มรดกโลกอยุธยา ย่างเข้า 15 ปี ความร้าวฉานในพันธกิจที่ยังไม่สิ้นสุด

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย paang, 14 ธันวาคม 2005.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=200><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพมุมกว้างในยามอาทิตย์อัสดงของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ภาพถ่ายทางอากาศสามารถมองเห็นแม่น้ำล้อมรอบเมืองพระนครศรีอยุธยา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีศรีอยุธยา ในฐานะเมืองมรดกโลก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>สองสมทรงผนึกกำลัง นายสมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา กับนางสมทรงพันธ์เจริญวรกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จับมือเป็นพันธมิตรกัน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ผู้รับผิดชอบโบราณสถานทั่วเกาะอยุธยา</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>เอกชัย ลวดสูงเนิน ศิลปินผู้สนใจการเปลี่ยนแปลงของอยุธยาในฐานะมรดกโลก</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> การเฉลิมฉลองการแสดงแสง สี เสียง 'เอกองค์อยุธยา ยศยิ่งฟ้าเรืองแผ่นดิน' โดยนำเสนอแนวคิดทางคุณค่าที่เป็นเอกของอยุธยา ก่อให้เกิดความรู้สึกรักและภาคภูมิใจในแผ่นดินเกิด เป็นการแสดงละครผูกเรื่องราวสะท้อนวันเวลา และความมีคุณค่าของอยุธยา ที่มีด้วยกัน 10 วัน 10 คืน บริเวณวัดมหาธาตุ สะท้อนให้เห็นเอกลักษณ์ความเป็นเมืองมรดกโลก ทั้งทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิต มีการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นดั้งเดิม มีแหล่งประวัติศาสตร์ของชาติไทยทั้งด้านโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและหัตถศิลป์พื้นบ้าน

    ความงดงามตระการตาที่ฉาบเอิบอิ่มด้วยความสวยงามในสายตาของนักท่องเที่ยว และคนต่างถิ่น พาไปเจาะเบื้องหลังวันนี้ที่เป็นอยู่ของพระนครศรีอยุธยา ที่ถูกตีตราจากยูเนสโกให้เป็น 'มรดกโลก' ซึ่งกำลังย่างเข้าปีที่ 15 เข้าไปแล้ว

    อยุธยา มรดกโลกเกือบ 15 ปี ยังเละเทะ

    เอกชัย ลวดสูงเนิน ศิลปินวาดภาพในแนวอิมเพรสชันนิสม์ ผู้มีความผูกพันกับอยุธยา ตั้งแต่เป็นนักศึกษาที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ เพราะมีโอกาสมาวาดภาพทิวทัศน์ที่นี่ตลอด มองเห็นความเปลี่ยนแปลงจนอยุธยาขึ้นเป็นมรดกโลกเมื่อเกือบ 15 ปีที่แล้วว่า อยุธยาเละเทะมาก เมื่อเทียบกับเมืองมรดกโลกของที่อื่น เหมือนกับมีรางวัลอะไรที่เขาตั้งมาตรฐานไว้ให้แล้ว แต่เรารักษาไว้ไม่ได้ เมื่อเทียบกับมรดกโลกที่อื่นๆ

    "แต่ก่อนอยุธยาบ้านเรือนมีน้อย การรุกที่รุกทางก็ยังไม่เยอะ สมัยก่อนอย่างตอนที่มาเรียนประวัติศาสตร์ศิลป์ที่นี่ ยังมีชีวิตมีวิญญาณมากกว่าสมัยนี้เยอะ แม้แต่การดูแลรักษาเองก็ตาม ตัวเราเองยังรู้สึกว่า แต่ก่อนถึงแม้งบประมาณจะน้อย แต่รู้สึกว่าการดูแลรักษาจะดีกว่าทุกวันนี้ด้วยซ้ำไป ตอนนี้ค่อนข้างจะเละ"

    ในปัจจุบัน เอกชัยบอกว่า อยุธยาดูแล้วยิ่งหมองลงกว่าเดิม ไม่มีความงดงามขึ้น หรือไม่มีอะไรที่ดึงดูดเวลาคนมาเที่ยวแล้วอยากจะมาเป็นครั้งที่สองครั้งที่สาม

    "การปรับปรุงนั้น อันดับแรกก็คือ คนในพื้นที่เองต้องลุกขึ้นมาปลุกจิตสำนึก มาดูกันว่าคำว่า มรดกโลก มีความสำคัญขนาดไหน ต้องรู้คุณค่ารู้เกียรติที่เขามอบให้มา ถ้ารักษาเครดิตหรือเกียรติตรงนี้ไม่ได้ก็คืนเข้าไป อันดับที่สอง ผู้บริหารต้องไปดูงาน ศึกษาอย่างจริงจังแล้วกลับมาคิดว่า จะจัดการอย่างไร อันดับสาม งบประมาณก็ต้องถึง ซึ่งรัฐบาลต้องทุ่มลงมาให้ ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เมืองมรดกโลกที่อยู่ในมือไม่ค่อยให้ความสนใจ"

    เอกชัย ย้ำว่า อยุธยาต้องทบทวนแผนแม่บทใหม่ และต้องมีการลงทุนอย่างมหาศาล ถ้าทำดีๆ ก็จะไม่แพ้มรดกโลกในที่อื่นๆ เพราะมีลักษณะพิเศษแตกต่างที่ดีเยี่ยม

    กว่าจะเป็นมรดกโลก

    วันที่ 13 ธ.ค. 2534 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO - ยูเนสโก) ได้มีมติรับนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไว้ในบัญชีมรดกโลกทางวัฒนธรรม ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูนีเซีย

    ท่ามกลางการไหลบ่าของนักท่องเที่ยว และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนทำให้จังหวัดนี้มีรายได้ต่อหัวอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาที่มีอาณาเขตครอบรวมทั้งเกาะเมือง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งคนไทยและชาวต่างประเทศต้องมาเยือน ด้วยเงื่อนไขที่สะดวกสบายในการคมนาคมที่อยู่ห่างกรุงเทพฯ ไม่มากนัก และอุดมสมบูรณ์ทั้งมรดกทางวัฒนธรรม และธรรมชาติแบบพื้นถิ่น

    นารีรัตน์ ปรีชาพีชคุปต์ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เท้าความหลังให้ฟังว่า ก่อนเป็นมรดกโลก การใช้พื้นที่โบราณสถานในเกาะเมืองจะมีการบุกรุกพื้นที่โดยไม่เจตนา

    "ชาวบ้านเห็นที่ว่างก็เข้าไปอยู่อาศัย ด้วยความที่เขาไม่มีที่จะไป อย่างโบราณสถานที่มีการบูรณะมาตั้งแต่ปี 2500 อย่าง วัดพระศรีสรรเพชญ ก็จะมีการใช้พื้นที่ให้แม่ค้าขายของต่างๆ ก็เป็นตามประสาคนไทยไปเรื่อยๆ ซึ่งกรมศิลปฯ เข้ามาสำรวจประวัติศาสตร์เรื่องการใช้พื้นที่ในเกาะเมือง จะพบว่า ถูกทำลายมาเป็นระยะๆ หลังปี 2478 ก็เริ่มมีการพัฒนาเข้าสู่เกาะเมือง เริ่มทำให้โบราณสถานถูกทำลายไปเยอะ อย่างที่เคยมีประมาณ 800 วัด ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โบราณสถานได้ถูกทำลายไปครึ่งต่อครึ่ง ประกอบกับสมัยที่ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกฯ ก็มีการให้เอาอิฐจากโบราณสถานไปขายเพื่อเป็นรายได้ให้กับประชาชน ตอนนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ทำลายโบราณสถานไปแล้วหนหนึ่งซึ่งเป็นครั้งใหญ่ และมีนโยบายต่อมาให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางทางการค้า ก็เป็นการทำลายอีกครั้งมโหฬารอย่างถูกต้องตามกฎหมาย"

    เมื่อกรมศิลปากรได้เริ่มจัดทำแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี 2530 เฉพาะพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ 1,810 ไร่ งบประมาณ 2,137 ล้านบาท และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2536 โดยกระทรวงการคลัง สามารถจัดสรรงบประมาณให้ได้ในปี 2537 เป็นปีแรก

    ปัจจุบันแผนแม่บทยังดำเนินต่อไป ท่ามกลางความขัดแย้ง มีการเชือดเฉือนฟาดฟันระหว่างกรมศิลปากร กับองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น ในการแย่งชิงการบริหารจัดการเกาะเมืองอยุธยาให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานตัวเองมากที่สุด

    สถานการณ์แย่งชิงพื้นที่

    ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นโยบายการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นของภาครัฐได้ทำให้การบริหารเปลี่ยนไป ทางองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานมากขึ้น ทางเทศบาลพระนครศรีอยุธยาเองสมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรี มองว่า 15 ปี ที่อยุธยาเป็นมรดกโลก ต้องเปลี่ยนแปลงได้แล้ว โดยหลักต้องให้คนอยุธยาดูแลเอง เพราะคนอยุธยามีจิตวิญญาณของพื้นถิ่นอยู่เต็มเปี่ยม

    "วันนี้ถามว่า ยูเนสโกให้อะไรกับอยุธยา ในความรู้สึกของคนอยุธยามีความรู้สึกภูมิใจกับความเป็นอยุธยามากกว่าความเป็นมรดกโลก เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เพราะว่าวิถีชีวิตที่อยู่มาหลายอายุคนล้วนแต่มีความผูกพันกับที่นี่ เกือบ 15 ปีที่ผ่านมา หลังจากเป็นมรดกโลก ในสายตาของผมคือ เมืองมันมีชีวิต จากรกร้างว่างเปล่า รกรุงรังเป็นป่า คุณค่าทางวัฒนธรรมคุณค่าทางประวัติศาสตร์ก็หายไป ณ วันนี้คนอยุธยาดีใจที่เห็นการพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ แม้จะมีบางประเด็นที่คนอยุธยาขัดแย้งกับกรมศิลปากรบ้าง แต่ในส่วนแก่นแท้แล้ว คนอยุธยาหวงแหนและรักโบราณสถานมากกว่าใครทุกคน เพราะบ้านใครใครก็รัก

    "ที่ผ่านมา มีคำพูดหลายๆคำที่เปรียบเหมือนการมาดูถูกคนอยุธยา เช่น "คนอยุธยาไม่หวงแหนมรดกโลก" ถือเป็นการดูถูกจิตวิญญาณของคนอยุธยาด้วยซ้ำไป เพราะฉะนั้นเมื่อเมืองมีชีวิต คนกับโบราณสถานต้องอยู่ร่วมกันได้"

    บทสรุปที่ สมทรง ฟันธงก็คือ คนที่จะดูแลอยุธยาและหวงแหนอยุธยาได้ดีที่สุดก็คือ คนอยุธยา

    "คนอยุธยาเปรียบเสมือน 'ยามท้องถิ่น' จะเห็นว่า วัดหลายๆ วัด จะมีมูลนิธิดูแลอยู่ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินของรัฐบาลเลย วันนี้ต้องกราบเรียนว่า กรมศิลปฯ ต้องถอยหลังกลับไปอยู่ในทางวิชาการเท่านั้น ทำไมคนมาท่องเที่ยวอยุธยา กรมศิลปฯ เก็บเงินเข้ากองทุนโบราณสถาน โดยอำนาจตกอยู่กับอธิบดีกรมศิลปากร ทำไมเงินส่วนนี้ไม่ตกอยู่กับคนอยุธยา คนมาเที่ยวเราดีใจ เข้าชมโบราณสถานกรมศิลปฯ ได้เงิน ออกมาทิ้งขยะท้องถิ่นออกค่าใช้จ่าย ตรงนี้คือความไม่เป็นธรรม

    "กรมศิลปากรต้องกำหนดบรรทัดฐานในการบูรณะไม่ให้อยู่ในมุมเดียว การท่องเที่ยวต้องได้ ความปลอดภัยต้องเกิด สาธารณูปโภคต้องมี ชาวบ้านก็ต้องได้ประโยชน์ ทำอย่างไรให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้าไปมีส่วนในการดูแล เพราะปัจจุบันคล้ายๆจะถูกกันอยู่วงนอก จากผลพวงตรงนี้ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชัน

    วันนี้แม้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมาย เปลี่ยนไปโดยระบบ แต่คนไม่เปลี่ยนแปลง สมทรง ชี้ว่าโดยพื้นฐานคนอยุธยามีความห่วงใยมีความรักในบ้านเกิด แต่ปัจจุบันขาดการมีส่วนร่วมในการดูแลที่ซึ่งตัวเองอยู่มาตั้งแต่เกิด

    "อิฐก้อนหนึ่งใครมาแตะ คนอยุธยาก็ยังโกรธเลย โดยสรุปจะทำอย่างไรที่คนกับโบราณสถานสามารถอยู่ร่วมกันได้ และอยู่อย่างไรให้เกิดความมั่นคง ไม่เกิดความหวาดระแวงว่าจะถูกขับไล่ อยากอยู่อย่างมีจิตวิญญาณและเข้าไปมีส่วนร่วมในความหวงแหนแผ่นดิน และมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน จะปล่อยให้กรมศิลปฯรับผิดชอบอย่างเดียวไม่ได้ องค์กรส่วนท้องถิ่นต้องมีความรับผิดชอบร่วมด้วย ตอนนี้เป็นเรื่องอำนาจกับผลประโยชน์ ประเทศที่เจริญแล้วเขาถ่ายโอนอำนาจไปให้ท้องถิ่นดูแล คนที่จะดูแลบ้านของเขาได้ก็ต้องเป็นคนเกิดที่นั้น อยู่ที่นั้น ต้องโอนคน โอนเงิน โอนอำนาจมา แต่กระทรวง ทบวง กรมต่างๆอยู่ในฐานะพี่เลี้ยงทางวิชาการเท่านั้น" สมทรง กล่าวส่งท้าย

    ทางด้าน นารีรัตน์ ผู้อำนวยการอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา แย้งว่า ประเทศไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจตรงนี้ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งหลายทั่วประเทศยังไม่มีตรงนี้ ทางกรมศิลปากรต้องคอยชี้แนะ

    "อยุธยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ติดตลาดโลกไปแล้ว ความเป็นมรดกโลกเป็นเครื่องหมายการันตีว่าเป็นของดีที่มีอยู่ในโลก เป็นหนึ่งเดียวที่มีอยู่ การท่องเที่ยวเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในเรื่องเศรษฐกิจของประเทศชาติ และของประชาชนในโลก กรมศิลปฯไม่ได้ขัดข้องในเรื่องการแบ่งเปอร์เซ็นต์หรืองบประมาณ เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย แต่เป็นเรื่องของของนโยบาย ท้องถิ่นอาจจะน้อยใจว่า ไม่ให้ความสำคัญกับเขา แต่ว่าไม่ใช่ ในกระบวนการทำงานที่ผ่านมา ระหว่างกรมศิลปฯกับเทศบาล จะนำแผนงานทั้งหลายแหล่มาดูด้วยกันว่าจะไม่มีการรุกล้ำเบียดบังโบราณสถาน เราให้ทำทั้งหมด ไม่เคยห้าม

    คำว่า 'รักอยุธยา' นั้น จะรักคนละแบบ ของเทศบาลจะดึงประชาชนเป็นหลัก ส่วนทางกรมศิลปฯจะมีประชาชนเป็นตัวรอง โบราณสถานเป็นตัวหลัก ส่วนของเทศบาลจะให้โบราณสถานเป็นตัวรอง เมื่อหนึ่งกับสองต่างกันจะมาทำงานร่วมกันก็ต้องมาคุยกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ การอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนก็ต้องไม่ทำลายโบราณสถาน"

    อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเละเทะกว่าเมืองมรดกโลกอื่นๆ นารีรัตน์ เองก็ยอมรับโดยดุษณี และบอกเหตุผลว่า

    "เนื่องจากอยุธยามีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นกับโบราณสถาน มีการรื้อทำลายและคนมาอยู่เยอะมาก จะให้ย้ายคนออกก็ไม่มีงบประมาณเพียงพอ ก็ต้องทำเท่าที่ทำได้ 15 ปีที่ผ่านมาก็ทำมาเรื่อยๆ พอประสบกับภาวะเศรษฐกิจแย่ เงินจากทางรัฐบาลก็ไม่มี ร่อยหรอลงไป ทางอุทยานประวัติศาสตร์เดินเข้าหาท้องถิ่นตลอดเวลา ทำหนังสือเชิญเพื่อมาทำรูปแบบการพัฒนาร่วมกัน แต่เราก็ไม่เข้าใจทางท้องถิ่นเหมือนกันว่า ทำไมไม่ยอมทำงานร่วมกัน อาจจะเข้าใจผิดเรื่องการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ซึ่งต้องจัดการภายใต้กฎหมาย"

    กรณีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยาท้องถิ่นจะมาเอาเงินจากค่าเข้าชมโบราณสถาน นารีรัตน์ บอกว่า ทางกรมศิลป์ไม่ได้รังเกียจในการแบ่งให้ แต่ต้องถามกลับไปทางเทศบาลว่า ไม่ได้รับผลประโยชน์จริงหรือไม่

    "เพราะมีร้านค้าทั้งหลายแหล่ ปริมาณนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ภาษีในส่วนต่างๆ ท้องถิ่นก็เป็นคนเก็บ แล้วเงินนั้นมาจากไหนถ้าไม่ใช่มาจากการที่นักท่องเที่ยวมาชมโบราณสถาน เพราะฉะนั้นค่าใช้จ่ายในอยุธยาก็ทำให้คนอยุธยามีรายได้เพิ่มขึ้นถือว่าเราทำให้เขาแล้วด้วยซ้ำ ถ้าเทศบาลมองตรงนี้ออกต้องให้เงินกรมศิลปฯมาพัฒนาโบราณสถานเสียด้วยซ้ำ มองคนละแบบกัน ประชาชนของเขาอยู่ดีมีสุขขึ้นหรือเปล่า ต้องมาพิสูจน์กันตรงนี้"

    นารีรัตน์ บอกอย่างทดท้อว่า ปีนี้กระทรวงวัฒนธรรมได้เงินงบประมาณแค่ร้อยละ 0.02 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด ซึ่งถือว่าน้อยมาก

    "เราต้องเลย์ออฟคนงานทุกอุทยานประวัติศาสตร์ เมื่อไม่มีเงินแล้วงานโบราณสถานรก ก็มาตำหนิอีกว่า ดูแลแหล่งท่องเที่ยวอย่างไร ซึ่งเทศบาลต้องหันกลับมาดูว่า จะช่วยเหลืออุทยานประวัติศาสตร์ฯ อย่างไรต่างหาก ถึงจะทำให้อยุธยาอยู่ยั่งยืน ทางกรมศิลปฯมองว่าเราเป็นคนทำงานให้เทศบาลต่างหาก ไม่ใช่ทำงานให้กรมศิลปฯอย่างเดียว เนื่องจากตอนนี้มันมีความไม่เข้าใจกัน ซึ่งเรามีหน้าที่ให้ประชาชนเข้าใจด้วย ซึ่งต้องทำร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำอย่างที่เป็นอยู่ แล้วตามแก้กันอย่างไม่สิ้นสุด ปัญหาไม่ได้ใหญ่หรอกเพียงแต่มาคุยกัน อย่าคิดว่ากรมศิลปฯได้อย่างเดียว ปีนี้อุทยานประวัติศาสตร์ฯ โนตัดงบไปตั้ง 5 ล้านบาท ต้องให้คนงานออกจากงาน 20-30 คน เพราะเงินที่จัดเก็บได้ก็ไม่พอ เทศบาลต้องมาช่วยเราด้วยซ้ำ"

    ทางออกที่ นารีรัตน์ เสนอคือ ให้ทำตั๋วรวมในการชมโบราณสถาน ซึ่งจะไม่ต้องมาทะเลาะกันอย่างนี้

    "กรมศิลปฯไม่เก็บค่าเข้าชมเลยก็ยังได้ แต่มีข้อแม้ว่าเทศบาลต้องให้ค่าบำรุงดูแลรักษาโบราณสถาน ต้องมีการพูดคุยกันในระดับนโยบาย เพราะเราทำงานตามกฎหมาย เรามีหน้าที่ประสาน ถ้าเทศบาล จังหวัด หรือทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือก็จะไปได้สวย ชุมชนจะอยู่ร่วมกับโบราสถานได้อย่างมีความสุข เพราะไม่มีที่ไหนในโลกแล้วที่คนอยู่กับโบราณสถาน

    "งานพัฒนาพื้นที่โบราณสถานยังมีอีกเยอะ อีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้ทำคือ การให้ความรู้กับประชาชน เพราะมัวแต่มาทะเลาะ เทศบาลจะมาช่วงชิงงบเล็กๆ น้อยๆ ตรงนี้ เพราะถ้าดูการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจหลังจากเป็นมรดกโลก ปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอย่างมาก รายได้จากภาษีที่เข้ามาก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว อยากให้มองทั้งระบบมากกว่า ไม่ใช่มองว่า กรมศิลปฯได้เงินฝ่ายเดียว เหมือนกรมศิลปฯได้เงินเยอะ แต่เอาเงินจำนวนนี้มาดูแลโบราณสถานทั่วประเทศ ซึ่งได้งบมาแค่ 50 ล้านบาท เราเองต่างหากที่ต้องเป็นฝ่ายเรียกร้องให้เทศบาลเอาเงินมาให้เราเพิ่มขึ้นเพื่อบูรณะและอนุรักษ์โบราณสถาน เพราะเราเป็นตัวพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวให้กับเทศบาลและจังหวัด" นารีรัตน์ ส่งท้าย

    ปีหน้า อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาจะเดินทางครบรอบ 15 ปี ของการเป็นมรดกโลก ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนต่างก็มีพันธกิจ และภาระหน้าที่ซึ่งจะทำให้ อยุธยา เป็นมรดกโลกอันเป็นที่ยอมรับให้เลื่องชื่อยาวนานสำหรับชาวโลก ในการเดินทางมาท่องเที่ยว

    วันนี้แม้แผนแม่บทยังดำเนินไป แต่ศึกภายในในการแย่งชิงอำนาจการบริหารจัดการยังคุกรุ่น ทางเดียวที่แก้ปัญหาได้ก็คือ หันหน้าเข้ามาจับมือพูดคุยกันเพื่อพัฒนาให้ 'พระนครศรีอยุธยา ลือนามสมเป็นมรดกโลก' อย่างแท้จริง

    **********************



    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>ที่มา ผู้จัดการออนไลน์</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right height=10>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...