ภาวนา กับ บริกรรม เหมือนหรือต่างกัน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธาตุ 4, 9 พฤษภาคม 2009.

  1. ธาตุ 4

    ธาตุ 4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2009
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +110
    ภาวนาหมายความว่าอะไร
    บริกรรมหมายความว่าอะไร
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    บริ-กรรม ก็หมายถึง ที่ระลึกสิ่งกระทำอยู่ให้ดำเนินไป เหมือนคำว่า บริหาร ก็หมายถึง ให้
    ดำเนินกิจการไปให้สำเร็จลุล่วง แต่ บริกรรม นั้นจะมีขอบเขตของสิ่งที่ทำเพียง 1 เดียว

    คำว่า ภาวนา คือ การประเมินผล หมายถึงให้มันเจริญขึ้น มีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ

    อย่างการ บริกรรม คำว่า พุท-โธ บางคนบริหารกิจกรรมนี้ด้วยการท่องเร็วๆ แล้ว
    สมามารถทำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิพลต่อการเป็นสมาธิ หรือ ต่อการวิปัสสนา
    เราก็จะเรียกการ บริกรรมนั้นว่ามีฐานะเป็น ภาวนา

    แต่ถ้าคนอีกคนหนึ่ง บริกรรม แบบเร็วๆ แล้วจิตใจเคร่งเครียด เกิดความวิตกกังวล
    มองไม่เห็นว่าจะเกิดความสำเร็จ ก็เรียกว่า ไม่เกิด ประสิทธิภาพในการบริกรรมแบบ
    เร็วๆ จึงไม่ก่อประสิทธิผล ทำให้ การบริกรรมครั้งนั้น ไม่ถือว่าได้ ภาวนา

    * * *

    การ ภาวนาได้ผลไปในทาง สมาธิ กับภาวนาได้ผลไปในทาง วิปัสสนา

    พระท่านว่า การภาวนาได้ประสิทธิผล ประสิทธิภาพไปในทาง วิปัสสนา 1 ครั้ง จะ
    เท่ากับ การภาวนาได้ประสิทธิผล ประสิทธิภาพไปในทาง สมถะ 500 ครั้ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2009
  3. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    การภาวนาหมายถึงการพัฒนาให้จิตใจให้ดีขึ้น เจริญขึ้น ท้ายสุดแล้วเหนือการเจริญและความเสื่อม พ้นทุกข์เป็นลำดับไป

    การบริกรรมหรือการอาศัยองค์ภาวนา หมายถึง การหาอารมณ์บัญญัติอะไรก็ได้สักอย่างหนึ่งมาเป็นหลักในการทำสมาธิเช่นพุธโธ ,ดูลมหายใจ ฯลฯ

    เพราะเมื่อมีหลักอะไรสักอย่างหนึ่งแล้ว เมื่อมันเคลื่อนจากหลักตรงนั้น จิตจะสังเกตได้ง่าย ตรงที่เห็นความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการเจริญปัญญา

    แต่ถ้าเราเอาแต่จ้องหรือเพ่งในคำบริกรรมหรือองค์ภาวนาก็จะเป็นเพียงสมาธิที่ได้แค่ความสุข ความสงบ ชั่วคราว ถือเป็นการปิดกั้นการเจริญวิปัสนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...