พุทธาจาโรลิขิต (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 31 ตุลาคม 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]

    พุทธาจาโรลิขิต (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
    วัดถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ******************************************************************

    นะโม คือความนอบน้อม ขอนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อมแต่พระบรมครูปราชญ์ พระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่นอบน้อมต่อพระพุทธองค์ได้แก่ ผู้พิจารณาคน ผู้มีสติ ผู้ละทิฐิ ผู้เข้าถึงอริยสัจธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้แก่ ผู้ไม่ยึดในขันธ์ เช่น ผู้เห็นทุกข์ในทุกข์ เห็นธรรมในธรรม ตามความเป็นจริง

    ตกอยู่ในโมหะ คือความหลง เหตุว่าตนของตนไม่พิจารณาตน มัวไปดูอื่นนอกตน นำสายตาออกไปเที่ยวดูนอกใจตน ก็ออกติดตาม ขาดการสังวร ไม่สำรวมตน จึงตกอยู่ในความมึดหรือเรือนอวิชชาตัณหามึดมนเมา

    (๑) ผู้ใดแบกขันธ์นั้นแบกความโง่
    (๒) ผู้ใดยึดในขันธ์ผู้นั้นยึดเอาความทุกข์
    (๓) ผู้ที่ยังแบกเอาทั้งความโง่และความฉลาดผู้นั้นยิ่งหนัก
    (๔) ผู้ใดยังสำคัญว่า ตนรู้แล้ว ตนเป็นผู้ที่ฉลาดแล้ว ผู้นั้นแบกความโง่ ก็ได้แก่งมโง่ของตนนั่นเอง มิใช่อื่น อย่าสำคัญตนว่า เป็นโง่ เป็นรู้ เป็นฉลาดใดๆ หากมีคือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขาไม่มี ละทิฐิ ราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นกิเลส ตัณหา อวิชชา อุปาทาน ละด้วยตนไม่หลง ปฏิบัติตนให้แจ้ง ละ ปล่อยวาง
    (๕) หากยังแสดงตนอวดว่าเป็นคนเฉยๆ ไม่โง่ ไม่ฉลาด ก็คือผู้แสดงทิฐิในตน ๑)ถือว่าตนโง่ก็เป็นทิฐิ

    ๒) ถือว่าตนฉลาดก็เป็นทิฐิ
    ๓) ถือว่าตนไม่โง่ไม่ฉลาดก็เป็นทิฐิ

    หากผู้ใดเมตตาตน สงสารตน อย่านำตนไปสู่ทางที่เสื่อม อย่าประพฤติตนไปในทางที่เสื่อม คำว่าเสื่อมคือจิตไหลลงสู่ทิฐิ อวิชชา ลามก ตกต่ำ ดำมึด คือธรรมอันลามก ด้วยเหตุแห่งอวิชชา ปกปิดใจ จึงไม่แจ้งมีแต่ความหลง ความไม่ปล่อยวาง คือ ตัวทิฐิภายในใจตนที่ยึดในอุปาทาน

    เหตุที่ผู้ปฏิบัติไม่ละราคะตัวสำคัญในโลก จึงทำให้เกิดโทสะ โมหะ เกิดทิฐิมานะ ถือตน ถือตัว ถือเรา ถือเขาว่ามีจริงมมีจังในโลกต่างๆ แห่งความหลงอันมึนเมาแห่งจิตใจที่ไม่ได้ชำระขัดเกลากองกิเลสอนุสัยภายในกมล สันดาลตน หลง จม งมงาย อยู่ในธรรมอันลามกฝ่ายดำ

    ธรรมขั้นปฏิบัติ ขัดใจ ชำระจิตให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ได้แก่ ผู้มีความพยายามละ ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางหมดไปสิ้นไป เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติในสมณะธรรมตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งใดที่พระพุทธองค์ไม่ทรงสรรเสริญ เราอย่าประพฤติไปในทางผิด พระองค์มีพระประสงค์ให้เราผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง คือ ผู้ปฏิบัติไม่หลงตรงตัดขัดจิต ละกิเลส ปล่อยวาง ไม่ยึด ไม่หลง

    ละแล้วเบา ปล่อยแล้วบางจากกิเลส วางแล้วไม่หนัก ภาระที่หนักผ่านไป เหมือนเราอมน้ำไว้ในปากเสียนานชาตินานภพเท่าไร ภพก็ยังนับไม่ถ้วน เพียงว่าอเนกภพ อเนกชาติ นับภพ นับชาติไม่ถ้วน น้ำอยู่ในปากก็บ้วนทิ้งไปในแผ่นดินไม่ก้มลงเก็บมาอีก ไม่เก็บเอามาหลง ละ ปล่อยวาง ไม่หลงเป็นธรรมดา

    หากไม่สำรวมตน เรียกว่าไม่มีสติ ขาดการพิจารณาตน จึงทำให้หลง หากหลงทางเปรียบเสมือนผู้หลงเนื้อก้อนเดียว เช่น สุนัขตัวหนึ่งคาบเอาเนื้อมาหมายจะกินเนื้อให้สมใจ กำลังจะกินยังไม่อิ่ม มีสุนัขอีกหลายๆตัวมาพบเห็นก้อนเนื้อก็พากันแย่งชิงกัน ตัวไหนมีกำลังมากก็คาบเอาก้อนเนื้อไปได้ ไม่รู้ว่าของใคร แย่งได้เป็นเอาด้วยความหลงกรรมของสัตว์ที่ไม่อยู่ในศีล มีความโลภเป็นธรรมดา

    เราเกิดมาตั้งแต่ยังนอนแบเบาะมาเป็นหนุ่มเป็นสาวย่างเข้ากลางคนจนถึงวัย ชราก็มีอยู่แค่เก่า ของเก่าในโลก คือความหลงดี หลงไม่ดี มีอยู่แค่นี้ จนตายกม่อย่างเก่าเกิดมาอีกก็สมบัติโลกอันเก่าแก่โบราณอันนี้เองคือคนจน คนมี คนดี คนชั่ว คนมียศถาบรรดาศักดิ์ คนไม่มียดถาบรรดาศักดิ์ คนสูงต่ำ ดำ ขาว เจ๊ก มอญ แขก ฝรั่ง อะไรเหล่านี้ ล้วนมีอยู่ในโลกหรือจะมีดีอะไรยิ่งไปกว่านี้อีก

    คำว่าโลกๆมีโลกนอก โลกใน คำว่า “โลกภายนอก หมายถึง คน สัตว์ วัตถุต่างๆเช่นสัตว์อื่น บุคคลอื่น ยืนยัดเยียดอัดแอกันอยู่ในโลก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็เสื่อมไป เป็นอาการของโลกไม่ว่ากาลใด สมัยใด เป็นอยู่อย่างนี้เป็นเครื่องประจำโลก

    คำว่า “โลกภายใน” หมายถึง ตน คำว่า ตน ก็ได้แก่ กาย วาจา ใจ ของตน เรียกว่า ตน ที่มา เกิด แก่ เจ็บ ตาย เปลี่ยนแปลง แปรปรวน ยักย้าย ผันแปร อยู่ทุกกระบวนการ ทุกลมหายใจเข้า หายใจออก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ก็เสื่อมไปเป็นธรรมดาทุกกาลเวลาไม่ว่าสมัยโบราณ หรือสมัยปัจจุบัน ลทหายใจเข้าออกเวลานี้

    คำว่า “สมัย” หมายถึง อาการของความเปลี่ยนแปลงทั้งเก่าและใหม่ คำว่า “เก่า” อดีต โบราณกาลก่อน เรียกว่า สมัยเก่าโบราณกาลอดีตพวกเราทุกคนก็มาจากโบราณๆ อันเก่าไม่รู้ว่ากี่โบราณมาแล้วนับไม่ถ้วน มาเกิดอย่างเก่า แก่อย่างเก่า เจ็บอย่างเก่า

    คนเราเกิดมา มีดี มีไม่ดี คนเราตายไป มีดี มีไม่ดี คนดีก็ตาย คนไม่ดีก็ตาย ตายเหมือนกัน แต่ตายไปเหมือนกัน เช่นคนทำกรรมดี ก็ไปรับผลดี ทำกรรมไม่ดีก็ไปรับผลไม่ดี นอกจากนี้ไม่มีเรื่องของคน มีอยู่แค่ ทุกข์ๆ สุขๆ ดีๆ ชั่วๆ เป็นเรื่องของคนสำหรับโลกธรรมดามีมาอย่างนี้

    ก็ตนเบียดเบียนผู้อื่น ก็คือ เบียดเบียนตนเอง ข่มผู้อื่นก็ข่มตนนั่นแล อิจฉาผู้อื่น ก็อิจฉาตนนั่นแหละ แล้วจะไปเหนือเขาด้วยความชั่วนั่นหรือ จะไปเหนือเขาด้วยอำนาจความชั่วนั่นหรือ เป็นแบบอย่างของเทวทัต มิใช่ทางพ้นทุกข์

    เหยียบย่ำผู้อื่นก็คือเหยัยบย่ำตัวเอง เหยียดหยามผู้อื่นคือเหยียดหยามตัวเอง ทำลายผู้อื่นคือทำลายตนเอง หาทางเจริญได้ยาก มิใช่ทางเจริญ จงรักษาใจ สังวรระวังใจตน ใจนั่นแลตัวสำคัญ จะจูงเราไปตกนรกก็ใจนั่นแล จะทำความชั่วก็ใจนั่นแล

    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="94%"><tbody><tr><td class="postbody" valign="top">

    ให้รักษาใจตน อย่าปล่อยตามใจชอลหรือไม่ชอบอย่าเชื่อความหลง ไม่หลง ตามใจตน มีขันติอดทน ยับยั้ง ไม่เอนเอียงไปกับสิ่งธรรมดาใดๆ ทุกอารมณ์ ด้วยความบริสุทธิ์โดยทุกประการ

    ต้นคดปลายตรงอย่งหลงธรรม คลำหางอึ่ง เพราะหลงงางาม หลงงาว่าของงาม พระสัพัญญูได้ทรงพิจารณาเห็นอุปนิสัยขององคุลีมาลเป็นผู้สอนได้เชื่อฟัง หากเราตถาคตไม่ช่วยเหลือองคุลีมาลในครั้งนี้ องคุลีมาลก็จะประหารชีวิตมาดาตนเอง

    ผู้ปฏิบัติในสมณะธรรม เพื่อความสงบ เพื่อความบริสุทธิ์ กิจที่พึงกระทำคือเป็นผู้มีสติ เป็นผู้ไม่ประมาท คือไม่อยู่ด้วยความประมาท มีสติอยู่เนือง เสมอๆ ทุกลมหายใจเข้าออก

    หาอุบายที่จะทำให้จิตสงบจากกิเลส เพื่อความบริสุทธิ์ มิใช่เราจะทำเอาความบริสุทธิ์ เราทำเพื่อบริสุทธิ์ คำว่าเพื่อ ก็เนื่องมาจาการละกิเลสภายในสันดานตนให้เบาบางหมดไปสิ้นไป ปราศจากการเอาการยึด ปฏิบัติเพื่อบริสุทธิ์หลุดพ้น ได้แก่การละกิเลส คือปล่อยวาง มิใช่เอาทำละ เพื่อบริสุทธิ์ ปล่อยวางกิเลสให้เบาบางหมดไปสิ้นไป ปฏิบัติสงบ (ศีล สมาธิ ปัญญา) ปฏิบัติบริสุทธิ์

    สมาธิจะตั้งมั่น ก็เนื่องจาก ความบริสุทธิ์ด้วยศีล ศีลเป็นบทบาทเบื้องต้นของสมาธิ สมาธิจะตั้งมั่นไม่หวั่นไหวก็เนื่องมาจากการละกิเลส ปล่อยวางเพื่อความบริสุทธิ์อยู่เนืองๆ “ไม่ยึด ไม่หลง” เบื้องต้นของการปฏิบัติขัดเกลากิเลส สมาธิจะตั้งมั่นขึ่นอยู่ที่การปฏิบัติศ๊ลกรรมฐาน คือการละกิเลสปล่อยวาง ไม่ยึด ไม่หลง ปัญญาอันบริสุทธิ์ หยั่งรู้ หยั่งเห็น เรียกว่า ปัญญาญาณ สำเร็จแล้วด้วยใจ เกิดจาการละกิเลส ปล่อยวาง คำว่า มรรคผลนี้ไม่ใช่สำเร็จได้ด้วยการอยาก หากเป็นผู้ละกิเลสปล่อยวางให้เบาบางหมดไปสิ้นไป “ปัจจัตตัง” ผู้ปฏิบัติละกิเลสจะรู้เองจำเพาะตน

    จงพิจารณาธรรมในธรรม เห็นธรรมในธรรม (พิจารณาธรรมในธรรมเห็นทุกข์ในทุกข์) (ทุกข์อยู่ตรงไหน =ผู้ใดเป็นทุกข์) คำว่า ทุกข์สัจจ์ พิจารณาเห็นในอริยสัจธรรม ๔ คำว่าทุกข์ ทุกข์ที่เห็นกันเป็นประจำโลกธรรมดาๆ ได้แก่ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ทุกข์ภายนอก ภายใน หากว่าทุกข์ยังไม่พอ ทุกข์ยังไม่เบื่อ จึงไม่ค้นคว้าหาเมืองพอ จึงเป็นแค่ความโลภ ความโกรธ ความหลง เรียกว่าเห็นผิดจากคลองธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เห็นทุกข์เป็นสุขเห็นผิดเป็นชอบ

    คำว่า กิเลสหนา กิเลสหนาปัญญาหยาบ ทำให้เศร้าหมองไม่ผ่องใส เนื้องมาจากการปล่อยตนให้รั่วไหล ลงสู่กระแสต่ำ เป็นหนทางที่นำไปสู่สุคติ ได้แก่ อบายภูมิ ๔ ทั้ง ๔ ได้แก่ สัตว์ดลกที่ยังมองไม่เห็นแสงสว่าง คือสัตว์นรก เปรต อสุรกาย ไบ้บ้า บอดหนวก เสียจริต ผิดมนุษย์ธรรมดา เดรัจฉาน เป็นต้น

    ที่เรียกว่าผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็คือผู้ละกิเลสน้อยใหญ่ภายในสันดานตนให้เบาบางหมดไป สิ้นไป ละราคะ โทสะ โมหะ ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ผ่านเข้ามากระทบ มีสติรู้ทันกับเหตุการณ์ เกิดตรงไหนดับตรงนั้น กิเลสเกิดที่ใจก็ดับที่ใจ ไม่ปล่อยใจออกไปกังวลกับสิ่งที่เป็นอารมณ์ที่ไร้สาระ มีอารมณ์ทุกข์ อารมณ์สุขเป็นต้น ที่ผ่านมากระทบ จงปล่อยวางละที่ใจ อารมณ์เหล่านี้ดี ชั่ว อยู่ในโลกธรรม ๘ ทุกข์ๆ สุขๆ ธรรมดาๆ โลก มีอยู่ประจำโลก ตั้งอยู่คู่โลกมาแต่ดึกดำบรรพ์ ผู้ปฏิบ้ติละกิเลสคือปล่อยวางไม่มีอุปาทาน หรืออาการยึด (ผู้ละ ผู้ลุ่มหลง)

    พระฑรรมตรัสว่า อนิจจา ธรรมมา อนัตตาติ ธรรมทั้งปวงเป็นอนิจจัง เป็นของไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาไม่ใช่ตัวตน ธรรมสมมติ บัญญัติที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติตรัสสั่งสอนไว้ ให้พุทธบริษัทน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติขัดเกลากิเลสให้หมดไปสิ้นไปไม่ยึดใน อุปาทานทุกสิ่ง อย่างไม่ว่าโลกใด เป็นเพียงสมมติ เพียงอาศัยเป็นอาการอย่างนั้น อาการอย่างนี้ เป็นเพียงอาการของธรรมน้อมนำมาประพฤติตนให้บริสุทธิ์ หลุดพ้นห่างไกลจากกิเลส

    ให้พวกเราพากันปฏิบัติด้วยความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ พากันมีความพากเพียร พยายาม ละกิเลสภายในสันดานตนให้หมดสิ้นไป ละราคะ โทสะ โมหะ ละทิฐิ มานะถือตนถือตัว ถือเรา ไม่ยึดถือในสิ่งที่ไร้สาระไม่มีแก่นสารทั้งหมดเหล่านี้ หากผู้ใดยึดอยู่แค่นี้ ไม่ยกจิตข้าม ก็ยังหลงตามใจตนปล่อยใจให้ตกต่ำ มีจิตอันคับแคบวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ที่เคยชินมา ไม่มีความอดความทน ไม่มีอำนาจเหนือจากใจกิเลส ปล่อยให้จิตใจรั่วไหลไปตามอารมณ์ที่ไร้สาระ บั่นทอนคุณงามความดี ที่พึงจะได้ควรจะถึงทางแห่งการปฏิบัติอันเป็นบาทเบื้อต้นของพระสัมมา อริยมรรค</td> </tr> <tr> <td> </td> </tr> <tr> <td class="postdetails" height="40" valign="bottom">
    </td></tr></tbody></table>ที่มา ::
     
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,049
    [​IMG]
     
  3. baimaingam

    baimaingam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +880
    ขออนุโมทนาสาธุครับ....
    ...หันหลังคืนฝั่ง พ้นจากทะเลทุกข์...
     
  4. ก้อนหิน

    ก้อนหิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +238
    แล้วสัังคม ระบบความเป็นอยู่เห็นควร เป็นเช่นใดครับ ทุกระดับ
     
  5. ก้อนหิน

    ก้อนหิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +238
    เรื่องของเรื่องมันเป็นที่มาของกิเลส....ของสมุทัย...ของคนส่วนใหญ่ คนธรรมดา) และผู้มีศรัทธาแล้ว และผู้มีงานไม่สงบน้อย และผู้มีงานไม่สงบมาก
     
  6. ทางสวรรค์

    ทางสวรรค์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +347
    กราบนมัสการหลวงปู่สิมครับ อีกทั้งกราบนมัสการในพระธรรม และขอขอบคุณเจ้าของกระทู้มากๆครับ
     
  7. tae99

    tae99 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มกราคม 2007
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +34
    ยินดีด้วยครับ กับ บทความที่ดีดี แบบนี้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...