มรณสติแบบธิเบต

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 12 เมษายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    มรณสติแบบธิเบต
    ย่อสาระสำคัญจากหนังสือ "มรณสติแบบธิเบต" โดย แววตะวัน
    เกลน เอช. มุลลิน เขียน
    ภัทรพร สิริกาญจน แปลและเรียบเรียง
    ศูนย์ไทย - ธิเบตศึกษา
    โทร. 223 - 4915 ,222 -5696-8

    โพสท์ในพันทิป หมวดศาสนา โดยคุณ : น้ำเชี่ยว...ไหลลึก - [ 17 พ.ค. 48 ]
    ความตายเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในพุทธศาสนศึกษา เป็นเรื่องจำเป็นต่อการเรียนรู้ วิธีบรรลุมรรควิถีแบบพุทธมีอยู่ ๓ วิธี คือ หินยาน มหายาน และวัชรยาน ทั้ง ๓ วิธีต่างก็มีการฝึกฝนให้มีมรณสติ เพียงแต่มีวิธีการปลีกย่อยต่างกันเท่านั้น
    "ตรีมูล"
    มรณสติ หมายถึงการพิจารณาสิ่ง ๓ สิ่งคือ
    ๑. ธรรมชาติอันแท้จริงของความตาย
    ๒. ความไม่แน่นอนของเวลาตาย
    ๓. เมื่อถึงเวลาตายไม่มีอะไรเลยที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงนอกจากการฝึกจิต
    สิ่งทั้งสามนี้เรียกว่า "ตรีมูล"
    ๑. การพิจารณาธรรมชาติอันแท้จริงของความตาย
    ๑.๑ พระยามัจจุราชจะมาทำลายเราวันใดวันหนึ่งอย่าง แน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว ไม่มีอะไรต้านได้
    ๑.๒ เวลาของเราล่วงพ้นไปทุกที ชีวิตของเรา ก้าวเข้าสู่จุดจบทุกขณะ
    ๑.๓ ในชั่วชีวิตของเรา เราให้เวลากับความเพียรทางจิต น้อยมาก "ผู้ที่มีอายุถึง ๖๐ ปี หลังจากที่หักลบเวลานอน กิน แสวงหาปัจจัยสี่ และอื่นๆ เช่น กิจกรรมบันเทิงต่างๆออกไปแล้ว จะมีเวลาเหลือเพียง ๕ ปีสำหรับการบำเพ็ญเพียรทางจิต เวลาส่วนนี้อาจสูญไปกับการปฏิบัติที่ ผิดพลาดอีกด้วย"
    ๒. การพิจารณาความไม่แน่นอนของเวลาตาย
    ๒.๑ ไม่ว่าจะเป็นคนหนุ่มสาว แก่เฒ่า หรืออยู่ในวัย กลางคนก็ตาม ความตายย่อมมาเยือนได้เสมอ ในเมื่อความตายมาถึงได้ทุกขณะ เราจึงต้องระลึกรู้อยู่เสมอว่าเราอาจตายเมื่อใดก็ได้
    ๒.๒ สาเหตุของความตายมีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน แต่เครื่องยังชีพมีอยู่น้อยมาก เครื่องยังชีพนั้นก็อาจเป็นสาเหตุให้เราตายได้ เช่นอาหารอาจเป็นพิษ บ้านอาจถล่ม เราอาจต้องเสียชีวิตในระหว่างการแสวงหาปัจจัยสี่ หรือระหว่างการปกป้องทรัพย์สินของเรา
    ๒.๓ ร่างกายของเราล้วนเปราะบาง ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในสิ่งแวดล้อมของเราหรือในระบบภายในร่างกายของเรา ก็อาจทำให้เราตายได้
    ๓. การพิจารณาว่าเมื่อถึงเวลาตายไม่มีอะไรเลยที่มีคุณค่าอย่างแท้จริงนอกจากการฝึกจิต
    ๓.๑ แม้ว่าเราจะแวดล้อมอบอุ่นไปด้วยมิตรสหายนับร้อย แต่ย่อมไม่มีใครสักคนติดตามเราไปได้ในมรณภูมิ
    ๓.๒ แม้เราจะมีทรัพย์สินมากมาย เมื่อตายไปแล้วก็เอาไปไม่ได้สักเศษธุลี เราต้องก้าวสู่มรณภูมิอย่างเปล่าเปลือยและโดดเดี่ยว
    ๓.๓ ร่างกายจะถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง ไม่มีสิ่งใด สืบเนื่อง ยกเว้นกระแสจิตสำนึกและกรรมดีกรรมชั่วที่จิตพาไปเท่านั้น ในช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่ หากเราผูกพันอยู่กับทรัพย์สมบัติ เราย่อมใช้ชีวิตอยู่อย่างสูญเปล่าและสร้างแต่กรรมชั่ว จิตของเราจะมีแต่ความทุกข์โทมนัส ราวกับบุคคลที่เพิ่งรู้ตัวว่าได้ดื่มยาพิษเข้าไปนานจนสายเกินแก้ เราจึงควรตั้งใจมั่นแต่บัดนี้ แม้จะต้องเสี่ยงชีวิตก็ตามว่า เราจะไม่ยอมตกอยู่ใต้อิทธิพลของ โลกธรรมแปด เราต้องหลีกเลี่ยงประโยชน์สุขทางโลก เช่นเดียวกับหลีกเลี่ยงสิ่งปฏิกูลทั้งหลาย

    ข้อเสียของการละเลยมรณสติ

    ๑. ทำให้ไม่สนใจการปฏิบัติธรรม ปล่อยเวลาทั้งหมดไปกับการแสวงหาโลกียสุข
    ๒. แม้เราอาจปฏิบัติธรรมอยู่บ้าง แต่ก็จะเป็นเพียงการผัดวันประกันพรุ่ง
    . การปฏิบัติอาจไม่บริสุทธิ์ ปะปนกับความทะเยอทะยานในทางโลกียะ เช่นจับจ้องจะเป็นผู้มีชื่อเสียง
    . แม้เราจะเริ่มต้นปฏิบัติธรรม ตอนแรกเราอาจท้อถอย
    . เราอาจจะสร้างกรรมชั่วอยู่เรื่อยๆ
    . เราอาจตายด้วยความเสียใจ ความตายย่อมมาถึงสัก วันหนึ่งอย่างแน่นอน ถ้าเราขาดสติ ความตายจะมาถึงโดยไม่รู้ตัว ในช่วงเวลาอันวิกฤตนั้น เราย่อมมองเห็นได้ว่า ทรัพย์สมบัติอำนาจ ล้วนแต่ไร้ความหมาย เมื่อเราขาด มรณสติ เราย่อมทอดทิ้งการฝึกฝนทางจิตและเหลือแต่มือเปล่า ดวงจิตก็ท่วมท้นไปด้วยความวิปโยค

    ข้อดีของมรณสติ

    ๑. ทำให้ชีวิตมีเป้าหมาย เราจะมุ่งแสวงหาความเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง
    ๒. มรณสติเป็นปฏิปักษ์อย่างร้ายแรงต่อความหลงผิด เช่นเดียวกับก้อนหินที่ถูกฆ้อนทุบจนแหลกละเอียด
    ๓. เป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มปฏิบัติธรรมแต่ละอย่าง เพราะทำให้เราลงมือปฏิบัติธรรมและปฏิบัติได้อย่างดี
    ๔. เป็นสิ่งสำคัญในช่วงกลางของการปฏิบัติธรรม เพราะทำให้เรามีความพากเพียรในการปฏิบัติอย่างจริงจังและอย่างบริสุทธิ์
    ๕. เป็นสิ่งสำคัญในตอนปลายของการปฏิบัติธรรม เพราะทำให้เราบรรลุการปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์
    ๖. เราจะตายอย่างมีความสุข และปราศจากความเสียใจแต่อย่างใด



    ทึ่มา dharma-gateway
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 เมษายน 2006

แชร์หน้านี้

Loading...