ภาวนา...กลางป่าสะเมิง

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 19 มีนาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    ภาวนา...กลางป่าสะเมิง

    โดย : เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ
    <!-- Begin Media Content --><SCRIPT type=text/javascript>$(function() {$('#media-content').tabs();});</SCRIPT><!-- Media Picture content --><!-- Begin More Pics-->[​IMG]
    เดินเข้าป่าที่สะเมิง

    สัมผัสความสงัด วิเวก และความกลัว กลางป่าสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ กับกิจกรรมภาวนาของเสมสิกขาลัย เรียนรู้ธรรมชาติในวิถีกกาเกอะญอ

    ถ้ามีเวลาอยู่กับขุนเขาและสายน้ำหลายๆ วัน การทำตัวให้กลมกลืน เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เป็นอีกวิถีหนึ่งที่น่าลองสัมผัส เหมือนเช่นกิจกรรมของเสมสิกขาลัย นิเวศภาวนา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
    ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอากาศกำลังเย็นสบาย การภาวนาในป่าริมแม่น้ำขานอันร่มรื่นและใสสะอาด เป็นความสุขที่ลึกล้ำ คราวนี้มีปราชญ์ชาวปกาเกอะญอ และ ประมวล เพ็งจันทร์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมเดินทางไปด้วย เพื่อให้ความรู้ด้านในและการเรียนรู้ธรรมชาติอย่างเคารพ และอ่อนน้อมตามวิถีปกาเกอะญอ
    เพื่อนๆ ที่มาร่วมนิเวศภาวนาคราวนี้กว่ายี่สิบคน กิจกรรมในช่วงหนึ่งทุกคนต้องเผชิญกับความกลัว ทั้งการอดอาหารและปลีกวิเวกกางเต็นท์ในป่าคนเดียวหนึ่งคืนหนึ่งวัน
    ก่อนออกจากหมู่บ้านสบลาน อ.สะเมิง พวกเราได้เรียนรู้วิถีชีวิตชาวปกาเกอะญอในหมู่บ้านและพักค้างคืนที่นั่น และเดินออกจากหมู่บ้านกว่าสองชั่วโมงเข้าสู่ป่าเพื่อเรียนรู้การอยู่กับป่าและฟังเสียงภายในตัวเอง
    นี่คือ การเดินทางเพื่อค้นความหมายบางอย่างในชีวิต เพื่อทดสอบความหวั่นไหวในใจที่ไม่อาจหลีกพ้นคือ ความกลัว

    [​IMG]
    เด็กกะเหรี่ยงกับวิถีเรียบง่าย



    นิเวศภาวนา
    หากอยากใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ได้ยินแม้กระทั่งสายลมพัด และรู้สึกถึงพลังของป่าเขา พะตีตะแยะ ยอดฉัตรมิ่งบุญ ปราชญ์ชาวปกาเกอะญอ เป็นตัวอย่างของความอ่อนน้อมต่อธรรมชาติ ไม่ว่าการฝานเปลือกไม้เพื่อนำมาเป็นสมุนไพรให้พวกเราดื่ม เขาปฏิบัติอย่างเคารพ ทั้งเซ่นไหว้และบอกกล่าว
    แม้จะเคยสัมผัสกับวิถีชีวิตปกาเกอะญอหลายครั้ง แต่ครั้งนี้ถือว่า ใกล้ชิดที่สุด ได้เรียนรู้ทั้งพิธีกรรมความเคารพต่อป่าเขาและการใช้สอยป่าอย่างพอเหมาะพอควร
    "หากใครละเมิดหรือกระทำผิดต่อป่ามากเกินพอดี ก็จะมีอันเป็นไป" นั่นเป็นความคิดส่วนหนึ่งของปกาเกอะญอ
    “ช่วงที่ชาวกะเหรี่ยงเป็นหนุ่มก็มีพิธีกรรมปลีกวิเวกแบบนี้ จะให้ไปอยู่ป่าสามวันอดข้าวเพื่อค้นหาตัวเอง” พะตีตะแยะ เล่าถึงประสบการณ์ตัวเอง
    การสัมผัสและเรียนรู้ธรรมชาติโดยตรงพร้อมๆ กับการภาวนาท่ามกลางธรรมชาติเป็นอีกวิถีของการเรียนรู้แบบดั้งเดิม ไม่ต่างจากนักรบอินเดียนแดงหรือชาวปกาเกอะญอ การปลีกวิเวกอยู่กับธรรมชาติล้วนๆ โดยไม่มีสิ่งใดรบกวนใจ ทำให้เราเข้าใจความรู้สึกด้านในในปัจจุบันขณะ

    [​IMG]
    ปล่อยหินลงน้ำ อีกพิธีกรรมก่อนออกจากป่า



    “เมื่อกายวิเวกไม่ถูกรบกวน โดยมีเป้าหมายให้จิตวิเวก ไม่ให้คิดเลย มันไม่ง่าย แต่สิ่งที่ต้องทำคือ คิดในทางที่ดี อย่างการอดอาหารหนึ่งวันก็เพื่อให้เห็นคุณค่าของร่างกาย ได้เห็นว่า ธรรมชาติโอบอุ้มเรา” อาจารย์ประมวล เล่าถึงการภาวนาในป่า ซึ่งตลอดทางหลายคนได้เรียนรู้ร่วมกับนักเดินเท้าจากกรุงเทพฯสู่เกาะสมุยและการเดินทางในอินเดียหนึ่งปี ตอนนั้นอาจารย์มีตั้งใจว่า จะให้แม่น้ำคงคาชำระจิตใจ
    "ตอนผมไปอินเดีย ผมนั่งนิ่งๆ ริมแม่น้ำนานมาก และได้ยินเสียงน้ำ ผมไม่เคยคิดว่าจะได้ยินเสียงจากแม่น้ำคงคาตามที่ฤๅษีโบราณบอกเรา ตอนนั้นผมเริ่มเข้าใจคัมภีร์พระเวทมากขึ้น เสียงธรรมชาติมีความไพเราะและทำให้รู้สึกดี เมื่อเงยหน้ามองยอดเขาซึ่งปกคลุมด้วยหิมะมีแสงสาดส่อง หิมาลัยตอนนั้นเหมือนสวรรค์ และนิเวศภาวนาคราวนี้พวกเราจะเดินทางสู่โลกภายใน โดยมีสิ่งแวดล้อมภายนอกเกื้อหนุน"


    [​IMG]
    พิธีกรรมก่อนเดินไปสู่พื้นที่ปลีกวิเวกส่วนตัว


    เดินจากภายนอกสู่ภายใน
    จากหมู่บ้านเล็กๆ ยี่สิบชีวิตพร้อมสัมภาระค่อยๆ ก้าวเดินสู่ป่าเขา ผ่านป่าทำกินของชาวปกาเกอะญอ ข้ามลำห้วยเล็กๆ และในป่าพวกเราดื่มน้ำจากป่าต้นน้ำที่ใสสะอาด ซึ่งปัจจุบันน้ำจากต้นน้ำบนภูเขาสูงกลายเป็นน้ำที่คนรักสุขภาพในเมืองให้ความสำคัญมาก เพราะมีสารอาหารมากกว่าน้ำที่กรองจนบริสุทธิ์
    เราตั้งแคมป์ใกล้ลำน้ำขาน หลายคนได้นั่งมองธรรมชาติและสายน้ำ และลงอาบน้ำเย็นฉ่ำกลางลำน้ำ คืนแรกแม้ต้องนอนเต็นท์คนเดียว แต่มีเพื่อนหนึ่งคนกางเต็นท์ใกล้ๆ ส่วนคืนถัดไปปลีกวิเวกกางเต็นท์คนเดียวระยะห่างจากเพื่อนจนไม่อาจมองเห็นได้
    นี่คือ ความท้าทายที่ต้องอยู่คนเดียวล้วนๆ กับธรรมชาติหนึ่งวันในช่วงกลางวันและกลางคืน
    "เป็นการฝึกเพื่อก้าวผ่านความกลัว การปลีกวิเวกจะทำให้เราค้นพบตัวตนและได้สัมผัสความรู้สึกในใจ ให้เราเรียนรู้ความกลัว นี่คือการฝึกที่จะเติบโตภายใน บางทีการก้าวผ่านความกลัว แม้จะเป็นเรื่องนิดเดียว ก็อาจเปลี่ยนชีวิตในอนาคตได้ เวลาอยู่เงียบๆ ถ้าเราสัมผัสอะไรบางอย่างในใจได้ เราจะค้นพบความหมายที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต" อาจารย์ประมวล บอกถึงการก้าวพ้นความกลัว
    การปลีกวิเวกในป่าเป็นบทเรียนหนึ่งในการขัดเกลาจิต เหมือนการสะสมทุนในชีวิต บางเรื่องอาจจะเล็กน้อย แต่ไม่ควรมองข้ามหรือไม่เห็นคุณค่า
    ก่อนจะออกเดินทางไปสู่พื้นที่ของตัวเองเพื่อปลีกวิเวกในป่าช่วงเย็นวันหนึ่งและใช้ชีวิตคนเดียว พะตีทำพิธีกรรมในวงกลมที่มีหินล้อมรอบเพื่อให้ป่าเขาคุ้มครองพวกเรา โดยให้ทุกคนทิ้งของส่วนตัวไว้หนึ่งชิ้นพะตีจะได้สวดภาวนาให้ป่าเขาคุ้มครอง และหลังจากภาวนาในป่าหนึ่งคืนก็ให้กลับสู่แคมป์ที่พักโดยทำพิธีรับขวัญ
    หลังจากก้าวเดินเพื่อหาพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในความหมายของตัวเอง เราเลือกป่าไผ่ริมน้ำ แม้ทางขึ้นลงค่อนข้างลำบาก แต่สามารถสัมผัสได้ถึงความสงบเงียบ โดยมีเพื่อนอีกคนกางเต็นท์ไม่ไกลนัก
    หลายคนยอมรับว่า ไม่ง่ายที่จะก้าวพ้นความกลัวในค่ำคืนที่มืดมิดในป่าลำพังคนเดียว เต็นท์เล็กๆ กลายเป็นอาณาจักรของความปลอดภัยภายใต้ใจที่หวั่นไหว

    ก้าวผ่านความกลัว
    "เมื่อหาพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของตัวเองได้แล้ว ก็ให้บอกกล่าวผู้ปกป้องป่าเขาบริเวณนั้น เพื่อให้รู้สึกวางใจและปลอดภัย และเปิดใจให้ธรรมชาติคุยกับเรา" เจนจิรา โลชา จากเสมสิกขาลัย บอกพวกเรา เพราะตัวเธอเคยผ่านคอร์สนิเวศภาวนามาบ้างแล้ว
    เมื่อต้องอยู่กับธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีตัวช่วย อาจารย์ประมวล บอกว่า อย่าไปคิดปรุงแต่ง เพราะความกลัวเกิดจากเราคิดปรุงแต่ง อย่างที่พะตีได้พูดว่า ธรรมชาติมีความเมตตาอาทรต่อเรา เราอยู่ในโอบกอดของธรรมชาติ ที่เรามีปัญหาเพราะเราดิ้น แต่การปลีกวิเวกคือการอยู่กับตัวเอง เป็นสิ่งที่ประเสริฐมาก
    ให้รับรู้ความรู้สึกตรงนั้น ถ้ากลัวก็รับรู้ความรู้สึก ถ้าเราดูมันให้ชัด ความกลัวก็จะจางคลายไปเอง อยากให้พวกเราได้สัมผัสความรู้สึกนั้น
    "คนอยู่ในเมืองมีความกลัวที่ละเอียดและซับซ้อน จนรูปแบบความกลัวถูกจัดวางอย่างเป็นระบบ เรากลัวความไม่มั่นคง เรากลัวบางอย่างที่บีบคั้นเรา แต่วิถีกะเหรี่ยงไม่ได้มีอะไรมาก ในบ้านพวกเขาแทบจะไม่มีอะไรเลย แต่พวกเขามีจิตที่นิ่ง ไม่หวั่นไหว ต่างจากพวกเราที่อยู่ในเมืองกลับมีความหวั่นไหว เพราะคนเมืองรับรู้มาก แต่เป็นการรับรู้ที่ไม่เท่าทัน ทำให้การรับรู้นั้นบีบคั้นเรา อย่างการรับรู้เท่าทันคือ การรับรู้ความจริง แล้วไม่คับแค้น คือรู้แบบพุทธ รู้ตื่นและเบิกบาน ถ้ารู้อะไรแล้วคับแค้นขุ่นมัว นั่นไม่ใช่พุทธ"
    บทเรียนการอยู่ในป่าสามคืน โดยปลีกวิเวกคนเดียวหนึ่งวันและหนึ่งคืน เป็นการเปิดโอกาสให้หลายคนได้เรียนรู้สภาวะจิตของตัวเอง เราได้รู้ว่าภายในเราเป็นอย่างไร เหมือนการสำรอกความกลัวออกมา เพราะการอยู่ในสภาวะปัจจุบันโดยไม่คิดถึงอดีตและอนาคตเป็นเรื่องละเอียดมาก ในวิถีอินเดียนแดงจะต้องมีพิธีกรรมให้ปลีกวิเวกลักษณะนี้ เพื่อให้ค้นหาตัวเอง
    อีกเรื่องที่อาจารย์ประมวลย้ำก็คือ การปลีกวิเวกก็เพื่อเรียนรู้เข็มทิศในใจตัวเอง เมื่อเราเดินทางไปสู่ความว่าง จิตที่ว่างจะมีความเต็มอิ่ม จิตไม่ถูกยึดด้วยอะไร จึงอยากบอกว่า หนทางไปสู่ความว่างอยู่ในใจเรา

    “อย่ารังเกียจสัญชาตญาณความกลัว เราสามารถเปลี่ยนผ่าน แต่ต้องผ่านการเรียนรู้สะสม ก้าวแรกและก้าวต่อไป”
    • ปลีกวิเวกในป่า
    เจนจิรา โลชา เสมสิกขาลัย
    “การปลีกวิเวก ทำให้ได้ยินเสียงน้ำไหล ใบไม้ไหว มันอ่อนโยนมาก ได้ฟังเสียงธรรมชาติ และใคร่ครวญตัวเอง”

    กานต์ เสมสิกขาลัย
    “เห็นความเบื่อและอยู่กับตัวเองไม่ได้ ผมยังก้าวพ้นความเบื่อไม่ได้ การอดอาหารครั้งนี้ยากที่สุด รู้สึกฟุ้งซ่านและมีผลต่อการภาวนา กระวนกระวายใจ แต่ผมก็พยายามภาวนา”
    เขมิสรา เรืองโชติ บริษัทสตาร์ รีชเชลร์ส กรุ๊ป
    “ตั้งใจแล้วว่าเราจะน้อมรับกับสิ่งที่เผชิญ ความเมื่อยหรือความเจ็บทำให้รู้สึกว่า เรายังมีชีวิต ก็อยากใช้ชีวิตที่เหลืออย่างมีคุณค่า เพราะธรรมชาติให้ชีวิตเรามา”
    เกต อาชีพอิสระ
    "รู้สึกคุ้นเคยกับธรรมชาติ การเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติคงเป็นอย่างนี้ เมื่อมีภารกิจต้องอยู่กับตัวเอง เรื่องราวหลายอย่างที่ผ่านมาในชีวิตก็ผ่านเข้ามาในความคิด ก็ได้ใช้เวลานอนเล่นบนโขดหิน ภาวนาสวดมนต์ และได้ทบทวนชีวิต"
    ------------------
    ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ

    http://www.bangkokbiznews.com/home/...ife/20090319/25665/ภาวนา...กลางป่าสะเมิง.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2009
  2. บุษบากาญจ์

    บุษบากาญจ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    9,476
    ค่าพลัง:
    +20,271
    น่าจะสงบและสงัดนะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...