มรรค หนทางแห่งการพัฒนาตนเอง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 23 ธันวาคม 2010.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค)

    หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ) และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยหนทาง 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
    1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
    2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
    3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึงการพูดสนทนา แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
    4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
    5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน
    6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
    7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
    8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ
    อริยมรรคมีองค์แปด เป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือทางที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

    มรรคมีองค์แปด สามารถจัดเป็นหมวดหมู่ได้เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา

    • ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
    • ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
    • ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2010
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สัมมาทิฐิ
    แปลว่า ความเห็นถูกต้อง หมายถึงความเห็นที่ถูกคลองธรรม เห็นตามความเป็นจริงเป็นความเห็นที่เกิดจากโยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยปัญญา ตามวัดส่วนใหญ่เขียนคำนี้ตามแบบภาษาบาลีว่า สัมมาทิฏฐิ
    สัมมาทิฐิ ที่เป็นอริยมรรคมีองค์ 8 หมายถึง ความเห็นในอริยสัจ คือเห็นทุกข์ เห็นสมุทัย เห็นนิโรธ เห็นมรรค



    สัมมาทิฐิ ที่เป็นมโนสุจริตหมายถึง ความเห็นถูกต้อง 10 อย่าง คือ

    1. เห็นว่าการให้ทานมีผลจริง (หมายถึงการให้ในระดับแบ่งปันกัน)
    2. การบวงสรวงมีผลจริง(หมายถึงการให้ในระดับสงเคราะห์กันมีผล)
    3. การเคารพบูชามีผลจริง (หมายถึงการยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผลดีจริง)
    4. ผลวิบากของกรรมดีกรรมชั่วมีจริง
    5. คุณของมารดามีจริง (หมายถึงมารดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
    6. คุณของบิดามีจริง (หมายถึง บิดามีพระคุณต่อบุตรอย่างยิ่ง บุตรควรตั้งใจตอบแทนพระคุณท่านอย่างเต็มที่)
    7. โลกนี้มี (หมายถึง โลกนี้มีคุณเป็นอย่างยิ่ง เหมาะสำหรับใช้สร้างบุญบารมี)
    8. โลกหน้ามี (หมายถึง โลกหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ ความเป็นไปของโลกหน้า เป็นผลมาจากโลกนี้)
    9. พวกโอปปาติกะ (ผุดขึ้นเกิด) มี (หมายถึง สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิดแล้วโตทันทีมีจริง อาทิเช่น ในภูมิทุคติ ได้แก่ สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ในภูมิสุคติ ได้แก่ เทวดา พรหม อรูปพรหม)
    10. สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนบรรลุมรรคผลนิพพาน รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเองแล้วสอนให้ผู้รู้ตามด้วยมีจริง
    • <SMALL>จาก มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐</SMALL>
    ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2010
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สัมมาสังกัปปะ
    หมายถึง ดำริชอบ หรือความนึกคิดในทางที่ถูกต้อง เป็นหนึ่งในมรรค 8 หรือ มรรคมีองค์แปด


    สัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง ได้แก่
    1. เนกขัมมสังกัปป์ (หรือ เนกขัมมวิตก) คือ ความดำริที่ปลอดจากโลภะ ความนึกคิดที่ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ และความคิดที่เป็นคุณเป็นกุศลทุกอย่าง จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากราคะหรือโลภะ
    2. อพยาบาทสังกัปป์ (หรือ อพยาบาทวิตก) คือ ดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือเมตตา ซึ่งหมายถึงความปรารถนาดี ความมีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ
    3. อวิหิงสาสังกัปป์ (หรือ อวิหิงสาวิตก) คือ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลาย โดยเฉพาะมุ่งเอาธรรมที่ตรงข้าม คือกรุณาซึ่งหมายถึงความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ จัดเป็นความนึกคิดที่ปราศจากโทสะ
    กุศลวิตก 3 ประการนี้ ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน




    สัมมาสังกัปปะตรงกันข้ามกับมิจฉาสังกัปปะ (ความดำริผิด) ซึ่งมี ๓ อย่างคือ
    1. กามสังกัปป์ (หรือ กามวิตก)
    2. พยาบาทสังกัปป์์ (หรือ พยาบาทวิตก)
    3. วิหิงสาสังกัปป์์ (หรือ วิหิงสาวิตก)
    ความดำริหรือแนวความคิดแบบมิจฉาสังกัปปะนี้ เป็นเรื่องปรกติของคนส่วนมาก เพราะตามธรรมดานั้น เมื่อปุถุชนรับรู้อารมณ์ ก็จะเกิดความรู้สึกหนึ่งในสองอย่าง คือ ถูกใจซึ่งก็จะชอบ ติดใจ หรือไม่ถูกใจก็จะไม่ชอบ มีขัดเคืองตามมา จากนั้นความดำรินึกคิดต่างๆ ก็จะดำเนินไปตามแรงผลักดันของความชอบและไม่ชอบนั้น
    ความดำริหรือความนึกคิดที่เอนเอียงเช่นนี้ เกิดขึ้นเพราะ มองสิ่งต่างๆอย่างผิวเผิน รับรู้อารมณ์เข้ามาทั้งดุ้น โดยขาดสติสัมปชัญญะ แล้วปล่อยความนึกคิดให้แล่นไปตามความรู้สึก หรือตามเหตุผลที่มีความชอบใจไม่ชอบใจเป็นตัวนำ ไม่ได้ใช้ความคิดแยกแยะส่วนประกอบ และความคิดสืบสาวสอบค้นเหตุปัจจัย ตามหลักโยนิโสมนสิการ
    มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจผิดพลาด ไม่มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง จึงทำให้เกิดมิจฉาสังกัปปะ คือ ดำริ นึกคิด และมีทัศนคติต่อสิ่งทั้งหลายผิดพลาดบิดเบือน และมิจฉาสังกัปปะนี้ ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิดมิจฉาทิฐิ จนเข้าใจและมองเห็นสิ่งทั้งหลาย อย่างผิดพลาดและบิดเบือนยิ่งขึ้นไปอีก

    สัมมาทิฏฐิ กับ สัมมาสังกัปปะ

    การที่จะมองเห็นสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง ตามที่มันเป็นได้นั้น จะต้องใช้โยนิโสมนสิการ คือ ขณะนั้นความนึกคิดดำริต่างๆ จะต้องปลอดโปร่ง มีอิสระ ไม่มีทั้งความชอบใจ ความยึดติด พัวพัน และความไม่ชอบใจ เป็นปฏิปักษ์ต่างๆด้วย นั่นคือ จะต้องมีสัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ ซึ่งองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ ส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน
    สัมมาสังกัปปะ ๒ อย่าง

    • สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญให้ผลแก่ขันธ์ คือ ความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน
    • สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค คือ ความตรึก ความวิตก ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
    ธรรมะที่เกี่ยวข้อง

    • <SMALL>จากทิฏฐิสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑</SMALL>
    ภิกษุผู้ประกอบธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันไม่ผิด และเป็นอันปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ เนกขัมมวิตก ๑ อพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑ สัมมาทิฏฐิ
    • <SMALL>จากสนิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖</SMALL>
    ความหมายรู้ในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยเนกขัมมธาตุ
    ความดำริในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในเนกขัมมะ
    ความพอใจในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในเนกขัมมะ
    ความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในเนกขัมมะ
    การแสวงหาในเนกขัมมะบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อนเพราะเนกขัมมะ
    อริยสาวกผู้ได้สดับ เมื่อแสวงหาเนกขัมมะ ย่อมปฏิบัติชอบโดยฐานะ ๓ คือ กาย วาจา ใจ
    <SMALL>และโดยนัยเดียวกันนี้ กับ อพยาบาท และ อวิหิงสา</SMALL>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2010
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    อนุโมทนา ธรรม กับ จขกท

    มรรค นี้ คือ ทางเดิน ของชีวิต
    คนเราทุกคน จะต้องเดินหน้าต่อไป เพราะเวลามันไม่หยุด เราต้องใช้ชีวิตอยู่

    การใช้ชีวิต นี้ ทำอย่างไร จะเจริญ เพราะปกติแล้ว การใช้ชีวิตของคนนี้มีแต่ตกต่ำลง

    มีแต่ความยุ่งเหยิงมากขึ้น เพราะยิ่งแก่ตัวลงไป เรื่องราวต่างๆ ยิ่งโยงใย ทั้งความรู้สึก ประสบการณ์ต่างๆนาๆ ความยุ่งเหยิงนี้แหละ จะทำให้เรา ดำเนินชีวิต ผิดปกติไปเรื่อยๆ

    ก็จะเห็นว่า คนแก่ หลายคน มักเป็นโรค หลง

    แต่ ศิษย์พระพุทธองค์ที่แท้จริงแล้ว พระศาสดากล่าวเอาไว้ในพระสูตรว่า ผู้ใดเจริญมหาสติปัฎฐานแล้ว ไม่มีหลง แม้แก่เฒ่า

    ทีนี้ นอกจากจะไม่หลงแล้ว เรายังขัดเกลา จิตใจให้ใสสะอาด หมดจรด ไม่เจือไปด้วย วัฒนธรรม ความคิด ความปรุง ที่โลกนี้ มอบเอาไว้ให้กับเรา จนเรายึดว่า ความรู้ความเห็นของเรานั้น มันเป็นของจริง

    มันจะจริงได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งที่โลกฝากเอาไว้กับ เรามันก็คือ ความคิด ความปรุงของคนรุ่นก่อนสร้างขึ้นมาให้ เรามี เราเป็นจนทุกวันนี้

    ก็ ทางเดิน ของชีวิต ของเราจึงควรรู้เท่าทัน ความเป็นจริง ของชีวิต
    การใช้ชีวิตได้อย่าง ถูกต้อง และ ขัดเกลาให้จิตใจนี้ เบิกบาน ไม่หมักหมมไปด้วย ขยะ ทั้งในเรื่องจิตใจ และ ความทรงจำ ที่มีทั้งดีและไม่ดีปะปนกันไป

    ก็แนวทางเดินนั้นเป็นอย่างไร ก็คือ อริยมรรค

    ซึ่ง การรู้ว่า อริยมรรค มีอะไรบ้าง ไม่สำคัญ เท่ากับ เราเดินตามได้เป็น

    การเดินตามได้เป็นนี้ จะต้องฝึกฝน ตนเองให้เป็น ให้เดินได้ถูก ให้คิดได้ถูก ทำได้ถูก

    จึงจะเรียกว่า เรากำลังเดิน

    การอ่านรู้เรื่อง จดจำ แต่ การใช้ชีวิตประจำวันยังเหมือนเดิม มันก็ไม่ได้อะไร

    แต่ หากการใช้ชีวิตประจำวัน มีสติ รอบคอบ เลือกสรร อาชีพที่ สุจริต ประพฤติตนตามครรลองคลองธรรม

    คอยมีสติรู้ตัว ในการ พูด ทำ คิด เจริญสมาธิ เพื่อสงบใจ ให้ได้ ยามที่ จิตใจหมกมุ่นและหมุนวนไปในทิศทางที่ ฟุ้งซ่านหรือมีนิวรณ์

    และค่อยๆ เรียนรู้ ไป ก็จะทำให้ เราเดินทางในแบบที่ เจริญขึ้น
     
  5. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    ศาสนาใดไม่มีซึ่ง มรรค 8 ศาสนานั้นไม่มีที่สุดแห่งทุกข์
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สำหรับผมว่า มรรค เป็นหนทางที่ดีและเหมาะสมในการกระทำ ทั้งทางกาย วาจา และใจ
    เป็นทางเดินของชีวิตที่เหมาะสมทั้งการ กระทำตน การพูด และการคิด ที่ ชอบ หรือถูกต้อง

    แต่ดูจากการปติบัติของตนเองแล้วก้ยังไม่สามารถทำทั้ง 8 อย่างให้สมบูรณ์ได้ บางทียังจำได้และยังไม่เข้าใจในความหมายของมรรคที่แท้จริงทั้งหมดด้วยซ้ำ เพราะความไม่รู้ที่มีอยู่ในเป็นทุนของตนเอง

    ยิ่งนำข้อธรรมมาพิจารนากับการปติบัติของตนเองแล้วก้ยิ่งเห็นว่าตรงไหนต้องปรับและตรงไหนที่ทำอยู่และควรทำให้มากขึ้น

    นักศึกษาและปติบัติธรรมท่านใดมีแนวทางความคิดที่สามารถพัทนาตนเองและจิตใจที่ดีมาแนะนำเสนอก้ขอยินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและปติบัติตามเชิญชี้แนะได้ครับ

    อยากได้รับคำชี้แนะมากกว่านะครับ
    จากประสบการณ์ที่ได้ฝึกและปติบัติธรรมมา
    ตอนแรกก้มองด้วยมุมที่แคบเห็นการปติบัติธรรมที่เป็นไปเพื่อละวางกิเลสในใจตนเองความทะยานอยากของตนเองความไปยึดกับวัตถุและกับความพอใจของตนเอง เห็นว่าการที่จะขาดสิ่งเหล่านั้นไปเป็นทางที่จะทำให้เป็นคนไร้ความสุข
    แต่ยิ่งทำยิ่งรู้ว่าการก้าวข้ามทางความคิดของตนเองนั้นแหละที่ทำให้พบว่าข้อจำกัดทางด้านความคิดนั้นก้คือ ความคิดที่ยึดมั่นในสิ่งต่างๆของตัวเราเอง ก้เลยอยากจะพัทนามากขึ้นเรื่อยแต่บางทีความรู้ธรรมก้ไม่มากพอจะนำไปปติบัติ ก้ต้องศึกษาเพิ่มเติม หรือนำกลับมาทบทวน
    อ่านครั้งเดียวไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ พอทำๆไปเริ่มรู้เริ่มเห็นเริ่มเข้าใจ ก้เลยเอามาอ่านอีกทีก้จะได้เข้าใจมากขึ้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2010
  7. Canetion

    Canetion เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    528
    ค่าพลัง:
    +2,026
    เห็นด้วยในหลักคำสอนทุกประการค่ะ ^^

    :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...