ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม๘ประการ เป็นเนื้อนาบุญของโลก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 19 มีนาคม 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=yawObCfm1T4]เปิดบ้านธรรมะที่ภัสรา.mp4 - YouTube[/ame]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเป็นผู้ควรแก่ของบูชา
    ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก
    ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน
    1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือกันว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑
    2.เป็นพหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้ว ธรรมเหล่าใด มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด แสดงพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงธรรมเหล่านั้นอันเธอได้ฟังมามากแล้ว จำได้ ว่าได้คล่องแคล่วด้วยวาจา
    มองเห็นตามด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ๑
    3.เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ๑
    4.เป็นผู้มีสัมมาทิฐิ ประกอบด้วยความเห็นชอบ ๑
    5.เป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔ อันเนื่องในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑
    6.ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากคือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้างฯลฯย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ๑
    7. ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังตาย กำลังเกิด เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์
    8.เป็นผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ(หลุดพ้นด้วยกำลังสมาธิ) ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม(ในปัจจุบัน)นี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่๑
    พระสูตรที่2
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเป็นผู้ควรแก่ของบูชาควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน
    1.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร สมบูรณ์ด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือกันว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย๑
    2.เป็นพหุสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้ว ธรรมเหล่าใด มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด แสดงพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงธรรมเหล่านั้นอันเธอได้ฟังมามากแล้ว จำได้ ว่าได้คล่องแคล่วด้วยวาจา
    มองเห็นตามด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น ๑
    3.เป็นผู้ปรารภความเพียร มีกำลัง เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑
    4.เป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร อยู่ในเสนาสนะ อันสงัด ๑
    5.เป็นผู้อดกลั้นความไม่ยินดีและความยินดี ระงับความไม่ยินดีที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    6.เป็นผู้อดกลั้นความกลัวต่อภัยเสียได้ ระงับความกลัวต่อภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ๑
    7.เป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌานทั้ง ๔อันเนื่องในจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑
    8.เป็นผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ(หลุดพ้นด้วยกำลังสมาธิ) ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรม(ในปัจจุบัน)นี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่๑
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๒๒๘/๓๗๙หัวข้อที่ ๑๔๗-๑๔๘
     

แชร์หน้านี้

Loading...