ภัตตานุโมทนากถา (3)พระธรรมเทศนา หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 25 กรกฎาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    18 พฤศจิกายน 2497
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    <TABLE style="WIDTH: 269px; HEIGHT: 72px" align=center><TBODY><TR><TD>อปฺปมาโท อมตํ ปทํ</TD><TD>ปมาโท มจฺจุโน ปทํ</TD></TR><TR><TD>อปฺปมตฺตา น มียนฺติ</TD><TD>เย ปมตฺตา ยถา มตา</TD></TR><TR><TD>เอวํ วิเสสโต ญตฺวา </TD><TD>อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตาติ.</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เป็น ภัตตานุโมทนากถา เฉลิมเพิ่มเติม ศรัทธาของเจ้าภาพ ซึ่งเป็นผู้มีสมานฉันท์พร้อมใจซึ่งกันและกัน มีพระภิกษุซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทร์ปะขาว และท่านอาจารย์ที่ไปสอนภาวนาอยู่ สนับสนุนกับท่านเจ้าอาวาส อยู่ที่วัดจันทร์ปะขาว และภิกษุอื่นอีก ที่เป็นอยู่วัดเดียวกัน พร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา เป็นอันมากมาบริจาคทาน ณ อารามวัดปากน้ำนี้ ถวายเป็นผ้าป่า มีผ้าไตรจีวร เป็นเครื่อง หมายเรียกว่า ผ้าป่า มีกิ่งไม้เอาแขวนมาคล้องไว้ และอาราธนาเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษี เจริญ จังหวัดธนบุรี ให้เป็นผู้ชัก มาทอดในวัดปากน้ำ เจ้าอาวาสก็เป็นประมุขของสงฆ์ใน วัดปากน้ำ ถ้าเจ้าอาวาสชักถูกพระสงฆ์ทั่วหมดแล้ว เจ้าอาวาสก็แจกพระภิกษุสามเณร องค์หนึ่งจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด เจ้าอาวาสให้ทั้งสิ้น วัดปากน้ำ ค่าไฟฟ้าเดือนหนึ่งๆ 2,000 กว่าบาท ถึงกระนั้น เจ้าอาวาสก็สนับสนุนทุกเดือนไป พระภิกษุสามเณรไม่ต้องออก แจก ให้ ไตรจีวรขาดตกบกพร่อง แจกให้ทั้งนั้น ทอดกับเจ้าอาวาสถูกทั้งวัด และตั้งแต่บวชมา ปฏิญาณขาดในใจ ไตรจีวรไม่มีขาย มีแต่ให้เรื่อยไป ใครจะมาซื้อเป็นไม่ได้หละ ขอให้ซื้อ ไม่ได้ แจกพระแจกเณรหมด ถ้าคิดว่าผ้าเขาทูนหัวแล้ว ก็ให้เขาประสงค์บุญกุศลในพระ พุทธศาสนา ผู้รับก็มีศรัทธาก็ต้องการ ผ้าเป็นวัตถุธรรมดา เมื่อย้อมเข้าแล้วเขาเรียกว่า ผ้าย้อมฝาด เจ้าของมีจิตสามารถเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา น้อมมาถวายพระสงฆ์ กาก ที่เจ้าของให้เป็นกาก เจ้าของนั้นได้เนื้อไปเสียแล้ว บุญกุศลติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ ดวงโตเท่าไหน แล้วแต่ศรัทธาของตน นั้นเจ้าของกลั่นเอา เนื้อเสียแล้ว เอาเปลือกให้แก่ภิกษุ ถ้าภิกษุโง่ ไม่ฉลาดทันเจ้าของ ก็ไปเก็บเอาใส่ตู้ห้องไว้ แมลงสาบหนูกัดเสียหายไป ถ้าฉลาดพอ เมื่อเจ้าของเขาสละเช่นนั้นแล้ว เมื่อเก็บ ก็เอาไว้ แจกพระภิกษุสามเณร อัดเอาบุญเสียเหมือนกัน กากนั้นให้ไป ถวายไป แต่บุญเอาเสียอีก ชั้นหนึ่ง นี่เรียกว่าฉลาดได้ 2 ชั้น 3 ชั้นนั่นแน่ ต้องการเอาไว้ ผ้านุ่งพอห่มพอสมควร เท่านั้นแหละ ถ้าผู้ฉลาดรับแล้วเท่าไร ให้หมด ท่านผู้นี้ปรากฏว่าจะเป็นอายุพระศาสนา สืบต่อไป ถ้าสมภารประพฤติได้ดังนี้ อยู่วัดไหน วัดนั้นก็เจริญหละ ภิกษุสามเณรอุ่นหนา ฝาคั่ง เหมือนกับพ่อแม่ มีอะไรแจกให้ทั้งนั้น วัดปากน้ำอย่างนั้น ผู้ที่ปกครองเป็นเจ้าอาวาส อยู่ ได้อะไรมาก็ตามเถิด คิดว่าพระภิกษุสามเณรที่มาอยู่ด้วย เหมือนกับลูกเต้า ไม่ห่วง ไม่ เสียดายกัน ติดขัดอะไรมา แจกให้ทั้งนั้นไม่ขัด
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุสามเณรก็สุขสบาย อุ่นหนาฝาคั่ง เหมือนอยู่กับแม่พ่อลูกเขา เขารักเหมือนแก้วตา ถ้าแต่ว่าเขารู้ว่าภิกษุผู้ปกครองเอาใจใส่เหมือนเช่นนั้นละก้อ เขาก็ เคารพนับถือ เขาก็เห็นว่าลูกเขาอยู่อุ่นหนาฝาคั่งเช่นนั้นดีแล้ว เขายิ่งเลื่อมใสศรัทธา เขาไม่ ตระหนี่ถี่เหนียวอะไรหรอก เขากลัวอยู่อย่างเดียวเท่านั้นแหละในพระพุทธศาสนา เมื่อทำ แล้วเก็บเอาไปไถลเสียทางอื่น เท่านั้นแหละ เขากลัวนัก เขาจึงไม่ไว้ใจสมภารหนุ่มๆ แต่ว่า วัดปากน้ำสมภารแก่แล้ว อายุ 71 แล้วนะ แต่ไม่ใช่วางก้าม อายุ 71 นี่ ตั้งแต่บวชพรรษา 2 แน่ะ ทอดธุระมานะ ทอดธุระมาตั้งแต่พรรษา 2 ต้องการบุญกุศลเท่านั้นแหละ อยู่ที่ ไหน ก็ให้ทาน บริจาคทานไป ไม่ทำอะไร ก็สอนหนังสือหนังหาไป สงเคราะห์ อนุเคราะห์ กุลบุตรไปอย่างนี้แหละ มาอยู่วัดปากน้ำ ไม่ใช่พอดีพอร้าย พอมาอยู่วัดปากน้ำเท่านั้น แหละ เขาไม่ยอมกันทั้งบ้านทั้งเมือง พระในวัดก็ไม่ยอมทั้งนั้น ผู้มาอยู่ ผู้เทศน์นี้แหละ พุทโธ่เอ๊ย ที่พึ่งของตัวไม่รู้จัก จะไปกีดกันผู้เป็นที่พึ่งของตัวให้ไปเสียแล้ว จะไปพึ่งอะไร นี่ เราจะทำอย่างไร นี่ข้าไม่สู้ แล้วข้าก็ไม่หนี ทำดีอันหนึ่งอันใด มีเท่าไรทำจนสุดความสามารถ ของตัว จะรุกรานสักเท่าไรก็ไม่สู้ แต่ไม่หนี ทำอะไรทำจนสุดความสามารถของตัว จนกระทั่ง ถึงบัดนี้ ท่านทั้งหลายเห็นแล้วว่า ผู้ไม่สู้ไม่หนีเป็นอย่างนี้แหละ เป็นประโยชน์ ไม่ใช่แต่ มนุษย์ในประเทศเท่านั้น ฝรั่งมังค่ายังเข้ามาเป็นที่พึ่ง มาพึ่งพาอาศัย มาเล่าเรียนศึกษา แล้วเอาไปประกาศ เวลานี้กำลังไปประกาศอยู่ที่ลอนดอน ที่เรียกว่าประเทศอังกฤษ นี้มา นำเอาธรรมวัดปากน้ำไปประกาศ เหมือนอาจารย์ที่ไปสอนอยู่วัดจันทร์ปะขาวนั่นแหละ ไปประกาศธรรมอย่างนั้นแหละ เวลานี้ไปประกาศอยู่ประเทศ อังกฤษโน่น ต่อแต่นี้ไม่ช้า เท่าใด จะส่งไปญี่ปุ่นอีกองค์หนึ่ง มีวิชชาแบบเดียวกัน จะส่งไปญี่ปุ่นอีกองค์หนึ่ง ให้ประกาศ พุทธศาสนาแบบเดียวกัน ในประเทศไทยนี่มากองค์ บ้านของใครจะประกาศอย่างไร ให้ ประกาศออกไป อย่านิ่งเสีย อุตส่าห์เอาใจใส่พระพุทธศาสนา เมื่ออยู่วัดไหนจะได้รุ่งโรจน์ โชตนาการ พวกชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย อุบาสกอุบาสิกาจะได้รู้จักพุทธศาสนาจริง
    วันนี้จะแสดงพระพุทธศาสนาจริงๆ ให้ฟังเสียก่อน เพราะว่าเราเป็นคนครองเรือน เป็นอุบาสกก็ดี เป็นอุบาสิกาก็ดี มีกิจการมาก ด้วยสวนบ้าง ด้วยนาบ้าง ด้วยค้าขายบ้าง ให้รู้ว่าความจริงของพุทธศาสนาคืออะไร พระองค์ทรงรับสั่งด้วยพระองค์เองว่า อุกาส โย ปน ภิกฺขุ ธมฺนานุธมฺมปฏิปนฺโน วิหรติ สามีจิปฏิปนฺโน อนุธมฺมจารี โส ตถาคตํ สกฺกโรติ ครุกโรติ มาเนติ ปูเชติ ปรมาย ปูชาย ปฏิปตฺติปูชาย นี่พระองค์ทรงรับสั่งด้วยโอษฐ์ของ พระองค์เอง ขอโอกาส ภิกษุรูปใดปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติ ตามธรรมเป็นปกติ อันว่าภิกษุรูปนั้น ชื่อว่าสักการะ ชื่อว่าเคารพ ชื่อว่านับถือ ชื่อว่าบูชา ซึ่ง เราผู้ตถาคต ด้วยปฏิบัติบูชาเป็นอย่างยิ่ง ความจริงท่านวางตำราไว้อย่างนี้ เรียกว่า มีมาใน โอวาทปาฏิโมกข์ ย่นสกลพุทธศาสนาวางเป็นตำราไว้
    ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นฆราวาสเขาเรียกว่า ฆราวาสธรรม ปฏิบัติธรรมของตนให้แน่นอนอย่าให้คลาดเคลื่อน เรียกว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน เริ่มต้น ทีเดียว ต้อง ปฏิบัติอยู่ในกุศลกรรมบถ 10 ประการ ทอดทิ้งอกุศลกรรมบถ 10 ประการ ละอกุศลกรรมบถ 10 ประการ ประกอบกุศลกรรมบถ 10 ประการ ให้เกิดมีกายบริสุทธิ์ 3 เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์สมบัติของผู้อื่น เว้นขาดจากการประพฤติ ผิดในกามทั้งหลาย
    เว้นจากวจีกรรม 4 เว้นจากการพูดปด ไม่จริง หลอกลวงต่างๆ เว้นจากกล่าวคำ ส่อเสียดให้เขาแตกร้าวจากกัน ให้สมัครสมานอยู่ ให้มีกับตน เว้นจากกล่าวคำหยาบช้าทารุณ ด่าชาติ ด่าตระกูล เว้นจากกล่าวคำเหลวไหลปราศจากประโยชน์ หาหลักฐานไม่ได้ ไม่มีเหตุผล กล่าวเลอะเทอะๆ อย่างนี้ นี่เรียกว่า วจีกรรมบริสุทธิ์
    เว้นจากโลภอยากได้ของเขา เว้นจากพยาบาทร้ายเขา เว้นจากเห็นผิดจากคลองธรรม ได้ชื่อว่า ใจบริสุทธิ์
    กายบริสุทธิ์ 3 วาจาบริสุทธิ์ 4 ใจบริสุทธิ์ 3 รวมเป็นบริสุทธิ์ 10 เรียกว่า กุศลกรรมบถ 10 ประการ ตัวเองบริสุทธิ์ดังนี้แล้ว ตั้งใจให้แน่วแน่ เรียกว่าธรรมานุธรรมปฏิบัติ ชวนบุคคลผู้อื่นให้บริสุทธิ์เหมือนกับตนเองบริสุทธิ์ 10 อย่าง ชักชวนบุคคลผู้อื่นให้ บริสุทธิ์ 10 อย่างเหมือนกันบ้าง ชักชวนบุคคลผู้อื่นอีก 10 เป็น 20 ล่ะ ยินดีพวกบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ เช่นนั้น อีก 10 นั้นแหละ เป็น 30 สรรเสริญพวกบริสุทธิ์ด้วย กาย วาจา ใจ เช่นนั้น เป็น 40 นี่เขาเรียกว่ากุศลกรรมบถ วิภาค แยกออกจาก 10 ไปเป็น 20-30-40 ให้แน่นอนอย่าให้คลาดเคลื่อนเชียว นี่เขาเรียกว่า ฆราวาสธรรม ธรรมของฆราวาส ให้แน่นอนอย่างนี้นะ หญิงก็เป็นหญิงที่ดี ชายก็เป็นชายที่ดี ถ้าปกครองเรือนละก้อ เป็น ตัวอย่างได้ทีเดียว ลูกเกิดมาข้างหลัง พ่อแม่ประพฤติได้ดังนี้ เป็นตัวอย่างอันดีของลูกหญิง ลูกชาย ได้ชื่อว่าให้สมบัติแก่ลูกจริงๆ ประพฤติตัวให้เป็นตัวอย่างแก่ลูกหญิงลูกชายจริงๆ
    ถ้าประพฤติเลวตรงกันข้าม ทั้ง 20-30 นี้ละก็ เป็นตัวอย่างเสียหายของลูกหญิง ลูกชาย ถ้าลูกหญิงลูกชายเห็นแม่พ่อประพฤติชั่วช้าเช่นนั้นแล้ว ก็เอาอย่างพ่อแม่ ก็กลายเป็น คนเสียตามกันไป ถ้าว่าประพฤติเช่นนี้ ตระกูลนั้นจะเหลวไหลตามกัน เพราะต้นตระกูล ไม่เป็นหลัก พ่อแม่ไม่เป็นหลัก พ่อแม่ต้องประพฤติเป็นหลักเข้าไว้ นี่เรียกว่า มนุษยธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ถ้าว่า 10 อย่างนี้ไม่บริสุทธิ์ละก้อ จะเป็นมนุษย์กับเขาไม่ได้ ต่อไป ในภายหน้าเป็นมนุษย์ไม่ได้ เป็นเปรตบ้าง อสุรกายบ้าง สัตว์เดรัจฉานบ้าง สัตว์นรกบ้าง ต้องเป็นลงไปอย่างโน้น ถ้าว่าบริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ ไม่มีร่องรอยเสียเลยละก้อ เป็นมนุษย์ ได้แท้ๆ ไม่ต้องไปสงสัยหละ แตกกายจากมนุษย์ ก็ไปเป็นมนุษย์อีกต่อไป เขาเรียกว่า ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ เมื่อประพฤติถูกส่วนของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว อายตนะ มนุษย์ก็ดึงดูด ดึงดูดอย่างไรล่ะ เขาก็เคยกันแล้วเรียกว่าอายตนะดึงดูด เรานอนเฉยๆ อยู่ใน มุ้งในม่านนั้นแหละ พอประกอบธาตุธรรมถูกส่วน ดึงดูดมนุษย์เข้ามาในท้องได้ นั้นแหละ ดึงดูดจริงๆ อย่างนี้ ที่จะไปเข้าท้องมนุษย์นั่น ต้องบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ จึงเข้าไปได้ ถ้าไม่ บริสุทธิ์ด้วยกาย วาจา ใจ อายตนะไม่ยอมดึงดูด ดูดแล้วก็เลยไปเสีย ถ้าบริสุทธิ์ไม่ได้ ก็ไปไม่ได้ เหมือนอะไร เหมือนแม่เหล็กกับลูกเหล็กที่มันดึงดูดกัน ถ้าลูกเหล็กมันโตกว่าละ ดึงดูดไม่ได้ เข้าไม่ได้ เหล็กมันเล็กกว่าก็ดึงดูดได้ละซิ มันถูกส่วนเข้ามันก็ดึงดูดได้ มันโต กว่าหรือหนักกว่า ก็ไม่ถูกส่วน เหตุนี้เมื่อบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ แล้ว ก็ถูกส่วน ส่วนของ อายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะของมนุษย์ดึงดูดกายก็เกิดมาเป็นมนุษย์ ถ้าว่าต่ำกว่า มนุษย์ลงไป ไม่บริสุทธิ์ดังกล่าวแล้ว อายตนะเปรตดึงดูด อายตนะอสุรกายดึงดูด อายตนะ สัตว์เดรัจฉานดึงดูด เขาโจษกันออกลั่นโลกไป มนุษย์ไปเกิดในท้องหมา มนุษย์แท้ๆ ออก มาเป็นมนุษย์ ตัวเท่าๆ ลูกมะนาวได้ ตัวก็สัก 7 นิ้วฟุต ตัวขนาดนั้น วัดตัวโดยรอบก็ ประมาณราวๆ ไม่กี่นิ้วนัก เป็นมนุษย์จริงๆ ออกมาหายใจได้ 20 นาทีแล้วก็ตายไป นี่เห็น แล้วว่า อ้อ! ไอ้ทำผิดไปเกิดเป็นมนุษย์ มันไม่เกิดในมนุษย์ ไปเกิดในสุนัขเสียได้ ว่าไอ้สุนัข ต่างหาก มนุษย์ต่างหาก มนุษย์แท้ๆ ไปเกิดเป็นสุนัขได้ นี่ให้เป็นตัวอย่างเทียว อ้อ! ไอ้นี่ ไปเกิดในมนุษย์ไม่ได้ เพราะทำผิดจากมนุษย์ก็ไม่เกิดเป็นมนุษย์ เหตุนี้นี่ขั้นต้นเทียว เราเป็น มนุษย์นะ อยู่ได้ ครอบครองบ้านเรือนมีสามีภรรยา มีบุตรและธิดารวมกันอยู่เช่นนี้นะ ต้อง รู้จักหลักอันนี้ ธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ให้บริสุทธิ์เทียวนะ
    ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่ สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบ ยิ่งๆ ขึ้นไป สามีนั่นเขาแปลว่า เจ้านะ สามิโก แขกแปลว่า เจ้า เจ้าคืออะไร ก็คือเจ้าของ เมียนะซิ จะทำอะไรตามชอบใจของมัน เมียมันก็ต่ำกว่ามัน สามีมันก็เป็นเจ้าบ้าน เป็น เจ้าบ้านนั่นแหละ เรียกว่า สามิโก แปลว่าเจ้า เจ้านั่นมันจะฆ่าก็ได้ มันจะทำอะไรก็ได้ ทำมันไม่ได้สักอย่างหนึ่ง แพ้มันทุกอย่าง นั่นแหละเขาเรียกว่าเจ้า เจ้าในความบริสุทธิ์ สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติเป็นเจ้าในความบริสุทธิ์ จะมาแก้ไขทำอย่างไรอย่างหนึ่ง ตัดหัว ขั้วแห้งเสียไม่ได้ ข้าไม่ยอมเด็ดขาดทีเดียว รักษาความบริสุทธิ์นั้นเสมอๆ ไป ประพฤติ บริสุทธิ์อยู่ในศีล 20 อย่าง 30 อย่าง ดังกล่าวแล้วนั้น เป็นเจ้าทีเดียว ประพฤติอย่างนี้ เรียกว่า สามีจิปฏิปนฺโน
    อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรม ตามจริงของธรรม อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรม บริสุทธิ์จริงด้วยกาย บริสุทธิ์จริงด้วยวาจา บริสุทธิ์จริงด้วยใจ รักษาความจริงไม่ให้คลาด เคลื่อนไปจากความจริง นี่เรียกว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรมจริงอย่างนั้นเป็นปกติ การครองเรือนต้องสิบอย่างนี้ ไม่ให้คลาดเคลื่อนนะ ต้องให้เข้าใจเสียทั้งสิบข้อ ไม่ฆ่าสัตว์ เหตุผลเป็นอย่างไรที่ไม่ฆ่าสัตว์ เอาอะไรละที่จะรับประทานเข้าไป เออ! ไม่ฆ่าสัตว์ สัตว์ ที่ฆ่าตายๆ มีถมไป แล้วก็หาที่เขาฆ่าตาย สดไม่มีหาแห้งไปก่อน หาสดได้ที่ตายก็เอาอย่าง นี้ซิ ฉลาดอย่างนี้ซิ เสียทรัพย์แล้วไม่ให้เสียศีล ถ้าว่าไปซื้อเอาเป็นๆ มาบริโภค เอาไปฆ่าเอง แล้วก็เสียทรัพย์ด้วย เสียศีลด้วย มันโง่อย่างนี้จึงเอาตัวรอดไม่ได้ ไม่ให้เสียศีล รักษาศีลไว้ให้ มั่น ทรัพย์เสียไปไม่ว่า ผู้เทศน์นี่เองจะจับเงินจับทองไม่ได้ ผู้เทศน์ตั้งใจบวชจริงนี่ ไม่ได้เชียว แหละ จับเข้าแล้วเสียศีล นี่เสียผู้เสียคนทีเดียว เสียพระเสียเณรเชียวแหละ ไม่ได้ ถ้าหากว่า จะไปไหนละก้อ เสียค่ารถค่าเรือ เสียเท่าไรก็ช่างมัน อย่าไปจับเอง เสียเท่าไรช่างมัน ให้เด็ก จับ ให้เด็กไปด้วย เสียเท่าไรช่างมัน ไม่ว่าหละ อย่าให้เสียศีล เสียทรัพย์ช่างมัน ให้ประพฤติ อย่างนี้ เราครองเรือนก็เหมือนกัน เสียทรัพย์เสียไป ศีลอย่าให้เสีย ต้องรักษาไว้ ศีลเป็นสิ่ง สร้างทรัพย์ เจ้าทรัพย์เสีย ถ้าว่ามีศีลละก้อ ได้ชื่อว่า เป็นคนดี คนบริสุทธิ์ แล้วเป็นเจ้าทรัพย์ ทรัพย์ดึงดูดในโลกให้มาหา ไม่ต้องเดือดร้อนอะไร ให้บริสุทธิ์จริงๆ อย่าบริสุทธิ์จอมปลอม ไม่ได้ บริสุทธิ์จอมปลอมเป็นอย่างไรล่ะ เหมือนอย่างกับพระ เป็นพระเป็นเณรอย่างนี้แหละ ต่อหน้าคนแล้วก็ไม่รับเชียวหละ พอลับหลังคนแล้ว เอาเงินมานับ นี่แน่ อย่างนี้แหละมันจอม ปลอม อย่างนี้แล้วไม่ได้ ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโกอย่างนี้ก็ไม่ได้เชียว โกงอย่างนี้มันไม่ ศักดิ์สิทธิ์ ต้องต่อหน้า ลับหลังเหมือนกันหมด จึงจะปรากฏว่าเป็นผู้ที่บริสุทธิ์ เป็นผู้ที่ ศักดิ์สิทธิ์ อย่างนั้นจึงจะใช้ได้ ให้แน่นอนอย่างนั้น เมื่อรักษาความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ ทั้ง 3 นี้แล้ว ก็เรียกว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติธรรมตามสมควร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเช่นนี้แล้ว นี่ส่วนฆราวาสอยู่ครองเรือน เป็นภิกษุ สามเณรออกจากการครองเรือนแล้ว ต้องประพฤติอยู่มากกว่า ฆราวาสออกจากการครอง เรือนชั่ววัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ออกจากการครองเรือน พอมารักษาอุโบสถศีล ออกจากการ ครองเรือนมาเหมือนกัน เลิกการครองเรือนวันนั้น วันกับคืนหนึ่งเลิกเด็ดขาดทีเดียว ปฏิญาณ ตนแล้ว ถืออุโบสถนั้นออกจากการครองเรือนแล้ว เมื่อออกจากการครองเรือนต้องปฏิบัติศีล 8 ให้มั่นอยู่ในศีล 8 อย่าให้คลาดเคลื่อน อย่าจอมปลอมนะ จอมปลอมน่ะฆ่าตัวเองทั้งเป็น ทำไมว่าฆ่าตัวเองทั้งเป็นล่ะ จอมปลอมนะ ฆ่าตัวเองทั้งเป็นซิ ตัวเองจอมปลอมได้แล้ว ตัวเอง น่ะเสียคนทีเดียว ไว้ใจไม่ได้ ตัวเองไว้ใจตัวเองไม่ได้ ตัวเองนะ เสียคนทีเดียว ใครรู้ว่าเสีย คนละ มีใครเห็น ตัวเองละเห็น ตัวเองละรู้ นั่นแน่ตัวเองเห็นตัวเอง รู้ตัวเองก็โกงตัวเองอยู่ นั่นแหละ ไม่ไปไหนหละ ตัวเองก็ฆ่าตัวเองอยู่นั่นแหละ ทำไมฆ่าตัวเอง ก็รู้ว่าตัวฆ่าตัวเองอยู่ นั่นแหละ ก็ตัวขืนประพฤติชั่วอยู่นั่นแหละ ก็ลงโทษตัวเองให้ตกนรก ให้ได้รับความทุกข์ใน หน้าที่ ที่โทษจึงพึงบังเกิดต่อความบริสุทธิ์นั้นๆ อย่าโกงตัวเอง ถ้าว่าโกงตัวเองแล้ว ไม่มีใคร ไว้ใจแน่ ถึงไม่มีใครไว้ใจ ก็เมื่อไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดไว้ใจก็เพราะเหตุอะไรล่ะ เพราะตัวของตัวเองนี้ ให้แน่นอนอย่างนี้ ให้แน่นอนอย่างนี้ในศีล 8 ก็ต้องบริสุทธิ์จริง ศีลอุโบสถให้ตรงเป๋ง ถึง เวลาอุโบสถก็ไปรับอุโบสถ ให้ตรงต่อองค์ของศีล 8 นั้น อย่าให้คลาดเคลื่อน นั่นแหละได้ ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม
    เมื่อตรงชัดเช่นนั้นแล้ว ทั้งต่อหน้าและลับหลังอย่างนั้นเหมือนกัน ไม่คลาดเคลื่อน ทีเดียว แน่นอนในการละการครองเรือน เป็นได้ดังนี้แหละ ได้ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน
    สามีจิปฏิปนฺโน ล่ะ ศีล 8 อย่าให้คลาดเคลื่อนไม่ให้เหลวทีเดียว ใครจะบังคับบัญชา สักเท่าหนึ่งเท่าใด ก็บังคับไม่ได้เด็ดขาด ศีล 8 บริสุทธิ์เป๋ง ไม่มีใครเป็นใหญ่ ไม่มีใครอยู่ เหนืออำนาจได้ เรียกว่า สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบยิ่ง เป็นเจ้าของความบริสุทธิ์ของศีล 8 ได้ แล้ว และ อนุธมฺมจารี ปฏิบัติธรรมตามสมควร ความจริงของศีล 8 เป็นอย่างไร ประพฤติ ตามความจริงของศีล 8 นั้น ไม่ให้คลาดเคลื่อนไปได้ ดังนี้ชื่อว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติตาม สมควร ประพฤติตามความจริงของศีล 8 นั้นๆ นี่ผู้ละการครองเรือนของฆราวาสวิสัย เข้า มารักษาศีลในพระพุทธศาสนา คือ ศีล 5 และศีล 8 เป็นสามเณรรักษาศีล 10 อุบาสก อุบาสิกาก็รักษาศีล 10 ได้ ศีล 10 ก็เติมเข้าไปอีกข้อหนึ่ง เว้นจากการหยิบเงินและทอง นับเงินและทอง เก็บไว้ในมือของตน เว้นขาดในศีล 10 บริสุทธิ์ในศีล 10 ไม่คลาดเคลื่อน ให้ตรงต่อศีล 10 ทั้ง 10 สิกขาบท ไม่ได้คลาดเคลื่อนหละ ปฏิบัติดังนั้นนั่นแหละได้ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบยิ่ง ไม่มีใครจะ ทำให้คลาดเคลื่อนจากศีล 10 ได้ เป็นใหญ่เป็นเจ้าทีเดียว ปกครองศีล 10 ทีเดียว อนุธมฺมจารี ประพฤติธรรมตามสมควร ประพฤติตามร่องรอยของศีล 10 ไม่ให้คลาดเคลื่อนเหมือนกัน แบบเดียวกัน นี่เป็นชั้นๆ ขึ้นไปอย่างนี้ เมื่อได้หลักฐานตามจริง ตามวาระพระบาลีเช่นนี้แล้ว ตั้งใจให้แน่แน่ว
    ต่อแต่นี้ไปเมื่อเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา ศีลของภิกษุนะ เป็น อปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลบริสุทธิ์ไม่มีที่สุด ศีลของภิกษุไม่มีที่สุด ศีลของภิกษุ 227 สิกขาบท มาในพระ ปาฏิโมกข์ ใน วิสุทฺธิมรรค มาในพระไตรปิฎก ที่เรียกว่า วินัยปิฎกนี้ 21,000 พระธรรมขันธ์ เป็นสิกขาบทหลายข้อ ถ้าจะนับสิกขาบทภิกษุ ศีลไม่มีที่สุด เรียกว่า อปริยันตปาริสุทธิศีล ขึ้นสู่พระปาฏิโมกข์ชนิดเดียว 227 สิกขาบท ข้อสำคัญๆ ทั้งนั้น ที่ข้อลดหย่อน กว่านั้น ยังอยู่อีกมากมาย ไม่มีที่สุด
    เมื่อภิกษุจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ ในอปริยันตปาริสุทธิศีล ศีลไม่มีที่สุดเช่นนั้นจะรักษา อย่างไร ภิกษุต้องเป็นภิกษุจริงๆ ภิกษุ หมายถึง ผู้ศึกษา สีลมฺหิ สิกฺขติ ศึกษาในศีล จิตฺตมฺหิ สิกฺขติ ศึกษาในจิต ปญฺญาย สิกฺขติ ศึกษาในปัญญา อธิสีลมฺหิ อธิจิตฺตมฺหิ อธิปญฺญาย สิกฺขติ ศึกษาในศีล สมาธิ ปัญญา เข้าใจแล้วให้สูงขึ้นไปอีก ศึกษาในอธิศีล ศึกษาในอธิจิต ศึกษาในอธิปัญญา แล้วก็ค้นคว้าในศีล สมาธิ ปัญญา ให้เข้าใจ รู้จักหนทางไปของพระ พุทธเจ้าพระอรหันต์ ไปได้อย่างไร ไปแนวไหน ให้รู้จักชัดแน่นอน ในการศึกษาของตัวอย่าง นี้ เมื่อตั้งใจศึกษาอยู่เช่นนี้ละก็ ได้ชื่อว่าภิกษุนั้นเป็นผู้ที่มั่นแล้วในศีล สมาธิ ปัญญา ใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แล้วก็เอาใจไปจรดอยู่ในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องรักษาในศีล ไว้ให้มั่นคง อยู่ในสมาธิให้มั่นคง อยู่ในปัญญาให้มั่นคงไว้ จึงรวมในทางมรรคผลสืบต่อไป นั้น ดั้งนี้ได้ชื่อว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม จะให้ตรงแน่วล่ะ จาก การปฏิบัติของตนนั้น มนุษย์มาฆ่าเสียก็ฆ่าไปเถอะ เป็นไม่ยอมกันเด็ดขาดเชียว เรียกว่า สามีจิปฏิปนฺโน ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติเป็นเจ้าในข้อปฏิบัติของตนนั้น อนุธมฺมจารี ประพฤติ ธรรมตามสมควร ประพฤติตนตามแนวปฏิบัติของตน ไม่ให้คลาดเคลื่อนนั้นได้ชื่อว่า ประพฤติตามธรรมที่ให้ถึงที่สุดแล้ว ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ตามส่วนนี้นะ นี่เป็น ภายนอก
    ภายใน เรียกว่าเป็น ทางปฏิบัติ อันลึกซึ้ง ศีล 5 ความบริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์วาจา บริสุทธิ์ใจ บริสุทธิ์กายอยู่ที่ไหน บริสุทธิ์วาจาอยู่ที่ไหน บริสุทธิ์ใจอยู่ที่ไหน
    บริสุทธิ์กาย ลมก็หยุด ลมหยุดเสีย เรียกว่า บริสุทธิ์กาย ลมหยุด ลมนั้นแหละ ปรนปรือใจให้เป็นอยู่ ลมหายใจเข้าออกปรนปรือกายให้เป็นอยู่ ลมหยุดกึกในเวลาไรเวลานั้น เรียกว่า กายบริสุทธิ์แล้ว กายสังขารบริสุทธิ์แล้ว
    ความตรึกตรองที่จะพูด หยุดอีกเหมือนกัน ความตรึกตรองที่จะพูด หยุดอีกเหมือน กัน พอหยุดเวลาไร เวลานั้นเรียกว่า วจีสังขารบริสุทธิ์แล้ว
    หยุดเข้านะอย่าให้เคลื่อนที่ ความรู้สึกสุขทุกข์อยู่ในตัวนั้นแหละ จะรู้สึกว่ามันหยุด อีก กาย วาจา ใจ หยุดดุจเดียวกัน พอใจหยุดกึกลงไปในขณะใด ขณะนั้นเรียกว่า จิตสังขาร ระงับแล้ว นั้นเป็นจิตบริสุทธิ์แล้ว
    กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์ ยังมืดตื้ออยู่นั้น บริสุทธิ์ของสามัญสัตว์ไม่ใช่ บริสุทธิ์วิเศษ บริสุทธิ์วิเศษ สว่างโล่ง ยิ่งกว่ากลางวัน เห็นชัด ความหยุดกาย ลมหยุด ความ ตรึกตรองหยุด ใจหยุด เห็นทีเดียว สว่างแจ่มแจ้ง เห็นดวงเท่านั้นเท่าที่ปรากฏทีเดียว เห็นชัด อย่างนี้ เรียกว่าการปฏิบัติสูงขึ้นไปกว่าดังกล่าวแล้ว ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ เมื่อบริสุทธิ์ เช่นนี้แล้ว มีอีกชั้นหนึ่ง เลื่อนขึ้นกว่านี้ นี่ชั้นสามัญ บริสุทธิ์ขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง
    พอใจหยุดแล้วเป็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ผุดขึ้นที่หยุดนั่น นั้นแหละ พอเห็น ดวงนั้นเท่านั้น อ้อ! นี่เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์อย่างนี้หรือ ใจก็หยุดอยู่กลาง ดวงทีเดียว ใจหยุดอยู่กลางนั้น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ผุดขึ้นอีกดวงหนึ่ง พอผุดขึ้นอีก ดวงหนึ่ง ก็โผล่สอง นี่อริยมรรค ทางไปของพระพุทธเจ้าของพระอรหันต์อย่างนี้เอง เห็น ดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เท่ากัน ดวงก่อนเห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานดวงหนึ่ง กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน นั้นแหละ เห็น ดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วน เข้า เห็นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั้น พอถูกส่วนเข้า ก็ผุดขึ้น อีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ผุดขึ้นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ผุดขึ้นอีกดวงหนึ่ง เรียกว่า ดวง วิมุตติญาณทัสสนะ
    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายตัวเอง ที่ไปเกิดมาเกิด ที่นอนฝันออกไป เห็นชัดทีเดียว นี้ทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ เคยแสดงให้ฟังแล้วนะ ทางนี้ทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ เป็นทางลึกซึ้งนัก เมื่อเข้าใจชัด เช่นนั้น จะพึงรู้ต่อข้อปฏิบัติว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรม นี้ สมควรตลอด จะชี้แจงแสดงให้ไปตลอดยิ่งขึ้นไปกว่านี้ ให้ยาวเป็นลำดับไปนะ เวลาของท่าน ทั้งหลายไม่พอจะมีโอกาสที่จะฟังต่อไป
    เพราะฉะนั้นการที่อยากฟังในเรื่องผ้าป่าอีก ในเรื่องถวายไตรจีวรอีก ในเรื่องบำเพ็ญ กองการกุศลอีก ตามบาลีได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้น อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา เอตํ วิเสสโต ญตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา นี้อีก ลึกซึ้งนัก ธรรมวินัยของพระศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก ตรัสเทศนาโปรด พุทธเวไนย นานถึง 45 ปี ใน 45 ปี ตรัสเทศนาไว้ 84,000 พระธรรมขันธ์ ย่อลงเป็น พระวินัยปิฎก 21,000 พระธรรมขันธ์ ย่นลงเป็นพระสุตตันตปิฎก 21,000 พระธรรมขันธ์ ย่นลงเป็น พระปรมัตถปิฎก 42,000 พระธรรมขันธ์ รวมเป็น 84,000 พระธรรมขันธ์ ใน 84,000 พระธรรมขันธ์นี้แหละ มีความไม่ประมาทเป็นยอด ไม่ประมาทอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ประมาทในอะไร ถ้ารวมเข้าก็ ไม่ประมาทในศีล นี้ ศีลรู้ หรือศีลเห็น หรือศีลหยุด อะไร ก็ตามใจเถอะ ไม่ประมาทในศีลนั้นแหละ แล้วก็ไม่ประมาทในสมาธิ นั้นแหละ ไม่ประมาท ในปัญญา นั้นแหละ ไม่ประมาทนั่นเป็นอย่างไรละ อยู่กับศีลเสมอ ไม่พลั้งเผลอกาย วาจา ใจ อยู่กับศีลเสมอ ไม่พลั้งเผลอ ตลอดจนกระทั่ง เห็นดวงศีล เมื่อหยุดอยู่กลางดวงศีลนี้อย่าง ชนิดนี้เรียกว่า อปฺปมาโท อมตํ ปทํ นี่แหละจะไปนิพพานต้องไปอย่างนี้ แน่นอน ต้องไปอย่าง นี้ ไม่ให้คลาดเคลื่อน นี่จะไปนิพพานกันหละ ถ้าจะแสดงขยายเวลาให้มากไปกว่านี้อีกนิดหนึ่ง ถึงนิพพานทีเดียว ไปนิพพานต้องไปท่านี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    เมื่อรู้จักหลัก ความไม่ประมาท ไม่ประมาทในศีลตลอดจนกระทั่งเห็นศีล ไม่ประมาท ในศีลรู้ ไม่ประมาทในศีลจำ ไม่ประมาทในศีลเห็น เห็นก็ไม่ประมาท เห็นอยู่ร่ำไป ไม่เผลอ กันหละ นี้เรียกว่า อปฺปมาโท อมตํ ปทํ เห็นหนทางของพระนิพพานจริงๆ เป็นเนื้อความ ไปนิพพานจริงๆ นั่น ไปอย่างไร เมื่อไม่ประมาทในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ แล้ว จะบรรลุเป็นลำดับขึ้นไป ไปถึงนิพพาน อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาทเป็นหน ทางไม่ตาย ไม่ตายนั่นเป็นอย่างไร แค่ไหนที่จะไม่ตาย ก็ต้องเป็นชั้นๆ ขึ้นไป
    พอหมดกายมนุษย์ ไปถึง กายมนุษย์ละเอียด พอสุดกายมนุษย์ละเอียด ในกลาง กายมนุษย์ละเอียด มี กายทิพย์ ในกลางกายทิพย์ มี กายทิพย์ละเอียด ในกลางกายทิพย์ ละเอียด มี กายรูปพรหม ในกลางกายรูปพรหม มี กายรูปพรหมละเอียด ในกลางกาย รูปพรหมละเอียด มี กายอรูปพรหม ในกลางกายอรูปพรหม มี กายอรูปพรหมละเอียด แปดกายมีอยู่ในภพทั้งนั้น นี่อยู่ในภพทั้งนั้น ยังไปนิพพานไม่ได้
    เข้าไปในกลางกายละเอียดของกายละเอียดของกายอรูปพรหมอีก เข้าไปถึงกลาง กายอรูปพรหมละเอียด มี กายธรรม เท่านั้น พอถึงกายธรรมเท่านั้น รูปพระพุทธปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม บริสุทธิ์ ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า กายที่ 9 ของตัวเอง มีทุกคน ชาย ก็มี หญิงก็มี เหมือนกันทุกคน แบบเดียวกัน ไปถึงกายนั่นนะ เป็นตัวอมตะทีเดียว อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ทีเดียว เห็นนิพพานได้ทีเดียว ไม่ใช่กายเดียวนะ กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายธรรมโสดา-กายธรรมโสดาละเอียด, กายธรรมสกทาคา-กายธรรมสกทาคาละเอียด, กายธรรมอนาคา-กายธรรมอนาคาละเอียด, กายธรรมอรหัต-กายธรรมอรหัตละเอียด, ไปนิพพานได้เหมือนกันทุกกาย นี่ไปนิพพานได้อย่างนี้ เช่นนั้นเรียกว่า อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ประมาทเป็นหนทางไม่ตายนั่นแหละ กายธรรมนั่นแหละไม่ตาย ไปนิพพานได้ทีเดียว นี้ อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
    ปมาโท มจฺจุโน ปทํ ความประมาทเป็นหนทางแห่งความตาย เป็นหนทางตาย ไม่เข้า ถึงกายธรรมนั่นซิ ถ้าถึงแต่เพียงกายมนุษย์ก็ตาย ไม่ช้าเท่าไรก็ตาย อายุของมนุษย์เวลานู้น อายุขัยมันก็ร้อยปีเท่านั้น 75 ปีเศษๆ เท่านั้น ถึงกำหนดมันก็ตาย เขาเผากันออกกลุ้มนั่น อย่างไรเล่า ต้นตระกูลหนึ่งจะเหลือสักคนเดียวไม่มี คนเดียวไม่เหลือเลย ตายหมด อายุ 150 ไม่มีเลยสักคนเดียว ตายหมด ตายเกลี้ยง นี่แน่มันตายจริงอย่างนี้ เพราะอะไรเล่า เพราะประมาทนั้นซิ ความประมาทเลินเล่อเผลอตัวนั่นซิ จึงได้ตาย ปมาโท มจฺจุโน ปทํ นี่ ตายก็มัจจุ ก็ตัวตายหละ ความประมาทมีมากนัก ไม่ใช่พอดีพอร้าย ถ้าว่าประมาทแล้วตาย
    ประมาทในอะไร มนุษย์ประมาทในอะไร เพลินในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่น แหละประมาทหละ เลินเล่อเผลอตัว เข้าใจว่าเป็นของจริง เป็นของหลอกของลวงทั้งนั้น เรา เข้าใจว่าเป็นสุข เป็นทุกข์แท้ๆ เข้าใจว่าสุขอย่างไรนะ ถ้าว่าทุกข์แท้ๆ เขาก็ทิ้งกันหมดนะซิ นี่ตั้งบ้านกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน เป็นสุขเป็นทุกข์อย่างไรละ มันก็เป็นสุขแท้ๆ นี่ละสุขแท้ๆ ก็ ทนไปอีก นี่กิเลสหนาปัญญาหยาบนะ กิเลสบางปัญญาละเอียดละก้อ เห็นว่าเป็นทุกข์จริงๆ ทุกข์อย่างไรละ เห็นร้องไห้ ร้องครางไปตามๆ กันทีเดียวละ ก็ไม่ใช่ทุกข์หรือ นั่นนะ ร้องไห้ ร้องครวญไปตามๆ กัน ไปซิ บ้านหนึ่งหมู่หนึ่งเอามารวมกันเข้าซิ บ่นเรื่องสุขกันมากไหมละ ทุกข์กันทั้งนั้น ที่ไหนไม่มีสุขเลย ทุกข์ทั้งนั้นนั่นแหละ
    ทุกข์ด้วยอะไร ทุกข์ด้วยมันไม่เที่ยง มีแล้วหามีจริงไม่ เกิดแล้วดับไป นี่มันทุกข์อย่างนี้นะ ทุกข์ด้วยไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นจะเป็นของเราหรือ? เรียกไม่ได้ หาย ไปหมด แปรไปหมด มันจริงอย่างนี้ มันไม่เที่ยง กายมนุษย์ตายแล้ว ก็ออกเป็นกายมนุษย์ ละเอียดต่อไปอีกเหมือนกัน แต่ว่าตายช้าลงไปหน่อย ไปถึงกายทิพย์ ในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัสดี ก็ตายอีกเหมือนกัน หากไปถึงกายรูปพรหม เป็นไงละ ก็ตายอีกเหมือนกัน กายรูปพรหมละเอียดก็ตายอีกเหมือนกัน กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ทั้ง 8 กายทีเดียวล่ะ กายที่ 8 ทีเดียว ตายอีกเหมือนกัน กายอรูปพรหมอย่างที่สุด อย่างน้อยที่สุดก็ 84,000 มหากัป ไปอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะ 84,000 พันมหากัป ก็ต้องกลับมาเกิดอีก แล้วก็ไปตายไปเกิด อยู่อย่างนี้หละ ไม่มีที่สุดที่แล้ว
    นี่พวกเหล่านี้ประมาท ประมาทอย่างไร ในมนุษย์ก็ประมาทในเรื่องเบญจพิธกามคุณ ธรรม 5 ประการที่ทำให้สัตว์เนิ่นช้า รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส 5 อย่างนี้แหละหลอกลวง สัตว์โลกให้ลุ่มหลง กลับหน้ากลับหลัง ไม่รู้จักพ่อ ไม่รู้จักแม่ ไม่รู้จักบิดามารดา ไม่รู้จักพระ ไม่รู้จักเณร ไม่รู้จักทั้งนั้น ไอ้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มาปลุกปั่นใจ มัวเมาอยู่ในความ ยินดีความประมาทเหล่านั้น ท่านยืนยันว่า ปปญฺจาภิรตา หมู่สัตว์ยินดียิ่งในธรรมเนิ่นช้า ยินดี ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ของที่หลอกลวงหลอนๆ เหล่านี้แหละ นี่เรียกว่ากามภพ รูปภพ ก็อีกเหมือนกันนั่นแหละ ยินดีในรูปฌาน ถอนจากรูปฌานไม่ได้ ตกปลักรูปฌาน ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ถอนไม่ออก ติดอยู่ในรูปฌานนั้น แตกกายทำลายขันธ์ ไป เกิดเป็นพรหม ก็ยินดีของความปรารถนาของความอยากในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ก็ได้ชื่อว่าประมาท ตายอีกเหมือนกัน ไม่รอดแม้ไปเกิดในอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ถอนใจ ไม่ออกจากอรูปฌานอีกเหมือนกัน แตกกายทำลายขันธ์ไป ไม่พ้นจากความตายไป เมื่อแตก กายทำลายขันธ์ไม่พ้นจากความตายอีก นี่ก็ได้ชื่อว่า เอาตัวรอดไม่ได้ ออกจากภพไม่ได้ นี่ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ เป็นหนทางตายอย่างนี้
    เมื่อรู้สึกว่าเป็นหนทางตายอย่างนี้แล้ว เมื่อรู้จักแน่ รู้จักแน่นแฟ้นเช่นนี้แล้ว ก็กลับ ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ เสียใหม่ ว่าจะเอาอย่างไรกัน ตั้งแต่เกิดมาจนบัดนี้ ได้อะไรบ้าง มีอะไรบ้างในตัวเอง มีไหม ถ้าไม่มีไม่เห็น ต้องอุตส่าห์พยายามให้มีให้เห็น ให้เห็น ปรากฏ เหมือนเจ้าภาพวันนี้ที่มาบริจาคทานเช่นนี้ เรียกว่า อปฺปมาโท อมตํ ปทํ ความไม่ ประมาทเป็นหนทางไม่ตาย มาบริจาคทาน เรามาสละกังวลห่วงใยน้อยใหญ่ พัสดุ วัตถุกาม สละความตระหนี่เหนียวแน่นในใจออก บริจาคทาน นำไทยธรรมวัตถุมาบริจาคแก่พระ ภิกษุสามเณรในพระอารามวัดปากน้ำ คือมาทอดผ้าป่า การทอดผ้าป่าเป็นประเพณีของ พระพุทธศาสนา
    พระบรมศาสดาเมื่อมีพระชนม์อยู่ พระองค์เองกำลังมีพระชนม์อยู่นั้น มีพระอนุรุทธเถรเจ้า มากราบลาพระองค์ เมื่อออกพรรษาแล้วจะไปแสวงหาผ้าบังสุกุล พระองค์ก็ ทรงอนุญาตแก่พระอนุรุทธ พระอนุรุทธลาไปแสวงหาผ้าบังสุกุล นางเทพธิดาอยู่ในดาวดึงส์ เทวโลกเห็นด้วยทิพยเนตร เห็นด้วยตาทิพย์ว่า พระอนุรุทธเถรเจ้าแสวงหาผ้าบังสุกุล เราเคยเป็นปุราณทุติยิกา เคยเป็นภรรยาพระอนุรุทธอยู่แต่ชาติก่อนโน้น เราสมควรจะ สงเคราะห์พระอนุเคราะห์พระผู้เป็นเจ้าหรือไม่ ส่องทิพยเนตรก็เห็นชัดว่าสมควรจะสงเคราะห์ แล้วก็ไปหยิบเอาผ้าทิพย์ที่มีเนื้อละเอียด เป็นผ้าทิพย์ที่สมควรแก่มนุษย์จะใช้ได้ หยิบเอา ผ้าผืนใหญ่ที่จะเอามาทำเป็นไตรจีวรได้ เป็นสังฆาฏิก็ได้ ทำเป็นจีวรได้ ทำเป็นสบงก็ได้ ตามความปรารถนา เอามาสงเคราะห์อนุเคราะห์พระอนุรุทธ เอามาคล้องไว้ที่ค่าคบในป่า ทึบ แล้วแสดงเทวฤทธิ์เบิกหนทางให้เป็นช่องไป เหมือนทางเกวียนเป็นช่องเดินเข้าไปได้ ในที่สุดในค่าคบประดู่ มีผ้าขาวผืนหนึ่งคล้องไว้แขวนไว้แล้ว ก็หนทางที่พระผู้เป็นเจ้า จะแสวงหาผ้าไตรจีวรนะ นี่ก็มานึกถึงว่าจำเพาะจะเดินไปทางนั้นเพราะอะไร พระอรหันต์ ถ้าท่านจะต้องการอะไรจริงละก้อ ท่านมีญาณ ท่านมองดูด้วยญาณ ท่านก็เห็นช่องว่างว่า ท่านจะไปที่ไหนเห็นได้หมด เห็นปรากฏเชียว ผ้าบังสุกุลจะไปตกเรี่ยเสียหายอยู่ที่ไหนๆ มันจะเป็นอะไร ท่านเห็นหมด
    แต่ในเรื่องนี้ ทางศาสนาก็มี ที่พูดกันก็มี ที่เห็นๆ อยู่อย่างนี้ก็มี ท่านคงจะมีนัยรู้ อยู่ ท่านจึงเดินไปถูก แต่ว่าในตำนานเขาว่าเป็นช่องไว้ เบิกหนทางไว้ให้เป็นช่องเข้าไปพอ พระผู้เป็นเจ้าเดินไปได้ พระอนุรุทธลงทางนั้นแล้วก็เดินไป เดินไปตามทางที่เขาทำไว้เป็น ช่องนั้น พอไปสุดช่องนั้น ก็ไปเห็นชายผ้าที่ค่าคบต้นประดู่ เอ๊ะ! นี่ใครมาคล้องไว้นี่ ใหม่เอี่ยมเชียว ของใครก็ไม่รู้ ก็นึกแต่ในใจว่าของมีเจ้าของหรือไม่มีเจ้าของ เอ้า! ก็ไป มองๆ แล้วก็ดูรอบๆ ต้นไม้ ก็ไม่เห็นมีเจ้าของที่ไหน ให้กระแอมกระไอก็ไม่มีเจ้าของที่ไหน มาปรากฏ เห็นจะไม่มีเจ้าของแน่ละนะ คิดแต่ในใจว่า เปล่งวาจาว่า อิทํ วตฺถํ ปํสุกูลจีวรํ อสฺสามิกํ มยฺหํ ปาปุณาติ ว่าผ้าอันนี้หาเจ้าของไม่มีเลย เป็นผ้าที่แปดเปื้อนอยู่ด้วยฝุ่น อ้ายที่ ฝนตกถูกมันไคลมันดำๆ แปดเปื้อนเถ้าไคลอยู่อย่างนี้ เป็นของไม่สะอาด ของไม่สะอาดมา แปดเปื้อนกับของไม่สะอาด เรียกว่า ปํสุกูลจีวรํ มยฺหํ ปาปุณาติ ถึงแก่เรา เป็นของเราบัดนี้ แล้ว ไม่มีเจ้าของแล้ว เป็นของเราแน่ พอนึกเช่นนั้นก็เอื้อมมือไปจับผ้าแล้วว่า อิทํ วตฺถํ ปํสุกูลจีวรํ อสฺสามิกํ มยฺหํ ปาปุณาติ อย่างนี้แหละ เหมือนพระภิกษุไปชักผ้าป่าชักอย่างนี้ แหละ แบบเดียวกันนี้แหละ แบบเดียวกันอย่างนี้แหละ ต้องพิจารณาว่าผ้าป่านี้เขาทอดธุระ เขาทิ้งแล้ว ไม่มีเจ้าของแล้ว ปล่อยธุระกันแล้ว ก็เปล่งอุทานวาจาดังนั้นว่า ผ้านี้ อิทํ วตฺถํ ผ้านี้ อสฺสามิกํ เขาทอดธุระหมดแล้ว เป็นของเกลือกกลั้วด้วยฝุ่นฝอย อยู่ในที่ไม่สะอาด เอาใบไม้มาลาดไว้ เอาไปคล้องไว้ที่ค่าคบไม้ เป็นของไม่สะอาด มยฺหํ ปาปุณาติ ถึงแก่เรา นี้ผ้าผืนเดียว ถ้าผ้าหลายผืนต้องใช้ อิมานิ วตฺถานิ ปํสุกูลจีวรานิ อสฺสามิกานิ มยฺหํ ปาปุณนฺติ กิริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์ ถ้าว่าประธานเป็นพหูพจน์แล้วก้อ กิริยาก็ต้องเป็น พหูพจน์ ถ้าว่าประธานเป็นเอกพจน์แล้ว กิริยาจะต้องเป็นเอกพจน์ด้วย นี่ภาษาเรียนเขา ภาษาเรียนบาลีเขา เอกพจน์นะ แปลว่า ของสิ่งเดียว เป็นเอกพจน์แปลว่าของสิ่งเดียว ถ้าพหูพจน์ของหลายสิ่ง ผ้าก็มีผ้าหลายผืน ให้เปล่งวาจาอย่างนี้ อิมานิ วตฺถานิ ปํสุกูลจีวรานิ อสฺสามิกานิ มยฺหํ ปาปุณนฺติ พิจารณาแบบเดียวกัน แล้วก็ไปหยิบเอาผ้านั้นมา พระอนุรุทธพอได้ผ่านมาแล้ว ท่านก็นำเอาผ้านั้นถวายพระบรมศาสดา
    พระองค์ทรงรับสั่งว่า ผ้านี้กรานเป็นกฐินได้ ชักผ้าป่ามาเดี๋ยวนั้นแหละ พระองค์ทรง รับสั่งว่ากรานเป็นกฐินได้ ก็ออกพรรษาไป ก็เลยเอาผ้านั้นกรานเป็นกฐินซะ เขาจึงว่าผ้าเป็น ต้นกฐิน นี่เพราะอ้ายตัวเดิมมันได้มาจากผ้าป่า มาถวายพระบรมศาสดา พระองค์ก็รับสั่ง ว่ากรานเป็นกฐินได้ เอามากรานเป็นกฐินเสีย ผ้าป่าเป็นต้นกฐิน กฐินเป็นผลของผ้าป่า นี่ เดิมเป็นมาอย่างนี้ เขาว่าผ้าป่าอานิสงส์มากกว่าต้นกฐิน เพราะเป็นต้นกฐิน เขาจะตัดสิน ว่ากระไรอย่างนั้น ผ้าป่าหรือกฐินก็ตามเถิด การทอดกฐินจำเพาะมีเวลาน้อยนะ ตั้งแต่ ปวารณาพรรษาแล้ว แรมค่ำ 1 เดือน 11 ตั้งแต่วันนั้นไปทีเดียว ถึงกลางเดือน 12 พอได้ อรุณวันที่ 15 ก็หมดกันเชียว 30 วัน ไม่ถึง 30 วัน กลางเดือนสิบสอง 29 วัน ขาดวัน หนึ่ง เดือน 11 เดือน ขาดวันพระ วัน 14 ค่ำนี้ ไม่ใช่ 15 ค่ำ 29 วันนะเป็นเขตของกฐิน กฐินนะมีเขตเมื่อทอดกฐินแล้ว ผ้าป่านั้นเป็นกรรมสิทธิ์ เป็นของพระอนุรุทธ เมื่อเป็นของ พระอนุรุทธ พระอนุรุทธสละขาดจากใจของพระอนุรุทธ ถวายพระบรมศาสดา เมื่อถวาย พระบรมศาสดาแล้ว ก็เป็นของพระบรมศาสดา เป็นของพระองค์แล้ว พระองค์ทรงรับสั่งว่า กรานกฐินได้ พระองค์เองเป็นผู้ทอดกฐินก่อนใคร เป็นผู้เริ่มต้นทอดกฐินก่อนทีเดียว นั่นได้ ชื่อว่าพระศาสดาทอดกฐินแล้ว ก็กรานเป็นกฐินขึ้น พระองค์ทรงวางตำรับตำราในเรื่องกฐิน
    ภิกษุหรือเจ้าอาวาส หรือว่าภิกษุองค์หนึ่งองค์ใด ได้อนุโมทนากฐิน กรานกฐินแล้ว พ้นจากอาบัติโทษ ทั้ง 5 สิกขาบทที่กล่าวถึงการพ้นจากอาบัติ โทษ 5 สิกขาบทนะอย่างไร อนามนตฺจาโร เที่ยวไปไม่บอกลา ถ้าว่าภิกษุไม่ได้อนุโมทนากฐิน เวลาวิกาลออกจากวัด ต้องบอกลาภิกษุมีในวัดก่อน ถ้าไม่ลาก่อนต้องอาบัติโทษ ต้องลาก่อน ไม่ลาไม่ได้ ถ้า อนุโมทนากฐินกรานกฐินแล้ว ไม่ต้องบอกลาก็ไปได้ คุ้มอาบัติสิกขาบทนี้ได้ คณโภชน์ ฉัน เป็นคณะได้ ตามปกติ ภิกษุฉันคณโภชน์ไม่ได้ ต้องอาบัติ เมื่ออนุโมทนากฐินกรานกฐินแล้ว ฉันคณโภชน์ได้ ไม่เป็นอาบัติ ตีจีวรวิปฺปวาโส อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ตามปกติ ภิกษุอยู่ ปราศจากไตรจีวรไม่ได้ อนุโมทนากฐินแล้วกรานกฐินแล้ว จึงจากไตรจีวรได้ อติเรกจีวรํ เก็บอดิเรกจีวรได้ตามใจปรารถนา ตามปกติ ได้อดิเรกจีวรมาพินทุ ล่วง 10 วัน เป็นอาบัติ อนุโมทนากฐินกรานกฐินแล้ว ไม่ต้องอาบัติ อยู่ปราศจากไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่งได้ อติเรกลาภํ อดิเรกลาภ สงฺฆิกลาภํ สังฆิกลาภใดๆ เกิดขึ้นอาวาสนั้น ภิกษุได้อนุโมทนากฐินกราน กฐินแล้ว ก็ได้ส่วนแบ่งเต็มที่ ได้ส่วนแบ่งเต็มส่วน ไม่ได้อนุโมทนากฐินแล้ว กรานกฐินไม่ได้เลย 5 สิกขาบทนี้พ้นอาบัติได้ ส่วนถวายเป็นสงฆ์ เช่น ถวายเป็นกฐินนะ คุ้มอาบัติภิกษุได้ทั้งวัด กี่ร้อยคุ้มได้หมด นี่เป็นอานิสงส์พิเศษออกไปอีก ถ้าว่าผ้าถวายเป็นสงฆ์ ผ้าป่าก็เป็นสังฆทาน กฐินก็เป็นสังฆทานเหมือนกัน แบบเดียวกัน ไม่มากน้อยกว่ากัน เพราะต้องมีอานิสงส์พิเศษ มากออกไปกว่านี้ ถ้าผ้าจะเป็นต้นกฐิน กฐินจะเป็นต้นผ้าป่านะ อันนั้นแล้วแต่เรื่องเถอะ เอากฐินเป็นต้นผ้าป่าบ้างก็ได้ พอได้ผ้ากฐินแล้ว สมควรที่ได้มาแล้ว ก็ไปทอดผ้าป่าได้ แบบ เดียวกัน ได้ผ้าป่ามาแล้ว เราจะมากรานเป็นกฐินบ้างก็ได้เหมือนกัน ไม่ขาดตกบกพร่อง เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่ว่าการทอดกฐินนั้นมีอานิสงส์มากกว่าการทอดผ้าป่า จะคุ้มอาบัติ ของภิกษุได้ 5 สิกขาบท ส่วนผ้าป่านั้นคุ้มโทษของสิกขาบท 5 นี้ไม่ได้ กฐินนั้นแหละเป็น แง่สำคัญกว่า ผ้าป่านั้นเป็นสังฆทานแบบเดียวกัน ที่ถวายเป็นผ้าป่านี้เป็นสังฆทานแท้ๆ ถวาย เป็นสังฆทานนั้นได้บุญกุศลยิ่งใหญ่นะ ไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ
    เหมือนพระแม่น้า ปชาบดีโคตมี หอบคู่ผ้ามาถวายพระบรมศาสดา ว่าเราได้พิทักษ์ รักษาตั้งแต่พระมารดาทิวงคตไปแล้ว 7 วัน เราได้เป็นมารดาแทนอยู่ แล้วก็เป็นพระน้านาง ของพระองค์ด้วย เราควรจะทำผ้าคู่หนึ่งไปถวายพระองค์ ผ้าที่สมควร ผ้าที่ประณีต พระนาง อุตส่าห์จ้างช่างทอมาตีกระถางทอง เป็นกระถางเข้ากระถางมากใบด้วยปลูกฝ้าย นางได้ อุตส่าห์พยายามแก้น้ำที่รดฝ้าย ปรุงให้ดี เพื่อจะให้ฝ้ายบริสุทธิ์มาแต่ต้น จนกระทั่งได้ผล เป็นปุยฝ้าย เก็บเอาฝ้ายนั้นมาปั่นเป็นผ้า ทำเป็นผ้าได้ พระน้านางทำด้วยมือของพระนาง ทั้งนั้น แต่ว่าทำอย่างไร เวลาเขาทอผ้าก็เอาจับ จับที่ขอบฟืมนั้นแหละกระทบที่ทำด้วยมือ ของพระนาง เมื่อทำอะไรไม่ใช่ทำนิดๆ หน่อยๆ พระเจ้าแผ่นดิน เมียพระเจ้ากรุงสิริสุทโธทนะ พระมเหสีนี่ทำอะไรนิดหน่อยก็ได้ชื่อว่าทำเอง ทำจนกระทั่งสำเร็จเป็นผ้า 2 ผืน เป็นผ้าสอง ผืนนำไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์คิดว่าพระน้านางนะเป็นเสมือนหนึ่งพระมารดาของ เรา ได้เลี้ยงพิทักษ์รักษาตั้งแต่มารดาของเราทิวงคตไปได้ 7 วัน เป็นมารดาแทนมารดาลง มา พระน้านางของเรา เราจะสงเคราะห์ให้ได้บุญใหญ่กุศลใหญ่ พระองค์ทรงรับแต่ผืนเดียว เท่านั้น จะให้ถวายเป็นสังฆทานผืนหนึ่ง พระแม่น้าปชาบดีโคตมี ก็อ้อนวอน พระองค์ไม่ทรง รับ ไปหาพระอานนท์อีก อ้อนวอนเท่าไร พระอานนท์ก็ไม่ทรงรับอีก พระนางจะทำอย่างไร ท่านอยู่เหนือกำหนดกฏหมาย ท่านอยู่เหนือใครทั้งหมด ใครจะไปบังคับบัญชาท่านอย่างไร ก็ไม่มีหนทาง เมื่อท่านจะให้ทำอย่างไรก็ตาม พระทัยตามความปรารถนาของท่าน ท่านให้ ถวายสงฆ์ ประชุมสงฆ์พร้อมกัน พระองค์ทรงถวาย พอประเคนมาถึงพระองค์ พระองค์ก็ส่ง ต่อไป พระองค์ก็เข้าในหมู่สงฆ์ ส่งต่อไปเป็นลำดับๆ ไป สุดท้าย พระอชิตภิกษุบวชใหม่ พระอรหันต์ท่านรู้ว่าผ้านี้พระองค์ทรงจะให้สงฆ์ ปล่อยจนกระทั่งถึงภิกษุบวชใหม่ พระภิกษุ ปุถุชนไม่รู้เรื่องราวอะไร ท่านส่งไปอย่างนั้น ก็ส่งต่อๆ กันไป ท่านส่งเราก็ส่ง ส่งจนกระทั่ง หมดพระ เหลืออชิตภิกษุบวชใหม่ ท้ายโด่งโน่นแน่ พอถึงอชิตภิกษุท่านบวชใหม่ไม่รู้ว่า จะส่งไปให้ใคร ท่านก็เอาเสียเท่านั้น เอาเป็นของตัวเสีย ได้ชื่อว่าผ้าของพระแม่น้าปชาบดีโคตมี เป็นของอชิตภิกษุบวชใหม่ อชิตภิกษุบวชใหม่เมื่อได้ผ้าแล้ว พระแม่น้าปชาบดีโคตมี เสียพระทัย ทำเหนื่อยยากลำบากนักหนา ไปถูกเอาภิกษุบวชใหม่ พระจอมไตรทรงทราบ พระอัธยาศัย เรียกพระอานนท์ให้เอาบาตรมา เหวี่ยงบาตรขึ้นไปในอากาศ และรับสั่งภิกษุ พร้อมๆ กันนั่นแหละว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำเอาบาตรของเรากลับมา พระอรหันต์ท่านรู้ว่า พระองค์ผูกปัญหานี้เพื่ออะไร ท่านรู้ด้วยกันทุกๆ องค์ภิกษุปุถุชนไม่รู้ จะออกไปก็ไม่ได้ หายเข้าไปในอากาศ เข้าเมฆ เข้าหมอกกลับหายไป ไปเอาก็ไม่ได้ ทำไงละ อชิตภิกษุบวช ใหม่ ก็ไม่รู้เรื่องรู้ราว บวชใหม่เหมือนกัน ตั้งสัตยาธิษฐานว่าบุญบารมีที่ข้าพเจ้าได้สั่งสม อบรมมาแต่ชาติปางก่อน จนกระทั่งถึงบัดนี้ ถ้าเป็นอนาคตกาลภายภาคเบื้องหน้า ข้าพเจ้า จะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่ง เหมือนพระสมณโคดมบรมครูอย่างนี้ละก็ ขอให้ บาตรนั้นมาสู่หัตถ์ข้าพเจ้าบัดนี้ พอขาดคำอธิษฐาน บาตรแหวกเมฆลิ่วมานั่นแน่ มาตกอยู่ บนมือของพระอชิต เหมือนอย่างกับปุยนุ่นลงมาในมือท่าน ของหนักไม่ใช่ของเบา แต่ว่า เหมือนกับปุยนุ่นตกลงไปในมือท่าน บาตรมีฤทธิ์ บาตรเป็น ไม่ใช่บาตรตาย บาตรกายสิทธิ์ มีฤทธิ์มีเดช เหาะไปในอากาศก็ได้ มาตกก็ได้ พอบาตรถึงมือพระอชิตภิกษุเท่านั้นแหละ พระองค์ทรงรับสั่งภิกษุทั้งหลายรู้จักไหมว่า ภิกษุบวชใหม่คือใคร ก็ไม่มีใครรู้จัก พระองค์ทรง รับสั่งว่า นั่นแหละน้องชายเราตถาคต ต่อไปจะเป็นศาสดาเหมือนอย่างเราดังนี้ ทรงพยากรณ์ เสร็จ พระแม่น้าปชาบดีโคตมี พอรู้เท่านั้น ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ กลับอ้าว ความเสียใจ หายไปหมดเปลือก ดีใจ ผ้าเราได้ยาก เหนื่อยด้วยมือของเราเอง ได้ถวายไปกับพระพุทธเจ้าใน ปัจจุบันน่ะองค์หนึ่ง ได้ถวายกับพระพุทธเจ้าในอนาคตอีกองค์หนึ่ง ดีอกดีใจ ปลื้มอกปลื้มใจ อย่างนี้ นี้เราได้ทำวิธีนี้ เราได้นำผ้าป่ามาทอดเช่นนี้ ก็ถูกขนบธรรมเนียมแบบแผน ตำรับ ตำราของพระบรมศาสดาทรงประสงค์ทีเดียว ถวายเป็นสังฆทาน อย่างนี้แล้ว ถูกเป้าหมาย ใจดำ ได้ชื่อว่าบุญกุศลใหญ่เกิดแก่เราท่านทั้งหลาย
    บุญใหญ่กุศลใหญ่เท่าไหน โตเท่าไหน รูปพรรณสัณฐานบุญเป็นอย่างไร ติดอยู่ที่ไหน บุญที่ได้จากการถวายผ้าป่า บุญเกิดอย่างไร บุญมาจากไหน เมื่อทำบุญเข้าแล้ว เขามี อัตโนมัติ เขาเรียกว่าหม้ออัตโนมัติ มนุษย์นี่แหละไม่ว่าหญิงว่าชายว่าเด็กว่าเล็ก มีหม้อ อัตโนมัติเหมือนกันหมด เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ติดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ สะดือ ทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย สะดือทะลุหลังเจาะให้ตรงกลางเชียวนะ เป็นช่องปล่องไปทะลุหลัง ขวาทะลุซ้าย ตรงแบบเดียวกัน ตรงกลางจรดกัน เอาด้ายกลุ่มขึงเส้นหนึ่งตึง สะดือทะลุหลัง ตรงซ้ายทะลุขวา ตรงเส้นหนึ่ง ขึงให้ตึง พอถึงก็ตรงกลางที่จรดกันนั่นแหละเรียกว่า “กลาง กั๊ก” ตรงกลางกั๊กนั่นแหละเป็นอัตโนมัติของบุญ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็น กำเนิดอยู่ตรงนั้น อัตโนมัติอยู่ตรงนั้นสำหรับดึงดูดบุญ เหมือนหูเหมือนตาที่สำหรับดึงดูด เสียง สำหรับดึงดูดรูปติดที่ตา หูสำหรับดึงดูดเสียงติดที่แก้วหู จมูกสำหรับดึงดูดกลิ่น ที่แก้ว จมูกลิ้นสำหรับดึงดูดรสติดอยู่ที่แก้วลิ้น กายสำหรับดึงดูดสัมผัส เครื่องถูกต้องติดอยู่ ที่กาย ทั่วไป ใจสำหรับดึงดูดธัมมารมณ์ติดอยู่ที่ใจ ดึงดูดกันอย่างนั้น อัตโนมัติบุญนี่สำหรับดึงดูด บุญ ได้บุญเท่าไรดึงดูดมาติดอยู่ตรงนั้น ติดอยู่ตรงกลางนั่นเป็นดวงใส
    วันนี้ไม่ใช่ได้บุญนิดๆ หน่อยๆ มาทอดผ้าป่านี้ คนหนึ่งๆ นั่น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง ขนาด 1,000 วา เป็นดวงใสขนาด 1,000 วา เขามีธรรมกาย เขาเห็นทั้งนั้นแหละ ขนาด 1,000 วา วัดผ่าเส้นศูนย์กลางขนาด 1,000 วา กลมรอบตัวเรียบเหมือนหน้ากระจกเชียว นั่นแหละบุญมาติดอยู่กลางตัวทุกคนๆๆ แต่หย่อนบ้าง บางคนก็ถึง 900 วา บางคนก็ถึง 800 วา 700 วา 600 วา 500 วา 500 วา ต้องได้ทุกคนเหมือนกันหมด แบบเดียวกัน หมดทีเดียว ความจริงเป็นอย่างนี้ แล้วก็เมื่อเราได้บุญขนาดนี้ เราจะทำอย่างไรเล่า เราไม่ เห็นนี่ ผู้มีธรรมกายเขาเห็น ใครมีธรรมกายแล้วก็ต้องเห็น วัดปากน้ำมีคนเห็นแยะ เห็น ทั้งนั้น ถ้าเราไม่รู้ไม่เห็นแล้วเราจะทำอย่างไร เราจะรู้เรื่องอะไร ได้อย่างไรก็ไม่รู้ หายไป อย่างไรก็ไม่รู้ เหมือนอย่างกับเราหาเงินหาทองในโลกนี้ ได้เงินมาแล้วเราก็เห็นซิ เก็บไว้ใน ตู้ในเซฟเราก็เห็นซิ เราจับถูกซิ บุญก็เหมือนกัน เราเรียกว่า ปุญฺญคฺเวสโก ผู้แสวงหาบุญ ต้องฉลาด ต้องให้เห็นบุญ ถ้าไม่เห็นบุญแล้ว เราจะรู้ว่าได้บุญอย่างไรกันละ ก็เบื่อกันละซิ ไม่อยากแสวงหาบุญ ถ้าเห็นบุญแล้วมันอยากหานักทีเดียว ไว้ใจได้แน่นอนทีเดียว
    เพราะฉะนั้น ต้องให้เห็นบุญ เสีย เหมือนอย่างกับอาจารย์ที่ไปสอนวัดจันทร์ปะขาว นั่นแหละเห็นบุญหละ องค์นั้นแหละเห็นบุญ เขาเห็นทีเดียวแหละ บุญนะ ถ้าไม่เห็น อย่างไรๆ แล้ว ไปถามให้ท่านบอก ท่านบอกได้ แต่ว่าไม่ใช่ของทั่วไปนะ ต้องการรู้ ต้องการเห็นแล้วจึงไปถามท่าน แล้วท่านก็จะบอกว่ามีเท่านั้นเท่านี้ อยู่ที่นั่นที่นี่ ติดอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ถ้าเราทำบุญเช่นนี้แล้ว ตำราเขาวางไว้ว่า หาบุญได้ก็ต้องใช้บุญเป็น เหมือนหาเงินได้ใช้เงินเป็น นี่ก็เกิดปัญญา ก็เกิดปัญญาเหมือน กัน หาเงินได้ใช้เงินเป็น หาเงินได้ใช้เงินไม่เป็น หาเงินได้ใช้เงินไม่เป็น มันก็เป็นบ่าว เป็น ทาสจนตาย ต้องร้องไห้กันเมื่อแก่หละ หาเงินหาทองไม่ได้ เรี่ยวแรงก็ท้อถอยลงไป ร้องไห้ กันหละ เพราะเหตุอะไรเล่า หาเงินได้ใช้เงินไม่เป็นละซีแก ถ้าหาเงินได้ใช้เงินเป็นละก้อ มันก็ไม่เป็นบ่าวเป็นทาสเงินละซี มันก็เป็นเจ้าเป็นนายเงินละซี เป็นเจ้าเป็นนายเงิน นั่นเป็น อย่างไรล่ะ เราหาเงินมาได้ตั้งแต่หนุ่มๆ สาวๆ เราหาเงินได้มากเท่าไร กระเหม็ดกระแหม่ ทีเดียว กินต้มยำครั้นจะเอาเนื้อมาต้มยำก็เปลืองเงินเปลืองทอง ไม่เอา ทนเอาก่อน หนุ่มๆ สาวๆ พอทนได้ หาเงินได้ใช้ เงินเก็บรวบรวมไว้กินต้มยำน้ำ อยากกินต้มยำก็ปรุง เครื่อง ต้มยำมันเข้า ตักน้ำใสๆ มาดีๆ ตั้งให้มันเดือดเข้า พอเดือดก็เทเครื่องต้มยำโครมลงไปในน้ำ นั่นแล้วก็คนเสียให้ทั่ว แล้วก็เอาขึ้นมา เค็มเปรี้ยวก็ช่างมันเถอะ ต้มยำน้ำหละ เอามาราด ข้าว ช้อนตักซดเชียว เปิบข้าวเข้าท้องได้ ช่างหัวมันเถอะไม่เป็นไร นี่เขาเรียกว่าต้มยำน้ำ นี่เขามีกันแล้วนะ โน่นแน่ เขาชื่อนายเล็กอยู่บ้านไผ่ อำเภอสองพี่น้อง เขาเล่าให้ฟังว่า ผมนะเมื่อตั้งตัว ผมกินต้มยำน้ำ มันบอกให้ฟังอย่างนี้แหละ ผู้เทศน์ก็ได้ยินเขาเล่าให้ฟัง ว่าเขาเป็นพ่อค้า ผู้เทศน์ก็เป็นพ่อค้าเหมือนกัน ไปคุยกันขึ้น เขาบอกว่าเขากินต้มยำน้ำ เขาเล่าให้ฟังอย่างนี้ เขากินอย่างนั้น เขาบอกว่าเราจะไปกินเนื้อไม่ได้ เดี๋ยวเงินทองหมด เข้าไปแล้วจะตั้งตัวไม่ได้ เอ๊ะ! อ้ายนี่ชอบกลอยู่เหมือนกัน
    หลักนี้นะ การครองเรือนเป็นอย่างนี้ หาเงินได้ใช้เงินไม่เป็น กินต้มยำเนื้อซิ เอ้า แล้ว! เงินทองหาได้เฟื้องหนึ่งสลึงหนึ่ง ซื้อเป็ดซื้อไก่เชียว นั่นแน่ไถลกินไม่เป็นขึ้นไปโน่นแน่ มันจะเป็นบ่าวเป็นทาสเขาจนตายแน่ ใช้เงินไม่เป็นนั่นแน่ ใช้เงินตาย ใช้เงินตายนะ ใช้เงิน อย่างไรเล่า หาเงินมาได้เท่าไรๆ ใช้หมด ไม่ให้เงินไปหาเงินหละ หาเงินมาได้เท่าไรๆ ใช้หมด ไม่ให้เงินไปหาเงินหละ อย่างนี้หาเงินได้ใช้เงินไม่เป็น แก่เฒ่าชราลงไป ก็ทำงานหยุดไม่ได้ หยุดข้าวสารไม่มีกรอกหม้อ เพราะใช้เงินตาย ใช้เงินไม่เป็น
    ใช้เงินเป็นละ หาเงินมาได้เฟื้องหนึ่งสลึงหนึ่ง เก็บรวบรวมเอาไว้พอเป็น 4 บาท 10 บาท 20 บาท 30 บาท ก็ให้เขากู้เอาดอกมา หาเงินมาได้ให้ไปหาดอก หามาๆ ดอกมันเดินมาเดือนพันสองพันนั่นแน่ พอดอกมันเดินมาเดือนละพันสองพัน มีเงินสักหมื่นหนึ่ง ร้อยละบาท มันก็ได้เดือนละร้อยแล้ว เอ้อ! ได้เดือนละร้อยแล้ว ร้อยละบาทนะ เดือนละร้อย หมื่นหนึ่งได้เดือนละร้อยบาท ร้อยละบาทได้เดือนละร้อยบาท มันร้อย ร้อย มันก็เป็นหมื่นหนึ่งนะ หมื่นหนึ่งหาเงินมาได้แสนหนึ่ง นั่นแน่เดือนละพันแล้ว เห็นไหมละ ให้อ้ายแสนนั้นไปหาเงินมา รับจำนำสวนก็เอา จำนำนาก็เอา ก็ท่าไหนก็เอาเถอะ ว่าแต่ว่า ยึดเครื่องกู้เขาให้มั่น ไม่ให้ฟั่นเฟือนนะ ทำหลักทำฐานกันเสียให้แน่นอน โกงกันไม่ได้ เด็ดขาดทีเดียว ได้เดือนละหมื่นๆ ได้เดือนละพันๆ แล้วหาเงินมาได้แสนหนึ่ง หาเงินมาได้ ล้านหนึ่ง ได้เดือนละหมื่นหนึ่ง เอาร้อยละบาทเท่านั้นไม่ได้เอามาก ให้คนเขาหานั่น ให้คน เขาเอาไปหานั่น รับเอาไปได้อีกบาทหนึ่ง เราจะได้สบาย มันหาให้เราใช้เรื่อยไป เดือนละ หมื่น เดือนละหมื่นเท่านั้นแหละ เลิกทำงานเชียว มีลูกหญิงลูกชายให้เล่าเรียนจบมหาวิทยาลัยหมด ไม่จบไม่ยอมเด็ดขาดเชียว เงินทองเสียไป อ้ายหมื่นหนึ่งเสียไปเถอะ หมื่น หนึ่งถึงเดือนมันก็มา เท่านั้นมันก็เป็นเจ้าเงินนายเงิน มันหาเงินได้ใช้เงินเป็น นี่มันไม่ใช่ เงินตาย มันใช้เงินเป็น มันใช้แต่ดอกเงินนี่ นี่ให้เข้าใจอย่างนี้นะ จำเอาไว้นะ มันข้อสำคัญ ข้อนี้เป็นข้อตายนะ ไปหาดูเถอะหมดประเทศหมดที่บ้านเราอยู่ นั่นใครคิดอย่างนี้บ้าง หาเงินได้ใช้เงินไปอย่างนี้มีบ้างไหม มีกี่คน อย่าไปจรดอื่น จะไปคิดอื่น บนบานศาลกล่าว ให้ผีเจ้าเช่นนั้นไม่ได้ บนบานศาลกล่าวที่ไหน เหลวไหล ไม่ได้ บุญของเรา นี่แหละเป็นตำรับ ตำรา
    พระสิทธัตถราชกุมาร เมื่อประทับอยู่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ เมื่อท่านใกล้บรรลุโพธิญาณ ครั้งนั้นมารเข้าผจญท่าน ว่าอะไรจะเป็นที่พึ่งของเราก็ไม่ได้ นอกจากบุญกุศลของเราที่ได้ สั่งสมมาแล้วเป็นไม่มี เปล่งว่า อิธ โภนฺโต ฯลฯ ท่านนึกถึงบารมีทีเดียว นึกถึงบารมีเท่านั้น รับประกันพญามารทีเดียว รับทำลายพญามารทีเดียว นี่บุญช่วยอย่างนี้ ไม่จริงอย่างเราก็ ต้องภัย ได้ทุกข์อย่างหนึ่งอย่างใด นึกถึงบุญที่เราสร้างสมที่ได้วันนี้ เป็นดวงใสอยู่ศูนย์กลาง ตัวนั้น ใจจรดอยู่ตรงบุญนั้น พอจรดอยู่ตรงนั้นจะทำอย่างไร นึกว่าบุญเราได้ดวงเท่านั้น ฟัง เทศน์แล้วเราก็ไม่เห็นอะไร จำรอยใจวันนี้ ที่มาทอดผ้าป่าวันนี้ ปลาบปลื้มเอิบอิ่มเต็มอย่างไร นึกขึ้นมาเวลาไร ใจมันก็ปลาบปลื้ม เอิบอิ่ม ตื้นเต็มเหมือนอย่างกับเรากำลังปีตินั้น นึกถูกส่วน เข้าเช่นนั้น เราก็หยุดอยู่ตรงนั้นแหละ หยุดนิ่งอยู่ ก็ใจชื่น ใจสบาย กินข้าวกินปลาก็ใจอิ่ม นึกถึง บุญอย่างนั้นแหละ พอนึกถึงบุญเช่นนั้นใจมันก็ดูด เหมือนที่ทำผลไม้ไว้อย่างไร อ้ายที่มันจะ ให้ผลน้อย ผลนี่บังคับให้ผลมาก ที่มันจะให้ดอกน้อย ผลมันก็น้อย ที่จะให้ใบมาก บุญก็บังคับ ก็ผลิตใบมาก เหมือนสวนใบไม้ เหมือนสวนดอกสวนพลู สวนดอกไม้ที่เขาปลูกขายกัน อย่างไร เหมือนผลไม้ที่เขาปลูกส้มขายอย่างไรละ มะพร้าว ส้มโอ สวนดอกสวนใบอะไร เหล่านี้ ยอดก็มียอดแคยอดตำลึง มีที่มากๆ หว่านแคเข้าไว้ หว่านตำลึงเข้าไว้ เก็บยอดแค เก็บยอดตำลึงก็อีกเหมือนกัน เมื่อรู้เช่นนั้นแล้วก็ยอดดอกเหล่านั้นมันน้อยไป ถ้าว่าทำบุญขึ้น มันก็ยอดมากขึ้น เด็ดมายอดเดียวเท่านั้นแหละ มันก็เป็น 4 ยอด 5 ยอดนะ บุญก็เหมือนกัน เด็ดมายอดเดียวก็แตกออกเป็น 4 ยอด 5 ยอด แตกอย่างนั้นบุญส่งช่วยเรา เราฉลาดนะ ถ้าได้สิ่งของนั้นเรียกว่าหาเงินได้ใช้เงินเป็น ฉลาดหาเงินหาทอง หาเงินได้ใช้เงินเป็น หนัก เข้า ก็เป็นเจ้าเงินนายเงินได้ ให้ฉลาดอย่างนี้ซิ ฉลาดอย่างนี้เราก็เอาตัวรอดได้ นี่เขาเรียกว่า หาบุญได้ใช้บุญเป็น
    หาบุญได้ใช้บุญไม่เป็น นี่แหละ มาทอดกฐินได้บุญเป็นก่ายเป็นกองอย่างนี้แหละ ถ้ากระทบกระเทือนสิ่งที่ไม่ชอบใจ เอาเข้าแล้ว ไปด่าไปว่าเขาเข้าแล้ว ไปค่อนไปแคะเข้าแล้ว เอาบาปใส่ตัวเข้าแล้ว ไม่รู้ตัวกัน ได้บุญเป็นกองสองกอง ไม่เอาใจไปจรดอยู่ที่บุญเสียแล้ว เอาไปใช้สิ่งอื่นเสียแล้ว บุญนะ เอาบาปทับถมหมด เอาไปใช้ไม่ได้เลย ใช้บุญไม่เป็น เหมือน อย่างเงินทอง หาไปๆ มันหายไปหมด ไม่มีเลย มันใช้เงินไม่เป็นแบบเดียวกัน
    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ วันนี้เราได้มาทอดกฐิน วันนี้มันเป็นวันที่จะเรียนภาวนาด้วยนะ ผู้เทศน์ก็ลืมไป เลยเทศน์เรื่อยเพลินสนุกสนานเชียว เมื่อจะให้รำพันอานิสงส์กถาของสังฆทาน เวลาไม่จุพอ พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งไม่ตรัสเรื่องอื่นเลย มาในมนุษย์โลกมาตรัสเทศนาอานิสงส์ ของสังฆทานอย่างนี้แหละ ไม่ได้ว่าเรื่องอื่นหละ จนตลอดชีวิตของพระพุทธเจ้าไม่หมด เรื่อง อานิสงส์ของสังฆทานไม่หมด มีมากทีเดียว เป็นอายุของพระศาสนาที่ท่านทรงตรัสว่า การให้ เช่นนั้นเป็นสังฆทาน ซึ่งเป็นอายุของพระศาสนา เมื่อให้ทานแล้วก็ไม่มีเบื่อ ไม่มีสะดุดใจ ไม่ให้จำเพาะใคร ให้เป็นของสงฆ์ พระสงฆ์จะทำอย่างไรก็ตามเถอะ ความชั่ว ความทุศีลใน สงฆ์ไม่มี สงฆ์เป็นบริสุทธิ์ทั้งนั้น ใจของเราอย่างนี้ เพราะฉะนั้นกระทำเช่นนั้นไม่มีเบื่อใจ การทำเป็นบุคคลิกนั้น บางคนประพฤติไม่ชอบใจเสียแล้ว เหมือนเรารักลูกหญิงก็ดี ลูกชายก็ดี หอบสมบัติมาให้ มันประพฤติไม่ชอบใจ ช้า! ไม่อยากให้มัน มันทำลายเสียหมด ให้เฉพาะ องค์นั้นองค์นี้ ประพฤติไม่ชอบใจ ทีหลังไม่ให้ ท้อศรัทธาเสียหมด อันนี้เป็นบุคคลิก เป็นส่วน บุคคลไป ไม่ถนัดในอานิสงส์สังฆทาน สังฆทานถนัดแท้ๆ ตรงกับวาระพระบาลีที่พระองค์ ทรงรับสั่งทีเดียวว่า เป็นบุญกุศลยิ่งใหญ่ไพศาล พระศาสดาจารย์ถือเป็นหลักเป็นประธาน มาทีเดียว ตั้งแต่พระแม่น้าปชาบดีโคตมีถวายผ้าเป็นลำดับมา พุทธศาสนิกชนถือเอาเป็นตำรา นี้เป็นเนติแบบแผนมา จึงได้ถวายเป็นสังฆทานกัน ได้บริจาคทานเลี้ยงดูพระภิกษุสามเณร โยมที่เป็นของเจ้าของทานเวลานี้แกเป็นคนไปมาอยู่ที่นี้เสมอ วันพฤหัสก็เป็นมาหละ แกรู้ว่า วัดปากน้ำนี้มีทักขิไณยบุคคล บริจาคแล้วละก็ ได้ผลมากมายนัก แกก็จงรักภักดี บุญกุศล ของแก อุตส่าห์มาทุกวันพฤหัส เว้นนะ มีน้อยเต็มที วันนี้แกได้บริจาคทานอันยิ่งใหญ่ไพศาล ดังได้กล่าวแล้วมา ได้ทอดผ้าป่าเพิ่มอีกด้วย เป็นอานิสงส์ยิ่งใหญ่งอกขึ้นไป
    ครั้นจะพร่ำพรรณนาเรื่องอานิสงส์กถา เวลาจะไม่จุพอ จะต้องย่นย่อพอสมควร แก่กาลเวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจน อวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านผู้เป็นเจ้าภาพและสาธุชน บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า สพฺพพุทฺธานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้าทั้งปวง สพฺพธมฺมานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระธรรมทั้งปวง สพฺพสงฺฆานุภาเวน ด้วยอานุภาพพระสงฆ์ ทั้งปวง ปิฏกตฺตยานุภาเวน ด้วยอำนาจปิฎกทั้ง 3 คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระปรมัตถปิฎก ชินสาวกานุภาเวน ด้วยอำนาจชินสาวกของท่านผู้ชนะมาร จงดลบันดาล ความสุขให้อุบัติบังเกิดมีปรากฏในขันธปัญจกของท่านผู้เป็นเจ้าภาพ และสาธุชนทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า
    สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ สิทฺธมตฺถุ อิทํ ผลํ เอตสฺมึ รตนตฺตฺยสฺมึ สมฺปสาทนเจตโส ด้วยจิตอันเลื่อมใสของท่าน ซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของท่านจงบังเกิดเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จ จงเป็นผลสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายทุกถ้วนหน้า ดังอาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอ สมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...