ภาวนาให้เกิดหรือเพื่อให้ดับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย มะหน่อ, 16 พฤษภาคม 2012.

  1. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ภาวนาให้เกิดหรือภาวนาเพื่อให้ดับทุกข์หรือเกิดสุขหรือไม่อย่างไร


    ผมเคยอ่านเจอว่าคำสอนที่ว่า
    เมื่อจิตใจเราสงบแล้วนำหลักธรรมมาพิจารณาหรือไม่อย่างไร

    เรื่องที่เกิดกับเราวันนี้ไม่เป็นธรรมกับเรา ทำไมเป็นอย่างนั้น
    เป็นการพิจารณาธรรมหรือไม่อย่างไร

    ในระหว่างที่เราภาวนาอยู่เพื่อดับเพื่อละหรือไม่
    หรือเพื่อเกิด นิมิต อัศจรรย์ อภิญญา หรือเกิดความคิดเพื่อจะให้ฟุ้งซ่าน แค่คิดก็ซ่านแล้วหรือไม่

    แล้วความสงบ เป็นกลาง สันติ ปิติ จะเกิดๆได้อย่างไร

    ดับทุกอย่างให้นิ่ง
    จนไม่มีลมหายใจหรือไม่อย่างไรครับ
    ดับความคิดให้สงบอยู่แลอยู่พระพุทธองค์ท่านใช้คำว่าแล้วแลอยู่ หรือรออยู่หรือไม่

    ด้วยสตินะครับ บางท่านเจอแสงแว้ปเข้าไปหลุดมาอีกแล้ว ความรู้สึกไม่คงเดิมหรือไม่อย่างไร

    ขอทุกท่านเจริญในธรรมครับ
     
  2. wechza

    wechza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    181
    ค่าพลัง:
    +246
    การภาวนานั้นจุดหมายที่แท้คือการฝึกสติให้ตั้งมั่นและแน่วแน่ ส่วนอาการต่างๆที่เกิดในตอนภาวนานั้นอยุ่ภายใต้ของคาวมไม่เที่ยงทั้งหมดทั้งมวล มีเกิดขึ้นในเบื้องต้นแปรปรวนในท่ามกลางแตกสลายในบั้นปลาย เมื่อภาวนาจนมีสติระดับหนึ่งแล้ว สิ่งที่ตามมาคือปัญญา
    เมื่อมีปัญญาแล้วก็จะหายสงสัยไปทีละขั้นละตอน จนไปถึงขั้นไม่สงสัยอะไรอีกแล้ว
    ถ้าถามว่าภาวนาเพื่อให้เกิดหรือดับ ความคิดเห็นส่วนตัวของผมนั้น
    คือ เพื่อให้เกิดสติ และเพื่อ ดับความสงสัยในสิ่งต่างๆด้วยปัญญาที่เกิดจากการ ภาวนานั้นเอง
     
  3. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ภาวนา กับ กัมมัฏฐาน หรือ กรรมฐาน ก็คือ สิ่งสิ่งเดียวกัน คือ การทำให้มีขึ้น เจริญขึ้น หรือ สิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการงาน หรือของจิตใจ แบ่งเป็น อุบายให้ใจสงบ และ อุบายเรืองปัญญา
    ถ้าใจ สงบ ปัญญาก็เกิด แต่ปัญญาจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อ บุคคลนั้นๆมีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรม หลักวิชาการต่างๆ ปัญญาจึงจะเกิดขึ้นได้ เมื่อใจสงบหรือใจมีสมาธิขอรับ
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    ภาวนาให้เกิดก่อน เรียนรู้กับมันแล้วจึงปล่อยให้มันดับ
     
  5. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่ได้ไปภาวนาทำให้มันเกิดหรือมันดับ

    แต่ให้รู้จักสัจจะความจริงของธรรมชาติ ขันธ์ ธาตุ ความเป็นไตรลักษณ์อยู่ทุกขณะ

    เพื่อคลายความเห็นผิด สัจจะในส่วน ผลจักตามมาเอง
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,182
    สัจจะของธรรมชาติที่เอ็งรู้นั่นมันมีแต่กิเลสทั้งนั้นแหละ เอากิเลสรู้กิเลส กั๊กๆๆ
     
  7. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ภาวนา แปลว่า ทำให้เกิดให้มีขึ้น ทำให้เป็นขึ้น สิ่งที่ยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็น สิ่งที่ยังไม่มีก็ทำให้มันมีขึ้น เรียกว่าภาวนา

    เพราะฉะนั้น จึงเป็นการปฏิบัติ ฝึกหัด หรือลงมือทำ

    ภาวนา จึงแปลอีกความหมายหนึ่งว่า การฝึกอบรม ผีกนั้น เมื่อยังไม่เป็นก็ทำให้มันเป็นขึ้น
    อบรมนั้น เมื่อยังไม่มีก็ทำให้มีขึ้น

    ยิ่งกว่านั้น เมื่อทำให้เกิด ให้มี ให้เป็นขึ้นมาแล้ว ก็ต้องทำให้เจริญงอกงามเพิ่มพูนพรั่งพร้อมขึ้นไปด้วยจนเต็มที่

    ภาวนา จึงมีความหมายตรงกับคำว่า พัฒนา ด้วย และจึงแปลง่ายๆว่า เจริญ
     
  8. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    ผลของสมาธิภาวนา มี 4 อย่าง

    1. เพื่อความสุขสงบในปัจจุบัน
    2. เพื่อญาณอภิญญา
    3. เพื่อสติสัมปชัญญะ
    4. เพื่อกำจัดกิเลสอาสวะ

    แม้การฝึกเพื่อให้บรรลุผลแต่ล่ะอย่างจะดูคล้ายกัน แต่รายละเอียดที่ผู้ฝึกต้องสนใจมันต่างกัน
    ใครใคร่จะบรรลุอะไร ก็ฝึกไปตามนั้น

    เช่น ปราถนาบรรลุความสุขสงบ ก็ต้องใส่ใจสมาธิ มีปฐมญาน เป็นต้น

    ปราถนาบรรลุ ทิพยจักขุญาณก็ต้องใส่ใจแสงสว่าง

    ปราถนาบรรลุ สติสัมปชัญญะอันเลิศ ก็ต้องใส่ใจ เวทนา,สัญญา,วิตก ที่เกิดขึ้นและดับไป

    ปราถนาบรรลุ อาสวักขยญาณ ก็ต้องใส่ใจการเกิดขึ้นและเสื่อมไปของอุปทานในขันธ์ 5

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...