มรรคมีองค์ 8 หรือทางสายกลาง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Vay, 8 เมษายน 2008.

  1. Vay

    Vay Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +88
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" colSpan=2>มรรคมีองค์ 8 หรือทางสายกลาง


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]อริยสัจจ์ข้อที่ 4 คือ หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ (ทุกฺข-นิโรธคามินีปฎิปทา-อริยสจฺจ) หนทางสายนี้เรียกว่า "ทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา) เพราะงดเว้นจากข้อปฏิบัติที่เอียงสุด 2 ประการ
    [​IMG]ข้อปฎิบัติเอียงสุดอย่างแรก ได้แก่ การแสวงหาความสุขด้วยกามสุข อันเป็นของต่ำทราม เป็นของธรรมดา ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทางปฏิบัติของสามัญชน
    [​IMG]ข้อปฎิบัติเอียงสุดอีกอย่างหนึ่ง คือการแสวงหาความสุขด้วยการทรมานตนเองให้เดือดร้อน ด้วยการบำเพ็ญทุกกรกิริยาในรูปแบบต่างๆ อันเป็นการทรมานร่างกาย เป็นสิ่งไม่มีค่า และเป็นสิ่งไม่มีประโยขน์ ในเบื้องแรกนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงทดลองปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เอียงสุดทั้งสองประการนี้มาแล้ว ทรงพบว่าเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จึงได้ทรงค้นพบทางสายกลางนี้ด้วยประสบการณ์ของพระองค์เอง ซึ่งเป็นทางที่ให้ทัศนะและปัญญาอันนำไปสู่ความสงบ ญาณ การตรัสรู้ และนิรวาณะ (พระนิพพาน) ทางสายกลางนี้โดยทั่วไปหมายถึง ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (อริยอฏฐคิกมคฺค) เพราะประกอบด้วยองค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการคือ
    1. เห็นชอบ (สัมมาทิฏิฐิ) (ปัญญา) ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท โดยการเข้าใจชอบหรือเห็นชอบนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1.ความเข้าใจคือความรู้ ความเป็นพหูสูตร ความมีสติปัญญา สามารถรอบรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งตามข้อมูลที่ได้มา ความเข้าใจประเภทนี้เรียกว่า "ตามรู้" (อนุโพธ) เป็นความเข้าใจที่ยังไม่ลึกซึ้ง 2.ส่วนความเข้าใจที่ลึกซึ้งซึ่งเรียกว่า"การรู้แจ้งแทงตลอด" (ปฏิเวธ) หมายถึงมองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ตามสภาวะที่แท้จริง โดยไม่คำนึงถึงชื่อ และป้ายชื่อยี่ห้อของสิ่งนั้น การรู้แจ้งแทงตลอดนี้จะมีขึ้นได้ เมื่อจิตปราศจากอาสวะทั้งหลาย และได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติสมาธิเท่านั้น
    2. ดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ) (ปัญญา) ได้แก่ ความตรึกที่เป็นกุศล ความนึกคิดที่ดีงาม (กุศลวิตก 3 ประกอบด้วย 1.ความตรึกปลอดจากกาม ความนึกคิดในทางเสียสละ ไม่ติดในการปรบปรือสนองความอยากของตน 2. ความตรึกปลอดจากพยาบาท ความนึกคิดที่ประกอบด้วยเมตตา ไม่ขัดเคือง หรือ เพ่งมองในแง่ร้าย 3.ความตรึกปลอดจากการเบียดเบียนด้วยกรุณาไม่คิดร้าย หรือมุ่งทำลาย)
    3. เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) ( ศิล) ได้แก่ วจีสุจริต 4 ประกอบด้วย 1.ไม่พูดเท็จ 2.ไม่พูดส่อเสียด 3.ไม่พูดหยาบ 4.ไม่พูดเพ้อเจ้อ
    4. กระทำชอบ (สัมมากัมมันตะ) (ศิล) ได้แก่ กายสุจริต 3 ประกอบด้วย 1.ไม่ฆ่าสัตว์ 2.ไม่ลักทรัพย์ 3.ไม่ประพฤติผิดในกาม
    5. เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) (ศิล) ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ
    6. พยายามชอบ (สัมมาวายามะ) (สมาธิ) ได้แก่ สัมมัปปธาน 4 ประกอบด้วย 1.เพียรระวัง หรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น 2.เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือเพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว 3.เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น 4. เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์
    7. ระลึกชอบ (สัมมาสติ) (สมาธิ) ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 ประกอบด้วย 1.การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย 2. การตั้งสติกำหนดพิจาณาเวทนา 3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต 4.การตั้งสติพิจารณาธรรม (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
    8. ตั้งจิตมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) (สมาธิ) ได้แก่ ฌาน 4 ประกอบด้วย 1.ปฐมฌาณ 2.ทุติยฌาน 3.ตติยฌาน 4.จตุตถฌาณ (มีรายละเอียดเพิ่มเติม)
    [​IMG]ในทางปฏิบัตินั้น คำสอนทั้งหมดของพระพุทธองค์ที่ทรงอุทิศ พระองค์สั่งสอนในช่วงเวลา 45 ปีนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับทางสายกลางนี้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง พระองค์ทรงอธิบายทางสายนี้ โดยวิธิการ และใช้คำพูดที่แตกต่างกันไปตามความแตกต่างของบุคคลโดยให้สอดคล้องกับระดับการพัฒนา และศักยภาพในการเข้าใจ และตามได้ทันของบุคคลเหล่านั้น แต่สาระสำคัญของพระสูตรหลายพันสูตรที่กระจายอยู่ในคัมภัร์ต่างๆ ของพุทธศาสนา ล้วนแต่มีเรื่องเกี่ยวกับมรรคซึ่งประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐนี้ทั้งนั้น
    [​IMG]จะต้องไม่เข้าใจว่า องค์ หรือส่วนประกอบ 8 ประการของทางสายกลางนี้ ต้องนำไปปฏิบัติทีละข้อ โดยเรียงตามลำดับหมายเลขดังรายการที่ให้ไว้ข้างต้นนั้น องค์ต่างๆ เหล่านั้นจะต้องพัฒนาให้มีขึ้นพร้อมๆกันมากบ้าง น้อยบ้าง ตามแต่ขีดความสามารถของแต่ละบุคคลที่จะให้เป็นไปได้ องค์เหล่านี้ล้วนแต่เกี่ยวโยงกัน และแต่ละองค์ก็ช่วยส่งเสริมองค์อื่นๆไปด้วย
    [​IMG]องค์ 8 ประการเหล่านี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม และทำให้หลักการ 3 อย่างของการฝึกอบรม และการควบคุมตนเองของชาวพุทธมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น คือ
    1. ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศิล)
    2. การควบคุมทางจิตใจ (สมาธิ)
    3. ปัญญา (ปัญญา)
    [​IMG]ดังนั้น คงจะช่วยให้ได้เข้าใจองค์ 8 ประการของทางสายกลางได้ดี และได้ใจความต่อเนื่องยิ่งขึ้น หากเราจัดแบ่งกลุ่มอธิบายองค์ 8 ประการตามหัวข้อ 3 นั้น ความประพฤติทางจริยศาสตร์ (ศิล) ถูกสร้างขึ้นมากจากความคิดอันกว้างไกล ที่ต้องการให้มีความเมตตา และกรุณาโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังต่อสรรพสัตว์ทั้งปวง โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นที่น่าเสียดายว่ามีนักปราชญ์หลายท่านลืมอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่ในคำสอนของพระพุทธองค์นี้ไป และพากันไปหมกมุ่นอยู่แต่ในเรื่องนอกประเด็นทางด้านปรัชญา และอภิปรัชญาที่น่าเบื่อหน่ายเมื่อพูด และเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงประทานคำสอนของพระองค์ไว้ก็เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์แห่ชาวโลก (พหุชนติตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย)
    [​IMG]เท่าที่ได้พรรณามรรคโดยย่นย่อมานี้ ก็คงจะเห็นได้ว่ามรรคเป็นวิถี ชีวิตที่แต่ละบุคคลจะต้องนำไปประพฤติ และพัฒนาเป็นการควบคุมตนเอง ทั้งกาย วาจา และใจ เป็นการพัฒนาตนเงอ และเป็นการชำระ (จิต) ตนเองให้บริสุทธิ์ ไม่ได้เกี่ยวกับความเชื่อ การอ้อนวอน การบูชา หรือพิธีกรรมใดๆ โดยนัยน้ จึงไม่เกี่ยวกับสิ่งที่คนนิยมเรียกกันว่า "ศาสนา" เป็นทางที่จะนำไปสู่การรู้แจ้งในอุดมสัจจ์ ความมัอิสระอย่างสมบูรณ์ ความสุขและสันติ โดยอาศัยการบำเพ็ญตาม ศิล สมาธิ และปัญญาอย่างสมบูรณ์
    [​IMG]ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาทั้งหลาย ยังมีประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนาที่ประกอบกันแบบง่ายๆ และสวยงามในโอกาสต่างๆ แต่ประเพณี และพิธีกรรมเหล่านั้นไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอริยมรรคนี้ มันมีคุณค่าก็แต่เพียงเป็นการสนองศรัทธา และความต้องการบางอย่างของผู้ที่ได้รับการพัฒนามาน้อย และช่วยให้คนเหล่านั้นได้ดำเนินไปสู่อริยมรรคนี้อย่างค่อยเป็นค่อยไปเท่านั้น

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2>คุณสมบัติของคนสมบูรณ์แบบ


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]ในทางพระพุทธศาสนา การที่บุคคลจะเป็นคนสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องมีการพัฒนาคุณสมบัติ 2 ด้านให้เท่าเทียมกัน คือ ด้านกรุณา และด้านปัญญา
    [​IMG]กรุณาในที่นี้ หมายถึง ความรักความเอื้อเฟื้อแผ่ความเอื้ออารี ความอดทน และคุณสมบัติอันประเสริฐทางด้านอารมณ์ หรือคุณสมบัติทางด้านจิตใจอย่างอื่นๆ
    [​IMG]ส่วนปัญญา หมายถึง ทางด้านพุทธปัญญา หรือคุณสมบัติทางด้านจิต หากบุคคลใดพัฒนาเฉพาะด้านอารมณ์ ไม่ยอมพัฒนาทางด้านพุทธปัญญา บุคคลนั้นอาจจะกลายเป็นคนโง่ แต่มีจิตใจดี ส่วนผู้ใดพัฒนาเฉพาะด้านพุทธปัญญาแต่ไม่ยอมพัฒนาทางด้านอารมณ์ ผู้นั้นอาจจะกลายเป็นคนฉลาดแต่จิตใจกระด้าง ไม่มีน้ำใจกับผู้อื่น เพราะฉะนั้น การที่จะให้เป็นคนสมบูรณ์แบบได้นั้น จะต้องพัฒนาทั้งสองด้านให้เท่าเทียมกัน นั่นคือจุดมุ่งหมายของวิถีชีวิตแบบพุทธ คือวิถีชีวิตที่มีปัญญา และมีความกรุณาเชื่อมโยงไม่แยกออกจากัน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    แหล่งที่มา http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u/core_3.htm
     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...