีมากมาย หาประมาณมิได้ ดังตัวอย่างที่ปรากฏในยุคปัจจุบันคือสีในโทรศัพท์มือถือที่พากันโฆษณาว่ามีถึง 65,000 สี เป็นต้น

    แต่ทว่าเมื่อรู้และเข้าใจในต้นแบบกสิณวิธีจำพวกสีทั้ง 4 วิธีแล้วก็จะเป็นต้นแบบหรือเป็นทางแห่งความรู้ ความเข้าใจและการปฏิบัติในกสิณวิธีจำพวกสี โดยใช้สีอะไรก็ได้ แม้กระทั่ง 65,000 สี ดังที่มีสมมติอยู่ในปัจจุบันก็ตาม

    อสุภสัญญา 10 วิธีก็เช่นเดียวกัน ทรงบัญญัติเป็นแม่แบบ เป็นต้นแบบของการฝึกฝนปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญาเท่านั้น เพราะซากศพย่อมมีลักษณะมากหลาย และอาจจำแนกแยกย่อยลงไปอีกมากมาย แต่เมื่อรู้เข้าใจและฝึกฝนปฏิบัติในแม่บท 10 วิธีนี้แล้วก็ย่อมเป็นทางแห่งความรู้ ความเข้าใจและเป็นแบบแผนในการฝึกฝนปฏิบัติเกี่ยวกับอสุภสัญญาลักษณะใด ๆ หรือชนิดใด ๆ ก็ได้

    ดังนั้น ควรที่จะได้ทำความรู้ ทำความเข้าใจ ในฐานะความเป็นต้นแบบหรือแม่แบบของอสุภสัญญา 10 วิธี ในลักษณะเช่นนี้ ดังนี้แล้วก็จะประจักษ์ได้ชัดถึงความเป็นโลกวิทู ความเป็นบรมครูผู้สอนเวไนยสัตว์ที่เลิศในโลกของพระบรมศาสดา อันเป็นการเพิ่มพูนศรัทธาประสาทะและเป็นกำลังให้กับจิตในการฝึกฝนปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

    ก็ต้องขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าการฝึกฝนปฏิบัติแบบอสุภสัญญานั้นเป็นแบบพิเศษ เป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้ที่มีความติดยึดแน่นหนาในเรื่องราคะ ความกำหนัด ความโลภ ความโกรธ ความหลงมากผิดปกติ หรือเกินกว่าปกติ ไม่ใช่แบบวิธีที่เหมาะสมกับคนทั่วไปหรือผู้มีภาวะแห่งจิตทั่ว ๆ ไป ดังนั้นจะเลือกวิธีใดจึงควรจะได้ตระหนักรู้และทำความเข้าใจว่าแบบวิธีนั้น ๆ สอดคล้องหรือเหมาะสมกับอัชฌาสัยของตน หรือภาวะที่เป็นไปกับจิตของตนหรือไม่เสียก่อน

    เมื่อเลือกได้เหมาะสมแล้วก็จะเป็นการตั้งต้นการฝึกฝนอบรมที่ได้ผลดี ได้ผลเร็ว และได้ผลมาก ในทางตรงกันข้ามหากเลือกแบบวิธีที่ไม่สอดคล้องกับอัชฌาสัยหรือไม่เหมาะสมกับภาวะจิตใจของตนแล้ว ก็จะทำให้ไม่ก้าวหน้าในการฝึกฝนปฏิบัติ

    ตัวอย่างมีมาแต่ครั้งโพธิกาลแล้ว ดังกรณีของพระจุลปัณฐกซึ่งมีความมุ่งมานะเด็ดเดี่ยวเข้มข้นในการแสวงหาความหลุดพ้น หรือเพื่อถึงซึ่งพระนิพพาน จะเรียกว่ามีความติดยึดแน่นหนาเพื่อจะไปนิพพานก็ว่าได้ พระจุลปัณฐกหลังจากออกบวชแล้วผู้เป็นอาจารย์ก็ได้สอนกัมมัฏฐานวิธีชนิดหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับผู้ที่มีอัชฌาสัยและภาวะจิตใจปกติ

    แต่การปฏิบัติของพระจุลปัณฐกไม่มีความก้าวหน้า เนื่องจากไม่สอดคล้องกับอัชฌาสัยและภาวะจิตใจของท่าน ประกอบทั้งพระจุลปัณฐกเป็นคนโง่มากกว่าปกติ เรียนก็ไม่ได้ สอนอะไรก็จำไม่ได้ ผู้เป็นอาจารย์บอกกล่าวสั่งสอนสิ่งใดก็ลืมไปจนหมดสิ้น ในขณะที่ความติดยึดแน่นหนาในพระนิพพานเด็ดเดี่ยวยิ่งนัก

    พระจุลปัณฐกบวชอยู่พักหนึ่งก็ไม่มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติ จนเกิดความท้อแท้ถดถอย แล้วเห็นว่าขืนบวชต่อไป ฝึกฝนปฏิบัติต่อไปก็จะไม่มีมรรคผลอะไรเกิดขึ้น เมื่อเกิดความรู้สึกเช่นนี้จึงคิดจะลาสิกขาบท

    แล้วพระจุลปัณฐกก็เข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลลาอุปสมบท พระบรมศาสดาทรงเล็งด้วยพระญาณอันประเสริฐ หยั่งรู้วาระจิตและภูมิธรรมตลอดจนกรรมของพระจุลปัณฐกกระจ่างแล้ว จึงรับสั่งถามว่าจะลาสิกขาบทไปทำไม พระจุลปัณฐกก็กราบทูลถึงความท้อแท้ถดถอยในจิตใจที่การปฏิบัติไม่มีความรุดหน้าให้ทรงทราบ

    พระบรมศาสดาทรงมีพระญาณชนิดหนึ่งที่หยั่งรู้วาระจิต หยั่งรู้อัชฌาสัยของจิตของเวไนยสัตว์ได้ และมีพระญาณเล็งเห็นอนาคตของพระจุลปัณฐกที่จะเป็นพระอริยสาวกบรรลุธรรมขั้นสูงเป็นพระอรหันต์ด้วยวิธีใด

    ดังนั้นพระบรมศาสดาจึงประทานผ้าขาวผืนเล็ก ๆ ผืนหนึ่ง แล้วรับสั่งให้พระจุลปัณฐกใช้ผ้าขาวนี้ในการกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน และตรัสสอนให้ภาวนาในขณะซักผ้าขาวนั้นว่า “ระโช โหระนัง ๆๆๆ” ซึ่งแปลว่าผ้านี้สกปรกหนอ ๆๆๆ ตลอดระยะเวลาที่กำหนดอารมณ์ซักผ้าขาวอยู่นั้น

    พระจุลปัณฐกรับผ้าขาวผืนนั้นจากพระบรมศาสดาแล้วกลับไปยังเสนาสนะของท่าน จากนั้นก็ปฏิบัติตามที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอน นำผ้าผืนนั้นมาซักกำหนดอารมณ์กัมมัฏฐานว่าผ้าน้อยผืนนี้สกปรกหนอ ๆๆๆ

    ปรากฏว่าพระจุลปัณฐกยิ่งซักผ้าเท่าใด กำหนดอารมณ์ว่าผ้าน้อยผืนนั้นสกปรกเท่าใด ก็ปรากฏว่าแทนที่ผ้าขาวนั้นจะสะอาดบริสุทธิ์กว่าเดิม กลับสกปรกมากขึ้น และยิ่งสกปรกมากขึ้น

    ในภาวะเช่นนั้นจิตของพระจุลปัณฐกเกิดความตั้งมั่น มีความบริสุทธิ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว เพ่งกำหนดอยู่แต่ว่าผ้าน้อยผืนนี้สกปรก ๆๆๆ แล้วปรากฏความรู้สึกที่สว่างวาบขึ้นว่าความสกปรกเกิดมากขึ้นก็เพราะการปรุงแต่งซักนั่นเอง จิตของพระจุลปัณฐกก็หลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง ขาดจากความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งไร ๆ ถึงซึ่งความเป็นพระอริยบุคคล

    ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าพระบรมศาสดาทรงเล็งรู้ด้วยพระญาณว่าพระจุลปัณฐกมีวาระและภูมิธรรมแห่งจิตเป็นประการใด กัมมัฏฐานวิธีใดที่สอดคล้องกับอัชฌาสัยและภาวะจิตของพระจุลปัณฐกอันจะเป็นสื่อชักนำให้ข้ามพ้นจากโลกียะมิติไปสู่วิมุตตะมิติได้

    เมื่อการเลือกกัมมัฏฐานถูกตรงและเหมาะสมกับภาวะของจิตแล้ว แม้ว่าพระจุลปัณฐกจะโง่เขลาเบาปัญญาสักปานใด แต่เพราะอัชฌาสัยความถูกต้องสอดคล้องกับภาวะและภูมิธรรมของจิตจึงทำให้ความรู้เกิดขึ้น ความสว่างเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น จิตทะลุสู่พลังสูงสุดและฝ่าข้ามโลกียะมิติถึงวิมุตตะมิติได้ ซึ่งว่าไปแล้วก็เห็นได้ว่าหากเลือกกัมมัฏฐานวิธีให้เหมาะสมสอดคล้องถูกตรงแล้ว การบรรลุมรรคผลนิพพานก็ไม่ใช่เรื่องยากลำบากและไม่ใช่เรื่องต้องเสียเวลาหรือรอคอยถึงชาติหน้า แต่สามารถบรรลุได้เพียงชั่วแวบเดียว อันเป็นแบบวิธีที่ฝ่ายวชิรญาณยึดถือเป็นแบบแผนในการฝึกฝนปฏิบัติตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ดังนั้น ผู้ฝึกฝนปฏิบัติจึงพึงเลือกกัมมัฏฐานวิธีที่เหมาะสมสอดคล้องกับอัชฌาสัยและภาวะจิตใจของตน จะได้ไม่เสียเวลา ไม่ยากลำบาก และบังเกิดผลได้เร็วได้มากอีกด้วย
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (43) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">26 เมษายน 2548 19:01 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ครูบาอาจารย์บางท่านเคยลงความเห็นว่าอสุภสัญญานั้นไม่เหมาะกับผู้ที่มีโทสะจริตมาก ซึ่งอาจจะเป็นการลงความเห็นจากการปฏิบัติอย่างหนึ่ง แต่ความจริงจะเป็นประการใดนั้นก็ควรที่จะฝึกฝนปฏิบัติเองก็จะรู้เอง ในที่นี้จึงไม่จำต้องวินิจฉัยในเรื่องนี้

    ถึงกระนั้นก็จะตั้งความสังเกตว่าแม้ทดลองกันโดยผิวเผินก็จะเห็นได้ชัด เพราะคนที่แรงด้วยโทสะจริตเพียงใดก็ตาม เพียงแค่เห็นซากศพอยู่เบื้องหน้าเท่านั้น ความโกรธ ความรู้สึกนึกโกรธ หรือโทสะทั้งหลายก็จะวิ่งหนีหายไปอย่างไร้ร่องรอย แล้วจะเกิดความรู้สึกสังเวชบ้าง ความกลัวบ้างเข้ามาทดแทน และเมื่อตั้งความสังเกตเช่นนี้แล้วก็จะทำให้รู้และเข้าใจในปัญหานี้ได้กระจ่าง ทั้งเมื่อทดลองปฏิบัติจริงก็จะรู้และสัมผัสได้ด้วยตนเอง

    อสุภสัญญาคือกัมมัฏฐานวิธีที่ทรงจำกำหนดหมายเกี่ยวกับซากศพ ที่เรียกว่าทรงจำกำหนดหมายตามภาษาพูดหรือภาษาเขียนนั้น ความเป็นจริงก็คือจิตได้ทำหน้าที่สัญญาขันธ์ในการกำหนดหมายลักษณะต่างๆ และทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับซากศพและสิ่งที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการกำหนดหมายโดยเฉพาะเจาะจงในส่วนใดส่วนหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เนื่องกันนั้นด้วย เมื่อกำหนดหมายแม่นยำแล้วก็ทรงจำไว้กับจิต จิตจึงทำหน้าที่สัญญาขันธ์อย่างสมบูรณ์ในลักษณะเช่นนั้น

    เพราะเหตุที่การกำหนดหมายและการทรงจำทั้งทั่วไปและเฉพาะเกี่ยวกับซากศพหรือสิ่งเกี่ยวข้องหรือที่เนื่องกัน โดยผลก็คือองค์แห่งปฐมฌาน คือวิตกและวิจารได้ก่อตัวและเกิดขึ้นเป็นลำดับไป ดังนั้นกัมมัฏฐานวิธีอสุภสัญญาจึงมีอานิสงส์มากในส่วนของการทำให้ปฐมฌานเกิดขึ้นได้ง่ายและได้เร็ว เพราะเพียงลงมือปฏิบัติเท่านั้นก็เข้าสู่กระบวนการก่อตัวของวิตกและวิจารแล้ว

    วิตกและวิจารณตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไปเป็นคนละอย่างกับวิตกและวิจารซึ่งเป็นองค์แห่งปฐมฌาน ดังนั้นจึงต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้เป็นเบื้องต้นสักครั้งหนึ่งก่อน

    วิตกตามที่เข้าใจกันโดยทั่วไปก็คือความรู้สึกกังวลครุ่นคิด แต่วิตกซึ่งเป็นองค์แห่งปฐมฌานนั้นหมายถึงการทำหน้าที่ของจิตในการรับรู้พิจารณาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างทั่วด้าน ดังเช่นการพิจารณาซากศพตามความเป็นจริงตามสภาพทั่วไปทั้งหมด ดังนี้เรียกว่าวิตก

    ส่วนวิจารณตามความเข้าใจทั่วไปหมายถึงการพรรณนาโดยแยกแยะ หรือการพรรณนาโดยแยกส่วนเป็นส่วนๆ หรือวิพากษ์วิจารณ์ไปเลย แต่วิจารที่เป็นองค์แห่งปฐมฌานนั้นคือการพิจารณาโดยเจาะจงไปที่จุดใดจุดหนึ่ง ส่วนใดส่วนหนึ่ง

    หากอุปมาเป็นผลส้มลูกหนึ่ง วิตกซึ่งเป็นองค์แห่งปฐมฌานก็คือการดูผลส้มทั้งลูก ส่วนวิจารซึ่งเป็นองค์แห่งปฐมฌานก็คือการดูผลส้มในจุดใดจุดหนึ่ง เช่น ที่ผิว หรือที่กลีบ หรือที่เมล็ด เป็นต้น ฉันใดก็ฉันนั้น

    อันปฐมฌานนั้นจะประกอบด้วยองค์ห้าประการ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกคตารมณ์ วิตกเป็นอย่างไร วิจารเป็นอย่างไร ปีติและสุขเป็นอย่างไร ได้พรรณนามาแล้ว คงเหลือแต่เอกคตารมณ์ซึ่งก็คืออารมณ์ที่รวมตัวเป็นหนึ่งเดียว องค์ห้าประการนี้เกิดขึ้นชัดเจนพร้อมเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมได้ชื่อว่าบรรลุถึงปฐมฌาน ซึ่งจักได้พรรณนาโดยละเอียดในกาลข้างหน้า

    ในชั้นนี้เมื่อกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญาเอื้ออำนวยต่อการก่อเกิดวิตกและวิจาร จึงเท่ากับองค์แห่งปฐมฌานได้เกิดขึ้นโดยกัมมัฏฐานวิธีนี้ถึงสององค์แล้ว คงเหลือแต่ปีติและสุข และอารมณ์อันเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะต้องบำเพ็ญให้ปรากฏครบหลังจากบรรลุถึงปฏิภาคนิมิตแล้ว เหตุนี้จึงกล่าวว่ากัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญาเกื้อกูลต่อการบรรลุปฐมฌานได้ง่าย

    นั่นเป็นเรื่องของส่วนที่เรียกว่าสัญญาหรือความหมายของสัญญา ตลอดจนข้อควรรู้ที่เกี่ยวเนื่องกันในกัมมัฏฐานวิธีที่เรียกว่าสัญญา เมื่อรู้และเข้าใจเช่นนั้นแล้วก็สมควรที่จะได้พรรณนาเกี่ยวกับซากศพหรืออสุภต่อไป

    คนเรานับแต่สิ้นลมอัสสาสะ ปัสสาสะ หรือหมดลมหายใจเข้าออกแล้วได้ชื่อว่าตาย ยกเว้นก็แต่ผู้ที่บรรลุธรรมขั้นสูงที่แม้จะปฏิบัติจนสัมผัสลมหายใจเข้าออกไม่ได้แต่ยังมีชีวิตอยู่

    หลังแต่ตายเป็นต้นไป ร่างกายนั้นก็ย่อมได้ชื่อว่าซากศพ เพราะลมปราณที่เป็นสิ่งต่อเชื่อมระหว่างชีวิตกับความตายหมดสิ้นไปแล้ว สภาพของซากศพหลังจากลมหายใจเข้าออกหยุดลง ผิวสีจะค่อยๆเปลี่ยนจากสีแดงหรือสีที่มีเลือดฝาดปรากฏให้เห็นจะค่อยๆ กลายเป็นซีดขาว ไปจนเขียวคล้ำและเน่าเปื่อย

    อุณหภูมิของซากศพนั้นจะค่อยๆ หายความอุ่นลง เป็นความเย็นเข้าแทนที่

    สภาพของซากศพจะค่อยๆ เปลี่ยนจากความนุ่มนวลเป็นความแข็งตัว แล้วพองขึ้น อืดขึ้น น้ำเลือด น้ำหนองหรือสิ่งปฏิกูลในร่างกายจะค่อยๆ ไหลหลั่งออกตามทวารทั้งแปด คือ ทั้งตา หู จมูก ปาก อวัยวะหนัก เบา และในที่สุดก็จะกลายเป็นน้ำหนอง น้ำเหลือง บ้างก็ลิ้นแลบออกมาจากปาก ตาถลน แล้วค่อยเน่าเปื่อย หากปล่อยต่อไปก็จะมีหนอนคราคร่ำผุเปื่อย เหลือกระดูกที่มีเนื้อติดอยู่บ้างแล้วค่อยๆ หมดไป แห้งไป เหลือแต่กระดูกสีขาว จากสีขาวก็จะเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และกลายเป็นสีขาวอีก แล้วก็สลายไปเป็นลำดับ

    ซากศพบางประเภทเมื่อทอดทิ้งไว้ก็จะถูกสัตว์กัดกิน ไม่ว่าจะเป็นสุนัข เสือ มด ปลวก แมลง

    ซากศพบางประเภทจะไม่สมบูรณ์เพราะถูกฉีกขาดอันเป็นเหตุให้ตายอย่างหนึ่ง หรือฉีกขาดหลังจากตายแล้ว แยกออกเป็นส่วนๆ กระจัดกระจาย

    แม้เป็นกระดูกแล้วบ้างก็เป็นโครงกระดูกที่สมบูรณ์ บ้างก็เป็นโครงกระดูกที่ขาดออกเป็นส่วนๆ บ้างก็เป็นโครงกระดูกที่กระจัดกระจาย บ้างก็ผุเปื่อยสลายไป

    เหล่านี้ล้วนอยู่ในความหมายของอสุภหรือซากศพทั้งสิ้น สภาพหรือลักษณะของซากศพทั้งหมดนั้นจึงมีมากมายหลายประการ แต่ละประการ แต่ละลักษณะล้วนสามารถนำมาใช้กำหนดเป็นอารมณ์ในอสุภสัญญาได้ทั้งสิ้น เหตุนี้จึงได้กล่าวแต่ต้นว่าอสุภสัญญานั้นมีมากกว่า 10 ชนิด 10 วิธี แต่ที่ทรงบัญญัติไว้ 10 วิธีก็เพียงเพื่อเป็นต้นแบบหรือแม่แบบเท่านั้น

    ในอังคุตรนิกาย พระบรมศาสดาทรงแสดงอสุภสัญญาไว้ 5 ลักษณะ คือ การกำหนดหมายกระดูกอย่างหนึ่ง กำหนดหมายในหมู่หนอนที่ชอนไชซากศพอย่างหนึ่ง กำหนดหมายสีของซากศพที่เป็นสีเขียวอย่างหนึ่ง กำหนดหมายสภาพศพที่แยกสลายเป็นส่วนๆ ท่อนๆ อย่างหนึ่ง และกำหนดหมายเอาซากศพที่พองขึ้นอืดอีกอย่างหนึ่ง

    ส่วนในมหาสติปัฏฐานนั้นทรงบัญญัติอสุภสัญญาในซากศพ 9 ลักษณะ คือ ลักษณะของศพที่ขึ้นอืด พอง เขียว เน่าเฟะอย่างหนึ่ง ลักษณะศพที่กำลังถูกสัตว์กัดกินอยู่อย่างหนึ่ง ลักษณะของกระดูกที่ยังมีเลือดเนื้อและเอ็นรัดรึงอยู่อย่างหนึ่ง ลักษณะของโครงกระดูกที่ยังสด มีเนื้อและเลือดห่อหุ้มอยู่อย่างหนึ่ง ลักษณะของโครงกระดูกที่เลือดเนื้อหลุดหายไปหมดแล้วอย่างหนึ่ง ลักษณะโครงกระดูกที่กระจัดกระจายอย่างหนึ่ง ลักษณะของกระดูกที่แห้งเป็นสีขาวอย่างหนึ่ง ลักษณะของกระดูกที่เป็นสีเหลืองอย่างหนึ่ง และลักษณะของกระดูกที่ผุยุ่ยเป็นผงละเอียดแล้วอีกอย่างหนึ่ง

    เหล่านั้นล้วนทรงแสดง ทรงบัญญัติโดยสอดคล้องและเหมาะสมกับโอกาส กับภูมิธรรม และวาระจิตของผู้ฟังพระธรรมเทศนา ทรงตรัสสอนโดยสอดคล้องกับอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ในโอกาสและในกาลนั้นๆ ซึ่งเป็นพยานหลักฐานที่ชัดเจนว่าอสุภสัญญานั้นมีมากมายหลายประการวิธี สุดแท้จะหยิบยกที่สอดคล้องกับอัชฌาสัย จิตใจ และวาระแห่งจิตอย่างไรเท่านั้น

    พระอรรถกถาจารย์ที่รจนาคัมภีร์เกี่ยวกับอสุภสัญญาจึงได้ประมวลตั้งไว้เป็นแบบอย่าง 10 วิธี หรือ 10 ลักษณะของซากศพ คือ

    หนึ่ง ซากศพที่พองขึ้นอืดเน่าเหม็น หรือที่เรียกว่าอุทธุมาตกสัญญา

    สอง ซากศพที่พองขึ้นอืดหลังจากตายแล้วไม่เกิน 3 วัน สีของซากศพจะมีสีเขียวดำหรือเขียวคล้ำ หรือที่เรียกว่าวินีลกสัญญา

    สาม ซากศพที่เน่าเฟะน้ำหนองไหล ซึ่งเป็นอาการของซากศพหลังจากตายแล้ว 2-3 วัน หรือที่เรียกว่าวิปุพพกสัญญา
    สี่ ซากศพที่ขาดเป็นท่อนๆ กระจัดกระจาย ไม่ว่าจะถูกตัด ถูกฟัน ถูกกระแทกจนแยกออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าวิจฉิททกสัญญา

    ห้า ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกิน เป็นเศษเป็นส่วน ไม่ว่าจะถูกกา เสือ แร้ง หมู หมา หรือนกใดๆ แม้กระทั่งมดหรือปลวกกัดกิน หรือที่เรียกว่าวิกขายิตกสัญญา

    หก ซากศพที่กระจัดกระจายเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าวิกขิตตกสัญญา

    เจ็ด ซากศพที่มีแผลเหวอะหวะเพราะถูกฟันแทงหรือสับ ไม่ว่าก่อนหรือหลังจากตายแล้ว หรือที่เรียกว่าหตวิกขิตตกสัญญา

    แปด ซากศพที่ยังมีเลือดไหลปรากฏอยู่ ไม่ว่าซากศพนั้นจะแยกหรือไม่แยกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าโลหิตกสัญญา

    เก้า ซากศพที่มีหมู่หนอนชอนไช หรือที่เรียกว่าปุฬุวกสัญญา

    สิบ ซากศพที่เหลือแต่กระดูกลักษณะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปโครงกระดูกที่สมบูรณ์เพราะยังมีเลือดเนื้อและเอ็นเกาะยึดอยู่ หรือว่าเหลือแต่โครงกระดูก หรือแม้แต่กระดูกที่แยกออกเป็นส่วนๆ หรือที่เรียกว่าอัฏฐิกสัญญา

    ในการฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญาทั้งสิบวิธีนั้นจะใช้วิธีการไปหาซากศพในป่าช้าหรือในที่ที่มีซากศพก็ได้ หรือนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของซากศพมายังที่อยู่หรือที่ฝึกฝนอบรม เพื่อใช้ในการฝึกฝนอบรมจิตก็ได้

    แต่ก็มีข้อจำกัดสำหรับซากศพบางชนิดที่หากเวลาล่วงพ้นไปแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เช่น ซากศพที่พองอืด เขียวคล้ำ เมื่อเวลาล่วงไปก็จะมีน้ำหนองไหล หรือเวลาล่วงไปอีกก็จะมีหนอนชอนไช หรือเมื่อเวลาล่วงไปอีกก็จะเน่าเปื่อย และหากเวลาเนิ่นนานออกไปอีกก็จะเหลือโครงกระดูกที่มีเยื่อเอ็นเกาะยึดอยู่ และยิ่งนานไปกว่านั้นก็จะเหลือแต่กระดูกหรือกระดูกกระจัดกระจายออกไป

    ดังนั้นเมื่อมีความจำกัดเช่นนี้จึงเป็นเรื่องที่ผู้ฝึกฝนอบรมจะต้องเร่งความเพียรและทุ่มเทการกำหนดหมายทรงจำให้แม่นยำ โดยใช้เวลาให้สั้นที่สุดหรือน้อยที่สุด แม้หากให้กำหนดหมายทรงจำได้ในการพิจารณากำหนดอารมณ์ในครั้งเดียว ก็จะทำให้ได้นิมิตที่เกิดเป็นมโนภาพในการเพ่งต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องหวนกลับมาพิจารณากำหนดหมายทรงจำซากศพซ้ำอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้ากำหนดหมายทรงจำแต่ครั้งเดียวไม่ได้ก็ต้องเร่งกลับมากำหนดหมายให้ทรงจำได้แม่นยำในเวลาอันสั้นที่สุด ก่อนที่ซากศพแต่ละลักษณะจะแปรเปลี่ยนสภาพไป

    แม้ว่าจะมีข้อจำกัดเช่นนี้อยู่บ้าง แต่ก็มีข้อดีตรงที่มีลักษณะบังคับให้ต้องทรงจำกำหนดหมายด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวด เท่ากับเป็นการเร่งเวลาของการฝึกฝนอบรมให้บรรลุผลเร็วขึ้นนั่นเอง
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (44) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">26 เมษายน 2548 19:01 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เพราะเหตุที่การฝึกฝนปฏิบัติอสุภสัญญาสามารถใช้ลักษณะของซากศพอย่างใด ๆ ก็ได้มาพิจารณากำหนดเป็นอารมณ์ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะเสียเวลาไปในการจดจำทางปริยัติหรือติดขัดด้วยภาษา หากควรจะรู้และเข้าใจว่าซากศพที่นับแต่สิ้นลมแล้วเป็นต้นไปจนแม้กระดูกก็ผุเปื่อยเป็นจุณนั้น ไม่ว่าลักษณะไหน สภาพใด ล้วนสามารถนำมาใช้ในการฝึกปฏิบัติอสุภสัญญาได้ทั้งสิ้น

    การฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญาทั้งสิบวิธีนั้นจะมีลักษณาการรับรู้สัมผัสและภาวะของจิตในระหว่างการฝึกฝนอบรมเป็นห้าประการคือ

    ประการแรก จะเป็นการมองพิจารณาซากศพนั้น ลักษณะนั้น ด้วยความรู้ตามความเป็นจริงว่านั่นเป็นซากศพ ซากศพนั้นมีลักษณะอย่างนั้น และกำหนดหมายลักษณะของซากศพชนิดที่พิจารณาอยู่นั้นอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่ว่าสีของซากศพ เพศของซากศพ ทิศที่ซากศพหันหัวไปหรือชี้ปลายเท้าไป ชี้ปลายมือไป ลักษณะของซากศพที่เป็นอยู่ตามสภาพที่เป็นจริงนั้น ระดับที่ซากศพวางอยู่กับที่ นั่งหรือยืนพิจารณา ลักษณะสภาพแวดล้อมที่ซากศพนั้นตั้งอยู่ว่าเป็นอย่างไร โดยสรุปรวมก็คือการกำหนดหมายและทรงจำสภาพต่างๆ ของซากศพอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อให้เกิดเป็นมโนภาพทรงจำติดตาตรึงใจ เพื่อจะได้นำไปอบรมจิตยกระดับกำหนดเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตต่อไป ลักษณาการเช่นนี้คือการทำหน้าที่สัญญาขันธ์ทรงจำกำหนดหมาย ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระโดยตรงของการฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญา

    ประการที่สอง การฝึกฝนอบรมจิตให้มีสติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวพรั่นพรึงหรือหวาดผวากับสิ่งปฏิกูล สิ่งน่าหวาดกลัว น่าขนพองสยองเกล้า จนกระทั่งเกิดความสงบนิ่ง มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว ในภาวะเช่นนั้นความตั้งมั่นของจิตก็จะยกระดับสูงขึ้น กำลังอำนาจของจิตที่จะต้านทานรับมือกับความหวาดกลัว หวาดผวา หวาดหวั่น และอาการขนพองสยองเกล้าต่าง ๆ ก็จะยกระดับตามไปด้วย ความบริสุทธิ์ของจิตก็จะยกระดับและมีความบริสุทธิ์เพิ่มขึ้นเป็นลำดับไป

    ประการที่สาม การเพ่งจิตไปทรงจำกำหนดหมายในซากศพลักษณะนั้น ๆ ในขณะที่จิตมีความสงบมากขึ้น มีความบริสุทธิ์มากขึ้น มีกำลังมากขึ้นเป็นลำดับไป ทำให้การทรงจำกำหนดหมายแม่นยำครบถ้วนและมั่นคงเป็นลำดับตามไปด้วย

    ประการที่สี่ การพิจารณาจนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย รังเกียจ ในความเป็นปฏิกูลของสภาพซากศพ ในกลิ่นเน่าเหม็นของซากศพ ในความไม่สะอาดของซากศพ

    ประการที่ห้า การที่ปัญญาก่อตัวขึ้นกับจิต เห็นถึงความไม่เที่ยงในซากศพนั้น ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต คือเห็นถึงความไม่เที่ยงตั้งแต่ก่อนที่จะเป็นซากศพว่ามีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เห็นถึงความเป็นปัจจุบันของซากศพที่เป็นอยู่นั้น และเห็นถึงความเสื่อมสลายไปของซากศพนั้นในที่สุด การเห็นในประการนี้เรียกว่าการปฏิบัตินั้นได้มาถึงขั้นอนิจจะสัญญา คือการกำหนดหมายถึงความไม่เที่ยง เห็นถึงความไม่เที่ยงตามความเป็นจริง

    การเห็นถึงความไม่เที่ยงเช่นนั้นจะทำให้เกิดความรู้และเกิดปัญญาว่าแม้ตัวเราเองก็มีความตายเป็นที่สุด มีความไม่เที่ยงเช่นเดียวกับซากศพทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตเหมือนกัน ความรู้และปัญญาที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนี้เรียกว่ามรณะสัญญา มีอานิสงส์ที่จะระงับตัณหา ราคะ และกิเลส ได้โดยลำดับไป ทำให้ข่มหรือทำลายความยึดมั่นถือมั่นได้เป็นลำดับไป ไม่ว่าจะเป็นความยึดมั่น ถือมั่นในรูปหรือในอารมณ์ใด ๆ ก็ตาม

    ทั้งห้าประการนั้นจะกล่าวว่าเป็นลำดับขั้นตอนของการฝึกฝนอบรมก็ได้ จะกล่าวว่าเป็นขั้นตอนของการรับรู้สัมผัสก็ได้ หรือจะกล่าวว่าเป็นขั้นตอนของความสำเร็จหรือความก้าวหน้าแต่ละขั้นก็ได้ แต่ทว่าความสำเร็จแต่ละขั้นนั้นยังคงเป็นขั้นต้นเท่านั้น ยังมีขั้นที่สูงกว่าและละเอียดประณีตกว่าเป็นลำดับไปจนกระทั่งบรรลุถึงมรรคผลนิพพาน

    ทั้งห้าประการนั้นจะเกิดขึ้นกับทุกคนที่ฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญา เป็นแต่ว่าอย่างไหนจะเกิดขึ้นก่อนหรือเกิดขึ้นหลัง อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ยกเว้นก็แต่ประการแรกที่จะต้องเกิดขึ้นก่อน คือการกำหนดสัญญาทรงจำกำหนดหมาย ซึ่งเป็นจุดตั้งต้น

    และเมื่อห้าประการนั้นเกิดขึ้นแล้ว บริบูรณ์แล้ว มโนภาพที่ทรงจำกำหนดหมายไว้กับจิตหรืออสุภสัญญานั้นก็จะกลายเป็นนิมิตที่ทรงจำไว้กับจิต เพื่อใช้ในการอบรมจิต ในการกระทำให้เป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตต่อไป

    เพราะเหตุที่การฝึกฝนปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญานั้นเป็นเรื่องที่มีปกติน่าเกลียดน่ากลัว น่าขนพองสยองเกล้า และมีอันตรายในระหว่างการปฏิบัติ ดังนั้นจึงจำต้องมีวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะ มีการเตรียมตัวเตรียมใจที่มีลักษณะเฉพาะของกัมมัฏฐานวิธีจำพวกนี้

    การเตรียมตัวเตรียมใจและเตรียมการปฏิบัติล้วนเป็นไปเพื่อความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ เพื่อความไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น และเพื่อความก้าวหน้าในธรรม อันเกิดแต่การปฏิบัตินั้น ดังนั้นการเตรียมเหล่านี้จึงเป็นเรื่องที่สมควรจะได้กล่าวไว้พอเป็นสังเขปในแต่ละเรื่องแต่ละส่วนเป็นลำดับไป

    ประการแรก ก็ต้องเตรียมความคิดจิตใจก่อนว่ากัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญานั้นเป็นเรื่องน่าเกลียด น่ากลัว น่าขนพองสยองเกล้า และเป็นอันตรายอยู่บ้าง จึงต้องทำความรู้ ทำความเข้าใจ ว่าสิ่งที่จะต้องเผชิญในการฝึกฝนปฏิบัตินั้นไม่ใช่ของสวย ไม่ใช่ของงาม แต่เป็นของปฏิกูล เป็นของน่าเกลียด น่ากลัว และทำใจให้พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสภาพที่เห็นกับตา กับกลิ่นที่จะได้สัมผัสโดยทางจมูก แม้กระทั่งเสียงประหลาดพิสดารต่าง ๆ ที่อาจได้ยิน แม้อาการขนลุกพองขึ้นมาเฉย ๆ หรืออาการซ่านเสียวในร่างกายที่อาจเกิดขึ้นได้ ทำความรู้ ทำความเข้าใจเสียว่านั่นเป็นสิ่งปกติที่จะพึงเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นมายาอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ของจริงของจังอะไร ไม่ควรยึดถืออะไรในเรื่องเหล่านั้น เพียงแต่รับรู้สัมผัสในฐานะที่มันเป็นอยู่เช่นนั้น โดยไม่ต้องตอบโต้ ผลักไสอะไร หรือหวั่นไหวประการใด ๆ

    ประการที่สอง การทบทวนความมีสติให้มีความมั่นคง ไม่เผอเรอวอกแวก ไม่ว่าจะพบเห็นหรือรับรู้สัมผัสใด ๆ มีความน่าเกลียดน่ากลัวสักปานใดก็ตาม กำหนดรู้ให้ชัดเจนว่ามันเป็นเพียงปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อดำรงสติให้มั่นแล้ว ไม่วอกแวกเผอเรอแล้ว สภาพเช่นนั้นก็จะเป็นไปเช่นนั้น ไม่มีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้น แต่ถ้าหากสติเผอเรอ ล่องลอยคุมไม่อยู่แล้วก็จะเป็นอันตราย จักต้องทบทวนความมีสติเช่นนี้จนมีความมั่นคง ไม่หวั่นไหววอกแวกและมุ่งมั่นด้วยความมีสติในการฝึกปฏิบัติตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัตินั้น

    ประการที่สาม ในการเข้าไปหาซากศพไม่ว่าลักษณะใด ควรหลีกเลี่ยงเข้าไปโดยทวนกระแสลม หรือเข้าไปในทิศทางที่ลมพัดผ่านซากศพมาถึงตัว แต่ให้ไปในทิศทางที่อยู่เหนือลม เพราะจะไม่กระทบรบกวนด้วยกลิ่นของซากศพ ซึ่งถ้าหากกลิ่นแรงกล้าก็อาจเป็นอันตรายต่อสมองและร่างกายได้ แม้มีภูเขา แม่น้ำ หรือก้อนหิน หรือต้นไม้ขวางกั้นก็ต้องพยายามหลีกให้พ้น แต่ถ้าหากหลีกไม่พ้นจริง ๆ แล้วก็ให้เอาผ้าหรือมือปิดจมูกเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกลิ่นให้มากที่สุด เพราะธรรมดาของร่างกายในบางครั้งพอได้กลิ่นเช่นนั้นก็อาจจะแพ้ เช่น เกิดอาการคลื่นเหียนอาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นต้น

    ประการที่สี่ ในการเจริญอสุภสัญญา ซากศพที่ยังมีเนื้ออยู่จะต้องเป็นซากศพที่เป็นเพศเดียวกันกับผู้ฝึกฝนอบรม คือถ้าผู้ฝึกฝนอบรมเป็นผู้ชาย ก็ต้องใช้ซากศพของผู้ชาย ถ้าผู้ฝึกฝนอบรมเป็นผู้หญิง ก็ต้องใช้ซากศพที่เป็นผู้หญิง ในส่วนของชายที่มีจิตใจเป็นหญิง หรือหญิงที่มีจิตใจเป็นชาย หรือผู้ที่เรียกว่าเป็นบัณเฑาะก์หรือคนสองเพศ ซึ่งแม้จะต้องห้ามมิให้บรรพชาหรืออุปสมบท แต่ก็หาได้ตัดสิทธิ์ลิดรอนที่จะได้ลิ้มชิมรสแห่งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้แต่ประการใดไม่ เขาเหล่านั้นสามารถฝึกฝนอบรมบ่มเพาะจิตของตนเพื่อถึงซึ่งความประเสริฐได้ แต่ก่อนจะถึงชั้นนั้นก็พึงใช้ซากศพที่ไม่เป็นปรปักษ์กับจิตใจของตน คือส่งเสริมให้เกิดความกำหนัดหรือราคะขึ้น นั่นคือถ้าจิตใจเป็นหญิงก็พึงพิจารณาซากศพของหญิง หากจิตใจเป็นชายก็พึงพิจารณาซากศพของชาย แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการประมาณจิตใจของตนเองในลักษณะที่ไม่ทำให้การพิจารณาซากศพนั้นทำให้เกิดกำหนัดหรือราคะขึ้นเป็นหลัก

    ประการที่ห้า การไปพิจารณาซากศพในป่าช้าหรือในป่าย่อมเป็นที่เปลี่ยว อาจจะได้รับอันตรายจากสัตว์ร้าย เช่น ตะขาบ งู หรือเสือ เป็นต้น อาจได้รับอันตรายจากคนร้ายหรืออมนุษย์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงต้องบอกกล่าวให้ผู้อื่นได้รับรู้ก่อนว่าจะไปพิจารณาซากศพที่ไหน ทางทิศไหน จะไปเวลาใด และจะกลับประมาณเวลาใด หากสูญหายไปจะได้มีผู้คนไปติดตามหรือช่วยเหลือได้ทันท่วงที ทั้งนี้พึงหลีกเลี่ยงเวลากลางคืนเพราะอันตรายจะเพิ่มมากขึ้น แต่เวลากลางคืนก็ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางในการไปพิจารณาซากศพ แต่ต้องประมาณกำลังสติและความกล้า และประมาณสิ่งที่จะเผชิญหน้าที่น่าหวาดกลัว น่าขนพองสยองเกล้า ว่าหากเผชิญแล้วก็สามารถรวมสติให้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวและรักษาความปลอดภัยให้กับตนเองได้ เพราะเหตุนี้พระโบราณาจารย์จึงกำหนดให้การไปพิจารณาซากศพในป่าช้าหรือในป่าไม่ว่าเวลาใดจะต้องถือไม้หรือไม้เท้าไปด้วย เพราะหากพบสุนัขป่าหรืองูร้ายก็สามารถใช้ป้องกันตัวแต่ไม่ต้องทำให้สัตว์นั้นถึงตายหรือบาดเจ็บได้

    ประการที่หก ก่อนออกเดินทางนอกจากต้องเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมแล้ว ยังต้องตั้งสติให้มั่นก่อน กำหนดทิศที่ตั้งของที่อยู่และที่จะไปให้แม่นยำชัดเจน และเมื่อออกเดินทางก็ให้ทรงจำสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เพื่อจะได้ไม่หลงทางในตอนกลับ และไม่หลงทางในตอนไป และระหว่างทางถ้าหากรู้สึกว่าสติไม่ตั้งมั่น เกิดความหวั่นไหว เกิดความหวาดผวา เกิดความหวาดกลัว ก็พึงกลับมาตั้งหลักให้ดีเสียก่อน หากเกิดเหตุการณ์หวาดหวั่นหวาดกลัวซ้ำอีกก็พึงพิจารณาว่าจะใช้วิธีไปพิจารณาในที่ที่ซากศพตั้งอยู่ หรือว่าจะใช้วิธีเอาชิ้นส่วนของซากศพมาพิจารณาในเสนาสนะของตนก็ได้

    ประการที่เจ็ด เมื่อไปถึงที่ซากศพตั้งอยู่แล้วก็ให้พิจารณาสภาพแวดล้อมโดยรอบซากศพนั้นโดยแม่นยำว่าต้นไม้เป็นอย่างไร ก้อนหินเป็นอย่างไร ที่ดินเป็นอย่างไร ทิศทางที่มาเป็นอย่างไร เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะไม่หลงทาง และเป็นหลักให้ไม่หวั่นไหวหากเผชิญหน้ากับสิ่งที่หวาดกลัว หรือหวาดผวา หรือน่าขนพองสยองเกล้า

    ประการที่แปด ในขณะที่พิจารณาซากศพนั้นจะต้องรักษาระยะ ไม่ใกล้ ไม่ไกลซากศพจนเกินไป เอาแต่ระยะพอดีที่พอพิจารณาซากศพได้ถ้วนทั่ว หากได้เห็น ได้ยิน หรือได้กลิ่น ที่น่าหวาดกลัว น่าหวาดผวา น่าขนพองสยองเกล้า เช่น เห็นซากศพลุกขึ้นยืนก็ดี เห็นซากศพแลบลิ้นกรอกนัยนต์ตาก็ดี พึงตั้งสติมั่นด้วยความรู้ชอบว่านั่นเป็นเพียงนิมิตหรือมายาชนิดหนึ่ง แล้วให้เบนสายตาไปที่ก้อนหินหรือต้นไม้ที่สังเกตไว้ก่อนแล้วด้วยความเข้าใจว่าต้นไม้ ก้อนหิน เป็นอยู่อย่างนั้น ความจริงของซากศพก็เป็นอย่างนั้น ที่เห็น ที่ได้ยิน หรือที่ได้กลิ่น เป็นเพียงนิมิต ไม่มีความจริงดำรงอยู่เลย ดังนั้นแล้วสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน หรือได้กลิ่นก็จะกลับสู่สภาวะเดิมของมันตามความเป็นจริง

    ประการที่เก้า เมื่อพิจารณาทรงจำกำหนดหมายซากศพด้วยลักษณาการห้าประการดังได้พรรณนามาข้างต้นแล้ว พึงตั้งสติให้มั่นและทบทวนความทรงจำกำหนดหมายอีกครั้งหนึ่งว่ามโนภาพของซากศพและลักษณาการที่เกิดกับจิตนั้นครบถ้วนสมบูรณ์ดีหรือไม่ หากยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ดีก็พิจารณาใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีก ครั้นทรงจำกำหนดหมายแม่นยำเป็นมโนภาพหรือได้อสุภสัญญามั่นคงแล้ว จึงกำหนดกลับ โดยก่อนจะกลับนั้นก็ให้พิจารณาสภาพแวดล้อมที่ซากศพตั้งอยู่อีกครั้งหนึ่ง แล้วพิจารณากำหนดทิศที่มาให้แม่นยำ เพื่อจะได้กลับโดยไม่หลงทาง และกลับได้โดยปลอดภัย

    สิ่งที่มีค่ามาก อานิสงส์มาก ก็ยากลำบากเช่นนี้แหละ
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (45) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">28 เมษายน 2548 18:46 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ดังได้พรรณนามานั้นเป็นเรื่องของการไปพิจารณาซากศพในป่าช้าหรือสถานที่อื่นนอกเสนาสนะหรือนอกเคหสถานของตน แต่ในบางกรณีก็มีความจำเป็นหรืออาจเป็นการสะดวกสำหรับการนำซากศพไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาพิจารณาในเคหสถานหรือเสนาสนะของตน ดังนั้นจักได้พรรณนาในส่วนนี้ต่อไป

    การนำซากศพมาพิจารณาฝึกฝนอบรมจิตในเคหสถานหรือเสนาสนะแม้ว่าอาจสอดคล้องกับอัชฌาสัยหรือความจำเป็นของบางคน แต่ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและอาจเกิดความเสียหาย เกิดความไม่พอใจแก่ผู้อื่นได้

    เพราะซากศพนั้นเป็นสิ่งน่ารังเกียจ เป็นสิ่งปฏิกูล เป็นสิ่งน่าหวาดกลัวสำหรับคนทั่วไป หากใคร ๆ นำซากศพมาไว้ในบ้านหรือที่อยู่ของตนแล้ว ก็จะเป็นที่รังเกียจของคนอื่น และทำให้คนอื่นไม่สบายใจ ทำให้เกิดความทุกข์แก่ท่านและทุกข์นั้นก็อาจจะถึงตัวได้ เช่น อาจมีผู้ไปแจ้งเจ้าหน้าที่มาทำการจับกุม ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องใคร่ครวญให้จงหนัก

    นั่นคือการนำซากศพมาพิจารณาในที่อยู่ของตนไม่ใช่ว่าจะทำได้ในทุกพื้นที่เสมอไป ข้อสำคัญอยู่ตรงที่จะต้องไม่เป็นทุกข์แก่ผู้อื่น ไม่เป็นที่รังเกียจเดือดร้อนของผู้อื่น ซึ่งแทนที่จะเกิดความสงบสุข เกิดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม กลับจะเกิดความทุกข์แก่ตัว

    แม้ในสถานที่ที่อยู่ห่างไกลไม่มีใครทุกข์ร้อนก็ใช่ว่าจะหมดปัญหาเพราะหากมีใครมาพบเห็นว่ามีซากศพอยู่ในที่อยู่นั้นก็อาจจะตั้งข้อระแวงสงสัยว่ามีการกระทำผิดทางกฎหมายเกิดขึ้น มีอาชญากรรมเกิดขึ้น แล้วทำให้เกิดความวุ่นวายทุกข์ร้อนต่อไปได้อีก

    เหล่านั้นเป็นข้อควรคำนึงถึงการที่จะนำซากศพมาไว้ในที่อยู่ของตนเพื่อการพิจารณาอบรมจิตแบบอสุภสัญญา และเมื่อได้พิจารณาโดยถ่องแท้เห็นว่าไม่เป็นปัญหาแล้วก็ยังมีข้อพิจารณาในทางธรรมอีก

    เพราะซากศพนั้นมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลังจากตายเพียง 2-3 วันเท่านั้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปมาก หลังจากนั้นก็จะเป็นเรื่องของการเน่าเปื่อยผุพังแยกแตกสลาย อสุภสัญญาแต่ละชนิดจึงไม่อาจใช้ซากศพได้นานนัก และเมื่อพิจารณาในทางธรรมแล้ว จึงพึงหลีกเลี่ยงวิธีการนำซากศพมาพิจารณาในที่อยู่ของตน และพยายามไปพิจารณาซากศพที่ป่าช้าหรือที่ตั้งซากศพนั้นจะดีกว่า

    แต่สำหรับผู้ที่มีความมุ่งมั่น มีความจำเป็นจริง ๆ ก็ควรจะได้ตระหนักว่าเพราะเหตุที่ซากศพมีความเน่าเปื่อยผุพังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่ควรนำซากศพทั้งร่างมาพิจารณา หากควรนำเพียงบางส่วนมาเป็นเครื่องพิจารณา แต่ถ้าจะให้ดีก็ควรจะกำหนดเลือกเฟ้นเอาซากศพประเภทที่มีความสกปรกน้อย มีเชื้อโรคน้อย มีปัญหาน้อย นั่นคือเศษส่วนของกระดูก

    คนโบราณมีความฉลาดในธรรม ดังนั้นเมื่อมีการฌาปนกิจศพแล้วจึงมีประเพณีนิยมให้นำกระดูกมาบูชาไว้ที่บ้าน ซึ่งได้ซ่อนการปฏิบัติธรรมในเรื่องนี้ไว้อย่างแยบยล คนโบราณนั้นจะเก็บกระดูกไว้ในขวดโหล ทำให้มองเห็นจากภายนอกได้ง่าย จึงสามารถใช้ในการพิจารณาอสุภสัญญาที่ถือเอากระดูกในการพิจารณาได้โดยสะดวกและโดยปลอดภัย

    เป็นแต่ว่านานไปนานมาสิ่งที่ซ่อนอยู่นั้นก็เลือนหายไปกับกาลเวลา คงเหลือแต่การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย โดยที่คนข้างหลังกลับไม่ได้ใช้ประโยชน์หรืออาศัยประโยชน์จากการที่มีส่วนของอสุภในลักษณะนั้นอยู่กับบ้าน ซึ่งง่ายและสะดวกต่อการอบรมจิตแบบอสุภสัญญา

    ในสมัยโบราณซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับความสะอาดและสิ่งน่ารังเกียจยังไม่เข้มงวดนัก ก็เคยมีการนำซากศพของผู้ตายมาเก็บไว้ในบ้าน ผู้มีปัญญาก็จะถือเอาโอกาสนั้นพิจารณาอสุภสัญญา แต่ผู้ที่มีจิตใจห่างไกลจากธรรมก็ถือเอาแต่เพียงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ หรือเป็นเครื่องผูกความอาลัยต่อผู้ตาย ทำให้ความทุกข์ร้อนในจิตใจยิ่งดำรงอยู่ยาวนานต่อไปอีก

    การนำซากศพมาพิจารณาในที่อยู่ของตนก็มีวิธีการอย่างเดียวกันกับการไปพิจารณาซากศพในป่าช้าหรือสถานที่อื่น นั่นคือการกำหนดหมายทรงจำเพื่อกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตต่อไป จึงจะไม่กล่าวซ้ำอีก

    ผู้ที่มีความคุ้นเคยในการฝึกฝนอบรมอสุภสัญญาแล้ว เคยได้อุคหนิมิตหรือปฏิภาคนิมิตในอสุภสัญญาแล้วก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ซากศพในการพิจารณาอีก เพราะเพียงกำหนดนิมิตเป็นมโนภาพขึ้นในใจก็สามารถพิจารณาอสุภสัญญาได้

    ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถพิจารณาคนที่มีชีวิตหรือส่วนหนึ่งของร่างกายของคนที่มีชีวิตอยู่ในการพิจารณาอสุภสัญญาได้อีกด้วย

    ดังตัวอย่างเคยมีมาแล้ว สมัยหนึ่งพระมหาติสสเถระแห่งสำนักเจติยบรรพตเพียงเห็นกระดูกฟันของคนที่มีชีวิตอยู่ก็สามารถพิจารณากำหนดอสุภสัญญาได้ หรือเมื่อสมัยหนึ่งสามเณรรูปหนึ่งผู้เป็นอุปัฏฐากของพระสังฆรักขิตเถระ เห็นพระราชาเสด็จมาบนหลังช้างก็สามารถกำหนดพระราชานั้นเป็นอสุภสัญญาได้

    นี่ก็เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่าอสุภสัญญา 10 วิธีนั้นเป็นเพียงแม่บทแม่แบบในการฝึกฝนอบรมจิตเท่านั้น อสุภลักษณะใด ๆ แม้ร่างกายคนเราหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายคนเราก็สามารถใช้พิจารณากำหนดอสุภสัญญาได้ทั้งสิ้น

    ลำดับแต่นี้ไปจะได้แสดงวิธีการพิจารณาซากศพเพื่อกำหนดเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตโดยเฉพาะ

    การฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญาทั้ง 10 วิธีโดยอาศัยอสุภ 10 ลักษณะเป็นแม่บทนั้น มีวิธีการในการพิจารณากำหนดเป็นอย่างเดียวกัน มีเป้าหมายเบื้องต้นเพื่อกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตอย่างเดียวกัน

    เพราะเหตุอสุภสัญญาเป็นเรื่องที่มุ่งเน้นในเรื่องของสัญญาหรือสัญญาขันธ์ นั่นคือการกำหนดหมายและการทรงจำอย่างถ้วนทั่วสมบูรณ์ จำติดตาและติดตรึงใจ เกิดเป็นมโนภาพกับจิตเป็นอุคหนิมิต ดังนั้นหลักสำคัญของการฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญาก็คือการกำหนดหมายและการทรงจำให้ติดตาตรึงใจ จึงจะกระทำเป็นอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตได้โดยลำดับไป

    การกำหนดหมายและการทรงจำให้มุ่งเน้นที่ซากศพแต่ละลักษณะและลักษณะต่าง ๆ ของซากศพแต่ละลักษณะนั้นด้วย

    ดังนั้นเมื่อกำหนดอสุภลักษณะใดในการฝึกฝนอบรมจิตตนแล้ว ก็สำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ปราศจากความวุ่นวายสับสนหรือกังวลในเรื่องใด ๆ เพ่งพิจารณาซากศพในลักษณะนั้น ๆ อย่างจริงจัง และใส่ใจ

    กำหนดหมายสิ่งต่าง ๆ ของซากศพ ลักษณะต่าง ๆ ของซากศพ ทุก ๆ ส่วนและเฉพาะส่วน อย่างสมบูรณ์ถ้วนทั่ว จนมั่นใจว่าทรงจำเป็นอย่างดีแล้ว

    จากนั้นพึงหลับตาลงแล้วกำหนดหมายว่าซากศพที่ทรงจำไว้นั้นครบถ้วนสมบูรณ์ดีทุกประการเหมือนกับที่ลืมตาอยู่หรือไม่ ถ้าไม่เหมือนกันหรือไม่สมบูรณ์ก็ให้ลืมตาพิจารณากำหนดใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยอารมณ์ที่เป็นหนึ่งเดียว ด้วยจิตใจที่สงบนิ่ง และตั้งมั่น

    ทบทวนกระทำซ้ำแล้วซ้ำอีกจนสามารถเห็นภาพซากศพนั้นบริบูรณ์ครบถ้วนในขณะหลับตาเหมือนกับในขณะที่ลืมตา และทบทวนจนมีความมั่นใจว่าสามารถเห็นภาพของซากศพลักษณะนั้น ๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในขณะหลับตาได้จริง ๆ

    ในระหว่างนั้นอาจจะมีมายาหรือสิ่งรบกวนดังที่เคยพรรณนามาแต่ก่อนแล้ว ก็ปล่อยจิตให้ละวางเห็นตามความเป็นจริงว่านั่นเป็นมายา นั่นเป็นธรรมดาที่เป็นไปเช่นนั้น มายาและสิ่งรบกวนก็จะสูญสลายไป

    เมื่อทบทวนซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนสามารถมองเห็นซากศพลักษณะนั้น ๆ ในขณะหลับตาได้เหมือนลืมตา มีความมั่นคงแน่วแน่แม่นยำชัดเจนและเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นทุกทีแล้ว เมื่อนั้นย่อมได้ชื่อว่าได้บรรลุถึงอุคหนิมิตแห่งอสุภสัญญาลักษณะนั้น ๆ

    ภาวะของจิตในขณะนั้นจะสร่างคลายออกจากสิ่งกลุ้มรุมจิตหรือนิวรณ์ทั้งห้าประการไปโดยลำดับ ซึ่งเป็นผลของการปฏิบัติไม่จำต้องตั้งหน้าขจัดนิวรณ์ด้วยการเพ่งหรือด้วยการภาวนาบทพระคาถาใด ๆ เลย

    อุปมาดั่งเมื่อความสว่างบังเกิดขึ้นแล้ว ความมืดย่อมหลีกหนีหายไปโดยอัตโนมัติฉันใด นิวรณ์อันเป็นกิเลสตัวน้อย ๆ 5 ตัวที่รบกวนกลุ้มรุมจิตถ่วงความเจริญความก้าวหน้าทางจิตก็จะค่อย ๆ สูญสลายไปโดยลำดับตามความก้าวหน้า ความเข้มแข็ง ความบริสุทธิ์ของจิตฉันนั้น

    เมื่อกระทำอุคหนิมิตได้แล้ว ลำดับถัดไปก็คือการยกระดับกระทำอุคหนิมิตให้เป็นปฏิภาคนิมิต เช่นเดียวกับวิธีการที่ได้พรรณนาแล้วในกสิณวิธีนั่นเอง

    แต่ทว่าการกระทำปฏิภาคนิมิตของอสุภสัญญานั้นจะมีลักษณะเฉพาะอยู่บ้างโดยเฉพาะคือการขยายมโนภาพของซากศพหรือขยายนิมิตของซากศพลักษณะนั้น ๆ หรือการย่อให้เล็กลง เพราะอาจทำให้นิมิตสูญสลายไปได้โดยง่าย หรือเปลี่ยนสภาพไปได้โดยง่าย ยกเว้นก็แต่ผู้ที่ปฏิบัติจนมีความชำนาญมากขึ้นแล้วเท่านั้น

    ดังนั้นโดยทั่วไปการกระทำปฏิภาคนิมิตจึงพึงกำหนดกระทำในลักษณะที่ให้นิมิตนั้นเคลื่อนไหวอย่างหนึ่ง หรือมีความเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ไม่เที่ยงอันเป็นลักษณะของอนิจจสัญญาอีกอย่างหนึ่ง คือ กระทำปฏิภาคนิมิตให้ซากศพลักษณะนั้น ๆ แปรเปลี่ยนไปในทางเสื่อมสลายลง เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นลักษณะของอนิจจสัญญาหรือลักษณะของความไม่เที่ยง

    หรือแม้จะกระทำโดยกำหนดให้ปฏิภาคนิมิตนั้นเห็นเป็นซากศพที่เพิ่งตายใหม่ ๆ หรือมีสภาพเหมือนกับคนนอนหลับก็ได้

    เหล่านั้นเป็นเรื่องของวิธีการกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ซึ่งมีมากมายหลายหลากนักหนา การปฏิบัติเองจะสัมผัส จะรู้เห็นได้ด้วยตนเองยิ่งกว่าการอ่านหรือการฟัง ดังนั้นจึงขอให้ถือแต่เพียงว่าวิธีการที่ได้พรรณนามานี้เป็นเพียงตัวอย่างแบบหนึ่งอย่างหนึ่งที่เป็นหนทางนำไปสู่การอบรมปฏิบัติที่เหมาะสมแก่อัชฌาสัยของตน ๆ เท่านั้นเถิด

    จะขอย้ำไว้อีกครั้งหนึ่งว่าการฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญานี้เกื้อกูลต่อปฐมฌานยิ่งนัก คือพลันที่ลงมือปฏิบัติเท่านั้นองค์แห่งปฐมฌานก็จะก่อตัวขึ้นอย่างเบาบางแล้ว อย่างน้อยก็ 2 องค์ใน 5 องค์ คือ วิตกและวิจาร ในขณะที่อารมณ์อันเป็นหนึ่งเดียวซึ่งเป็นองค์สุดท้ายก็เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติด้วย จึงคงเหลือแต่ปิติและสุขเท่านั้น ซึ่งได้ก่อตัวขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อบรรลุถึงปฏิภาคนิมิตคือมีความอิ่มเอิบเบิกบานฉ่ำเย็นทางจิตใจเกิดขึ้นอย่างเบาบางและเป็นลำดับไปด้วย

    นอกจากนั้นการฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญายังทำให้เห็นหรือทำให้ได้ซึ่งอนิจจสัญญาคือเห็นความไม่เที่ยงได้ง่าย ได้มรณานุสติได้ง่ายอีกด้วย
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (46) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">5 พฤษภาคม 2548 17:42 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> การฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญามีความยุ่งยากลำบาก มีความน่ารังเกียจ มีความปฏิกูลและมีความน่าสะพรึงกลัว ทั้งมีอันตรายมากหลายดังได้พรรณนามาแล้ว แต่ก็มีอานิสงส์มาก มีผลมาก เข้าทำนองยาขมมักจะเป็นยาที่มีผลต่อการรักษาที่ชะงัดนัก

    ดังนั้น จึงสมควรที่จะได้พรรณนาอานิสงส์ของอสุภสัญญาทั้งที่เป็นอานิสงส์เฉพาะและอานิสงส์ทั่วไป รวมทั้งผลธรรมดาธรรมชาติที่เกิดขึ้นและเป็นไปในทางเกื้อกูลต่อการอบรมจิตต่อไป

    ในเบื้องต้นก็ดังได้พรรณนามาบ้างแล้วว่าอสุภสัญญานั้นทำให้ได้อนิจสัญญาได้ง่าย คือเห็นถึงความไม่เที่ยง และจะนำไปสู่การเห็นทุกข์และการดับทุกข์ในกาลข้างหน้าได้เป็นอย่างดี นี่เป็นส่วนของปัญญาที่ก่อตัวหนุนขึ้นโดยลำดับตามลำดับของการฝึกฝนปฏิบัติ คือ เมื่อกำลังอำนาจของจิตแก่กล้าพัฒนาไป กำลังปัญญาก็เจริญตามไปโดยลำดับด้วยเช่นเดียวกัน

    ประการถัดมาก็ดังได้พรรณนามาบ้างแล้วเช่นเดียวกันว่าอสุภสัญญาเกื้อกูลต่อการเกิดขึ้นของปฐมฌาน ทำให้ปฐมฌานเกิดขึ้นได้โดยง่าย เพราะปฐมฌานประกอบขึ้นด้วยองค์ 5 ประการ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตารมณ์ ในพลันที่ลงมือฝึกฝนปฏิบัติอสุภสัญญาก็คือการลงมือปฏิบัติที่ทำให้วิตกและวิจารก่อตัวขึ้น และเมื่อจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียวเพ่งอยู่เช่นนั้นก็นับว่าเอกัคคตารมณ์ก็ได้เกิดขึ้นตามไปด้วยโดยอัตโนมัติ

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="350"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="350"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> และเมื่อได้อุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตจิตก็จะมีความเบิกบาน ซ่านซาบ สงบเย็น นั่นคือปิติและสุขก็ได้ก่อตัวตามไปด้วย

    ดังนั้นครูบาอาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวไปในทางเดียวลงกันว่าอสุภสัญญาเกื้อกูลต่อปฐมฌาน ซึ่งต่างกับกสิณวิธีที่จะเกื้อกูลต่อการเพิ่มพูนพลังจิตและสมรรถนะของจิตให้มีความแกร่งกล้ามีสมรรถนะที่สูง เกื้อกูลต่ออิทธิ ฤทธิ์ หรือนัยหนึ่งก็คือฌานสมาบัติในกาลข้างหน้า

    ถัดจากนั้นการฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญามีความใกล้ชิดกับซากศพมากเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายจางจากความยึดมั่นถือมั่นได้ง่าย เห็นถึงแก่นแท้ของความเป็นไปของชีวิตและสิ่งทั้งปวงได้ง่ายว่ามีความเกิดขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่ เสื่อมสลาย และดับไปในที่สุด

    โดยนัยยะเช่นนี้อสุภสัญญาจึงนำพาให้เกิดปัญญา เห็นพระไตรลักษณ์ คืออนิจตา ทุกขตา และอนัตตาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นี่แล้วที่พระบรมศาสดาตรัสว่าพระธรรมทั้งหลายนั้นไหลไปในทางเดียว และลงกันในเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ทั้งสิ้น

    นอกจากนั้นอสุภสัญญาแต่ละลักษณะก็มีอานิสงส์เฉพาะตัว กล่าวคือ

    ซากศพประเภทที่พองขึ้นอืด หรืออุทธุมาตกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่เห็นเนื้อหนังแล้วมีความรู้สึกกำหนัดเกิดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้ เพราะได้เห็นถึงความน่าเกลียด ได้เห็นถึงลักษณะของซากศพที่พองขึ้นอืด ไม่สวยไม่งามอีกต่อไป

    ซากศพประเภทที่มีสีเขียวคล้ำน่าเกลียดน่ากลัว หรือวินีลกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่เห็นสีผิวสวยสดงดงาม แล้วมีความรู้สึกกำหนัดเกิดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้เพราะได้เห็นถึงความน่าเกลียด น่ากลัวของสีของซากศพ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและมีลักษณะน่าเกลียดน่ากลัวมากขึ้นทุกที รวมทั้งได้เห็นถึงความเสื่อมสลายไปของสีผิวที่ติดยึดในความสวยงามต่าง ๆ นั้น

    ซากศพประเภทที่มีน้ำหนองไหลเยิ้ม หรือวิปุพพกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่ได้กลิ่นตัวของบุรุษและสตรี ไม่ว่าจะปรุงแต่งด้วยเครื่องหอมหรือไม่ก็ตาม แล้วมีความรู้สึกกำหนัดเกิดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้ เพราะซากศพลักษณะนี้มีกลิ่นที่เน่าเหม็นเป็นที่น่ารังเกียจ น่าสะอิดสะเอียน เพราะได้รู้สัมผัสถึงความเป็นปฏิกูล ความเหม็นเน่า ซึ่งอยู่กับกายนี้และเห็นชัดขึ้นเมื่อซากศพเน่าแล้ว

    ซากศพประเภทที่แยกขาดออกเป็นส่วน ๆ หรือเป็นท่อน ๆ มีลักษณะน่าเกลียดน่ากลัว หรือวิจฉิททกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่ได้เห็นรูปร่างโครงสร้างหรือเรือนร่างของกายนี้ แล้วมีความรู้สึกกำหนัดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้ เพราะได้เห็นถึงซากศพที่แยกสลายออกเป็นส่วน เป็นท่อน หรือแม้กระทั่งเป็นโพรงอย่างน่าเกลียดน่ากลัว

    ซากศพประเภทที่มีสัตว์กัดกินด้วยประการต่าง ๆ หรือวิกขายิตกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่ได้เห็นส่วนนูนส่วนโค้งส่วนเว้าของกายนี้แล้ว มีความรู้สึกกำหนัดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้ เพราะได้เห็นถึงความสลายไปเพราะการถูกทำลายด้วยการกัดกิน เห็นถึงลักษณะที่น่าสังเวช และน่าสะพรึงกลัวของซากศพนั้น

    ซากศพประเภทที่กระจัดกระจายไม่เป็นที่เป็นทางหรือไปคนละทิศคนละทาง หรือวิกขิตตกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่เห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะแล้วมีความรู้สึกกำหนัดเกิดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้ เพราะได้เห็นถึงความน่าสังเวช ความน่ากลัว ของการที่อวัยวะทั้งหลายนั้นเสื่อมสลายกระจัดกระจายไปคนละทิศคนละทางของซากศพนั้น

    ซากศพประเภทที่ถูกฟันหรือถูกทำให้แยกเป็นส่วน ๆ กระจัดกระจาย หรือ หตวิกขิตตกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่เห็นร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือแค่เห็นว่าเป็นคนดังที่มีคำกล่าวว่าแค่เห็นว่าไม่ใช่หมาก็มีความรู้สึกกำหนัดแล้ว มีความรู้สึกกำหนัดเกิดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้ เพราะได้เห็นถึงการแตกสลายไป เห็นถึงความน่าทุเรศเวทนาของกายนี้ที่แตกแยกออกเป็นส่วน ๆ กระจัดกระจายไปไม่มีชิ้นดี

    ซากศพประเภทที่มีเลือดไหลอาบทั้งตัวหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง มีสภาพน่าเกลียดน่ากลัวน่าหวาดเสียว หรือโลหิตกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่ติดยึดในเครื่องประดับของร่างกายหรือสิ่งสวยงามที่ใช้ประดับร่างกายแล้วมีความรู้สึกกำหนัดเกิดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้ เพราะได้เห็นถึงความน่าเกลียดน่ากลัวน่าหวาดเสียวของกายนี้ที่มีเลือดไหลอาบอยู่

    ซากศพประเภทที่มีหนอนไต่ตอมร่างกายที่เน่าเปื่อยนั้น หรือปุฬุวกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความกำหนัดประเภทที่เห็นกิริยาอาการหรือร่างกายของคนหรืออวัยวะเพศหรืออวัยวะอื่นของสัตว์แล้วมีความรู้สึกกำหนัดเกิดขึ้นได้มากและได้ง่ายให้ระงับลงได้ เพราะได้เห็นถึงความเน่าเปื่อย ความน่าขยะแขยงของกายนี้ที่มีหนอนไต่ตอมและกลายเป็นเหยื่ออันโอชะของเหล่าหนอนนั้น

    ซากศพประเภทที่เหลือแต่กระดูก หรืออัฏฐิกอสุภะ มีอานิสงส์ที่จะข่มความติดยึดหรือความกำหนัดในความงดงามของฟันที่เห็นฟันแล้วเกิดความรู้สึกกำหนัดเกิดขึ้นได้มากและได้ง่าย ดังที่มีการพูดว่าแค่แย้มให้เห็นไรฟันก็หลงใหลไม่เป็นอันกินนอน ให้ระงับลงได้ เพราะกระดูกก็เหมือนกับฟันที่เป็นของปฏิกูล เมื่อได้เห็นกระดูกที่เสื่อมสลายไปเป็นที่น่าสังเวชใจ

    นั่นเป็นอานิสงส์ของอสุภสัญญาแต่ละลักษณะ แต่โดยรวมก็คือมีอานิสงส์ที่จะทำให้เกิดการเบื่อหน่ายคลายกำหนัดจากความยึดมั่นถือมั่นหรือติดยึดในส่วนใดส่วนหนึ่งของกายนี้ ทั้งที่ส่วนถูกปิดบังและไม่ถูกปิดบังไว้

    เพราะธรรมดาของร่างกายในยามมีชีวิตอยู่นั้นแม้จะมีความน่าเกลียดน่ากลัวน่าขยะแขยงน่าสักปานไหน แต่ก็มีธรรมดาที่จะถูกปกปิดสิ่งเหล่านั้นไว้ด้วยเครื่องประดับประดาอันงดงามบ้าง ด้วยสีสันต่าง ๆ บ้าง ด้วยกลิ่นหอมต่าง ๆ อันชวนพิสมัยบ้าง หรือด้วยบรรยากาศใด ๆ ที่ทำให้ติดอกติดใจบ้าง หรือด้วยการชำระล้างด้วยการสะสางชั่วครั้งชั่วคราวบ้าง จึงทำให้ความเป็นปฏิกูล ความน่าเกลียดนั้นถูกปิดบังไว้

    แต่เมื่อกลายเป็นซากศพแล้ว ถึงแม้จะปรุงแต่งอย่างไรก็ไม่สามารถปกปิดความเป็นจริงที่น่าเกลียด น่าปฏิกูล น่าขนพองสยองเกล้าเอาไว้ได้อีกต่อไป ไม่ว่าพระราชาหรือยาจกก็จะไม่สามารถฝืนความเป็นจริงนี้ไปได้ คือความเป็นจริงของกายนี้จะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเป็นสิ่งน่าเกลียด น่ากลัว น่าขยะแขยง น่ารังเกียจ

    การฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญาจึงทำให้จิตนั้นสัมผัสกับความจริง รู้เห็นความจริงได้ง่าย เพราะไม่มีสิ่งใด ๆ จะสามารถปกปิดความเป็นจริงของกายนี้หรือซากศพนั้นไว้ได้อีกต่อไป มีความจริงที่น่าเกลียด น่ากลัว น่าขยะแขยงอย่างไร สิ่งเหล่านั้นย่อมประจักษ์ ย่อมใกล้ชิด และย่อมถูกใช้ในการพิจารณาทรงจำกำหนดหมายอย่างละเอียดถี่ถ้วนสมบูรณ์อย่างเต็มที่

    เป็นการทำให้ชีวิตอยู่กับความจริง รู้ความจริง เห็นความจริงตามความเป็นจริง นั่นคือเกื้อกูลต่อการอยู่ใกล้ สัมผัสและรู้เห็นพระไตรลักษณ์ คือความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความเสื่อมสลายและความดับไป เห็นถึงสภาวะที่เป็นทุกข์ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายจางจากความยึดมั่นถือมั่นได้ง่าย ประการนี้จึงกล่าวว่าอสุภสัญญามีอานิสงส์มาก มีผลมาก คุ้มค่ากับความยุ่งยากและความลำบากมากหลาย

    ผู้ฝึกฝนอบรมแบบอสุภสัญญาจะต้องตั้งหลักให้มั่นว่าการฝึกฝนแบบนี้เป็นแบบวิธีที่เหมาะกับเวไนยสัตว์ที่มีส่วนเกินมาก คือติดยึดกำหนัดมากผิดปกติ เป็นแบบวิธีที่จะแผ้วผลาญตัดส่วนเกินนั้นออกไปก่อนด้วยกำลังอำนาจของจิตที่แน่วแน่มุ่งมั่น มั่นคง ไม่ใช่แบบธรรมดาทั่วไปที่เหมาะสมกับคนทั่วไป

    ทั้งต้องตระหนักให้มั่นคงด้วยว่าการฝึกฝนแบบอสุภสัญญานี้ไม่ใช่กรรมวิธีทางไสยศาสตร์ ไม่ใช่สิ่งลี้ลับมหัศจรรย์ที่ตรงไหน เพราะหากไม่ตระหนักในเรื่องนี้ให้ดีแล้วมีความโน้มเอียงไปในทางลี้ลับ ความเป็นอุตริมนุสธรรมหรือเป็นไสยศาสตร์ไปแล้วก็จะเบี่ยงเบนออกไปจากที่พระบรมศาสดาทรงตรัสสอน เพราะไม่เกื้อกูลต่อการเห็นทุกข์และต่อความดับทุกข์ ไม่เกื้อกูลต่อการข้ามพ้นจากโลกียะมิติไปสู่วิมุตตะมิติอันเป็นเป้าหมายของการฝึกฝนปฏิบัติเลย

    ที่กล่าวเตือนไว้ดังนี้ก็เพราะว่ามีผู้ฝึกฝนปฏิบัติแบบอสุภสัญญาไม่น้อยที่ฝึกฝนปฏิบัติไปครึ่ง ๆ กลาง ๆ แล้วก็เกิดความโน้มเอียงไปในทางวิชาไสย เห็นเป็นเรื่องลี้ลับ เห็นเป็นเรื่องมหัศจรรย์ เห็นเป็นเรื่องเหนือมนุษย์ ทั้งในส่วนที่คิดเองเห็นเองอันเป็นผลจากความหลงหรือโมหะที่เป็นอันตรายอย่างหนึ่ง และทั้งในส่วนที่บุคคลอื่นยกย่องสรรเสริญว่าเป็นผู้มีคุณวิเศษ เป็นผู้มหัศจรรย์แล้วปรนเปรอด้วยอามิสต่าง ๆ ทำให้เคลิบเคลิ้มหลงใหลไปกับสิ่งเหล่านั้น เป็นการติดยึดในโลกธรรมเพิ่มขึ้นอีกโสตหนึ่งต่างหาก

    ต้องเตือนตรงนี้ไว้มากสักหน่อยก็เพราะนี่เป็นอันตรายที่ร้ายแรงของการฝึกฝนอบรมแบบนี้ หากไม่ตระหนักไว้ให้จงดีก็จะถูกลมปากคนหรือความคิดของตนเองชักพาให้ผิดเพี้ยนจากการดำเนินไปสูวิมุตตะมิติ เป็นดำเนินไปสู่นรกและอบายได้ง่าย ๆ

    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,895
    มหัศจรรย์แห่งโลกภายใน (47) <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย สิริอัญญา</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">12 พฤษภาคม 2548 17:42 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> กัมมัฏฐานวิธีแบบอสุภสัญญา 10 วิธีนั้น ความสำคัญอยู่ตรงที่สัญญา คือความทรงจำกำหนดหมาย โดยถือเอาซากศพเป็นสิ่งกำหนดอารมณ์ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วว่าเป็นเพียงแม่บทแม่แบบเท่านั้น เพราะสามารถกำหนดสิ่งอื่นเป็นอารมณ์ในการทรงจำกำหนดหมายได้อีกมากหลาย เนื่องจากสิ่งใดก็ตามที่เอามากำหนดเป็นอารมณ์ในการทรงจำกำหนดหมายแล้ว ก็เป็นกัมมัฏฐานวิธีที่เป็นประเภทสัญญาทั้งสิ้น

    การที่ท่านโบราณาจารย์ได้ยกเอาอสุภสัญญา 10 วิธีเป็นแบบวิธีหลักก็เพราะเป็นวิธีที่โลดโผนแปลกประหลาดและมุ่งผลเฉพาะในการข่มความกำหนัด สำหรับเวไนยสัตว์ที่มีความกำหนัดแรงกล้าจนเป็นอุปสรรคขนาดใหญ่ที่ขวางกั้นการเข้าถึงหรือสัมผัสได้ซึ่งรสพระธรรมอันประเสริฐ ดังนั้นจึงต้องข่มหรือขจัดอุปสรรคนั้นด้วยกัมมัฏฐานวิธีที่โลดโผนคืออสุภะ

    อสุภะจัดว่าเป็นรูปชนิดหนึ่ง ดังนั้นในการเจริญกัมมัฏฐานจึงต้องกระทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเพื่อก่อเป็นองค์แห่งปฐมฌานในกาลข้างหน้า

    แต่เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ เห็นสมควรที่จะได้พรรณนากัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญาอีกประเภทหนึ่งเป็นพิเศษ นั่นคือกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญาประเภทที่ไม่มีรูป ซึ่งแม้ว่าท่านโบราณาจารย์จะมิได้กำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของกัมมัฏฐานวิธี 38 วิธีหรือ 40 วิธีก็ตาม

    เพราะกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญาประเภทที่ไม่มีรูปนั้นมีบางสิ่งบางอย่างที่ต่างออกไปจากอสุภสัญญา ทั้ง ๆ ที่เป็นกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญาด้วยกัน ทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อเวไนยสัตว์ที่มีอัชฌาสัยถนัดชอบพอหรือคุ้นเคยกับการเจริญสัญญา ในขณะที่ไม่มากด้วยความกำหนัด ไม่มีความกำหนัดที่แรงกล้าเหมือนกับเวไนยสัตว์ที่จำเป็นต้องใช้กัมมัฏฐานวิธีจำพวกอสุภสัญญาเข้าแก้อุปสรรค

    ความจริงกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญาประเภทที่ไม่มีรูปนั้นก็เป็นกัมมัฏฐานวิธีที่สำคัญที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเวไนยสัตว์ทั่ว ๆ ไป ใกล้เคียงไปทางอนุสติวิธี แต่ก็ยังอยู่ในเขตขอบของกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญา ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นยังเป็นกัมมัฏฐานวิธีที่พระบรมศาสดาตรัสสอนโดยตรงอย่างเป็นระบบและอย่างชัดเจน

    นั่นคือคำตรัสสอนที่ปรากฏในคิริมานันทสูตร ซึ่งขอให้ตั้งความสังเกตอย่างจริงจังด้วยว่าการที่พระบรมศาสดาทรงปรารภหรือตรัสสอนกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญาแบบไม่มีรูปดังที่ปรากฏในคิริมานันทสูตรนั้น เกิดจากเหตุที่ทรงปรารภเพื่อหวังอานิสงส์ในการบำบัดรักษาอาพาธหนักของพระสาวกรูปหนึ่ง คือพระคิริมานันทเถระซึ่งเป็นพระเถระผู้อาวุโส มีพรรษาสูง มีภูมิธรรมสูง และกำลังอาพาธหนัก ผลจากการแสดงพระสูตรนี้ทำให้พระคิริมานันทเถระหายจากอาพาธหนักนั้น เป็นลักษณะเดียวกันกับการเจริญโพชฌงค์ ที่พระบรมศาสดาได้ตรัสสรรเสริญไว้เป็นอันมาก

    พระสูตรดังกล่าวมีใจความว่า สมัยหนึ่งในขณะที่พระบรมศาสดาประทับที่เชตวันมหาวิหาร ใกล้เมืองสาวัตถีนั้น พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้เข้าไปกราบทูลว่าบัดนี้พระคิริมานันทเถระผู้มีอาวุโสด้วยพรรษาได้อาพาธหนัก มีทุกขเวทนามาก ขอ กราบทูลเชิญพระบรมศาสดาเสด็จไปโปรด เพื่อยังปีติให้เกิดขึ้นและคลายอาพาธนั้น

    พระตถาคตเจ้าจึงได้ตรัสสั่งพระอานนท์ว่าเธอนั่นแหละพึงเข้าไปอนุเคราะห์พระคิริมานันทเถระ และให้เธอแสดงสัญญา 10 แก่พระคิริมานันทเถระ อาพาธนั้นก็จะหาย

    พระบรมศาสดาตรัสสั่งพระอานนให้แสดงสัญญา 10 แก่พระคิริมานันเถระว่า ให้กำหนดหมายความไม่เที่ยงหนึ่ง ความไม่ใช่ตัวตนหนึ่ง ความไม่งามหนึ่ง ความเป็นโทษหนึ่ง การละกิเลสหนึ่ง ธรรมอันปราศจากราคะหนึ่ง ธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับหนึ่ง ความไม่ยินดีในโลกทั้งปวงหนึ่ง ความไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวงหนึ่ง และกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์อีกหนึ่ง รวมเป็น 10 ประการ

    ใน 10 ประการนี้ได้รวมอานาปานสติไว้เป็นประการสุดท้ายด้วย นี่คือคำตรัสสอนของพระบรมศาสดาที่ชัดเจนว่าการเจริญกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญา นอกเหนือจากอสุภสัญญาแล้วยังมีกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญาอย่างอื่นอีก

    และตรัสสอนโดยตรงเกี่ยวกับการเจริญสัญญาแต่ละวิธีอย่างชัดเจนว่า

    วิธีที่ 1 การกำหนดหมายความไม่เที่ยง หรือการเจริญอนิจจสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่ารูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ทั้งห้าอย่างนี้ อันนี้ตถาคตกล่าวว่าอนิจจสัญญา”

    วิธีที่ 2 การกำหนดหมายความไม่ใช่ตัวตน หรือการเจริญอนัตตสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าตาไม่ใช่ตัวตน รูปไม่ใช่ตัวตน หูไม่ใช่ตัวตน เสียงไม่ใช่ตัวตน จมูกไม่ใช่ตัวตน กลิ่นไม่ใช่ตัวตน ลิ้นไม่ใช่ตัวตน รสไม่ใช่ตัวตน กายไม่ใช่ตัวตน ความสัมผัสทางกายไม่ใช่ตัวตน ใจไม่ใช่ตัวตน อารมณ์ที่เกิดกับใจไม่ใช่ตัวตน เธอย่อมพิจารณาเนือง ๆ โดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน ในอายตนะทั้งภายในและภายนอก 6 นี้ อันนี้ตถาคตกล่าวว่าเป็นอนัตตสัญญา”

    วิธีที่ 3 การกำหนดหมายความไม่งาม หรือการเจริญอสุภสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “เธอย่อมพิจารณากายนี้นี่แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องล่างแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ โดยความไม่งามแห่งกายนี้ อย่างนี้ อันนี้ตถาคตกล่าวว่าอสุภสัญญา”

    </td> </tr> <tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="right" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td width="5">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="400"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="400"> [​IMG] </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> วิธีที่ 4 การกำหนดหมายความเป็นโทษ หรือการเจริญอาทีนวสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่ากายอันนี้แหละมีทุกข์มาก มีโทษมาก ความเจ็บไข้อาพาธต่าง ๆ ย่อมเกิดขึ้นในกายมีประการต่าง ๆ คือ โรคในตา โรคในหู โรคในจมูก โรคในลิ้น โรคในกาย โรคในศีรษะ โรคในปาก โรคที่เกิดกับประสาทหู โรคที่ฟัน ไอ หืด หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมมัว โรคในท้อง ลมจับด้วยอาการสลบอ่อนหวิว สวิงสวาย โรคบิดลงท้อง จุกเสียดปวดท้อง โรคลงราก โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน คุดทะราด หูด ละลอก คุดทะราดบอน อาเจียนโลหิต ดีพิการ เบาหวาน ริดสีดวงทวาร พุพอง ริดสีดวงลำไส้ ความเจ็บเกิดแต่ดีให้โทษ ความเจ็บเกิดแต่เสมหะให้โทษ ไข้สันนิบาต หรือความเจ็บที่เกิดแต่ดี เสมหะ ลม ผสมกันให้โทษ ความเจ็บเกิดแต่ฤดูแปรปรวน ความเจ็บเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ ความเจ็บเกิดแต่ความเพียร ความเจ็บเกิดแต่วิบากกรรม ความป่วยอันเกิดจากความเย็น ความร้อน ความหิว ความกระหาย อุจจาระ ปัสสาวะไม่ปกติ เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนือง ๆ โดยความเป็นโทษในกายนี้อย่างนี้ อันนี้ตถาคตกล่าวว่าอาทีนวสัญญา”

    วิธีที่ 5 การกำหนดหมายในการละ หรือการเจริญปหานสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “เธอย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป ซึ่งกามวิตก หรือความหมกมุ่นอยู่ในกามที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งพยาบาทวิตกหรือความคิดปองร้ายสาปแช่งสัตว์อื่นให้ถึงความพินาศที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งวิหิงสาวิตก หรือความหมกมุ่นคิดเบียดเบียนสัตว์อื่นที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเหล่าธรรมอันเป็นบาปเป็นอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว อันนี้ตถาคตกล่าวว่าปหานสัญญา”

    วิธีที่ 6 การกำหนดหมายในธรรมอันปราศจากราคะ หรือการเจริญวิราคสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั้นละเอียดประณีต คือเป็นเครื่องระงับสังขารทั้งปวง เป็นเครื่องละกิเลสทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นเครื่องสำรอกออกจากตัณหา อันนี้ตถาคตกล่าวว่าวิราคสัญญา”

    วิธีที่ 7 การกำหนดหมายในธรรมเป็นที่ดับ หรือการเจริญนิโรธสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั่นละเอียดประณีต คือธรรมเป็นเครื่องระงับสังขารทั้งปวง เป็นเครื่องละกิเลสทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่ดับสนิทของตัณหา เป็นเครื่องออกจากตัณหา อันนี้ตถาคตกล่าวว่านิโรธสัญญา”

    วิธีที่ 8 การกำหนดหมายในความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง หรือการเจริญสัพพโลเกอนภิรตสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นแจ้งในเหตุอันทำให้เกิดความถือมั่นเหล่าใดในโลก มีความถือมั่นด้วยความตั้งจิตไว้เป็นอนุสัยนอนอยู่ในสันดาน เธอละเหตุแห่งความถือมั่นเหล่านั้นเสีย ไม่ถือมั่น ย่อมงดเว้นเสียซึ่งความถือมั่นเหล่านั้น อันนี้ตถาคตกล่าวว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา”

    วิธีที่ 9 การกำหนดหมายความไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวง หรือการเจริญสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา ได้ตรัสสอนว่า “ภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอย่อมเบื่อหน่าย ย่อมระอา ย่อมเกลียดชังสังขารหรือการปรุงแต่งทั้งปวง อันนี้ตถาคตกล่าวว่าสัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา”

    วิธีที่ 10 การกำหนดหมายลมหายใจไว้กับสติ หรือการเจริญอานาปานสติ ได้พรรณนามาแล้ว จักไม่กล่าวซ้ำอีก

    ยกเว้นแต่วิธีที่ 10 ซึ่งได้พรรณนาโดยพิสดารแล้วในภาคว่าด้วยปัญญาวิมุตติ กัมมัฏฐานวิธีที่ 1-9 ที่พระบรมศาสดาได้ตรัสสอนโดยตรงนั้น คือแบบวิธีฝึกฝนปฏิบัติกัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญา โดยวิธีที่ 3 เป็นเรื่องอสุภสัญญาโดยตรง แต่ทรงแสดงถึงความสกปรก ความไม่สะอาด ของบรรดาสิ่งทั้งหลายที่อยู่ภายในร่างกายนี้ ซึ่งแม้จะตรัสเกี่ยวกับรูป แต่ความจริงก็ไม่เห็นรูป เพราะได้ตรัสให้มุ่งเน้นในการพิจารณาซึ่งเป็นเรื่องของการใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง

    พึงสังเกตว่ากัมมัฏฐานวิธีจำพวกสัญญา 10 วิธี ที่ตรัสในคิริมานันทสูตรนั้นทรงเน้นย้ำคำว่า “เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า” นั่นคือเป็นการใช้ปัญญาในการพิจารณาตามความเป็นจริง จัดเป็นกัมมัฏฐานวิธีในภาคเจโตวิมุตที่มุ่งเน้นปัญญามากเป็นพิเศษ แต่ถึงกระนั้นก็ยังอยู่ภายในเขตขอบของเรื่องเจโตวิมุตติอยู่นั่นเอง เพราะวิถีทางหลักยังคงเป็นไปในการสร้างความแข็งแกร่งและสมรรถนะของจิต โดยมีปัญญาเป็นกำลังหนุน เป็นแต่ทรงเน้นเรื่องปัญญามากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากพระคิริมานันทเถระมีกำลังจิตและภูมิธรรมสูงอยู่แล้ว หากทราบและเข้าใจภูมิหลังของการตรัสสอนในพระสูตรนี้ก็จะเข้าใจได้ชัดเช่นนี้

    นอกจากวิธีอานาปานสติในวิธีที่ 10 แล้ว วิธีการที่ได้ตรัสสอนทั้ง 9 วิธีซึ่งรวมอสุภสัญญาที่ตรัสสอนในลักษณะวิธีนี้มุ่งเน้นไปที่การพิจารณา โดยผู้ฝึกฝนปฏิบัติต้องมีกำลังจิตแข็งกล้าอยู่ก่อนหน้าแล้ว และมีภูมิธรรมสูงอยู่ก่อนแล้ว มิฉะนั้นก็ไม่อาจรองรับกัมมัฏฐานวิธีจำพวกนี้ได้เลย ดังนั้นการจะเลือกกัมมัฏฐานวิธีตามพระสูตรนี้จึงต้องคำนึงถึงเงื่อนไขทั้งสองประการดังกล่าวด้วย

    ผู้มีภูมิธรรมที่สูงพอประมาณ มีกำลังจิตที่แข็งกล้าพอประมาณ หากได้ฟังหรือได้เจริญกัมมัฏฐานวิธีทั้ง 10 วิธีที่ทรงแสดงนี้แล้วก็จะเป็นธรรมโอสถที่บำบัดรักษาโรคาพาธให้หายได้เช่นเดียวกับที่ปรากฏในโพชฌงคสูตร จึงจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะประเภทธรรมโอสถชนิดหนึ่ง

    ทั้ง 10 วิธีที่ว่านี้จะไม่มุ่งเน้นไปที่การทำอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต แต่จะลัดไปสู่การขจัดนิวรณ์หรืออุปกิเลส 5 ประการ และก่อองค์ห้าแห่งปฐมฌานโดยตรงทีเดียว

    ท่านทั้งปวงผู้ได้เห็นได้สดับคิริมานันทสูตรแล้วคงจะเห็นเป็นอย่างเดียวกันว่า ความตรัสรู้ของพระบรมศาสดานั้นทำให้ทรงรู้แจ้งในโลกทั้งปวงจริง ๆ เพราะเพียงแค่การกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ในร่างกายนี้และโรคต่างๆ ที่เกิดกับร่างกายนี้ก็มีความพิสดารยิ่งนัก
    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...