มรรคาแห่งพระโพธิสัตว์

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ติดปีก, 28 กรกฎาคม 2008.

  1. ติดปีก

    ติดปีก สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    236
    ค่าพลัง:
    +14
    พระโพธิสัตว์ (Bodhisatta)
    พระโพธิสัตว์เป็นผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเบื้องหน้า โดยมีพระจริยวัตรที่ยึดถือเป็นอุดมคติ 3 ประการ คือ <O:p</O:p
    1) มหาปัญญา เป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาทั้งสอง คือ บุคคลศูนยตาและธรรมศูนยตา พิจารณาเห็นความว่างในบุคคลและธรรม ไม่ตกอยู่ในอำนาจกิเลส <O:p</O:p
    2) มหากรุณา คือ มีจิตใจกรุณาต่อสัตว์ไม่มีขอบเขต <O:p</O:p
    3) มหาอุบาย คือต้องมีอุบายอันชาญฉลาด ในการแนะนำอบรมสั่งสอนผู้อื่น ให้พ้นจากทุกข์ให้เข้าถึงธรรม
    นอกจากนี้ ยังแบ่งประเภทของพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พระฌานิโพธิสัตว์ และพระมานุษิโพธิสัตว์

    พระฌานิโพธิสัตว์<O:p</O:p
    พระฌานิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ถือกำเนิดก่อนพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์ปัจจุบัน ทรงเป็นผู้บรรลุพุทธภูมิแล้ว แต่ไม่เสด็จเข้าสู่พระนิพพาน ทั้งนี้เพื่อมุ่งที่ช่วยเหลือสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ พระฌานิโพธิสัตว์มีหลายพระองค์ ตามคติของลัทธิพุทธตันตระจะกล่าวถึง 5 พระองค์ ตามคู่พระบารมีของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ พระสมันตภัทร พระวัชรปาณี พระรัตนปาณี พระอวโลกิเตศวร และพระวิศวปาณี <O:p

    แต่หากตามคตินิกายมหายานของคณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ซึ่งมีพระโพธิสัตว์ด้วยกัน 8 พระองค์ ได้แก่ พระอวโลกิเตศวร พระมัญชุศรี พระสมันตภัทร พระสถามปราปต์ พระสุริยประภา พระจันทรประภา พระกษิติครรภ์ และพระจุณฑิอวโลกิเตศวร ซึ่งทุกพระองค์ล้วนเป็นพระมหาโพธิสัตว์ทั้งสิ้น<O:p</O:p

    พระมานุษิโพธิสัตว์ <O:p</O:p
    พระมานุษิโพธิสัตว์เป็นพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสภาพมนุษย์ทั่วไป ยังต้องฝึกอบรมตนเองและทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้อื่นไปพร้อมๆ กัน เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน พระมานุษิโพธิสัตว์มี 2 ประเภท คือ 1) อนิยตมานุษีโพธิสัตว์ คือผู้บำเพ็ญบารมียังไม่ถึงภูมิ 10 มีมุทิตาเป็นเบื้องต้น และมีธรรมเมฆาเป็นที่สุด 2) นิยตมานุษีโพธิสัตว์ คือผู้บำเพ็ญบารมีถึงขั้นภูมิ 10 แล้ว
    พระมานุษิโพธิสัตว์หลังจากได้บำเพ็ญบารมี 10 ประการข้างต้นโดยสมบูรณ์แล้ว สภาวะแห่งจิตของพระโพธิสัตว์ก็จะเจริญเข้าสู่ทศภูมิหรือภูมิ 10 ข้อของพระโพธิสัตว์ ได้แก่

    ภูมิที่ 1. มุทิตาภูมิ พระโพธิสัตว์ยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์ (ทานบารมี)<O:p</O:p
    ภูมิที่ 2. วิมลาภูมิ พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา (ศีลบารมี)
    ภูมิที่ 3. ประภาการีภูมิ พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชชาได้เด็ดขาด มีความอดทนทุกประการ (ขันติบารมี)<O:p</O:p
    ภูมิที่ 4. อรรถจีสมดีภูมิ พระโพธิสัตว์มีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (วิริยะบารมี)
    ภูมิที่ 5. ทุรชยาภูมิ พระโพธิสัตว์ละสภาวะสาวกญาณกับปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องกั้นพุทธภูมิ (ญาณบารมี)
    ภูมิที่ 6. อภิมุขีภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท (ปัญญาบารมี)
    ภูมิที่ 7. ทูรังคมาภูมิ พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก (อุบายบารมี)
    ภูมิที่ 8. อจลาภูมิ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี
    ภูมิที่ 9. สาธุบดีภูมิ พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญาและปฏิสัมภิทาญาณ (พลบารมี)
    ภูมิที่ 10. ธรรมเมฆภูมิ พระโพธิสัตว์ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม (ญาณบารมี)<O:p</O:p


    ก็ขอให้ชาวพุทธภูมิได้ทบทวนและมั่นสร้างบารมีตามมรรคาแห่งพระโพธิสัตว์นี้ เหมือนกับการตัดสังโยชน์สิบของฝ่ายเถรวาท
     
  2. ปัจเจกพุทธะ

    ปัจเจกพุทธะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +121
    อายันตุ โภนโต อิธะ ทานะ สีละ เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจาธิฏฐานะเมตตุเปกขา ยุทธายะ โว คัณหะถะอาวุธานีติ.
    ดูก่อนพระบารมีทั้งหลาย ขอเชิญพระบารมีคือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฐานะ เมตตา และอุเบกขา จงมาที่นี่โดยเร็วพลัน แล้วพากันถือเอาอาวุธ เพื่อยุทธ์กับพญามาร (กิเลส) เถิด.
    อนุโมทนาครับ.
    บริจาคเงินช่วยวัดพระบาทน้ำพุ
    โทร.1900-222-200 6บาท/นาที
     

แชร์หน้านี้

Loading...